RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271243
ทั้งหมด:13582532
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ยำรวมมิตร " สะพานใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ "
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ยำรวมมิตร " สะพานใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ "
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 25/10/2007 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

มองไปทางสถานีชุมทางตลิ่งชันครับ จากตรงนี้ไปทางรถไฟจะตรงไปเรื่อย ๆ แล้วโค้งขวา ขนานไปกับทางประธานสายสถานีธนบุรี - สถานีชุมทางตลิ่งชัน แล้วจะเข้าสู่สถานีชุมทางตลิ่งชันครับ

Click on the image for full size


มาดูที่ทางประธานขาออกจากกรุงเทพกันชัด ๆ จะเห็นว่าใช้หมอนคอนกรีต Mono Block แต่ก็มีจุดที่เป็นข้อต่อของรางที่ยังคงใช้หมอนไม้อยู่

Click on the image for full size


ขนาดของราง ( น่าจะ ) เป็น 80 ปอนด์ ตัวอักษรที่อยู่ที่รางก็คือ " 1958 RSR OB " ครับ

Click on the image for full size

ที่เห็นว่ารางเปียกนี่ ไม่ใช่น้ำที่มีใคร หรือตัวไหนไปปล่อยเอาไว้นะครับ เป็นน้ำดื่มของผมนั่นเอง ที่เทลงไปก็เพราะว่าก่อนหน้านั้นไปตากฝนอยู่ที่สะพานแห่งหนึ่ง พอฝนหยุดตกแล้ว ผมมองไปที่ราง เห็นตัวอักษรที่อยู่ที่รางชัดเจนมาก แทบไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องขัด ไม่ต้องถูเลยครับ ก็เลยลองเลียนแบบฝนตกดู วันนั้นน้ำมากกว่าครึ่งขวดหมดไปกับการเทลงบนรางนี่ล่ะครับ Ahhh
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Adithepc20
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/07/2006
Posts: 3403
Location: ลาดพร้าว 71 หรือ ชานเมือง 9

PostPosted: 25/10/2007 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

เอามาลงซะทีนะครับ พี่เต้ย เห็นดองเอาไว้นานพอสมควรเลยนะครับ
_________________
ฮิตาชิ 4506 ขณะทำขบวนรถสินค้าที่ 879 ออกจากสถานีชุมทางศรีราชา วันที่ 20 เม.ย. 2553 เวลา 16.50 น.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 25/10/2007 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

Adithepc20 wrote:
เอามาลงซะทีนะครับ พี่เต้ย เห็นดองเอาไว้นานพอสมควรเลยนะครับ


พี่ไม่ได้ตั้งใจจะดองนะครับน้องอู๋ เพียงแต่ว่าหยิบกระทู้นี้เอามาคั่นเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนจะเดินทางไปทริปใหญ่ครับ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เดินย้อนกลับมาสำรวจ " สะพานข้ามคลองบางกอกน้อย " ที่อยู่ทางด้านทางประธานขาเข้ากรุงเทพกันครับ เริ่มจากทางฝั่งสถานีบางบำหรุ...

Click on the image for full size


เดินมาดูด้านข้างครับ รูปร่างแปลกตาไปจากสะพานอื่น ๆ ที่เคยนำเสนอไปครับ สำหรับพี่ ๆ น้อง ๆ ที่เดินทางผ่านไปในเส้นทางสายใต้จะเห็นสะพานรูปร่างแบบนี้จนชินตา แต่ถ้าผ่านไปที่สถานีนาชะอัง และที่สถานีนาสารตอนกลางคืน ก็คงจะมองไม่เห็น ได้ยินเพียงแต่เสียงเท่านั้นครับ นอกจากสะพานที่อยู่ใกล้ ๆ กับสถานีนาชะอัง และสถานีนาสารแล้ว ก็ยังมีสะพานลักษณะคล้าย ๆ กันนี้อยู่ใกล้ ๆ กับสถานีอยุธยาด้วยครับ Idea

Click on the image for full size


มองลงไปดูตอม่อ 2 ต้น ที่อยู่ข้างล่างครับ เห็นฝีมือของพวกมือบอนหรือเปล่าครับ จริง ๆ แล้วตอม่อก็ไม่ได้อยู่ชิดริมตลิ่งนะครับ จะข้ามไปพ่นสี หรือเขียนอะไรก็คงจะต้องออกแรงสักหน่อย ก็ยังพยายามข้ามไปจนได้ เฮ้อ... Evil or Very Mad

Click on the image for full size
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 25/10/2007 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

nirakan wrote:
ชอบทางรถไฟแถวฝั่งธนจังครับ เหมือนไม่ได้อยู่ในกรุงเทพ มีแต่สวน

บางคนอาจจะไม่รู้ ถ้าไม่สังเกตุว่ามองทะลุออกแนวร่องสวนไป จะเห็นทางด่วนตีขนานอยู่


สำหรับตัวพี่ พี่คิดว่าเส้นทางสายใต้นี่ มีหลายช่วงที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ แต่น่าเสียดายแค่ว่าในช่วงกลางวันมีขบวนรถวิ่งผ่านน้อยไปหน่อย แถมส่วนใหญ่ก็เป็นรถท้องถิ่นอีกต่างหาก ถ้าอยากจะเห็นเส้นทางตลอดทั้งสายอย่างชัดเจนก็คงจะต้องเผื่อเวลาเอาไว้เยอะหน่อยล่ะครับ ไหนจะต้องหาช่วงเวลาที่ฝนไม่ค่อยจะตกอีก...

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

nameplate ของสะพานแห่งนี้จะติดอยู่ที่โครงเหล็กทางด้านซ้ายของสะพานครับ เป็นสะพานสัญชาติอังกฤษครับ

Click on the image for full size

พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ได้แวะไปที่สถานีอยุธยาบ่อย ๆ ช่วงงานรถจักรไอน้ำได้เคยสังเกตเห็น nameplate ของสะพานที่อยู่ที่ราง 3 บ้างหรือเปล่าครับ


ถัดขึ้นไปข้างบนเป็นป้ายบอกพิกัดน้ำหนักกดเพลาที่สะพานแห่งนี้รับได้ นั่นก็คือ 20 ตัน ครับ

Click on the image for full size


ที่คอสะพานมีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักกดเพลาติดอยู่อีก 1 ป้าย ใกล้ ๆ กันมีตัวอักษร " สร้างเสร็จเมื่อ ๕ / ก.ค. / ๒๕๓๘ " เป็นวันที่การก่อสร้างทางคู่เสร็จสิ้นหรือเปล่าครับ Question

Click on the image for full size
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 25/10/2007 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

ทางขวา มีทางเดินอยู่ข้าง ๆ สะพานด้วย พื้นทางเดินก็เป็นแผ่นไม้เหมือนกับสะพานที่อยู่ทางด้านทางประธานขาออกจากกรุงเทพครับ

Click on the image for full size


ทางประธานที่อยู่ข้างในสะพาน จากที่คิดว่าเป็นสะพานใหม่ ก็น่าจะใช้หมอนเหล็ก แต่ที่ไหนได้กลับเป็นหมอนไม้ธรรมดา ๆ ครับ ผิดคาดแฮะ... Ohh

Click on the image for full size


โครงเหล็กที่รับน้ำหนักของสะพาน และช่วงรอยต่อของโครงสะพานครับ

Click on the image for full size
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 25/10/2007 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

เห็นภาพสะพานข้ามคลองบางกอกน้อยแล้วนึกถึงความหลัง(อีกแล้วครับ) Embarassed

ผมย้ายบ้านจากฝั่งกรุงเทพไปฝั่งธนบุรีเมื่อปี ๒๕๒๙ เหตุที่บ้านหลังใหม่อยู่ใกล้ๆสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย ก็เพราะลูกๆซึ่งมีผมเป็นแกนนำนี่แหละครับ ที่เชียร์คุณพ่อ คุณแม่ให้ซื้อที่ดินที่ตั้งสถานีบ้านตุ้ยในปัจจุบันนี้ เพราะอยู่ในซอยชัยพฤกษ์ ตอนไปโรงเรียน หรือออกนอกบ้านผมจะได้นั่งรถข้ามทางตัดเสมอระดับซอยนี้ซึ่งอยู่ระหว่างสะพานกับสถานีชุมทางตลิ่งชันทุกๆวัน แถมว่างๆจะได้มาดักดูรถไฟสายใต้บ่อยๆ Very Happy

ช่วงระหว่างการก่อสร้างอาคารสถานีบ้านตุ้ยประมาณต้นปี-กลางปี ๒๕๒๙ ผมติดตามคุณพ่อคุณแม่มาดูการก่อสร้างแทบทุกอาทิตย์ ไม่ค่อยจะสนใจความคืบหน้าในการก่อสร้างสักเท่าใด เพราะความจริงแล้วตั้งใจจะไปดูรถไฟซะมากกว่า Laughing ผมเดินจากที่ก่อสร้างลัดเลาะตามซอกซอยซึ่งยังเป็นสวนร่มรื่นประมาณ ๑๕ นาที ก็ถึงเชิงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อยแล้วละครับ ขบวนรถยอดฮิตที่ดักรอดูเป็นประจำ คือ ขบวนรถด่วนที่ ๑๙ กรุงเทพ-ยะลา (ปัจจุบัน คือ ขบวน ๓๗) ขบวนรถด่วนที่ ๑๑ กรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ/สุไหงโกลก (ปัจจุบัน คือ ขบวน ๓๕)

แม้สมัยนั้น(จนกระทั่งบัดนี้) ผมไม่เคยมี ปดร. แต่สามารถกะเวลาดักรอดูรถไฟที่สะพานนี้ได้ไม่พลาด เพราะเวลานั่งรถไฟลงใต้ ผมสังเกตเวลาที่รถวิ่งจากสถานีกรุงเทพ-สะพานนี้ ประมาณ ๓๕ นาที ผมนำเวลารถออกจากกรุงเทพบวกเวลาเข้าไป ๓๕ นาที แล้วไปดักรอดูก่อนขบวนรถมาถึงสะพานประมาณ ๑๐ นาที อย่างขบวน ๑๙ ออกจากกรุงเทพ ๑๔.๓๐ น. จะถึงสะพานนี้ประมาณ ๑๕.๐๕ น. ผมก็เดินออกจากบ้าน ๑๔.๔๐ น. ถึงสะพาน ๑๔.๕๕ น. ครับ ยุคนั้นขบวนรถค่อนข้างจะตรงเวลาจึงใช้เวลาไม่เกิน ๓๕-๔๐ นาที ก็จะแล่นถึงสะพานนี้เสมอ

ในปีนั้นขบวนรถด่วน รถเร็ว สายใต้ ยังไม่จอดบางบำหรุ ขบวนรถจึงแล่นผ่านสะพานนี้ด้วยความเร็วประมาณ ๘๐-๘๕ ก.ม./ช.ม. เสียงสะพานดัง สั่นสะเทือน สะใจดีแท้ Very Happy ยิ่งวันที่ขบวนรถช้า พขร. เร่งทำเวลายิ่งน่าดูชมครับ เสียงน้าต้อมคำรามดังลั่นมาแต่ไกล ชักหวีดดังสนั่น แล้วแล่นโผล่พ้นโค้งออกจากบางบำหรุมาอย่างรวดเร็ว ยากที่จะบรรยายความมันส์เป็นลายลักษณ์อักษรจริงๆครับ เสียดายที่ในยุคนั้นไม่มีกล้องดิจิตอลเหมือนปัจจุบันไม่อย่างนั้นคงเก็บภาพไว้เพียบเลยละครับ

อ้อ! สมัยนั้น(๒๕๒๙)ทางช่วงนี้ยังเป็นทางเดี่ยว สะพานมีเพียงสะพานเดียว คือ สะพานดำ ครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2007 2:00 pm    Post subject: Reply with quote

ExtendeD wrote:
พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ได้แวะไปที่สถานีอยุธยาบ่อย ๆ ช่วงงานรถจักรไอน้ำได้เคยสังเกตเห็น nameplate ของสะพานที่อยู่ที่ราง 3 บ้างหรือเปล่าครับ


ออ สะพานนั้นอิตาเลียนไทยทำเอง ที่กม. 70+9xxx น่อ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 25/10/2007 2:11 pm    Post subject: Reply with quote

ทางประธานขาเข้ากรุงเทพเป็นรางขนาด 100 ปอนด์ครับ

Click on the image for full size


เดินผ่านช่วง Span แรกไปถึงช่วง Span ที่ 2 ของสะพานแห่งนี้แล้วครับ เท่าที่ผมลองสังเกตดูด้วยสายตา ถ้าตาผมไม่ลายจนเบลอไปเอง ผมเห็นว่าช่วง Span ที่ 2 นี้มีความยาวกว่าช่วง Span ที่ 1 และ 3 ครับ

Click on the image for full size


มองออกไปด้านนอกสะพาน จะเห็นบ้านเรือนหลายหลังอยู่ริมคลองบางกอกน้อย รู้สึกคล้าย ๆ กับอยู่ต่างจังหวัด เพราะแทบจะมองไม่เห็นตึกสูง ๆ เลยครับ

Click on the image for full size
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 25/10/2007 2:34 pm    Post subject: Reply with quote

tuie wrote:
ในปีนั้นขบวนรถด่วน รถเร็ว สายใต้ ยังไม่จอดบางบำหรุ ขบวนรถจึงแล่นผ่านสะพานนี้ด้วยความเร็วประมาณ ๘๐-๘๕ ก.ม./ช.ม. เสียงสะพานดัง สั่นสะเทือน สะใจดีแท้ Very Happy ยิ่งวันที่ขบวนรถช้า พขร. เร่งทำเวลายิ่งน่าดูชมครับ เสียงน้าต้อมคำรามดังลั่นมาแต่ไกล ชักหวีดดังสนั่น แล้วแล่นโผล่พ้นโค้งออกจากบางบำหรุมาอย่างรวดเร็ว ยากที่จะบรรยายความมันส์เป็นลายลักษณ์อักษรจริงๆครับ เสียดายที่ในยุคนั้นไม่มีกล้องดิจิตอลเหมือนปัจจุบันไม่อย่างนั้นคงเก็บภาพไว้เพียบเลยละครับ


ได้อ่านความหลังของพี่ตุ้ยแล้ว ทำให้อดจินตนาการไม่ได้ว่า ถ้ามีโอกาสได้ปลูกบ้านสักหลัง จะไปปลูกอยู่ใกล้ ๆ กับสะพาน จะเลือกสะพานไหนดี เอาไว้คิดเล่น ๆ ตอนกำลังว่าง ๆ หรือพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ คงจะสุขใจไม่น้อยเลยครับ Cute1

Wisarut wrote:
ออ สะพานนั้นอิตาเลียนไทยทำเอง ที่กม. 70+9xxx น่อ Embarassed


เป็นของอิตาเลียน - ไทย เหรอครับพี่วิศรุต ผมดูแล้ว คล้ายกับ " สะพานข้ามคลองบางกอกน้อย " มากกว่า " สะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก " ที่สถานีท่าเรือ ก็เลยคิดว่าเป็นสะพานสัญชาติอังกฤษเหมือนกันเสียอีกครับ ขอบคุณมากครับพี่


ผมเคยมีโอกาสพา ส. แขวงกับรถพ่วงทั้ง 2 คันไปไหว้หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงที่อยุธยาครั้งหนึ่ง เมื่อหลาย ๆ เดือนก่อนหน้าโน้น พอคุณเธอก้าวลงจากรถไฟ ก็รีบเดินไปเรียกสามล้อที่จอดรออยู่ข้างหน้าสถานีทันที อะ... ไม่ว่าอะไร ถือซะว่าอยากจะไหว้พระเร็ว ๆ

แต่พอตอนกลับมาถึงสถานีก็บอกว่าจะกลับขบวนที่ 212 ทั้ง ๆ ที่รออีกประมาณ 15 นาที ขบวนที่ 110 ( ที่ตอนนั้นยังวิ่งอยู่ ) ก็จะไล่หลังมา สรุปแล้ววันนั้นไปที่อยุธยามีเวลาอยู่ที่สถานีไม่ถึง 10 นาทีเลยครับ ไม่ได้เดินดูอะไรเลย Smile2 รีบร้อนจริงแม่คุณ...

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คานรับน้ำหนัก และจุดเชื่อมโครงสะพาน มองจากสะพานที่อยู่ทางด้านทางประธานขาออกจากกรุงเทพครับ

Click on the image for full size
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
OutRun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 26/05/2006
Posts: 1187

PostPosted: 25/10/2007 2:36 pm    Post subject: Reply with quote

ExtendeD wrote:


ที่คอสะพานมีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักกดเพลาติดอยู่อีก 1 ป้าย ใกล้ ๆ กันมีตัวอักษร " สร้างเสร็จเมื่อ ๕ / ก.ค. / ๒๕๓๘ " เป็นวันที่การก่อสร้างทางคู่เสร็จสิ้นหรือเปล่าครับ Question

ปี 2538 เสร็จแค่ตอม่อสะพานครับ ตัวสะพานยังไม่ได้สร้าง และดินคันทางก็เพิ่งจะถมเสร็จได้ไม่นาน
ตัวสะพานน่าจะเสร็จประมาณ พ.ศ. 2540 หน่ะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด ส่วนรางก็เพิ่งจะวางประมาณปี พ.ศ. 2540 นั่นแหละครับ
แต่กว่าจะเปิดใช้ทางคู่จริง ๆ โน่นแหน่ะครับ เดือน พฤษภาคม 2546 ส่วนภาพข้างล่างนี้ ณ สถานี ชุมทางตลิ่งชัน พ.ศ. 2539 ครับ
Click on the image for full size
_________________
นายจักรยานกับการรถไฟ ฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  Next
Page 5 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©