RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180606
ทั้งหมด:13491841
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 185, 186, 187 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2019 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

13 พิพิธภัณฑ์ รอบสถานีรถใต้ดิน 4 แห่งที่ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์

1. สถานีวัดมังกร มีพิพิธภัณฑ์ต่อไปนี้
1.1. บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเมืองเจริญไชย - ตั้งอยู่ในตึกเก่าห้องที่ 32 ตรอกเจริญกรุง 23 (ตรอกเจริญไชย) ใกล้กับวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเดิมห้องนี้เคยเป็นที่พักของคณะงิ้วจีนที่เคยรุ่งเรืองในอดีต

1.2 พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช - ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของพระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

1.3 หอศิลป์กรุงไทย - ปากซอยเยาวราช 23 แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ที่จัดตั้งขึ้นโดยธนาคารกรุงไทย ตัวแกเลอรี่ตั้งอยู่ในอาคารเก่าสาขาเยาวราช ซึ่งเคยเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แห่งแรกของธนาคารกรุงไทย มีรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโน-โปรตุกีส สวยงามและเก่าแก่อายุกว่า 70 ปี ก่อนจะรีโนเวทกลายเป็นพื้นที่แห่งศิลปะในปัจจุบัน

1.4 พิพิธภัณฑ์ห้างขายยาเบอร์ลิน - ที่ตั้งอยู่ในตึกเก่าสีเหลืองสไตล์นีโอคลาสสิกและปัลลาเดียน โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ ณ หัวมุมถนนเจริญกรุงตัดแยกเสือป่า โดยพิพิธภัณฑ์เล่าย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2475 ที่ตึกหลังนี้เคยเป็นคลินิกรักษาผู้ป่วยในชื่อ ‘ห้างขายยาเบอร์ลิน’ โดยนายแพทย์ชัย ไชยนุวัติ หลังเรียนจบด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยสัญชาติเยอรมัน ในนครเซี่ยงไฮ้ (ปัจจุบันคือ Tongji University)

2. สถานีสามยอด
2.1 พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ สวนรมณีนาถ ด้านถนนมหาไชย เคยเป็นคุกเก่ามาก่อน
2.2 พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม
2.3 บำรุงชาติสาสนายาไทย (บ้านหมอหวาน) ซอยเทศา ถนนบำรุงเมือง

3. สถานีสนามไชย
3.1 มิวเซียมสยาม ทางออกที่ 1 ของสถานีสนามไชย
3.2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ข้างธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
3.3 พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ หร้ากระทรวงกลาโหม
3.4 ไปรสนียาคาร เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า เปิดปี 2552 แทนอาคารเดิมที่โดนทุบทิ้งไปเมื่อปี 2525 เพื่อเปิดทางสร้างสะพานพระปกเกล้า

4. สถานีอิสรภาพ
4.1 พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน - ซอยกุฎีจีน 3
4.2 บ้านเอกะนาค (ศูนย์กรุงธนบุรีศึกษา) - มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถนนอิสรภาพ เคยเป็นบ้านของ พระยาประสงค์สรรพการ (ยวง เอกะนาค) รองอธิบดีกรมตำรวจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2019 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

20กย.62 เวลา 19.50 น. MRT สายสีน้ำเงิน สถานีเตาปูนมุ่งหน้าสถานีบางหว้าจะไม่จอดให้บริการที่สถานีพหลโยธิน
📣สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีพหลโยธินให้เดินทางไปสถานีลาดพร้าวเพื่อเปลี่ยนขบวนรถย้อนกลับไปยังสถานีพหลโยธิน และ 📣ผู้โดยสารที่สถานีพหลโยธิน ต้องการเดินทางไปปลายทางสถานีบางหว้า ให้นั่งรถย้อนกลับไปที่สถานีสวนจตุจักรเพื่อเปลี่ยนขบวนรถไปสถานีบางหว้า หากมีการเปลี่ยนจะแจ้งให้ทราบต่อไป ขออภัยในความไม่สะดวก
https://www.facebook.com/BEM.MRT/posts/10157613526309516
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2019 10:49 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ามาหาหลักสอง จะเป็นไปได้ไหม ถ้า ...
คอลัมน์ ระบบหลังบ้าน... ระบบชีวิต
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

เผยแพร่: 21 กันยายน 2562 - 22:54


ในที่สุด โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ก็เดินรถมาถึงสถานีหลักสอง บริเวณห้างเดอะมอลล์บางแคเสียที หลังจากรอคอยมานานถึง 8 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2554

แม้ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ยังต้องรอเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2563 แถมโครงการส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 มูลค่าเกือบ 22,000 ล้านบาท จะถูก รฟม. พับแผนลงชั่วคราว เพื่อรอประเมินจำนวนผู้โดยสารก็ตาม

แต่ในฐานะคนที่อยู่จังหวัดชายขอบกรุงเทพฯ บอกตามตรงว่า “ได้แค่นี้ก็ดีใจ...”

คิดว่าถ้าคนโซนบางแค หนองแขม อ้อมน้อย ทวีวัฒนา ลดการใช้รถส่วนตัว แล้วหันมาใช้รถไฟฟ้าให้ได้มากกว่าวันละ 1 ล้านคน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเห็นใจ ยอมเจรจาให้เจ้าของสัมปทานลงทุนส่วนต่อขยายเพิ่ม

อย่างน้อย รฟม. ก็สร้างอาคารจอดแล้วจร ที่สถานีหลักสอง คิดค่าจอดรถเฉพาะผู้ใช้รถไฟฟ้าถูกมาก 2 ชั่วโมง 10 บาท จอดสัก 20 ชั่วโมง คิดแค่ 100 บาท ถูกกว่านำรถไปจอดใจกลางเมือง บางแห่งคิดชั่วโมงละ 20-30 บาทเลยทีเดียว


ทุกวันนี้กางตัวเลขจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน นับตั้งแต่เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย 5 สถานี พบว่าในเดือนสิงหาคม 2562 มีจำนวนผู้โดยสาร 325,000 เที่ยวต่อวัน เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 มีจำนวนผู้โดยสาร 319,000 เที่ยวต่อวัน

หากนับเฉพาะวันทำงาน เดือนสิงหาคม 2562 มีจำนวนผู้โดยสาร 378,000 เที่ยวต่อวัน เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 มีจำนวนผู้โดยสาร 374,000 เที่ยวต่อวัน เท่ากับว่าจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 4,000-6,000 เที่ยวต่อวันเท่านั้น

ถือว่ายังห่างไกลจากเป้าหมายวันละ 1 ล้านเที่ยว ไม่จูงใจพอที่ รฟม.จะให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ลงทุนส่วนต่อขยายเพิ่มไปถึงสถานีพุทธมณฑล สาย 4 ตามที่วาดฝันเอาไว้

แม้หลายคนอาจจะรู้สึกขัดใจไปบ้าง แต่มองย้อนอีกที รฟม. กับ BEM คิดดีแล้วที่เป็นแบบนั้น

ขืนลงทุนต่อไป ทั้งที่ยังไม่รู้อนาคต เดี๋ยวจะเหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน ที่จำนวนผู้โดยสารยังไม่ถึง 1 แสนเที่ยวต่อวัน นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนสร้างคอนโดติดรถไฟฟ้า พากันกุมขมับเพราะขายไม่ออก


ที่น่าสังเกตก็คือ ถนนเพชรเกษม โดยเฉพาะย่านเดอะมอลล์บางแค ใกล้กับสถานีปลายทางหลักสอง มีรถประจำทางผ่านมากกว่า 20 เส้นทาง แถมบางเส้นทางทับซ้อนหรือขนานกับแนวรถไฟฟ้าอีก

หากเปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน พบว่าจากสถานีหลักสอง ถึงสถานีหัวลำโพง ค่าโดยสาร 40 บาท แพงกว่ารถประจำทางสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง คิด 8 บาท และ ปอ.7 สมุทรสาคร-หัวลำโพง คิด 19 บาทเท่านั้น

ถ้าไม่นับเรื่องการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน แม้จะอ้างได้ว่าเป็นผู้โดยสารคนละกลุ่ม แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือเปลี่ยนมาเป็นนั่งรถเมล์แล้วต่อรถไฟฟ้า จำนวนผู้โดยสารคงจะกระเตื้องยาก

นอกช่วงเวลาเร่งด่วน (Off-peak) เราอาจจะได้เห็นบางสถานีช่วงไปทางบางแค เงียบเหงาก็เป็นได้

จากที่เคยใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมานานแม้จะไม่บ่อยนัก กระทั่งเปิดทดลองส่วนต่อขยายถึงสถานีท่าพระ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา พบว่าถ้าเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน ผู้โดยสารก็จะอัดแน่นเป็นปลากระป๋อง

ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเฉพาะถ้าเป็นเส้นทางที่ผ่านย่านธุรกิจ และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส อาทิ สถานีสุขุมวิท สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสวนจตุจักร และสถานีสีลม ยังต้องรอขบวนถัดไป 2-3 ขบวนกว่าจะได้ขึ้น

นับตั้งแต่เปิดให้บริการปี 2547 มีรถไฟฟ้าทั้งหมด 19 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ บรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 886 คนเท่านั้น แม้บางขบวนจะมี 6 ตู้ก็ตาม ขณะนี้กำลังทยอยรับมอบขบวนรถใหม่อีก 35 ขบวน แต่ขบวนละ 3 ตู้ก็ยังคงไม่เพียงพอ

ไม่นับรวมปัญหารถเสียที่เกิดขึ้นเป็นระยะ บางครั้งผู้โดยสารต้องรอนานประมาณ 25-30 นาที แถมต้องมายืนอัดแน่นเป็นปลากระป๋อง เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คนก็เริ่มเบื่อหน่าย กลับมาใช้รถส่วนตัวหรือระบบขนส่งมวลชนอื่นตามเดิม

จะเป็นไปได้ไหม ... ถ้าในอนาคตจะขยายขบวนรถ เป็นอย่างน้อยขบวนละ 4 ตู้ เพื่อรองรับระบายผู้โดยสารได้ทุกเวลาแม้ในชั่วโมงเร่งด่วน ไม่อย่างนั้นสุดท้ายคงแก้ปัญหา ด้วยการถอดเบาะรถไฟฟ้าตามเดิม

อย่างต่อมาคือเรื่องค่าโดยสาร แม้ปัจจุบันจะคิดตามจำนวนสถานี ตั้งแต่ 16-42 บาทต่อเที่ยว มองผิวเผินเหมือนจะไม่แพง แต่ถ้าบ้านอยู่โซนบางแค แต่ไปทำงานกลางใจเมือง เช่น สีลม สุขุมวิท เดินทางบ่อยครั้งจะรู้สึกว่าแพงเกินไป

ค่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 42 บาทต่อเที่ยว ไป-กลับวันละ 84 บาท เดินทางเฉพาะวันทำงาน เดือนหนึ่งมีประมาณ 20 วันทำการ คิดเป็น 40 เที่ยว เท่ากับต้องจ่ายถึง 1,680 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

สมัยก่อน ที่ยังเรียกว่ารถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เคยมีบัตรโดยสารชนิดจำกัดวัน เริ่มต้นที่ 1 วัน 120 บาท, 3 วัน 230 บาท และ 30 วัน 1,400 บาท แต่ได้ยกเลิกการขายเมื่อปี 2560

รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เคยออกโปรโมชั่นเติมเที่ยวโดยสาร แบบ 30 วัน จำกัดเที่ยว แต่ไม่นานนักได้ระงับการขายอย่างไม่มีกำหนด
รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เคยออกโปรโมชั่นเติมเที่ยวโดยสาร แบบ 30 วัน จำกัดเที่ยว แต่ไม่นานนักได้ระงับการขายอย่างไม่มีกำหนด

ต่อมา รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ออกโปรโมชั่นเติมเที่ยวโดยสาร แบบ 30 วัน จำกัดเที่ยว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2560 เริ่มต้น 15 เที่ยว 450 บาท, 25 เที่ยว 700 บาท, 40 เที่ยว 1,040 บาท และ 50 เที่ยว 1,250 บาท


ปรากฎว่าเปิดตัวไม่นานก็ถูกระงับการขาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นมา ทุกวันนี้ยังต้องจ่ายค่าโดยสารอัตราปกติมานานถึง 2 ปี มีส่วนลดเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ 50% และนักเรียน นักศึกษา 10% เท่านั้น

จะเป็นไปได้ไหม ... ถ้าจะกลับมาขายเที่ยวโดยสาร แบบ 30 วัน เพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารเดินทางบ่อยขึ้น อย่างรถไฟฟ้าบีทีเอส ก็มีเที่ยวเดินทาง 30 วันจำหน่าย หรือลดค่าโดยสาร 1 บาทเมื่อจ่ายด้วยบัตรแรบบิท แล้วเขายังไม่รู้สึกว่าขาดทุน

อย่างสุดท้าย เห็นรถไฟฟ้าบีทีเอสพัฒนาช่องทางจำหน่ายบัตรโดยสาร เช่น การเติมเงิน เติมเที่ยวเดินทาง หรือจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรแรบบิท ที่ผูกกับบัญชีแรบบิท ไลน์เพย์ แล้วตัดเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตที่มีเงินในบัญชีธนาคาร

หรือจะเป็นเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ สมัยก่อนต้องหยอดเหรียญเพียงอย่างเดียว สมัยนี้รองรับการซื้อตั๋วผ่านคิวอาร์โค้ด บนแรบบิทไลน์เพย์ หรือสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านมือถือทุกธนาคาร โดยไม่ต้องจ่ายด้วยเงินสด

อย่างน้อยเวลาที่เราลืมกระเป๋าสตางค์มาจากบ้าน ไม่มีเงินสดติดตัว ก็สามารถใช้มือถือสมาร์ทโฟนซื้อตั๋วโดยสาร แล้วเดินทางไปไหนมาไหนได้ เช่นเดียวกับการกดเงินไม่ใช้บัตร โดยใช้มือถือเพียงเครื่องเดียว


ย้อนกลับมารถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารรับเฉพาะเหรียญและธนบัตร กระทั่งติดตั้งเครื่องรุ่นใหม่ รองรับการเช็กยอดและเติมเงินลงบัตรโดยสาร (ขั้นต่ำ 100 บาท) ซึ่งเคยติดตั้งระบบเดียวกันที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงไปก่อนหน้านี้

จะเป็นไปได้ไหม ... ถ้าจะพัฒนาระบบออกเหรียญโดยสาร หรือเติมเงินลงในบัตรโดยสาร ให้เข้ากับเทคโนโลยีสังคมไร้เงินสด เพราะปัจจุบันธนาคารชั้นนำมีความพร้อมในการออกแบบระบบอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับจะเปิดทางหรือไม่เท่านั้น

อย่าไปยึดติดกับบัตรแมงมุม เพราะที่เคยบอกว่าจะเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ต ลิงก์ ปัจจุบันก็ยังเกิดขึ้นไม่ได้จริง ไม่นับรวมองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หันมาออกบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับธนาคารกรุงไทยแยกต่างหากอีก

ในฐานะที่เป็นผู้โดยสารคนหนึ่ง ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่า รฟม. และเจ้าของสัมปทานอย่าง BEM จะรับฟังและนำมาพัฒนา เพื่อจูงใจให้คนในพื้นที่ใกล้เคียงหันมาใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มมากขึ้น

บอกตามตรง ไม่อยากให้เสียของเหมือน “รถไฟฟ้าสายสีม่วง” ซ้ำรอยขึ้นมาอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2019 8:07 pm    Post subject: Reply with quote

MRT สถานีเพชรบุรี ผู้โดยสารหนาแน่น
https://www.facebook.com/js100radio/posts/2585690694787815
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2019 8:11 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าวัดมังกร-หลักสองฟรีแต่หงอย
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

เซ็งอากาศขี้เกียจออกจากบ้าน 29ก.ย.เก็บเงินปล่อยรถเร็วขึ้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที (MRT) สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพงบางแค ครบทั้ง 11 สถานี นั่งฟรี จากสถานีวัดมังกร-สถานีหลักสอง ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้โดยสารมาใช้บริการช่วงวันเสาร์อาทิตย์ค่อนข้างซบเซาเงียบเหงา น้อยกว่าปกติจากเดิมมีประมาณ 50,000 คนต่อวัน สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากสภาพอากาศฝนตกเกือบตลอดทั้งวันทำให้ประชาชนอาจไม่อยากออกจากบ้าน เพราะแม้กระทั่งบนท้องถนนปริมาณรถยนต์ก็มีไม่มากแต่ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่วันทำงาน ผู้โดยสารก็ค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เต็มรูปแบบในเดือน มี.ค. 63 ตั้งเป้าผู้ใช้บริการสายสีน้ำเงินตลอดทั้งเส้นใหม่และเก่าประมาณ 4 แสนคนต่อวัน แต่ระยะแรกอาจอยู่ที่ 2-3 แสนคนก่อน เพราะต้อง ให้เวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้ เริ่มมีรถไฟขบวนใหม่เข้ามาเสริมอย่างต่อเนื่องหากเจ้าหน้าที่สังเกตเห็นว่าที่สถานีมีผู้โดยสารมารอจำนวนมากแล้วจะปล่อยรถเสริมทันทีโดยจะวิ่งให้บริการทั้งเส้นทางเก่า และเส้นทางใหม่ การดำเนินการดังกล่าวทำให้การเดินรถช่วงนี้อาจมีปัญหาขัดข้องบ้างเพราะการ จูนระบบเก่ากับระบบใหม่ยัง ไม่ดีพอ

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า เวลานี้กำลังเร่งปรับปรุงซึ่งช่วงที่ทดลองให้บริการผู้โดยสาร จะทำให้ทราบข้อบกพร่องทั้งหมดว่าเกิดจากส่วนใดบ้างทำให้สามารถปรับแก้ให้ถูกจุด คาดว่าจะสมบูรณ์ก่อนเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค แบบเต็มรูปแบบในวันที่ 29 ก.ย.นี้ ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าโดยสารอัตรา 16-42 บาท ตามระยะทาง เมื่อเปิดบริการเต็มรูปแบบจะเริ่มปรับตารางการเดินรถให้เร็วขึ้นจากเดิมด้วยส่วนจะปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าใดอยู่ระหว่างพิจารณา โดยปัจจุบันช่วงชม.เร่งด่วนทั้งเช้าและเย็นจะปล่อยเดินรถทุก 2 นาทีครึ่ง นอกชม.เร่งด่วนปล่อยรถทุก 6 นาที.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2019 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

30ก.ย."บิ๊กตู่" กดปุ่มเปิดเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน
29 กันยายน พ.ศ. 2562

30ก.ย. "บิ๊กตู่" เป็นประธานเปิดเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ระยะทาง27กม. ช่วยลดปัญหาการจราจรศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง วันจันทร์ ที่ 30 ก.ย. ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ก่อสร้างเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ไปฝั่งธนบุรี เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร ทำให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และตรงเวลายิ่งขึ้น โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง – บางแค เชื่อมจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีหลักสอง สิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีโครงสร้างทางวิ่งแบบยกระดับและแบบใต้ดิน มีจำนวน 11 สถานี เส้นทางระหว่างสถานีสนามไชยและสถานีอิสรภาพ ซึ่งจะลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร และอยู่ใต้ระดับท้องแม่น้ำประมาณ 10 เมตร สำหรับช่วงเตาปูน – ท่าพระ เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน ไปยังสถานีท่าพระ ซึ่งจะสิ้นสุดที่บริเวณแยกท่าพระ ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีจำนวนสถานี 8 สถานี

นอกจากนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค มีแนวเส้นทางผ่านสถานีสำคัญในใจกลางกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรี มีการออกแบบก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินฯ ให้มีความกลมกลืนกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและสัญลักษณ์เชิงพื้นที่ เช่น สถานีวัดมังกรมีการออกแบบสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับรูปแบบยุโรป หรือเรียกว่าสไตล์ชิโนโปรตุกิส สอดคล้องกับวิถีชีวิต วิถีการค้าชาวจีน สภาพแวดล้อมโดยรอบโดยนายกรัฐมนตรีจะขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินฯ จากสถานีท่าพระไปยังสถานีวัดมังกร และเดินทางไปยังวัดมังกรกมลาวาสอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2019 11:01 pm    Post subject: Reply with quote

กดปุ่มรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ปลุกคอนโด”เตาปูน-ท่าพระ”
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 กันยายน 2562- 20:49 น.

เปิดสายสีน้ำเงินต่อขยาย “หัวลำโพง-หลักสอง” ผู้โดยสารเฉียด 1 แสนเที่ยว “บิ๊กตู่” กดปุ่ม 30 ก.ย.เก็บค่าโดยสาร 16-42 บาท ธ.ค.นี้ทดลองเดินรถ “เตาปูน-ท่าพระ” คาดคอนโดฯคึก นั่งฟรีถึง 30 มี.ค. 63 เสี่ยเจริญสร้างสกายวอล์กเชื่อมห้างเกตเวย์บางซื่อ รฟม.ตั้งเป้าคนใช้ทั้งโครงข่าย 8 แสนเที่ยว สิ้นปีค่ารถไฟฟ้าถูกแน่ แอร์พอร์ตลิงก์-สายสีม่วงพ่วงสีน้ำเงินถกบีทีเอสยืดโปรฯ
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 30 ก.ย. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแคอย่างเป็นทางการ หลัง รฟม.และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานเดินรถได้เปิดทดลองบริการฟรีตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. เริ่มเก็บค่าโดยสารในอัตรา 16-42 บาทเมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา หลังนายกรัฐมนตรีกดปุ่มเปิดพิธีในเวลา 10.20 น. จะนั่งรถไฟฟ้าจากสถานีท่าพระ-สถานีวัดมังกร เพื่อพบประชาชนรอบสถานีวัดมังกรและย่านเยาวราช

“ที่ผ่านมา รฟม.และ BEM ดำเนินการตามสัญญาสัมปทานคือทยอยเปิดบริการส่วนต่อขยายใหม่ ระยะทาง 27 กม. ตามความพร้อมของการทดสอบการเดินรถ หลังเปิด 1 สถานีเชื่อมกับสถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูนเมื่อ 11 ส.ค. 2560 และเมื่อ ก.ค. 2562 ทยอยเปิดช่วงหัวลำโพง-หลักสองจนครบ 11 สถานีเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ได้แก่ สถานีวัดมังกร สามยอด สนามไชย อิสรภาพ ท่าพระ บางไผ่ บางหว้า เพชรเกษม 48 ภาษีเจริญ บางแค และหลักสอง มีผู้โดยสารใช้บริการเกือบ 1 แสนเที่ยวคน/วัน”


นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ภายในเดือน ธ.ค.นี้จะเปิดทดลองเดินรถช่วงเตาปูน-ท่าพระที่จะไปบรรจบกับสีน้ำเงินต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค เปิดใช้ฟรีถึงวันที่ 30 มี.ค. 2563 จะเก็บค่าโดยสารตามสัญญา มีสถานีบางโพ บางอ้อ บางพลัด สิรินธร บางยี่ขัน บางขุนนนท์ ไฟฉาย และจรัญฯ 13 คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการช่วงนี้ 1 แสนเที่ยวคน/วัน คึกคักไม่แพ้ช่วงหัวลำโพง-บางแค

ที่สำคัญทำเลเตาปูน-บางซื่อ ที่สายสีน้ำเงินพาดผ่านจะเป็นแหล่งพัฒนาย่านชุมชนที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะถนนจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมเปิดใหม่จำนวนมาก น่าจะได้อานิสงส์เหมือนศูนย์การค้าเกตเวย์บางซื่อ ซึ่งขอสร้างทางเชื่อมกับสถานีบางโพแล้ว ระยะเวลา 15 ปี วงเงิน 30 ล้านบาท

“ตั้งแต่ เม.ย. 2563 สายสีน้ำเงินจะเปิดบริการครบลูปทั้งสายเก่าและสายใหม่ รวม 47 กม. มี 38 สถานี ซึ่งระยะทางยาวขึ้น แต่เก็บค่าโดยสารสูงสุดเท่าเดิม คือ เริ่มต้น 16 บาทและสูงสุด 42 บาท หลังเปิดให้บริการเต็มเส้นทางแล้ว จะทำให้ผู้โดยสารเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น คาดว่าในปี 2564 ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินจะแตะ 8 แสนเที่ยวคน/วัน”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ รฟม.จะลดภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) และสายสีน้ำเงินให้กับผู้ใช้บริการ โดยจะจัดโปรโมชั่นออกบัตรโดยสารรายเดือนแบบจำกัดเที่ยว และลดราคาในช่วง off peak โดยสายสีม่วงจะลดราคาจากปัจจุบัน 14-42 บาท เหลือ 14-17 บาท และ 20 บาท กรณีที่ใช้บริการตั้งแต่ 2 สถานีเป็นต้นไป

ส่วนสายสีน้ำเงินเนื่องจากเป็นเส้นทางสัมปทานของ BEM จะให้ลดราคาช่วง off peak คงยาก จะทำโปรโมชั่นบัตรรายเดือนแบบจำกัดจำนวนเที่ยวร่วมกับสายสีม่วง เช่น 50 เที่ยว โดยอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 48-50 บาท จากปัจจุบันหากผู้โดยสารใช้ทั้ง 2 ระบบ จ่ายสูงสุดอยู่ที่ 70 บาท ซึ่งรัฐไม่ต้องใช้งบประมาณไปอุดหนุนเอกชน ขณะนี้รอบอร์ดของ รฟม.และ BEM อนุมัติ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกรมการขนส่งทางรางกำลังสรุปแนวทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว สีม่วง สีน้ำเงิน และแอร์พอร์ตลิงก์ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ศึกษาแนวทาง จะออกมาตรการเป็นแพ็กเกจ เช่น จัดโปรโมชั่นบัตรโดยสารแบบรายเดือน (จำกัดจำนวนเที่ยว) ลดราคาช่วง off peak หรือนอกเวลาเร่งด่วน โดยจะลดอัตราสูงสุดของแต่ละระบบ เช่น สีม่วงเหลือ 14-20 บาท แอร์พอร์ตลิงก์จาก 15-45 บาท เหลือ 15-25 บาท ตามระยะทาง ส่วนบีทีเอสมีตั๋วจำกัดจำนวนเที่ยวอยู่แล้วเฉลี่ยราคา 26 บาท/เที่ยว อาจจะให้ขยายโปรโมชั่นออกไป และให้คงราคาส่วนต่อขยาย 15 บาทออกไปอีก โดยกรมการขนส่งทางรางคาดว่าจะทำให้ผู้โดยสารทุกระบบเพิ่มขึ้น 10% หรือประมาณ 1.5 แสนเที่ยวคน/วัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.33 ล้านเที่ยวคน/วัน คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ได้ภายในเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ เนื่องจากจะต้องมีการปรับระบบและรอบอร์ดของแต่ละบริษัทอนุมัติ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมกล่าวว่า เรื่องลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าคาดว่าจะประกาศออกมาในเร็ว ๆ นี้ กำลังให้กรมการขนส่งทางรางปรับวิธีการใหม่ นำรายได้ในอนาคตของแต่ละระบบมาดำเนินการ ซึ่งรูปแบบการลดราคามีหลากหลาย เช่น ทำเป็นตั๋วรายเดือน และระยะเวลาคงไม่นาน อาจจะ 6 เดือน เป็นต้น

เล็งให้แม่นนํ้าเงินต่อขยาย “อิสรภาพ-ท่าพระ”ทำเลทองคอนโด 2-5 ล้าน
รายงาน โดยอุมาภรณ์ ขวัญเมือง
ออนไลน์เมื่อ 29 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 27
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,509
วันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2562

แม้สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วงโค้งท้ายปีและยาวต่อเนื่องถึงช่วงปีหน้าแนวโน้มอยู่ในภาวะทรงตัว โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมพบหลายค่าย พับแผนชะลอโครงการ ส่งผลมีหน่วยใหม่ทั้งตลาดปีนี้หายไปมากถึง 25% ที่ 4.5 หมื่นหน่วยจาก 6.6 หมื่นหน่วยเมื่อปี 2561 ประเมินว่าเป็นการย่อตัวรับกำลังซื้อที่เหลือในตลาด อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของ รถไฟฟ้าสายใหม่ ถือเป็นปัจจัยบวก พยุงตลาด ส่งผลให้เกิดทำเลใหม่ๆ ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดความต้องการด้านที่อยู่อาศัยตามมา โดยเฉพาะโอกาสของตลาดคอนโดฯหลัก ราคา 2-5 ล้านบาท ย่านฝั่งธนบุรี จากการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบของรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินส่วนต่อขยายหัวลำโพง-หลักสอง และจะวิ่งครบลูปในอนาคตต่อขยาย“นํ้าเงิน”เชื่อมเมืองนางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัดที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงินช่วยให้ชาวฝั่งธนบุรี เดินทาง เข้าใจกลางเมืองได้สะดวกเปิด โอกาสธุรกิจอสังหาฯ ขยายตัวไปยังทำเลใหม่ๆ สำหรับทำเลที่น่าสนใจมีผู้ประกอบการมองหาที่ดินพัฒนาโครงการจำนวนมาก เช่น บริเวณถนนอิสรภาพ (สถานีอิสรภาพ) เป็นทำเลใหม่ที่มีโอกาสพัฒนาสูง เพราะเชื่อมต่อไปยังย่านอื่นๆ ได้โดยรถไฟฟ้าขยายไปก่อนหน้า เช่น โซนปิ่นเกล้า วงเวียนใหญ่ หรือเจริญนคร จากเดิมที่ถูกจำกัด คาดในอนาคตจะเป็นทำเลที่มีโครงการคอนโดมิเนียมพัฒนาขึ้นจำนวนมาก จากซัพพลายที่แทบไม่มี โดยเฉพาะระดับราคา 2-5 ล้านบาท (7.5 หมื่น-1.1 แสนบาท/ตร.ม.) เป็นตลาดหลักของคนไทย คนซื้อส่วนใหญ่เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และพบว่าตลาดดังกล่าวยังขายได้เรื่อยๆ แต่เมื่อเทียบในแง่การโอนกรรมสิทธิ์แล้ว เป็นกลุ่มที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้ เมื่อเทียบกับระดับราคาอื่นๆ เพราะลูกค้ามักเป็นกลุ่มที่ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วไม่ตํ่ากว่า 5 ปี มีฐานเงินเดือนที่มั่นคงและบริหารจัดการการเงินได้ดีกว่ากลุ่มที่ซื้อในระดับราคาตํ่ากว่า 2 ล้านบาท หรือกลุ่มราคาสูง ที่นักลงทุนเริ่มโอนน้อยลง ขณะเดียวกัน บางส่วนเป็นการซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 หรือ 3 ลักษณะจ่ายเงินสดด้วยซํ้า“รถไฟฟ้าสถานีใหม่ๆ ทำให้ดีมานด์เพิ่มขึ้น 10-20% ในแง่ความสนใจของคนซื้อ ซึ่งตลาด 2-5 ล้านบาท เป็นตลาดใหญ่ น่าจะมีโอกาสโตต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับ ดีเวลอปเปอร์สามารถหาต้นทุนที่ดินที่ตํ่า สร้างในขนาดที่ลูกค้าต้องการได้หรือไม่ โดยเฉพาะ ใกล้สถานี”

“อิสรภาพ”ทำเลทองใหม่สอดคล้องกับนายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวหลังเปิดคอนโดฯใหม่“ศุภาลัย ไลท์ ท่าพระ” บริษัทยังให้ความสนใจทำเลฝั่งธนบุรีต่อเนื่อง พัฒนาโครงการมาแล้วไม่ตํ่ากว่า 10 โครงการ โดยอยู่ระหว่างการขาย 5 โครงการ ซึ่งยอมรับว่า ก่อนหน้าทำเลนี้ไม่คึกคักมากนัก เพราะติดข้อจำกัดการเดินทางจากสะพานข้ามแม่นํ้าเชื่อม 2 ฝั่งที่มีน้อย แต่การเกิดขึ้นของสถานีใหม่ๆ ตามเส้นทางส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน หัวลำโพง-หลักสอง และอีกไม่นานจะครบลูปวงกลม เตาปูน-ท่าพระ ยิ่งทำให้ทำเลมีความน่าสนใจขึ้น โดยเฉพาะตลาดตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป เพราะดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในอัตราตํ่ากับพนักงานเงินเดือนที่ฐานคงที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจยังสามารถกู้ได้อยู่ คาดอนาคตย่านฝั่งธนบุรีตั้งแต่อิสรภาพเรื่อยมา ท่าพระ ได้รับความนิยมจากคนซื้อและผู้พัฒนาฯสูง ทั้งรูปแบบโครงการโลว์ไรส์และไฮไรส์ เพราะซัพพลายในตลาดมีน้อยสะท้อนว่า ส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงิน เปิดโอกาสให้คนมองทำเลใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องซื้อคอนโดฯแพง 2 แสนบาทต่อตร.ม. เหมือนศาลาแดง เพราะหากนับจากฝั่งธนไป 7-8 สถานี ก็เข้าเมืองได้เรียกว่ารถไฟฟ้าสายนี้จะเปลี่ยน กรุงเทพฯหลายด้าน โดยเฉพาะเมื่อผังเมืองกรุงเทพมหานครใหม่เอื้อต่อการพัฒนา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2019 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

พิธีเปิดการเดินรถไฟฟ้าไปหลักสองอย่างเป็นทางการ
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/videos/696518247495165/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2019 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

*อีกหนึ่งความสำเร็จกระทรวงคมนาคม*

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 เวลา 09.00 น.

พิธีเปิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค ณ สถานีท่าพระ -สถานีวัดมังกร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการพี่น้องประชาชน ส่งเสริมการเดินทางจากหัวเมืองชั้นนอกเข้าสู่ใจกลางเมือง และช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ในการนี้ ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ) ,ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ปลัดกระทรวงคมนาคม,ผู้ว่าการการรถไฟฟ้ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ ผู้บริหารบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2019 10:57 am    Post subject: Reply with quote

ค่าโดยสายต่อขยายสีน้ำเงินยืนราคา16บาท
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562,


การเปิดเดินรถ โครงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รฟม. และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ได้เร่งรัดดำเนินงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและทดลองการเดินรถเสมือนจริง ช่วงหัวลำโพง – บางแค ก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้โดยเร็ว พร้อมทั้งได้จัดเตรียมความพร้อมด้านการให้บริการ โดยเตรียมรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 35 ขบวน จากเดิมมี 19 ขบวน ทำให้มีรถไฟฟ้าสำหรับให้บริการในสายสีน้ำเงินตลอดทั้งโครงข่าย 54 ขบวน และจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น

สำหรับอัตราค่าโดยสารรฟม. และ BEM ได้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน โดยยังคงอัตราค่าโดยสารเดิมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน คือ เริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท กรณีผู้โดยสารเดินทางข้ามระบบจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่ – สถานีหลักสอง) จะมีค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดไม่เกิน 70 บาท พร้อมทั้งยังคงส่วนลดพิเศษสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และนักเรียน นักศึกษา เช่นเดิม

การเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในครั้งนี้ จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายจากการเดินทางที่ต่อเนื่องตั้งแต่สถานีเตาปูนถึงสถานีหลักสอง โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้า อันเป็นการยกระดับการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรีที่สะดวก รวดเร็ว ตรงต่อเวลา และปลอดภัย นอกจากนี้ รฟม. และ BEM ยังได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการ ช่วงเตาปูน - สถานีท่าพระ เป็นลำดับต่อไป โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบมีความพร้อมและมีความปลอดภัยสำหรับการเปิดให้บริการแก่ประชาชน คาดว่าจะดำเนินการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการได้ภายในปี 2562 และมีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเมื่อทั้งสองโครงข่ายเปิดให้บริการแล้วจะมีระยะทางทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร 38 สถานี มีเส้นทางเชื่อมต่อเป็นวงกลม โดยมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม เติมเต็มโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าและขนส่งผู้โดยสารไปยังรถไฟฟ้าอีก 8 สาย นอกจากนี้ เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ยังมีจุดที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ทั้งทางราง ทางบก และทางน้ำในเขตเมือง ช่วยเสริมการเดินทางและบรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล

//---------------------------------------


รฟม.จัดให้! ตั๋วเที่ยวรถไฟฟ้า ”สีน้ำเงินต่อสีม่วง”ลดถึง 33% - สีม่วงจัดโปรฯ 20บ.ตลอดสาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562, 18:01
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 08:42


รฟม.เตรียมจัดโปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อลดค่าครองชีพประชาชนตามนโยบาย”ศักดิ์สยาม” จ่อออกตั๋วเที่ยวให้เลือก ตั้งแต่ 15 เที่ยว -40 เที่ยว กรณีเดินทางสีน้ำเงินร่วมกับสีม่วง ได้ส่วนลดถึง 33% ส่วนสายสีม่วงคลอดราคา 20 บ.ตลาดสาย

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า จากที่ รฟม. และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้มีการทดลองการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. 2562 และมีการเดินรถเสมือนจริง ตั้งแต่เวลา 05.00 น. – 24.00 น. ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 2562 เดินรถต่อเนื่องโดยผู้โดยสารไม่ต้องลงเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีหัวลำโพง ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตามลำดับ

โดยตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. ที่มีการทดลองการเดินรถ โดยไม่เก็บค่าโดยสารหรือประมาณ 60 วัน มีผู้โดยสารใช้บริการ สายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงหัวลำโพง – บางแค สะสม ประมาณ 2.5 ล้านคน-เที่ยว หรือเฉลี่ย 5 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่ในช่วงเทศกาลกินเจ มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมาก เฉลี่ยประมาณ 1.2 แสนคนต่อวัน

โดยคาดว่า เมื่อสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เปิดครบวงกลม (บางซื่อ- ท่าพระ และ หัวลำโพง – บางแค) ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็นประมาณ 4 แสนคนต่อวัน และทำให้ สายสีน้ำเงินเดิม ช่วง หัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 3.8 แสนคนต่อวัน เพิ่มเป็น 4 แสนคนต่อวัน โดยคาดว่าสายสีน้ำเงินจะมีผู้โดยสารรวม 8 แสนคนต่อวันราวปลายปี2563

@ เตรียมออกโปรฯตั๋วเที่ยว 4 แบบ ลด33% -สีม่วงเก็บ 20 บ.ตลาดสายช่วงกลางวัน

สำหรับมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น นายภคพงศ์ กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น รฟม.ได้หารือกับ BEM ผู้รับสัมปทานเดินรถแล้ว ได้ข้อสรุปว่า จะมีการจัดทำตั๋วเที่ยว ซึ่งเป็นโปรโมชั่นสำหรับผู้เดินทางต่อเชื่อมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วง จากปัจจุบันราคาสูงสุด 70 บาท ซึ่งปรับลดค่าโดยสารลงถึง 33%

โดยมีตั๋วเที่ยวโดยสารรวม 4 ประเภท ได้แก่ 1. ตั๋ว 15 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 780 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 52 บาทต่อเที่ยว

2. ตั๋ว 25 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 1,250 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 50 บาทต่อเที่ยว
3. ตั๋วแบบ 40 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 1,920 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 48 บาทต่อเที่ยว
4. ตั๋วแบบ 50 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 2,350 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 47 บาทต่อเที่ยว

ส่วนสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่นั้น รฟม. ได้พิจารณาแนวทางในการปรับลดค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak Hours) ตั้งแต่ 09.30 น.-15.30 น. โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารแบบโปรโมชั่น 3 แบบ


คือ 1. อัตรา 14 บาท (ค่าแรกเข้าเริ่มต้น) ค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเข้า และออกที่สถานีเดิม โดยไม่ออกจากระบบรถไฟฟ้า จำกัดเวลาภายใน 1 ชั่วโมง เป็นประเภท นั่งรถไฟฟ้าเที่ยว 2. อัตรา 17 บาท สำหรับผู้โดยสารที่เดินทาง 1 สถานี 3. อัตรา 20 บาทตลอดสาย สำหรับผู้โดยสารมากกว่า 1 สถานี

ทั้งนี้ จะเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ขออนุมัติการทำโปรโมชั่น เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งทาง BEM ให้ความร่วมมือในการจัดทำตั๋วเที่ยวสำหรับการใช้บริการสายสีน้ำเงินต่อเนื่องสายสีม่วง โดยไม่คิดค่าชดเชยใดๆ ส่วน สายสีม่วงนั้น รฟม.เป็นผู้บริหารการเดินรถเอง โดยปัจจุบันผู้โดยสารสายสีม่วง มีผู้โดยสารประมาณ เกือบ 7 หมื่นคนต่อวัน โดยส่วนใหญ่ใช้บริการช่วงเช้าและเย็นกว่า 6 หมื่นคน มีใช้บริการช่วงกลางประมาณ 1 หมื่นคนต่อวันเท่านั้น ซึ่ง คาดว่าการลดค่าโดยสารจะช่วยจูงใจให้มาใช้บริการในช่วงกลางวันเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1หมื่นคนต่อวัน

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ BEM กล่าวว่า การเปิดทดลองเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วง หัวลำโพง-หลักสอง มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบรถไฟฟ้าค่อนข้างมาก และคาดว่าผู้โดยสารจะเพิ่มเฉลี่ย 60,000 - 100,000 คนต่อวัน และเห็นภายในสัปดาห์นี้ และหากรวมกับผู้โดยสารในระบบสายสีน้ำเงินที่มี 3.5 แสนคนต่อวัน และคาดว่าผู้โดยสารรวมในปี 2563 น่าจะมากกว่า 4 แสนคนต่อวัน หรืออาจจะถึง 5 แสนคนก็ได้ เนื่องจาก ในเดือนมี.ค. 2563 จะเปิดเดินรถช่วงเตาปูน-ท่าพระ ซึ่งจะเร่งรัดเปิดทดลองฟรีในเดือนธ.ค. 2562 นี้

สำหรับภาพรวมผู้โดยสารปี 2562 โต 3-5 % แต่การเปิดส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินต่อขยาย มีผู้โดยสารเพิ่มอีกกว่า 60,000 คนต่อวัน หรือประมาณ 20% แต่ไม่ได้มาทั้ง 12 เดือน มาแค่ช่วงไตรมาสที่ 4 โดยจะทำให้ผู้โดยสารทั้งปี โตกว่าปีก่อนประมาณ 7-8% สูงกว่าที่คาดหมายไว้


Last edited by Wisarut on 01/10/2019 6:14 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 185, 186, 187 ... 228, 229, 230  Next
Page 186 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©