Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264132
ทั้งหมด:13575415
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 188, 189, 190 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2019 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เริ่มทดสอบเดินรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำสายที่ 3 เตาปูน-ท่าพระ เตรียมเปิดบริการ
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
จันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 เวลา 08:50 น.


คนฝั่งธนเฮ! ธ.ค.นี้เปิดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงสุดท้าย “เตาปูน” ทะลุ “ท่าพระ” นั่งฟรีถึง31มี.ค.63
ข่าวพร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 เวลา 16:29 น.


นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยว่าภายในเดือน ธ.ค.นี้ คาดว่าจะเปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ได้ครบทั้ง 8 สถานี ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายเร่งรัดให้เปิดบริการให้หมดสิ้นปีนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับสำหรับประชาชน ฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และแก้ปัญหาการจราจร โดยช่วงต้น ธ.ค.จะเปิดทดลองก่อน 4 สถานี จากเตาปูน-สิรินธร จากนั้นปลายปีจะเปิดอีก 4 สถานีที่เหลือ โดยจะเปิดให้บริการฟรีไปถึงวันที่ 31 มี.ค.2563

“ธ.ค.นี้สายสีน้ำเงินจะเดินรถครบโครงข่ายเป็นวงกลม แต่ในช่วงทดลองผู้โดยสาร อาจจะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีเตาปูนก่อน แค่หลังจากวันที่ 31 มี.ค. 2563 จะเดินรถแบบต่อเนื่อง เพราะจะเก็บค่าโดยสารตามสัญญา 16-42 บาท โดยคาดว่ามีผู้โดยสารอยู่ที่ 5 แสนเที่ยวคน/วัน เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 4.7 แสนเที่ยวคน/วัน เพิ่มขึ้น 20% ส่วนการจัดโปรโมชั่นของสายสีน้ำเงินที่บริษัทรับสัมปทานในปีนี้ยังไม่มีคาดว่าจะเป็นภายในปีหน้า เช่น บัตรโดยสารแบบรายเดือนจำกัดเที่ยว”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2019 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
BEM นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงงานประกอบรถไฟฟ้า MRT ณ ประเทศออสเตรีย

https://www.facebook.com/BEM.MRT/posts/10157778012044516?__tn__=H-R

BEMนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงงานประกอบรถไฟฟ้า MRT ประเทศออสเตรีย
วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 17.52 น.

บวนการผลิตรถไฟฟ้าดังกล่าวแบบเห็นกันชัด ๆ มานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ ดังนี้
https://www.youtube.com/watch?v=iTYNGQ7gIu8


บุกโรงงานซีเมนส์...ผลิตรถไฟฟ้า MRT-BEM ดีไซน์เพิ่มระบบเซฟตี้รองรับผู้โดยสารทุกกลุ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08:35
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:59


วันที่ 30 มีนาคม 2563 ซึ่งนับจากนี้อีกไม่กี่เดือน รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT) หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะเปิดให้บริการส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ อีก 8 สถานี ซึ่งหมายความว่า รถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงินจะเปิดให้บริการครบวงกลม ตั้งแต่หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ-บางแค (หลักสอง) ระยะทางรวมทั้งสิ้น 34 สถานี มีเส้นทางเป็นวงแหวนครอบคลุมพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ทั้งระบบใต้ดินและยกระดับ

โดยใช้เวลาถึง 20 ปี หากนับตั้งแต่รถไฟฟ้า MRT เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2542 จากหัวลำโพง-บางซื่อ ขณะที่...ในแผนแม่บทฯ ยังเหลือส่วนต่อขยายอีก 4 สถานี จากหลักสอง-พุทธมณฑล สาย 2 ที่ยังไม่มีการก่อสร้างใดๆ

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีหน้าที่ลงทุนติดตั้งระบบ จัดหาขบวนรถ และบริหารการเดินรถ

ระบบรถไฟฟ้า MRT นั้นกำหนดสเปกตัวรถที่มีขนาดใหญ่ มีอัตราความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ในการเดินรถจะใช้อัตราความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในช่วงเริ่มต้น มีรถทั้งหมด 19 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ โดยรถไฟฟ้า 1 ขบวน (3 ตู้) บรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 886 คน หากอัดแน่นๆ จะได้ถึง 1,000 คน

สภาพการจราจรของ กทม.และปริมณฑลทำให้รถไฟฟ้าได้รับความนิยมจากประชาชนในเวลาอันรวดเร็ว ขบวนรถที่มี 19 ขบวนจึงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น ผู้โดยสารต่อคิวยาวเหยียด หลุดจากชั้นขายตั๋วลงไปถึงพื้นถนนด้านล่างของสถานีในบางวัน

“ยิ่งวันไหนเกิดภาวะฝนตก... น้ำท่วม รถติดหนึบ รถไฟฟ้าเท่านั้นคือทางออก”

BEM ได้สั่งซื้อขบวนรถเพิ่มอีก 35 ขบวน หรือ 105 ตู้ ตั้งแต่ปี 2560 จาก บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ซึ่งเป็นรถยี่ห้อเดิม โดยจะนำมาให้บริการใน MRT ส่วนแรก และส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค ซึ่งเมื่อรวมกับรถเดิมที่มี 19 ขบวน จะทำให้มีขบวนรถถึง 54 ขบวน หรือ 162 ตู้

“วิทูรย์ หทัยรัตนา” รองกรรมการผู้จัดการ สายงานปฏิบัติการระบบราง BEM เป็นหัวหน้าทีม พาผู้สื่อข่าวเดินทางไปถึงโรงงานผลิตรถไฟฟ้าของบริษัท Siemens ที่กรุงเวียนนา (Vienna) และเมืองกราซ (Graz) ประเทศออสเตรีย เพื่อให้เห็นแทบจะทุกขั้นตอนของการผลิต การประกอบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT

ซึ่งตัวรถ ซีเมนส์ทำการผลิตที่ตุรกี ส่วนโบกี้ผลิตที่โรงงานของซีเมนส์ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย และนำมาประกอบขั้นสุดท้ายที่โรงงานหลักที่เวียนนา จากการสอบถาม กระบวนการผลิต 1 ขบวนใช้เวลาราว 4 เดือน

ซึ่งวันที่คณะผู้สื่อข่าวไปถึง มีรถ 1 ขบวน (3 ตู้) ที่ผลิตเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนตรวจเช็กขั้นสุดท้าย ก่อนจะขนส่งโดยรถไฟจากเวียนนาไปยังท่าเรือ ประเทศเยอรมนี ลงเรืออีกประมาณ 6-8 สัปดาห์ ถึงจะเทียบท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย

ณ เดือน ต.ค. 2562 ซีเมนส์ส่งรถมาถึงประเทศไทยแล้ว 18 ขบวน โดยนำไปทดสอบระบบเรียบร้อยแล้ว 16 ขบวน และสามารถนำไปวิ่งให้บริการแล้วอีก 2 ขบวน อยู่ในขั้นตอนทดสอบระบบ

“จากที่เห็นกระบวนการผลิต ทำให้มั่นใจว่ารถไฟฟ้า 35 ขบวนจะสามารถส่งมอบได้ตามแผนแน่นอน โดยส่วนที่เหลืออีก 17 ขบวนจะทยอยส่งมอบจนครบในเดือน มี.ค. 2563”

@ลุ้นเปิดให้บริการส่วนต่อขยายช่วงสุดท้ายเร็วกว่าแผน

สำหรับความพร้อมในการเปิดให้บริการ MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระนั้น “วิทูรย์ หทัยรัตนา” ระบุว่า ในส่วนของการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบ power supply ระบบสื่อสาร ประตูกั้นชานชาลา ระบบเก็บเงิน เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างทดสอบ

และเมื่อต้นเดือน พ.ย. 2562 ที่ผ่านมาได้มีการนำขบวนรถเปล่าขึ้นไปวิ่งทดสอบบนรางแล้วด้วย ตามแผนจะเริ่มการทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Running) โดยมีพนักงานสถานี พนักงานที่เกี่ยวข้อง ประจำพื้นที่ทุกจุดในวันที่ 15 พ.ย. 2562 โดยจะทดสอบจนมั่นใจ และได้รับใบรับรองตัวระบบอาณัติสัญญาณจากซีเมนส์ และใบรับรองเริ่มให้บริการจากวิศวกรอิสระ หรือ Independent Certification Engineer : ICE ก่อนจึงจะให้ผู้โดยสารร่วมทดสอบได้

“การทดลองเดินรถส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เชื่อว่าจะมีความรวดเร็ว เพราะเราได้ผ่านการทดสอบและเปิดเดินรถช่วงหัวลำโพง-ท่าพระมาแล้ว รูปแบบจะเหมือนกัน ปัญหาหลายอย่างเจอมาก่อนแล้ว”

สำหรับการให้ประชาชนร่วมทดสอบจะมีรูปแบบเหมือนกับการเปิดส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-หลักสอง ที่มี 11 สถานี จึงแบ่งการเปิดออกเป็น 3 ช่วง แต่เนื่องจากช่วงเตาปูน-ท่าพระมีจำนวนสถานีน้อยกว่า เพียง 8 สถานี ดังนั้นจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ส่วนจะถึงสถานีไหน และเปิดในเวลาใดบ้างจะกำหนดอย่างเป็นทางการต่อไป

เป็นการทดลองเดินรถที่มีผู้โดยสาร ทุกอย่างเหมือนจริง แต่ยังไม่เก็บค่าโดยสาร เรียกว่า Demo Run โดยผู้โดยสารจะต้องรับเหรียญสำหรับเดินทางเข้าใช้ระบบ โดยค่าโดยสารจะขึ้นเท่ากับ 0 บาท

ส่วนการเปิดบริการเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีการเก็บค่าโดยสารคือวันที่ 30 มี.ค. 2563 ตามสัญญา

@เทียบสเปก รถเก่า&รถใหม่

“วิทูรย์ หทัยรัตนา” อธิบายว่า คุณสมบัติและสเปกรถโดยทั่วไป ดีไซน์คล้ายกับรถ 19 ขบวนเดิม ทำให้ผู้โดยสารอาจจะไม่ค่อยรู้สึกหรือสังเกตกันเท่าไรถึงความแตกต่าง จะมีที่รู้สึกมากที่สุดคือ เรื่องไฟ LED ที่ให้ความสว่างมากกว่าเดิม โดยรวมเป็นการเพิ่มเติมในเรื่องความทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จอดิจิทัลบอกตำแหน่งสถานี จากเดิมที่เป็นป้ายและมีเสียงประกาศบอกสถานี ซึ่งยังมีข้อเสียที่ผู้โดยสารอาจจะไม่ได้ฟัง และผู้พิการทางหูจะไม่ทราบ เพิ่มราวจับให้สะดวก เป็น 2 แถว และที่สำคัญ มีกล้อง CCTV ซึ่งจะเพิ่มความมั่นใจในเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร

โดยเมื่อรถเก่าและใหม่รวมกันครบ 54 ขบวน คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารไปได้อีกประมาณ 10 ปี บนพื้นฐานอัตราการเติบโตของผู้โดยสารเฉลี่ย 4% ต่อปี ซึ่งหลังจากเปิดส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-หลังสอง ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 4.2-4.3 แสนคนต่อวัน ขณะที่ช่วงก่อนหน้าที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 3.5 แสนคนต่อวัน หรือเติบโตประมาณ 20%

ขณะที่ปี 2563 คาดว่าผู้โดยสารจะเติบโตก้าวกระโดด เมื่อมีการเปิดเดินรถส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ

ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT มีความถี่ในการเดินรถ ในช่วงเวลาเร่งด่วน เช้า, เย็นที่ 3.25 นาที/ขบวน การมีขบวนรถเพิ่มมากขึ้นจะทำให้สามารถปรับเพิ่มความถี่ได้ โดยระบบอาณัติสัญญาณได้ออกแบบความถี่ได้สูงสุดที่ 2 นาที/ขบวน ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น แต่หากเดินรถเต็มความจุที่ 2 นาที/ขบวนแล้ว คงต้องพิจารณาในการสั่งซื้อรถเพิ่มต่อไป โดยความยาวของชานชาลาสถานีสามารถรองรับได้ถึงจำนวน 6 ตู้ต่อขบวน

อย่างไรก็ตาม สัญญาซื้อรถจากซีเมนส์มีการรับประกัน (Defects Liability) หลังรับมอบเป็นเวลา 2 ปี ส่วนการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้านั้น BEM ได้ทำสัญญาจ้างซีเมนส์เป็นเวลา 10 ปี

วิทูรย์ หทัยรัตนา กล่าวว่า เมื่อรับมอบรถใหม่ครบ 35 ขบวน ทาง BEM มีแผนในการปรับปรุง หรือ Renovate รถเก่า 19 ขบวน โดยจะทยอยนำรถเก่า 19 ขบวนเข้าเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มราวจับ จอดิจิทัล กล้อง CCTV ในลักษณะเดียวกับรถใหม่ 35 ขบวน โดยจะทยอยนำรถปรับปรุงทีละ 1 ขบวน ใช้เวลาขบวนละ 1 เดือน ซึ่งจำนวนรถมีมากพอที่จะทำให้เกิดความยืดหยุ่นจะไม่กระทบต่อการให้บริการแน่นอน


รถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งมวลชนแห่งความหวังของคนเมือง ตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาจราจรแออัด และรถไฟฟ้ายังเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของเมืองและเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม จะเห็นได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คอนโดฯ แหล่งธุรกิจ ศูนย์การค้า ผุดเป็นดอกเห็ดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

ตัวแปรสำคัญเห็นจะอยู่ที่อัตราค่าโดยสารที่อาจจะสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของคนไทย ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องหาแนวทางต่อไป

ส่วนเอกชนผู้รับสัมปทานมีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการ “ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัย สูงสุด”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2019 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

เยือน‘ซีเมนส์’ดูการผลิต ‘น้องบลูไลน์’ 35 ขบวนใหม่
ออนไลน์เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3522 ระหว่างวันที่ 14 - 16 พฤศจิกายน 2562

ด้วยประสิทธิภาพการเดินรถ แทบไม่มีสะดุด โอกาสเสียน้อย BEM จึงเป็นพันธมิตรกับ “ซีเมนส์” ผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน ให้บริการประชาชนมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่เริ่มเดินรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลใต้ดิน MRT สายแรกจนถึงทุกวันนี้ ล่าสุดได้สั่งซื้อรถรุ่นใหม่อีก 35 ขบวนรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่อขยาย ที่จะครบวงรอบในเดือนมีนาคม 2563”

นี่คือคำกล่าวของ นายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ หรือ BEM ระหว่างเดินทางสู่บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด โรงงานผลิตรถไฟฟ้า เบอร์ต้นของโลก ที่มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 1 แสนตารางเมตร ณ กลางใจกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา

ภายในโรงงานสังเกตว่ามีตัวถังรถไฟฟ้าหลากรุ่น อยู่ระหว่างประกอบจำนวนมาก สะท้อนถึงการให้ความสำคัญของระบบราง แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัวแก้ปัญหาจราจรแทบทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยก็เช่นกัน ปัจจุบันมีโครงข่ายระบบรางเชื่อมโยงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังไม่รวมจังหวัดหัวเมืองใหญ่
Ads by AdAsia
You can close Ad in 4 s

ที่สะดุดตาเห็นจะเป็นน้องบลูไลน์ รถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินรุ่นใหม่ การออกแบบทันสมัย พร้อมทั้งอัพเกรด ใส่ซอฟต์แวร์เพิ่มตัววิ่งบอกเตือนผู้โดยสารรายสถานีก่อนถึงจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้แล้วยัง เพิ่มพื้นที่สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร ราวจับและระบบรักษาความปลอดภัยที่ต่างไปจากรถรุ่นเก่า

แม้ภายนอกมีสีสันสดใสบอบบาง แต่เมื่อสัมผัสองค์ประกอบภายในแล้ว กว่าจะประกอบเป็นรูปเป็นร่าง ต้องใช้นอตจำนวนมากถึง 30,000-40,000 ตัว สายไฟเดินรอบตัวรถกว่า 60 กิโลกรัม ก่อนจะหุ้มห่อด้วยอะลูมิเนียมเกรดพรีเมียม ใช้แรงงานกว่า 1,000 คน พระเอกของงานคือหุ่นยนต์

ขณะเมืองกราซ อีกโรงงานของซีเมนส์ ที่นี่จะผลิตชิ้นส่วนคล้ายเครื่องยนต์ตัวขับเคลื่อน เรียกว่า “โบกี้” ก่อนส่งมาประกอบที่เวียนนา ส่วนนี้คือหัวใจสำคัญ ก่อนจะมีวัสดุตัวถังประกอบจากการบอกเล่าของวิศวกรของซีเมนส์ ระบุ ต้องใช้เวลาพัฒนาแต่ละโบกี้นานถึง 3-5 ปี โดยมีกำลังการผลิต 2,000-3,000 โบกี้ต่อปี คู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อเมริกา, ญี่ปุ่น, จีน, สหราชอาณาจักร ฯลฯ แต่ ซีเมนส์ คือนัมเบอร์วัน



นายวิทูรย์ยํ้าว่า “รถใหม่ระบบ ใหม่ มารอบนี้ไม่ใช่เฉพาะซื้อรถ แต่อัพเกรดเพิ่มเปลี่ยนทั้งระบบ ที่สำคัญคือระบบอาณัติ สัญญาณใช้ระบบสคาร์ด้า (SCADA) (เป็นระบบตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์แบบเรียลไทม์จากระยะไกล) แรกๆ ของการเดินรถอาจมีปัญหาจุกจิกบ้าง มองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องค่อยๆ ปรับจูนเหนือสิ่งอื่นใดคือความปลอดภัย ที่อยากให้ผู้ใช้บริการไว้วางใจ”

ก่อนเดินทางกลับ นายโทมัส มาซัวร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ระบุว่า “ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าในกทม. ด้วยการช่วยสร้างระบบนี้ขึ้นมาหวังว่าจะเป็นพาร์ตเนอร์ ที่ให้ดูเพื่อความมั่นใจว่าโปรดักต์ที่ทำมีคุณภาพ มีกระบวนการที่ดี โดยเฉพาะการพัฒนาโบกี้ ตัวแปรสำคัญในการเดินรถ”กว่าจะได้รถไฟฟ้าแต่ละขบวนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่สร้างความไว้วางใจให้กับผู้โดยสาร นั่นคือ ความปลอดภัย


โลกของมืออาชีพ BEM “เบื้องหน้า” สำคัญแล้ว “เบื้องหลัง” สำคัญยิ่งกว่า
เรื่อง-ภาพ สมถวิล ลีลาสุวัฒน์
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, - 08:50 น.


การบินข้ามทวีปพาสื่อไทยกลุ่มใหญ่ไปดูงานการผลิตรถไฟฟ้า ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ย่อมมีนัยสำคัญต่อโลกธุรกิจของมืออาชีพ

BEM หรือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กำลังเติบโตตามเทรนด์ โดยเฉพาะเรื่องของ “ระบบราง” ในฐานะผู้ให้บริการเดินรถทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) และที่ฮือฮาคือ “ส่วนต่อขยาย” ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เชื่อมเส้นทางระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี จากสถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสองที่เปิดวิ่งให้บริการแล้วในปี 2562 และจะเปิดวิ่งอีกจากสถานีเตาปูน-สถานีท่าพระ ภายในเดือนมีนาคม 2563

ทำให้ “จิ๊กซอว์” รถไฟฟ้าค่าย BEM มีโครงข่ายครบวงสมบูรณ์ ช่วยย่นย่อการเดินทางของคนกรุงและชานเมืองได้เร็วขึ้น ไม่เสียเวลาติดรถบนถนน สมความตั้งใจของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริษัท

จะว่าไปแล้ว BEM มีรากฐานความแข็งแกร่งมาจาก “ทางด่วน” ถือเป็นธุรกิจทำเงินสดได้ดี จากผลประกอบการ (รวมบริษัทย่อย) เมื่อปี 2561 มีกำไรสุทธิถึง 5,317 ล้านบาท ถือว่า “ไม่ขี้เหร่”

ทั้งต้อง “ตุนเงิน” ไว้ลงทุนอย่างมหาศาลกับโครงการใหม่ ๆ นอกเหนือจาก “ระบบราง” ก็คือ “ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์” ภายใต้การบริหารของ BMN : บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด

ฉะนั้น “ความพร้อม” ของระบบ และความมั่นคงของ “องค์กร” จึงมีความสำคัญมากนับจากนี้

นายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง ในฐานะผู้บริหารระดับสูงของ BEM ที่เป็น “หัวหน้าทีม” พาสื่อไปดูงานครั้งนี้ กล่าวว่า

“BEM มีภารกิจที่ท้าทาย เพราะเป็นผู้ให้บริการทั้งด้านทางและระบบราง ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุกอย่างล้วนเป็นงานละเอียด”

เหมือนเราเห็นรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการไปมา อาจดูเหมือนง่ายและธรรมดา

แต่เนื้อแท้แล้ว เบื้องหลังล้วนมี “กลไก” ที่สลับซับซ้อนมาก

บริษัทจึงมีนโยบายเน้นหนักและให้เข้าใจถ่องแท้ถึงความเป็น “มืออาชีพ”

นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ BEM ถึงต้องพาสื่อมาดูให้เห็นกับตาว่า “กว่าจะได้รถไฟฟ้า 1 ขบวน ไม่ใช่เรื่องง่าย และการจะตัดสินใจให้ซัพพลายเออร์รายใดเป็นผู้ผลิตก็ยิ่งมีความสำคัญมากกว่า”

เพราะใคร ๆ ก็ต้องการความเป็นมืออาชีพเช่นเดียวกัน BEM จึงเลือกใช้ “รถไฟฟ้า” จากฝีมือการผลิตของบริษัท Siemens Mobility Austria GmbH ที่มีฐานผลิตโรงงานขนาดใหญ่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

ซึ่งเป็นโรงงานประกอบรถไฟฟ้าขบวนใหม่ของโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย โดยคณะผู้บริหารของซีเมนส์ได้สรุปภาพรวมของโรงงานและชมการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีการจำลองรถไฟเสมือนจริงที่ทันสมัยมาก ทำให้เห็นการทำงานที่ซับซ้อนของชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถไฟฟ้า และเห็นกระบวนการประกอบรถไฟฟ้า BLUE Line ในโรงงาน ที่สำคัญยังได้เข้าเยี่ยมชม World Competence Center Bogies (Siemens Mobility Graz) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตโบกี้หรือแคร่ล้อ ที่ถือว่าเป็น “หัวใจ” ของพลังขับเคลื่อนของตัวรถ และรองรับน้ำหนักตู้โดยสารอีกด้วย

“โบกี้ที่เราเรียกกัน หลายคนเข้าใจว่าเป็นตัวบอดี้รถ แต่ความหมายของช่างหรือวิศวกร ส่วนนี้คือ แคร่ล้อ ที่เป็นจักรกลมหัศจรรย์ ทำให้ทุกอย่างเคลื่อนไปมาอย่างปลอดภัย”

“ใน 1 แคร่ล้อ คุณรู้มั้ย มีสายไฟเรียว ๆ เล็ก ๆ ยาวนับ 60-70 กิโลเมตร ม้วนพันเป็นขด ๆ อยู่ข้างใน แล้วมีนอตมากมายถึง 10,000 ตัว ทุกขั้นตอนล้วนต้องใช้ความสามารถที่เชี่ยวชาญเป็นโนว์ฮาวเฉพาะ ถือเป็นเบื้องหลังที่มีความสำคัญมาก”

“เมื่อรถเกิดปัญหา การส่องหาต้นเหตุหรือจุดที่เป็นปัญหา จึงต้องใช้เวลาและความชำนาญ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นการบริหารจัดการที่เราคำนึงถึง เราจึงต้องใช้ความเป็นมาตรฐานโลก แม้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อเทียบกับความปลอดภัยและชื่อเสียงแล้ว ถือว่าคุ้มค่า”

โดย BEM เลือกแบรนด์ “ซีเมนส์” เทคโนโลยีจากเยอรมนีทั้งหมด ด้วยการซื้อรถใหม่ถึง 35 ขบวน วงเงิน 22,036 ล้านบาท

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานสากล ทั้งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย “ช่วงเตาปูน-ท่าพระ” ที่จะเปิดให้บริการเป็นทางการภายในเดือนมีนาคม 2563

ทั้งนี้ บริษัทซีเมนส์จะส่งมอบรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายให้กับ BEM ภายในเดือนมีนาคม 2563 เช่นกัน ซึ่งจะทำให้มีรถไฟฟ้าขบวนใหม่ครบ 35 ขบวน รวมรถไฟฟ้าให้บริการในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งหมด 54 ขบวน (ปัจจุบันมี 19 ขบวน)

น่าเสียดายที่ซีเมนส์ขอสงวนความลับทางธุรกิจ ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ถ่ายคลิป “ชิ้นส่วนขึ้นรูป” และ “กระบวนการ” แต่ละขั้นตอนในโรงงาน (โรงกลึงขนาดใหญ่)

แต่จากการบรรยายความเป็น “เบื้องหลัง” ในฐานะพลังขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชนที่ต้องบรรทุกผู้โดยสารทีละเยอะ ๆ นั้น ทำให้รู้ว่า ความเนี้ยบของงานถือว่า “สำคัญสุด” โดยมี “แรงงานคน” คอยกำกับ ควบคุม ประสานไปกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้สอบถามเจ้าหน้าที่บริษัทซีเมนส์ที่นำชมโรงงานว่า “ธุรกิจการผลิตรถไฟฟ้าเหล่านี้ถูกดิสรัปชั่นบ้างหรือไม่”

ผู้แทนซีเมนส์ตอบอย่างไม่ลังเลเลยว่า “No”

พร้อมอธิบายสั้น ๆ ว่า “เพราะกระบวนการผลิตต้องใช้ทักษะเฉพาะ ซึ่งเป็นสกิลสูง ที่แม้แต่โรบอตก็ทำแทนไม่ได้ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมาเป็นเครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง”

ปัจจุบัน Siemens มีงานล้นมือ เพราะทั่วโลกมุ่งสู่การขนคนแทนขนรถ จึงเป็นผู้ผลิตที่มีประสบการณ์ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟระหว่างเมือง รถไฟความเร็วสูง รถราง ตู้รถไฟสำหรับผู้โดยสาร ยานพาหนะไร้คนขับ และหัวรถจักร

ความเป็นพรีเมี่ยมของยุโรปจึงเป็นมนต์ขลัง เปรียบเหมือนระบบสุขาภิบาลที่ญี่ปุ่นเป็นเลิศ

ความต่างนี่เอง ! ที่จีนแผ่นดินใหญ่ ต้องสลัดภาพลักษณ์และสปีดตัวเองให้เสมอหรือแซงหน้าเร็ววัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2019 12:37 am    Post subject: Reply with quote

เส้นทาง "รถไฟฟ้า" ปี 2020 ปลุกทำเลทอง ท่องเที่ยวเมืองเก่า สู่แหล่งช็อปปิ้ง
สกู๊ปไทยรัฐ
ไทยรัฐออนไลน์
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 05:30 น.

แป๊บๆ ก็เหลืออีกแค่เพียงเดือนเดียวจะผ่านพ้นไปอีกปี เปลี่ยนผันจากปีกุนสู่ปีชวด เตรียมเข้าสู่ปี 2563 หรือ ค.ศ. 2020 ปีใหม่ๆ กับสิ่งใหม่ๆ ประเทศไทยจะมีอะไรเพิ่มขึ้นมา จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง มาสำรวจไปพร้อมๆ กัน

ตลอดช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา ภาพที่เราคุ้นตาและคุ้นเคยตามแนวเส้นทางถนนในหลายๆ จุดของกรุงเทพมหานคร คงหนีไม่พ้นการก่อสร้าง "รถไฟฟ้า" ที่คาดว่าจะค่อยๆ ทยอยเปิดให้บริการกันทีละสาย และในปี 2568 ก็คงได้ใช้บริการเกือบครบทุกสาย

แน่นอนว่า "ประเทศไทย 2020" ก็มี "รถไฟฟ้า" สายใหม่เปิดให้บริการเช่นกัน และเปิดเพิ่มถึง 3 เส้นทาง ทั้งลอยฟ้าและใต้ดิน เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากนอกเมืองสู่ในเมือง และจากในเมืองออกไปเที่ยวนอกเมือง

ซึ่งแต่ละสายมีอะไรน่าสนใจอยู่ข้างทาง ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์จะพาคุณผู้อ่านไปสำรวจกัน!!

เริ่มกันที่สายแรก รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
ปัจจุบัน สายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้เปิดทดลองให้บริการไปแล้ว 1 สถานี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 ซึ่งเชื่อมต่อมาจาก "สถานีหมอชิต" ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสถานีที่ว่านั้นคือ "สถานีห้าแยกลาดพร้าว" หรือที่หลายๆ คนเรียกกันว่า "สถานีเซ็นทรัลลาดพร้าว" ตามทำเลที่ตั้งที่อยู่ติดกับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว และมีทางเชื่อมที่เหล่านักช็อปสามารถเดินทะลุเข้าไปภายในห้างได้เลย


ทำเลของ "สถานีห้าแยกลาดพร้าว" ถือเป็นสถานีที่มีศักยภาพสูงมากทีเดียว เพราะรายล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้า ทั้งเซ็นทรัลลาดพร้าว, ยูเนี่ยนมอลล์ และเทสโก้ โลตัส ซึ่งเชื่อมต่อกับ "สถานีหมอชิต" ที่หากนักช็อปยังไม่จุดใจกับ "ตลาดนัดสวนจตุจักร" แหล่งช็อปปิ้งกลางแจ้งที่เป็นสถานที่แนะนำของชาวต่างชาติ ก็สามารถนั่งต่อมาอีก 1 สถานี ลงที่ "สถานีห้าแยกลาดพร้าว" ได้ หรือถ้าจะเชื่อมต่อไปยังสถานที่อื่นๆ ด้วยบริการรถสาธารณะอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน มีทั้งรถโดยสารสาธารณะ (รถเมล์) ทั้ง ขสมก. และรถร่วมบริการ นั่งเชื่อมต่อไปยังถนนลาดพร้าว (เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) หรือจะนั่งต่อไปตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือที่ต่อจาก "สถานีห้าแยกลาดพร้าว" เพื่อมุ่งสู่นอกเมืองก็ย่อมได้ หรือจะเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะก็มีให้เลือกหลายเส้นทาง

นอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อกับ "สถานีพหลโยธิน" ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT) ที่มุ่งหน้าไปย่านพระราม 9 แหล่งใจกลางเมืองย่านธุรกิจ

ส่วนการเปิดให้บริการเส้นทางแบบเต็มสูบของ "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร ภายในสิ้นปี 2563 ได้นั่งกันแน่นอน


โดยตลอดเส้นทาง "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ" นี้ เป็นที่กล่าวขานกันมานานว่า รถติด รถแน่น ติดกันยาวๆ หลายชั่วโมง เชื่อว่า หลังการเปิดให้บริการแบบฟูลทุกเส้นทางจะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้มากทีเดียว เพราะมีการประมาณการว่า "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ" จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง หากเทียบกับรถยนต์ขนาด 4 ที่นั่ง ก็อาจลดจำนวนรถยนต์ไปได้เกือบ 10,000 คัน

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจรอบข้างแนว "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ" เส้นนี้ นอกจากแหล่งใจกลางห้าแยกลาดพร้าวแล้ว ยังมี "สถานีรัชโยธิน" ที่อยู่ติดแหล่งความบันเทิงอย่างโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และสวนสนุกแดนเนรมิต (เก่า) ที่เปลี่ยนมาเป็นแหล่งรวมร้านอาหารนั่งชิล, "สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ที่อยู่ตรงแยกเกษตร จุดตัดและเชื่อมต่อ 3 ถนน คือ ถนนพหลโยธิน, ถนนเกษตร-นวมินทร์ และถนนงามวงศ์วาน แถมยังอยู่ติดรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยให้การเดินทางของนักศึกษาสะดวกมากขึ้น, "สถานีกรมทหารราบที่ 11" ที่มีบ้านบางเขน สถานที่ที่คนมักจะมานั่งอ่านหนังสือ ดื่มด่ำบรรยากาศคาเฟ่สไตล์วินเทจ และยังเชื่อมต่อกับอู่รถโดยสารประจำทาง ขสมก. เขตการเดินรถที่ 1 บางเขนอีกด้วย

ส่วนใครที่อยากจะมาไหว้พระทำบุญที่วัดพระศรีมหาธาตุ แน่นอนว่าต้องมาลงที่ "สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ" ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งตรงสถานีนี้ในอนาคตจะสามารถเชื่อมต่อกับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ได้อีกด้วย (คาดเปิดให้บริการในปี 2564)

อีกหนึ่งสถานีที่เป็นไฮไลต์ของ "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ" คือ "สถานีสะพานใหม่" ซึ่งมีตลาดยิ่งเจริญ แหล่งรวมอาหารการกินและเป็นตลาดชื่อดังในย่านนี้

สำหรับคนที่อาศัยอยู่นอกเมืองแล้วต้องการขับรถยนต์ส่วนตัวเพื่อมาต่อ "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ" เข้าทำงานหรือเที่ยวต่อในเมือง ก็สามารถขับรถยนต์มาจอดที่อาคารจอดรถ (Park & Ride Building) ได้ที่ "สถานีแยก คปอ." รองรับ 1,042 คัน และ "สถานีคูคต" รองรับ 713 คัน และจักรยานยนต์ 70 คัน

รวมแล้ว "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" มีทั้งหมด 16 สถานี นั่งกันเพลินๆ ยาวๆ ไป จากกรุงเทพมหานครสู่ปทุมธานี และจากปทุมธานีสู่กรุงเทพมหานคร ในราคาตลอดสายไม่เกิน 65-150 บาท

ความน่าสนใจอีกหนึ่งอย่างที่มาพร้อมกับ "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" คือ ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวเส้นทาง หากมองย้อนกลับไปในช่วงก่อนมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ราคาขายถือว่าถูกมาก อยู่ที่ 72,000-110,000 บาทต่อตารางเมตรเท่านั้น แต่ปัจจุบัน จากการสำรวจของทีมข่าวฯ พบว่า อยู่ที่ 78,000-140,000 บาทต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้นกว่า 27% และคาดว่า ในอนาคต "รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" จะกลายเป็นทำเลทองของนักลงทุนในการพัฒนาแหล่งช็อปปิ้งหรือแม้แต่อสังหาริมทรัพย์อย่างคอนโดมิเนียมเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง

สำหรับสายที่สอง คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ
ที่เตรียมเปิดให้บริการภายในไตรมาส 1 ของปี 2563 ซึ่งหลังจากเปิดบริการ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ" นี้ จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสมบูรณ์และเส้นทางเดินรถวนเป็นวงกลม เชื่อมต่อสถานีกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นทางที่เปิดให้บริการไปก่อนแล้ว โดยราคาที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ประมาณ 16-42 บาท

สำหรับความน่าสนใจตลอดสองข้างทางของแนว "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ" นั้น จะเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นย่านชุมชนเก่าแก่ ตลอดสองข้างทางจึงเต็มไปด้วยวิถีชุมชนวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม ทั้งอาหารและสถานที่ท่องเที่ยว

ก็เริ่มตั้งแต่ "สถานีเตาปูน" ที่นอกจากจะเชื่อมต่อกับเส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางไป "สถานีเตาปูน" ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง เพื่อข้ามไปฝั่งนนทบุรีได้อีกด้วย

อย่างที่บอกว่า เส้นทาง "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ" เหมาะกับสายบุญที่ชื่นชอบการเข้าวัด นั่นก็เพราะมีวัดอยู่เกือบทุกๆ สถานี ไล่เรียงตั้งแต่ วัดบางโพโอมาวาส ของ "สถานีบางโพ", วัดสามัคคีสุทธาวาสและวัดฉัตรแก้วจงกลณี หรือที่เรียกกันว่า วัดบางอ้อ ของ "สถานีบางอ้อ" ซึ่งมีประวัติมายาวนาน ส่วนใหญ่มักเดินทางมาสักการะเจดีย์ทรงปรางค์และชมวิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ต่อกันที่วัดอาวุธวิกสิตาราม ของ "สถานีบางพลัด", วัดสุทธาวาส และวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ของ "สถานีบางยี่ขัน" ซึ่งสถานีนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟธนบุรีได้ด้วย ยังไม่หมดไปต่อกันที่วัดรวกสุทธาราม ของ "สถานีไฟฉาย" และวัดโพธิ์เรียง ของ "สถานีวัดจรัญฯ 13"

สุดท้ายมาบรรจบที่ "สถานีท่าพระ" และอย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีสถานีที่มีความงดงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อยู่ 4 สถานี นั่นก็คือ สถานีวัดมังกร, สถานีสามยอด, สถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ หากอยากไปยลโฉมก็สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ทันที เพราะเส้นทางรถมีลักษณะเป็นวงกลม

เรียกได้ว่า "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน" คือ รถไฟฟ้าเส้นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

อีกหนึ่งเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็นไฮไลต์เด็ด และเรียกได้ว่า "สั้นที่สุด" ก็ว่าได้ มีเพียง 4 สถานีเท่านั้น คือ รถไฟฟ้าสายสีทอง
ซึ่งความน่าสนใจของ "รถไฟฟ้าสายสีทอง" นี้ เริ่มตั้งแต่ลักษณะรถไฟฟ้าที่เป็นรูปแบบรางเบาไร้คนขับ แต่ใช้รางนำทางแทน คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 4,000-12,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

เริ่มต้นที่ "สถานีกรุงธนบุรี" ซึ่งเชื่อมต่อกับสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) หากใครที่ชื่นชอบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอยากไปจบที่การช็อปปิ้ง "รถไฟฟ้าสายสีทอง" ก็ตอบโจทย์ได้ดี เพราะห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่านฝั่งตะวันตกที่รวมร้านเด็ดร้านดัง งานอีเวนต์อลังการๆ อย่าง "ไอคอนสยาม" (ICONSIAM) นั้นอยู่ที่ "สถานีเจริญนคร" นั่งต่อมาอีกเพียง 1 สถานีแค่นั้นเอง

และถ้านั่งไปต่ออีก 2 สถานี คือ "สถานีคลองสาน" และ "สถานีประชาธิปก" ก็สามารถเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (ตามลำดับ)


และในอนาคต คาดว่า "รถไฟฟ้าสายสีทอง" จะทำให้ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ดีดขึ้นไม่ต่างจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต อย่างแน่นอน

แม้ในปีหน้าจะมีรถไฟฟ้าเพิ่มเพียง 3 เส้นทาง แต่นับเป็นก้าวหนึ่งที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลง เพราะการคมนาคมถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับประเทศ หลังจากนี้ สิ่งที่ต้องคิดและคำนวณให้ดี คือ ค่าบริการ หรือ "ราคา" ที่ต้องตอบโจทย์และไม่สร้างภาระค่าครองชีพของประชาชน

เริ่มนับถอยหลัง ภาพและบรรยากาศของ "ประเทศไทย 2019" ที่คุ้นตาและคุ้นเคย กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปสู่ภาพและบรรยากาศแบบใหม่ๆ ที่อาจมีคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และการพัฒนาพื้นที่จากชุมชนเดิมเป็นย่านเศรษฐกิจ เพื่อก้าวเข้าสู่ "ประเทศไทย 2020".
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2019 10:42 am    Post subject: Reply with quote

สายสีนํ้าเงินพลิกเยาวราช วาละ1ล้านอัพ
ออนไลน์เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวอสังหาริมทรัพย์ หน้า 25-26
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,525
วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562

สายสีนํ้าเงินดึงทุน ยักษ์เข้าเยาวราช พลิกชุมชนเก่ากลายเป็นทำเลทอง ทุนจัดสรรบุกขึ้นโครงการแนวราบ สไตล์ ไชน่าทาวน์ ร่วมสมัย ดันราคาที่ดินตร.ว.ละ 1 ล้าน ตึกแถวสูงสุด 100 ล้าน

ชุมชนเก่า เยาวราช เริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินเชื่อมเข้าพื้นที่ ตึกแถวเก่าร้านค้า มีการปรับปรุงดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน ให้มีสไตล์ร่วมสมัยมากขึ้น

แต่ที่เห็นเด่นชัด ยังคงเอกลักษณสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ของความเป็นไชน่าทาวน์ ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมโบราณของไทย
Ads by AdAsia
You can close Ad in 3 s

แม้แต่ตัวสถานีรถไฟฟ้า ส่งผลให้ถนนเยาวราช ที่ถูกขนานนามว่าถนนมังกรวันนี้กลายเป็นสตรีตฟู้ดมากกว่าร้านค้าปลีกค้าส่งในอดีต

ขณะแบรนด์ดังอย่าง เดอะ มอลล์ ดุสิตธานี เข้าพื้นที่ของโครงการมิกซ์ยูส ไอแอมไชน่าทาวน์ สร้างความคึกคักไม่น้อยให้กับพื้นที่

อย่างไรก็ตาม การขายที่ดิน ตึกแถว ยังเป็นไปได้ยาก ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือของ ราชสกุลเก่าแก่ โดยเฉพาะเยาวราชทั้งเวิ้งเป็นของราชสกุลบริพัตร อาทิ บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย ที่ชาวบ้านวิตกว่าจะเกิดการเปลี่ยนมือหรือไม่

หลังจาก ราชสกุลบริพัตรขายที่ดินแปลงงามเวิ้งนาครเขษม เนื้อที่กว่า 16 ไร่ ขุมทองกรุงเก่า ที่มีมูลค่ามหาศาลให้กับ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนะภักดี ซึ่งปัจจุบันมีแผนพัฒนาเป็นย่านการค้า โดยมีแนวคิดให้คงเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนของชุมชน เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยดั้งเดิมได้ใช้เป็นพื้นที่ค้าขาย

นอกจากเวิ้งนาครเขษมแล้วยังมีชุมชนเก่าที่เชื่อมต่อจากเยาวราช ทำเลใกล้โบ๊เบ๊ สำเพ็ง นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่ เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY ซื้อที่ดิน แปลงงาม ของราชสกุลดิศสกุล มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท พัฒนาอาคารพาณิชย์รองรับกลุ่มผู้ค้า พื้นที่เก็บของ และสำหรับอยู่อาศัย เช่นเดียวกับค่ายแสนสิริ ที่ซื้อที่ดิน ทำเลเสือป่าซึ่งไม่ห่างจากโครงการมากนัก ทั้งนี้ประเมินว่าชุมชนเก่าทั้งเวิ้ง ยากที่เจ้าของที่ดินจะประกาศขาย เนื่องจากส่วนใหญ่เจ้าของมักเน้นค้าขาย

ขณะราคาขายต่อตารางวา ทั้งเวิ้งกรุงเก่า อยู่ที่ตารางวาละ 1 ล้านบาทขึ้นไป ตึกแถว ห้องละตั้งแต่ 1 - 80 ล้านบาท ทั้ง เยาวราช สำเพ็ง โบ๊เบ๊

นางอาภาอธิบายต่อว่าในอดีตราคาที่ดินเยาวราชแพงที่สุด แต่ต่อมากลายเป็นสีลมและปัจจุบันคือเพลินจิต เนื่องจากเยาวราชไม่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือนั่นเอง

ในมุมมองของ นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาธุรกิจ บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ระบุว่า เยาวราช ย่านกรุงเก่าที่มีอำนาจซื้อสูง เนื่องจากมีตั้งแต่ ของกิน การท่องเที่ยว ยันโครงการมิกซ์ยูส ส่งผลให้นักลงทุนให้ความสนใจแต่หาที่ดินค่อนข้างยาก สำหรับราคาตึกแถวในย่านเยาวราชตํ่าสุดในซอย 10 ล้านบาท สูงสุดราคา 100 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ติดถนนเยาวราช และรถไฟฟ้า

นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ยอมรับว่า ถนนเจริญกรุงและเยาวราช มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหลังจากที่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เปิดให้บริการ และมี 4 สถานีที่เป็นแลนด์มาร์ก


แพทย์กลัวมาก! เด็กอัจฉริยะสร้างยาเพื่อกำจัดอาการปวดข้อตลอดไป!ดูสูตร




สำหรับความเคลื่อนไหว มีเจ้าของที่ดินที่เป็นเอกชนบางรายประกาศขายที่ดินของตัวเองออกมา หรือมีกลุ่มทุนเข้าไปซื้ออาคารเพื่อพัฒนาเป็นโครงการรูปแบบอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลสมิติเวชของกลุ่ม BDMS ที่ปรับปรุงอาคารสำนักงานเดิมของสหธนาคารเป็นโรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ โรงพยาบาลขนาด 59 เตียง ที่สามารถรองรับนักท่อง

เที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนและคนไทยในพื้นที่โดยรอบ ร้านค้าหรือพื้นที่ค้าปลีกใน
เยาวราชก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ร้านค้ารูปแบบเดิมๆ เริ่มลดลงมีการเปลี่ยนไปสู่รูปแบบที่สอดคล้องกับยุคสมัยมากขึ้น ร้านอาหารริมทางในตอนกลางคืนก็เปลี่ยนไป มีการทำการตลาดทางสังคมออนไลน์มากขึ้น ชาวต่างชาติที่มีเวลาในกรุงเทพมหานครมากกว่า 1 คืนส่วนใหญ่นิยมมาหาอาหารเย็นทานที่เยาวราชตามการประชาสัมพันธ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในโลกออนไลน์ รวมไปถึงมีโรงแรมขนาดเล็กเปิดให้บริการมากขึ้นทั้งในเยาวราชและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อรองรับกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองซึ่งมีมากขึ้น พื้นที่นี้คงมีโครงการเกิดใหม่อีกแน่นอนในอนาคตเพียงแต่ตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ





โครงการพัฒนาต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าเส้นทางรถไฟฟ้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง แม้แต่พื้นที่ที่แทบหาที่ดินในการพัฒนาไม่ได้แล้วอย่างในย่านเยาวราชก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็น แต่รูปแบบโครงการที่อาจจะแทบไม่มีเลยคือ โครงการคอนโดมิเนียมเพราะคนในพื้นที่มีความต้องการบ้านและที่จอดรถมากกว่าคอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์ที่เปิดขายใหม่ในพื้นที่โดยรอบเยาวราชได้รับความนิยมมากเพราะเจ้าของกิจการในเยาวราชซื้อเพื่อไว้เก็บของและจอดรถ แม้ว่าจะมีราคาขายมากกว่า 20 ล้านบาทต่อ 1 ยูนิตก็ตาม และปิดการขายได้เร็วมากๆ แต่ถ้าในอนาคตเมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมต่อกับระบบเส้นทางปัจจุบันแล้วพื้นที่โดยรอบเยาวราชทั้งในฝั่งธนบุรี และพื้นที่ตามแนวถนนพระราม 4 ซึ่งไม่ไกลจากเยาวราชอาจจะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในอนาคต เพราะหาไม่ได้ในเยาวราช อีกทั้งร้านค้าในอนาคตอาจจะปิดตัวไปบางส่วนเพราะรูปแบบการซื้อสินค้าของคนเปลี่ยนแปลงไป และเจ้าของที่ดินต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์บนที่ดินตามศักยภาพที่ควรจะเป็นเมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ การรื้ออาคารพาณิชย์เดิมเพื่อสร้างเป็นโครงการสมัยใหม่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2019 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 4 สถานีอะเมซิ่ง แลนด์มาร์กใหม่บูมเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 - 16:00 น.

กลายเป็นจุดไฮไลต์ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วง “หัวลำโพง-บางแค” ที่ใคร ๆ ต้องไปเช็กอิน 4 สถานีสวย มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น ทั้งสถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ จนดันยอดผู้ใช้บริการของสายสีน้ำเงินทั้งระบบทะยาน 4.7-4.8 แสนเที่ยวคนต่อวัน

นอกจากความสวยงามของสถานี ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเส้นทางพาดผ่านย่านการค้าเก่าแก่อย่างเยาวราช วังบูรพา และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่อยู่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ จึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ

เพื่อเป็นการต่อยอดล่าสุด เกิดความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เซ็น MOU ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีผ่าน 4 สถานีเปิดใหม่ อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 4 สถานีอะเมซิ่ง แลนด์มาร์กใหม่บูมเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า เปิดให้บริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแคในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมี 4 สถานีสวยและตำแหน่งสถานีที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จนเป็นแลนด์มาร์กสำคัญมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมาก สำหรับการร่วมกับ ททท.จะจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น นำบัตรโดยสารลดค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ จะเร่งสรุปในเดือน ธ.ค.นี้ คาดว่าทำให้มีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้น 5%

“ธ.ค.นี้จะเปิดทดลองเดินรถฟรีช่วงเตาปูน-ท่าพระ ก่อนเก็บค่าบริการวันที่ 31 มี.ค.ปีหน้า จะทำให้สายสีน้ำเงินเปิดบริการวิ่งเป็นโครงข่าย circle line เชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี เป็นพื้นที่เศรษฐกิจการค้าและสถานีท่องเที่ยวที่สำคัญให้สะดวกยิ่งขึ้น”

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 4 สถานีอะเมซิ่ง แลนด์มาร์กใหม่บูมเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์

“นพดล ภาคพรต” รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวว่า ร่วมกับ รฟม. และ BEM เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จัดทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่รถไฟฟ้าวิ่งผ่านบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ เช่น สถานีสนามไชย มีมิวเซียมสยาม ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง สร้างการรับรู้ไปยังนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ

ยังได้จัดกิจกรรม “Amazing 4 station 4 All” เชิญชวนนักท่องเที่ยวเก็บภาพสวยประทับใจการใช้บริการ MRT และความสวยงามของวิถีชีวิต รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวใกล้กับ 4 สถานีเปิดใหม่ ใน 150 ท่านแรก จะได้รับบัตรโดยสาร MRT รุ่น Limited Edition และจะได้เผยแพร่ภาพถ่ายในสื่อของ ททท.และ MRT ซึ่งภาพที่ยอดเยี่ยมของแต่ละสถานีจะได้รับบัตรรับประทานอาหารหรือที่พักในย่านนั้น ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2019 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าMRT2สาย ใจดีให้คุณพ่อนั่งรถฟรี 5ธันวานี้
เศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 16.19 น.


การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM จัดกิจกรรมยกเว้นค่าโดยสารให้คุณพ่อที่โดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2562 ตลอดเส้นทาง และตลอดระยะเวลาการเปิดให้บริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นทางเลือกของการเดินทางในเขตเมือง ที่สะดวก รวดเร็ว ตรงต่อเวลา และปลอดภัย


สำหรับคุณลูกสามารถพาคุณพ่อมาแสดงตัวที่ห้องออกบัตรโดยสารได้ทุกสถานี เพื่อรับคูปองโดยสารฟรี โดยคุณลูกชำระค่าโดยสารปกติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. เฟซบุ๊คการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044 และศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0 2624 5200
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2019 10:47 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ M มีคลิปว้าวๆ แบบ Exclusive มาฝาก
MRT Bangkok Metro
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562,

💙✨️ไม่ใช่ว่าจะเห็นภาพนี้กันง่ายๆ ถ้าไม่ใช่แฟนคลับ MRT นะครับ

รถไฟฟ้า MRT กำลังทดสอบระบบการเดินรถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
จากสถานีบางอ้อไปสถานีบางโพ ซึ่งก็ดูโก้ไม่เบาเลยใช่มั้ยล้าาา

รออีกนิดนะครับ พวกเรากำลังเตรียมตัวกันอย่างเต็มที่
เพื่อให้พร้อมสำหรับการให้บริการทุกๆ ท่าน
ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ - ท่าพระ 🚝💨
https://www.facebook.com/watch/?v=1321112501400502
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2019 10:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 4 สถานีอะเมซิ่ง แลนด์มาร์กใหม่บูมเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 - 16:00 น.


สัมผัสวิถีกรุงเก่า 4 สถานี‘สายสีนํ้าเงิน’
27 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้าอสังหาริมทรัพย์ หน้า 25-26
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,525 วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงบันทึกความร่วมมือ กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ชวนเที่ยวกรุง สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวไฮไลต์ ใกล้ MRT 4 สถานีใหม่ ที่ใครๆ ก็เที่ยวได้ อย่างสะดวก ปลอดภัย ลดมลพิษ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา “ฐานเศรษฐกิจ” ลงพื้นที่สัมผัส ชุมชนเก่าไชน่าทาวน์ วัด-เวียง-วัง ถิ่นฐาน ร้านค้า วันนี้ดูคึกคัก ปรับตัวรับนักท่องเที่ยว จากการ เดินรถส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค

แต่ทั้งนี้ความพิเศษของรถไฟสายสีนํ้าเงิน มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกรฯ สถานีสามยอด สถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ แม้จะมีความทันสมัย ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ตัวสถานีออกแบบ ย้อนยุคไปกว่า 100 ปี เพื่อคงอัตลักษณ์ในพื้นถิ่นนั้นๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดดเด่น สถานีวัดมังกรฯ ชื่นชมวัดชื่อดังอย่าง วัดมังกรกมลาวาส อายุเก่าแก่ 140 ปี เดิน ช็อป ชิม ชิว ไปตามย่านการค้าเก่าแก่ หลายร้านมีการพัฒนา มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ เข้าพื้นที่ มีร้านกาแฟดังใกล้วัด ให้เช็กอิน อย่าง สตาร์บัคส์ ผสมผสาน ถนนคนเดิน สตรีตฟู้ด ที่กรุงเทพมหานครเตรียมเปิดพื้นที่ โต้ลมหนาว ในยามค่ำคืน ย่านถนนเยาวราช




รถไฟฟ้ามาจอดสนิทที่ สถานีสามยอด ชมเพลินกับ สถาปัตยกรรม โบราณสมัยรัชกาลที่ 5 สีโทนเหลืองนวลชิโน-โปรตุกีส โทนสีเขียวจากตัวอาคาร ประตูบานเฟี้ยม เพื่อให้สอดรับกับพื้นที่ย่านเก่าอย่างวังบูรพา บริเวณนี้สามารถเชื่อมไปยังถนนเจริญกรุง ชมวิวริมแม่นํ้าเจ้าพระยาได้อย่างรื่นรมย์

มาต่อกันที่ สถานีสนามไชย สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถูกขนานนามว่า เป็นสถานีที่สวยที่สุดในไทย เดินต่อไปยังปากคลองตลาด มิวเซียมสยาม สักการะวัดพระแก้ว เยี่ยมชม พระบรมมหาราชวัง เดินเล่นย่านสนามหลวง



ต่อเรือที่ท่าราชินี ข้ามไปฝั่งของแม่นํ้าเจ้าพระยาก็สามารถทำได้ ลอดแม่นํ้าเจ้าพระยา ที่ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ความลึก 32 เมตร โผล่ที่สถานีอิสรภาพ สถานีใต้ดิน สามารถเดินเที่ยววังหลัง หาของอร่อยรับประทาน ชมความงามของวัดอรุณฯ และพระอาทิตย์ยามเย็น 
ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2019 11:59 pm    Post subject: Reply with quote

4ธ.ค. นั่งฟรี สายสีน้ำเงิน”บางโพ-สิรินธร”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
29 พฤศจิกายน 2562

4 ธันวาคมนี้ รฟม. -BEM พร้อมเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย จากสถานีบางโพ – สถานีสิรินธร ฟรีถึงปีหน้า การเร่งรัดพัฒนาการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น นั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ได้เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย เร็วยิ่งขึ้น โดยกำหนดจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ จากสถานีเตาปูน-สถานีสิรินธร ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2562 พร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบและจัดเก็บค่าโดยสารตามปกติจากสถานีเตาปูน-สถานีท่าพระ ในวันที่ 30 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
สำหรับการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการนี้ จะเปิดให้ใช้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. โดยจะให้บริการรถไฟฟ้าแบบวิ่งไป-กลับ จากสถานีเตาปูนถึงสถานีสิรินธร มีรถไฟฟ้าให้บริการ 3 ขบวน ระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8-10 นาที โดยผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จะต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีเตาปูนเพื่อเดินทางไปยังสถานีในสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (สถานีบางโพ-สถานีสิรินธร)

กรณีเดินทางระหว่างสถานีบางโพถึงสถานีสิรินธร รวมจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด และสถานีสิรินธร จะไม่คิดค่าโดยสาร โดยใช้เหรียญหรือบัตรโดยสารรถไฟฟ้า MRT เดินทางในระบบรถไฟฟ้าผ่านประตูอัตโนมัติได้ตามปกติ กรณีเดินทางเข้าหรือออกจากสถานีเตาปูนคิดอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 16 บาท สำหรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จะคิดอัตราค่าโดยสารตั้งแต่สถานีแรกที่อัตรา 16 บาท โดยค่าโดยสารจะเพิ่มตามระยะทาง อัตราสูงสุด 42 บาท และสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับสายสีม่วงโดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 70 บาท และเมื่อผู้โดยสารแตะบัตรหรือเหรียญโดยสารที่ประตูอัตโนมัติแล้ว จะสามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้าได้ไม่เกิน 180 นาทีทั้งนี้ รฟม. และ BEM จะทยอยปรับการให้บริการไปตามความก้าวหน้าของงานและความพร้อมของระบบที่เกี่ยวข้องไปจนถึงระดับการให้บริการตามปกติ เช่น การขยายจำนวนสถานีให้บริการไปจนถึงสถานีท่าพระ หรือการเดินรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องครบลูปทั้งเส้นทางสายสีน้ำเงิน ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 188, 189, 190 ... 228, 229, 230  Next
Page 189 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©