RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179680
ทั้งหมด:13490912
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 328, 329, 330 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/06/2022 11:59 pm    Post subject: Reply with quote

คนอุบลฯ โวย การรถไฟออกแบบสถานีใหม่ เชย ไร้อัตลักษณ์ ไม่ร่วมสมัย | เล่าข่าวข้น | ช่วง 3 | TOP NEWS
Jun 15, 2022
TOP NEWS


https://www.youtube.com/watch?v=2Ch16WFhJ68?t=656
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2022 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟลอยฟ้าที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
เมื่อไหร่จะได้นั่งรถไฟชมวิวข้างบนสักที 😮‍💨😮‍💨
🎬 @kkeirtisak2518
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1356324884870266&id=100014783023170
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2022 10:30 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คนอุบลฯ โวย การรถไฟออกแบบสถานีใหม่ เชย ไร้อัตลักษณ์ ไม่ร่วมสมัย | เล่าข่าวข้น | ช่วง 3 | TOP NEWS
Jun 15, 2022
TOP NEWS


https://www.youtube.com/watch?v=2Ch16WFhJ68?t=656


คนอุบลฯ เคืองการรถไฟฯ สถานีใหม่ไร้อัตลักษณ์ เชย ไม่ร่วมสมัย เปรียบเหมือนวัด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 12:36 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 12:36 น.


เพจ UBON NOW กระบอกเสียงคนอุบลฯ ด่ายับการรถไฟแห่งประเทศไทยออกแบบสถานีรถไฟอุบลราชธานีใหม่ ไร้อัตลักษณ์ สุดเชย ไม่ร่วมสมัย เทียบกับบุรีรัมย์-ศรีสะเกษ ดูดี ดูสวย ถามกลับหรือเพราะเป็นปลายทางจึงไร้คนเหลียวแล

วันนี้ (15 มิ.ย.) โลกโซเชียลฯ ได้แชร์ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก "UBON NOW" แสดงความไม่พอใจที่การรถไฟแห่งประเทศไทยออกแบบสถานีรถไฟอุบลราชธานีใหม่ ในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระบุว่า "สถานีรถไฟอุบลฯ ใหม่ ไร้อัตลักษณ์ หรือเพราะเป็นปลายทาง จึงไร้คนเหลียวแล ออกแบบยังไงให้สุดเชย ไม่มีความร่วมสมัย นี่คืองานถนัดของ รฟท." โดยมีข้อความดังนี้

นับเป็นข่าวดีสำหรับประชาคมชาวอีสานใต้ สำหรับร่าง EIA รถไฟรางคู่ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี ระยะทางทั้งสิ้น 307 กิโลเมตร พาดผ่าน 5 จังหวัด ได้แก่ โคราช บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีบ้านเฮาที่ผ่านความเห็นชอบเรียบร้อย นอกจากปฏิวัติระบบรางเดี่ยวที่ใช้มาอย่างเนิ่นนานกว่า 7 ทศวรรษแล้ว การรถไฟแห่งประเทศได้เปิดเผยแบบโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟหลักตลอดระยะทางที่งูเหล็กวิ่งผ่านจำนวน 4 สถานี คือ สถานีบุรีรัมย์ สถานีสุรินทร์ สถานีศรีสะเกษ และปลายทางสถานีรถไฟอุบลราชธานี โดยแต่ละสถานีของเมืองท่านผ่านนั้นได้รับการออกแบบเป็นสถานีรถไฟยกระดับทั้งสิ้น ทั้ง บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ มาจบที่อุบลฯ เป็นสถานีระดับภาคพื้นแบบเก่าเช่นเดิม นี่ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่เพราะบ้านเรานั้นคือสถานีปลายทางของทางรถไฟสายอีสานใต้นี้อยู่เดิมแล้ว

จุดพีกที่สุดของงานนำเสนอแบบอาคารผู้โดยสารสถานีรถไฟใหม่ทั้ง 4 สถานีหลักนั้นก็มาสะดุดที่ "สถานีรถไฟอุบลฯ อาคารใหม่ของเรา..ที่มันดูพื้นๆ ที่เหมือนจะไม่ได้รับความใส่ใจในงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม" ทั้งๆ ที่สถานีอุบลฯ คือสถานีรถไฟหลัก 1 ใน 10 ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดของประเทศไทย แต่เอ๋! ทำไมเหมือนถูกเมิน ไร้ความเหลียวแล ปราศจากความใส่ใจ ทั้งๆ ที่นี่คือบ้านหลังท้ายสุดของ รฟท.ฟากตะวันออกของประเทศ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอุบลฯ ถูกออกแบบที่ฉีก และหลุดจากแบบพี่ๆ น้องๆ เมืองอื่นในเส้นทางเดียวกันเป็นอันมาก เอาง่ายๆ ใช้ตาเปล่าๆ ของประชาชนคนธรรมดานี่แหละดู ก็คงจะมองออกมาว่า "อะไร..? คือความใส่ใจ? ในการออกแบบ หรือความเอาหัวใจใส่ในเนื้องานทุกๆ ชิ้นด้วยความเสมอภาคกัน" อันนี้ง่ายๆ ใครๆ ก็รับรู้ได้

มาพูดคุยกันในแง่มุมงานออกแบบละกัน สถาปัตยกรรมตามภาพตัวอย่าง ย้ำนะครับแอดมินจะวิพากษ์จากภาพตัวอย่างที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ในส่วนของแบบสถานีรถไฟอุบลฯ อาคารใหม่ รูปแบบที่เห็นนอกจากจะไร้อัตลักษณ์ความเป็นอุบลฯ แล้ว งานออกแบบก็มักง่ายไม่มีความเข้าใจในงานสถาปัตย์อีสานแต่ประการใด ซุ้มอาคารใหญ่ที่ถูกออกแบบในภาพมันสะท้อนถึงงานสถาปัตย์แบบขอม (ซุ้มตัวปราสาทหิน) ซึ่งขัดกับอัตลักษณ์ของเมืองอุบลฯ ที่ต้องเป็นงานสถาปัตย์ล้านช้างจึงจะเชื่อมโยงความเป็นพื้นถิ่นได้ ลักษณะอาคารใหม่ เป็นอาคารโถงขนาดใหญ่ระดับพื้นดิน (ชั้นเดียว) มีการออกแบบสะพานข้ามชานชาลาไปยังชานชาลาที่ 1-8 ไว้ด้านใน แต่ลักษณะตัวอาคารก็ยังดูเชยๆ ตามสไตล์การรถไฟวรารามอยู่ดี ซึ่งดูทึบ ไม่โปร่ง อึดอัด ต่างกันอย่างมากกับสถานีบุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ที่ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบาย หายใจคล่องได้เต็มปอด งานสถาปัตย์ภาพรวมที่พยายามสื่อถึงการเชื่อมโยงกับสถานีเดิม มองเผินเหมือนจะสมเหตุสมผล..แต่จริงๆ แล้วมันคือความไม่ใส่ใจ พิถีพิถัน ความเข้าใจในงานสถาปัตย์ที่ถึงแม้ผู้คนจะวิจารณ์ วิพากษ์ รฟท.ขนาดไหน...แต่เสียงนั้นก็แค่เสียงนกเสียงกาของผู้บริหารมาตลอดหลายยุคสมัย โคตรเหนื่อใจ!

เพจ UBON NOW ในฐานะกระบอกเสียงของชาวอุบลฯ ก็มีความยินดีปรีดาที่โครงการรถไฟรางคู่ จิระ-อุบลฯ ผ่าน EIA เมื่อกลางปีที่แล้ว แต่นะ..ใครๆ ก็มีสิทธิ์คิดและวิจารณ์ได้ ก็ในเมื่อ "งานออกแบบ มันเหมือน 2 มาตรฐาน" ที่อื่นดูดี ดูสวย โดยเฉพาะบ้านท่านผู้ใหญ่ในกระทรวงราชรถ แต่พอหลุดมาบ้านเรา..แอดฯ ได้แต่อุทานว่า เห้ย...!! ทีบ้านกูออกแบบ เฮีย..จังเลยวะ !! คือมันอดคิดไม่ได้จริง จึงอยากจะให้ประชาคมชาวอุบลฯ ของเรา รวมพลัง แสดงออกทางความเห็นซิว่า ชอบ หรือไม่ชอบ หรือว่าคิดยังไงกับอาคารสถานีใหม่เมืองอุบลฯ ในครั้งนี้

อ่านโพสต์ต้นฉบับ คลิกที่นี่

ด้านชาวเน็ตต่างคอมเมนต์ดังนี้

- สถานีอุบลราชธานีวรมหาวิหาร

- สถานีการเปรียญ แห่เทียนเมืองอุบล

- คงทำไรไม่ได้มาก แบบมาจากส่วนกลาง เหมือนตอนศาลากลาง ช่วยกันออกแบบแค่ไหน เขาก็กางแบบส่วนกลาง

- คงงั้นแหละ เพราะสมองทุ่มใช้ไปแต่สถานีแรกๆ แล้ว ปลายทางเลยคิดไม่ออก น่าจะให้สถาปนิกท้องถิ่น เช่น ม.อุบลฯ ออกแบบให้ดีกว่านะ

- วัดหรือศาลาว่าการของจังหวัดครับ ยุคไหนแล้วเนี่ย

- ไม่สวยเลย ขอแบบบุรีรัมย์​ครับ

- ทาง รฟท.ควรศึกษาอัตลักษณ์ของเมืองอุบลฯ ก่อนออกแบบสถานี หรือให้ปราชญ์ท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวอุบลฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบสถานีรถไฟของเมืองอุบลฯ นะคะ ไม่ใช่คิดเองเออเอง แต่ละจังหวัดในภาคอีสานมีเอกลักษณ์เฉพาะจังหวัดไม่เหมือนกัน อย่าเหมารวมค่ะ

X

พรูอีซี่ แคร์ เบี้ยเริ่ม 22 บ./วัน
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่าย สูงสุด 100,000บ./ครั้ง ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้
สนใจคลิก
- ไม่มีการประชาพิจารณ์สานแนวคิดร่วมบริบทชุมชน...และสถาปนิกพื้นถิ่นที่เชี่ยวชาญ...ก็ตามใจ รฟท.เรื่อยมา

- กระทรวงคมนาคม 2 มาตรฐาน

- ใช้บริการแล้วได้อารมณ์เหมือนไปเลี้ยงเพลพระ

- ประชาชนเขาเหนื่อยใจกับผู้ว่าฯ การรถไฟ รมต.คมนาคม


เรื่องชวนบ่นจากสถานีปากช่องและ สถานีอุบลที่ยืนยันจะทำตามแบบเดิม
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/pfbid02T9nK137rTaqUYXGojwSxTa1RYxkGPWCVNC5f8DndLp9xtvSGGtKchsr8johudyhFl
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2022 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร
15 มิถุนายน 2565 14:57 น.

Arrow https://www.facebook.com/southernlinetrackdoublingproject/posts/3221128741475193

constructio ความก้าวหน้างานก่อสร้าง
😊👉สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล
ผู้รับจ้าง บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนี่ยริ่ง 1964 จำกัด
ผลงานถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565
แผนงานสะสม = 97.319%
ผลงานสะสม = 96.506 %
ช้ากว่าแผน = -0.813 %

😊👉สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน
ผู้รับจ้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
ผลงานถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565
แผนงานสะสม = 96.534 %
ผลงานสะสม = 94.903 %
ช้ากว่าแผน = 1.631 %

😊👉สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์
ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ผลงานถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565
แผนงานสะสม = 100.00%
ผลงานสะสม = 99.98 %
ช้ากว่าแผน = -0.02 %

😊👉สัญญาที่ 4 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เคเอส-ซี
ผลงานถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565
แผนงานสะสม = 87.941 %
ผลงานสะสม = 86.339 %
ช้ากว่าแผน = -1.602 %

😊👉สัญญาที่ 5 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เอสทีทีพี
ผลงานถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565
แผนงานสะสม = 100.00 %
ผลงานสะสม = 88.819 %
ช้ากว่าแผน = -11.181 %



ขร. ลงพื้นที่ติดตามงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายใต้
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เวลา 19:28 น.

เมื่อวันที่ 13 -14 มิถุนายน 2565 เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร โดยมีนายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรโครงการฯ ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานและบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างให้การต้อนรับ
สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร แบ่งเป็น 3 ช่วง 6 สัญญา ได้แก่
• ช่วงที่ 1 ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กิโลเมตร ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทาง 93 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างระดับพื้นทั้งหมด โดยมีสถานีสร้างใหม่ 15 สถานี สถานีอนุรักษ์ 2 สถานี และที่หยุดรถ 2 แห่ง รวมทั้งแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ โดยสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ (Overpass) 7 สะพาน สะพานกลับรถรูปตัวยู (U-Bridge) 23 สะพาน ทางลอดใต้ทางรถไฟอีก 2 แห่ง มีความคืบหน้าร้อยละ 96.487
Highlight ของสัญญานี้ คือ สะพานขึงรถไฟ (Extradosed Bridge) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งมีความยาว 160 เมตร และความสูง 16 เมตร โดยจะประกอบชิ้นส่วนสะพาน End segment 4 เมตรสุดท้าย ในวันที่ 24 มิ.ย. 2565 ซึ่งจะกลายเป็น Landmark ใหม่ของจังหวัดราชบุรี
สัญญา 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน ระยะทาง 76 กม. มีสถานีสร้างใหม่ 7 สถานี ปรับปรุงสถานีเดิม 2 สถานี และก่อสร้างสถานียกระดับ 1 สถานี คือ สถานีหัวหิน มีความคืบหน้าร้อยละ 94.898
Highlight ของสัญญานี้ คือ สถานีรถไฟยกระดับหัวหิน ซึ่งเป็นสถานีสไตล์วิกตอเรียแห่งเดียวในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการวางรางเข้าสู่ตัวสถานีแล้ว
• ช่วงที่ 2 ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กิโลเมตร (สัญญาที่ 3) ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มทะยอยเปิดให้บริการเดินรถในเส้นทางดังกล่าวแล้ว
• ช่วงที่ 3 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร ได้แก่
สัญญาที่ 4 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ระยะทาง 87 กิโลเมตร มีสถานีสร้างใหม่ 5 สถานี สถานีอนุรักษ์ 5 สถานี และที่หยุดรถ 5 แห่ง รวมทั้งมีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 1 แห่ง บริเวณสถานีนาผักขวง มีความคืบหน้าร้อยละ 86.339
สัญญาที่ 5 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 80 กิโลเมตร มีสถานีสร้างใหม่ 10 สถานี และที่หยุดรถ 3 แห่ง รวมทั้งมีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 1 แห่ง บริเวณสถานีสะพลี มีความคืบหน้าร้อยละ 88.485
สำหรับสัญญาที่ 6 งานระบบอาณัติสัญญาณฯ มีความคืบหน้าร้อยละ 29.15
ทั้งนี้ ขร. ขอขอบคุณการรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ อีกทั้งได้เร่งรัดผู้รับจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนภายในปี 2565 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนผู้ใช้บริการต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/324701203187682
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/06/2022 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

อัปเดทรถไฟทางคู่"มาบกะเบา-จิระ"เตรียมเปิดใช้ช่วง"สถานี ซับม่วง -คลองขนานจิตร"
เผยแพร่: 18 มิ.ย. 2565 14:45
ปรับปรุง: 18 มิ.ย. 2565 14:45
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

"กรมราง"ลงพื้นที่อัปเดทรถไฟทางคู่สายอีสาน "มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ"สัญญา1 คืบกว่า 94% ส่วน สัญญา 3 อุโมงคืบกว่า 91% เผยรฟท.เตรียมเปิดใช้ 3 สะถานีแรก จากซับม่วง -จันทึก -คลองขนานจิตร

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 135 กม.โดยมีนายกฤษดา มัชฌิมาภิโร วิศวกรกำกับการก่อสร้าง เขต 2 ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานและบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่

โดย รฟท. อยู่ระหว่างเตรียมเปิดการเดินรถทางคู่ในช่วงแรกตั้งแต่สถานีซับม่วง สถานีจันทึก และสถานีคลองขนานจิตร และจะทยอยเปิดเดินรถในช่วงอื่นๆ ตามความพร้อม

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ แบ่งเป็น 4 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ( กม.134+250-กม.198+200) ระยะทาง 58 กม.(เป็นโครงสร้างระดับพื้นดิน 30 กิโลเมตร และทางรถไฟยกระดับ ประมาณ 5 กิโลเมตร) มีความคืบหน้า 94.63%

โดยมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้างวงเงิน 7,560 ล้านบาท สัญญาเดิมเริ่มงานวันที่ 1 ก.พ. 2561 สิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. 2565 ขยายไปสิ้นสุดวันที่ 5 ธ.ค. 2565

โดยงานก่อสร้างบางส่วน เช่น สถานีมวกเหล็กใหม่ สถานีปางอโศก และทางยกระดับบริเวณอำเภอมวกเหล็ก ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สำหรับสถานีมวกเหล็กใหม่ เป็นสถานีขนาดกลาง ระดับดิน มีการออกแบบตามมาตรฐาน universal design รองรับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยออกแบบให้มีชานชาลายกระดับประมาณ 10 เมตรจากระดับพื้น มีความยาว 400 เมตร มีบันไดทางขึ้นลง และลิฟต์เพื่อบริการระหว่างชานชาลา up track และ down track ระบบการจำหน่ายบัตรโดยสารมี 2 ระบบ คือ ระบบจำหน่ายบัตรโดยสารปกติ และระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสถานีเป็นระบบปิด (มีระบบเครื่องกั้นเข้าออกในตัวสถานีคล้ายๆ กับรถไฟฟ้า) โดยสถานีมวกเหล็กเดิมจะปรับเป็นที่หยุดรถ

สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ (กม.199+600-กม.268+136) ระยะทาง 69 กม.รฟท. อยู่ระหว่างการปรับแบบร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ จำนวน 3 อุโมงค์ ระยะทาง 5 กม. ค่าก่อสร้าง 9,290 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ที เป็นผู้รับจ้าง มีความคืบหน้า 91.057 % โดยมีการขยายสัญญาก่อสร้าง จากเดิมสัญญาสิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. 2564 ออกไปสิ้นสุดวันที่ 27 ก.ย. 2565

โดยอุโมงค์ที่ 1 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบา สถานีผาเสด็จ และสถานีหินลับ จังหวัดสระบุรี มีลักษณะเป็นอุโมงค์คู่ ทางเดี่ยว มีความกว้างประมาณ 7.50 เมตร สูงประมาณ 8.50 เมตร และยาวประมาณ 5.20 กิโลเมตร ถือเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันมีความคืบหน้า 80 %

อุโมงค์ที่ 2 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีหินลับ และสถานีมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีความยาว 250 เมตร ปัจจุบันมีความคืบหน้า 98 %

และอุโมงค์ที่ 3 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีคลองขนานจิตร อำเภอปากช่อง และสถานีคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีความยาวประมาณ 1.17 กิโลเมตร มีความคืบหน้า 81%

สัญญาที่ 4 ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ทั้งโครงการวงเงิน 2,445 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าอิตาเลียนไทยฯ-LSIS เป็นก่อสร้าง มีความคืบหน้า 12.671%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2022 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อัปเดทรถไฟทางคู่"มาบกะเบา-จิระ"เตรียมเปิดใช้ช่วง"สถานี ซับม่วง -คลองขนานจิตร"
เผยแพร่: วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:45 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:45 น.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดูที่นี่ก็ได้ครับ
รฟท. เตรียมเปิดเดินรถไฟทางคู่ช่วงแรกสถานีซับม่วง-สถานีจันทึก-สถานีคลองขนานจิตร
https://news.ch7.com/detail/577076

รถไฟทางคู่ สายอีสานจะพร้อมเปิดให้บริการในปีนี้กี่สถานี?
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:23 น.

คืบหน้าสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 12:56 น.

อัพเดท 4สัญญา รถไฟทางคู่ สายอีสาน ‘มาบกะเบา-จิระ’ คืบ ทะลุ90%ใกล้ได้ใช้ทาง
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:35 น.

อัพเดท 4สัญญา ทางคู่ สายอีสาน ‘มาบกะเบา-จิระ’ คืบกว่า 90%ใกล้เปิดใช้เส้นทาง ขร. ลงพื้นที่ติดตามงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายอีสาน อย่างใกล้ชิด เตรียมเปิดใช้เส้นทางโดยเร็ว

“กรมราง” ลงพื้นที่ติดตามงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 2.99 หมื่นล้านบาท ทั้ง 4 สัญญา ขณะที่สัญญา 2 ติดปรับแบบร่วมโครงสร้างไฮสปีดไทย-จีน

กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ติดตามงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ล่าสุดสัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร คืบหน้าแล้วกว่า 94%

วันนี้ (18 มิ.ย.65) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ รวม 4 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (เป็นโครงสร้างระดับพื้นดิน 30 กิโลเมตร และทางรถไฟยกระดับ ประมาณ 5 กิโลเมตร) มีความคืบหน้าร้อยละ 94.63 โดยงานก่อสร้างบางส่วน เช่น สถานีมวกเหล็กใหม่ สถานีปางอโศก และทางยกระดับบริเวณอำเภอมวกเหล็ก ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสถานีมวกเหล็กใหม่ เป็นสถานีขนาดกลาง ระดับดิน มีการออกแบบตามมาตรฐาน universal design รองรับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยออกแบบให้มีชานชาลายกระดับประมาณ 10 เมตรจากระดับพื้น มีความยาว 400 เมตร มีบันไดทางขึ้นลง และลิฟต์เพื่อบริการระหว่างชานชาลา up track และ down track ระบบการจำหน่ายบัตรโดยสารมี 2 ระบบ คือ ระบบจำหน่ายบัตรโดยสารปกติ และระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสถานีเป็นระบบปิด (มีระบบเครื่องกั้นเข้าออกในตัวสถานีคล้ายๆ กับรถไฟฟ้า) โดยสถานีมวกเหล็กเดิมจะปรับเป็นที่หยุดรถ

สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ รฟท. อยู่ระหว่างการปรับแบบร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

เช็กมติครม.! เวนคืนที่ดิน 5 จว.สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
อัปเดตความคืบหน้ารถไฟทางคู่สายใต้ก่อสร้างเสร็จเกือบ 100% เตรียมเปิดเดินรถบางช่วง
รู้หรือไม่? เทคโนโลยีรถไฟที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกมีชื่อว่าอะไร?

สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ จำนวน 3 อุโมงค์ มีความคืบหน้าร้อยละ 91.057 โดยอุโมงค์ที่ 1 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบา สถานีผาเสด็จ และสถานีหินลับ จังหวัดสระบุรี มีลักษณะเป็นอุโมงค์คู่ ทางเดี่ยว มีความกว้างประมาณ 7.50 เมตร สูงประมาณ 8.50 เมตร และยาวประมาณ 5.20 กิโลเมตร ถือเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 80

ส่วนอุโมงค์ที่ 2 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีหินลับ และสถานีมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีความยาว 250 เมตร ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 98

และอุโมงค์ที่ 3 ตั้งอยู่ระหว่างสถานีคลองขนานจิตร อำเภอปากช่อง และสถานีคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีความยาวประมาณ 1.17 กิโลเมตร มีความคืบหน้าร้อยละ 81

สัญญาที่ 4 ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม มีความคืบหน้าร้อยละ 12.671 โดย รฟท. เตรียมเปิดการเดินรถทางคู่ในช่วงแรกตั้งแต่สถานีซับม่วง สถานีจันทึก และสถานีคลองขนานจิตร และจะทยอยเปิดเดินรถในช่วงอื่นๆ ตามความพร้อม

อย่างไรก็ตาม รฟท. คาดว่าในเบื้องต้นจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถทางคู่ช่วงแรก ตั้งแต่สถานีซับม่วง สถานีจันทึก และสถานีคลองขนานจิตร ได้ภายในปี 65 จากนั้นจะทยอยเปิดให้บริการเดินรถสถานีอื่นๆ ในช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ได้ภายในปี 66 ส่วนช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ จะก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 68 เปิดให้บริการปี 69



ภาพจาก : พีอาร์ กรมการขนส่งทางราง

ข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางราง

ภาพจาก : พีอาร์ กรมการขนส่งทางราง

https://www.tnnthailand.com/news/wealth/117018/
https://www.facebook.com/100069434130040/posts/327291902928612/?d=n
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/575592580684647


Last edited by Wisarut on 27/06/2022 10:45 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2022 7:41 am    Post subject: Reply with quote

‘การรถไฟฯ’ แจงออกแบบสถานีรถไฟ ‘อุบลฯ’ อาคารใหม่ หวังให้สอดคล้องสถานีเดิม ชี้ ปชช.มีส่วนร่วมก่อนสรุปแบบตั้งแต่ เม.ย. 59
Last updated 18 มิถุนายน 2565

“การรถไฟฯ” แจงออกแบบสถานีรถไฟ “อุบลฯ” ในโครงการทางคู่ “ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ” ชี้ ปชช. มีส่วนร่วมก่อนเคาะสรุปออกแบบตั้งแต่ เม.ย. 59 เผยแบบสถานีใหม่ให้สอดคล้องสถานีเดิม ยันเพื่อให้ภาพรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันใน พร้อมใช้สัญลักษณ์ “ดอกบัว” มาประยุกต์ใช้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่โลกโซเชียล ได้มีการแชร์ภาพการออกแบบสถานีรถไฟใหม่ ในโครงการรถไฟทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 307 กิโลเมตร (กม.) โดยมีการเปรียบเทียบการออกแบบสถานีหลักของโครงการฯ คือ สถานีอุบลราชธานี, สถานีบุรีรัมย์ และสถานีศรีสะเกษว่า สถานีอุบลราชธานีมีการออกแบบที่แตกต่างไปจากสถานีอื่นๆ ไม่มีความใส่ใจในการออกแบบ และมีรูปแบบเชย ล้าสมัยนั้น (ข้อมูลประกอบจากเพจ UBON NOW : https://www.facebook.com/1512837285641732/posts/3170037476588363/)


สถานีอุบลราชธานี
ล่าสุด รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ออกมาระบุว่า สถานีอุบลราชธานี เป็นสถานีขนาดใหญ่ ที่ถูกกำหนดให้อยู่ที่ระดับดินเนื่องจากเป็นสถานีปลายทางและเป็นย่านสำหรับการจัดขบวนรถและซ่อมบำรุง ในขั้นตอนการออกแบบ พิจารณาใช้อาคารสถานีเดิม เนื่องจาก อาคารสถานีเดิมมีสภาพที่ดีและมีรูปแบบที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่อาคารสถานีเดิมมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น

โดยจากการก่อสร้างเป็นทางคู่ได้ จึงกำหนดแนวคิดของการออกแบบสถานีอุบลราชธานีเป็นการปรับปรุงอาคารสถานีเดิม และจัดพื้นที่ใช้สอยภายในใหม่ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ร่วมกันกับการก่อสร้างอาคารสถานีใหม่


ภายในสถานีอุบลราชธานี
ทั้งนี้ อาคารสถานีเดิมกำหนดใช้เป็นพื้นที่สำหรับส่วนงานของ รฟท. ส่วนอาคารใหม่ถูกออกแบบให้อยู่ด้านข้างอาคารสถานีเดิม ออกแบบเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีลิฟต์และบันไดเลื่อน เน้นฟังก์ชั่น เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร แบ่งเป็น

ชั้น 1 เป็นพื้นที่ขายตั๋ว ห้องน้ำ ร้านค้า ห้องประชุม ห้องปฐมพยาบาล พื้นที่พักคอย
ชั้น 2 เป็นพื้นที่พักคอย ห้องน้ำ ห้องพักคอยสำหรับ VIP
ชั้น 3 เป็นทางเดินเชื่อมออกไปยังสะพานลอย เชื่อมชานชาลา
การออกแบบอาคารส่วนเพิ่มเติมนี้ กำหนดให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอาคารสถานีเดิม เพื่อให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภาพรวม โดยการนำดอกบัว ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบทางเข้าอาคารด้วย”


สถานีอุบลราชธานี
รายงานข่าวจากการรถไฟฯ ระบุอีกว่า ภาพมุมมองสามมิติ (Perspective) ของอาคารสถานีรถไฟอุบลราชธานีใหม่ที่สื่อออนไลน์ได้นำไปเผยแพร่นั้น อยู่ในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ได้จัดทำขึ้นในช่วงของการจัดทำร่างแบบในช่วงประมาณ ก.พ. 2559 ซึ่งเป็นภาพในช่วงของการศึกษารูปแบบด้านสถาปัตยกรรมของอาคารสถานีใหม่

ขณะเดียวกัน ต่อมาเมื่อมีการปรับแก้ไขตามกระบวนการที่เปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีการพัฒนาเป็นแบบรายละเอียดฉบับสุดท้ายแล้วเสร็จ โครงการฯ ได้พัฒนาเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ปรากฎดังภาพมุมมองสามมิติ (Perspective) ของอาคารสถานีรถไฟอุบลราชธานีใหม่ในช่วง เม.ย. 2559
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2022 11:57 am    Post subject: Reply with quote

“กรมราง” เร่งสปีดสร้าง 7 รถไฟทางคู่เฟส1-เฟส2
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 19 มิ.ย. 2565 เวลา 14:59 น.

“กรมราง” ติดตามคืบหน้าสร้างรถไฟทางคู่เฟส 1 ขณะที่แผนสร้างรถไฟทางคู่เฟส2 ช่วงขอนแก่น – หนองคาย เล็งชงครม.ไฟเขียว สั่งรฟท.เร่งชงคมนาคมเคาะสร้างทางคู่เพิ่ม 2 เส้นทาง ภายในปีนี้

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการรถไฟระหว่างเมือง ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการขนส่งทางราง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ

สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีความคืบหน้าของสถานะโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่

1.ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร มีความคืบหน้า 94.50% สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างปรับแบบและจัดทำรายงานแนวทางการก่อสร้าง และผลกระทบ และสัญญาที่ 3 อุโมงค์รถไฟ มีความคืบหน้า 90.918%

2.ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม มีความคืบหน้า 73.11% และสัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ มีความคืบหน้า 72.81%

3.ช่วงนครปฐม - หัวหิน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล มีความคืบหน้า 96.485% และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน มีความคืบหน้า 94.896% ทั้งนี้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จนั้น ส่งผลให้โครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นจากเดิม 543 กิโลเมตร เป็น 627 กิโลเมตร คิดเป็น 15.50%

4.ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร สัญญาที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย มีความคืบหน้า 86.124% และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร มีความคืบหน้า 88.210%

ส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟทางสายใหม่ ช่วงเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ เห็นชอบหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2565

ขณะที่ช่วงบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างภายในเดือนมิถุนายน 2565

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ส่วนการเสนอขออนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ปัจจุบันได้รับความเห็นจากทั้ง 3 หน่วยงานแล้ว (กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) โดยในขั้นตอนต่อไป กระทรวงคมนาคมจะประมวลนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป

ทั้งนี้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี และช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้มีข้อสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งนำเสนอขออนุมัติโครงการ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลและจะนำเสนอตามขั้นตอน คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อขออนุมัติโครงการได้ภายในปี 2565

“มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางและนำความเห็นที่ประชุมไปบูรณาการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/06/2022 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
21 มิ.ย. 65 12:23 น.

https://www.facebook.com/lopburipaknampho/posts/1004455883600167

constructio อัพเดตความก้าวหน้าโครงการ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565
สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ
ความก้าวหน้าสะสม = 72.95 %
แผนงานสะสม = 99.14 %
ช้ากว่าแผนงาน = -26.19 %
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.doubletrack-lopburipaknampho.com
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42622
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2022 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘การรถไฟฯ’ แจงออกแบบสถานีรถไฟ ‘อุบลฯ’ อาคารใหม่ หวังให้สอดคล้องสถานีเดิม ชี้ ปชช.มีส่วนร่วมก่อนสรุปแบบตั้งแต่ เม.ย. 59
Last updated 18 มิถุนายน 2565

“การรถไฟฯ” แจงออกแบบสถานีรถไฟ “อุบลฯ” ในโครงการทางคู่ “ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ” ชี้ ปชช. มีส่วนร่วมก่อนเคาะสรุปออกแบบตั้งแต่ เม.ย. 59 เผยแบบสถานีใหม่ให้สอดคล้องสถานีเดิม ยันเพื่อให้ภาพรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันใน พร้อมใช้สัญลักษณ์ “ดอกบัว” มาประยุกต์ใช้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่โลกโซเชียล ได้มีการแชร์ภาพการออกแบบสถานีรถไฟใหม่ ในโครงการรถไฟทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 307 กิโลเมตร (กม.) โดยมีการเปรียบเทียบการออกแบบสถานีหลักของโครงการฯ คือ สถานีอุบลราชธานี, สถานีบุรีรัมย์ และสถานีศรีสะเกษว่า สถานีอุบลราชธานีมีการออกแบบที่แตกต่างไปจากสถานีอื่นๆ ไม่มีความใส่ใจในการออกแบบ และมีรูปแบบเชย ล้าสมัยนั้น (ข้อมูลประกอบจากเพจ UBON NOW : https://www.facebook.com/1512837285641732/posts/3170037476588363/)


การรถไฟฯ ชี้แจงภาพของแบบอาคารสถานีรถไฟอุบลราชธานีที่มีการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์นั้นเป็นภาพเก่า ปัจจุบันได้มีการออกแบบใหม่แล้ว โดยยึดหลักมีอัตลักษณ์สวยงาม ทันสมัย และอำนวยความสะดวกให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันอังคาร ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 15:37 น.

กรณีสื่อสังคมออนไลน์ได้นำเสนอรูปภาพสถานีรถไฟอุบลราชธานี ในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี โดยระบุว่าเป็นการออกแบบที่ไม่ทันสมัยนั้น ศูนย์ประชาสัมพันธ์
การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงว่า ภาพสถานีอุบลราชธานี ในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ที่สื่อออนไลน์ได้นำไปเผยแพร่นั้น เป็นภาพเก่า ซึ่งการรถไฟฯ ได้จัดทำขึ้นในช่วงของการจัดทำร่างแบบเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2559 โดยขณะนั้นยังเป็นภาพมุมมองสามมิติ (Perspective) ไม่ได้มีการลงรายละเอียด ด้านสถาปัตยกรรมของอาคารสถานีแต่อย่างใด
โดยต่อมาการถไฟฯ ได้ดำเนินการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารสถานีขึ้นใหม่โดยเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ซึ่งเมื่อมีการปรับแบบแล้ว ทำให้แบบการก่อสร้าง และปรับปรุงอาคารสถานีอุบลราชธานี มีความทันสมัยและคงอัตลักษณ์ประจำจังหวัดที่สวยงาม ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า โดยได้จัดทำแบบเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในรายละเอียดของการจัดทำแบบสถานีอุบลราชธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี การรถไฟฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นสถานีขนาดใหญ่ ที่ถูกกำหนดให้อยู่ที่ระดับดินเนื่องจากเป็นสถานีปลายทางและเป็นย่านสำหรับการจัดขบวนรถและซ่อมบำรุง ในขั้นตอนการออกแบบจึงดำเนินการด้วยความพิถีพิถัน ใส่ใจในทุกรายละเอียด โดยมีการดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือการปรับปรุงอาคารสถานีเดิม และการก่อสร้างอาคารสถานีใหม่
- อาคารสถานีเดิม ที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด ไม่เพียงพอรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นจากการก่อสร้างเป็นทางคู่ในอนาคต แต่ด้วยสภาพอาคารสถานีที่ยังมีความสมบูรณ์แข็งแรง และมีรูปแบบที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ การรถไฟฯ จึงกำหนดแนวคิดของการออกแบบ ให้มีการปรับปรุง และจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารสถานีใหม่ ให้มีความเหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ส่วนงานของการรถไฟฯ
- อาคารแห่งใหม่ ได้ออกแบบก่อสร้างให้อยู่ด้านข้างอาคารสถานีเดิม โดยสร้างเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีลิฟต์และบันไดเลื่อน เน้นฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการและอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย
ชั้น 1 เป็นพื้นที่ขายตั๋ว ห้องน้ำ ร้านค้า ห้องประชุม ห้องปฐมพยาบาล พื้นที่พักคอย
ชั้น 2 เป็นพื้นที่พักคอย ห้องน้ำ ห้องพักคอยสำหรับ VIP
ชั้น 3 เป็นทางเดินเชื่อมออกไปยังสะพานลอย เชื่อมชานชาลา
สำหรับการออกแบบอาคารส่วนเพิ่มเติมนี้ ยังกำหนดให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอาคารสถานีเดิมเพื่อให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภาพรวม โดยการนำดอกบัวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบทางเข้าอาคารด้วย
“การรถไฟฯ ขอย้ำว่า พร้อมรับฟังความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงโครงการลงทุนและการให้บริการในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน และครอบคลุมครบถ้วน โดยคำนึงถึงความทันสมัย คงอัตลักษณ์ประจำจังหวัดที่สวยงาม ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของการให้บริการต่อประชาชนเป็นสำคัญ”

รฟท.เคลียร์ดราม่าแผนออกแบบรถไฟทางคู่-สถานีรถไฟอุบลฯ
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 19:55 น.

รฟท.แจงแผนออกแบบอาคารสถานีรถไฟอุบลราชธานี 1 ในโปรเจ็กต์รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ยันเป็นแบบเก่า เร่งปรับแบบสร้างอาคารใหม่ ยึดอัตลักษณ์สวยงาม-ทันสมัย หวังอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กรณีมีกระแสถึงรูปภาพสถานีรถไฟอุบลราชธานี ในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เป็นการออกแบบที่ไม่ทันสมัยนั้น ทางรฟท.ยืนยันเป็นภาพเก่า ซึ่งได้จัดทำขึ้นในช่วงของการจัดทำร่างแบบเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2559 โดยขณะนั้นยังเป็นภาพมุมมองสามมิติ (Perspective) ไม่ได้มีการลงรายละเอียด ด้านสถาปัตยกรรมของอาคารสถานีแต่อย่างใด

ที่ผ่านมารฟท.ได้ดำเนินการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารสถานีขึ้นใหม่โดยเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ซึ่งเมื่อมีการปรับแบบแล้ว ทำให้แบบการก่อสร้าง และปรับปรุงอาคารสถานีอุบลราชธานี มีความทันสมัยและคงอัตลักษณ์ประจำจังหวัดที่สวยงาม ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า โดยได้จัดทำแบบเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา

สำหรับรายละเอียดของการจัดทำแบบสถานีอุบลราชธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี การรถไฟฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นสถานีขนาดใหญ่ ที่ถูกกำหนดให้อยู่ที่ระดับดินเนื่องจากเป็นสถานีปลายทางและเป็นย่านสำหรับการจัดขบวนรถและซ่อมบำรุง ในขั้นตอนการออกแบบจึงดำเนินการด้วยความพิถีพิถัน ใส่ใจในทุกรายละเอียด โดยมีการดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือการปรับปรุงอาคารสถานีเดิม และการก่อสร้างอาคารสถานีใหม่


1.อาคารสถานีเดิม ที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด ไม่เพียงพอรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นจากการก่อสร้างเป็นทางคู่ในอนาคต แต่ด้วยสภาพอาคารสถานีที่ยังมีความสมบูรณ์แข็งแรง และมีรูปแบบที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ การรถไฟฯ จึงกำหนดแนวคิดของการออกแบบ ให้มีการปรับปรุง และจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารสถานีใหม่ ให้มีความเหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ส่วนงานของการรถไฟฯ

2. อาคารแห่งใหม่ ได้ออกแบบก่อสร้างให้อยู่ด้านข้างอาคารสถานีเดิม โดยสร้างเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีลิฟต์และบันไดเลื่อน เน้นฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการและอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย ชั้น 1 เป็นพื้นที่ขายตั๋ว ห้องน้ำ ร้านค้า ห้องประชุม ห้องปฐมพยาบาล พื้นที่พักคอย ชั้น 2 เป็นพื้นที่พักคอย ห้องน้ำ ห้องพักคอยสำหรับ VIP ชั้น 3 เป็นทางเดินเชื่อมออกไปยังสะพานลอย เชื่อมชานชาลา



นอกจากนี้การออกแบบอาคารส่วนเพิ่มเติม ยังกำหนดให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอาคารสถานีเดิมเพื่อให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภาพรวม โดยการนำดอกบัวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบทางเข้าอาคารด้วย


“รฟท. พร้อมรับฟังความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงโครงการลงทุนและการให้บริการในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน และครอบคลุมครบถ้วน โดยคำนึงถึงความทันสมัย คงอัตลักษณ์ประจำจังหวัดที่สวยงาม ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของการให้บริการต่อประชาชนเป็นสำคัญ”


Last edited by Wisarut on 23/06/2022 5:42 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 328, 329, 330 ... 388, 389, 390  Next
Page 329 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©