RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181753
ทั้งหมด:13492991
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - Project: ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

Project: ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ของหัวลำโพง
Goto page 1, 2, 3, 4, 5  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 05/11/2007 11:00 pm    Post subject: Project: ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ของหัวลำโพง Reply with quote

ครับ ในกระทู้นี้ เป็นกระทู้ที่คณะของผมได้ทำการเยือนหัวลำโพงเพื่อหาข้อมูลใส่หัว ตั้งแต่จำความได้ ( มาหัวลำโพงทีไร ไม่เคยที่จะหาข้อมูลใส่หัวตัวเองจริงๆ ไปก็ไปถ่ายรูปรถไฟ กับไปส่งญาติครับ ) พอมาครั้งนี้ พวกผม ต้องทำการสำรวจด้วยตัวเอง เพราะ

1. อาจารย์ไม่ยอมให้เอาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว

2. ลงพื้นที่เองดีกว่า ถ้ามีความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เราสามารถ ใส่เข้าไปเพิ่มและสรุปข้อมูลของเราได้สบายๆ

3. เราได้ทำการสัมภาษณ์ผู้คน รวมพนักงานว่า เขามีความคิดเห็นอย่างใดเกี่ยวกับหัวลำโพง

4. สุดท้าย เราได้ทำการสรุปข้อมูลที่เราได้รวบรวมมา ไว้ให้สำหรับคนที่ต้องการทราบจุดประสงค์ของเราครับ

5. ได้ไปถ่ายรูปรถไฟ โดยใช้งานเป็นข้ออ้าง ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้กลับบ้านช้าได้

6. ไปบ้านเพื่อนกินข้าวฟรี

7. เราได้ ทำการ โดด รด. ด้วย Wink ( โชคดีอีกต่างหาก ที่โดดเพราะเป็นสัปดาห์แห่งการตัดผมครั้งยิ่งใหญ่~ )

ข้อ 5 ถึงข้อ 7 อย่าคิดมากนะครับ ^^

โดย ขั้นแรก ผมกับเพื่อน 1 คน ที่อาศัยใกล้ๆ หัวลำโพง ได้มาทำการสำรวจพื้นที่ก่อน พร้อมถ่ายภาพยามเย็นของหัวลำโพงเอาไว้ ( เสียดายบางภาพ ถ่ายไว้สวย แต่เมมเสีย ( มี 2 เมมครับ แต่เมมที่ผมได้ไว้ใช้ถ่ายส่วนใหญ่นั้น เปิดไม่ได้ เพราะ เจอไวรัส ( มันเข้าไปอยู่ตอนไหน วะ~ Crying or Very sad
เสียดายที่สุดเลย ภาพสวยด้วย Crying or Very sad ไม่พอ ใช้ตั้ง 2 วันอีกต่างหาก ยังไม่รู้ตัว ไม่งั้น ภาพที่ผมจะเอามาลงให้ดูคงเยอะกว่านี้ )

เริ่มต้นด้วยภาพนี้ครับ

ด้านหน้า หัวลำโพง

Click on the image for full size[/b]

อ่ะ อีกรูป 1

Click on the image for full size

มาลองดูบทคัดย่อกันครับ

บทคัดย่อ
สถานีรถไฟกรุงเทพ” หรือเรียกกันทั่วไปว่า “หัวลำโพง” เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี พ.ศ. 2543การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯทรงกระทำ การเปิดในปี 2454 โดยสถานีแห่งนี้มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับ สถานีรถไฟของเยอรมัน
ครับ ซึ่งสถานีที่สวยงามแห่งนี้ ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปด้วยครับ ซึงพูดได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงไปยุคสมัยเป็นตัวจุดชนวนของการเปลี่ยนแปลงตั้วแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันเลยก็ว่าได้


Last edited by Paniti23 on 08/11/2007 12:57 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 05/11/2007 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

ผมลองเข้าไปในหัวลำโพง และลองสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหัวลำโพง ที่ประชาสัมพันธ์ดู ปรากฏว่าเขาบอกให้ผมไปที่สำนักงานใหญ่รถไฟไทย ติดต่อที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งตอนที่ผมเข้าไปติดต่อนั้น ปาเข้า 5 โมงกว่าแล้ว ผมจึงตัดสินใจกับเพื่อนว่า Where is a where where ( ไหน ไหน ก็ ไหน ไหน ) มาแล้ว เราเลยทำการเดินไปรอบๆ สถานี แล้วถ่ายหัวลำโพงในยามเย็นดู

บรรยากาศภายในสถานี

Click on the image for full size

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่ที่สถานีหัวลำโพง ลองดูสิ มันคืออะไร Wink

Click on the image for full size

ลองมาดูบทนำของสถานีหัวลำโพง กันครับ

สถานีกรุงเทพ ( หัวลำโพง )

อาคารสถานีกรุงเทพสร้างเสร็จ และเปิดใช้กิจการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 ในย่านของสถานีกรุงเทพ ประกอบด้วยย่านโดยสาร ย่านช่างกลและย่านสินค้า

ในย่านโดยสารและช่างกล มีอาคารโรงรถจักรดีเซลตั้งอยู่กลางย่านสร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 ระหว่างย่านโดยสารกับคลองผดุงกรุงเกษม มีย่านสินค้าเหมาหลังและที่ทำการรับส่งสินค้ากรุงเทพ และโรงเก็บสินค้าตลอดริมคลองผดุงกรุงเกษม

ในระยะนั้น สินค้าเข้ามาจากต่างจังหวัด นอกจากบางส่วนขนลงที่สถานีแม่น้ำ, บางซื่อ และบางซ่อนแล้วส่วนใหญ่จะขนลงที่ย่านสินค้าของสถานีกรุงเทพ ขบวนรถสินค้า, ขบวนรถรวม, ขบวนรถโดยสาร, ขบวนรถเร็ว, ขบวนรถด่วน ล้วนมีต้นทางออกจากย่านกรุงเทพ

สำหรับขบวนรถสินค้าเมื่อเดินไปเข้าย่านสับเปลี่ยนบางซื่อจะไปรวบรวมรับรถสินค้าบรรทุกและเปล่าจากสถานีแม่น้ำ, บางซื่อ, บางซ่อน, และตั้งขบวนรถสินค้าไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ และภาคกลางต่อไป

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังที่ได้ปรับปรุงการเดินรถกลับไปสู่สภาพการเดินรถก่อนสงครามโลกได้แล้ว การรถไฟฯ ก็ได้พยายามปรุงการเดินขบวนรถโดยสาร, ขบวนรถสินค้า ทวีขึ้นตามลำดับ จนได้เกิดปัญหาขึ้นมาว่า มีขบวนรถต่าง ๆ วิ่งไปมามากขบวน คับคั่งรบกวนการจราจรทางถนน ต้องชะงักบ่อยครั้งที่ตรงถนนเพชรบุรีตัดผ่านทางรถไฟที่สะพานยมราช นอกจากนั้น ในด้านการพัฒนาการเดินขบวนรถโดยสารมากขึ้นตามลำดับ ก็ไม่มีพื้นที่และความยาวตลอดจนจำนวนชานชาลาเพียงพอเพื่อรับขบวนรถเข้า และส่งขบวนรถออกในตัวอาคารสถานีกรุงเทพ การเข้าออกของผู้โดยสารก็กระทำได้เพียงทางด้านสถานีกรุงเทพทางเดียว การจราจรในนครหลวงก็ทวีความแออัดขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจราจรที่ลานหน้าสถานีกรุงเทพ ไม่เฉพาะที่จะไม่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารของการรถไฟฯ เท่านั้น แต่ได้เป็นผลเสียต่อเนื่องไปกระทบกระเทือนการจราจรของยวดยานต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการรถไฟในบริเวณใกล้เคียงนั้นอีกด้วย


Last edited by Paniti23 on 05/11/2007 11:40 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 05/11/2007 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

ขออนุญาตตรวจรายงานสักนิดครับ ท่าทางจะสะกดผิดหลายตัวหน่อย เอาล่ะครับ ลงต่อได้แล้ว Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 05/11/2007 11:14 pm    Post subject: Reply with quote

ตัวอาคารสถานีกรุงเทพ อดีตกาล คือ โรงแรมราชธานีเก่าครับ

Click on the image for full size

ภายในหัวลำโพงจากมุมสูง

Click on the image for full size

มาเข้าเนื้อหากันเลยดีกว่าครับ ลองมาดูผู้คนที่ผมได้ไปสัมภาษณ์มากันครับ

บทสัมภาษณ์ ของผู้คนที่อยู่ในสถานีหัวลำโพง ( เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของหัวลำโพง )

ชื่อ 001 นามสมมุติ

มาซื้อตั๋วให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ( ทำธุรกิจ )

คณะทำงาน : สวัสดีครับ ผมขอสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานีหัวลำโพง ได้ไหมครับ

001 : อ้อ ได้สิ มีคำถามอะไรบ้างล่ะ

คณะทำงาน : ครับ พวกผมขออนุญาตถามเลยนะครับว่า คุณลุงมาสถานีนี้ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ

001 : หลายปีแล้วล่ะ ลุงจำไม่ได้แล้ว

คณะทำงาน : แล้วกลับครั้งล่าสุดที่คุณลุงมาเนี้ย ลุงเห็นอะไรแตกต่างไปจากเดิมไหมครับ

001 : อ้อ เห็นสิ ทุกอย่างเปลี่ยนไปเยอะมาก ทั้งที่ขายตั๋วก็ทำดีขึ้น ทั้งภายในอาคารก็ปรับปรุงใหม่ สวยงามที่เดียว และยังติดแอร์เพิ่มมาด้วยนะ นั่งรอทีไม่ร้อนเหมือนเดิมแล้ว

คณะทำงาน : แล้วคุณลุงมาที่หัวลำโพงกี่ครั้งแล้วครับ

001 : ลุงมาทุกวัน เพราะต้องมาซื้อตั๋วให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพราะคนขายตั๋วบางคนพูดอังกฤษไม่ได้ และนักท่องเที่ยวบางคนไม่รู้ตารางการเดินรถ บางที บางครั้งก็ตกรถ ทำให้นักท่องเที่ยวที่อยากท่องเที่ยวโดยรถไฟ จะฝากให้คนไทยซื้อตั๋วให้ เพื่อความรวดเร็ว และง่ายกว่าการมาเองด้วยนะ

คณะทำงาน : ครับ คุณลุงอยากให้หัวลำโพงมีอะไรเพิ่มขึ้นไหมครับ

001 : มีสิ อยากให้ปรับปรุงเรื่อง ห้องน้ำ ระบบการเดินรถ และข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยว แก่ชาวต่างชาติมากขึ้น เพราะสถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่หลักของการคมนาคม

คณะทำงาน : คิดยังไงกับหัวลำโพงครับ

001 : เป็นสถานที่ที่รถไฟมารวมกัน เพื่อขนส่งผู้โดยสารไปยังที่ต่างๆ และเป็นที่ผู้คนหลายคนมาหาเลี้ยงชีพด้วยนะ อย่างลุงเป็นต้นไง

คณะทำงาน : ขอบคุณ สำหรับข้อมูลมากนะครับ

001 : ไม่เป็นไรหรอก โชคดีนะ


ชือที่เป็นแบบนั้น ผมขอสงวนไว้ และไม่อยากพาดพิงออกอินเตอร์เน็ต เดี๋ยวมีปัญหาเรื่อง สิทธิส่วนบุคคลอีกนะครับ ขอให้ทุกคน ช่วยเข้าใจด้วยนะครับ ถ้าใครข้องใจ สงสัยเรื่องชื่อว่า ผมโมเมขึ้นมาหรือเปล่า ขอให้แจ้งมา ผมจะส่งไฟล์ไปให้อย่างดี พร้อมรูปด้วยครับ


Last edited by Paniti23 on 06/11/2007 12:30 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 05/11/2007 11:23 pm    Post subject: ต่อๆ Reply with quote

บริเวณชานชลา ครับ

Click on the image for full size

สาเหตุของปัญหาที่ทำให้การรถไฟต้องทำการปรับปรุงหัวลำโพงครับ


การรถไฟฯ เผชิญปัญหาซึ่งจะต้องแก้เป็นหัวข้อใหญ่ 5 ข้อ คือ

1. ต้องจัดการโยกย้ายกิจการรับส่งสินค้าเหมาหลัง , หีบห่อวัตถุ และสัตว์มีชีวิต ออกจากย่านสถานีกรุงเทพออกไป จัดให้มีสถานีต้นทาง ปลางทางที่ย่านบางซื่อ และย่านพหลโยธิน เพื่อให้เหลือแต่ขบวนรถโดยสารเท่านั้นที่เข้าออกสถานีกรุงเทพ

2. ต้องหาหนทางระบายผู้โดยสารจากขบวนรถให้ได้เดินทางออกไปจากสถานีกรุงเทพ ได้จำนวนมากและรวดเร็ว ตลอดจนยานพาหนะที่เข้ามาส่งผู้โดยสารที่สถานีกรุงเทพก็ให้ถอนตัวออกไปโดยเร็ว ในการตั้งเป้าหมายไว้ดังนี้ จำเป็นต้องมีทางเข้าสู่สถานี และทางระบายออกจากสถานีเพิ่มขึ้น ถ้าทำได้ ก็จะต้องใช้พื้นที่สองข้างของตัวอาคารสถานีปัจจุบันให้มากที่สุด และจัดให้กระแสการจราจรเข้าและออกกับตัวสถานีกรุงเทพ ได้ประสานกับกระแสการจราจรของนครหลวงของบริเวณนี้ด้วย

3. ต้องจัดเพิ่มชานชาลาแก่ตัวอาคารสถานีโดยจัดให้ถูกกับหลักวิชา สถานีโดยสารที่ทันสมัย มีชานชาลารับขบวนรถเข้า , ชานชาลาขบวนรถชานเมืองเข้าและออก และชานชาลาขบวนรถออก พร้อมทั้งจัดลานจอดรถ ลานจราจร กำหนดกระแสการจราจรให้สอดคล้องกัน เป็นการเพิ่มจำนวนชานชาลา และเพิ่มความยาวของชานชาลา เพื่อขบวนรถเข้าและออกได้มากและรวดเร็วขึ้น, จัดย่านสับเปลี่ยนและประกอบขบวนรถโดยสาร, จัดชานล้างและทำความสะอาดทั้งภายนอกและภายในตัวรถโดยสารให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น , จัดย่านช่างกลสำหรับบำรุงรักษาขบวนรถดีเซลรางและรถโดยสาร

ในตัวอาคารสถานี จะต้องขยายพื้นที่ของห้องโถงผู้โดยสารทั่วไป ( Concourse ) เพื่อผู้โดยสารและผู้เกี่ยวข้องกับกิจการรถไฟ เคลื่อนไหลไม่ขัดกัน , จัดเพิ่มช่องขายตั๋ว และวางสายการเข้าซื้อตั๋วให้มากช่อง สะดวก และรวดเร็ว, จัดบริการสุขภัณฑ์หญิงชายเพิ่มขึ้น จัดบริการอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้โดยสารได้จำนวนมากและรวดเร็ว

4. สำหรับกิจการรถไฟที่ก้าวหน้าของหลายประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปรับปรุงสถานีใหญ่ หรือสร้างอาคารใหม่ต่อเติม หรือสร้างสถานีใหญ่ขึ้นใหม่แทนอาคารเดิม นอกจากกิจการต่าง ๆ ไว้เพียงพอสำหรับบริการสถานีโดยสารสำหรับปัจจุบันและอนาคตแล้ว พื้นที่ในอากาศเป็นหัวข้อใหญ่ที่จะพึงนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการจัดหารายได้ทางด้าน real estate เป็นรายได้และทรัพย์สินเพิ่มแก่กิจการรถไฟอีกด้วย

5. ลักษณะของนครหลวง เช่นกรุงเทพมหานคร และธนบุรี มีปัญหาพลเมืองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะต้องแยกออกเป็นชาวพระนคร ซึ่งมีนิวาสถานอยู่ในศูนย์กลางพระนคร และชานเมือง และผู้ซึ่งเข้ามาศึกษา , ทำราชการ , ทำธุรกิจการค้า ด้วยการเดินทางมาจากย่านพักนอกชานเมือง เป็นการเดินทางประจำวัน และจะต้องอาศัยการเดินทางโดยขบวนรถไฟเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง การปรับปรุงย่านอาคารสถานีกรุงเทพ จะต้องเตรียมให้รับกิจการนี้ได้ตามสมควร

ระฆังปล่อยรถออกที่หัวลำโพง

Click on the image for full size


Last edited by Paniti23 on 06/11/2007 12:49 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 05/11/2007 11:49 pm    Post subject: Reply with quote

วิธีการแก้ปัญหาครับ

การแก้ปัญหาของการรถไฟฯ ได้กระทำมาแล้วเป็นขั้น ๆ คือ

1.1 จัดให้กิจการสินค้าเหมาหลังและสัตว์มีชีวิตย้ายไป มี ต้นทาง ปลายทางที่ย่านสินค้าพหลโยธิน และย่านบางซื่อ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2503 และต่อมา ก็ได้ย้ายกิจการสินค้าหีบห่อวัตถุตามไปที่ย่านพหลโยธิน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2504

1.2 ต่อมา ใน พ.ศ.2509, 2510 ก็ได้รื้ออาคารที่ทำการรับส่งสินค้ากรุงเทพ , ชานบรรทุกและโรงเก็บสินค้าริมคลองผดุงกรุงเกษมทั้งหมด การย้ายขบวนรถสินค้าจากย่านกรุงเทพไปย่านบางซื่อ และย่านสินค้าสินค้าพหลโยธิน ทำให้ขบวนรถสินค้าที่ผ่านถนนเพชรบุรีตรงสะพานยมราชลดจำนวนลงได้ 16 ขบวน นับว่าได้แก้ปัญหาขบวนรถสินค้ารบกวนการจราจรทางถนนที่สะพานยมราชตามข้อ 1 ได้

2.1 เมื่อได้รื้ออาคารที่ทำการรับส่งสินค้ากรุงเทพ, ชานบรรทุก และโรงเก็บสินค้าริมคลองผดุงกรุงเทพทั้งหมด ก็ได้จัดปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นถนน , ลานจอดรถ, ลานจราจรได้กว้างขวางระหว่างอาคารสถานีกรุงเทพปัจจุบันกับคลองผดุงเกษม และเปิดใช้ถนน , ลานจอดรถ และลานจราจรดังกล่าวนี้เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2510 และได้ผลดี ที่สามารถระบายผู้โดยสารจากขบวนรถต่าง ๆ ที่เข้าสู่สถานีกรุงเทพออกไปโดยรถยนต์ส่วนตัว และรถยนต์สาธารณะได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว

2.2 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2513 การรถไฟฯ ก็ได้ทำพิธีเปิดสะพานนพวงศ์ในส่วนที่ขยายความกว้างเดิม 11 เมตร เป็น 22 เมตร ลาดสะพาน ลดความชันภายในเขตรถไฟ เป็นความสะดวกในการระบายยานพาหนะของบริเวณสถานีรถไฟ กับ ถนนกรุงเกษมได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นอีก

2.3 การรถไฟฯ มีโครงการจะสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมอีก 1 สะพาน ระหว่างสะพานนพวงศ์ และสะพานเจริญสวัสดิ์ เมื่อมีความจำเป็นในด้านการจราจร

2.4 ในเดือนพฤษภาคม 2513 การรถไฟฯ จะได้เปิดลานจราจรทางด้านถนนรองเมืองเพิ่มอีกด้านหนึ่ง เพื่อระบายผู้โดยสารของขบวนรถที่เข้ามาจากต่างจังหวัด ได้ออกไปสู่รถยนต์ส่วนตัวและรถยนต์สาธารณะ รถประจำทางอีกทางหนึ่ง เพิ่มจากทางเข้าออกของผู้โดยสารด้านหน้าสถานีและด้านครองผดุงกรุงเกษม การเปิดลานจราจรที่ 3 นี้ขึ้น ทำให้การรถไฟฯ ได้ประสบผลสำเร็จตามที่ได้วางหัวข้อในการแก้ไขไว้ข้อ 2 ข้างต้น

2.5 การรถไฟฯ ได้จัดวิศวกรและสถาปนิก ไปร่วมประชุมกับสำนักผังเมือง กรมโยธาเทศบาล กองตำรวจจราจร และเทศบาลนครกรุงเทพ หารือในด้านกระแสการจราจรเข้าออกของตัวอาคารสถานีกรุงเทพทั้งสามด้านดังกล่าว ได้ประสานกับกระแสการจราจร และแผนการจราจรของนครหลวงทั้งปัจจุบันและอนาคต ในหลักการ ต้องให้ผู้โดยสารที่ลงจากขบวนรถไฟได้เดินทางระบายออกไปจากสถานีได้รวดเร็ว ประหยัด และสะดวก โดยการรถไฟฟ้าฯ ก็จะมีส่วนจัดให้ลานจอดรถกำหนดทิศทางเข้าออกของรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์สาธารณะ และในอนาคตอันใกล้ของรถยนต์ประจำทางได้เข้าส่งผู้โดยสารรถไฟเพียงพอและรวดเร็ว

3.1 กลางย่านโดยสารกรุงเทพปัจจุบัน มีโรงรถจักรดีเซลอยู่สองโรง สร้างเมื่อ 2474 ในการเพิ่ขบวนรถโดยสารมากขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการรถไฟฯ มีโครงการจะใช้รถจักรดีเซลแทนรถจักรไอน้ำให้สมบูรณ์ จึงทำให้จำนวนรถจักรดีเซลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงรถจักรดีเซลสองโรงไม่เพียงพอจะรับงานซ่อมบำรุงรักษารถจักรดีเซลได้ ประกอบกับการรถไฟฯ ได้พิจารณา โรงรถจักรดีเซลสองโรงนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ จะต้องสร้างย่านสับเปลี่ยน และประกอบขบวนรถโดยสาร จัดชานล้างและทำความสะอาดทั้งภายนอกและภายในตัวรถโดยสารทุกคันให้มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องรื้อโรงรถจักรดีเซลเดิมสองโรงออก และจัดปรับปรุงพื้นที่วางราง และหัวประแจของย่านสับเปลี่ยนขวนรถโดยสารต่อไปโดยเร็ว

3.2 เพื่อให้รับกับรถจักรดีเซลไฟฟ้า , ดีเซลไฮไดรลิคและรถดีเซลราง ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับในโครงการเปลี่ยนรถจักรไอน้ำเป็นรถจักรดีเซล การรถไฟฯ จึงสร้างโรงรถจักรดีเซลขึ้นใหม่ที่ย่านช่างกลบางซื่อ และสร้างโรงรถดีเซลรางและซ่อมรถโดยสารที่ย่านช่างกลกรุงเทพ

3.3 อาคารสถานีกรุงเทพและจำนวนชานชาลาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่เพียงพอแก่การจัดนำขบวนรถออกเข้าเทียบ และรับขบวนรถที่เข้ามาจากต่างจังหวัด ทำให้ประชาชนไม่สะดวก และมีความสับสนในการขึ้นลงบนชานชาลา

ถ้าอ่านแล้วเครียด มาดูหน้าหล่อๆ ของผมกับเพื่อนๆ ก่อนก็ได้นะครับ

ผมเอง ในวันแรกที่ทำการเยี่ยมหัวลำโพง

Click on the image for full size

เพือนผมเอง

Click on the image for full size

อย่างน้อยไปครั้งนั้น ก็ได้ขึ้นไปนั่งรถตู้ชั้น 1 และ 2 ด้วยล่ะครับ ( ความใฝ่ฝัน มันห้ามไม่ได้ แต่อย่าเอ็ดไปนะครับผม )

Click on the image for full size
Razz
Click on the image for full size
Twisted Evil
Click on the image for full size


Last edited by Paniti23 on 07/11/2007 12:54 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 05/11/2007 11:59 pm    Post subject: Reply with quote

เอ พี่น้องครับ ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับ อนุสาวรีย์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง อย่างละเอียด บ้างไหมครับ

ข้อมูลที่รู้เกี่ยวกับมันน้อยมากเลย ( ถามใครก็บอกว่า ไม่รู้อีก ) ถ้าใครมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับอนุสาวรีย์แห่งนี้ ก็ลงมาได้เลยครับ เพราะข้อมูลของผมบางอย่าง มันพลาดรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ไปครับ

Click on the image for full size

ส่วนเจ้า c 56 นี้ เจ้านี้ ผมไม่แน่ใจ ว่าใช่ตัวที่เดินรถอยู่ในเส้นน้ำตกหรือเปล่านะครับ

แต่ที่แน่ๆ ถ้าสายตาผมไม่พลาด มันต้องเป็น c 56 แน่นอน

Click on the image for full size

จะเข้าไปถ่ายใกล้ๆ ก็ไม่ได้ ยามมาไล่ออกไป เซ็งเลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 06/11/2007 12:04 am    Post subject: Reply with quote

ต่อด้วยเนื้อหาดีกว่าครับ ( จากข้างบนครับ )

ย่านปัจจุบัน ได้ดัดแปลงปรับปรุงเท่าที่พื้นที่จะอนุโลมให้ทำได้ตลอดมา ตั้งแต่ก่อนจะมีการแก้ไขปรับปรุง ซึ่งในทางคำนวณจะรับขบวนรถเข้าออกได้เพียง 50 ขบวนเท่านั้น แต่การรถไฟฯ ก็พยายามหาหนทางบรรจุเข้าไปถึง 66 ขบวน ซึ่งเป็นการบรรจุเกินขีดกำลังของย่าน เพราะถ้ามีขบวนรถล่าช้ามาเข้าย่านกรุงเทพเพียง 1 ขบวน ขบวนรถออกบางขบวนก็พลอยเสียเวลาตามไปด้วย

ปัจจุบันขบวนรถเข้าออกย่านกรุงเทพมี 66 ขบวน / 24 ชั่วโมง ย่านกรุงเทพที่ปรับปรุงใหม่สามารถรับขบวนรถโดยสารได้ระหว่าง 100 - 120 ขบวน / 24 ชั่วโมง

ปัจจุบันสถานีกรุงเทพมีชานชาลาสั้น 3 ชาน และชานชาลายาว 4 ชาน ไม่เพียงพอกับการนำขบวนรถยาวเข้าสู่ชานเพื่อให้ผู้โดยสารลง และจัดเทียบขบวนรถยาวในเที่ยวออก เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้น เพราะปัจจุบัน ขบวนรถเดินทางระยะกลาง และระยะไกล มีความยาว 14 โบกี้ และในฤดูกาลโดยสารจัดพ่วงถึง 16 โบกี้

การปรับปรุงชานชาลาของสถานีกรุงเทพ ได้กำหนดให้มีทางรับขบวนรถเข้า ทางด้านถนนรองเมือง เป็นชานชาลายาว ( ขบวนรถดีเซลราง ) สองทางอยู่ตรงกลางสถานี สำหรับขบวนรถดีเซลรางเข้าส่งผู้โดยสารลง และรับผู้โดยสารออกไปได้อย่างรวดเร็ว มีชานชาลายาวสำหรับขบวนรถออกทางด้านถนนกรุงเกษม 5 ทาง จึงเป็นชานชาลายาวเพียงพอถึง 11 ทาง

ขบวนรถเข้าจากต่างจังหวัด กำหนดให้เข้าสู่ชานชาลาขบวนรถเข้าทางด้านถนนรองเมือง มีชานชาลาระบายออกสู่ถนนรองเมือง โดยรื้อกำแพงเดิมออก จัดให้มีลานจอดรถ และทางรถยนต์เข้าออกสำหรับรับผู้โดยสารตลอดแนว ยาวประมาณ 340 เมตร

ขบวนรถออก กำหนดชานชาลาขบวนรถอยู่ทางด้านคลองผดุงกรุงเกษม มีลานจอดรถสำหรับผู้มาส่งผู้โดยสาร และอาคารสถานีใหม่ผนวกอาคารเดิม ถนนชิดลำคลองผดุงกรุงเกษมจากสะพานนพวงศ์ ซึ่งปรับปรุงใหม่

สำหรับการจราจรด้านหน้าสถานีกรุงเทพเท่าที่อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ถึงขั้นเรียบร้อย ซึ่งการรถไฟฯ จะได้ติดตามแก้ไขอย่างใกล้ชิด

การจัดทางให้ขบวนรถเข้าได้เข้าสู่ชานชาลาขบวนรถ ให้ขบวนรถออกได้ออกจากชานชาลาขบวนรถออกโดยชัดเจน และจัดย่านประกอบขบวนรถ , ทางล้างรถ ตลอดจนการเก็บรถโดยสารสำรองไว้อยู่ระยะกลางทางเข้าและออก ทำให้การสับเปลี่ยน นำขบวนรถออกจากชานชาลา ขบวนรถเข้าเข้าทางล้างรถ ทางซ่อมรถ และจัดรูปขบวน นำเข้าเทียบชานชาลาขบวนรถออก ได้มีการทำงานได้คล่องตัวขึ้นไม่กีดขวางงานซึ่งกันและกัน ทำให้ไม่เสียเวลา และสามารถเทียบขบวนรถให้ผู้โดยสารขึ้น และปล่อยขบวนรถโดยสารต่างๆ ออกไปได้ตามเวลา ไม่ฉุกละหุก เช่นในปัจจุบันนี้

มาดูภาพกันต่อครับ

เจ้า henchel กำลังชักลากตู้โดยสาร จากย่านสู่ชานชลาครับผม

Click on the image for full size


Last edited by Paniti23 on 06/11/2007 12:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 06/11/2007 12:14 am    Post subject: Reply with quote

ลองมาดูบทสัมภาษณ์ ( เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของหัวลำโพง ) กันต่อ

ชื่อ A นามสมมุติ

กำลังเดินทางไปยังสถานที่พี่เขาขอไว้ไม่ให้บอก ( ความลับทางการทหาร )

คณะทำงาน : สวัสดีครับ ผมขอเวลาซักนิด เพื่อสัมภาษณ์ได้ไหมครับ

A : สัมภาษณ์เกี่ยวกับอะไรหรือ

คณะทำงาน : เกี่ยวกับหัวลำโพงครับ

A : อือ ได้สิ

คณะทำงาน : ครับ พี่มาหัวลำโพงครั้งแรกเมื่อไหร่ครับ

A : ครั้งนี้แหละ พี่เพิ่งมาครั้งแรก

คณะทำงาน : แล้ว เอ้อ พี่เห็นอะไรในหัวลำโพงที่พี่คิดว่า สมควรให้เพิ่มขึ้นบ้างครับ

A : พี่ว่าไม่ต้องมีอะไรต้องเพิ่มหรอก เพราะพี่คิดว่ามันดีอยู่แล้ว

คณะทำงาน : ครับ พี่คิดยังไงกับหัวลำโพงครับ

A : พี่คิดว่าหลังจากที่นี่สร้างมานาน สงสัยตั้งแต่พี่ยังไม่เกิดเลยมั้ง การรถไฟฯ ได้ทำการปรับปรุงได้ดี ตัวสถานีจากที่ดูรูปมา พี่ก็ว่าเปลี่ยนไปนะ อือ พี่คงไม่มีอะไรจะพูดแล้วล่ะ

คณะทำงาน : ขอบคุณครับสำหรับที่อุตส่าห์เสียเวลามาตอบคำถามของเรา

A : ไม่เป็นไรหรอกครับ พี่ต้องขอโทษที่ไม่ได้ช่วยอะไรน้องมากนัก เพราะพี่เพิ่งมาที่นี้ครั้งแรกอ่ะนะ

คณะทำงาน : ครับ ครับ

วันนี้ผมอยู่ไม่ไหวแล้วครับ พรุ่งนี้เรียน รด. กับเรียนพิเศษอีก พรุ่งนี้ตอนประมาน 3 ทุ่ม ผมจะมาลงให้อีกทีครับ ปิดท้ายด้วยหัวลำโพงตอนค่ำคืนครับ

Click on the image for full size

Wink

Click on the image for full size

Cool

Click on the image for full size

เจอกันพรุ่งนี้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
the_nut
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 280
Location: ดินแดง

PostPosted: 06/11/2007 1:17 am    Post subject: Reply with quote

ถือว่าดีทีเดียวเลยครับ ขอชมเชย Embarassed

ถึงบางทีรีบพิมพ์ไปทำให้ผิดบ้างแต่ก็ใจเย็นๆนะครับไม่ต้องรีบ Very Happy

ส่วนเรื่องยามนั้น ผมจะโดนประจำถ้าเป็นยามผู้หญิง ซึ่งก็ต้องทำใจนิดๆ แต่ว่าถ้าให้คิดในแง่ดีนะครับก็คืออย่างน้อยก็ยังมีคนรักษาความปลอดภัยในสถานีแห่งนี้เป็นอย่างดีครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4, 5  Next
Page 1 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©