Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179895
ทั้งหมด:13491127
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2022 7:35 pm    Post subject: Reply with quote

วันเด็กแห่งชาติ2565 check-in สถานีหัวลำโพง รับกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ
หน้าไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565 เวลา 8:07 น.

วันเด็กแห่งชาติ2565 การรถไฟแห่งประเทศไทยชวน check-in สถานีหัวลำโพง เรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ

การรถไฟแห่งประเทศไทยชวน check-in สถานีหัวลำโพง เรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์สถานีหัวลำโพง และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”


เฉพาะวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565 (วันเด็กแห่งชาติ2565) กิจกรรม Hua Lamphong in Your Eyes ที่สถานีหัวลำโพง



สะสมตราปั๊มครบ 10 จุด รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระเป๋าเชือกหูรูดทันที ( 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น) ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด งดดราม่า



วันเด็กแห่งชาติ2565 check-in สถานีหัวลำโพง รับกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ



พิเศษสำหรับน้องๆที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ ( 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์) ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด



วันเด็กแห่งชาติ2565 check-in สถานีหัวลำโพง รับกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ



ของที่ระลึกในแต่ละวันจะมีไม่เหมือนกัน และมีจำนวนจำกัด


นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบัตรประชาชนเพื่อรับพาสปอร์ตเช็กอินหัวลำโพง 10 จุด สะสมตราปั้มสัญลักษณ์จากจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเมื่อครบทั้ง 10 จุดแล้วก็มาแลกรับของที่ระลึก



เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมเรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”



โปรดรักษาระยะห่างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข้มงวด



งานจะมีถึงวันที่ 16 มกราคม 2565 ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด พร้อมชมนิทรรศการภาพถ่ายสวยๆ




วันเด็กแห่งชาติ2565 check-in สถานีหัวลำโพง รับกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ


วันเด็กแห่งชาติ2565 การรถไฟแห่งประเทศชวน check-in สถานีหัวลำโพง เรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ
รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ

การรถไฟแห่งประเทศชวน check-in สถานีหัวลำโพง เรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์สถานีหัวลำโพง และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”


เฉพาะวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565 กิจกรรม Hua Lamphong in Your Eyes ที่สถานีหัวลำโพง

สะสมตราปั๊มครบ 10 จุด รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระเป๋าเชือกหูรูดทันที ( 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น) ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด งดดราม่า

พิเศษสำหรับน้องๆที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี รับชุดแสตมป์ที่ระลึกและกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ ( 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์) ของที่ระลึกมีจำนวนจำกัด

ของที่ระลึกในแต่ละวันจะมีไม่เหมือนกัน และมีจำนวนจำกัด


นักท่องเที่ยวต้องมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยบัตรประชาชนเพื่อรับพาสปอร์ตเช็กอินหัวลำโพง 10 จุด สะสมตราปั้มสัญลักษณ์จากจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเมื่อครบทั้ง 10 จุดแล้วก็มาแลกรับของที่ระลึก

เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมเรียนรู้ 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และเชิญชมนิทรรศภาพถ่าย “Hua Lamphong (หัวลำโพง) Through the Lens”


โปรดรักษาระยะห่างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข้มงวด

งานจะมีถึงวันที่ 16 มกราคม 2565 ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด พร้อมชมนิทรรศการภาพถ่ายสวยๆ


วันเด็กแห่งชาติ2565 check-in สถานีหัวลำโพง รับกระปุกออมสินรถจักรไอน้ำ



10จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์สถานีหัวลำโพง ประกอบไปด้วย




อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง เป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีตรึงหมุดรางทอง รางเงิน ติดกับไม้หมอนมะริดคาดเงิน และเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา


สะพานลำเลียงจดหมาย เชื่อมต่ออาคารไปรษณีย์ตั้งอยู่ปลายชานชาลาที่ 4 ของสถานีกรุงเทพ


ลานน้ำพุหัวช้าง ซึ่งเคยเป็นหลุมหลบภัยทางอากาศ


ป้ายด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตรงด้านหน้าของสถานีจะมีตัวอักษรปูนปั้นว่า สถานีกรุงเทพ ติดอยู่ที่ด้านบนโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคารสถานีจุดเริ่มต้นการเดินทาง


สถาปัตยกรรมภายนอกสถานีกรุงเทพ ตัวอาคารเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองส์


ระเบียงด้านหน้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สวยงามด้วยกระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานีที่เน้นลักษณะภายนอกของมนุษย์และธรรมชาติ


โถงกลางสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บรรยากาศร่วมสมัย แบบสไตล์ตะวันตก งดงามด้วยการตกแต่งภายในสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานศิลปะแบบคลาสสิก (Classicism) ด้วยการใช้เสาคู่ลอยตัวระเบียงไอโอนิก (Ionic) การตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau)


โรงแรมราชธานี อดีตโรงแรมหรูที่เคยอยู่คู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)


เก้าอี้วงรี สัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟ เก้าอี้รูปทรงคล้ายหมวกปีกถูกทับจนแบนยาว ส่วนปีกหมวกเป็นที่นั่ง ตัวหมวกเป็นพนักพิง


รถจักรไอน้ำแปซิฟิก รุ่นเลขที่ 824, 850 เป็นรถจักรไอน้ำที่ถูกใช้การหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รถจักรไอน้ำทั้ง 2 คันนี้นำมาใช้งานในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2492 โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต่อมาได้ดัดแปลงให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันการรถไฟฯ ใช้ทำเป็นขบวนรถนำเที่ยวในโอกาสพิเศษที่สำคัญๆ ปีละ 6 ครั้ง


ขบวนรถพิเศษ Prestige ที่จัดขบวนมาให้เยี่ยมชมกันอย่างใกล้ชิด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2022 10:09 pm    Post subject: Reply with quote


คอมเมนต์ชาวต่างชาติ สถานีรถไฟหัวลําโพงปิดฉากร้อยกว่าปีทั่วโลกรำลึกความทรงจำเล่าประสบการณ์สุดประทับใจ จากข่าว BBC
https://www.youtube.com/watch?v=664IJCoy2qM
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2022 10:11 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีกรุงเทพในภาพยนตร์ ของหอภาพยนตร์ จาก จดหมายข่าว หอภาพยนตร์
https://www.fapot.or.th/assets/upload/newsmail/1640229424_1035189853@2x.pdf
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=493130958906229&id=100046279876123
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4989963541067351&id=100001612625448
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/01/2022 2:59 pm    Post subject: Reply with quote

ร่วมกิจกรรมเที่ยวสถานีรถไฟหัวลำโพง สุดยอดของประเทศไทย !!|ใบไม้ไต้หวัน 葉子
Jan 17, 2022
ใบไม้ไต้หวัน 葉子

ครั้งนี้ได้มาสถานีรถไฟหัวลำโพงค่ะ มาร่วมกิจกรรม Hua Lamphong in your eyes เป็น ครั้งที่ 2 ค่ะ ครั้งนี้นอกจากจะมาเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ต้องขอบคุณพี่ๆที่แนะนำใบไม้เกี่ยวกับความรู้และประวัติเกี่ยวกับสถานีรถไฟที่นี่ด้วยค่ะ สุดท้ายใบไม้ได้ของที่ระลึกเป็นพวงกุญแจรถจักรไอน้ำด้วย รู้สึกประทับใจมากเลย ถ้าทุกคนมีสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ ที่สามารถนั่งรถไฟไปเที่ยวได้ คอมเมนต์บอกใบไม้ได้นะคะ รู้สึกว่าท่องเที่ยวครั้งนี้ใบไม้อยากจะนั่งรถไฟไปเที่ยวแล้วค่ะ


https://www.youtube.com/watch?v=aEG3AvqMDEg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2022 10:24 pm    Post subject: Reply with quote

สุดคึกคัก! 26 วัน "Hua Lamphong in Your Eyes" ประชาชนร่วมเช็กอิน 10 จุดไฮไลต์ประวัติศาสตร์รถไฟไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:47 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:47 น.


รฟท.ปลื้มงาน "Hua Lamphong in Your Eyes" มีประชาชน คนรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยว เข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ และแหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่าของชาติอย่างคับคั่ง ตลอด 26 วัน พร้อมเปิดเช็กอิน 10 จุดไฮไลต์ สร้างการมีส่วนร่วม อนุรักษ์ และพัฒนาสถานีหัวลำโพงสู่อนาคต

“หัวลำโพง” หรือสถานีกรุงเทพ สถานีรถไฟต้นทางที่นำพาผู้คนเดินทางเข้า-ออกสู่ปลายทางไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้งเส้นทางสายเหนือ อีสาน ตะวันออก หรือใต้ ทุกวันมาอย่างยาวนานจนเป็นภาพที่คุ้นตา แต่ในแง่ประวัติศาสตร์หัวลำโพงเป็นเหมือนสถานที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของไทยที่มีมาแล้วกว่า 106 ปี ที่ยังมีบางแง่มุม ที่ผู้คนอาจยังไม่รู้จักมากนัก จึงทำให้การรถไฟฯ จัดงาน Hua Lamphong in Your Eyes ขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564-16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

ตลอดการจัดงานทั้ง 26 วันได้รับความสนใจจากประชาชน คนรุ่นใหม่ ทั้งกลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อน คู่รักและชาวต่างชาติ เข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะกิจกรรมเช็กอิน 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหัวลำโพงทั้งด้านนอกและด้านในตัวอาคาร ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ย้อนรำลึกถึงความสำคัญของสถานที่ต่างๆ ไปพร้อมกัน เช่น อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ซึ่งเป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก (เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 ซึ่งกลายเป็นวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน

โรงแรมราชธานี ที่ถูกสร้างขึ้นพร้อมสถานีรถไฟหัวลำโพงเพื่อใช้รับรองแขกที่เดินทางมายังกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันได้ปิดตัวลงทำให้ไม่สามารถเข้าชมได้โดยทั่วไป และโถงกลางสถานี ที่เป็นศิลปะร่วมสมัยตะวันตก ออกแบบโดยนายเกอร์เบอร์ (Mr. Gerber) วิศวกรชาวเยอรมัน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2455 ลักษณะเป็นโถงกว้าง หลังคาโครงทรัสเหล็กพาดช่วงยาว 50 เมตร คลุมพื้นที่โถงทั้งหมด โดยช่วงกลางหลังคายกขึ้นเพื่อให้แสงสว่างเข้ามาอย่างเต็มที่

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ผู้เข้าร่วมงาน Hua Lamphong in Your Eyes จะได้รับพาสปอร์ตสำหรับทำกิจกรรมเช็กอิน 10 จุดไฮไลต์ ซึ่งหลังจากทำครบจะได้รับของที่ระลึกที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อกิจกรรมในครั้งนี้ โดยจะไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน เช่น พวงกุญแจรถไฟชานเมืองสายสีแดง ชุดแสตมป์ที่ระลึก สเปรย์แอลกอฮอล์แบบการ์ด แก้วน้ำลายสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น ทำให้ผู้ที่เคยมาแล้วกลับมาซ้ำหรือชักชวนครอบครัว เพื่อนมาอีก ทำให้ความตั้งใจของการรถไฟฯ ที่อยากให้ประชาชนได้สนุกสนานไปพร้อมกับเรียนรู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์จากสถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นแลนด์มาร์กของไทยแห่งหนึ่ง ได้รับความสนใจและเป็นที่พูดถึงกันกว้างขวาง

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด ที่สร้างความสนุกสนานและเพลิดเพลินให้ผู้เข้าร่วมงานตลอดทั้งวัน รวมทั้งนิทรรศการภาพถ่าย ที่จัดประกวดขึ้นภายใต้หัวข้อ Hua lamphong Through the len ร่วมชิงเงินรางวัลมากกว่า 1 แสนบาท มีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดถึง 7,317 ภาพ และได้ประกาศผลรางวัลไปแล้วในเดือนที่ผ่านมา ทำให้เห็นมุมมองของสถานีหัวลำโพงในด้านที่แตกต่างออกไป

“การรถไฟฯ ยืนยันว่าภาพความสุขที่เกิดขึ้นในสถานีรถไฟหัวลำโพงแห่งนี้จะยังดำเนินต่อไป ทั้งจากการให้บริการ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก็ไม่ต้องเสียใจ ขอให้ติดตามกิจกรรมอื่นๆ ของการรถไฟฯ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะคอยประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ เป็นประจำทุกเดือน เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน”

สำหรับงานที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการรวบรวมบทบันทึกประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าอีกหน้าหนึ่งของสถานีรถไฟหัวลำโพง และเป็นช่องทางการรับฟังมุมมองของประชาชนคนไทยที่มีต่อสถานีรถไฟหัวลำโพงมากขึ้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สถานีหัวลำโพงต่อไปในอนาคตอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2022 2:31 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติศาสตร์ (บางเรื่อง) ของรถไฟไทย ยุคริเริ่มเครือข่ายระบบขนส่ง
Source - มติชน
Monday, February 07, 2022 08:03
วิภา จิรภาไพศาล

wipha_ch@yahoo.com

หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา) ล่ามในคณะราชทูตไทยไปอังกฤษ ใน พ.ศ.2400 คือคนไทยคณะแรกที่ได้นั่งรถไฟ บันทึกประสบการณ์ครั้งนั้นไว้ใน "จดหมายเหตุนิราศลอนดอน" ว่า

"ยังมีรถวิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือรถไฟสำหรับใช้ทางไกล ไปได้ตลอดทุกหัวเมืองที่อยู่ในเกาะเครดบริดเตน ทางรถไฟนั้นทำด้วยเหล็กเป็นทางตรง ถ้าถึงภูเขาก็เจาะเป็นอุโมงค์ตลอดไปจนข้างโน้น ที่เป็นเนินต่ำๆ ก็ตัดเนินลงเป็นทางราบเสมอดิน ถ้าถึงแม่น้ำฤๅคลองก็ก่อตะพานศิลาข้าม ถ้าเป็นที่ลุ่มก็ถมขึ้นให้ดอนเสมอ แล้วทำเป็นสองทางบ้าง สี่ทางบ้างเคียงกัน ทางรถไปทางหนึ่ง ทางรถมาทางหนึ่ง ไม่ให้ร่วมทางด้วยกลัวจะโดนกัน ที่เรียกว่ารถนั้นใช่จะเป็นรถไฟทุกรถหามิได้เป็นรถไฟอยู่รถเดียวแต่รถหน้า แล้วลากรถอื่นไปได้ถึงยี่สิบรถเศษ บางทีถ้าจะไปเร็วก็ลากแต่น้อยเพียงเจ็ดรถแปดรถ รถที่เดินเร็วเดินได้โมงละหกสิบไมล์ คือสองพันเจ็ดร้อยเส้นเป็นกำหนด รถเหล่านั้นมีขอเหล็กเกี่ยวต่อๆ กันไป..."อีก 39 ปีต่อมา (พ.ศ.2439) ไทยจึงริเริ่มกิจการรถไฟอย่างเป็นทางการ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันกิจการรถไฟไทยเป็นอย่างไร คงเป็นที่ประจักษ์ของผู้ใช้บริการทุกท่าน แต่อดีตกว่า 120 ปี กิจการรถไฟเป็นอย่างไร ท่านสามารถหาคำตอบเรื่องนี้ได้จากนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นำเสนอบทความเกี่ยวกับรถไฟ 2 เรื่อง

หนึ่งคือ "สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) กับผังเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ และมิวเซียมที่มีชีวิตของมหานครกรุงเทพ" โดย รศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ที่นำเสนอให้เห็นว่าการเกิดขึ้นของสถานีหัวลำโพง ที่สัมพันธ์กับผังเมือง การขยายตัวของกรุงรัตนโกสินทร์ และคุณค่าทางสถาปัตยกรรมของสถานี

พ.ศ.2439 ผู้นำไทยริเริ่มกิจการรถไฟอย่างเป็นทางการ เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ของราชอาณาจักรเข้าสู่ศูนย์กลาง ด้วยการสร้างเครือข่ายเส้นทางรถไฟ

โดยได้วางจุดเริ่มต้นของทางรถไฟ หรือ "สถานี" ไว้ริมคลองผดุงกรุงเกษม เดิมนั้นตัวสถานีหัวลำโพงตั้งอยู่ ริมคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณใกล้วัดเทพศิรินทร์ตรงกับตึกบัญชาการการรถไฟฯ ในปัจจุบัน ตัวสถานีหันหน้าลงสู่คลองอันเป็นทางคมนาคมหลักเวลานั้น

พ.ศ.2449 สถานที่เดิมคับแคบและไม่สะดวกในการเชื่อมต่อคมนาคม จึงมีโครงการย้ายที่ตั้งสถานีลงมาจากเดิมประมาณ 500 เมตร ใกล้จุดตั้งต้นของทางรถไฟสายปากน้ำที่เลียบคลองถนนตรงมายังคลองผดุงกรุงเกษมคือสถานีหัวลำโพง

สมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟหัวลำโพงสร้างแล้วเสร็จเปิดใช้งานในวันที่ 25 มิถุนายน 2459 โดยออกแบบให้มีด้านหน้าสถานีหันลงทางทิศใต้รับกับแนวคลองถนนตรง ตัวสถานีวางยาวขนานกับคลองผดุงกรุงเกษมโดยเน้นให้ทางเข้าด้านหน้าอวดโครงสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ออกสู่ลานโล่งดังที่ยังเห็นอยู่ในปัจจุบัน

สถานีหัวลำโพงมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่1.เป็นชานพระนครประกอบด้วยทุ่งโล่งที่เรียกกันว่า "ทุ่งวัวลำพอง" ไม่มีชุมชนหนาแน่นกีดขวางโครงสร้างขนาดใหญ่

2.มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับภายในพระนคร ไม่ว่าจะเป็นคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหานาค ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ทางตอนใต้, คลองถนนตรง (แนวถนนพระราม 4 ในปัจจุบัน) ที่สามารถเดินทางไปยังปากน้ำที่เป็นเมืองท่าสู่ต่างประเทศ และรถไฟสายปากน้ำ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำให้เป็นสถานีหัวลำโพงจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญระหว่างในเมืองกับนอกเมือง

3.บริเวณที่ตั้งสถานีกรุงเทพเป็นจุดสิ้นสุดของชุมชนหนาแน่นที่ยาวจากชานพระนครสมัยแรกเริ่มมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา นั่นคือสำเพ็งและตลาดน้อย การสร้างสถานีรถไฟในบริเวณนี้คือการเลือกทำเลใกล้ย่านธุรกิจที่เติบโตอย่างมากของพระนครในสมัยนั้น ซึ่งมีผลต่อความรวดเร็วและสะดวกในการเดินทางขนถ่ายผู้คนและสินค้า

ที่สำคัญคือ สถานีหัวลำโพงได้กลายเป็นศูนย์รวมทรัพยากรจากภูมิภาคต่างๆ ทางใกล้และไกล ขณะเดียวกันก็กระจายอำนาจการปกครองของสยามจากเมืองหลวงออกไปยังหัวเมืองต่างๆ และกิจการรถไฟนี้มีส่วนผลักดันให้เกิดความเจริญทั้งในพระนครและนอกพระนครอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา

โดยทางรถไฟสายแรกของสยาม หรือเส้นทางแรกที่รถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงก็คือ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา ก่อนจะขยายไปและมีการกำหนดให้มีแนวขึ้นไปยังทิศเหนือ

ขณะที่อีกหนึ่งบทความชื่อ "ข่าวสารจาก มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ (ค.ศ.1879-1962) ช่วงเป็น Prisoners of War" เป็นของ สมโชติ อ๋องสกุล

มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ (ค.ศ.1879-1962/พ.ศ.2422-2505) เป็นวิศวกรชาวเยอรมันเข้ามาทำงานกับการรถไฟไทยช่วง ค.ศ.1903-1917 (พ.ศ.2446-2460) และสร้างครอบครัวกับภรรยาชาวไทย มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ทำหน้าที่ควบคุมการเจาะอุโมงค์ขุนตานช่วง ค.ศ.1914-1917 (พ.ศ.2457-2460) เพื่อสร้างทางรถไฟสายเหนือสู่เชียงใหม่ ที่ช่วยให้การเดินทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ด้วยเส้นทางแม่น้ำปิง ที่ต้องใช้เวลา 1-2 เดือน เหลือเพียง 3 วัน โดยรถไฟ

กับการทำงานในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน เหว ป่าทึบ รวมทั้งไข้ป่าจากยุงและอันตรายจากสัตว์ป่าดุร้าย คนงานและสัตว์พาหนะถูกเสือลากไปกินบ่อยครั้ง ในขณะที่ยังไม่มีเครื่องมือทันสมัย ต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยีเท่าที่มีในเวลานั้น

จนเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นฝ่ายมหาอำนาจกลางเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวเยอรมันซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในกรมรถไฟและกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่างถูกจับกุมและถอดถอนบรรดาศักดิ์ รวมทั้ง มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ วิศวกรชาวเยอรมันที่กำลังคุมงานก่อสร้างอุโมงค์ขุนตานด้วย

เรื่องราวของทั้งสองบทความยังไม่ได้จบเพียงเท่านี้ เนื้อหาส่วนที่เหลือของสถานีหัวลำโพง และเรื่องของ มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์กับการสร้างอุโมงค์ขุนตาน ขอได้โปรดติดตามอ่านใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์นี้


บรรยายใต้ภาพ

มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ กับทีมงานคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือช่วงอุโมงค์ขุนตาน ขวาสุดคือ มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ (สมบัติของ คุณปรียา อัยยเสน ทายาท)

ผังเมืองกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อสมัยแรกสร้างยังมีอาณาเขตล้อมรอบด้วยคูเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตพระนครชั้นใน ก่อนที่จะขยายออกมาในภายหลัง (ภาพจากจดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์, น. 56)

มร.เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ (สวมหมวกถือไม้เท้า) ไปดูผลงานของเขาที่อุโมงค์ขุนตานหลังจากกลับมาอยู่ที่สยาม เมื่อ พ.ศ.2472 (สมบัติของ คุณปรียา อัยยเสน ทายาท)

สะพานทางรถไฟที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน สร้างในช่วงสงครามโลก ขาดเหล็ก ยุคแรกต้องสร้างด้วยไม้สัก (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)

สถานีกรุงเทพแห่งแรกที่สร้างบริเวณทิศเหนือของสถานีในปัจจุบัน สังเกตได้ว่ามีขนาดเล็กและวางแนวแกนทิศขนานกับทางรถไฟ (ภาพจาก The Railways of Thailand, p. 12.)

ภาพประวัติศาสตร์การตอกหมุดเริ่มกิจการรถไฟหลวงของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพถ่ายเก่าจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีหัวลำโพง สร้างและเปิดใช้งานใน พ.ศ.2459 ถือเป็นสถาปัตยกรรมในกิจการขนส่งสาธารณะที่มีความเก่าแก่ที่สุดที่ยังใช้งานอยู่ของประเทศไทย ภาพถ่ายราวสมัยรัชกาลที่ ๖ (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 8 ก.พ. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2022 11:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ประวัติศาสตร์ (บางเรื่อง) ของรถไฟไทย ยุคริเริ่มเครือข่ายระบบขนส่ง
Source - มติชน
Monday, February 07, 2022 08:03
วิภา จิรภาไพศาล

wipha_ch@yahoo.com



เกร็ดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน
Silapawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม
23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13:30 น.

"หัวลำโพง" ชื่อเรียกติดปากของสถานีกรุงเทพ หัวใจหลักของการคมนาคมทางรางของประเทศไทยมานับร้อยปี สถานีรถไฟแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทั้งด้านสังคม วิถีชีวิตของผู้คน การคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม ฯลฯ
.
ในที่นี้จะพาไปทำความเข้าใจกับ "เกร็ด" ความรู้จากสถานีกรุงเทพที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน
.
ที่ตั้งสถานีกรุงเทพ
.
เดิมสถานีกรุงเทพตั้งอยู่ ณ จุดที่มีพิธีเปิดการก่อสร้างบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ใกล้กับวัดเทพศิรินทร์ ตรงกับตึกบัญชาการการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน เลยขึ้นไปทางทิศเหนือของสถานีปัจจุบันราว 500 เมตร โดยตัวสถานีจะหันหน้าสู่คลองผดุงกรุงเกษม รับกับแนวเส้นตรงออกมาจากพระนครทางทิศตะวันตก ภายหลังเห็นว่าสถานที่คับแคบ และไม่สะดวกต่อการเชื่อมต่อการคมนาคม จึงย้ายโครงการมายังพื้นที่สถานีกรุงเทพในปัจจุบัน
.
สถานีกรุงเทพไม่ใช่สถานีหัวลำโพง
.
การย้ายสถานีกรุงเทพมายังพื้นที่ในปัจจุบันทำให้มีอาณาบริเวณใกล้กับสถานีหัวลำโพง อันเป็นจุดตั้งต้นของทางรถไฟสายปากน้ำ ทางรถไฟสายแรกของสยาม โดยมีทางรถไฟขนานเลียบกับคลองถนนตรง ด้วยเหตุที่สถานีรถไฟทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกันมาก เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเรียกสถานีกรุงเทพว่าสถานีหัวลำโพงกันจนติดปาก แต่ในความเป็นจริงแล้วเดิมเป็นคนละสถานีกัน ภายหลังเลิกกิจการรถไฟสายปากน้ำจึงได้มีการรื้อถอนสถานีหัวลำโพงและทางรถไฟสายปากน้ำออกไป และถมคลองถนนตรงกลายเป็นถนนพระรามที่ 4
.
หัวลำโพงหรือวัวลำพอง
.
แต่เดิมมีความเชื่อกันว่า บริเวณสถานีหัวลำโพงเคยเป็นทุ่งเลี้ยงวัวมาก่อน จึงเรียกย่านนี้ว่า “ทุ่งวัวลำพอง” ภายหลังจึงเรียกเพี้ยนเป็น “หัวลำโพง” บ้างว่าละแวกนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเรียกย่านนี้ว่า “ทุ่งวัวลำพอง”
.
อย่างไรก็ตาม จากพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม ร.ศ. 129 เรื่องการใช้ศัพท์ไทย ศัพท์ฝรั่ง ทรงกล่าวถึงชื่อของ หัวลำโพง-วัวลำพอง ไว้ว่า "...การเช่นนี้มีจนกระทั่งในกรุงเทพฯ เช่น หัวลำโพง ฝรั่งเรียกไม่ชัด ไทยเราพลอยเรียกตามว่า วัวลำพอง นี่เป็นเรื่องที่ควรจะฟาดเคราะห์จริง ๆ..." สะท้อนให้เห็นว่า บริเวณแห่งนี้มีชื่อว่า “หัวลำโพง” มาตั้งแต่แรก ไม่ได้เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “วัวลำพอง” แต่อย่างใด ส่วนนาม “หัวลำโพง” มีที่มาจากไหน คงต้องสืบหากันต่อไป
.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

Live : “หัวลำโพง” สเตชั่น สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา
Live : “หัวลำโพง” สเตชั่น สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา
.
วิทยากร : ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ และ รศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ดำเนินการเสวนาโดย เอกภัทร์ เชิดธรรมธร
.
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องโถงมติชนอคาเดมี
https://www.facebook.com/SilpaWattanatham/videos/1161395287726844

เสวนา ‘หัวลำโพงสเตชั่น’ ยัน รถไฟคือการคมนาคมแห่งความเสมอภาค
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 18:10 น.

...เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา ร่วมกับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัดและการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดเสวนาในหัวข้อ “หัวลำโพง สเตชั่น”
รศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง ในช่วงแรกตั้งใจวางแผนให้สอดคล้องกับกายภาพของเมือง คือต้องการที่โล่งรองรับการก่อสร้างสถานีและทางรถไฟ จึงเลือกบริเวณติดชายคลองผดุงกรุงเกษม ทางฝั่งตะวันออก เพราะ 1. มีที่ว่างมากพอ เป็นทุ่งไม่มีคนอยู่ จึงเหมาะกับการวางโครงสร้างขนาดใหญ่ไว้ที่ตรงนั้น กับ 2.บริเวณที่สถานีกรุงเทพดั้งเดิมหรือสถานีหัวลำโพงปัจจุบัน อยู่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษมและหันหน้าเข้าคลอง แสดงว่ามีการจงใจสร้างให้รองรับกับการคมนาคมที่เป็นทางน้ำ ทำให้เชื่อมต่อได้ทั้งพื้นที่ในพระนครและขนถ่ายออกไปยังภายนอกอาจจะเป็นนอกประเทศ จะเห็นได้ว่าผู้ออกแบบตั้งสถานีกรุงเทพพิจารณาการขนส่งที่สะดวกสบายที่สุดในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหา คือเป็นสังคมรถเป็นใหญ่ มองว่าระบบขนส่งสาธารณะเป็นอุปสรรค ทั้งที่หัวลำโพงทำหน้าที่เป็นสถานีได้อย่างดี ในการขนคนหลักพันเข้ามาได้ภายในคืนเดียว รับใช้คนได้เสมอภาคกัน และไม่ทำให้การจราจรติดขัด
ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงประเด็นการวางแผนปิดสถานีหัวลำโพงเมื่อปี 2564 ว่า ในอดีตรถไฟคือการคมนาคมที่มีเป้าหมายคือการขนส่งทั้งเศรษฐกิจและผู้คน แสดงความศิวิไลซ์ของชนชั้นนำที่สามารถเดินทางไปสู่หัวเมืองง่ายขึ้น ต่อมา มีจุดเปลี่ยน เมื่อถนนกลายเป็นหลัก ดังนั้น การพัฒนารถไฟจึงหยุดนิ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2022 6:52 am    Post subject: Reply with quote

ส่อง!!สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ห้องพักผู้โดยสาร ชานชาลา (17/3/65)
Mar 18, 2022
ัvnp story


https://www.youtube.com/watch?v=RShiiRESc6A
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2022 11:26 am    Post subject: Reply with quote

ลูกทุ่งนักเดินทาง ความทรงจำบนชานชาลารถไฟ
Mar 18, 2022
Thaibunterng ThaiPBS

แม้จะยังเปิดให้บริการตามปกติ แต่หลายคนก็ยังเป็นห่วงชะตากรรมของสถานีรถไฟหัวลำโพงว่าในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน เพราะที่นี่เป็นพื้นที่แห่งความทรงจำของคนไทย สารพันลั่นทุ่ง(บางเขน) เลยอยากชวนแฟนๆ เดินทางผ่านเสียงเพลง ฟังเพลงที่ผูกพันกับเส้นทางรถไฟ และการเดินทางของคนในอดีต พร้อมเล่าเรื่องราวระหว่างทางของนักร้องรับเชิญ


https://www.youtube.com/watch?v=xjDsnkSstgw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 31, 32, 33  Next
Page 25 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©