Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181707
ทั้งหมด:13492945
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 155, 156, 157 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2017 12:33 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบูมดันราคาย่านฝั่งธนบุรีขยับเกิน 100 %
DD Properties
21 มีนาคม 2560


นายรายณ์พร็อพเพอร์ตี้ ปักหมุดแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จ่อเปิดโครงการใหญ่แบรนด์ เดอะ พาร์ค หลังกระแสตอบรับทำเลจรัญฯ-ปิ่นเกล้า ยอดจองกว่า 80% เชื่อมั่นศักยภาพทำเลและกำลังซื้อสูง พร้อมแย้มแผนรุกบ้านเดี่ยวไฮเอนด์ปลายปี 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2017 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

ช.การช่างโล่ง! ครม.ไฟเขียวสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จ่อสะบัดปากกาเซ็นสัญญาเม.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 28 มีนาคม 2560 เวลา 18:00:00 น.



ครม.อนุมัติผลเจรจาแอกชนเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยาย "บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค" สั่งเจรจาเพิ่มดึงเข้าระบบตั๋วร่วม ตรึงค่าโดยสาร 16-42 บาท ตั้งคนกลางรีเช็กความโปร่งใสรายได้ คาดเปิดหวูดเฟสแรกปี 62 เต็มสายต้นปี 63

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 28 มี.ค.60 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ประกอบด้วย หัวลำโพง-บางซื่อ, หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามที่ได้เจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (เครือ ช.การช่าง)

รวมถึงเห็นชอบให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยให้ รฟม. ดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520 ต่อไป และมีมติเพิ่มเติมให้โครงการดังกล่าวสามารถใช้ระบบตั๋วร่วม และมีองค์กรกลางตรวจสอบรายได้ของโครงการ

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการลงทุนแบบ PPP Net Cost คือ เอกชนลงทุนงานระบบ บำรุงรักษา และเดินรถ ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ คือ ค่าโดยสารเท่ากับสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ คือ 16-42 บาท ไม่คิดค่าแรกเข้า 2 ครั้ง เพราะเอกชนที่เดินรถเป็นรายเดิมที่เดินรถช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ทำให้ประชาชนไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถโดยสาร หลังเซ็นสัญญาใช้เวลาในการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 3 ปี ตามแผนจะเปิดช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ปลายปี 2562 และเปิดเต็มสายต้นปี 2563

ผลการเจรจาเอกชน โครงสร้างค่าโดยสารจะปรับทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค (ซีพีไอ) สำหรับรายจ่ายของเอกชน ได้แก่ ค่าลงทุนระบบ 20,826 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญา 30 ปี วงเงิน 207,062 ล้านบาท

ส่วนแบ่งรายได้ของสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สายเดิม) หากเป็นปัจจุบันอยู่ที่ 28,577 ล้านบาท และ 52,946 ล้านบาท ในอนาคต ส่วนสีน้ำเงินต่อขยายใหม่ หาก IRR อยู่ที่ 9.75-11% ส่วนแบ่งรายได้ระหว่าง รฟม.กับ BEM อยู่ที่ 50:50 ตั้งแต่ 11-15% อยู่ที่ 60:40 และเกิน 15 % อยู่ที่ 75:25

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า จะรอมติ ครม.ออกมาอย่างเป็นทางการถึงจะตอบได้ว่าจะเซ็นสัญญากับ BEM ได้เมื่อไหร่ เนื่องจาก ครม.สั่งให้เจรจาเพิ่มเติม 2 เรื่อง คือ ให้เข้าระบบตั๋วร่วมและให้บุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเรื่องรายได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือน เม.ย.นี้ จากนั้นก็สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที โดยจะเปิดเดินรถ 1 สถานี จากบางซื่อ-เตาปูน เดือน ส.ค.นี้ จากนั้น ต.ค. 2562 จะเปิดช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และ มี.ค.2563 เปิดใช้บริการได้ตลอดเส้นทาง
https://www.youtube.com/watch?v=MNEmfCedomI
https://www.youtube.com/watch?v=y1p00wXRDCk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2017 7:45 pm    Post subject: Reply with quote

(เพิ่มเติม) ครม.ไฟเขียวให้เอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรูปแบบ PPP net cost
ข่าวหุ้น-การเงิน

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--
อังคารที่ 28 มีนาคม 2560 15:07:13 น.

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้เอกชนรายเดิมเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค, บางซื่อ-ท่าพระ และให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทั้งนี้เอกชนจะเข้ามาลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost เพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ และขยายระยะเวลาการเดินรถสายสีน้ำเงินหรือสายเฉลิมรัชมงคลที่วิ่งอยู่ปัจจุบันให้สิ้นสุดระยะเวลาเดียวกับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย คือในปี 2593

ทั้งนี้ สาเหตุที่เจรจาให้เอกชนรายเดิมเป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพราะจะได้มีการเดินรถต่อเนื่อง จากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ และให้เดินรถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

การเจรจาเดินรถดังกล่าว เป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ทั้งนี้ ได้กำหนดให้เก็บค่าแรกเข้าได้ครั้งเดียว และกำหนดอัตราค่าโดยสาร 16-42 บาท แม้จะเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หากเดินทาง 30 สถานีก็จะยังเก็บค่าโดยสารในอัตราสูงสุดที่ 42 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2017 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

ชี้ต่อสัญญาเดินรถสายสีน้ำเงิน ทำชาติเสียประโยชน์

กรุงเทพธุรกิจ
29 มีนาคม 2560

"ศรีสุวรรณ" ชี้ต่อสัญญาเดินรถไฟสายสีน้ำเงิน 20 ปี ทำคนไทยเสียผลประโยชน์
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบผลเจรจาเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย โดยไม่ปรับสัญญาเดิม และขยายสัญญาไปถึงปี 2592 ว่า ในเรื่องนี้ผู้โดยสารที่ใช้รถไฟฟ้าสายสีนำเงินก็จะได้ประโยชน์ เนื่องจากมีการตรึงราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 16-24 บาท ซึ่งไม่ได้เก็บค่าโดยสารเพิ่ม แต่คนที่เสียผลประโยชน์คือคนไทยทั้งประเทศ เนื่องจากการต่อสัญญาครั้งนี้มีเงื่อนไขว่า รายได้จากค่าค่าโดยสาร ทางบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM จะต้องจ่ายให้กับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในรูปแบบของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เช่นว่าวิ่งรถมีรายได้ 100 บาท หักค่าใช้จ่ายไป 95 บาท ก็เอา 5 บาทที่เหลือมาแบ่งผลประโยชน์กัน ซึ่งตนว่าไม่ยุติธรรมกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะบริษัทที่เดินรถก็จะคิดค่าใช้จ่ายต่างๆไปก่อน เป็นไปได้ที่เขาจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น แล้วเอารายได้ที่เหลือน้อยนิดมาแบ่งกับรัฐบาล ซึ่งตนเห็นว่านี่คือเงื่อนไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้อาจจะไม่เห็นผลกระทบโดยตรงในทันที แต่จะเป็นผลโดยอ้อม เนื่องจากรัฐบาลจะไม่มีเงินจากการให้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งการขยายเส้นทางใหม่ก็ทำได้ยาก ทำให้ต้องดึงเงินส่วนกลางก้อนใหญ่ ที่ต้องเอาไปใช้ช่วยเหลือประชาขนในหลายๆเรื่อง ให้กับ รฟม. ดำเนินการขยายเว้นทาง และที่สำคัญการต่อสัญญาไปอีก 20 ปีทำให้ไม่เกิดการแข่งขันของผู้ประกอบการ ทำให้บริษัท BEM เป็นเหมือนเสือนอนกิน อาจจะให้บริการไม่ค่อยดีแบบเช้าชามเย็นชามก็ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2017 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

13-15 เมษายน 2560 - ผู้สูงอายุเกิน 60 ปีนั่งฟรี
https://www.facebook.com/fm91trafficpro/photos/a.172109969466208.46607.172059279471277/1572391582771366/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2017 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

BEM ลงทุน 22,036 ล้านบาทเมื่อได้สัมปทาน 33 ปี พร้อมซื้อรถอีก 28 ชุด

1 สถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูน ภายใน 6 เดือน ,
2. ช่วงที่ 2 สถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง ภายใน 30 เดือน และ
3. ช่วงที่ 3 สถานีเตาปูน-สถานีท่าพระ ภายใน 36 เดือน ทั้

http://www.ryt9.com/s/iq10/2624663
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2017 4:27 am    Post subject: Reply with quote

ทางออกนอกตำรา : กินรวบรถไฟฟ้า เรียบโร้ยโรงเรียน ช.การช่าง
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
โดย : บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ 31 มีนาคม 2560
ตีพิมพ์ใน
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3249 ระหว่าง 2-5 เม.ย.2560 หน้า 6


ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยว่า ในที่สุดโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งเส้น “เรียบร้อยโรงเรียน ช.การช่าง” ไปจนได้ เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 มีมติอนุมัติให้เอกชนรายเดิม ซึ่งก็คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (เครือ ช.การช่าง) ของเสี่ยปลิว ตรีวิศวเวทย์ เป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค, บางซื่อ-ท่าพระ โดยมี “เงื่อนไขที่ผูกไว้ให้เจ็บกระดองใจ” ดังนี้

• เอกชนจะเข้ามาลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost คือ เอกชนเป็นผู้ลงทุนงานระบบ บำรุงรักษา และเดินรถ เพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ

• เอกชนผู้ลงทุนจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

• ระยะเวลาการเดินรถสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ที่วิ่งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีสัญญาสัมปทานเดิมระยะเวลา 25 ปี (พ.ศ.2547-2572) ให้เป็นไปตามสัญญาเดิม แต่รัฐบาลแถมให้เป็นพิเศษคือ เมื่อครบสัญญาในปี 2572 ให้นำมารวมกับสัญญารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพื่อให้อายุสัญญาสิ้นสุดพร้อมกันกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ที่จะสิ้นสุดในปี 2592 รวมระยะเวลา 33 ปี (2560-2592)

แปลไทยเป็นไทยว่า รัฐบาลใจดีแจกอายุสัมปทานการเดินรถช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ให้กับ ช.การช่าง ในการเดินรถยาวไปอีก 20 ปี เรียกว่า “สมฐานานุรูปและควรค่ากับการล็อบบี้”

• กำหนดค่าโดยสารในระยะทางที่ยาวขึ้นและวิ่งเป็นวงกลมเท่ากับสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ คือ 16-42 บาท ไม่คิดค่าแรกเข้า 2 ครั้ง และประชาชนไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถโดยสาร

มองเผินๆ ประชาชนได้ประโยชน์ เพราะนั่งรถไฟฟ้าไม่ต้องต่อวิ่งเป็นวงกลมได้ทั่วเมืองในราคาเดิมที่กำหนดเพดานสูงสุดไว้ไม่เกิน 42 บาท ดังนั้นตั้งแต่สถานีที่ 12-38 ค่าโดยสารจะไม่ปรับเพิ่ม ยังอยู่ที่ 42 บาทเท่านั้น

แต่เมื่อตรวจสอบลงไปในรายละเอียดของมติ ครม. ผมแทบ “หงายหลังผึ่ง” เพราะรัฐบาลเปิดทางให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ธุรกิจในเครือ ช.การช่าง สามารถปรับค่าโดยสารขึ้นได้ในทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค

ลองพิจารณารายละเอียดได้ว่านับจากการเริ่มเดินรถ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนจะเปิดเดินรถช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ในปลายปี 2562 และเปิดเดินรถเต็มสายต้นปี 2563 นั่นเท่ากับว่า นับจากปี 2565-2592 ทางผู้เดินรถสามารถปรับเพิ่มราคาค่าโดยสารได้ทั้งหมด 13-14 ครั้ง เอาแค่ขึ้นครั้งละ 3 บาทเท่านั้น ราคาค่าโดยสาร “รถไฟฟ้า ช.การช่าง หวานใจคุณสมชาย” จะขยับขึ้นไปอีก 39 บาท เพดานสูงสุดจะเพิ่มเป็น 81 บาท จาก 42 บาท… และเป็นการขยับปรับเพิ่มในทุกสถานี โดยสายเฉลิมรัชมงคลมี 18 สถานี และส่วนต่อขยายอีก 19 สถานี รวมเป็น 37 สถานี ดีมั้ยครับพี่น้อง

หลายคนอาจจะมองเห็นรูปธรรมในสัญญาสัมปทานการเดินรถเพียงรายเดียวยังไม่ชัด อาจเบลอๆ

ผมขอขมวดปมให้ชัดลงไปว่า มติครม.ให้กลุ่มช.การช่างเดินรถของรัฐบาลลุงตู่ เป็น “วิศวกรรมของการต่อยอดจากคำสั่ง ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะ คสช. ที่สวยงามวิลิศมาหราที่สุด”

เพราะคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ก่อนหน้านี้นั้นให้ รฟม. ทำสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ส่วนต่อขยาย 1 กิโลเมตรเศษที่ค้างอยู่ให้เสร็จโดยเร็ว โดยมีเงื่อนไขว่า สัญญาดังกล่าว รฟม.จะดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด แต่ให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ธุรกิจในเครือ ช.การช่าง มาบริหารการเดินรถ หรือรับจ้างเดินรถ

สัญญาสายสีม่วงแบบพ่วงต่อช่วงนี้ ถือเป็นการอำพรางความลับอย่างแนบเนียนและดูดีที่สุด เพราะ “ช่วงรอยต่อ 1 กิโลเมตรเศษที่เดิมทอยังไม่เต็มผืน” นั้นคือส่วนที่เชื่อมกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สีน้ำเงิน (พุทธมณฑล-หลักสอง-หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ) ตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เมื่อมาเชื่อมต่อการวิ่งรถไฟฟ้าจะไม่มีสะดุด ที่สำคัญเอกชน ไม่ต้องควักเงินมาลงทุนแม้แต่บาทเดียว แต่รับอานิสงส์จากความเป็น “JUNGTION” ที่คุณสมชายประเคนให้ด้วยความรักไปเต็มๆ

ถามว่า เมื่อเอกชนได้ไปแค่นี้เองหรือ ผมตามไปดูในรายละเอียดแล้วพบว่า ยังมีซุกซ่อนไว้อีก

กล่าวคือ มีการกำหนดส่วนแบ่งของรายได้ไว้ชัดว่า หากรายได้ของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายใหม่ หาก IRR อยู่ที่ 9.75-11% ส่วนแบ่งรายได้ระหว่าง รฟม.กับ BEM แบ่งให้ตามสัดส่วน 50:50 ตั้งแต่ 11-15% จะแบ่งกัน 60:40 และหากรายได้เกิน 15 % จะแบ่งกันให้รัฐ 75:25

แล้วถ้ารายได้ไม่ถึง 9.75% ละครับพี่น้อง….เขาว่าไม่ต้องแบ่ง

เพราะงานนี้เอกชนควักเงินลงทุนระบบการเดินรถ 20,826 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญา 30 ปี วงเงินร่วม 207,062 ล้านบาท ชื่นสะดือ ช.การช่าง จนคุณลุงคนหนึ่งเดินตัวปลิว ผิวปากสบายอารมณ์ สมอุรา….
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2017 10:35 am    Post subject: Reply with quote

ค่าก่อสร้างสีน้ำเงินโป่งเกือบพันล. เหตุน้ำผุดใต้ดินท่วมรางสถานีวังบูรพา
โดย MGR Online
3 เมษายน 2560 08:34 น.


อุโมงค์ใต้ดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน เจอปัญหาน้ำผุดท่วมราง สถานีวังบูรพา ด้าน ITD ปรับการก่อสร้างทำค่างานโป่งยื่นขอเคลม เกือบ พันล. รฟม.ยันไม่จ่าย เหตุแจ้งภายหลังจากที่ตกลงแบบก่อสร้าง เอกชนต้องรับผิดชอบเอง ขณะที่สัญญาก่อสร้างขยายตามมติครม.ช่วยค่าแรง 300 บ.รวม 16 เดือน

นายภคพงค์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงการก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระว่า สัญญาที่ 1 ซึ่งเป็นโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ระยะทาง 2.85 กิโลเมตร ที่มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ซึ่งมีปัญหาสถานีวังบูรพา มีสภาพดินและสภาพน้ำใต้ดินมากจนไม่สามารถเทพื้นได้นั้น ขณะนี้ รฟม.และผู้รับจ้างได้แก้ไขปัญหาร่วมกันแล้ว โดยปรับวิธีการก่อสร้างใช้การ Grout Blanket (การฉีดวัสดุที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน) เข้ามาช่วย และทยอยเทพื้นอุโมงค์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเม.ย.หรือต้นเดือนพ.ค.นี้

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัญหาของสถานีวังบูรพาคือ หลังเทพื้นและวางรางไปแล้ว มีน้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดินจนท่วมราง ทางผู้รับเหมาจึงได้ใช้การ Grout มาช่วยแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้100% น้ำใต้ดินยังคงผุดอยู่

รองผู้ว่าฯรฟม. ยอมรับว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเกือบ 1,000 ล้านบาท ซึ่งทางผู้รับจ้างได้เสนอขอเคลมค่างานที่เพิ่มขึ้น แต่หลักการพิจารณาของรฟม.คาดว่าจะไม่สามารถให้ตามที่ผู้รับจ้างร้องขอได้ เนื่องจาก เมื่อทำสัญญาก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งงานใต้ดินนี้ ใช้การออกแบบ Design&Build ทาง ITD ผู้รับจ้างระบุว่า สามารถก่อสร้างได้ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งแตกต่างจากสัญญาที่ 2 อุโมงค์ใต้ดิน ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ซึ่งบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือ CK เป็นผู้รับจ้าง ช่วงสถานีสนามไชย ที่มีปัญหาสภาพน้ำใจ้ดินเหมือนกัน แต่ทาง CK ได้แจ้งว่า ไม่สามารถทำได้ตามแบบเดิม และขอปรับวิธีก่อสร้าง ขณะที่ ITD บอกว่าทำตามแบบได้ แต่เมื่อขุดลงไปที่ระดับ 30 เมตรแล้ว พบปัญหาน้ำใต้ดินมีปริมาณมาก เทพื้นไม่ได้ จึงขอปรับมาใช้ Grout ภายหลัง

"สภาพดินและน้ำใต้ดิน มีมาก ทางITD บอกว่า ทำตามแบบได้ คือขุดดินลงไปและดูดน้ำออก พอแห้งจะเทพื้น แต่ปรากฎว่า การดูดน้ำออก สู้กับน้ำที่ไหลเข้ามาเติมไม่ได้ ทำให้เทพื้นไม่ได้ เกิดน้ำผุดไปทั่ว เมื่อเป็นแบบนี้จึงมาขอปรับ ใช้การฉีดวัสดุช่วย หรือ Grout แก้ไขระหว่างก่อสร้าง แต่สภาพดินที่อยู่ข้างล่างนั้นถูกรบกวนไปแล้ว น้ำใต้ดินมีระดับต่างกัน ทำให้ต้องฉีดGrout เข้าไปค่อนข้างมาก ทำให้ค่าก่อสร้างบานปลาย"

อย่างไรก็ตาม สัญญาก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น ได้รับสิทธิ์ในการขยายเวลาก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาตรการช่วยเหลือ กรณีขึ้นค่าแรง 300 บาท จำนวน 150 วัน รวม 2 ครั้ง และค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น อีก 180 วัน เท่ากับ จะมีการขยายสัญญาให้รวม 16 เดือน สัญญาจะไปสิ้นสุดที่เดือนต.ค. 2560

สำหรับสัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ระยะทาง 2.85 กิโลเมตร
ระยะเวลาก่อสร้าง วันที่ 4 เม.ย. 2554 ถึงวันที่ 5 มิ.ย. 2559(1,890 วัน)
มูลค่าสัญญา 10,884,675,580.00 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ประกอบด้วย
งานอุโมงค์คู่ใต้ดิน ความยาว 2.8 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 2 สถานี คือ สถานีวัดมังกร และสถานีวังบูรพา,งานปล่องระบายอากาศ 2 แห่ง,งานก่อสร้างต่อเชื่อมกับอาคารสถานีใต้ดิน (เดิม) ที่หัวลำโพง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2017 10:30 am    Post subject: Reply with quote

ปิดตำนานรถไฟฟ้าสายด้วน เชื่อมต่อเตาปูน-บางซื่อฉิว
เดลินิวส์ อังคารที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 08.00 น.

อดใจรอกันสักหน่อย เดือน ส.ค. นี้ได้ปิดตำนาน “สถานีรถไฟ้าสายด้วน” เตาปูน-บางซื่อ เพราะเชื่อมต่อเส้นทางฉิว เดินทางชิลๆ ฝั่งธนบุรี-ฝั่งพระนครแค่ 42 บาท

สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ได้เห็นว่าความผิดพลาดของหน่วยงานภาครัฐ ที่ไม่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า “สถานีบางซื่อ” กับ “สถานีเตาปูน” จะได้รับการแก้ไข เมื่อ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. งัด ม.44 ออกมาใช้

ตอกย้ำกันชัดๆ อีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ รวมทั้งช่วงบางซื่อ-เตาปูน ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม (BEM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนแรกจากหัวลำโพง-บางซื่อ และยังเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูนด้วย

หลังจากนี้บีอีเอ็ม จะเร่งติดตั้งระบบและจัดหารถไฟฟ้า 35 ขบวนรวมระบบอาณัติสัญญาณมูลค่า 22,000 ล้านบาท เพื่อเปิดบริการเดินรถส่วนต่อขยายเต็มระบบประมาณต้นปี 63 และได้ลุ้นกันว่าอาจจะเปิดก่อนกำหนดในปี 62

แม้จะถูกตราหน้าว่าล็อกเอกชนรายเดียวกินรวบ ผลประโยชน์โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไปเต็มๆ ส่งผลให้ “หุ้นบีอีเอ็ม” (BEM) ทะยานสูง แต่ข้อดีที่เกิดขึ้นก็คือเป็นการเร่งรัดงานก่อสร้างให้สามารถเปิดเดินรถจากสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนแรก กับรถไฟฟ้าสีม่วงที่สถานีเตาปูนได้รวดเร็ว เป็นไปตามเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการภายในเดือนส.ค. ปีนี้ ไม่ต้องเข้าพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ ที่มีขั้นตอนยุบยิบและต้องใช้เวลา

ปิดตำนาน “รถไฟฟ้าสายด้วน” ที่ถูกประชาชนรุมประณามเพราะความไม่สะดวกในการใช้บริการ แม้ได้นั่งรถเมล์และรถไฟฟรีเชื่อมต่อก็ตาม ด้วยเหตุต้องเสียเวลา ส่งผลให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ค้างเติ่งอยู่ที่เตาปูน ผู้ใช้บริการโหรงเหรงแค่ 2 หมื่นกว่าคนต่อวันเท่านั้น พลาดเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะมีเกือบแสนคนต่อวัน

หลังมี ม.44 มากรุยทางสะสางปัญหาตัดตอน จนนำไปสู่ การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจาและร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยว่าจ้าง บีอีเอ็ม เข้าติดตั้งระบบและบริหารเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ รวมทั้งบางซื่อ-เตาปูน

โดย ครม.ให้ข้อสังเกตการใช้ระบบตั๋วร่วมให้เกิดผลสำเร็จ และให้เพิ่ม บุคคลที่ 3 (Third Party) เข้าตรวจสอบรายได้ รายรับและรายจ่ายของการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งหมด เพื่อความโปร่งใสและเร่งรัดให้เปิดเดินรถ 1 สถานี ช่วงบางซื่อ-เตาปูน ให้ได้ภายในเดือน ส.ค.นี้

สัญญาสัมปทานครั้งนี้มีหลักการสำคัญ คือจะรวมสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินส่วนแรกช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานในปี 72 รวมกับส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ /หัวลำโพง-บางแค -หัวลำโพง) และอีก 1 สถานี (ช่วงบางซื่อ-เตาปูน) ที่มีอายุสัมปทานถึงปี 92 โดยให้สิ้นสุดสัมปทานพร้อมกันในปี 92

ส่วนประชาชนจะได้ประโยชน์ในครั้งนี้หรือไม่?? อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ย้ำให้ฟังว่า...

“การเจรจาผลตอบแทนกับบีอีเอ็มได้ยึดหลักผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงเรื่องค่าแรกเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าจะเก็บครั้งเดียว และคงไว้ซึ่งอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 42 บาทเท่าเดิม หลังเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินทั้งระบบ โดยสายสีน้ำเงินส่วนแรกมี 18 สถานี บวกอีก 19 สถานี รวมเป็น 37สถานี ระยะทางรวม 47 กม. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท สูงสุดที่ 42 บาท ปรับเพิ่มตามดัชนีผู้บริโภคทุก 2 ปี”

พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. แจ้งสถานะของ บีอีเอ็ม ให้ว่าโครงการนี้มีรูปแบบ “พีพีพีเน็ตครอส” คือเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ทั้งงานระบบและค่าใช้จ่ายในการเดินรถ รวมทั้งการบำรุงรักษาระบบ โดยรัฐไม่มีส่วนสนับสนุนด้านการเงิน เอกชนรับความเสี่ยงทั้งหมด ประชาชนจะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะค่าโดยสารเท่าเดิม แต่เดินทางได้ไกลกว่าเดิม

ข้อดีของการเดินรถรายเดิมและรายเดียวทำให้เกิดการเดินรถแบบต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการ ไม่ต้องปลี่ยนถ่ายขบวนรถ อีกทั้งยังเกิดความปลอดภัยต่อประชาชนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะผู้เดินรถรายเดียวจะบริหารจัดการได้ดีกว่ามีผู้เดินรถหลายราย ปัจจุบันรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนแรกจากหัวลำโพง-บางซื่อ มีผู้โดยสารกว่า 3 แสนคน เมื่อเปิดเต็มระบบจะมีถึง 8 แสนคน

อัพเดทผลงานการก่อสร้างทั้งโครงการคืบหน้า 91.13% จะเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงบางซื่อ-เตาปูน เปิดบริการภายในเดือน ส.ค. นี้ ช่วงหัวลำโพง-บางแค ภายในเดือน ก.ย.62 และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะเปิดบริการภายในเดือน มี.ค.63

อดใจรอสักหน่อย เดือนส.ค. นี้ได้ปิดตำนาน “สถานีด้วน” เตาปูน-บางซื่อ ฉิวเดินทางชิลๆ ฝั่งธนบุรีเชื่อมฝั่งพระนครแค่ 42 บาท
….............................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2017 11:17 am    Post subject: Reply with quote

จส. 100 รายงาน:
ระบบสัญญาณเตือนภัย เกิดขัดข้อง ที่บริเวณชั้นออกบัตรโดยสารสถานีบางซื่อ ตรวจสอบสถานการณ์เบื้องต้นไม่มีเหตุ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้ตามปกติ

RT@AmAyumisang : ตอนนี้ผู้โดยสารหนาแน่นมากที่สถานีรถไฟใต้ดินบางซื่อ คาดว่าประตูทางเข้าจะเสีย
https://www.facebook.com/js100radio/photos/a.121434294546813.13344.116483835041859/1405117769511786/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 155, 156, 157 ... 228, 229, 230  Next
Page 156 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©