RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181505
ทั้งหมด:13492743
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องจากอดีต : โครงการลำตะคอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องจากอดีต : โครงการลำตะคอง
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/04/2009 9:43 pm    Post subject: เรื่องจากอดีต : โครงการลำตะคอง Reply with quote

สวัสดีครับ...

ผมไปอ่านย้อนหลังกระทู้ของสมาชิกเรา เกี่ยวกับการสำรวจแนวทางรถไฟใต้อ่างเก็บน้ำลำตะคอง และจุดพักรถชมวิวที่นั่น เลยกลับไปค้นดูเรื่องเก่าๆ จากหนังสือ "เสรีภาพ" พบข้อมูลพร้อมเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเขื่อนลำตะคองสมัยแรกสร้าง ขอขุดมาลงเป็นข้อมูลต่อยอดสำหรับผู้ที่สนใจในเวปไซต์เรากันต่อไปครับ

ช่วงที่นั่งรถทัวร์ (สมัยยังไม่ได้เข้าเป็นรถร่วม บขส.) นั้น ช่วงผ่านบริเวณอ่างเก็บน้ำไปจังหวัดนครราชสีมาเป็นครั้งแรก ยังไม่มีจุดพักรถในปัจจุบัน ยังเห็นแนวถนนมิตรภาพ (เดิม) ตรงไปยังจุดที่น้ำท่วมบริเวณอ่าง ส่วนเส้นทางใหม่ จะเป็นถนนลาดยางธรรมดาๆ ตามแนวปัจจุบัน แยกขวาไต่ขึ้นเขาข้างๆ แทน

Click on the image for full size

มองดูอ่างเก็บน้ำที่กว้างขวาง (ไม่ทันเห็นทางรถไฟหรอกครับ) ใจยังนึกถึงคำพูดของญาติผู้ใหญ่ผม เล่าถึงสมัยยังหนุ่มแน่น เป็นผู้จัดการบาร์รับลูกค้าทหาร จี.ไอ.ย่านหนองไผ่ล้อมว่า ในช่วงแล้ง น้ำประปาเทศบาลไม่พอแจกจ่าย ต้องอาศัยน้ำแข็งก้อนนี่แหละครับ ผ่าเป็นก้อนเล็กๆ ใส่กาน้ำเอาไปต้ม พอใช้ลูบหน้าเช็ดตัวไปได้บ้าง แต่ตอนนี้ หลังจาก กปภ.ลงทุนก่อสร้างท่อน้ำดิบชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ส่งไปยังการประปานครราชสีมา และอำเภอต่างๆ สองข้างถนนมิตรภาพแล้ว เมืองโคราชเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วจนจำแทบไม่ได้

ครับ..ใครว่าเรื่อง "น้ำ" ไม่สำคัญ ?

เข้าเรื่องกันดีกว่า เราไปดูเรื่องราวของการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำตะคองในขณะนั้น นำมาจากหนังสือ "เสรีภาพ" ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ.2510 ของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ ครับ นอกจากนั้น ยังมีปรากฎในภาพยนต์สารคดีข่าวของสำนักข่าวสารอเมริกัน และชุด "อีสานจาริก" ต้องหาค้นดูย้อนหลังจากหอภาพยนต์แห่งชาติ สำหรับผู้ที่สนใจนะครับ

..................

ในเวลาอันใกล้นี้ ที่ราบสูงอันแห้งแล้งของนครราชสีมา จะกลายเป็นที่เพาะปลูกอันอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตจากไร่นาก็จะเพิ่มขึ้น

Click on the image for full size
กรมชลประทานได้สร้างทำนบกั้นเป็นอ่างเก็บน้ำจากลำน้ำนี้เพื่อระบายไปสู่พื้นที่การเพาะปลูกอีกหลายพันไร่

เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๑ กรมทางหลวงแผ่นดินได้ประกาศปิดการจราจรในทางหลวงแผ่นดินสายสระบุรี – นครราชสีมา (ถนนมิตรภาพ) ระหว่าง ก.ม. ๑๗๘.๕ กับ ก.ม. ๑๙๓.๐ และได้เปิดการจราจรบนเส้นทางสายใหม่ที่มีความยาว ๑๗.๕ ก.ม. ซึ่งกรมชลประทานได้สร้างขึ้นทดแทน ฉะนั้นผู้ที่เดินทางโดยรถยนต์ผ่านเส้นทางสายใหม่นี้ จะเห็นถนนมิตรภาพตอนเดิมอยู่เบื้องล่างลัดเลาะไปริมอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งน้ำที่เก็บกักไว้กำลังเอ่อท้นขึ้นมาและคงท่วมเส้นทางสายเดิมในช้านี้ ไกลออกไปยังฝั่งตรงกันข้ามของอ่างเก็บน้ำ บางทีอาจจะมองเห็นขบวนรถไฟเข้าเทียบสถานีคลองไผ่หรือไม่ก็วิ่งเลียบไปตามไหล่เขาบนเส้นทางสายใหม่ซึ่งทางกรมชลประทานได้สร้างแทนทางรถไฟสายเก่าที่น้ำได้ท่วมไปแล้ว ทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำโครงการลำตะคองที่มีทิวทัศน์งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย

โครงการลำตะคองนี้ กรมชลประทานได้ใช้เวลาหลายปีสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำในลำตะคองซึ่งต้นน้ำมีกำเนิดที่บริเวณเขาใหญ่ไหลไปยังบริเวณที่ราบสูงของอำเภอปากช่อง ผ่านอำเภอสีคิ้ว สูงเนิน และ อ.เมือง บรรจบแม่น้ำมูลและผ่านไปยังอำเภอพิมาย การสำรวจพบว่าในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน น้ำในลำน้ำตะคองมีปริมาณสูงมาก มักจะไหลบ่าท่วมท้น ยังความเสียหายให้แก่ไร่นาเป็นจำนวนมาก แต่ในฤดูแล้งน้ำในลำตะคองมีปริมาณน้อย ทำให้ที่ราบริมฝั่งขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง บางแห่งราษฎรได้รับความเดือดร้อนในเรื่องน้ำใช้บริโภค เช่นเดียวกับผู้คนในตัวเมืองนครราชสีมา

Click on the image for full size
เส้นทางรถไฟและถนนมิตรภาพผ่านพื้นที่แนวอ่างเก็บน้ำ ก่อนมีโครงการลำตะคอง

กรมชลประทานได้พิจารณาจัดตั้งโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะคองมาก่อนที่จะเริ่มสร้างถนนสายสระบุรี – นครราชสีมา แต่ในระยะนั้นกรมชลประทานกำลังดำเนินการสร้างโครงการใหญ่ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกันถึง ๓ โครงการ คือเริ่มงานก่อสร้างโครงการลำตะคองเดิมและโครงการทุ่งสัมฤทธิ์ในกลางปี ๒๔๙๒ และแล้วเสร็จในกลางปี ๒๕๐๐ และ ๒๕๐๑ ตามลำดับ หลังจากนั้นในปี ๒๕๐๖ กรมชลประทานก็เริ่มก่อสร้างโครงการลำพระเพลิง ซึ่งได้ก่อสร้างสำเร็จในปี ๒๕๑๐ นี้เอง โครงการชลประทานทั้ง ๓ โครงการนี้ได้ช่วยให้เนื้อที่เพาะปลูกของจังหวัดนครราชสีมาได้รับน้ำชลประทานถึง ๓๑๙,๕๐๐ ไร่ ราษฎรได้หันมาทำการเพาะปลูกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันและใช้น้ำจากคลองชลประทานกันมากขึ้น จนน้ำจากโครงการชลประทานไม่พอเพียงที่จะจ่ายไปตามพื้นที่เพาะปลูกได้พอกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เพาะปลูกในโครงการลำตะคองเดิมและทุ่งสัมฤทธิ์มักจะประสบปัญหานี้อยู่เสมอ กล่าวคือมักจะขาดแคลนน้ำในต้นฤดูทำนา ทำให้การปักดำต้องล่าช้า หรือในปีที่มีฝนแล้ง น้ำจากโครงการชลประทานก็มีไม่พอเพียงที่จะช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกพ้นจากความเสียหายอันเนื้องมาจากฝนแล้งด้วย

Click on the image for full size
การทดน้ำบบเก่า ช่วยให้ที่เพาะปลูกริมฝั่งลำตะคองตอนบนอุดมสมบูรณ์มาเป็นเวลานาน

กรมชลประทานได้เริ่มโครงการก่อสร้างโครงการลำตะคองเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นโครงการสร้างเขื่อนเก็บน้ำกั้นลำตะคองที่คลองไผ่ อำเภอปากช่อง เพื่อเก็บกักน้ำที่มีปริมาณมากมายของลำตะคองตอนต้นน้ำไว้ แล้วปล่อยให้ไหลไปสู่ลำตะคองตอนล่างให้มีปริมาณสม่ำเสมอตลอดปี เพื่อให้โครงการลำตะคองเดิมและโครงการทุ่งสัมฤทธิ์ได้รับน้ำพอเพียง และช่วยพื้นที่เพาะปลูกในอำเภอสีคิ้ว โนนสูง และอำเภอเมืองนครราชสีมาให้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการที่จะสร้างขึ้นนี้

Click on the image for full size
ที่ราบสูงแห้งแล้งผืนใหญ่ จะได้รับน้ำอย่างพอเพียง ความเสียหายในไร่นาอันเกิดจากฝนแล้งและน้ำท่วมก็จะลดน้อยลง

โดยสรุปแล้ว โครงการลำตะคองจะอำนวยคุณประโยชน์อย่างมหาศาล เป็นต้นว่า ช่วยพื้นที่ทำนาในฤดูฝนได้ ๒๓๘,๐๐๐ ไร่ ในฤดูฝนก็สามารถที่จะส่งน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชไร่ได้ ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ ความเสียหายในไร่นาที่เกิดขึ้นทุกปีทั้งในที่ราบลุ่มน้ำลำตะคองและแม่น้ำมูลจะลดน้อยลง เมื่ออ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลากไว้ได้ ถ้าคำนวณผลิตผลจากไร่นาที่จะได้รับเพิ่มขึ้นจากการสร้างอ่างเก็บน้ำดีแล้วก็จะมีมูลค่าถึงปีละ ๑๘๗,๔๓๕,๐๐๐ บาท นอกจากประโยชน์ที่จะช่วยพื้นที่เพาะปลูกแล้ว ยังช่วยราษฎรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งลำตะคองมีน้ำใช้อย่างบริบูรณ์ตลอดปี ตลอดไปจนถึงช่วยบรรเทาความขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของตัวเมืองนครราชสีมาด้วย

Click on the image for full size
การควบคุมการก่อสร้างเป็นหัวใจของงาน ก่อนปฏิบัติงานประจำวัน บรรดาช่างชลประทานเหล่านี้ต้องเข้าประชุมปรึกษาหารือกันอยู่เสมอ

อ่างเก็บน้ำโครงการลำตะคองอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๗๗ เมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความยาวของอ่าง ๑๙ ก.ม. ส่วนกว้างที่สุด ๗.๕ ก.ม. หรือคิดเป็นพื้นที่ท้องน้ำประมาณ ๔๔.๕ ตารางกิโลเมตร มีบริเวณกว้างใหญ่ท่วมทางหลวงแผ่นดินสายสระบุรี – นครราชสีมา เป็นระยะทาง ๑๕ ก.ม. คือระหว่างหลัก ก.ม. ๑๗๙ – ๑๙๓ และท่วมทางรถไฟระหว่างสถานีจันทึกและคลองไผ่ ระหว่างหลัก ก.ม. ๑๙๑ – ๒๐๕ ด้วย ซึ่งมีระยะทาง ๑๕ ก.ม.เช่นเดียวกัน

Click on the image for full size
ที่ปิดเปิดระบายน้ำไปสู่ลำตะคองตอนล่าง ซึ่งจะมีน้ำสม่ำเสมอตลอดปี

Click on the image for full size
ทางระบายน้ำล้นยามฉุกเฉิน ได้จัดสร้างเป็นคอนกรีตอย่างแข็งแรง

กรมชลประทานใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวน ๒๔๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ซึ่งนำไปใช้สำหรับย้ายทางรถไฟและถนนมิตรภาพ ๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าชดเชยบ้านเรือนราษฎร ๕๐๐ หลัง ไร่นาอีก ๑๒,๐๐๐ ไร่ ที่ถูกน้ำท่วม รวมทั้งติดตั้งระบบคมนาคมให้กับเส้นทางใหม่ทั้งสองสาย รวมเป็นเงิน ๓๑,๖๐๕,๐๐๐ บาท

Click on the image for full size
ประตูเหล็ก ๖ บานที่จะเปิดให้น้ำในอ่างออกไปสู่ลำตะคองตอนล่างได้ทันท่วงทีเมื่อน้ำในอ่างมีปริมาณเกินต้องการ

นอกนั้นเป็นเงินที่ไปใช้สำหรับก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วยเขื่อนดินยาว ๕๒๗ เมตร สูงจากระดับท้องแม่น้ำ ๔๐.๓๐ เมตร ความกว้างของสันเขื่อน ๑๐ เมตร ฐานเขื่อนที่กว้างที่สุด ๒๕๗ เมตร มีท่อระบายน้ำล้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๕ เมตร ซึ่งน้ำจะไหลผ่านท่อนี้ไปในอัตราวินาทีละ ๒๐ ลบ.เมตร มีท่อระบายน้ำฉุกเฉินตั้งอยู่ทางด้านขวาของตัวเขื่อนเป็นคลองยาว ๑,๕๓๔ เมตร กว้าง ๔๘.๔ เมตร มีประตูน้ำ ๖ บาน สูง ๔.๓ เมตร แต่ละบานกว้าง ๖ เมตร สำหรับปล่อยน้ำให้ไหลลงไปสู่ลำตะคองตอนล่าง เมื่อน้ำในอ่างเก็บน้ำมีระดับสูงเกินความต้องการ ซึ่งประมาณไว้ว่าอ่างเก็บน้ำนี้จะเก็บกักน้ำได้ ๒๒๐ ลูกบาศก์เมตร และมีระดับน้ำลึกที่สุด ๓๕ เมตร อ่างเก็บน้ำของโครงการลำตะคองนี้จะสร้างเสร็จและเปิดใช้ได้ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ แต่ในระยะนี้ หน่วยงานก่อสร้างเพียงแต่ปิดทำนบชั่วคราวเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างสะดวกเท่านั้น.

............................


Last edited by black_express on 30/10/2011 10:41 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
kantapon33
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 30/09/2007
Posts: 21
Location: -

PostPosted: 05/04/2009 9:53 am    Post subject: Reply with quote

จากเรื่องเขื่อนลำตะคองนี้ ผมพึ่งทราบว่ามีการย้ายถนนและทางรถไฟเมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งปีพ.ศ. 2512 ผมได้มีโอกาสเดินทางโดยรถไฟผ่านทางรถไฟบริเวณนี้ขณะไปเที่ยวบุรีรัมย์ มีภาพถ่ายริมทางไว้ด้วย แต่เก็บอยู่ที่บ้านน้องสาว ถ้าผมไปหาเจอ จะนำมา post ให้ทุกท่านได้ชม (ถ้ามันไม่หายไปซะก่อน เนื่องจากน้องสาวผมเขาย้ายบ้านมาจากบ้านเก่าที่พวกเราเคยอยู่) มีภาพเพิ่มเติมช่วย post มาเลยครับ อยากชม
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail AIM Address Yahoo Messenger MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 05/04/2009 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

เอามาชมเลยครับ ถ้าค้นเจอภาพนะครับ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/03/2010 10:14 pm    Post subject: Reply with quote

ขอเพิ่มเติมภาพจาก google earth แสดงแนวเส้นทางหลวงมิตรภาพ (เดิม) และเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา (เดิม) ที่ปัจจุบันจมอยู่ใต้ผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง แต่ด้วยภาพถ่ายจากมุมสูงมากๆ แบบนี้ ยังพอให้มีที่สังเกตแนวทางดั้งเดิมได้ว่า อยู่ตรงที่ใด ?

หากมีใครสนใจไปเดินสำรวจสถานที่จริง คงเป็นประโยชน์ในการพิจารณาตรวจสอบก่อนลงพื้นที่ได้บ้างนะครับ Razz

Click on the image for full size

จุดเริ่มต้นแนวทางก่อสร้างใหม่ ทั้งทางรถไฟและถนนมิตรภาพครับ ซึ่งผู้เดินทางผ่านไปมา อาจไม่สังเกตเห็นแล้วก็ได้

Click on the image for full size

แนวทางรถไฟเลียบขอบอ่างเก็บน้ำ แยกจากเส้นทางเดิม ด้านเหนือสถานีซับม่วง ไปยังสถานีจันทึก (ใหม่) สังเกตมีแนวถนนท้องถิ่นขนานกับทางรถไฟไปสถานีจันทึกด้วย

เห็นภาพแบบนี้แล้ว มีใครสนใจอยากเดินสำรวจบ้างครับ ? Laughing


Last edited by black_express on 29/10/2011 9:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/03/2010 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

มาดูทางด้านถนนมิตรภาพบ้างครับ บางส่วนยังมีแนวเส้นทางให้เห็น โดยเฉพาะบริเวณบนเนิน ก่อนลาดลงไปใต้อ่างเก็บน้ำ

Click on the image for full size

สองจุดนี้ น่าจะสังเกตเห็นได้ง่ายนะครับ ถ้ามองแหวกร้านรวงที่ตั้งหนาแน่นแถวริมอ่างลงไปได้นะครับ Laughing

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/03/2010 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ส่งท้ายด้วยภาพแนวทางรถไฟ (เดิม) ที่กลายเป็นถนนเข้าสู่หลังเขื่อนลำตะคองไปแล้ว พร้อมด้วยสถานีคลองไผ่

นำมาฝากเพิ่มเติมแค่นี้แหละครับ Razz


Last edited by black_express on 22/03/2010 9:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2010 6:59 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่ตึ๋งมากครับ Very Happy
ไม่เคยส่อง Google Earth ดูลำตะคองเลย
เข้าไปอีกรอบตามพี่ตึ๋ง ถึงได้เห็นว่าอัพเดทภาพถ่ายดาวเทียมเต็มพื้นที่ลำตะคองแล้ว
ช่วงนี้น้ำน่าจะลดลงจนเดินไปได้ไกลทีเดียวนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
marazii
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/09/2010
Posts: 2

PostPosted: 04/09/2010 2:38 am    Post subject: Reply with quote

มีใครพอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลำตะคองมาเล่าเพิ่มไหมครับ
สนใจมากๆเลยครับ
แล้วเค้าย้ายพวกหมู่บ้านในเขื่อนไปไหนกันครับ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/09/2010 9:14 am    Post subject: Reply with quote

ในสมัยที่เขื่อนลำตะคองก่อสร้างนั้น คงมีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่ในแนวอ่างเก็บน้ำไม่มากนัก

เข้าใจว่า ทางกรมชลประทานจัดสรรที่ดินให้ใหม่สำหรับพี่น้องชาวบ้านที่ถูกเวนคืนที่ดินไปอยู่ที่นิคมสร้างตนเองลำตะคอง ที่ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง

สำหรับข้อมูลของโครงการเขื่อนลำตะคอง ดูได้ตาม link ข้างล่างนี้ครับ

โครงการลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา จากเว็บไซต์ของกรมชลประทาน
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 04/09/2010 10:42 am    Post subject: Reply with quote

ไม่แน่ใจว่าหมู่บ้านที่ย้ายมานั้น ใช่จันทึกหรือไม่ เพราะถ้าเข้าหมู่บ้านนี้ทางรถยนต์ จะมีป้ายบอกว่า "จันทึกใหม่"
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©