RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180635
ทั้งหมด:13491870
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/09/2014 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชง "ครม.ตู่" อนุมัติลงทุนรถไฟทางคู่-รถไฟฟ้า มูลค่า 5 แสนล้าน คาดอีก 3 เดือนเริ่มประมูล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 16 ก.ย. 2557 เวลา 15:05:42 น.

ปลัดคมนาคมจี้การรถไฟทำแผนปฎิบัติการระบบราง เร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 สายใหม่ รถไฟฟ้าสายสีแดงสายเก่าและสายใหม่ ตั้งแท่นชง "ครม.ตู่" เคาะเร็ว ๆ นี้ คาด 3 เดือนเห็นความชัดเจน

ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปจัดทำแผนปฎิบัติการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าสายสีแดงที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ฟ.ท. เพื่อเตรียมโครงการให้พร้อมเพื่อนำเสนอให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

โดยให้ทำกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจนว่าจะเริ่มเมื่อไหร่และแล้วเสร็จปีไหน เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าสอดรับกับนโยบายของยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไปเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา

สำหรับรถไฟทางคู่จะเร่ง 5 สายระยะเร่งด่วนก่อน สายแรกที่จะขออนุมัติจาก ครม.และเริ่มกระบวนการประมูลได้ภายในสิ้นปี 2557 นี้ ได้แก่
สายจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาท จากนั้นเป็น
สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ คาดว่าจะสามารถดำเนินการในเร็ว ๆ นี้

ส่วนที่เหลือ 3 สาย รอการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะเริ่มต้นได้ในปี 2558 ได้แก่
สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทา 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบาท
สายมาบกระเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท
สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท

ส่วนสายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,437 ล้านบาท ได้งบศึกษาเพื่อเร่งออกรายละเอียดแล้วจะใช้เวลาดำเนินการ 1 ปีนับจากนี้


นางสร้อยทิพย์กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าของ ร.ฟ.ท.ให้เร่งรัดสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง 26 กิโลเมตรให้เร่งก่อสร้างหลังจากที่ ครม.อนุมัติค่าก่อสร้างเพิ่มเติมให้แล้ว จำนวน 8,140 ล้านบาท ล่าสุดได้นำเรื่องเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว

นอกจากนี้เตรียมจะนำโครงการใหม่เสนอให้ ครม.พิจารณาเร็ว ๆ นี้ ได้แก่
สายบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน (Missing Link) ระยะทาง 25.5 กิโลเมตร วงเงิน 38,955 ล้านบาท
สายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์จากพญาไท-สนามบินดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร วงเงิน 31,104 ล้านบาท

อีกทั้งให้ ร.ฟ.ท.เร่งเตรียมโครงการต่อขยายรถไฟสายสีแดงจากรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 10 กิโลเมตร วงเงิน 6,018 ล้านบาท เสนอมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเสนอให้รัฐมนตรีและ ครม.อนุมัติต่อไป

ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวอีกว่า ขณะที่รถไฟฟ้าสายใหม่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นอกจากสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตรที่กำลังประมูลก่อสร้าง คาดว่าเร็ว ๆ นี้จะนำเสนอให้ ครม.พิจารณา ได้แก่
สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 56,691 ล้านบาท
สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 54,644 ล้านบาท

ส่วนสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 110,117 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

"ภายใน 3 เดือนจากนี้ โครงการระบบรางที่พร้อมคาดว่าจะเห็นความคืบหน้าและมีการเริ่มต้นได้ทั้งการอนุมัติจาก ครม.และเริ่มกระบวนประมูลก่อสร้าง" ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2014 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมชง "ครม.ตู่" อนุมัติลงทุนรถไฟทางคู่-รถไฟฟ้า มูลค่า 5 แสนล้าน คาดอีก 3 เดือนเริ่มประมูล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 16 ก.ย. 2557 เวลา 15:05:42 น.


คมนาคมไขลานรถไฟไทย
เดลินิวส์
วันอังคาร 16 กันยายน 2557 เวลา 19:54 น.

ปลัดคมนาคม สั่งทำกรอบลงทุนรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และแผนกู้วิกฤต ให้ประจินเวิร์กชอปใหญ่ หลังส่อวิกฤตขาดแคลนวิศวกร –ผู้บริหาร พร้อมแยกแอร์พอร์ตลิงค์

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งสรุปแผนและกรอบเวลาการลงทุนโครงการต่าง ๆ ของรถไฟ รวมถึงติดตามการทำแผนฟื้นฟูวิกฤตในทุกด้าน เพื่อนำเสนอให้กระทรวงฯ และเข้าที่ประชุมเชิงปฏิบัติการการคมนาคมทางบก (เวิร์กช้อป) กับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และ ผบ.ทอ. ก่อนนำเสนอให้ ครม.เห็นชอบ

ทั้งนี้ โครงการที่ ร.ฟ.ท.เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วมี 3 โครงการ ได้แก่ ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 6.5 กม. ช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19 กม. และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. ส่วนช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 10 กม. รวมถึงการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14 กม.ได้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ส่วนรถไฟทางคู่ ร.ฟ.ท.ได้ส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว 1 โครงการ คือ เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม.ก็จะนำเสนอให้ รมว.คมนาคม พิจารณา ขณะที่อีก 5 เส้นทาง อยู่ระหว่างทำอีไอเอ สำหรับการปรับแบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต กระทรวงฯ ได้เสนอเลขา ครม.เพื่อรอเสนอ ครม.แล้ว

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า พร้อมกันนี้ ยังให้ ร.ฟท.เร่งปรับปรุงรายละเอียดแผนฟื้นฟูองค์กรเพื่อเสนอกับมา โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สิน บุคลากร การปรับปรุงโครงสร้างภายใน และการแบ่งแยกทรัพย์สินระหว่าง ร.ฟ.ท.กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ให้ชัด เนื่องจากต่อไป ร.ฟ.ท.จะเผชิญปัญหาขาดแคลนพนักงานทั้งสายวิชาชีพ และสายปฏิบัติอย่างหนัก โดยฝ่ายวิศวกรจะขาดหายไปมาก รวมถึงฝ่ายบริหารที่ปีหน้าจะมีรองผู้ว่าการฯ เกษียณออกเกือบหมด ขณะที่ฝ่ายปฏิบัติการก็รับได้แค่เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น

“ร.ฟ.ท.จะต้องไปจัดทำแผนกำลังคนให้ชัดว่าจะขาดแคลนเท่าไร รวมถึงมีแผนพัฒนาคนอย่างไรไม่ให้ขาดช่วง ตลอดจนทำแผนรอบรับการปรับปรุงระเบียบการเบิกจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ ซึ่งผู้เกษียณอยากเบิกใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเสียชีวิตถึงมอบให้ทายาท ซึ่งอาจต้องทำให้ใช้เงินส่วนนี้ได้เพิ่มถึง 2,000 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องไปเตรียมมาให้พร้อม”

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง ได้ส่งเรื่องถึงกระทรวงคมนาคมแล้ว ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 20 กม. ยังไม่สามารถนำเสนอ ครม.ได้ เพราะ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังไม่ส่งเรื่องเข้ามาให้ สนข.พิจารณา

//-------------------------------
คมนาคม เตรียมเสนอ ครม.ชงแผนรถไฟทางคู่
Voice TV
16 กันยายน 2557 เวลา 17:17 น.

ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งรัดหน่วยงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน สรุปแผนความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้า เสนอคณะรัฐมนตรี

ในการประชุมร่วมกับผู้บริหาร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมได้ทำความเข้าใจในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง โดยได้มอบหมายให้ ร.ฟ.ท.เตรียมข้อมูลโครงการรถไฟทางคู่ 6 สายทาง ขนาดราง 1 เมตร ระยะทาง 887 กิโลเมตร ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานของ คสช. รวมทั้งเร่งนำเสนอโครงการระบบรางที่มีความพร้อม เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติประกวดราคา ได้แก่

1. โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทาง จิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 2 หมื่น 6 พัน 7 ล้านบาท
2. รถไฟสายสีแดง Missing Link ขนาดรางกว้าง 1 เมตร
2.1 ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร และ
2.2 ช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร วงเงินรวม 3 หมื่น 9 พันล้านบาท

3. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร วงเงิน 3 หมื่น 1 พันล้านบาท

ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. นั้น สนข.ได้สรุปข้อมูล เสนอมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว 2 สาย ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 5 หมื่น 6 พันล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 5 หมื่น 4 พันล้านบาท

ส่วนของแผนฟื้นฟูที่กระทรวงคมนาคม ขอให้ ร.ฟ.ท. จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้ชัดเจน โดยเฉพาะหนี้สิน และบุคลากรเฉพาะด้านวิชาชีพ หรือวิศวกร เพื่อนำเสนอต่อซุปเปอร์บอร์ดต่อไป

//---------------------

คมนาคมเตรียมชง ครม.อนุมัติประมูลรถไฟสีแดง, ทางคู่, รถไฟฟ้ารวมกว่า 2 แสนล้านในปีนี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2557 15:37 น.


“ปลัดคมนาคม” เผยเตรียมสรุป 5 โครงการระบบราง ชง “ประจิน” เห็นชอบ เพื่อเสนอ ครม.ขออนุมัติประกวดราคาภายในปีนี้ วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.06 แสนล้าน ทั้งรถไฟฟ้าสีชมพู, สีเหลือง และรถไฟสายสีแดง Missing Link และแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อมดอนเมือง ส่วนรถไฟทางคู่ จิระ-ขอนแก่นผ่าน EIA พร้อมประมูล จี้ ร.ฟ.ท.เร่งทำแผนรายละเอียดและกรอบเวลาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมชงคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานและ Work Shop ร่วม รมว.คมนาคม

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วันนี้ (16 ก.ย.) ว่า ได้ทำความเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติงานและเตรียมพร้อมใช้ข้อมูลสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งในส่วนของ ร.ฟ.ท.จะต้องรับผิดชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ในการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ 6 สายทาง ขนาดราง 1 เมตร ระยะทาง 887 กิโลเมตร ซึ่ง ร.ฟ.ท.รวบรวมรายละเอียดการทำงานทั้งหมดรวมถึงกรอบเวลาต้องมีกรอบเวลาในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานที่ คสช.ตั้งไว้

โดยขณะนี้โครงการระบบรางที่มีความพร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติประกวดราคาแล้วรวม 5 โครงการ วงเงินรวมประมาณ 2.06 แสนล้านบาท โดยในส่วนของ ร.ฟ.ท. ประกอบด้วย 1. โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทาง จิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.ได้เสนอมาที่กระทรวงคมนาคมเพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติประกวดราคาต่อไป 2. รถไฟสายสีแดง Missing Link ขนาดรางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร วงเงินรวม 3.9 หมื่นล้านบาท 3. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง)-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง (แอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย) ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท
ส่วนรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น ทาง สนข.ได้สรุปเสนอมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว 2 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท

สำหรับรถไฟทางคู่ที่เหลืออีก 4 เส้นทาง คือ มาบกะเบา-จิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท, ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท, นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบา อยู่ในขั้นตอนของผู้ชำนาญการ เตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (สผ.) ชุดใหญ่, ประจวบ-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท รออนุมัติ สิ่งแวดล้อม ส่วน หัวหิน-ประจวบฯ ระยะทาง 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,437 ล้านบาท ได้รับงบประมาณสำหรับการออกแบบรายละเอียดเพื่อเติมเต็มโครงข่ายทั้ง 6 เส้นทางให้ต่อเชื่อมกัน

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า นอกจากโครงการก่อสร้างต่างๆ แล้ว ร.ฟ.ท.ยังต้องเร่งสรุปแผนฟื้นฟู ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ให้ ร.ฟ.ท.ไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้ชัดเจน ในแต่ละเรื่อง เช่น หนี้สิน บุคลากร แผนงานโครงการ แผนงานภายใน และการแยกอำนาจบริหารและการแบ่งทรัพย์สินระหว่าง ร.ฟ.ท. กับแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งต้องเร่งนำเสนอกลับมาเพื่อเสนอต่อซูเปอร์บอร์ดต่อไป รวมถึงเรื่องบำเหน็จดำรงชีพที่รัฐบาลมีมติให้ผู้ที่เกษียณอายุได้รับแต่ไม่เกิน 2 แสนบาทในสัดส่วน 50% จากที่เป็นบำเหน็จตกทอด ซึ่งในส่วนของ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างออกข้อบังคับและรอ กนร.เห็นชอบ เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องไปดูว่ามีงบประมาณพร้อมแค่ไหน

“ร.ฟ.ท.มีการบ้านที่ต้องทำมาก ซึ่งเรื่องสำคัญที่ให้ไปวางแผนคือ การสร้างบุคลากรโดยเฉพาะด้านวิชาชีพ หรือวิศวกร เพื่อรองรับการเติบโตและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางตามนโยบายซึ่งต้องการบุคลากรเฉพาะทางจำนวนมาก ที่ผ่านมาอัตรากำลังรถไฟลดลงเพราะติดมติ ครม.ปี 2543 ที่ห้ามรับพนักงานเพิ่มทำให้ต้องจ้างแรงงานภายนอก (Outsource) จำนวนมาก” นางสร้อยทิพย์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2014 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอน 3) : 125 ปีสร้างรางได้ 4,430 กม. – ปี 2554 มีถนน 463,795 กม. มากกว่าทางรถไฟเกิน 100 เท่า
Thai Publica
8 กันยายน 2557

นับตั้งแต่ก่อตั้งกรมรถไฟหลวง (รฟล.) ในปี 2433 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 125 ปี ประเทศไทยมีทางรถไฟจากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมทั้งสิ้น 4,043 กิโลเมตร มีพื้นที่บริการ 47 จังหวัด ทั้งนี้ แบ่งเป็นสายเหนือ 780 กิโลเมตร สายตะวันออกเฉียงเหนือ 1,094 กิโลเมตร สายตะวันออก 534 กิโลเมตร สายใต้ 1,570 กิโลเมตร และสายแม่กลอง 65 กิโลเมตร คิดเป็นระยะรางทั้งสิ้นรวม 4,430 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางเดี่ยว 93% ทางคู่ 4.28% และทางคู่ + ทางรถไฟสินค้า 1 ราง 2.64%

ทั้งนี้ รางรถไฟส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นช่วงปี 2433-2494 ในยุคของ รฟล. โดยระยะเวลา 62 ปีนี้ รฟล. สร้างทางรถไฟทั้งสิ้น 3,278 กิโลเมตร หรือประมาณ 81% ของรางทั้งหมดในปัจจุบัน ต่อมาหลังจากยุบ รฟล. มาเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในปี 2494 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาอีก 62 ปี ประเทศไทยได้สร้างทางรถไฟเพิ่มเพียง 765 กิโลเมตร ซึ่งหมายความว่าช่วงครึ่งแรกของระบบขนส่งทางราง ประเทศไทยสร้างทางเฉลี่ยปีละ 53 กิโลเมตร ขณะที่ครึ่งหลังนั้นสร้างเพียง 12.3 กิโลเมตรต่อปี น้อยกว่าเดิมประมาณ 4 เท่า

เมื่อเทียบการเติบโตของระบบขนส่งทางราง โดยอิงจากจำนวนประชากรและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น จากในอดีตตั้งแต่ก่อตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ถือว่ารถไฟเติบโตได้ช้ากว่ามาก จากข้อมูลของสหประชาชาติ ในปี 2493 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 20 ล้านคน แต่ในปัจจุบันมีประชากรประมาณ 67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.35 เท่า ขณะที่ด้านเศรษฐกิจ จากข้อมูลของ Penn World Table ซึ่งรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย เดวิส ระบุว่าจีดีพี ณ ปี 2493 อยู่ที่ประมาณ 6.8 แสนล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันจากข้อมูลของธนาคารโลก จีดีพีประเทศไทยอยู่ที่ 12.39 ล้านล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 18.12 เท่า เติบโตมากกว่ารางรถไฟที่เพิ่มขึ้นเพียง 1.23 เท่า

โลจิสติกส์ไทยพึ่งถนน 90% แพงกว่ารถไฟ 2 เท่า
ทั้งนี้ การหยุดนิ่งของการก่อสร้างทางรถไฟ ส่วนหนึ่งสืบเนื่องจากการเน้นพัฒนาระบบขนส่งทางถนนให้เป็นระบบหลักของประเทศไทย ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า ประเทศไทยมีโครงข่ายเส้นทางถนนในปี 2554 รวมประมาณ 463,795 กิโลเมตร มากกว่าทางรถไฟเกิน 100 เท่า จำแนกเป็นทางหลวงแผ่นดิน 66,266 กิโลเมตร ทางหลวงชนบท 47,529 กิโลเมตร ทางหลวงท้องถิ่น 350,000 กิโลเมตร ทางหลวงพิเศษ (2 สายทาง) 247 กิโลเมตร และทางด่วน (8 สายทาง) 208 กิโลเมตร ทำให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศได้อย่างสะดวกและทั่วถึง

นอกจากนี้ จากข้อมูลของบริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาของ สนข. ยังแสดงอย่างชัดเจนว่า การเน้นพัฒนาโครงข่ายถนนมาเป็นระยะเวลานานจนครอบคลุมทั้งประเทศ ส่งผลให้ในปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาถนนเป็นระบบขนส่งหลัก ซึ่งลดความสำคัญของรถไฟและระบบขนส่งทางอื่นลงไปโดยปริยาย โดยในปัจจุบันระบบขนส่งทางถนนใช้ขนส่งผู้โดยสารประมาณ 90% ของการขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดทั้งหมด และขนสินค้าประมาณ 80% ของการขนส่งสินค้าทั้งหมด ขณะที่รถไฟคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 7% ของการขนส่งผู้โดยสาร และเพียงประมาณ 2% ของการขนส่งสินค้าทั้งหมด

ต้นทุนการขนส่ง

อย่างไรก็ดี ถึงแม้โครงข่ายถนนจะมีความสะดวกและครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าการขนส่งระบบอื่นยกเว้นทางอากาศ โดยจากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมระบุว่า การขนส่งทางถนนมีต้นทุน 2.12 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร ทางราง 0.95 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร ทางน้ำ 0.65 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร และทางอากาศ 10 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร ประกอบกับที่ประเทศไทยต้องพึ่งพาระบบขนส่งทางถนนเกือบ 90% ทำให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศในปี 2556 สูงถึง 14% ของจีดีพีหรือประมาณ 12 ล้านบาท

นอกจากต้นทุนที่มากกว่าแล้ว การขนส่งทางถนนยังมีอุบัติเหตุมากกว่าด้วย (ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะมีทางและจำนวนรถมากกว่า) โดยเกือบ 100% เป็นอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้จากข้อมูลของ Global Status Report on Road Safety ปี 2556 ประเทศไทยมีอุบัติเหตุทางถนนเป็นอันดับ 3 ของโลก และข้อมูลจากธนาคารโลกชี้ว่ามูลค่าความเสียหายจากอุบัติเหตุในประเทศไทยสูงถึง 232,000 ล้านบาท/ปี

31 ปีแผนสภาพัฒน์ฯ – ฝันสลาย”รถไฟทางคู่-ยกระดับโลจิสติกส์”
ทั้งนี้ ข้อจำกัดของถนนเรื่องต้นทุนการขนส่งที่มากกว่า เป็นที่ตระหนักมานานแล้ว ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่5 (พ.ศ. 2525-2529) (แผนพัฒน์ฯ) ซึ่งในช่วงเวลานั้นถนนมีระยะทางเพียง 104,000 กิโลเมตร โดยในแผนระบุประเด็นปัญหาของการขนส่งไทยว่าพึ่งพาระบบถนนมากเกินไป ทำให้ประเทศต้องสูญเสียพลังงานเกินจำเป็น โดยภาคขนส่งขณะนั้นได้ใช้พลังงานน้ำมันถึง 42% ของน้ำมันที่ใช้ทั้งหมด เทียบกับระบบขนส่งประเทศอื่นๆ ที่จะใช้น้ำมันเพียง 25% ส่งผลให้จำเป็นต้องลดอัตราบริโภคพลังงานนี้ลง โดยอาศัยระบบรางและการขนส่งทางน้ำใช้พลังงานน้อยกว่าถนนถึง 3 เท่า

ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯ มีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมของการพัฒนาระบบรางในแผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 5 คือ

1) ขยายบริการการขนส่งทางรถไฟให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.3 ต่อปี
2) เพิ่มจำนวนผู้โดยสารเป็น 117.6 ล้านคน/ปี ในปี 2529 จาก 74.3 ล้านคน/ปี ในปี 2523
3) เพิ่มปริมาณสินค้าที่จะบรรทุกเป็น 13.00 ล้านตัน/ปี ในปี 2529 จาก 6.30 ล้านตัน/ปี ในปี 2523
4) เพิ่มขีดความสามารถของการเดินรถโดยปรับปรุงทางสะพานย่านสถานี เพิ่มความจุของทางโดยสร้างทางคู่ ทางยกระดับ
5) สำรวจและสร้างทางสานใหม่ เพื่อรับปริมาณการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงการพัฒนาระบบรางตามแผนพัฒน์ฯ นอกจากไม่เคยประสบความสำเร็จจนกระทั่งปัจจุบัน (แผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 11) ยังมีการขยายการขนส่งทางถนนออกไปมากกว่า 4 เท่า แม้จะมีการระบุถึงปัญหาเอาไว้อย่างชัดเจนและต่อเนื่องแล้วก็ตาม

ปัจจุบันการขนส่งทางรางคิดเป็น 7% และ 2% ของการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าตามลำดับ ขณะที่จำนวนผู้โดยสารในปี 2556 มีเพียง 37 ล้านคน น้อยกว่าช่วงเวลาที่เริ่มประกาศใช้แผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 5 ด้านปริมาณสินค้าที่ขนส่งโดยระบบรางในปี 2556 ก็มีเพียง 11.8 ล้านตัน แม้จะไม่น้อยกว่าช่วงแผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 5 แต่ก็ไม่ได้บรรลุเป้าหมาย

เช่นเดียวกันกับยุทธศาสตร์รถไฟทางคู่ เมื่อย้อนรอยประวัติศาสตร์รถไฟไทยพบว่า ประเทศไทยเคยสร้างรถไฟทางคู่ตั้งแต่สมัย รฟล. โดยในปี 2475 ก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างกรุงเทพฯ-คลองรังสิต แล้วเสร็จ 24 มิถุนายน 2483 ก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างรังสิตและบางปะอินแล้วเสร็จ และ 24 มิถุนายน 2485 ก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างบางปะอิน-บ้านภาชี แล้วเสร็จ

หลังจากนั้นก็ไม่ได้ก่อสร้างรถไฟทางคู่อีกเลย แม้ในช่วงของการบังคับใช้แผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 5 จนกระทั่งถึงแผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 จึงมีความเคลื่อนไหวอีกครั้ง แต่ก็เพิ่มขึ้นมาไม่มากนัก เรียงตามเวลาก่อนหลังดังนี้

- ปี 2543 สร้างรถไฟทางคู่จากบางซื่อ-ตลิ่งชัน แล้วเสร็จ แต่ไม่ได้เปิดใช้จนถึงปัจจุบันเนื่องจากขาดอุปกรณ์อาณัติสัญญาณ

- 25 กรกฎาคม 2545 สร้างรถไฟทางคู่จากบ้านภาชี-ลพบุรี และมาบกะเบา แล้วเสร็จ
- 1 ตุลาคม 2545 สร้างทางคู่จากหนองวิวัฒน์-บ้านป่าหวาย (สายเหนือ) และจากหนองกวย-หนองบัว (สายอีสาน) แล้วเสร็จ
- 25 พฤศจิกายน 2545 สร้างรถไฟทางคู่จากตลิ่งชัน-นครปฐม แล้วเสร็จ
- 11 เมษายน 2546 สร้างรถไฟทางคู่จากหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา แล้วเสร็จ
- 14 พฤษภาคม 2546 สร้างรถไฟทางคู่จากบางบำหรุ-นครปฐม แล้วเสร็จ พร้อมเปิดใช้งานหลังติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ
- 15 ธันวาคม 2546 สร้างรถไฟทางคู่จากหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา แล้วเสร็จ พร้อมเปิดใช้งานหลังติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2014 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เคาะจ้างบริษัทที่ปรึกษารถไฟทางคู่6สาย
การเมือง : คุณภาพชีวิต
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 18 กันยายน 2557 10:37


บอร์ดร.ฟ.ท. อนุมัติการว่าจ้างที่ปรึกษารถไฟทางคู่6เส้นทาง พร้อมแผนปฏิบัติการปี58 ขยายขนส่งสินค้าไทย-มาเลเซีย

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. อนุมัติการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการลงทุนรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง

โดยวิธีคัดเลือก ได้แก่
1.สายปากน้ำโพ-เด่นชัย
2.สายชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
3.สายขอนแก่น-หนองคาย
4.สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์
5.สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี และ
6. สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์

แล้วนำรายชื่อกลับมาเสนอที่ประชุมบอร์ดอีกครั้ง

นอกจากนี้ ได้อนุมัติแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการ ร.ฟ.ท. ปี 2558 โครงการกว่า 100 แผนงาน เช่น โครงการติดตั้งเครื่องตรวจจับโลหะชนิดพกพาและเครื่องเอกซเรย์เพื่อประสิทธิภาพการให้บริการในพื้นที่เสี่ยงอันตราย เป็นต้น

นายวรวุฒิ มาลา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บอร์ด ร.ฟ.ท. เห็นชอบในหลักการเรื่องการเช่าหัวรถจักร 20 คัน แต่ต้องการให้นำเสนอความเหมาะสมของการลงทุนและแผนการตลาดของโครงการเพิ่มเติมในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. วางแผนจะใช้หัวรถจักรดังกล่าวให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย-และมาเลเซียกับลูกค้าเอกชนกลุ่มเดิม ซึ่งค่อยๆ ลดปริมาณการขนส่งกับ ร.ฟ.ท. ลงเรื่อยๆ จากขนส่งทุกวันเหลือ 2 ครั้ง/เดือน เพราะ ร.ฟ.ท. มีหัวรถจักรให้บริการไม่เพียงพอจนลูกค้าเกิดความไม่มั่นใจ

ถ้าบอร์ดอนุมัติโครงการในครั้งหน้า จะสามารถเปิดประมูลได้ภายในปีนี้ เพราะการจัดทำร่างประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประมูล (ทีโออาร์) ใกล้เสร็จแล้วพร้อมประกวดราคา แล้วคาดว่าจะมีการรับมอบประมาณ 1-1 ปีครึ่งหลังจากนั้น โดยสามารถขนส่งตู้สินค้าได้ประมาณ 1 แสนทีอียู/ปี ซึ่งการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-มาเลเซียในปัจจุบันมีปริมาณ 60,000 ทีอียู/ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2014 4:06 pm    Post subject: Reply with quote


ชมคลิปภาพ อ.สญชัย ลบแย้ม ให้สัมภาษณ์ ในรายการ “ช่วยคิด ช่วยทำ” ทางไทยทีวีสีช่อง 3
“โครงการรถไฟรางคู่กับการพัฒนาเมือง"
ออกอากาศ เมื่อวันที่ 15 และ 16 กันยายน 2557
ขอขอบพระคุณ รายการ “ช่วยคิด ช่วยทำ” มา ณ ที่นี้
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=rTM4HajU-F4

Click on the image for full size
นี่คือคำอธิบาย ของ อ.สญชัย ลบแย้ม ว่าด้วยทางคู่ 5 + 1 สาย
1. ชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น - 185 กม. ที่ 26,007 ล้านบาท
2. ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร - 167 กม. ที่ 17,293 ล้านบาท
3. นครปฐม - หัวหิน- 165 กม. ที่ 20,038 ล้านบาท
4. มาบกระเบา - ชุมทางถนนจิระ - 132 กม. ที่ 29,855 ล้านบาท
5. ลพบุรี - ปากน้ำโพ - 148 กม. ที่ 24,842 ล้านบาท
6. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ - 90 กม. ที่ 9,437 ล้านบาท
http://pantip.com/topic/32604848

Click on the image for full size
งบปี 2558 ว่าด้วยทางคู่ ที่ต้องทำต่อ จากทางคู่ 5+1
1.สายปากน้ำโพ-เด่นชัย - 285 กม. งานนี้ต้องปัดฝุ่นการแก้ทางช่วง ศิลาอาศน์ - เด่นชัยไปด้วย
2.สายชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี - 309 กม. งานนี้ ต้องหารถมาทำรถชายเมืองติดแอร์หาเงินแทนการเดินรถฟรีซะแล้ว
3.สายขอนแก่น-หนองคาย - 174 กม. งานนี้ ต้องหารถมาทำรถชายเมืองติดแอร์หาเงินแทนการเดินรถฟรีซะแล้ว
4.สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ - 90 กม. ที่ 9,437 ล้านบาท งานนี้มีสิทธิ์ได้เริ่มทำ
5.สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี - 167 กม. ถ้าไม่แก้สะพานจุลจอมเกล้าที่ท่าข้ามก็ต้องสร้างสะพานคู่ขนาน
6. สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ - 339 กม. - ได้เจาะอุโมงค์ขนานไปกะ ช่องเขา หรือไม่ก็อุโมงใหม่ เพราะ ต้องแก้ทางให้ชันไม่เกิน 10 ใน 1000 ยังมีสะพานคู่ขนาน ที่ นาสาร, ที่ คลองจันดี ที่ ฉวาง .. ชะอวดและ ที่คลอง ร.1 และ คลองอู่ตะเภาด้วย

Click on the image for full size
งบปี 2558 ว่าด้วยทางคู่ 5 + 1
1. ชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น - 185 กม. ที่ 26,007 ล้านบาท
2. ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร - 167 กม. ที่ 17,293 ล้านบาท
3. นครปฐม - หัวหิน- 165 กม. ที่ 20,038 ล้านบาท
4. มาบกระเบา - ชุมทางถนนจิระ - 132 กม. ที่ 29,855 ล้านบาท
5. ลพบุรี - ปากน้ำโพ - 148 กม. ที่ 24,842 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2014 5:18 pm    Post subject: Reply with quote

นครขอนแก่นเล็งจัดตั้ง “บริษัทจำกัด” ร่วมลงทุนไอซีดีรับยุทธศาสตร์ขนส่งระบบราง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2557 15:07 น.


ศูนย์ข่าวขอนแก่น - เทศบาลนครขอนแก่นผนึกวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมแผนพัฒนารองรับโครงการรถไฟรางคู่จิระ-ขอนแก่น เล็งตั้ง “บริษัทจำกัด” เป็นกลไกร่วมลงทุนกับนักลงทุนต่างประเทศ หวังขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต่างๆ เบื้องต้นเตรียมผลักดันตั้งศูนย์บริการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ICD ขอนแก่นรับยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ผ่านระบบราง





วันนี้ (23 ก.ย.) ที่วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีมายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ร่วมลงนามความร่วมมือกับ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อลงนามความร่วมมือต่อการดำเนินการโครงการระบบขนส่งสาธารณะทางรางของจังหวัดขอนแก่นในอนาคต โดยมีสัมมนาหัวข้อ “ระบบขนส่งสาธารณะทางรางของจังหวัดขอนแก่นและปัจจัยที่มีผลต่อการขนส่งสินค้าทางราง” มีนักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมกว่า 200 คน

รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า คณะวิทยาลัยปกครองท้องถิ่นร่วมลงนามความร่วมมือกับเทศบาลนครขอนแก่น หรือ MOU เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น ด้วยการให้องค์ความรู้และหลักวิชาการแก่เทศบาลนครขอนแก่น นำไปบริหารจัดการและวางกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านต่างๆ

บทบาทของวิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ หรือระบบลอจิสติกส์ที่มีคุณภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยจะรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงวิชาการ ข้อมูลด้านการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของทางเทศบาลนครขอนแก่น

ด้านนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า เทศบาลนครขอนแก่นมีแผนเร่งด่วนพัฒนาและขยายตัวเมืองขอนแก่น โดยโครงการที่จะดำเนินการคือ โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่ผ่านมาได้เสนอของบประมาณจากรัฐบาลไปแล้ว แต่ติดปัญหาที่รัฐบาลยังไม่มีโครงการสนับสนุนทางด้านภูมิภาค เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาที่วางเป้าหมายเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง จึงสร้างความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในท้องถิ่น

เทศบาลนครขอนแก่นมีแผนตั้ง “บริษัทจำกัด” เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนในการลงทุนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟรางคู่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตตั้งเป็น “บริษัทจำกัด” กับกระทรวงมหาดไทย รอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามอนุมัติ

ขณะเดียวกัน เทศบาลนครขอนแก่นมีแผนศึกษาจะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดขอนแก่น ขณะนี้ได้ส่งคณะทำงานลงไปศึกษาในรายละเอียดกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมประสานความร่วมมือจากวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น เรื่องการจัดตั้งอย่างเป็นขั้นตอนโดยยังอยู่ระหว่างการศึกษา

ด้านนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ในฐานะผู้ศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้และปัจจัยที่มีผลต่อการขนส่งสินค้าทางราง กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าโอกาสเกิดระบบรถไฟรางคู่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนภายใน 3-5 ปีนี้ ทำให้ขอนแก่นเกิดการพัฒนาและขยายความเจริญขึ้น ตามโครงการดังกล่าวที่ทางเทศบาลนครขอนแก่นจะดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด ในฐานะกลไกขับเคลื่อนด้านการลงทุนนั้น จะต้องมีปัจจัยสนับสนุนมิติการลงทุน เพราะจะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนชาวต่างชาติ ให้เข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการไอซีดีขอนแก่น เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ภายในไม่เกิน 3 ปีควบคู่ไปกับระบบรถไฟรางคู่ขอนแก่น-ชุมทางจิระ ของรัฐบาล

ขณะนี้วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการศึกษาโครงการก่อสร้างไอซีดีขอนแก่น เพื่อเป็นสถานีจุดขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ผ่านระบบราง จากสินค้าอุตสาหกรรมในพื้นที่ขอนแก่นและภาคอีส่าน เข้าสู่ตลาดที่กรุงเทพฯ และตลาดส่งออก เชื่อมั่นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในพื้นที่และลดการพึ่งพาจากรัฐบาลกลางลงได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2014 9:28 am    Post subject: Reply with quote

ระบบทางคู่ ข้อเท็จจริงรถไฟไทย(ตอนที่ 5) : 2 เดือนความคืบหน้าเมกะโปรเจกต์รถไฟทางคู่ – รถไฟฟ้า
ThaiPublica 24 กันยายน 2014
Arrow http://thaipublica.org/2014/09/the-truth-of-thailand-rail-system-5/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2014 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

คค.เปิดขายซองรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่นพ.ย.
ข่าวเศรษฐกิจ
INN
วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2557 16:40น.

กระทรวงคมนาคม เริ่มเปิดขายซองประกวดราคารถไฟทางคู่ จิระ-ขอนแก่น พ.ย. นี้ โดยเป็นเส้นทางแรกโดยไม่ต้องรอ พ.ร.บ.เวนคืนที่ดิน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบรางวัล และกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ชนะการประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูง ว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม นี้ จะเริ่มกระบวนการเปิดขายซองประกวดราคารถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น เป็นเส้นทางแรกโดยไม่ต้องรอ พ.ร.บ.เวนคืนที่ดิน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่แล้ว หลังจากเส้นทางจิระ-ขอนแก่น จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาเส้นทาง ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ปีหน้า ส่วนอีก 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางนครปฐม-หัวหิน, มาบกะเบา-นครราชสีมา, ลพบุรี-ปากน้ำโพ และหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ปี 2558

อย่างไรก็ตาม ส่วนการศึกษารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-ระยองจะเริ่มทำงานศึกษาเส้นทางและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2558 ซึ่งจะเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง

//--------------------

คมนาคม เริ่มประกวดราคารถไฟทางคู่ พ.ย.นี้
Voice TV
9 ตุลาคม 2557 เวลา 17:22 น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมเปิดประกวดราคารถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น เป็นเส้นทางแรก ในเดือนพฤศจิกายนนี้

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ กระทรวงคมนาคม จะเริ่มเปิดประกวดราคารถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น เป็นเส้นแรก ตามด้วย เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้า จากนั้นเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม จะดำเนินการในอีก 4 เส้นทาง ได้แก่ นครปฐม-หัวหิน , มาบกะเบา-นครราชสีมา , ลพบุรี-ปากน้ำโพ และหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์

ส่วนการศึกษารถไฟทางคู่ ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-ระยอง จะเริ่มศึกษาเส้นทางและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในปีหน้า เช่นกัน

สำหรับแผนการก่อสร้างส่วนขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 จะใช้งบประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 7 แผนงาน อาทิ การขยายอาคารผู้โดยสาร , การขยายพื้นที่สำหรับหลุมจอด 28 หลุม เป็นต้น ขณะที่ การก่อสร้างทางวิ่งสำรองเส้นที่ 3 เพื่อรองรับการปรับปรุงทางวิ่งที่ 1 และ 2 ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน 2 ปี จะใช้งบประมาณที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติก่อนหน้านี้ จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท

พลอากาศเอก ประจิน ยังเป็นประธานมอบรางวัล และเปิดนิทรรศการแสดงผลงานการประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ "อัตลักษณ์สร้างคุณค่า" ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนและนิสิตนักศึกษา ร่วมออกแบบอัตลักษณ์ภายในสถานีรถไฟพิษณุโลก ลำปาง และเชียงใหม่ โดยผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัล ทางโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง จะนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถานีต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2014 9:23 am    Post subject: วิบากกรรม Reply with quote

คตร.เปิดประเด็นเพิ่ม เลื่อนเคาะราคารถไฟฉะเชิงเทรา-แก่งคอยไร้กำหนด


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ตุลาคม 2557 08:02 น.


ร.ฟ.ท.เลื่อนเคาะราคา e-Auction รถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา -คลองสิบเก้า – แก่งคอย 1.1 หมื่นล.ไร้กำหนด”ออมสิน” เผย คตร.ตั้งประเด็นเพิ่มเติมเรื่อยๆ ล่าสุดให้แยกงานจัดหารถซ่อมทางเอง ซึ่งร.ฟ.ท.ทำไม่ได้ เพราะต้องรื้อ TOR ใหม่ หวั่นถูกผู้รับเหมาฟ้อง ยิ่งทำให้ล่าช้าไปกันใหญ่ ส่วนสีแดง สัญญา 3 (งานระบบ) 2.79 หมื่นล. ไล่บีบผู้รีบเหมาหั่นราคายังไม่จบ

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถดำเนินการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Auction)โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย สัญญาที่ 1 : งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา -คลองสิบเก้า - แก่งคอย และช่วงบุใหญ่ - แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง วงเงิน 11,348.35 ล้านบาทได้เนื่องจาก ล่าสุดทางคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้ส่งหนังสือถึงร.ฟ.ท.แจ้งประเด็นเพิ่มเติม โดยต้องการให้ ร.ฟ.ท.ปรับปรุงรายการจัดหาเครื่องมือซ่อมบำรุง โดยให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการจัดหารถซ่อมบำรุงทางเอง จากข้อกำหนดเดิมในร่างเงื่อนไขการประกวดราคา(TOR)ที่ให้ผู้รับงานรับผิดชอบ จัดหา ซึ่งร.ฟ.ท.ได้ทำหนังสือชี้แจงไปยัง คตร.แล้วว่า ไม่สามารถดำเนินการตามข้อแนะนำดังกล่าวได้ เนื่องจาก จะต้องทำ TOR ใหม่ ซึ่งเท่ากับต้องกลับไปเริ่มขั้นตอนการประกวดราใหม่ ซึ่งจะยิ่งทำให้โครงการมีความล่าช้ามากขึ้น

“ขณะนี้ ทางคตร.ยังไม่มีคำตอบใดๆ กลับมายัง ร.ฟ.ท. จึงยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ซึ่งประเด็นที่ คตร.ตั้งข้อสังเกต ให้แยกการจัดหารถซ่อมบำรุงทางเอง ร.ฟ.ท.ได้ ชี้แจงไปยังคตร.แล้วว่า ตามปกติเรื่องดังกล่าวผู้รับงานต้องเป็นคนจัดหาอยู่แล้ว การปรับเงื่อนไนนี้จะต้องแก้ TOR และเปิดประกวดราคาใหม่ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกเอกชนที่เตรียมเคาะราคา e-Auction แข่งขันฟ้องร้องได้ ตอนนี้ จึงยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเคาะราคากันได้เมื่อใด หลังจากต้องเลื่อนกำหนดมาตั้งแต่วันที่ 23มิถุนายน 2557”นายออมสินกล่าว

ทั้งนี้ ผู้รับเหมาคุณสมบัติในการประกวดราคา e-Auction โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่ 1 มีทั้งหมด 6 ราย ประกอบด้วย

1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
2. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ร่วมกับบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
3.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ
5.บริษัท ทิพากร จำกัด ร่วมกับ บริษัท ไชน่าฮาร์เบอร์ จากประเทศจีน และ
6.บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

ส่วนความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาทนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่49,000 ล้านบาท ยอมปรับลดราคามาอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาทเศษ ซึ่งยังสูงกว่ากรอบวงเงินโดยร.ฟ.ท.ยังต้องเจรจาเพื่อต่อรองให้ปรับลดลงอีก แม้ว่ากรอบ 27,926 ล้านบาท เป็นราคาที่ประเมินไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว อาจจะไม่สะท้อนต้นทุนค่าก่อสร้างในปัจจุบัน แต่หากจะต้องปรับสูงขึ้นบ้างแต่ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมและยอมรับได้

“การเจรจาต่อรองเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประกวดราคาฯ ซึ่งขณะนี้ต้องยึดกรอบที่ 27,926 ล้านบาท แต่ที่สุดหากต้องปรับขึ้นบ้างก็ขึ้นกับความเหมาะสม และในกรอบวงเงินที่ครม.อนุมัติจะมีค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ ซึ่งต้องรอให้การเจรจาสรุปชัดเจนก่อน ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่า จะต้อบงปรับกรอบวงเงินหรือไม่” นายออมสิน กล่าว

Yuen Ngai wrote:
sometimes, 1 contractor to save money is not a right move. it may proceed the project slowly and result in cost overruns mainly in material and worker salaries, as well as danger of delays. Look at Hong Kong. it would not look for 1 single contractor. Even Singapore did not do that (look at that damn case of Downtown Line Stage 2 project delay from next year to 2016 due to one of the many contractors gone bust and delay the construction of 3 stations near former Bukit Timah KTM Station area) !


Last edited by Wisarut on 13/10/2014 6:20 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2014 10:44 am    Post subject: Reply with quote

กว่าจะได้ลงมือก่อสร้างจริง สงสัยปลายปี 58 ครับ Mad
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 388, 389, 390  Next
Page 89 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©