Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13257806
ทั้งหมด:13569082
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 228, 229, 230 ... 389, 390, 391  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2019 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

เพจโครงการ รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ มาแล้ว
https://www.facebook.com/MapkabaoChira/

Update ความคืบหน้า โครงการ รถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงที่ 1 มาบกะเบา-คลองขนานจิตร
ประจำเดือนธันวาคม

โครงการคืบหน้าไปทั้งสิ้น 19% ซึ่งเร็วกว่าแผน 9% บอกตามตรงว่าไม่ค่อยเห็นโครงการของรัฐเร็วกว่าแผน ยังไงก็เอาใจช่วงให้โครงการราบรื่นแล้วเสร็จไวๆนี้ครับ

รูปนี้ตัดมาจากคลิปของโครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระครับ ขออนุญาตตัดมาสรุปให้ดูนะครับ

โครงการนี้ตอนแรกก็ไม่ตื่นเต้นอะไรเท่าไหร่ แต่พอเห็นตอนสร้างและมาดูรายละเอียดไม่ธรรมดาเลย มีอุโมงค์ 2 ตำแหน่งหลักๆ ยาว 5 กม และ 1 กม ซึ่งจะกลายเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สฺดในประเทศไปอีกนานเลยครับ

และอีกจุด Highlights ของโครงการคือสะพานข้ามเหวและตัดทางอ้อมเขา ยาวร่วม 5 กม ซึ่งลึกสูงสุด 50 เมตรตรงบริเวณสถานีมวกเหล็กใหม่ ในคลิปนาทีที่ 4 ครับ

ลิ้งค์ Video ตัวเต็มโครงการตามนี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/618954138543069?sfns=mo

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/618979655207184
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2019 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลทางคู่มาบกระเบา ไป ถนนจิระ โดยมีอุโมงค์สามแห่งและ ทางลอยฟ้า
https://www.facebook.com/pg/MapkabaoChira/photos/?tab=album&album_id=394355934460922&__tn__=-UC-R

21 ก.พ.62 update ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่1 จำนวน7 เส้นทาง 993กม. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2562 ส่วนใหญ่เร็วกว่าแผนงาน ยกเว้นช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพที่ล่าช้ากว่าแผนงาน และช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่คณะกรรมการ รฟท. มีมติขยายเวลาสัญญาฯ อีก 224วัน เนื่องจากติดเรื่องการเวนคืนที่ดินบริเวณทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line)

Cr : ข้อมูลการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 20ก.พ.62
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2170986686281598
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2019 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ขอพูดถึงสถานีรถไฟชุมพร ในโครงการ รถไฟทางคู่สายใต้หน่อยครับ

พอดีไปเปิดดูข้อมูลเจอข้อมูลน่าสนใจอยู่ครับ

1.โครงการนี้ ข้ามชานชลาโดยการลอดใต้ชานชลา แทนการทำสะพานคนข้าม ทั้งโครงการ ตั้งแต่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพรครับ

2.นอกจากจะมีสถานีรถไฟแล้ว ในโครงการมีการก่อสร้างท่าเรือในคลองข้างสถานี (แม่น้ำท่าตะเภา) ด้วย ซึ่งเป็นโครงการที่น่าสนใจมากครับ เพราะคลองนี้ (แม่น้ำท่าตะเภา) สามารถเชื่อมต่อไปลงทะเลได้ถึง 2 ทาง คือ ทางคลองพนังตัก ซึ่งเป็นคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ของเมืองชุมพร ซึ่งถ้าทำท่าเรือ แล้วคลองใหญ่พอ น่าสนใจในการพัฒนา ท่าเรือให้เชื่อมต่อกับเรือที่ไปเกาะต่างๆ เช่นเกาะเต่า หรือจุดดำน้ำดูปะการปะการัง ใกล้ชายฝั่งอีกหลายๆเกาะ ครับ

เส้นทางรถไฟสายใต้ช่วงระหว่างสถานีประจวบคีรีขันธ์ – สถานีชุมพร มีสถานีจํานวน 21 สถานี นอกจากนี) ยังมีที่หยุดรถ 6 แห่ง และป้ายหยุดรถ 1 แห่ง รวมสถานี ป้ายหยุดรถและที่หยุดรถทั้งสิ้น 28 แห่ง สถานีส่วนใหญ่ อยู่ทางฝั่งซ้ายของทาง 15 สถานี มีสถานีอยู่ฝั่งขวาของทาง 6 สถานี

สถานี ประจวบคีรีขันธ์ Prachuap Khiri Khan 302.33 กม. สถานีชั้น 1 - ซ้าย คงอาคารเดิมไว้เพื่อใช้งานอย่างอื่นและจะสร้างใหม่
สถานี หนองหิน Nong Hin 310.37 กม. สถานีชั้น 2 ซ้าย
ที่หยุดรถหว้ากอ Whagor 313.42 กม. ที่หยุดรถ - ซ้าย => ยกเป็นสถานีชั้น 3 เพราะจะตั้งลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard, CY)
สถานีวังด้วน Wang Duan 318.27 กม. สถานีชั้น 3 ซ้าย => รื้อสร้างใหม่เพราะอาคารเก่ามาแต่ปี 2523 เอง

สถานีห้วยยาง Huai Yang 329.07 กม. สถานีชั้น 2 ซ้าย
ทุ่งประดู่ Thung Pradu 338.60 กม. สถานีชั้น 3 ซ้าย => ลดชั้นเป็นที่หยุดรถ แต่คงอาคารไว้ทำอย่างอื่น

ทับสะแก Thap Sakae 342.06 กม. สถานีชั้น 1 ซ้าย
ดอนทราย Don Sai 347.00 กม. สถานีชั้น 3 ขวา => ลดชั้นเป็นที่หยุดรถ แต่คงอาคารไว้ทำอย่างอื่น

ที่หยุดรถโคกตาหอม Khok Ta Hom 353.04 กม. ที่หยุดรถ ซ้าย
สถานีบ้านกรูด Ban Krut 360.53 กม. สถานีชั้น 2 ซ้าย
ที่หยุดรถหนองมงคล Nong Mongkhon 365.85 กม. * ซ้าย
สถานีนาผักขวง Na Phak Khuang 371.04 กม. สถานีชั้น 3 ซ้าย => จะตั้งลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard, CY)

บางสะพานใหญ่ Bang Saphan Yai 376.52 กม. สถานีชั้น 1ซ้าย
ป้ายหยุดรถหินกอง Hin Gong 383.58 กม. ป้ายหยุดรถ ซ้าย
สถานีชะม่วง Cha Muang 385.92 กม. สถานีชั้น 3 ขวา
สถานีบางสะพานน้อย Bang Saphan Noi 392.66 กม. สถานีชั้น 2 ซ้าย
สถานีห้วยสัก Huai Sak 399.92 กม. สถานีชั้น 2 ซ้าย
ที่หยุดรถบ้านทรายทอง Ban Sai Thong 404.30 กม. ที่หยุดรถ ซ้าย
สถานีเขาไชยราช Khao Chaiyarat 409.65 กม. สถานีชั้น 2 ขวา
สถานีมาบอํามฤต Map Ammarit 420.59 กม. สถานีชั้น 2 ขวา => จะตั้งลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard, CY)
ที่หยุดรถบ้านทรัพย์สมบูรณ์ Ban Sap Somboon 427.66 กม.ที่หยุดรถ ขวา
สถานีคลองวังช้าง Khlong Wang Chang 434.29 กม. สถานีชั้น 3 ซ้าย
สถานีปะทิว Pathiu 439.34 กม. สถานีชั้น 2 ขวา
สถานีบ้านคอกม้า Ban Khok Ma 447.46 กม. สถานีชั้น 3 ซ้าย
สถานีสะพลี Saphli 453.80 กม. สถานีชั้น 3 ซ้าย => จะตั้งลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard, CY)
ที่หยุดรถหนองเนียน Nong Nian 458.38 กม. ที่หยุดรถ ซ้าย
สถานีนาชะอัง Na Cha-ang 463.20 กม. สถานีชั้น 3 ขวา
สถานีชุมพร Chumphon 468.53 กม. สถานีชั้น 1 ซ้าย

หมายเหตุ ระยะทางนับจากสถานีธนบุรี - ถ้านับจากสถานีกรุงเทพที่หัวลำโพงให้เพิ่มอีก 16.05 กิโลเมตร

บริเวณช่วงเส้นทางที่มีข้อจํากัดต่อการทําความเร็วในการเดินรถ จําเป็นต้องปรับความยาวรัศมีโค้งให้มีความยาวอย่างน้อย 1,000 เมตร เพื่อให้เพียงพอที่จะรองรับความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีอยู่ 3 ช่วง ดังนี้

1. บริเวณสถานีมาบอํามฤต (กม.416 – กม.420) รัศมีความโค้งต่ำสุด 395 เมตร
2. บริเวณสถานีบ้านคอกม้า (กม.446 – กม.449) รัศมีความโค้งต่ำสุด 393 เมตร
3. บริเวณสถานีนาชะอัง (กม.460 – กม.466) รัศมีความโค้งต่ำสุด 600 เมตร

ถ้าใครสนใจรายละเอียดตัวเต็มตามลิ้งค์เลยครับ รายงานฉบับสรุปสําหรับผู้บริหาร (Executive Summary Report) การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะเร่งด่วน ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร)
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/620268438411639

โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะเร่งด่วน ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร)
http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=119

ความก้าวหน้า ทางคู่ นครปฐม - ชุมพร
https://www.facebook.com/southtwintrain/posts/2259137251007685

เพจโครงการ รถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - ชุมพรมาแล้ว
https://www.facebook.com/southtwintrain/

เพจโครงการรถไฟทางคู่มาบกระเบา - ถนนจิระ
https://www.facebook.com/MapkabaoChira/


Last edited by Wisarut on 25/02/2019 7:51 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2019 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านไม่ปลื้มรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด หวั่นเดือดร้อน
เผยแพร่: 22 ก.พ. 2562 16:41 ปรับปรุง: 22 ก.พ. 2562 16:54 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวศรีราชาไม่พอใจ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด หวั่นเดือดร้อน

วันนี้ (22 ก.พ.) นายธานี เกียรติพิพัฒน์กุล รองนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นประธานเปิดรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด โดยมีบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ส่วนราชการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมเมืองใหม่ 1 เทศบาลนครแหลมฉบัง

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย จำเป็นต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งมวลชนทางราง รถไฟทางคู่ ตลอดจนรถไฟความเร็วสูง ซึ่งโครงการพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มโอกาสทางการค้าการลงทุน เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งและลอจิสติกส์ของภูมิภาคอีกด้วย

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด นั้น ทางผู้จัดการโครงการได้มีการศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำไปศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ ซึ่งระบบรางนั้นจะต้องศึกษาด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ยังวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมด้วย และหากศึกษาและมีความเหมาะสมก็จะลงถึงรายละเอียดต่อไป โดยได้ศึกษามาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561

ด้าน นายเอกสิทธิ์ ป.สัตยารักษ์ วิศวกรโครงการ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการออกแบบเบื้องต้นเท่านั้น โดยเน้นบริเวณจุดตัด โดยจะไม่ให้รถไฟเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ โดยจะมีสะพานรถไฟข้ามถนน สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ ทางลอดใต้ทางรถไฟ และทางบริการข้างทางรถไฟ โดยบริเวณจุดตัด ตั้งแต่บางพระ ศรีราชา แหลมฉบัง ส่วนใหญ่จะเป็นสะพานรถไฟข้ามถน และบริเวณเส้นทางรถไฟนั้นจะมีรั้วกั้น เพื่อไม่ให้ชาวบ้านและสัตว์เลี้ยงเดินตัดข้ามทางรถไฟ เนื่องจากมีขบวนรถไฟวิ่งวันละเกือบ 100 ขบวนต่อวัน อาจจะเกิดอันตรายได้ เพราะรถไฟวิ่งเร็วขึ้นด้วย

สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ครั้งนี้ เพื่อมาสอบถามคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนถึงโครงการดังกล่าว เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้มีความเหมาะสมเรียบร้อย ก่อนนำรูปแบบเสนอหน่วยที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป

ด้าน นายสมศักดิ์ เกตุวัตถา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ กล่าวถึงโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ดี เพราะเป็นการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศ แต่การออกแบบโครงการฯ ต้องอย่าให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะตามจุดแยกระหว่างเส้นทางรถไฟตัดกับเส้นทางรถยนต์ที่ประชาชนสัญจรผ่านไปมา ควรก่อสร้างเป็นอุโมงค์เพื่อให้รถไฟลอดผ่านไป

โดยถนนที่ประชาชนสัญจรไปมาอยู่นั้นให้เป็นรูปแบบเดิม ซึ่งจะไม่มีใครได้รับความเดือดร้อน เพราะถ้าทำเป็นสะพานยกข้ามถนนดังกล่าว ชาวบ้านที่อยู่ใกล้พื้นที่นับ 100 นับ 1,000 ครัวเรือนจะเดือดร้อน เนื่องจากจะต้องกันพื้นที่ข้างละ 500 เมตร โดยชาวบ้านเดือดร้อนอย่างแน่นอน

การรถไฟแห่งประเทศไทย มองว่าถ้าทำเป็นอุโมงค์จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และหวั่นรัฐบาลไม่มีงบในการก่อสร้างซึ่งไม่คุ้มต่อการลงทุน ซึ่งเรื่องยังนี้ไม่ต้องหวั่นวิตก เพราะถ้าสร้างความเจริญและไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างไรก็ต้องลงทุนสร้าง ที่สำคัญ เพื่อสะดวกสบายในการออกแบบโครงสร้างเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่จะเกิดขึ้น นายสมศักดิ์ กล่าว

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้จัดการโครงการควรไปศึกษารูปแบบใหม่ ตามที่ชาวบ้านเสนอแนะ โดยไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะถ้าประชาชนและชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน คงจะไม่ยอมให้มีการก่อสร้างอย่างเด็ดขาด

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2019 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชาวบ้านไม่ปลื้มรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด หวั่นเดือดร้อน
เผยแพร่: 22 ก.พ. 2562 16:41 ปรับปรุง: 22 ก.พ. 2562 16:54 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

พอไม่มีรถโดยสารผ่านบ่อยก็ทำตัวเป็น Blockhead (นักเลงหัวไม้) เลยนะเอ็ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2019 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” นั่งไม่ติด ปั๊มเมกะโปรเจ็กต์ ทิ้งทวน 5 ปี รัฐบาล คสช. 1.3 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 February 2019 - 19:06 น.

Click on the image for full size

หมุดหมายการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ใกล้เข้ามาทุกขณะ ไม่เกินกลางปีนี้น่าจะเห็นโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ ยังไม่รู้จะเป็นผู้นำหน้าเดิมหรือหน้าใหม่

โค้งสุดท้ายรัฐบาล คสช.

ทำให้ห้วงเวลาไม่ถึง 2 เดือนนี้ “รัฐบาล คสช.” ภายใต้บังเหียน “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ต้องใช้ทุกช่วงเวลาเร่งสปีดเค้นทุกผลงานให้ได้มากที่สุดหวังหวนคืนสู่การรั้งเก้าอี้ “นายกฯสมัยที่ 2”

ท่ามกลางความอืมครึมทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เจอมรสุมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกรุมเร้า “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” แม่ทัพใหญ่ด้านเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. จึงเดินสายไล่ขันนอตกระทรวงเศรษฐกิจ เร่งสารพัดโครงการและมาตรการต่าง ๆ สร้างความเชื่อมั่น

ทั้ง “อุตสาหกรรม-พาณิชย์-คลัง” ล่าสุดเป็นคิว “คมนาคม” ซึ่งกุมเม็ดเงินลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ลงทุนนับล้านล้านแม้ที่ผ่านมาคมนาคมจะคลอด action plan หรือแผนปฏิบัติการเร่งด่วนประจำปี ขีดไทม์ไลน์ลงทุนรายโครงการแต่ยังติด ๆ ขัด ๆ ยกขบวนประมูลทุกปี

เร่งลงทุนสร้างความเชื่อมั่น

“โครงการส่วนใหญ่ของรัฐบาล ขับเคลื่อนโดยกระทรวงคมนาคม หลังไปเร่งรัดการเบิกจ่ายกับกระทรวงการคลังมา ผมเห็นว่าในช่วงไตรมาส 1-2 ของปีนี้การลงทุนของภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่านักลงทุนต่างประเทศยัง wait and see เพราะต้องการเห็นความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง แต่ไทยจะต้องเร่งลงทุนให้เกิดบาลานซ์กับการส่งออกซึ่งยังไม่ดีนัก หวังว่าครึ่งปีแรกไทยจะสามารถประคองตัวเองให้ผ่านพ้นไปสู่ครี่งปีหลังที่เรามีรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะทำให้ทุกอย่างกระเตื้องขึ้นมาได้” นายสมคิดกล่าวหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงคมนาคม

26 โครงการ 1.3 ล้านล้าน


ขณะที่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนที่นายสมคิดเร่งรัดในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 26 โครงการ รวมเม็ดเงินลงทุน 1.36 ล้านล้านบาท คาดว่าแต่ละโครงการจะทยอยเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก.พ.-มี.ค.นี้ เร่ง บมจ.การบินไทยจัดหาเครื่องบิน 38 ลำ มูลค่า 200,000 ล้านบาทเสนอให้ ครม.อนุมัติสิ้นเดือน ก.พ.นี้ ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบิน (MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,294 ล้านบาท เร่งบินไทยเจรจากับแอร์บัสกรุ๊ปให้ได้ความคืบหน้าเร็วที่สุดเพื่อเสนอ ครม.

เค้น 4 โปรเจ็กต์ ทอท.

ให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) เร่งรัด 4 โครงการสำคัญ ได้แก่ เร่งเบิกจ่ายงานก่อสร้าง อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 เงินลงทุน 16,176 ล้านบาทพัฒนาสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 วงเงิน 60,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงพิจารณาควบคู่ไปกับเร่งทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จก่อนเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป

เดินหน้าสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 19,422 ล้านบาท ส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก 8,000 ล้านบาทตามแผนแม่บทเดิมปี 2553

ปิดดีลแหลมฉบัง-ไฮสปีด EEC

ส่วนทางน้ำมี 2 โครงการ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดให้ซื้อซองใหม่ มีเอกชนซื้อ 34 ราย จะให้สรุปผลการคัดเลือก มี.ค.นี้ และปรับปรุงท่าเรือระนอง 1,000 ล้านบาท กำลังจัดซื้อจัดจ้าง

ขณะที่โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง ในส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ขั้นตอนการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบที่คณะกรรมการอีอีซีได้วางเอาไว้

ไทย-จีนคลอด TOR 5 สัญญา

ส่วนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ในเร็ว ๆ นี้จะเซ็นสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. กับบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 3,115 ล้านบาท อีก 12 สัญญาค่าก่อสร้างกว่า 100,000 ล้านบาท ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกประกาศร่างทีโออาร์ 5 สัญญา รวมระยะทาง 144 กม. เงินลงทุนรวม 58,425 ล้านบาท แล้วอีก 7 ตอนที่เหลือจะทยอยออกให้ครบภายในเดือน พ.ค.นี้

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. เงินลงทุน 77,906 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงการจัดทำรายงาน PPP เสนอคณะกรรมการการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) พิจารณา และศึกษาขยายเส้นทางไปถึงสุราษฎร์ธานีเพื่อให้โครงการเกิดความคุ้มค่า

ทางคู่ 8 เส้น มี.ค.มาแน่

ด้านรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทาง 1,851 กม. วงเงิน 340,129 ล้านบาท “อาคม” แจกแจงว่า คืบหน้ามากที่สุด คือ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม. 67,965 ล้านบาท จะเสนอ ก.พ.นี้

อีก 7 เส้นทาง จะเสนอ ครม.ได้ ก.พ.-มี.ค. ได้แก่ ขอนแก่น-หนองคาย 26,654 ล้านบาท, จิระ-อุบลราชธานี 37,523 ล้านบาท, ปากน้ำโพ-เด่นชัย 62,848 ล้านบาท, เด่นชัย-เชียงใหม่ 56,826 ล้านบาท, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 24,287 ล้านบาท, สุราษฎร์ธานี-สงขลา 57,369 ล้านบาท และหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 6,657 ล้านบาท

รถไฟฟ้าจ่อเข้า ครม.

ในส่วนของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 120,459 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบก่อนจะจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556

สายสีแดง 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. เงินลงทุน 6,570 ล้านบาท, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. เงินลงทุน 10,202 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 7,469 ล้านบาท ในส่วน 2 สายแรก อยู่ระหว่างบรรจุวาระเข้า ครม.

เร่งงาน ทล.-กทพ.

“ยังมี 2 โครงการลงทุนที่รองนายกฯสมคิดให้ความสำคัญ คือ การเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี จะขอ ครม.ขยายกรอบค่าเวนคืน 8,000 ล้านบาท กำชับให้กรมทางหลวงเร่งทำข้อมูลเสนอบอร์ดสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณเห็นชอบก่อนจะเสนอ ครม.อนุมัติโดยเร็วที่สุด”

นอกจากนี้ กำชับให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ประมูลทางด่วนช่วงพระราม 3-ดาวคะนอง 31,244 ล้านบาท ให้เสร็จเดือน ก.พ.นี้ หลังได้เงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) แล้ว จะช้าไม่ได้เด็ดขาด

โปรเจ็กต์ปิดท้ายจัดหารถเมล์จำนวน 3,000 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท ตอนนี้กำลังรับมอบรถเมล์ NGV ใหม่จำนวน 489 คัน วงเงิน 4,261 ล้านบาท โดยจะรับมอบครบทั้งหมดในช่วงเดือน ก.พ.-กลางเดือน มี.ค.นี้

ส่วนที่เหลือ 2,511 คัน วงเงิน 7,731 ล้านบาท จะเสนอ ครม.ภายในเดือน มี.ค.นี้

ทุกโครงการมีไทม์ไลน์ชัดเจน หากสับเกียร์เดินหน้าเต็มสูบ ผูกโครงการไว้ก่อนหมดวาระ เชื่อว่าน่าจะได้รับการเดินหน้ามากกว่าที่จะถูกรื้อยกแผง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2019 10:14 am    Post subject: Reply with quote

Update ความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร ( 23 กุมภาพันธ์ 2562) รายละเอียดตามคำบรรยายใต้ภาพครับ

1. Launching Truss เข้าตำแหน่ง Span PD-PE (Elevated Railway)
2. ดึงลวด​ Post Tension สะพานรถไฟ​ กม.181+520
3. เทคอนกรีต ผนังและพื้นบน Box culvert กม.162+390
4. งานก่อสร้าง และปรับปรุงสถานีรถไฟ

Cr : Italian-Thai Development Public Company Limited "ITD" , Kongphon Chunko

เพิ่มเติมที่ :
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1838059002966285&id=185621321543403
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2019 1:09 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะเร่งด่วนช่วงชุมทางจิระ - ขอนแก่น)
สถานีชุมทางถนนจิระ กม. 266 + 302.529
จุดเริ่มต้นโครงการ กม. 267 + 300
สถานีบ้านเกาะ สถานีขนาดเล็ก กม. 272 + 428.403
สถานีบ้านกระโดน สถานีขนาดเล็ก กม. 284 + 686.521 มีย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) มาแทนสถานีบ้านเกาะที่ เจอปัญหาตัวเมืองขยายตัว
ป้ายหยุดรถบ้านหนองกันงา กม. 288 + 146.733
หนองแมว สถานีขนาดเล็ก กม. 289 + 847.192
โนนสูง สถานีขนาดกลาง กม. 295 + 144.192
บ้านดงพลอง สถานีขนาดเล็ก กม. 302 + 081.427
ที่หยุดรถเนินถั่วแปบ กม. 311 + 433.918
พลสงคราม สถานีขนาดเล็ก กม. 315 + 777.734
บ้านดอนใหญ่ สถานีขนาดเล็ก 320 + 405.734
เมืองคง สถานีขนาดใหญ่ กม. 326 + 952.174
ที่หยุดรถบ้านไร่ กม. 333 + 741.988
โนนทองหลาง สถานีขนาดเล็ก กม. 334 + 857.566
ที่หยุดรถ ห้วยระหัด กม. 342 + 585.512
ชุมทางบัวใหญ่ สถานีขนาดใหญ่ กม. 345 + 875.635 มีย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY)
เนินสวัสดิ์ สถานีขนาดเล็ก กม. 351 + 136.302
หนองบัวลาย สถานีขนาดเล็ก กม. 357 + 444.300
ที่หยุดรถศาลาดิน กม. 362+532.855
หนองมะเขือ สถานีขนาดเล็ก กม. 370 + 144.697
เมืองพล สถานีขนาดกลาง กม. 377 + 955.020
บ้านหัน สถานีขนาดเล็ก กม. 396 + 947.587
บ้านไผ่ สถานีขนาดกลาง กม. 407 + 857.211
บ้านแฮด สถานีขนาดเล็ก กม. 423 + 752.711
ที่หยุดรถหนองเม็ก กม. 431 + 782.211
ท่าพระ สถานีขนาดเล็ก กม. 439 + 927.507 มีย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY)
ขอนแก่น สถานีขนาดใหญ่พิเศษ กม. 449+959.139
จุดสิ้นสุดโครงการ กม. 454 + 100
http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/ProjectOTP/2554/Project3/ExeSumReportThai.pdf
http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=120


Last edited by Wisarut on 25/02/2019 8:12 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2019 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

แนวทางเด่นชัย - เชียงใหม่ สี่แนวที่ส่อว่าจะใช้ทางแนวที่สี่ ที่ยาวแค่ 189 กิโลเมตร
Click on the image for full size

โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. 17 สถานี (ไม่นับสถานีเด่นชัย เพราะจะสร้างอาคารสถานีใหม่เป็นชุมทางเด่นชัย ตามโครงการเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของอยู่แล้ว ) + 1 ที่หยุดรถ
1. เด่นชัย กม. 533 + 947 (ของเดิมเป็น กม. 533 + 990.43)

2. ปากปาน สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 538 + 425 (ของเดิมเป็น กม. 538 + 423.40) (เด่นชัย - ปากปาน 120 กม./ชม. - บนทางเดิม)

3. แก่งหลวง สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 546 + 040 (ของเดิมเป็น กม. 546 + 946.44) ปากปาน - แก่งหลวง 120 กม./ชม. - บนทางเดิมระคนทางใหม่ เพราะมีการเจาะอุโมงค์ ยาว 575 เมตร 250 เมตร และ 1922 เมตร)

4. ที่หยุดรถห้วยแม่ต้า กม. 533 + 508 (ของเดิมเป็น กม. 554 + 429.03)

5. บ้านปิน สถานีชั้น 1 ขนาดใหญ่ กม. 563 + 547 (ของเดิมเป็น กม. 563 + 865.40) (แก่งหลวง - บ้านปิน 120 กม./ชม. - บนทางเดิมระคนทางใหม่ เพราะมีการทำทางลอยฟ้าข้ามแม่น้ำยม ไปที่ห้วยแม่ต้า)

6. ผาคัน สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 577 + 073 (ของเดิมเป็น กม. 578 + 464.60)
7. ปางป๋วยใหม่ สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 587 + 687 (บ้านปิน - ปางป๋วยใหม่ 120 กม./ชม. - บนทางเดิมระคนทางใหม่ เพราะมีการทำทางลอยฟ้า ผ่านผาคัน และ อุโมงค์ยาว 4588 เมตร - ปางป๋วยเดิมอยู่ที่ กม. 591 + 079.79)

8. แม่จาง สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 596 + 429 (ของเดิมเป็น กม. 600+335)

9. แม่เมาะใหม่ สถานีชั้น 2 ขนาดกลาง กม. 610 + 089 (ปางป๋วยใหม่ - แม่เมาะใหม่ 120 กม./ชม. - บนทางเดิมระคนทางใหม่ เพราะมีการทำทางลอยฟ้า ผ่านแม่จาง และต้องสร้างสถานี่แม่เมาะใหม่เป็นสถานีลอยฟ้า สถานีแม่เมาะเดิมอยู่ที่ กม. 609 + 168.47)

10. ศาลาผาลาด สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 618 + 208 (ของเดิมเป็น กม. 622 + 209.10)

11. แม่ทะ สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 624 + 267 (ของเดิมเป็น กม. 628 + 268.25)

12. หนองวัวเฒ่า สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 633 + 461 (ของเดิมเป็น กม. 637 + 414) (แม่เมาะใหม่ - หนองวัวเฒ่า 120 กม./ชม. - บนทางเดิมระคนทางใหม่ เพราะมีการทำทางลอยฟ้า ก่อนลดระดับ ที่ศาลาผาลาดและลอดผ่านทางหลวง 11 ไปหนองวัวเฒ่า)

13. นครลำปาง สถานีชั้น 1 ขนาดใหญ่พิเศษ กม. 638 + 225 (ของเดิมเป็น 642+292.33) (หนองวัวเฒ่า - นครลำปาง 120 กม./ชม. บนทางเดิมระคนทางใหม่)

14. ห้างฉัตร สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 650 + 743 (ของเดิมเป็น กม. 654 + 832) (นครลำปาง - ห้างฉัตร 160 กม./ชม. บนทางเดิม)

ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้าที่ห้างฉัตร กม. 650 + 744 (ของเดิมเป็น กม. 654 + 833)

15. ศาลาแม่ทา สถานีขนาดเล็ก กม. 680 + 874 (ของเดิมเป็น กม. 700 + 686.30)
16. ลำพูน สถานีชั้น 1 ขนาดใหญ่ กม. 701 + 212 (ของเดิมเป็น กม. 729 + 213.20) (ห้างฉัตร- ลำพูน 160 กม./ชม. บนทางสายใหม่ มีเจาะอุโมงค์ ยาว 285 เมตร และ 7272 เมตร ที่ขุนตาล ก่อนลอดทางหลวง 11 ผ่านอุโมงค์ 653 เมตร และ อุโมงค์ 622 เมตร ก่อนผ่านถนน เชียงใหม่ - ลำพูน (ทางหลวง 114) เข้าสถานีลำพูน)

17. ป่าเส้า สถานีชั้น 3 ขนาดเล็กลอยฟ้า กม. 706 + 537 (ของเดิมเป็น กม. 734 + 645.60)
18. สารภี สถานีชั้น 3 ขนาดเล็ก กม. 714 + 613 (ของเดิมเป็น กม. 742 + 789) (ลำพูน - สารภี 160 กม./ชม ทางลอยฟ้าตามทางรถไฟที่มีอยู่เดิม)
ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้าที่สารภี กม. 716 + 239 (ของเดิมเป็น กม. 744 + 819)
โรงรถจักรใหม่ที่สารภี กม. 717 + 300 (ของเดิมเป็น กม. 745 + 250)
19. เชียงใหม่ สถานีชั้น 1 ขนาดใหญ่พิเศษ กม. 723 + 269 (ของเดิมเป็น กม. 751+424 ขณะที่ปลายรางอยู่ที่ กม. 751 +620) (จุดสิ้นสุดโครงการ - สารภี - เชียงใหม่ 160 กม./ชม. บนทางเดิม)

ต้องสร้างสถานีใหม่หมด เว้นแต่สถานี นครลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ใช้การบูรณะแทน แต่งานนี้สถานีบ้านปินคงไม่โดนทุบเพราะ ได้รางวัลมา ไม่กล้าทุบแน่ อย่างมากสร้างอาคารหลังใหม่ขนาบข้าง แทน



แนวทางเลือกที่ 1
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง เป็นแนวเส้นทางที่อยู่ภายในเขตทางรถไฟและคู่ขนานไปกับแนวทางรถไฟเดิมทางด้านทิศตะวันตก โดยที่มีลักษณะทางกายภาพ ของทางวิ่ง เช่น ความกว้างของรัศมีโค้งราบและโค้งดิ่ง ความลาดชันแนวเส้นทาง ยังคงเหมือนและเท่ากับทางรถไฟเดิมและมีอุโมงค์รถไฟ 2 จุด คือ บริเวณห้วยแม่ลานและอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลทางวิ่งบริเวณที่อยู่ในพื้นที่ราบและเป็นแนวตรง รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 90 กม./ชม.มีความยาวเส้นทาง 217 กิโลเมตร รูปที่ 1-2 แสดงลักษณะ Plan และ Profile มีรายละเอียดเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้
- แนวเส้นทางใหม่จะขนานทางรถไฟเดิม โดยเริ่มต้นออกจากสถานีเด่นชัย กม.533+947 ผ่านสถานีปากปาน ที่กม.538+432 สถานีแก่งหลวง กม.552+000 จนถึงสถานีบ้านปิน ที่ กม.563+865 แนวเส้นทางเป็นทางราบหรือทางลาดชันเล็กน้อยที่มีรัศมีโค้งแคบตามแนวเชิงเขาลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำยมจากสถานีปากปาน จนถึงสถานีแก่งหลวง

- ช่วงจากสถานีบ้านปิน จนถึงที่หยุดรถไฟห้วยแม่ลาน กม.588+000 ต. บ้านปิน อ. ลอง จ. แพร่ ทางรถไฟจะลัดเลาะไหล่เขา และเป็นทางลาดชันไต่ขึ้นภูเขา ด้วยความลาดชันสูงสุด 20 ใน 1000 โดยมีจุดสูงสุดที่บริเวณที่อุโมงค์ห้วยแม่ลาน ซึ่งยาว 130 เมตร จากนั้นทางรถไฟจะไต่ลงด้วยความลาดชัน 20 ใน 1000 ผ่านสถานีแม่จาง กม.600+335 จนถึง สถานีแม่เมาะ กม.609+168 => นี่คือจุดที่เป็นปัญหา ที่เนิน 588 ใกล้สถานีปางป๋วย

- ช่วงออกจากสถานีแม่เมาะทางรถไฟจะไต่ลัดเลาะขึ้นเขาอีกครั้ง ด้วยความลาดชันสูงสุด 20 ใน 1000 จนถึง กม.617+500 ในพื้นที่ ต. หัวเสือ อ. แม่ทะ จ.ลำปาง จากนั้นทางรถไฟจะไต่ระดับลงด้วยความลาดชันสูงสุด 20 ใน 1000 เช่นกัน เข้าสู่สถานีนครลำปาง กม.642 + 292

- ช่วงสถานีนครลำปาง จนถึงจุดจอดรถบ่อแฮ้ว กม.646+687 ต. บ่อแฮ้ว อ. เมือง จ.ลำปาง ลักษณะเป็นแนวทางราบและขนานไปกับทางรถไฟเดิมและมีสะพานข้ามแม่น้ำวัง บริเวณ กม. 642+600
- ช่วงจากจุดจอดรถบ่อแฮ้ว จนถึงสถานีแม่ตานน้อย กม.671+808 ต. เวียงตาล อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง แนวเส้นทางจะลัดเลาะและไต่ขึ้นเขาอีกครั้ง
- ช่วงจากสถานีแม่ตานน้อย จนถึงสถานีขุนตาน กม.683+140 ต. ทาปลาดุก อ. แม่ทา จ.ลำพูน แนวเส้นทางจะลัดเลาะไต่ขึ้นเขา ด้วยความลาดชันสูงถึง 23 ใน 1000 ผ่านอุโมงค์รถไฟบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลยาว 1.3 กม. จากนั้นเส้นทางรถไฟจะไต่ระดับลงด้วยความลาดชันประมาณ 21 ใน 1000 จนถึง กม.690+000 ในพื้นที่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน จากนั้นแนวเส้นทางจะไต่ระดับลงผ่านสถานีทาชมภูสถานีศาลาแม่ทา สถานีหนองหล่ม เข้าสู่สถานีลำพูน => นี่คือทางช่วงแม่ตานน้อย - ขุนตานที่เป็นปัญหามาโดยตลอด
- ช่วงสถานีจังหวัดลำพูนถึงสิ้นสุดที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ที่กม.751+424 แนวเส้นทางจะอยู่ในพื้นที่ราบและขนานไปกับทางรถไฟเดิม

แนวทางที่ 1 โดน reject เพราะ แนวทางยาว 217 กิโลเมตรแต่ทำความเร็ว แค่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขุดอุโมงค์ห้วยแม่ลานใหม่ และขุนตานใหม่ แต่ความลาดชันเกิน 10-12 ใน 1000 ที่เป้นตัวก่อปัญหาต้อวตัดรถสินค้าและรถโดยสาร ซึ่งไม่ดี มีสถานีที่หยุดรถ 26 แห่ง ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ที่หยุดรถห้วยแม่ต้า บ้านปิน ที่หยุดรถผาคัน ที่หยุดรถผาคอ ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ห้วยรากไม้ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า นครลำปาง ห้างฉัตร ปางม่วง ห้วยเรียน แม่ตานน้อย ขุนตาน ทาขมพู ศาลาแม่ทา หนองหล่ม ลำพูน ป่าเส้า สารภี เชียงใหม่ โดยทางเริ่มเบี่ยง

แนวทางเลือกที่ 2
เป็นการปรับทางรถไฟเดิมและก่อสร้างทางรถไฟใหม่ให้ได้ 2 ทางโดยอาศัยเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลักแนวเส้นทางโดยส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟเดิมและสลับอยู่ทางด้านทิศตะวันออกตามความเหมาะสม โดยจะต้องมีการเวนคืนในช่วงที่มีการปรับรัศมีโค้ง และความลาดชันของทางวิ่งให้ได้ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ เพื่อทำให้รถไฟสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.หรือการสลับทิศทางของเส้นทางรถไฟที่มาทางด้านทิศตะวันออก มีความยาวเส้นทางประมาณ 207 กิโลเมตร รูปที่ 1-3 แสดงลักษณะ Plan และ Profile รายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ มีดังนี้

- เริ่มต้นโครงการฯ จากสถานีเด่นชัย กม.533+947 จนถึงสถานีปากปาน กม.538+447 ต. ไทรย้อย อ. เด่นชัย จ. แพร่ เหมือนทางเลือกที่ 1
- เมื่อออกจากสถานีปากปาน เส้นทางรถไฟจะปรับออกจากเขตทางรถไฟเดิม เพื่อให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.จนบรรจบทางรถไฟปัจจุบัน ที่สถานีแก่งหลวง กม.544+947 ต. แม่ปาน อ. ลอง จ. แพร่โดยในช่วงดังกล่าวทางรถไฟจะไต่ขึ้นด้วยความลาดชันประมาณ 7 ใน 1000 มีการเจาะอุโมงค์บริเวณ กม.543+627 และ กม.544+469 ยาว288 และ 690 เมตร ตามลำดับ => มีดีที่ทางลาดชันไม่เกิน 10 ใน 1000 ถือว่าดี
- จากสถานีแก่งหลวง ถึง กม.554+612 ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่แนวเส้นทางจะเป็นทางราบแต่จะมีการปรับรัศมีโค้งเพื่อให้สามารถวิ่งได้ 120 กม./ชม. จากนั้นจะเชิดขึ้นด้วยความลาดชัน 7 ใน 1000 ผ่านอุโมงค์ที่ กม.555+704 ความยาว 500 เมตรจนถึง กม.557+550 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 เข้าสู่สถานีบ้านปินกม.562+516 => ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้

- ช่วงสถานีบ้านปิน ถึงสถานีปางป๋วย แนวเส้นทางเมื่อออกจากสถานีบ้านปินจะไต่ระดับด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 ผ่านสถานีผาคัน กม. 576+229 และ สิ้นสุดที่สถานีปางป๋วยกม.587+788โดยในช่วงนี้จะการปรับรัศมีโค้งตลอดแนวเส้นทาง และก่อสร้างอุโมงค์จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ กม.571+603 กม.574+647 กม.577+743และ กม. 582+485 ระยะทาง 200 270 250 และ 3,500 เมตร ตามลำดับ
- ช่วงสถานีปางป๋วย ถึงสถานีแม่เมาะ แนวเส้นทางจากสถานีปางป๋วย จะไต่ระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 และ ปรับรัศมีโค้งเป็นระยะๆ ผ่านสถานีแม่จาง เข้าสู่สถานีแม่เมาะกม.605+747 => ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้
- ช่วงสถานีแม่เมาะถึงสถานีศาลาผาลาด แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะของการเลาะไต่ขึ้นลงภูเขาด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่ กม. 613+605
- ช่วงสถานีศาลาผาลาด ถึงสถานีลำปาง แนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน ประมาณ 7 - 12 ใน 1000 เพื่อแก้ปัญหาจุดตัด => ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้

- ช่วงออกจากสถานีลำปาง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แนวเส้นทางจะเป็น ทางราบ จากนั้นจะเริ่มไต่ระดับขึ้นเขา ผ่านสถานีห้างฉัตร ปางม่วง ห้วยเรียน จนถึงสถานีแม่ตานน้อย ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายก่อนจะถึงอุโมงค์ ที่ กม. 673+131 ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลยาวประมาณ 9.9 กิโลเมตรโดยจากสถานีปางม่วงถึงสถานีแม่ตานน้อยจะมีการปรับรัศมีโค้ง จากนั้นจะลดระดับลงผ่านสถานีทาชมภู สถานีศาลาแม่ทา สถานีหนองหล่ม เข้าสู่สถานีลำพูน

- ช่วงสถานีลำพูน ถึง สถานีเชียงใหม่ แนวเส้นทางจะขนานไปกับเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน
สถานีหลักตามทางเลือกที่ 2 ประกอบด้วย 23 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ปางม่วง หัวยเรียน แม่ตานน้อย ทาชมภู ศาลาแม่ทา หนองหล่ม ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่

แนวทางที่ 2 โดน reject แม้ว่าแนวทางยาว 207 กิโลเมตรแต่ทำได้เร็วกว่าเดิมเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขุดอุโมงค์ห้วยแม่ลานใหม่ และขุนตานใหม่ แต่ไม่ผ่านที่หยุดรถผาคอ ที่หยุดรถห้วยรากไม้ และ สถานีขุนตาน

แนวทางเลือกที่ 3
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 2 ทาง โดยยังคงสภาพของแนวเส้นทางรถไฟเดิมไว้ เพื่อเป็นเส้นทางท่องเที่ยว แนวเส้นทางตัดใหม่ตั้งแต่ช่วงลำปางถึงเชียงใหม่จะอาศัยเขตทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงมีการปรับรัศมีโค้งและความลาดชันของทางวิ่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดของขนาดทาง 1.00 ม.ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ เพื่อทำให้รถไฟสามารถใช้ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ตลอดทั้งแนวมีความยาวเส้นทางประมาณ 170 กิโลเมตร รูปที่ 1-4 แสดงลักษณะ Plan และ Profile รายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ มีดังนี้

- เริ่มต้นโครงการฯ กม.533+947 จากสถานีเด่นชัย&ndash;กม.533+950 อ. เด่นชัย จ. แพร่ เป็นแนวเส้นทางขนานกับทางวิ่งเดิมด้านทิศตะวันตกและอยู่ภายในเขตทางการรถไฟฯ</p>

- จาก กม.533+950 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกนอกเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ไทรย้อย ข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม. 538+387 เข้าสู่ ต. ปงป่าหวาย แนวเส้นทางลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำ และไต่ระดับขึ้นเขา โดยมีอุโมงค์รถไฟบริเวณ กม.541+947ยาวประมาณ 600เมตร จากนั้นแนวเส้นทางลดระดับลง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม. 544+617เข้าสู่ อ. ลอง จ. แพร่

- จาก กม.545+447 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกจากเขตทางของการรถไฟฯ ด้านทิศตะวันตกผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม.549+947 แนวเส้นทางลาดชัน1.0% และมีอุโมงค์รถไฟบริเวณ กม.551+647 และ กม.553+079 ในพื้นที่ ต. บ้านปิน อ. ลอง จ. แพร่ ยาว 670 เมตร และ 500เมตร ตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 จนถึง กม.556+447 ก่อนเข้าสถานีบ้านปิน
- ช่วง กม.556+447 - กม.558+947 เป็นแนวเส้นทางราบอยู่ในเขตทางการรถไฟฯด้านทิศตะวันตก
- จาก กม.558+947 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกนอกเขตทางการรถไฟฯ ด้านทิศตะวันตก จาก ต. บ้านปิน ผ่าน ต. ห้วยอ้อ อ. ลอง จ. แพร่ ไปเข้ากับทางรถไฟเดิมที่ กม.581+447 ก่อนเข้าสถานีแม่เมาะ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง โดยแนวเส้นทางจะไต่ระดับขึ้นด้วยความลาดชัน 1.0% ผ่านอุโมงค์รถไฟช่วง กม.561+472 - กม.564+760 และช่วง กม.565+886 - กม.575+828 ยาว 3.3 กิโลเมตร และ 9.9 กิโลเมตร ตามลำดับ

- ช่วง กม.581+447 - กม.595+447 ในพื้นที่ อ. แม่ทะ จ. ลำปาง แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม
- จาก กม.595+447 แนวเส้นทางราบแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้าน ทิศตะวันตก และไต่ระดับลงไปจนถึง กม.607+444 ในพื้นที่ ต. พระบาท อ. เมือง จ. ลำปาง
- ช่วง กม.607+447 - กม.631+447 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิมมีแนวเส้นทางร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ กม.610+947 บริเวณก่อนเข้าสถานีหนองวัวเฒ่าผ่านสถานีลำปางไปจนถึงสถานีห้างฉัตร

- จากสถานีห้างฉัตร แนวเส้นทางแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันตก จาก อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง เข้าสู่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน แนวเส้นทางมีความลาดชันขึ้นภูเขาจนถึงอุโมงค์ช่วง กม.645+447- กม.652+947 จากนั้นเป็นแนวเส้นมีความชันลาดลงข้ามสะพานแม่น้ำแม่ทา ที่ กม. 659+173 และตัดกับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.659+627 ในพื้นที่ ต. ทาสบเส้า อ. แม่ทา จ. ลำพูน

- จาก กม.659+173 แนวเส้นทางแยกออกจากเขตาทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ศรีบัวบาน ผ่านอุโมงค์บริเวณ กม. 660+721 และ กม. 660+879ความยาว 600 เมตร และ540 เมตรตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางมีความลาดชันลงและเข้าบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.671+947 ในพื้นที่ ต. ป่าสัก อ. เมือง จ. ลำพูน

- จาก กม.671+947 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม มีลักษณะเป็นทางราบ ผ่าน จ. ลำพูนในพื้นที่ ต. เวียงยอง ต. เมืองง่าและ ต. อุโมงค์ เข้าสู่ อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ในพื้นที่ ต. สารภี ต. ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง ในพื้นที่ อ. เมือง ผ่าน ต. ท่าศาลา และสิ้นสุดโครงการที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ต. วัดเกตุ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 3 ประกอบด้วย 15 สถานี ได้แก่ แก่งหลวง บ้านปิน แม่จาง (ตำแหน่งใหม่) แม่เมาะ ห้วยรากไม้ แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่ม (ตำแหน่งใหม่) ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่

แนวทางที่ 3 โดน reject แม้ว่าแนวทางยาว 170 กิโลเมตรแต่ทำได้เร็วกว่าเดิมเป็น 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ สถานีเหลือแค่ 15 สถานี คือ แก่งหลวง บ้านปิน แม่จางใหม่ แม่เมาะ ห้วยรากไม้ แม่ทะ หนองวัวเฒ่า นครลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่มใหม่ ลำพูน ป่าเส้า สารภี เชียงใหม่ ทำให้ โดนชาวบ้านตำหนิที่ไม่แยแสชาวบ้าน

แนวเส้นทางเลือกที่ 4 ได้แก้ปัญหา โดยนำทางเลือกที่ 2 และ 3 มาผสมรวมกัน มีความชันสูงสุด ไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้

ก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่ 2 ทาง และยังคงสภาพของ แนวเส้นทางรถไฟเดิมไว้ เป็นแนวเส้นทางที่ผสมผสานกันระหว่างแนวเส้นทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3แนวเส้นทางมีความยาวประมาณ 189 กิโลเมตรรูปที่ 1-5แสดงลักษณะ Plan และ Profileมีรายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

- ช่วงสถานีเด่นชัย-สถานีจังหวัดลำปาง ระยะทาง 105 กิโลเมตร สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.แนวทางเหมือนเลือกที่ 2 โดยมีรายละเอียดดังนี้:

- เริ่มต้นโครงการฯ จากสถานีเด่นชัย กม.533+947 จนถึงสถานีปากปาน กม.538+447 ต. ไทรย้อย อ. เด่นชัย จ. แพร่ เหมือนทางเลือกที่ 1
- เมื่อออกจากสถานีปากปาน เส้นทางรถไฟจะปรับออกจากเขตทางรถไฟเดิม เพื่อให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.จนบรรจบทางรถไฟปัจจุบัน ที่สถานีแก่งหลวง กม.544+947 ต. แม่ปาน อ. ลอง จ. แพร่โดยในช่วงดังกล่าวทางรถไฟจะไต่ขึ้นด้วยความลาดชันประมาณ 7 ใน 1000 มีการเจาะอุโมงค์บริเวณ กม.543+627 และ กม.544+469 ยาว288 และ 690 เมตร ตามลำดับ => มีดีที่ทางลาดชันไม่เกิน 10 ใน 1000 ถือว่าดี
- จากสถานีแก่งหลวง ถึง กม.554+612 ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่แนวเส้นทางจะเป็นทางราบแต่จะมีการปรับรัศมีโค้งเพื่อให้สามารถวิ่งได้ 120 กม./ชม. จากนั้นจะเชิดขึ้นด้วยความลาดชัน 7 ใน 1000 ผ่านอุโมงค์ที่ กม.555+704 ความยาว 500 เมตรจนถึง กม.557+550 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 เข้าสู่สถานีบ้านปินกม.562+516 => ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้

- ช่วงสถานีบ้านปิน ถึงสถานีปางป๋วย แนวเส้นทางเมื่อออกจากสถานีบ้านปินจะไต่ระดับด้วยความลาดชัน 10 ใน 1000 ผ่านสถานีผาคัน กม. 576+229 และ สิ้นสุดที่สถานีปางป๋วยกม.587+788โดยในช่วงนี้จะการปรับรัศมีโค้งตลอดแนวเส้นทาง และก่อสร้างอุโมงค์จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ กม.571+603 กม.574+647 กม.577+743และ กม. 582+485 ระยะทาง 200 270 250 และ 3,500 เมตร ตามลำดับ
- ช่วงสถานีปางป๋วย ถึงสถานีแม่เมาะ แนวเส้นทางจากสถานีปางป๋วย จะไต่ระดับลงด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 และ ปรับรัศมีโค้งเป็นระยะๆ ผ่านสถานีแม่จาง เข้าสู่สถานีแม่เมาะกม.605+747 => ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้
- ช่วงสถานีแม่เมาะถึงสถานีศาลาผาลาด แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะของการเลาะไต่ขึ้นลงภูเขาด้วยความลาดชัน 12 ใน 1000 โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่ กม. 613+605
- ช่วงสถานีศาลาผาลาด ถึงสถานีลำปาง แนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน ประมาณ 7 - 12 ใน 1000 เพื่อแก้ปัญหาจุดตัด => ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 ถือว่า พอใช้ได้

- สถานีจังหวัดลำปาง-สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 84 กิโลเมตร สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 160 กม./ชม. แนวทางเหมือนทางเลือกที่ 3 โดยมีรายละเอียดดังนี้:
- ช่วง กม.607+447 - กม.631+447 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิมมีแนวเส้นทางร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ กม.610+947 บริเวณก่อนเข้าสถานีหนองวัวเฒ่าผ่านสถานีลำปางไปจนถึงสถานีห้างฉัตร

- จากสถานีห้างฉัตร แนวเส้นทางแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันตก จาก อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง เข้าสู่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน แนวเส้นทางมีความลาดชันขึ้นภูเขาจนถึงอุโมงค์ช่วง กม.645+447- กม.652+947 จากนั้นเป็นแนวเส้นมีความชันลาดลงข้ามสะพานแม่น้ำแม่ทา ที่ กม. 659+173 และตัดกับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.659+627 ในพื้นที่ ต. ทาสบเส้า อ. แม่ทา จ. ลำพูน

- จาก กม.659+173 แนวเส้นทางแยกออกจากเขตาทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ศรีบัวบาน ผ่านอุโมงค์บริเวณ กม. 660+721 และ กม. 660+879ความยาว 600 เมตร และ540 เมตรตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางมีความลาดชันลงและเข้าบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.671+947 ในพื้นที่ ต. ป่าสัก อ. เมือง จ. ลำพูน

- จาก กม.671+947 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม มีลักษณะเป็นทางราบ ผ่าน จ. ลำพูนในพื้นที่ ต. เวียงยอง ต. เมืองง่าและ ต. อุโมงค์ เข้าสู่ อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ในพื้นที่ ต. สารภี ต. ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง ในพื้นที่ อ. เมือง ผ่าน ต. ท่าศาลา และสิ้นสุดโครงการที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ต. วัดเกตุ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 4 ประกอบด้วย 19 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่ม (ตำแหน่งใหม่) ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่


http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=133
https://www.tcijthai.com/news/2015/10/current/5727
http://www.srtcivilnorth.com/ckeditor_file/files/AreaLampang.pdf

รายงานติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ มีนาคม 2561
http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2561-05/25610419-ReportRailR-March2561.pdf


Last edited by Wisarut on 23/09/2022 5:34 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2019 8:27 pm    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่


โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนคปฐม-ชุมพร(ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร/ช่วงนครปฐม-หัวหิน/ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์)

การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ สถานีรถไฟนครปฐม กม.47+700 จนถึง สถานีรถไฟชุมพร กม. 468+534 วงเงินรวมโครงการ 42,933.72 ล้านบาท โดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

ขณะนี้กำลังก่อสร้างโดยมีเป้าหมายว่าจะเสร็จ ในกลางปี 2564 แต่เชื่อว่าน่าจะยืดเยื้อออกไปบ้างเนื่องจากติดปัญหาการเคลียร์พื้นที่โดยให้บรรดาชุมชนแออัดริมทางรถไฟตั้งแต่นครปฐมถึงชุมพรออกไปให้มด

//----------------------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ สถานีรถไฟท่าแค กม.136+500 จนถึง สถานีรถไฟปากน้ำโพ กม.252+109.97 วงเงินรวมโครงการ 22,678.06 ล้านบาท โดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

ขณะนี้กำลังก่อสร้างโดยมีเป้าหมายว่าจะเสร็จกลางปี 2565 แต่เชื่อว่าน่าจะยืดเยื้อออกไปบ้างเนื่องจากติดปัญหาการเวนคืนทำทางเลี่ยงเมืองช่วงท่าวุ้ง และ สะพานข้ามแม่น้ำลพบุรี

//-----------------------------
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ สถานีรถไฟมาบกะเบา กม. 134+250 จนถึง สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ กม.270+000 วงเงินรวมโครงการ 30,880.83 ล้านบาท โดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

ขณะนี้กำลังก่อสร้างโดยมีเป้าหมายว่าจะเสร็จ ในกลางปี 2568 แทนที่จะเป็นกลางปี 2566 เนื่องจากเกิดประเด็นเรื่องทางลอยฟ้าผ่านตัวเมืองนครราชสีมา

//-----------------------------------------
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ สถานีรถไฟปากน้ำโพ กม.251+900 จนถึง สถานีรถไฟเด่นชัย กม.531+375 วงเงินรวมโครงการ 62,614.35 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 ยังติดปัญหาช่วงทางตั้งแต่ บ้านด่านถึงเด่นชัย

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จกลางปี 2566 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน

//---------------------------------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ กม.270+000 จนถึง สถานีรถไฟอุบลราชธานี กม.577+609.12 วงเงินรวมโครงการ 37,523.60 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 แต่กำลังรอการเคลียร์ EIA อยู่

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จตุลาคม 2565 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน
//----------------------------------


โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่สถานีรถไฟขอนแก่น กม.449+750 จนถึงสถานีรถไฟหนองคาย กม.621+100 วงเงินรวมโครงการ 26,654.36 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 แต่กำลังรอการเคลียร์ EIA อยู่

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จปลายปี 2565 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน
//----------------------------------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่สถานีรถไฟชุมพร กม.468+534 จนถึงสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี กม.635+106 วงเงินรวมโครงการ 24,287.36 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 แต่กำลังรอการเคลียร์ EIA อยู่

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จปลายปี 2565 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน

//----------------------------------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่สถานีรถไฟชุมพร กม.468+534 สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี กม.635+106 จนถึงสถานีรถไฟสงขลา (เป็นการฟื้นฟูทางช่วงหาดใหญ่ - สงขลาไปด้วย) วงเงินรวมโครงการ 57,369.43 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 แต่กำลังรอการเคลียร์ EIA อยู่

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จกลางปี 2566 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางช่วงช่องเขา และ ทางช่วงหาดใหญ่ - สงขลาที่เลิกการเดินรถไฟ แต่ กลางปี 2521

//-----------------
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จนถึง สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ วงเงินรวมโครงการ 8,116.12 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)


แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 แต่กำลังรอการเคลียร์ EIA อยู่

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จกลางปี 2565 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน อีกทั้งประเด็นเรื่องการติดระบบรถไฟฟ้า ที่รัฐบาลจะยอมให้ติดระบบรถไฟฟ้า ก็ต่อเมื่อ รฟท. ตั้งใจจะเดินรถไฟฟ้าข้ามแดนไปที่ปาดังเบซาร์ แทนที่จะให้ รถไฟฟ้า ของ KTMB เดินรถไฟฟ้าแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งรัฐบาลไทยไม่ยอมเด็ดขาด

//----------------------------------

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วง เด่นชัย - เชียงใหม่
การดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ สถานีรถไฟเด่นชัย กม.531+375 ถึงสถานีเชียงใหม่ กม. 751 + 442 วงเงินรวมโครงการ 59,915.24 ล้านบาทโดย แหล่งที่มาของเงินทุนโครงการ งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ (พันธบัตร)

แผนการดำเนินงาน (ระบุแผนงานรายปีตลอดทั้งโครงการ)
-ศึกษาความเหมาะสมฯ แล้วเสร็จ
-สำรวจและออกแบบ แล้วเสร็จ

-กก.วล. พิจารณาเห็นชอบ EIA ปัจจุบัน-มีนาคม 2561 ยังติดปัญหาการเจาะอุโมงค์ ทำทางลอยฟ้า เวนคืนที่ทำทางใหม่

ขั้นตอนต่อไป
-ครม. อนุมัติก่อสร้างโครงการปัจจุบัน
-ขอออก พรฏ. เวนคืน
-สำรวจทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง
-จ่ายเงิน (จัดกรรมสิทธิ์)
-ประกวดราคา/หาตัวผู้รับจ้าง/ขออนุมัติดำเนินการจ้าง
-ก่อสร้างและควบคุมงาน

ตอนแรกหวังสำเร็จกลางปี 2566 แต่ดูท่าว่าจะยืดเยื้อเพราะ ยังเคลียร์ EIA ไม่ผ่าน เพราะ ต้องเจาะอุโมงค์มากแห่ง ทำทางลอยฟ้าก็มี ทั้งยังเวนคืนแก้โค้ง ทำทางใหม่เพื่อร่นระยะทางลงมา ซึ่งเรื่องยาวจริงๆ

//---------------------------------
http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PolicyPlan/1-PolicyPlan/2561/ActionPlan2561/25610109-ActionPlan2561-2.pdf


Last edited by Wisarut on 25/02/2019 8:56 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 228, 229, 230 ... 389, 390, 391  Next
Page 229 of 391

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©