Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181448
ทั้งหมด:13492686
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2014 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ย้ำ แผนปี 58 มาแน่รถไฟทางคู่ 2 สาย
by supatsorn chantapan
Voice TV
30 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:24 น.
คมนาคม ย้ำ แผนปี58มาแน่รถไฟทางคู่2สาย
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 9:05น.

ปลัดกระทรวงคมนาคม เผย ปี 58 รถไฟทางคู่ 2 สายทาง พร้อมลุย ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมดอนเมือง

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงภาพรวมแผนการดำเนินงานในปี 2558 ว่า สำหรับโครงการที่จะเห็นภาพชัดเจนที่สุด คือ โครงการรถไฟทางคู่ 2 สายทาง ได้แก่ เส้นทาง
ถนนจิระ-ขอนแก่น
ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย

ด้านส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง คาดว่าจะประกวดราคาได้ในปี 2558

ทั้งนี้ ในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ที่ผ่านพระราชวังสวนจิตรลดา รวมถึงส่วนต่อขยายรถไฟดีเซลรางบางซื่อ-หัวหมาก จะการเร่งผลักดันให้เห็นภาพชัดเจนได้ในปี 2558 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) งานโยธาฯ จะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย. 58 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2559 ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ) ขณะนี้อยู่ในระหว่างเร่งดำเนินงาน รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ที่ต้องเร่งรัดให้เสร็จตามกำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2014 8:06 am    Post subject: Reply with quote

เล็งประมูลทางคู่แก่งคอยก.พ.58


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
10 ธันวาคม 2557 17:41 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.เตรียมเดินหน้าประมูลรถไฟทางคู่ (ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย) มูลค่า 1.13 หมื่นล้าน หลังกรมบัญชีกลางยันรวมค่าเครื่องจักรกับค่าก่อสร้างไม่ขัดระเบียบ แต่ให้แจกแจงรายละเอียดที่มาให้ชัด คลายปมปัญหา TOR ร.ฟ.ท. เตรียมชี้แจง สตง. และ คตร. คาดเปิดเคาะราคาได้ก.พ.ปี 58

นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยและช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง วงเงิน 11,348.35 ล้านบาทว่า ล่าสุดทางกรมบัญชีกลาง และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพอ.) ได้ตอบข้อหารือเรื่องการรวมค่าใช้จ่ายเครื่องจักรไว้กับค่างานก่อสร้างมายังร.ฟ.ท.แล้วว่าตามระเบียบกรมบัญชีกลางไม่มีกำหนดในเรื่องดังกล่าว แต่เปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้ โดยให้ร.ฟ.ท.อธิบายรายละเอียดที่มาของราคากลางในส่วนของค่าใช้จ่ายเครื่องจักรให้ชัดเจน เพื่อความรอบคอบ

โดยหลังจากนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการตามความเห็นของกรมบัญชีกลางและทำหนังสือชี้แจงไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้มีข้อท้วงติงในประเด็นเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ที่ร.ฟ.ท. กำหนดให้รวมค่าใช้จ่ายเครื่องจักรไว้กับค่างานก่อสร้าง โดยสตง.เห็นว่าไม่มีระเบียบกำหนดไว้ให้นำค่าเครื่องจักรมารวมกับค่าก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน จากนั้นจะทำหนังสือถึงคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เพื่อแจ้งว่าจะมีการเดินหน้าประกวดราคาตามขั้นตอน ซึ่งคาดว่าภายในเดือนม.ค.2558 จะดำเนินการตามขั้นตอนแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้ยื่นแข่งขันราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) และเคาะราคาได้ในเดือนก.พ.2558

"กรมบัญชีกลางตอบมาค่อนข้างชัดเจนว่า ไม่ผิด ทำได้ แต่ให้แจกแจงรายละเอียดวิธีคิดราคาเครื่องจักร เพราะในระเบียบกรมบัญชีกลางไม่กำหนดไว้ ดังนั้น รถไฟก็ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าคิดราคาต่อหน่วยมาได้อย่างไร แล้วก็ชี้แจงไปยัง สตง. ที่ทักท้วงประเด็นนี้มา แต่หากกรมยัญชีกลางตอบว่าผิด จะกระทบและทำให้โครงการล่าช้า เพราะต้องเสียเวลาในการประกวดราคาใหม่ และอาจจะกระทบต่อราคากลางที่ต้องปรับเปลี่ยนตามเวลาที่เปลี่ยนไปอีกด้วย แต่เมื่อไม่ผิดระเบียบสามารถเดินหน้าได้ทันที"นายประเสริฐกล่าว

สำหรับผู้รับเหมาที่ยื่นประกวดราคามีทั้งสิ้น 6 ราย ประกอบ ด้วย
1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
2. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CKร่วมกับบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
3.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ
5.บริษัท ทิพากร จำกัด ร่วมกับบริษัทไชน่าฮาร์เบอร์ จากประเทศจีน และ
6.บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด

ส่วนการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาทนั้น นายประเสริฐกล่าวว่า คณะกรรมการประกวดราคาอยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) เพื่อปรับตัวเลขค่าก่อสร้างลงจากที่เสนอมา 49,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ทางเอกชน กำลังหารือกับพาร์ทเนอร์ และซัพพลายเออร์ ซึ่งคาดจะทราบความชัดเจนว่า เอกชนจะรับกรอบราคาที่ต่อรองกันไว้ได้หรือไม่ก่อนวันที่ 25 ธ.ค.2557 โดยหากราคาสุดท้ายเกินกรอบที่ได้รับอนุมัติ ไม่มากและมีที่มาที่ไป สามารถอธิบายได้ จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอปรับเพิ่มต่อไป

//-------------------------------------

ร.ฟ.ท.โล่ง"ทางคู่คลองสิบเก้า-แก่งคอย"ไม่ขัดระเบียบ เล็งเคาะอี-อ๊อกชั่นในก.พ.58
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
11 ธันวาคม 2557 05:12 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2014 7:36 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเปิดแผนประมูลรถไฟทางคู่ปี58
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น NOW26 วันที่ 11 ธันวาคม 2557

"คมนาคม"เปิดแผนประมูลรถไฟทางคู่ปี 58 รวม 5 เส้นทาง พร้อมส่วนต่อขยายอีก 2 เส้นทาง ส่วนการตั้งกรมขนส่งทางราง เป็นรูปธรรมกลางปีหน้า

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวในงานสัมมนาเรื่องแนวคิดจัดตั้งกรมขนส่งทางรางเพื่อปฏิรูประบบโลจิสติกส์แห่งชาติว่า แผนการดำเนินงานปี 2558 จะเปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ขนาดความกว้างราง 1 เมตร โดย 2 เส้นทางเปิดประมูลต้นปี 2558 ได้แก่ จิระ - ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร งบก่อสร้าง 26,000 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร งบ 17,000 ล้านบาท

ส่วนอีก3เส้นทางได้แก่ มาบกะเบา-จิระ //ลพบุรี-ปากน้ำโพ และ นครปฐม-หัวหิน จะเปิดประมูลได้ในช่วงปลายปีหน้า

นอกจากนี้ จะมีการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟชานเมือง อีก 2 สาย คือสายสีแดง หรือ Missing Link ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงระยะทาง 6.5 กิโลเมตรและอีกช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร ที่จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์

นอกจากการเปิดประมูลโครงการดังกล่าวแล้ว ยังมีการจัดซื้ออุปกรณ์ เพื่อพัฒนาการเดินรถเส้นทางต่าง ๆ และยังมีแผนปรับปรุงทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา -อรัญประเทศ ที่ยังขาดทางเชื่อมต่อชายแดนกัมพูชาประมาณ 10 กิโลเมตร หากดำเนินการสำเร็จ จะทำให้เดินรถร่วมกับกัมพูชาได้ถึงจังหวัดปอยเปต และจะต่อไปยังจังหวัด สะหวันเขตได้ในอนาคต

ส่วนการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางคาดว่าเดือนมิถุนายน 2558 จะเห็นเป็นรูปธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2014 9:19 am    Post subject: Reply with quote

อึม 10 กิโลเมตร - ฝั่งไทย 6 กิโลเมตร และ ฝั่งเขมรอีก 4 กิโลเมตรหละสินะ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2014 9:28 am    Post subject: Reply with quote

“ประจิน” ชูไฮเทคโนโลยีสร้างทางคู่จิระ-ขอนแก่น ด้านชุมชนห่วงความปลอดภัยวิถีชีวิตชุมชน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 ธันวาคม 2557 18:02 น.



ศูนย์ข่าวขอนแก่น-“ประจิน” ลงพื้นที่เมืองขอนแก่น รับฟังปัญหาผลกระทบต่อเนื่องจากรถไฟทางคู่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร ลั่นแผนก่อสร้างต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน เล็งใช้ไฮเทคโนโลยี สะดวก ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านนายกเล็กเมืองขอนแก่น ห่วงผลกระทบจุดตัดแยกชุมชนใหญ่ ทั้งความปลอดภัย และวิถีชีวิตชุมชน

วันนี้ (21ธ.ค.) ที่ห้องประชุมพระธาตุขามแก่น ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีนายกำธร ถาวรสถิต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งเทศบาลนครขอนแก่น ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น สำนักงานทางหลวงที่ 5 และแขวงการทางขอนแก่นที่ 1 ร่วมประชุมนำเสนอปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม และเป็นไปได้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะดำเนินยุทธศาสตร์ 4 ด้าน 5 แผนงานประกอบด้วย การสร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงในประเทศที่สามารถสร้างได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ต้องมีการให้บริการที่ดี มีความสะดวก ปลอดภัย และต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน

ขณะที่แนวความคิดการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟและถนนในเขตเมืองขอนแก่น จากการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ (ชุมชนทางจิระ-ขอนแก่น) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 185 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 26,152 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งมีประโยชน์ในการเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้า และบริการทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยถึงข้อห่วงใยของชาวจังหวัดขอนแก่นจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ดังกล่าวว่า ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงการตัดผ่านของทางรถไฟจะเกิดผลกระทบจากจุดตัดแยกพื้นที่ชุมชนออกจากกันมีรั้วกัน จะเกิดผลกระทบด้านต่างๆ เช่น ปัญหาด้านความปลอดภัย ปัญหาการประกอบอาชีพและวิถีชีวิต และเมื่อก่อสร้างทางแบบยกระดับในเขตเมืองจะสามารถใช้พื้นที่ใต้รางรถไฟแก้ไขปัญหาของเมืองได้หรือไม่อย่างไร ส่วนรางเดิมจะใช้งานได้อีกหรือไม่ และการก่อสร้างไม่ขวางทางน้ำเดิมของชุมชน

ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้นำเสนอนวคิดการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟในเขตขอนแก่น แบ่งเป็น 6 รูปแบบคือ

1. ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟในแนวตรง (Overpass) ใช้กับถนนที่มีปริมาณจราจรค่อนข้างมากในจุดตัดกับถนนสายหลัก
2. ถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) ใช้กับถนนที่มีลักษณะเช่นเดียวกับแบบที่ 1 โดยสภาพพื้นที่ไม่สามารถก่อสร้างด้วยรูปแบบที่ 1 ได้
3. ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟในลักษณะรูปตัวยู (Two way U-Turn Bridge) ใช้กับถนนสายรองที่มีปริมาณการจราจรน้อย
4. สะพานกลับรถคู่ (Couple One Way U-Turn Bridge) ใช้กับถนนที่มีลักษณะทางกายภาพเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 3 แต่มีปริมาณจราจรมากกว่า ใช้แก้ปัญหาจุดตตัดกับถนนขนาดเล็กที่มีหลายแห่งอยู่ใกล้ๆ กัน
5. ท่อเหลี่ยมลอดใต้ทางรถไฟ (Box Culvert) ใช้กับถนนลำลองที่มีระดับต่ำกว่าทางรถไฟ มีลักษณะเช่นเดียวกับท่อเหลี่ยมระบายน้ำ สามารถทำหน้าที่ระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้ และ
6. ยกระดับทางรถไฟ ( Elevated Railway) ใช้สำหรับการแก้ปัญหาจุดตัดในเขตเมืองที่มีถนนสายหลัก และสายรองตัดผ่านในระยะใกล้กัน หรือมีโครงข่ายถนนสายหลักวางตัวขนานกับทางรถไฟค่อนข้างใกล้ และมีปริมาณจราจรของจุดตัดค่อนข้างสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/12/2014 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดพิมพ์เขียวรถไฟทางคู่2พันกม.ทั่วประเทศ คมนาคมชง"ครม.บิ๊กตู่"กดปุ่มประมูล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 22 ธ.ค. 2557 เวลา 15:48:17 น.

คมนาคม เร่งคลอดเมกะโปรเจ็กต์ จัดทัพชง "ครม.บิ๊กตู่" ให้เสร็จ ธ.ค.นี้ ทั้งรถไฟฟ้า ทางคู่ หวังกดปุ่มประมูลปี"58 "ประจิน" เผยปีหน้าได้เห็นรถไฟฟ้าหลากสีตอกเข็มต้นแรก 3 สาย หลังขั้นตอนประมูลใช้เวลานาน 10-12 เดือน กว่าจะเซ็นสัญญาผู้รับเหมาก่อสร้าง รฟม.ตั้งแท่นประมูล 3 สาย 3 สี "ส้ม-ชมพู-เหลือง" มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน เล็งตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวช่วยระดมทุนรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ สนามบิน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปี 2558 จะเร่งผลักดันการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่พร้อมเปิดประมูลก่อสร้าง เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ อย่างน้อยให้เริ่มต้นก่อสร้างได้ 3 สายทาง นอกเหนือจากสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะมีสายต่อขยายสายแอร์พอร์ตลิงก์ จากพญาไท-สนามบินดอนเมือง สายสีแดงเข้ม จากรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เป็นต้น

Click on the image for full size

"เนื่องจากกระบวนการขั้นตอนการประกวดราคาที่อาจใช้เวลานาน เพราะเปิดประมูลแบบนานาชาติ ทำให้เริ่มการก่อสร้างได้ไม่พร้อมกันทุกสายทาง แต่จะพยายามให้งานประมูลออกมาให้มากที่สุด"

เร่งชง ครม.ให้หมดภายใน ธ.ค.นี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในเดือนธันวาคมนี้จะนำโครงการพร้อมดำเนินการปี 2558 ของคมนาคมอยู่ในแผนงานลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งไทย ปี 2558-2565 นำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หมด ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ ถนนมอเตอร์เวย์ เพื่อจะได้เริ่มทยอยประมูล เวนคืนที่ดินและก่อสร้างในปี 2558 นี้เป็นต้นไป โดยในเดือนมกราคมนี้จะนำรถไฟฟ้าสายใหม่ จำนวน 6 เส้นทาง เสนอให้ ครม.อนุมัติทั้งหมด ส่วนทางคู่ คาดว่าต้นปีจะมี 2 สายทาง คือสายจิระ-ขอนแก่น และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เป็นต้น

ปี"58 รฟม.ประมูล 3 สาย 3 สี

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการด้านบริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และรักษาการผู้ว่าการ เปิดเผยว่า กระบวนการเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทาง โดยปกติจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 10-12 เดือน ดังนั้น การที่จะเริ่มก่อสร้างได้ปีละเส้นทางก็มีความเป็นไปได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านแหล่งเงินที่จะใช้ลงทุนด้วย

โดย รฟม.มีรถไฟฟ้าสายใหม่จะเปิดประมูลจำนวน 3 สายทาง รวมเงินลงทุนประมาณ 214,773 ล้านบาท ได้แก่ สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-สุวินทวงศ์) ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร เงินลงทุน 100,523 ล้านบาท หากกระทรวงคมนาคมนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประมาณเดือนมกราคม ในปี 2558 จะเป็นช่วงเวลาที่ดำเนินการประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559

ส่วนสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร เงินลงทุน 55,986 ล้านบาท และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. เงินลงทุน 58,264 ล้านบาท ในแผนงานประมาณกลางปี 2558 กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประมูล คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้างประมาณกลางปี 2559

"กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นเคสพิเศษที่ใช้ระยะเวลาประมูลนาน เพราะมีผู้รับเหมาก่อสร้างร้องเรียนเกิดขึ้นระหว่างทางเรื่องของข้อกำหนดในทีโออาร์ ซึ่ง รฟม.จะต้องรับฟังและพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนถึงจะเดินหน้าได้"

สำหรับความคืบหน้าการจัดหาเอกชนมารับจ้างเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 27 กิโลเมตร ในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ทางคณะกรรมการมาตรา 13 จะมีการประชุมหารือถึงแนวทางการดำเนินการว่าจะเจรจากับรายเดิมที่รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินปัจจุบัน คือบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอลหรือจะเปิดประมูลใหม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะอยู่บนพื้นฐานว่าต้องมีการเดินรถแบบต่อเนื่องและประชาชนได้รับประโยชน์ตามนโยบายของ พล.อ.อ.ประจินที่มอบให้

ดึงเอกชนลงทุนระบบรถ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จะใช้กลไกตลาดทุนในรูปแบบจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเข้ามาช่วยในการระดมเงินลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่กระทรวงมีแผนจะดำเนินการ เช่น รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ สนามบิน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สรุปชัดเจนว่าแต่ละโครงการจะใช้เงินลงทุนจากไหนบ้าง เพราะมีหลายทางเลือก ทั้งงบประมาณประจำปี เงินกู้ ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP และกองทุนโครงสร้างพื้นฐานขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลังเป็นผู้จัดสรรให้ ทั้งนี้ ที่ชัดเจนแล้วคืองานก่อสร้างถนนที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 จะใช้เงินงบประมาณ

ส่วนมอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด บางส่วนใช้เงินงบประมาณเพื่อเวนคืนที่ดิน ส่วนการก่อสร้างจะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ ส่วนรถไฟฟ้าจะแยกงานโยธาบางส่วนจะใช้เงินกู้หรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเดินรถจะให้เอกชนร่วมลงทุน ด้านรถไฟทางคู่จะใช้เงินงบประมาณ เนื่องจากใช้ระยะเวลานานกว่าจะคืนทุน จะเริ่มประมูลก่อสร้างปี 2558 นี้

สำหรับการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 จะใช้ทั้งเงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและรายได้ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เนื่องจากโครงการมีหลายส่วน ทางทอท.จะต้องทำแผนการลงทุนมาให้กระทรวงพิจารณา

"โครงการรัฐที่มีรีเทิร์นยาวอาจจะไม่เหมาะกับการระดมทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่กรณีรถไฟฟ้าก็อาจจะใช้ได้ เพราะมีผลตอบแทนจากการเดินรถที่รีเทิร์นกลับมา ส่วนงานโยธาอาจจะเป็นเงินกู้หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ก็ได้ ยังไม่สรุปในขณะนี้" นายอาคมกล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2015 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่หมดลุ้นประมูลทันปีนี้
โดยกอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อวันอังคารที่ 30 ธันวาคม 2014 เวลา 12:02 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,014 วันที่ 1 - 3 มกราคม พ.ศ. 2558

หลังจากที่หนังสือพิมพ์"ฐานเศรษฐกิจ"ได้เปิดประเด็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐานสแตนดาร์ดเกจ ขนาด 1.435 เมตรซึ่งพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญตามที่พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 และนักธุรกิจในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกตลอดจนมหาวิทยาลัยนเรศวรสนับสนุนให้พื้นที่พิษณุโลกเป็นฮับรองรับเส้นทางรถไฟดังกล่าวที่จะมาจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

alt วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการคมนาคมขนส่งของประเทศด้วยรถไฟขนาดทางมาตรฐานสแตนดาร์ดเกจมากกว่าที่จะไปก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งต้องใช้งบประมาณสูงมากและยังสามารถเชื่อมโยงเส้นทางสู่ภูมิภาคโดยรอบและจังหวัดใกล้เคียงได้อีกด้วย

ทั้งนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 และเห็นชอบแนวทางการพัฒนาในระยะเร่งด่วนที่จะเร่งดำเนินการในปี 2557 และปี 2558 ซึ่งรวมถึงการวางมาตรฐานใหม่สำหรับอนาคต โดยการสร้างรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ได้แก่ เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 737 กิโลเมตรที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสนใจโดยได้เซ็นบันทึกความร่วมมือกับประเทศไทยไปแล้วนั่นเอง

แต่จนถึงบัดนี้คงหมดสิทธิ์ลุ้นประมูลทันในปลายปีนี้อย่างแน่นอนแล้วสำหรับเส้นทางดังกล่าวที่มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) เข้าสู่หนองคาย ผ่านขอนแก่น นครราชสีมา แก่งคอย แหลมฉบังและไปสิ้นสุดที่มาบตาพุดเพื่อออกสู่ทะเล เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการศึกษาออกแบบอีกประมาณ 1 ปีตลอดจนการรับรองผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) จากข้อมูลต่างๆมีการปรับเปลี่ยนไป อาทิ ปริมาณผู้โดยสาร แนวเส้นทาง งบประมาณ ความเร็ว ปลายปีหน้าได้ลุ้นประมูลหรือก่อสร้างอีกครั้ง

เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) จำนวน 3 แห่ง วงเงินโครงการรวม 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดยังติดกรณีต้องชี้แจงข้อสงสัยของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ในประเด็นแยก 2 สัญญากว่าจะแล้วเสร็จคาดว่าจะล่วงเข้าสู่ปี 2558

นอกจากนั้นเส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นที่มีความพร้อมมากที่สุดนั้นได้เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติประมูลก็คงไปลุ้นกันใหม่ในต้นปีหน้า รวมทั้งเส้นทางของส่วนที่เหลือก็ยังมีลุ้นการรับรองด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ก่อนที่จะเสนอเปิดประมูลในปี 2558 ต่อเนื่องกันไป
++ปี 2558 ทางคู่เกิดได้อีกเพียบ

ส่วนความคืบหน้าในเส้นทางอื่นๆ ได้แก่
เส้นทางช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท
เส้นทางช่วงลพบุรี–ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท
เส้นทางช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ
เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาทนั้น
พบว่าได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดพร้อมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) ก่อนนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ต่อไป

ทางด้าน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,437 ล้านบาทนั้นร.ฟ.ท. ขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2558 เพื่อดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดพร้อมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2015 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบทางคู่ ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่ 9): 11 รัฐบาลกับนโยบายรถไฟ “ทางคู่” วางแผน 3,000 กม. สร้างจริง 300 กม.
Thai Publica
8 ธันวาคม 2557

ถึงแม้การปฏิรูปรถไฟไทยจะยังมีประเด็นต่างๆ ที่ยังถกเถียงไม่เป็นที่ยุติ ไม่ว่าจะเป็นความจำเป็นของการสร้างรถไฟความเร็วสูง, การเลือกใช้ขนาดรางที่เหมาะสม, การเลือกสร้างเส้นทางใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการหรือแม้แต่เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศจีนในอนาคต แต่ประเด็นการสร้างรถไฟให้เป็น “ทางคู่” ถือว่าเป็นที่ยุติตรงกันว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้รถไฟไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากปัจจุบันระบบรถไฟเกือบ 90% เป็นทางเดี่ยว จนทำให้การเดินรถล่าช้าและไม่สามารถแข่งขันกับระบบขนส่งอื่นๆ ได้ แม้รถไฟจะมีต้นทุนขนส่งต่อหน่วยที่ต่ำกว่าก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลต่างๆ ได้มีความพยายามผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องในเชิงนโยบายตลอดเวลา 20 ปี แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่สามารถสร้างได้ตามแผนที่วางไว้

จึงเป็นความท้าทายภายใต้นโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะสามารถผลักดันจนสำเร็จหรือไม่ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบและมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ปี 2558 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 8 ปี ซึ่งมีแผนจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ แบ่งเป็น 1) ขนาดราง 1 เมตร ขนานไปกับเส้นทางเดิมในระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ระยะทาง 903 กิโลเมตร วงเงิน 129,308 ล้านบาท และระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มศึกษาออกแบบในปีงบประมาณ 2558 อีก 8 เส้นทาง ระยะทาง 1,626 กิโลเมตร รวม 2 ระยะ 2,529 กิโลเมตร 2) ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทาง 1,060 กิโลเมตร ส่งผลให้ในอนาคตจะมีรถไฟทางคู่ทั้งสิ้น 3,589 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีเพียง 251 กิโลเมตร(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

รถไฟทางคู่ 11 รัฐบาล

17 ปี “ชวน–สมชาย” สร้างจริง 2 โครงการ 5 เส้นทาง 309 กม.
ทั้งนี้ เมื่อดูพัฒนาการของรถไฟ “ทางคู่” พบว่าในปี 2485 ประเทศไทยก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้ว 90 กิโลเมตร ซึ่งถูกสร้างในสมัยกรมรถไฟหลวง (รฟล.) แต่ต่อมาไม่ได้มีนโยบายก่อสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มเติมอีก จนกระทั่งปี 2536 หลังจากก่อตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 42 ปี ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ซึ่งมี พ.อ. วินัย สมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ผลักดันแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ระยะทาง 2,744 กิโลเมตร วงเงิน 76,826 กิโลเมตร แต่ ครม. อนุมัติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 ให้ก่อสร้างในเส้นทางรถไฟชานเมืองช่วงแรก 4 เส้นทาง ระยะทาง 231 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณ 6,290 ล้านบาท ได้แก่ เส้นทางคลองรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี, เส้นทางหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา, เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน-นครปฐม, เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-มาบกะเบา

ต่อมา ครม. ได้อนุมัติขยายวงเงินการก่อสร้างเพิ่มเติม รวมทั้งขยายระยะเวลาผูกพันงบประมาณอีกหลายครั้ง ส่งผลให้งบประมาณรวมเพิ่มขึ้นจาก 6,290 ล้านบาท เป็น 23,504 ล้านบาท ดังนี้

1) วันที่ 6 พฤษภาคม 2540 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานโยธา เส้นทางคลองรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี จากเดิม 1,802 ล้านบาท เป็น 3,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,621 ล้านบาท

2) วันที่ 11 เมษายน 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานโยธา เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี, เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-มาบกะเบา, เส้นทางตลิ่งชัน-นครปฐม จากเดิม 2,258.30 ล้านบาท เป็น 7,700.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,442 ล้านบาท

3) วันที่ 16 พฤษภาคม 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานโยธาและงานระบบอาณัติสัญญาณ เส้นทางหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา โดยให้สร้างทางรถไฟเพิ่มจากเดิมอีก 2 ราง รวมของเดิมเป็น 3 ราง จากเดิม 1,319 ล้านบาท เป็น 8,783 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,464 ล้านบาท

4) วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานระบบอาณัติสัญญาณ เส้นทางคลองรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี จากเดิม 578 ล้านบาท เป็น 1,684 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,106 ล้านบาท

5) วันที่ 26 กันยายน 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานระบบอาณัติสัญญาณ เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี, เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-มาบกะเบา และเส้นทางตลิ่งชัน-นครปฐม จากเดิม 1,538 ล้านบาท เป็น 2,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 951 ล้านบาท

ทั้งนี้ แหล่งข่าวอดีตผู้บริหาร รฟท. ระบุว่า เส้นทาง 4 เส้นทางนี้ ปัจจุบันได้สร้างและเปิดใช้งานตั้งแต่ประมาณปี 2547(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

เส้นทางคู่สมัยนายชวน หลีกภัย

นอกจากเส้นทางรถไฟทางคู่สมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ที่สามารถผลักดันจนก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง เป็นอีกเส้นทางที่ผลักดันจนสร้างแล้วเสร็จในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยโครงการริเริ่มตั้งแต่ปี 2539 ในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2539 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ตามแนวชายฝั่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติ ครม. อนุมัติในหลักการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย โดยให้ รฟท. ศึกษาออกแบบแล้วเสร็จก่อนที่จะอนุมัติวงเงินก่อสร้างต่อไป

ต่อมาอีก 4 ปี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คณะกรรมการ รฟท. มีมติเห็นชอบก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ส่วนศรีราชา-ฉะเชิงเทรา พร้อมทั้งก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง (chord line) ก่อน ระยะทาง 69 กิโลเมตร วงเงิน 5,822 ล้านบาท และส่งให้กระทรวงคมนาคมเสนอต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อ 2 ตุลาคม 2544 และได้รับการตอบรับจากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2545 ว่าให้ชะลอการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองออกไปก่อน ขณะที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ให้ รฟท. ปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากขึ้นก่อนจะเสนอเรื่องขึ้นมาอีกครั้ง

ทั้งนี้ รฟท. ได้ปรับปรุงโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ฉะเชิงเทรา ตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และเสนอเรื่องต่อกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2546 โดยปรับวงเงินลงจาก 5,822 ล้านบาท เป็น 5,044 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2550

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 รฟท. ได้ปรับปรุงโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ฉะเชิงเทราอีกครั้ง เป็นเส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่าควรจะสร้างรถไฟทางคู่ต่อเนื่องออกไปจากศรีราชาถึงแหลมฉบังอีก 9 กิโลเมตร เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าในท่าเรือ ระยะทางรวม 78 กิโลเมตร วงเงินรวม 5,235 ล้านบาท โดยเป็นของเส้นทางศรีราชา-แหลมฉบัง 440 ล้านบาท พร้อมเสนอกระทรวงคมนาคมให้นำเข้าที่ประชุม ครม. ต่อไป ซึ่ง ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 อนุมัติการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

รถไฟทางคู๋ชลบุรี ฉะเชิงเทรา
ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2554

5 ปี “อภิสิทธ์-ยิ่งลักษณ์” มีแต่แผนไม่ได้สร้างจริง
หลังจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ใน 2 โครงการดังกล่าวแล้ว ระยะต่อมาก็ไม่มีการผลักดันก่อสร้างรถไฟทางคู่ใดๆ อีก จนกระทั่งปี 2552 ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งทำรายละเอียด “แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วน ช่วงปี 2553–2557” ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยมีวงเงินงบประมาณรวม 1 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ในแผนการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟทางคู่ แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน ปี 2553-2557 เส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ ซึ่งมีสภาพเป็นคอขวดและเต็มความจุของทางในปัจจุบัน จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 767 กิโลเมตร ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

ขณะเดียวกัน ได้วางแผนระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2558-2567 อีก 2 ระยะ ได้แก่ 1) ช่วงปี 2558-2562 ประกอบด้วย 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,025 กิโลเมตร ได้แก่ แก่งคอย-บัวใหญ่, ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ปากน้ำโพ-ตะพานหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร-สุราษฎร์ธานี และ 2) ช่วงปี 2563-2567 ประกอบด้วย 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,247 กิโลเมตร ได้แก่ ตะพานหิน-เชียงใหม่, สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์, คลองสิบเก้า-กบินทร์บุรี, หาดใหญ่- สุไหงโกลก, ทุ่งสง-กันตัง และกบินทร์บุรี-คลองลึก

ทั้งนี้ ความคืบหน้าจนถึงปี 2555 ในสมัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า “แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วน ช่วงปี 2553–2557” ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ต่อมาจึงถูกย้ายไปในเอกสารประกอบการพิจารณาของร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …. หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน โดยระบุแผนโครงการรถไฟทางคู่ทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย, เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, เส้นทางถนนจิระ-ขอนแก่น, เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย, เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, เส้นทางนครปฐม-หัวหิน, เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, เส้นทางชุมพร-สุราษฎ์ธานี, เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ วงเงินรวม 249,259.7 ล้านบาท

//--------------------

ระบบทางคู่ ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่12): โครงข่ายระบบขนส่งทางราง “ในเมือง-ระหว่างเมือง-ความเร็วสูง”
Thai Publica
19 มกราคม 2558

การแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะ “ระบบขนส่งทางราง” ทั้งระบบ ถือเป็นหนึ่งในความคาดหวังของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ตั้งใจผลักดันให้สำเร็จภายในรัฐบาลนี้ จากการเร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี เพียง 2 เดือนภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหารประเทศในเดือนพฤษภาคม 2557 และหลังการจัดตั้งรัฐบาลเพียง 1 เดือน คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในวันที่ 21 ตุลาคม 2557 กำหนดกรอบเวลาของโครงการต่างๆ โดยส่วนใหญ่พยายามให้เปิดประมูลและเริ่มก่อสร้างภายในปี 2558 ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง, รถไฟฟ้า 6 เส้นทาง จากทั้งหมด 10 เส้นทาง, และโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทำให้การดำเนินนโยบายด้านคมนาคมของประเทศไทยในปี 2558 กลายเป็นปีสำคัญที่ต้องติดตามว่าจะสำเร็จตามความตั้งใจของ พล.อ. ประยุทธ์และยกระดับขีดความสามารถด้านคมนาคมขนส่งได้หรือไม่(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

ขั้นตอนพัฒนาการระบบราง

ทั้งนี้ แหล่งข่าวอดีตผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า “ระบบการขนส่งทางรางที่ดี” ควรจะประกอบด้วย 1) รถไฟขนส่งมวลชน “ในเมือง” แบ่งเป็น “รถขนส่งมวลชนธรรมดาทำหน้าที่กระจายคน” (Feeder หรือ Distributor) ในเขตธุรกิจ มีระยะห่างระหว่างสถานีสองเท่าของระยะเดินเท้า หรือประมาณ 1 กิโลเมตร ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่เขตใจกลางธุรกิจ หรือซีบีดี (Central Business District: CBD) เท่านั้น ตัวอย่างในปัจจุบัน ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน เป็นต้น ขณะที่รถไฟในเมืองอีกประเภท ได้แก่ “รถขนส่งมวลชนระยะไกล” ทำหน้าที่นำคนในเมืองจากระยะที่ห่างออกไปเข้ามาทำงานเขตธุรกิจ มีระยะห่างระหว่างสถานี 3-5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รอบนอกของเขตซีบีดีหรือพื้นที่ที่อยู่อาศัยจนถึงเขตชานเมือง ตัวอย่างในปัจจุบัน ได้แก่ โครงการรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์

2) รถไฟ “ระหว่างเมือง” แบ่งเป็น “รถไฟชานเมือง/ท้องถิ่น ระยะห่างระหว่างสถานี 5-10 กิโลเมตร, “รถไฟแบบเร็ว” ระยะห่างระหว่างสถานี 20-30 กิโลเมตร และ “รถไฟแบบด่วน” ระยะห่างระหว่างสถานี 30-40 กิโลเมตร รถไฟรูปแบบนี้เป็นรูปแบบการให้บริหารของ รฟท. ในปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้ทางร่วมกัน โดยประเภทแรกจะทำการจอดหยุดรับผู้โดยสารทุกสถานี โดยมีจุดประสงค์ในการขนส่งคนจากเมืองขนาดเล็กสู่เมืองขนาดใหญ่หรือในทางกลับกัน ขณะที่อีกสองประเภทจะไม่จอดรับผู้โดยสารทุกสถานี โดยมีจุดประสงค์เพื่อขนย้ายคนจากเมืองใหญ่ไปสู่เมืองใหญ่โดยตรง

3) รถไฟ “ความเร็วสูง” แบ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงธรรมดา มีระยะห่างระหว่างสถานี 50-100 กิโลเมตร และรถไฟความเร็วสูงด่วน มีระยะห่างระหว่างสถานี 100-200 กิโลเมตร มีจุดประสงค์ให้บริการรองรับความต้องการส่วนเกินจากรถไฟระหว่างเมือง

แหล่งข่าวกล่าวเสริมว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงจะต้องอาศัยการพัฒนาเป็นระดับขึ้นมา ไม่สามารถข้ามระดับได้ เนื่องจากจะมีความหนาแน่นของประชากรไม่เพียงพอและจะขาดทุนในที่สุด โดยยกตัวอย่างการพัฒนา “ระบบขนส่งทางราง” ของประเทศไต้หวันว่า ในปี 2526 ไต้หวันได้เริ่มพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองเป็นทางคู่รอบเกาะ โดยเน้นทางด้านตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้เกิดการชี้นำการตั้งถิ่นฐานของประชากรและเพิ่มความหนาแน่นของประชากรในประเทศฝั่งตะวันตก คิดเป็น 94% ของประชากรทั้งหมด ทำให้ไต้หวันสามารถพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงต่อไปได้ ทั้งที่มีประชากรเพียง 35 ล้านคนเท่านั้น

“ทำไมไต้หวันทำความเร็วสูงได้ทั้งที่มีคนแค่นี้ คำตอบคือ 35 ล้านคนก็จริง แต่ 94% กองอยู่ภาคตะวันตก ความหนาแน่นมันได้ คุ้มที่จะสร้างความเร็วสูง แต่ตอนนี้รัฐบาลไทยพยายามจะโดดข้ามไปความเร็วสูงเลย มันไม่มีคนใช้ ต้องพัฒนาเป็นขั้นตอนแบบนี้ ญี่ปุ่นทำชินคังเซน เพราะระบบเดิมมันล้นมา คือจากสองรางไม่พอ เป็นสี่รางก็ยังไม่พอ ต้องขยายอีก จึงเกิดคำถามว่าทำเป็นความเร็วสูงเลยไหม แต่ของเราโดดข้ามเลย เป็นแนวคิดที่ผิด มีการคัดค้านแต่ไม่มีใครฟัง” แหล่งข่าวกล่าว(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

ระบบรางไต้หวัน

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการต่างๆ ที่ต้องจับตามองในปี 2558 พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวถึงโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรางปัจจุบันว่า ในส่วนโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง จะมีวงเงินลงทุนรวม 129,306 ล้านบาท โดยจะเร่งประมูลให้แล้วเสร็จในปี 2558 และเปิดใช้พร้อมกันปี 2561 ได้แก่

1. สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ตามแผนงานจะประมูลได้ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และจะเริ่มสร้างได้ในเดือนมีนาคม 2558

2. สายจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร เสนอครม.อนุมัติเดือนกุมภาพันธ์ เปิดประมูลเดือนมีนาคม และจะเริ่มสร้างเดือนกันยายน 2558

3. สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร เสนอครม.อนุมัติเดือนเมษายน เปิดประมูลเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558

4. สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร เสนอครม.อนุมัติเดือนเมษายน เปิดประมูลเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558

5. สายมาบกะเบา-จิระ 132 กิโลเมตร เสนอครม. อนุมัติเดือนเมษายน เปิดประมูลเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558

6. สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร เสนอครม. อนุมัติเดือนเมษายน เปิดประมูลเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มสร้างเดือนพฤศจิกายน 2558

ด้านโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร พล.อ.อ. ประจิน คาดว่าจะใช้เวลาอีก 10 เดือน เพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการทั้งหมดร่วมกับประเทศจีน หลังจากได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู)กับประเทศจีนในช่วงปลายปีที่ผ่านมาแล้ว

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าภายในกรุงเทพมหานคร นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่าปี 2558 มีแผนงานทั้งสิ้น 3 เส้นทางที่กำลังรอขอ ครม. อนุมัติก่อสร้าง ได้แก่ สายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 20 กิโลเมตร, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กิโลเมตร และสายสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 34.5 กิโลเมตร

ทั้งนี้ รฟม. มีโครงการที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบันทั้งสิ้น 3 โครงการ ได้แก่ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไทร-บางใหญ่ ซึ่งดำเนินการก่อสร้างแล้ว 90% และอยู่ในระหว่างการทดสอบระบบ, สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ดำเนินการก่อสร้างแล้ว 50% ขณะที่การจัดหาผู้เดินรถจะมีการนัดประชุมอีกครั้งช่วงต้นเดือนมกราคมนี้ และสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งดำเนินการก่อสร้างแล้ว 40% นอกจากนี้ยังมีสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-คูคต ซึ่งอยู่ในช่วงประกวดราคาอยู่และคาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้ง 4 สัญญาช่วงต้นปี 2558

นายรณชิตกล่าวว่าในอนาคต รฟม. มีแผนงานที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 2 โครงการ ได้แก่ สายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการปรับแนวเส้นทาง เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายจะลดการเวนคืนจาก 180 หลังคาเรือน ให้เหลือ 30 หลังคาเรือน และสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนออกแบบ คาดว่าจะจัดการแล้วเสร็จ พร้อมเสนอเข้า ครม. ภายในปี 2558 ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2015 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

ยกจีนคุมก่อสร้างรถไฟทางคู่ คาดเดินหน้าช่วง1-2 กันยายนนี้
มติชนออนไลน์ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:37:35 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในงานแถลงข่าวการประชุมร่วมไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 21-22 มกราคมว่า

ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ รวมระยะทาง 873 กิโลเมตร

Click on the image for full size

โดยจะแบ่งออก 4 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย
ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด จะเริ่มก่อสร้างพร้อมกันในเดือนกันยายน หรือไม่เกินเดือนตุลาคม 2558 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีครึ่งพร้อมเปิดให้บริการ

ส่วนช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนธันวาคม 2558 ใช้เวลาก่อสร้างกว่า 3 ปีกว่าพร้อมเปิดให้บริการ

"ที่ก่อสร้างช่วงที่ 1-2 ได้ก่อน เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของแนวการก่อสร้างและมีพื้นที่เวนคืนน้อย ส่วนช่วงที่ 3-4 มีพื้นที่ไหล่เขา ผ่านพื้นที่อุทยาน และยังมีชุมชนอาศัยอยู่ตามแนวเขตทางพอสมควรจึงต้องดำเนินการได้ช้ากว่า" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว และว่า หลังจากนี้ทางเจ้าหน้าที่จากบริษัทรถไฟของจีนและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะออกสำรวจแนวเส้นทางอย่างไม่เป็นทางการร่วมกัน จากนั้นในต้นเดือนมีนาคม จะออกสำรวจร่วมกันอย่างเป็นทางการ ส่วนเงินลงทุนและการก่อสร้างเป็นหน้าที่ของฝ่ายจีน ซึ่งหากทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบแผนทั้งหมดก็จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนำเรื่องเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้กำหนดรูปแบบการลงทุน เบื้องต้นไว้ 3 รูปแบบ คือ

1.กู้เงินจากจีนมาดำเนินโครงการโดยได้รับดอกเบี้ยอัตราพิเศษ
2.รัฐและเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) และ
3.การลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล

ซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายไทยจะต้องไปพิจารณาผลตอบแทนและความเป็นไปได้ของโครงการให้เกิดความชัดเจนก่อนจะเลือกรูปแบบการลงทุน จากนั้นจึงจะนำข้อสรุปที่ได้ไปประชุมร่วมกับจีนในการประชุมครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2558 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนโครงการนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมอีก 1 เส้นทางของจีนที่จะเชื่อมโยงการค้าขายมายังอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2015 3:54 am    Post subject: Reply with quote

"ประจิน" เล็งปรับรถไฟสายใต้เป็นรถไฟฟ้า
ข่าวเที่ยง ตรงประเด็น
Now TV 26
วันที่ 24 มกราคม 2558
พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาปรับระบบรถไฟสายใต้จากปัจจุบันใช้รถจักรดีเซลเป็นรถไฟฟ้าภายในปี 2562 โดยจะเปลี่ยนระบบเฉพาะรถไฟสายใต้ เนื่องจากปัจจุบันในมาเลเซียใช้ระบบรถไฟฟ้าอยู่ก่อนแล้วและสามารถเชื่อมโยงได้ทันที จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่มีระบบราง 1 เมตร เหมือนกัน ซึ่งจะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมให้เกิดความปลอดภัยและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีแผนสร้างทางรถไฟรางมาตรฐาน 1.435 เมตร หลายเส้นทาง เช่น กรุงเทพฯ-หนองคาย แต่รางขนาด 1 เมตร ยังดำเนินการควบคู่กับรางมาตรฐาน โดยถ้าการเชื่อมโยงเส้นทางจากจีนตอนใต้ลงมาถึงไทยได้ก็จะเชื่อมเป็นเส้นทางเชื่อมคุนหมิง-สิงคโปร์ (The Singapore-Kunming Rail Link) ที่สมบูรณ์ขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 388, 389, 390  Next
Page 91 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©