RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180560
ทั้งหมด:13491794
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 153, 154, 155 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2017 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

"ช.การช่าง"ปลุกค้าปลีกรถไฟใต้ดินเต็มสูบ เชื่อมสถานี"ศูนย์วัฒนธรรม-เพชรบุรี"ทะลุตึกสิงห์คอมเพล็กซ์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 มกราคม 2560 เวลา 07:30:23 น.


รถไฟฟ้าได้รับความนิยม ดันรายได้สื่อโฆษณา-ค้าปลีกใต้ดินเครือ ช.การช่างโต โกยยอด 500 ล้าน คาดสิงห์คอมเพล็กซ์เปิดดันคนเพิ่ม ตั้งเป้าปี′60 รายได้พุ่ง 8% ลุยประมูลพัฒนาพื้นที่สถานีสายสีม่วง 16 แห่ง คัดแบ่งเป็น 2 เฟส ประเดิม "เตาปูน-ตลาดบางใหญ่" หลังคนไม่มาตามนัด ส่วนสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เจาะพัฒนารายสถานี ปักหมุด 2 สถานี "วังบูรพา-อิสรภาพ" นำร่อง รอจังหวะผู้โดยสารเพิ่ม

นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) บริษัทลูก บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ บมจ.ช.การช่าง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รายได้รวมของปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 อยู่ที่ 470 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท ซึ่งรายได้หลักมาจากธุรกิจโฆษณา โทรคมนาคม และพื้นที่เชิงพาณิชย์เมโทรมอลล์ตามลำดับ ส่วนปี 2560 ตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 8% หรืออยู่ที่ 530 ล้านบาท

ปี′60 เนรมิตเพิ่ม 2 สถานี

"ปี′59 เราเปิดพื้นที่รีเทลในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว 6 สถานี ล่าสุดเพิ่งเปิดสถานีคลองเตย ในปี′60 จะเปิดเพิ่มอีก 2 สถานี ประมาณเดือน มี.ค.จะเปิดที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม จากนั้นประมาณไตรมาส 4 จะเปิดสถานีเพชรบุรี ยังเหลือสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีรัชดาภิเษก และสถานีลาดพร้าว ซึ่งรอดูผลศึกษารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้สอดรับกับธุรกิจในทำเลนั้น ๆ รวมถึงปริมาณผู้โดยสารด้วย"

นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการพัฒนาสถานีศูนย์วัฒนธรรม ขนาดพื้นที่ประมาณ 600-700 ตร.ม. จะเน้นทีรูปแบบไลฟ์สไตล์เพื่อตอบโจทย์ความสะดวก สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินที่ส่วนใหญ่จะมีไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ภายในสถานีจะมีร้านค้าที่เป็นพันธมิตรกับบริษัทมาทุกสถานี เช่น ร้านกาแฟอเมซอน, ลอว์สัน ร้านสะดวกซื้อ ร้านตัดผม ดอกไม้ เป็นต้น

สิงห์เจาะอุโมงค์เชื่อมออฟฟิศใหม่

ขณะที่สถานีเพชรบุรี มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตร.ม. รูปแบบการพัฒนาจะเป็นแบบเดียวกัน เนื่องจากเป็นแหล่งคนทำงาน มีอาคารสำนักงานเกิดใหม่จำนวนมาก ช่วงต้นถนนอโศก ซึ่งปลายปีนี้จะมีอาคารสำนักงานของสิงห์คอมเพล็กซ์เปิดให้บริการบริเวณทางแยกติดกับสถานีเพชรบุรี ซึ่งทางเจ้าของโครงการได้ขอทำทางเดินใต้ดินเจาะทะลุกับอุโมงค์สถานีรถไฟฟ้าเหมือนกับสถานีพระราม 9 ทำให้คนมาใช้บริการสามารถจะเดินเข้าอาคารได้สะดวกมากขึ้น

"ธุรกิจสื่อโฆษณาและพื้นที่รีเทลเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆหลังคนหันมาให้ความสนใจใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้นตอนนี้ผู้ใช้บริการอยู่ที่ประมาณ3แสนเที่ยวคน/วัน บางวันพีกสุดแตะ 3.5 แสนเที่ยวคน/วัน"



แต่งตัวรอสีม่วง-น้ำเงินต่อขยาย

ด้านการลงทุนใหม่ในปี 2560 นายณัฐวุฒิกล่าวว่า หาก BEM ได้เดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ในส่วนของ BMN จะได้รับสัมปทานต่อจากบริษัทแม่ด้วย ในการบริหารพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 21 สถานี รวมถึงพื้นที่โฆษณาในสถานีและขบวน จะทำให้รายได้ BMN มีการเติบโตก้าวกระโดด เนื่องจากงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว

"ในแง่รายได้คงไม่ดีเท่ากับสีน้ำเงินปัจจุบัน เพราะสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่นอกเมืองมากกว่า รายได้คงจะไม่ดับเบิล ถึงแม้ว่าพื้นที่โฆษณาต่าง ๆ จะดับเบิลก็ตาม เนื่องจากศักยภาพของการทำรายได้พื้นที่โฆษณาส่วนต่อขยายอยู่นอกเมือง จะโตเหมือนย่านรัชดาภิเษก สุขุมวิทคงไม่ได้"

นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่า ดังนั้นในตลอดเส้นทางมี 21 สถานีจากการทำรายละเอียดแล้ว คงไม่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ทุกสถานี โดยจะสามารถพัฒนาพื้นที่รูปแบบเมโทรมอลล์ได้จำนวน 2 สถานีที่เป็นสถานีใต้ดิน คือ สถานีวังบูรพากับสถานีอิสรภาพ ส่วนสถานีที่เหลือจะเป็นแบบลอยฟ้า รูปแบบการพัฒนาจะเป็นลักษณะร้านค้าขนาดเล็กเหมือนสถานีของรถไฟฟ้าบีทีเอส

ขณะเดียวกันจะเข้าประมูลพัฒนาพื้นที่สถานีของสายสีม่วง(คลองบางไผ่-เตาปูน)ระยะทาง23กม.จำนวน 16 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน บางซ่อน วงศ์สว่าง แยกติวานนท์ กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ราชการนนทบุรี ศรีพรสวรรค์ แยกนนทบุรี 1 สะพานพระนั่งเกล้า ไทรม้า ท่าอิฐ บางรักใหญ่ บางพลู สามแยกบางใหญ่ ตลาดบางใหญ่ และคลองบางไผ่

ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกประกาศร่างทีโออาร์โครงการ ซึ่งบริษัทได้ศึกษาพื้นที่ไว้หมดแล้วว่าทั้ง 16 สถานีจะพัฒนารูปแบบไหน และจะต้องแบ่งการพัฒนาเป็นเฟส เช่น เฟสแรกจะเริ่มที่สถานีเตาปูน และสถานีตลาดบางใหญ่ใกล้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต ที่มีความเหมาะสม สามารถพัฒนาได้ทันที เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางและมีผู้ใช้บริการค่อนข้างมาก ส่วนที่เหลือจะทยอยดำเนินการ เนื่องจากต้องรอปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการ

ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.บีอีเอ็ม กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทกำลังทำรายละเอียดการพัฒนาพื้นที่สถานีของสายสีม่วงให้ รฟม.พิจารณา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาทในการก่อสร้างพื้นที่ร้านค้าและโฆษณาบนสถานี ซึ่งรูปแบบร้านค้าจะเหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

รฟม.เปิดประมูล PPP

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า มติบอร์ดวันที่ 16 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ รฟม.เปิดประมูลพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานี 16 สถานีของสายสีม่วงรูปแบบ PPP (รัฐและเอกชนร่วมลงทุน) แทนเจรจาตรงกับ BEM ที่รับจ้างเดินรถ 30 ปีอยู่แล้ว ซึ่งบอร์ดให้ไปดูว่าขั้นตอนไหนที่ทำให้รวดเร็วได้ และเสนอบอร์ดโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะเป็นช่วงต้นปี 2560 นี้

"ที่ต้องประมูลเพื่อความโปร่งใส เกรงว่าเจรจารายเดิมจะมีประเด็นด้านข้อกฎหมาย ส่วนระยะเวลาเจรจารายเดิมกับประมูลไม่ต่างกันมากประมาณ 6-8 เดือน ส่วนจะเป็น PPP แบบไหนต้องศึกษารายละเอียด ก็มีความเป็นไปได้จะเป็น PPP Net Cost รวมถึงมูลค่าการลงทุนโครงการจะต้องรอผลศึกษาก่อนถึงรู้ว่าจะเป็น PPP ขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ หากมูลค่าไม่เกิน 5,000 ล้านบาทจะดำเนินการได้เร็ว แต่ถ้าเกิน 5,000 ล้านบาทจะมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า จะพยายามเปิดประมูลภายในไตรมาสแรกปี′60"

สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายใน 16 สถานีของสายสีม่วง มีพื้นที่รวมประมาณ 1,000 ตร.ม. แบ่งศักยภาพของสถานีเป็น 3 เกรด คือ เอ บี และซี โดยกลุ่มเอ ได้แก่ สถานีเตาปูน สถานีนนทบุรี 1 และสถานีตลาดบางใหญ่ ส่วนที่เหลือจะเป็นสถานีเกรดบีและซี ปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4 หมื่นเที่ยวคน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2017 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

ภายในสถานีอิสระภาพ
https://www.facebook.com/cutandcarveexclusive/posts/1339086336129548
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2017 11:45 pm    Post subject: Reply with quote

ช.การช่างต่อรองชดเชยรายได้ หวั่นสายสีน้ำเงินผู้โดยสารน้อย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
15 มกราคม 2560 เวลา 11:30:58 น.


"ช.การ ช่าง" ต่อรองบอร์ดร่วมทุนรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ขอชดเชยรายได้ 10 ปี 760 ล้านบาท ผลักรัฐรับความเสี่ยงปริมาณผู้โดยสารน้อย ซ้ำรอยสายสีม่วง รอ "คลัง-คมนาคม-ครม." ทุบโต๊ะ คาดอีก 2 เดือนรู้ผล "อาคม" ย้ำรัฐไม่ต้องชดเชย ชี้เมื่อโครงข่ายครบ 10 สาย จำนวนผู้โดยสารพุ่งพรวดแน่

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ผลเจรจากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ในเครือ ช.การช่าง เรื่องการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม.นั้น ขณะนี้คณะกรรมการมาตรา 43 ของพระราชบัญญัติเอกชนร่วมลงทุนปี 2535 และคณะกรรมการมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติเอกชนร่วมลงทุนปี 2556 เสนอข้อสรุปไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2560 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา ก่อนเสนอมายังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามลำดับ คาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือน

"ผลเจรจาคือ เอกชนรายเดียวจะเดินรถเป็นวงกลม โดยรวมกับสีน้ำเงินเดิม แต่ขอเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว คิดค่าโดยสารตามโครงสร้างเดิม 16-42 บาท"

แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อสรุปอาจเป็นไปตามนโยบายรัฐ โดยให้รายเดียวเดินรถต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ทำให้การเจรจามาลงตัวที่คณะกรรมการ ซึ่งคาดว่าจะเป็นธรรมทั้งรัฐและเอกชน โดยที่ไม่ได้แตะสัญญาสัมปทานเดิมแต่อย่างใด

โดยรัฐจะอุดหนุนรายได้ เอกชนปีละ 76 ล้านบาท รวม 10 ปี เป็นเงิน 760 ล้านบาท แลกกับที่ไม่เก็บค่าแรกเข้าส่วนต่อขยาย และค่าโดยสารทั้งโครงข่ายไม่เกิน 42 บาท เนื่องจากเอกชนไม่มั่นใจว่า ประมาณการผู้โดยสารจะเป็นไปตามที่คาดไว้ 8 แสนเที่ยวคน/วันหรือไม่ เพราะมีบทเรียนจากสายสีน้ำเงินเดิมที่ประมาณการผู้โดยสารไว้ 8 แสนเที่ยวคน/วัน แต่มีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 2.8-3 แสนเที่ยวคน/วัน อีกทั้งแนวสีน้ำเงินสายใหม่ก็พาดผ่านทำเลพื้นที่ชานเมือง ไม่ใช่ตัวเมือง

ขณะที่รัฐจะได้รับผลตอบแทนของสายสีน้ำเงินเดิม 27,730 ล้านบาท (หักค่าจ้างเดินรถ 1 สถานีแล้ว) จนหมดอายุสัมปทานปี 2572

ด้าน ส่วนต่อขยายรัฐจะไม่ได้รับผลตอบแทน เนื่องจากผลตอบแทนด้านการเงิน (IRR) ต่ำ อยู่ที่ 9.75% ทำให้เอกชนขาดทุน หลังไม่เก็บค่าแรกเข้าต่อที่ 2 และเก็บค่าโดยสารเท่าเดิม 42 บาท อีกทั้งเอกชนต้องลงทุนกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ในการติดตั้งระบบ ซื้อรถใหม่และซ่อมบำรุง รวมถึงต้นทุนทางการเงิน จากเงื่อนไขรัฐจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ต่อเมื่อผลตอบแทนด้านการเงินเกิน 9.75%

"760 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่เป็นการการันตีรายได้ แต่เรียกว่า ถ้าผู้โดยสารไม่ถึง 8 แสนเที่ยวคน/วัน เอกชนจะขอให้รัฐชดเชยให้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลังและ ครม.จะเห็นด้วยหรือไม่ หากไม่เห็นด้วยก็เจรจาใหม่" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ทั้งนี้ หลักการเจรจาจะต่างจากรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) กับสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เนื่องจากสายสีน้ำเงินต่อขยายเป็นการเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิม แต่สีชมพู-สีเหลืองเปิดประมูลแบบ PPP เอกชนเป็นผู้ลงทุนและรับความเสี่ยงทั้งหมด ทั้งค่าโดยสารตลอด 30 ปี รัฐจะอุดหนุนเพียงค่าก่อสร้าง

"สัมปทานรถไฟฟ้าเป็นคอมเมอร์เชียลดีล มีหลายความเสี่ยงทั้งรัฐและเอกชน เหมือนระบบสาธารณูปโภคการผลิตไฟฟ้า น้ำประปา"

ก่อนหน้านี้ นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า บริษัทดำเนินการตามนโยบายรัฐ ประชาชนจะต้องเดินทางสะดวก ค่าโดยสารต้องไม่แพงและปลอดภัยสูงสุด ค่าโดยสารทั้งโครงข่ายอยู่ที่ 16-42 บาท จะเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว จึงเสนอให้รัฐชดเชยรายได้เป็นรายปี เพราะรายได้หายไปจากการเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อการเจรจายุติแล้ว รฟม.ต้องเสนอ สคร.และกระทรวงคมนาคมพิจารณารายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนเสนอ ครม. ในหลักการรัฐจะไม่อุดหนุนใด ๆ ให้เอกชน แม้ผู้โดยสารจะไม่มากในช่วงแรก แต่ระยะยาวจะพุ่งพรวด เมื่อโครงข่ายใหม่สร้างเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2017 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

พร้อมเปิดแลนด์มาร์คใหม่ล่าสุด 'มิวเซียมสยาม MRTสนามไชย'
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 16.35 น.

เตรียมเปิด 'มิวเซียมสยาม รถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย' ปลายปี 2560 โชว์ความเป็นไทยด้วยสถาปัตยกรรมท้องพระโรงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เมื่อวันที่ 30 ม.ค.60 มิวเซียมสยาม(Museum Siam) ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดตัว แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองไทย “มิวเซียมสยาม สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย” พร้อมเปิดแคมเปญ “MUSE ALL YEAR : ฉลาดคิด พิพิธเพลิน” สู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้และวัฒนธรรมแห่งเกาะรัตนโกสินทร์ คาดจะเปิดให้เข้าชมในช่วงปลายปี 2560 

นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการมิวเซียมสยาม กล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้มิวเซียมสยามจะกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยจะะเป็นจุดท่องเที่ยว และเป็นแหล่งการเรียนรู้วัฒนธรรมแห่งใหม่ของเกาะรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ขึ้นมาจากรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ภายในมีการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผลงานออกแบบโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อสื่อถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

ด้านนายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ถือเป็นหนึ่งกำลังสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ดังนั้น ททท. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวไทย จึงให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 ททท. ได้ร่วมผลักดันให้มิวเซียมสยามเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้และวัฒนธรรมแห่งกกรัตนโกสินทร์เพื่อสร้างจุดหมายปลายทางใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้บนเกาะรัตนโกสินทร์ต่อไป 

ขณะที่ นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและสถาปัตย์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ช่วยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางและสามารถเข้าถึงพิพิธภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะรัตนโกสินทร์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชยเป็นหนึ่งในสถานีของเส้นทางโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค โดยสถานีรถไฟที่สนามไชยเป็นสถานีเดียวที่อยู่ใจกลางพื้นที่ชั้นในของกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชยนั้นตอนนี้แล้วเสร็จ 100% แต่ยังอยู่ในช่วงระหว่างการส่งมอบงาน ขณะที่ภาพรวมของรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งสายนั้นแล้วเสร็จ 80%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2017 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พร้อมเปิดแลนด์มาร์คใหม่ล่าสุด 'มิวเซียมสยาม MRTสนามไชย'
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 16.35 น.



(มีคลิป) เยี่ยมชม "สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย" ที่ว่ากันว่าเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่สวยที่สุดในโลก
โดย ผู้จัดการรายวัน
30 มกราคม 2560 17:34 น.




วันนี้ (30 ม.ค. 60) นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและสถาปัตย์ การรถไฟฟ้าขนส่งแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้พาคณะสื่อมวลชนเข้าไปดูความคืบหน้ากว่า 80 % ของ รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ที่ว่ากันว่าเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่สวยที่สุดในโลก ด้วยการจำลองห้องในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง เพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือน ปิดทองคำเปลว โดยฝีมือของ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ปี 2537 ที่ได้รับแรงบันดาลมาจากวัดและวัง รอบเกาะรัตนโกสินทร์ - เปิดปลายปี 2560
https://www.youtube.com/watch?v=nFDE2lNRNpY
http://www.dailynews.co.th/videos/regional/001650
https://www.youtube.com/watch?v=UsvMXIjZYBc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2017 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

อาคมชงจ้าง BEM เดินรถ 1 สถานีเข้า ครม.7 ก.พ.-เจรจาเดินรถสีน้ำเงินต่อขยายจบแล้ว
--อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/เสาวลักษณ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
อังคารที่ 31 มกราคม 2560 17:26:12 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ได้เจรจาว่าจ้างบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถ 1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม. โดยให้ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและบริหารการเดินรถ และรฟม.ได้สรุปเรื่องเสนอมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว ทั้งนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมวันที่ 7 ก.พ.60 และขั้นตอนหลังจากนั้นจะเป็นการลงนามสัญญากับเอกชนเพื่อเริ่มติดตั้งระบบและทดสอบแล้วเสร็จภายใน 5 เดือน คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในต้นเดือน ส.ค.60

อีกทั้ง กระทรวงคมนาคมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานกับ ครม.เรื่องการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ ตามสั่ง มาตรา 44 ซึ่งคณะกรรมการร่วม ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 56 และคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2556 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้เจรจากับ BEM ให้เป็นผู้ติดตั้งระบบรถไฟฟ้า และบริหารการเดินรถไฟฟ้า แล้ว

นอกจากนี้ ได้รายงานความคืบหน้าโครงการความร่วมมือรถไฟ ไทย-จีน ซึ่งทางคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานนั้น ระบุว่า พร้อมร่วมแก้ปัญหาในข้อข้ดข้อง ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าด้านการถอดแบบรายละเอียดใกล้ได้ข้อยุติแล้ว โดยคณะทำงานด้านเทคนิคไทย-จีนได้ร่วมประชุมกันโดยตลอด และอยู่ระหว่างการนัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 17 ที่ประเทศจีน เพื่อเดินหน้าการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา (ไฮสปีดเทรน) ระยะทาง 252.5 กม.ให้เป็นไปตามกรอบความร่วมมือที่ได้ตกลงกัน

สำหรับโครงการแก้ปัญหาจราจรในภูมิภาค ซึ่งมี 6 จังหวัดที่มีปัญหาจราจรติดขัดมากคือเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา หาดใหญ่ ภูเก็ตและ พิษณุโลกนั้น พบว่าจังหวัดภูเก็ตและเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญลำดับต้น โดยล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาออกแบบการแก้ปัญหาจราจรที่จังหวัดภูเก็ตแล้ว เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) โดยเตรียมนำเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ จะมีระยะทาง 60 กม.เริ่มจากสถานีท่านุ่น-อ่าวฉลอง และยังเป็นโครงการที่อยู่ในแผนปฎิบัติการ (Action Plan) ปี 60 ของกระทรวงคมนาคมด้วย ส่วนระบบรางที่จังหวัดเชียงใหม่จะเป็นรถไฟฟ้ารางเบาเช่นกัน โดยอยู่ในระหว่างการทบทวนตัวเลขปริมาณจราจร ส่วนจังหวัดที่เหลืออยู่ระหว่างการศึกษาและจะทยอยนำเสนอคมนาคมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2017 12:40 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม” ชงครม. 7ก.พ.ทุบโต๊ะจ้างBEM 900ล้านเดินรถ”เตาปูน-บางซื่อ”แก้รถไฟฟ้าฟันหลอ คาดเปิดใช้ส.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อังคารที่ 31 มกราคม 2560 เวลา 18:28:36 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่30 ม.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคม ได้รายงานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง(ป.ย.ป.) ถึงการใช้มาตรา 44 แยกการจ้างเดินรถไฟฟ้า 1 สถานี เตาปูน-บางซื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ เพื่อให้สามารถเดินรถได้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้เจรจากับบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) เรียบร้อยแล้ว คิดเป็นวงเงินรวม 918 ล้านบาท แยกเป็นค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 671 ล้านบาท ค่าเดินรถ 52 ล้านบาท/ปี โดยจะจ้าง 2 ปีคิดเป็นเงินรวม 104 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยทางการเงิน 82.5 ล้านบาท ภาษี 7% คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติวันที่ 7 ก.พ.นี้ เมื่อได้รับการอนุมัติจะใช้เวลาดำเนินการ 5 เดือน จะเปิดให้บริการช่วงสิ้นเดือนก.ค.-ต้นส.ค.2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2017 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดดีลสายสีน้ำเงิน-ช.การช่างยอมรับความเสี่ยง
ประชาชาติธุรกิจ
5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08:00:16 น.

"สมคิด-วิษณุ" สางปมเมกะโปรเจ็กต์ เร่งขับเคลื่อนลงทุน ปิดดีลสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยาย บีบ "ช.การช่าง" รับความเสี่ยงเอง หวั่นโครงการลากยาว รอ ครม.ไฟเขียว ดีเดย์ 9 ก.พ.เซ็นสายสีส้ม 7 หมื่นล้าน พ่วงรอยต่อ "เตาปูน-บางซื่อ" เผยบิ๊กรับเหมาปาดหน้าเค้กทางคู่ 5 สายแสนล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พยายามเร่งรัดการประมูลและลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เดินหน้าโดยเร็ว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

บีบเจรจาใหม่เดินรถสีน้ำเงิน

ล่าสุด ผลเจรจากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เครือ ช.การช่าง เรื่องสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ 27 กม. ระยะเวลา 30 ปี ได้สั่งให้เจรจาใหม่โดยที่รัฐไม่ต้องไปชดเชยรายได้ให้เอกชน เพราะจะทำให้การเจรจายืดเยื้อออกไปอีก เนื่องจากมีแนวโน้มว่า รัฐจะไม่รับข้อเสนอนี้ ทำให้ 2 รองนายกรัฐมนตรี คือ นายสมคิดและนายวิษณุ เครืองาม ได้ส่งสัญญาณมายังคณะกรรมการร่วมทุนฯ ให้เร่งข้อยุติโดยเร็ว

BEM กลับลำไม่ขอรัฐชดเชย

"สุดท้าย BEM ก็ยอมถอย รับความเสี่ยงทั้งหมด โดยไม่ให้รัฐชดเชยรายได้และจะไม่มีข้อเสนออื่น ๆ เป็นข้อแลกเปลี่ยน จากเดิมก่อนหน้านี้ยื่นข้อเสนอให้รัฐอุดหนุนรายได้ปีละ 76 ล้านบาท รวม 10 ปี เป็นเงิน 760 ล้านบาท แลกกับที่รัฐไม่ให้เก็บค่าแรกเข้าส่วนต่อขยาย และค่าโดยสารทั้งโครงข่ายไม่เกิน 42 บาท เพราะไม่มั่นใจเมื่อเปิดบริการแล้ว ผู้โดยสารจะถึง 8 แสนเที่ยวคน/วันตามที่ประมาณการไว้หรือไม่ ซึ่งเอกชนต้องวัดดวงเอาเอง" แหล่งข่าวกล่าว และว่า

ขณะนี้ผลเจรจาด้านอื่น ๆ ยังคงเดิม เช่น การแบ่งผลประโยชน์รายได้ของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้รัฐ ซึ่ง BEM จะแบ่งให้เป็นรายปี ตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตลอดอายุ 30 ปี ขั้นต่ำอยู่ที่ 50:50 ภายใต้เงื่อนไขต้องมีผลตอบแทนด้านการเงิน (IRR) เกิน 9.75% ทั้งนี้เนื่องจาก IRR ต่ำ มีการคาดการณ์ว่ารัฐอาจจะไม่ได้รับผลแทนของสีน้ำเงินส่วนต่อขยายตลอดอายุสัมปทาน แต่รัฐจะได้รับผลตอบแทนของสายสีน้ำเงินเดิม 27,730 ล้านบาท (หักค่าจ้างเดินรถ 1 สถานีแล้ว) จนหมดอายุสัมปทานปี 2572

รอ สคร.-ครม.ทุบโต๊ะ ก.พ.

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เสนอผลเจรจาล่าสุดไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แล้ว หากอนุมัติจะเสนอมายังกระทรวงคมนาคม ประมวลผลเจรจาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ

"ตอนนี้กระทรวงทำงานคู่ขนานระหว่างรอ สคร.อนุมัติผลเจรจา กับรออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา คาดว่าในเดือน ก.พ.- มีค.นี้ หากได้รับอนุมัติจะเซ็นสัญญาได้"

เร่งเปิดเดินรถต่อเชื่อม 1 สถานี

ส่วนแผนเปิดใช้สายสีน้ำเงินในเดือน ส.ค.นี้จะเปิดเดินรถ 1 สถานีเชื่อมสายสีม่วงที่สถานีเตาปูนกับสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่อ จากนั้นปลายปี 2562 จะเปิดหัวลำโพง-บางแค และเปิดหมดปี 2563

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุม ครม.วันที่ 7 ก.พ.นี้กระทรวงจะเสนอสัญญาจ้าง BEM เดินรถ 1 สถานี วงเงินรวม 918 ล้านบาทให้ ครม.อนุมัติ แยกเป็นค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 671 ล้านบาท ค่าเดินรถ 52 ล้านบาท/ปี คาดว่าจะเปิดบริการเดือน ก.ค.-ต้น ส.ค.นี้



9 ก.พ.เซ็นสายสีส้ม-น้ำเงิน

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า วันที่ 9 ก.พ.นี้จะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา 2 โครงการ มีนายสมคิดเป็นประธาน ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 21.2 กม.จำนวน 6 สัญญา ค่าก่อสร้าง 79,509 ล้านบาท หลังคณะกรรมการอนุมัติ 6 ก.พ.

สำหรับ 6 สัญญา ได้แก่ 1.อุโมงค์ใต้ดิน (ศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง 12) ของกิจการร่วมค้า CKST (บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ) 20,698 ล้านบาท 2.อุโมงค์ใต้ดิน (รามคำแหง 12-หัวหมาก) ของกิจการร่วมค้า CKST วงเงิน 21,572 ล้านบาท

3.อุโมงค์ใต้ดิน (หัวหมาก-คลองบ้านม้า) ของ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ 18,589.66 ล้านบาท 4.ทางยกระดับ (คลองบ้านม้า-มีนบุรี) ของ บมจ.ยูนิคฯ 9,999 ล้านบาท 5.ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร ของกิจการร่วมค้า CKST วงเงิน 4,901 ล้านบาท และ 6.งานระบบราง ของ บมจ.ยูนิคฯ 3,750 ล้านบาท

นอกจากนี้จะเซ็นสัญญากับ BEM เดินรถ 1 สถานี วงเงิน 918 ล้านบาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) กับสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) อยู่ระหว่างเจาจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอสซี-ซิโนไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้ง) เนื่องจากมีข้อเสนอเพิ่มเติมเรื่องการต่อขยายเส้นทางออกไปอีก คาดได้ข้อสรุปและเซ็นสัญญาภายใน เม.ย.นี้

รับเหมาแห่ชิงเค้กทางคู่ 5 สาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดยื่นซองประมูลรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง วงเงินรวม 97,783 ล้านบาท ผลยื่นซองสายมาบกะเบา-จิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 28,505 ล้านบาท มียื่น 5 ราย ได้แก่ บมจ.ช.การช่าง, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น, กิจการร่วมค้า ซีทีพี (ไชน่าฮาร์เบอร์- ทิพากร), บมจ. อิตาเลียนไทย และ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 23,921 ล้านบาท ยื่น 6 ราย มี บมจ. ซิโน-ไทยฯ, บมจ. ช.การช่าง, บจ. เอ.แอส แอสโซซิเอท, บมจ. อิตาเลียนไทย, บมจ. ยูนิค และกิจการร่วมค้า SPS (ซิโนไฮโดร-เพาเวอร์ไลน์-สระหลวง) ผู้รับเหมาไทยกับจีน

สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. ราคากลาง 16,234 ล้านบาท มี 6 ราย ได้แก่ บมจ. อิตาเลียนไทยฯ, บมจ. ซิโน-ไทยฯ, บมจ. ยูนิค, บมจ. ช.การช่าง, บจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอท และกิจการร่วมค้า CKS (CRCC + KT + ศักดาพร) ผู้รับเหมาไทยร่วมกับจีน สายนครปฐม-หัวหิน 165 กม. ราคากลาง 19,270 ล้านบาท มี 6 ราย ได้แก่ บมจ. อิตาเลียนไทยฯ, บมจ. ซิโน-ไทยฯ, บมจ.ยูนิค, กิจการร่วมค้า CTBB (CRCC + TBTC + BTC) จากประเทศเกาหลี, บมจ. ช.การช่าง และ บจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอทและสายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กม. ราคากลาง 9,853 ล้านบาท มี 8 ราย ได้แก่ บมจ. อิตาเลียนไทยฯ ร่วมกับ บมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ, บมจ. ซิโนไทย, บมจ. ช.การช่าง, บมจ. ยูนิค, กิจการร่วมค้า TBBT (TBTC + BTC), กิจการร่วมค้า SPSS (สหการ + ซิโนไฮโดร + เพาเวอร์ไลน์ + สระหลวง), บจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอท และกิจการร่วมค้า KSR ( KT + ศักดาพร)

ร.ฟ.ท.จะใช้เวลาตรวจซองเอกสารวันที่ 6-17 ก.พ. แจ้งเอกชนผู้มีสิทธิ์เสนอราคา วันที่ 20 ก.พ. 60 เปิดเคาะราคาวันที่ 1 มี.ค. ประกาศผลวันที่ 20-24 มี.ค.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อเสนอขอชดเชยรายได้ของบริษัท ช.การช่าง จบไปนานแล้ว โดยเอกชนยอมรับว่า เมื่อได้ขยายโครงการครบลูป คือได้ส่วนต่อขยายแล้ว ก็ไม่ต้องให้รัฐจ่ายชดเชยรายได้

ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจว่า ปีนี้คมนาคมจะเป็นพระเอกเร่งรัดเบิกจ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งอย่างน้อย 1.6 แสนล้านบาท จาก 20 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท หลังจากปี 2559 เบิกจ่ายล่าช้า เบิกจ่ายได้ 79,000 ล้านบาทหรือ 60% ของที่คาดการณ์ว่าจะได้กว่า 100,000 ล้านบาท มากกว่าปี 2559 ราว 2 เท่าตัว นอกจากนี้ ปีนี้มีโครงการเพิ่มเข้ามาใหม่ 800,000 ล้านบาท แผนทั้งหมดมีวงเงินรวม 2.2 ล้านล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2017 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้างานก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหลักสอง - ท่าพระอัลบั้มความคืบหน้างานก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหลักสอง - ท่าพระ
7 กุมภาพันธ์ 2560
ภาพถ่ายงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สถานีหลักสอง สถานีบางแค สถานีภาษีเจริญ สถานีเพชรเกษม 48 สถานีบางหว้า สถานีท่าพระ
https://www.facebook.com/pg/RenderThailand/photos/?tab=album&album_id=1788449721415249
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2017 1:46 am    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟใต้ดิน สนามไชย ประตูสู่เกาะรัตนโกสินทร์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 20:56:00 น.


จากที่เคยเป็นข่าวและเผยภาพให้เห็นไปแล้วว่า รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสถานีเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ออกแบบตกแต่งอย่างสวยงาม โดยออกแบบภายในมีรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในพระบรมมหาราชวัง



สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชยเป็นสถานีเดียวที่มีตัวสถานีอยู่ในใจกลางพื้นที่ชั้นในของเกาะรัตนโกสินทร์ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมืองเดิม

ด้วยความสวยงามและแหล่งทำเลที่ตั้งของสถานีทำให้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชยถูกหมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ และจะเป็นจุดเชื่อมต่อการท่องเที่ยวในย่านพระนคร หรือเกาะรัตนโกสินทร์



สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้าง ขณะนี้ นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและสถาปัตย์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในส่วนตัวสถานีสนามไชยแล้วเสร็จไปเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ต้องรอการก่อสร้างในส่วนรถไฟฟ้าทั้งสาย คาดว่ารถไฟฟ้าใต้ดินสายนี้จะสามารถเร่งรัดเปิดให้บริการได้ในปี 2562

หลังจากที่รถไฟฟ้าใต้ดินสายนี้เปิดให้บริการ แหล่งท่องเที่ยวที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชยมากที่สุดเห็นจะเป็นมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์ที่ขยันจัดกิจกรรมดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ แต่ก่อนหน้านี้มีอุปสรรคในการเข้าถึง เพราะเดินทางยากเหลือเกิน หากนั่งรถไปลงที่สนามหลวงก็ยังต้องเดินต่ออีกไกลจนหมดแรง หากขับรถส่วนตัวไปเองก็หาที่จอดไม่ได้ แต่เมื่อมีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชยโผล่ขึ้นมาในรั้วของมิวเซียมสยามแล้ว ปัญหาเรื่องการเดินทางจะน้อยลง เพราะเดินจากสถานีไม่กี่ 10 ก้าวก็เข้าถึงตึกมิวเซียมสยามได้ทันที

ล่าสุดมิวเซียมสยามจับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เผยศักยภาพของมิวเซียมสยามในการเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ด้วยความสะดวกสบายในการเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย



นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการมิวเซียมสยาม กล่าวว่าในอนาคตอันใกล้มิวเซียมสยามจะกลายเป็น จุดท่องเที่ยวแรก (First Stop Destination) บนเกาะรัตนโกสินทร์ที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติตั้งแต่ก้าวแรกที่ขึ้นมาจากรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชยโดยมิวเซียมสยามได้ปรับปรุงอาคารสถานที่ใหม่ทั้งหมด พร้อมพัฒนานิทรรศการถาวรชุดใหม่ "ถอดรหัสไทย" ที่คาดว่าจะเปิดให้เข้าชมในช่วงปลายปี

นายฉัตรทันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ของไทยที่มีอยู่หลากหลาย จึงมุ่งกระตุ้นและสร้างกระแสให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ

"ในปี 2560 นี้ ททท.ได้ร่วมผลักดันให้มิวเซียมสยาม เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้และวัฒนธรรมแห่งเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อสร้างจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยว (Tourist Destination) ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำอันจะช่วยส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้ในลักษณะเครือข่ายสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะรัตนโกสินทร์ต่อไป"

สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินเชื่อมต่อไปจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชยมีมากมายไม่ว่าจะเป็นพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ปากคลองตลาด นิทรรศรัตนโกสินทร์ โลหะปราสาท ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ ป้อมพระสุเมรุ หรือจะข้ามฝั่งแม่น้ำไปยังอรุณราชวราราม หรือถ้าใครชอบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชีวิต ก็มีชุมชนเก่าแก่มากมายที่ซ่อนตัวอยู่ตามซอกซอยรอคอยให้เข้าไปทำความรู้จัก

ถือว่ารถไฟฟ้าใต้ดินสถานีนี้เหมือนกระจกของมณีจันทร์ในทวิภพที่จะพาคนยุคปัจจุบัน ย้อนไปสัมผัสสถาปัตยกรรมยุคเก่าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในเกาะรัตนโกสินทร์
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 153, 154, 155 ... 228, 229, 230  Next
Page 154 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©