RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311288
ทั่วไป:13270462
ทั้งหมด:13581750
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 390, 391, 392  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2015 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อีสานใต้นับถอยหลัง รัฐบาล"บิ๊กตู่" ทุ่มงบ2.6หมื่นล้าน สร้างรถไฟทางคู่

updated: 26 มิ.ย. 2558 เวลา 16:00:24 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

อีสานใต้ 5 จังหวัด นับถอยหลัง รัฐบาลทุ่มงบ2.6หมื่นล้าน สร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ-อุบลฯ ร.ฟ.ท.เร่งศึกษาเสร็จปี′59


น่ากลัวจะเป็นนักข่าวไดรฟ์เอแล้วกระมัง เพราะ ระยะทางตั้ง 309 กม. จะมาเอาราคาแค่ 26007 ล้านบาทเหมือน สายโคราช ขอนแก่นที่ยาวเพียง 185 กืโลเมตร ถ้า เป็น 4หมื่นล้านบาท อย่างที่สำนักข่าวอื่นเขารายงานยังพอเชื่อถือได้หน่อย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2015 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ทางคู่ ตกกิโลละ 100-130 ล้านบาทโดยเฉลี่ยครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2015 2:16 am    Post subject: Reply with quote

ปี ๕๙ ลุยรถไฟทางคู่ ‘โคราช-อุบลฯ’๓ หมื่นล. ผ่าน ๑๖ อำเภอ ๕ จังหวัด
โคราชทูเดย์
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘

รฟท.เดินหน้ารถไฟทางคู่ ‘ช่วงชุมทางจิระ-อุบลฯ’ ระยะทาง ๓๐๙ กม. รองรับศูนย์กลางขนส่งโลจิสติกส์ภาคอีสาน ช่วยขนส่งสินค้าด้านอุตสาหกรรมการเกษตรผ่านทางระบบราง อนาคตวางต่อขยายแนวเส้นทางไปชายแดนสปป.ลาว คาดงบก่อสร้างสูงถึง ๓-๔ หมื่นล้าน ส่วนเส้นทาง ‘มาบกะเบา-โคราช’ ลุ้นผ่าน EIA เพราะต้องเลี่ยงพื้นที่ป่าสงวน และกันเขตทางประทานบัตรโรงปูนซิเมนต์ ๓ แห่ง



เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ โรงแรมซิตี้พาร์ค จังหวัดนครราชสีมา นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ ๑ ปฐมนิเทศโครงการบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด “โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี” โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด, บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ดำเนินงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด ตลอดทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมประชุมกว่า ๒๐๐ คน


เร่งพัฒนารถไฟทางคู่อีสานล่าง
นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความเป็นมาว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวกับโครงการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ๑ (ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และตอนล่าง ๒ (ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี) ตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม และระบบโลจิสติกส์ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมการบินพลเรือน จำนวน ๓ ด้าน รวมทั้งสิ้น ๑๒ โครงการ ซึ่งโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ดังกล่าว ได้รวมการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางระบบราง จำนวน ๑ โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี โดยเร่งรัดให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๖๒ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนดำเนินงาน โครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี รวมอยู่ในแผนดำเนินการระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๓)
“สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เป็นเส้นทางหนึ่งตามแผนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ระยะที่ ๒ ของกระทรวงคมนาคม ที่จะก่อสร้างปรับปรุงทางรถไฟช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา ถึงสถานีอุบลราชธานี จากทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่ รฟท. จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรี และนโยบายส่งเสริมการลงทุนในโครงข่ายรถไฟทางคู่ที่สำคัญของประเทศ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ ๑๒ เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๘ – เมษายน ๒๕๕๙ ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการการขนส่งทางราง ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการเดินทางและประหยัดเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคขนส่งของประเทศ นอกจากนี้ยังลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะทั้งในเขตพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศอีกด้วย” นายวรรณนพ กล่าว


‘ผู้ว่าฯเบิร์ด’มองเชื่อมภูมิภาค
นายธงชัย(เบิร์ด) ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดการประชุมว่า ทุกวันนี้จังหวัดนครราชสีมามีการขนส่งสินค้าทางถนน ทั้งรถยนต์และรถบรรทุกมากกว่าระบบรางอยู่แล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศ ๑.๙ ล้านไร่ และส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังสำเร็จรูปไปต่างประเทศจำนวนมาก ผ่านทางท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือพระนครศรีอยุธยา ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงแป้งมันขนส่งสินค้าผ่านระบบรางส่วนหนึ่งที่อำเภอสูงเนิน และนำไปลงท่าเรือพระนครศรีอยุธยา ในอนาคตถ้าระบบรางรถไฟพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ ก็จะสามารถเปลี่ยนจากระบบขนส่งทางรถยนต์มาเป็นรถไฟได้ นอกจากนี้เมืองโคราชยังเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ๓,๐๐๐ กว่าแห่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโปแตซ (ผลิตเกลือ) ที่อำเภอพิมาย ขนส่งสินค้าผ่านทางรถยนต์เฉลี่ยปีละหลายพันตัน ดังนั้น การพัฒนารถไฟทางคู่จะช่วยลดความแออัดบนทางหลวงแผ่นดิน ทำให้เกิดอุบัติเหตุน้อยลง ทั้งยังลดการนำเข้าและประหยัดเชื้อเพลิงการขนส่ง เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ก่อให้เกิดศักยภาพทางเศรษฐกิจทั้งช่วงก่อสร้างและหลังจากการก่อสร้าง
“ผมไม่อยากให้มองเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราชที่จะได้ประโยชน์เท่านั้น ชาวโคราชต้องมองเผื่อคนข้างหลังด้วย นั่นคือ ๒๐ จังหวัดภาคอีสาน และระดับประเทศ ทั้งการเชื่อมโยงไปถึงสปป.ลาว และประเทศเวียดนาม รวมไปถึงการคมนาคมขนส่งจากภาคกลางและภาคตะวันออกมายังภาคอีสานด้วยก็จะต้องผ่านโคราช เพราะฉะนั้น ในอนาคตโคราชจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภาคอีสาน ภาคกลาง และอาเซียน อย่างไรก็ดี เชื่อว่าหากเกิดการพัฒนาระบบรางสมบูรณ์ โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นจากเส้นทางโคราชจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยวให้กับทุกจังหวัดในภาคอีสาน และต่อยอดให้กับระดับประเทศต่อไปในทุกมิติ” ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าว


‘โคราช-อุบลฯ’แล่น ๓๐๙ กม.
ต่อมากลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นำโดยนางสาวนิภาพร สถาผล วิศวกรโครงการ, นายอาคม สุวรรณไตร วิศวกรโครงการ, นางสาวจิตรลดา ดำรงสุกิจ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม และดร.เสถียร รุจิวนิช ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ นำเสนอสาระสำคัญการศึกษา “โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี” โดยระบุว่า ด้านวิศวกรรมและการออกแบบแนวเส้นทางจะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว ๑๖๐ กม./ชม. โดยใช้รางขนาด ๑ เมตร (Meter Gauge) แต่ต้องมีการปรับรัศมีโค้งเป็นบางช่วง เพื่อให้รองรับอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ซึ่งจะสร้างทางเพิ่มขึ้น ๑ ทาง เพื่อวิ่งคู่ขนานกับทางรถไฟเดิม โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการฯ บริเวณ กม.๒๖๖+๓๐๔ เมื่อพ้นจากสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา และไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี บริเวณ กม.๕๗๕+๑๐๐ ระยะทางรวมประมาณ ๓๐๙ กิโลเมตร


ผ่าน ๑๖ อำเภอ ๕ จังหวัด
ตลอดแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ ๑๖ อำเภอ ใน ๕ จังหวัด ได้แก่
1. จ.นครราชสีมา
1.1 อ.เมืองนครราชสีมา,
1.2 เฉลิมพระเกียรติ,
1.3 จักราช และ
1.4 ห้วยแถลง,
2. จ.บุรีรัมย์
2.1 อ.ลำปลายมาศ,
2.2 เมืองบุรีรัมย์,
2.3 ห้วยราช และ
2.4 กระสัง,
3. จ.สุรินทร์
3.1 อ.เมืองสุรินทร์
3.2 ศีขรภูมิ และ
3.3 สำโรงทาบ,
4. จ.ศรีสะเกษ
4.1 อ.ห้วยทับทัน,
4.2 อุทุมพรพิสัย,
4.3 เมืองศรีสะเกษ และ
4.4 กันทรารมย์,
5. จ.อุบลราชธานี
5.1 อ.วารินชำราบ

ประกอบด้วย ๓๔ สถานี ไม่รวมสถานีชุมทางถนนจิระแบ่งเป็น
สถานีชั้น ๑ จำนวน ๗ สถานี,
สถานีชั้น ๒ จำนวน ๗ สถานี และ
สถานีชั้น ๓ จำนวน ๒๐ สถานี ดังนี้
๑. บ้านพะเนา
๒. ท่าช้าง
๓. หนองมโนรมย์
๔. จักราช
๕. บ้านหินโคน
๖. หินดาษ
๗. ห้วยแถลง
๘. หนองกระทิง
๙. ลำปลายมาศ
๑๐. ทะเมนชัย
๑๑. บ้านแสลงพัน
๑๒. บ้านหนองดาด
๑๓. บุรีรัมย์
๑๔. ห้วยราช
๑๕. กระสัง
๑๖. หนองเต็ง
๑๗. ลำชี
๑๘. สุรินทร์
๑๙. บุฤาษี
๒๐. เมืองที
๒๑. กระโดนค้อ
๒๒. ศีขรภูมิ
๒๓. บ้านกะลัน
๒๔. สำโรงทาบ
๒๕. ห้วยทับทัน
๒๖. อุทุมพรพิสัย
๒๗. บ้านเนียม
๒๘. ศรีสะเกษ
๒๙. หนองแวง
๓๐. บ้านคล้อ
๓๑. กันทรารมย์
๓๒. ห้วยขยุง
๓๓. บุ่งหวาย และ
๓๔. อุบลราชธานี

โดยตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ ส่วนใหญ่ไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


รฟท.วางศูนย์กลางโลจิสติกส์
ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี รฟท. มองว่าจะช่วยส่งเสริมให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางด้านขนส่งโลจิสติกส์ ที่ช่วยขนถ่ายสินค้าด้านอุตสาหกรรมการเกษตร อาทิ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล ฯลฯ ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน และมีบทบาทสนับสนุนการเดินทางและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า ที่กระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของจังหวัดนครราชสีมา ให้มีการเติบโตมากขึ้น และกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ในอนาคตถ้ามีการต่อขยายแนวเส้นทางจากสถานีอุบลราชธานี ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังบริเวณชายแดนระหว่างไทย กับสปป.ลาว จะทำให้แนวเส้นทางนี้ช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบโครงการฯ


ค่าก่อสร้างสูง ๓-๔ หมื่นล้าน
นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รฟท. ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทางประมาณ ๓๐๙ กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้างประมาณ ๓-๔ หมื่นล้านบาท เฉลี่ยกิโลเมตรละประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ ล้านบาท นับเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายอีสาน ระยะที่ ๒ สืบเนื่องจากเส้นทางระยะเร่งด่วน คือ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันมีรถไฟทางคู่แล้วจากเส้นทางกรุงเทพฯ-มาบกะเบา ตามแผนการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายอีสาน ระยะที่ ๒ นั้น ยังรวมถึงการศึกษาเส้นทางขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง ๑๗๔ กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง ๑๘๕ กิโลเมตร มูลค่า ๒.๖ หมื่นล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว หากทั้ง ๔ เส้นทางดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ในอนาคตจะเชื่อมต่อภาคอีสานทั้งหมด ร่นระยะเวลาการเดินทางประมาณ ๓-๔ ชั่วโมง เพราะออกแบบให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว ๑๖๐ กม./ชม. ซึ่งจะไม่มีการสับหลีกรางของการเดินรถไฟแต่ละขบวนเหมือนที่ผ่านมา ที่สำคัญคือ แนวทางการพัฒนาจะใช้พื้นที่ รฟท. ข้างละประมาณ ๔๐ เมตร โดยไม่มีการเวนคืน ยกเว้นกรณีพบการบุกรุกและบริเวณที่มีการแก้ไขปัญหาจุดตัดอาจต้องเวนคืนพื้นที่เล็กน้อย เพื่อกันพื้นที่ไว้สำหรับการก่อสร้างทางคู่ เป็นต้น


จัดสรรงบจ้างที่ปรึกษา ๒๒๐ ล.
“ทั้งนี้ รฟท. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บจก.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์, บจก.ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด และบจก.ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ ในวงเงินประมาณ ๒๒๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ภายหลังจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนในครั้งนี้ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะลงพื้นที่จัดการประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๑ ต่อเนื่อง ที่จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ มิถุนายนนี้ จากนั้นจะลงพื้นที่ศึกษาและรับทราบถึงปัญหาตามชุมชนต่างๆ รอบพื้นที่โครงการฯ โดยเฉพาะการประเมินจุดตัด/ทางแยก เพื่อวางโครงสร้างทางวิศวกรรมอาจเป็นในลักษณะท่อลอด (Box Convert) ให้รถไฟแล่นผ่านได้โดยไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษามีกำหนดส่งมอบงานในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ หากโครงการนี้ได้รับความเห็นชอบผ่าน EIA จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าประมาณปลายปี ๒๕๕๙ จะสามารถก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวได้” นายวรรณนพ กล่าว


‘มาบกะเบา-โคราช’ลุ้นอีไอเอ
ต่อข้อซักถามของ ‘โคราชคนอีสาน’ ถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตร ซึ่งมีมูลค่าก่อสร้าง ๒๙,๘๕๕ ล้านบาทนั้น นายวรรณนพ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รฟท. กล่าวว่า “ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หลังจากบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับว่าจ้างให้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเส้นทางนี้ ได้ส่งข้อมูลร่างรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติมให้คณะกรรมการฯ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากติดปัญหาเรื่อง EIA ช่วงที่ผ่านป่าสงวนบริเวณ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ซึ่งเป็นป่าโซน B (ลุ่มน้ำ) และยังมีปัญหาประทานบัตรโรงปูนซิเมนต์ ๓ โรง พื้นที่ตรงนี้วางแผนออกแบบไว้เป็นอุโมงค์ลอด และกันพื้นที่ข้างละประมาณ ๒๐๐ เมตร เพื่อไม่ให้ระเบิดหินเข้าไปในเส้นทางรถไฟ คาดว่าไม่มีปัญหาเพราะเป็นประทานบัตรที่อนุญาตโดยรัฐบาล”
‘จิระ-ขอนแก่น’พร้อมสร้าง
อย่างไรก็ตาม การพัฒนารถไฟทางคู่สายอีสานที่มีความพร้อมดำเนินการมากที่สุดในขณะนี้ คือ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ชุมทางถนนจิระ(นครราชสีมา) - ขอน แก่น ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบดำเนินการเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในกรอบวงเงิน ๒๖,๐๐๗ ล้านบาท ระยะทาง ๑๘๕ กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ โดย รฟท.จะเปิดประมูลทันที ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) เนื่องจากผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้ว คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๑ มีผู้โดยสารใช้บริการ ๒๗,๒๐๐-๓๘,๐๐๐ คนต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น ๓๗,๐๐๐-๕๕,๐๐๐ คนต่อวันในปี ๒๕๗๗ และคาดการณ์ปริมาณขนส่งสินค้าที่ผ่านเส้นทางประมาณ ๑๐,๙๐๐-๑๑,๓๐๐ ตันต่อวัน และเพิ่มขึ้นเป็น ๓๖,๔๐๐ ตันต่อวัน ในปี ๒๕๗๗

หากมีความคืบหน้า ‘โคราชคนอีสาน’ จะนำเสนอข่าวต่อไป


วิดีโอ รถไฟทางคู่ ‘ช่วงชุมทางจิระ-อุบลฯ’ ระยะทาง ๓๐๙ กม.มาแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=Ie4CLmuEU9o&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2015 9:04 am    Post subject: Reply with quote

งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม
และออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี
เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ ชุดที่ 1 มิถุนายน 2558
Arrow http://www.chumphon-suratrailway.com/media.php
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2015 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม
และออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี
เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ ชุดที่ 1 มิถุนายน 2558
Arrow http://www.chumphon-suratrailway.com/media.php


นี่ครับ เอกสารที่ว่านี้
http://www.chumphon-suratrailway.com/file/media1.pdf
http://www.chumphon-suratrailway.com/file/board1.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/07/2015 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ถกสร้างรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2558 11:13น.

ร.ฟ.ท. เดินสายจัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย โดยมี นายวรรณนพ ไพศาลพงษ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวฯ เป็นหนึ่งในแผนการลงทุนด้านโครงการพื้นฐานของการรถไฟฯ ซึ่งได้รวมการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย โดยการรถไฟฯ ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน สิ้นสุด 15 เมษายน 2559

อย่างไรก็ตาม ลักษณะของโครงการและแนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบระบบรถไฟทางคู่ เป็นการออกแบบก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นจำนวน 1 ทาง เป็นคันทางระดับดินหรือยกระดับ โดยยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทุกแห่ง จากสถานีสำราญ ถึงสถานีหนองคาย มีสถานีจำนวน 15 สถานี และที่หยุดรถไฟ 2 แห่ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรรมสิทธิ์ที่ดินรถไฟ ประโยชน์จากการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ จะสามารถเพิ่มความจุทางได้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/07/2015 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสม
วันที่ 7 ก.ค. 2558
ชานิกา กันภัย/ส.ปชส.พิจิตร

วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ แจ้งการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ที่จังหวัดพิจิตร ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2558

นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง แจ้งว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท นิวแอสเซท แอดไวเซอรี่ จำกัด บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย โดยให้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2558 มีระยะเวลาปฏิบัติงานโครงการ 12 เดือน ซึ่งการรถไฟฯ ได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน และให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงข้อมูลการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน สอดคล้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการ ตลอดจนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดให้มีการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2558 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องเพชรพิจิตร โรงแรมพิจิตรพลาซ่า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เพื่อนำเสนอขอบเขตและแนวทางการศึกษาโครงการ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง

การรถไฟฯ จึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุม และร่วมกันให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะต่อโครงการ เพื่อการพัฒนาโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป โดยลงทะเบียนล่วงหน้าภายในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2558 โดยแจ้งรายชื่อไปยัง นางสาวอุไรรักษ์ แป้นโก๋ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2361 7451 ต่อ 309 โทรสาร 0 2361 7455 อีเมล์ urairak.p@uaeconsultant.co.th
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2015 3:59 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.รับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี
วันที่ข่าว : 8 กรกฎาคม 2558

วันนี้ (8 ก.ค.58 ) เวลา 09.30 น. ที่ห้องฟ้าหลวง 1 โรงแรมนภาลัย อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 หรือปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น –หนองคายเพื่อแนะนำประชาสัมพันธ์โครงการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมกับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้น โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการเกี่ยวกับความจำเป็น วัตถุประสงค์ แนวคิดและวิธีการดำเนินการ แผนการดำเนินงาน และการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมการประชุม เพื่อนำไปประกอบการดำเนินงานศึกษา

นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น –หนองคาย เป็นโครงการหนึ่งในแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ณ จังหวัดอุดรธานี เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน พัฒนาโครงการคมนาคมทางระบบราง รวมทั้งเร่งรัดโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางรางคู่ กรุงเทพฯ-หนองคายให้แล้วเสร็จในปี 25562 การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อาทิ บริษัทเทสโก้ จำกัด เป็นบริษัทหลัก ร่วมกับบริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท นิวแอสเซท แอดไวเชอรรี่ จำกัด บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด และบริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน สิ้นสุด 15 เมษายน 2559

โดยดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) สำรวจออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม (Engineering Detail Design)
และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(Environmental lmpact Assessment : ElA) โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงขอนแก่น –
หนองคาย ระยะทางประมาณ 124 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ประมาน กม. 454 (เป็นจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงจิระ – ขอนแก่น) ห่างจากสถานีรถไฟขอนแก่นที่ กม. 450 ประมาณ 4.2 กิโลเมตรและมีจุดสิ้นสุดโครงการฯ ที่สถานีหนองคาย

ลักษณะของโครงการและแนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบระบบรถไฟทางคู่ เป็นการออกแบบก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 ทาง เป็นคันทางระดับดินหรือยกระดับ โดยยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทุกแห่งจากสถานีสำราญ ถึงสถานีหนองคาย จำนวน 15 สถานีและที่หยุดรถไฟ 2 แห่ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรรมสิทธิ์ที่ดินรถไฟ หลักเกณฑ์การออกแบบให้ได้มาตรฐานโค้งที่มีความปลอดภัยรองอรับระบบทางคู่ ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 120-160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการปรับแนวเส้นทางในบางช่วง รวมงานด้านการออกแบบพัฒนาและปรับปรุงสถานีรถไฟและย่านสถานี ประโยชน์จากการพัฒนาระบบทางรถไฟทางคู่จะสามารถเพิ่มความจุทางได้มากขึ้น ลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนนและจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้น

ผู้สนใจสามารถติดตามกิจกรรมการดำเนินงานได้ทางเฟชบุ๊ค รถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย ทาง https://www.facebook.com/railkhonkaen.nongkhai และ เว๊บไซต์ https://www.khonkaen-nongkhairailway.com
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=630410
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/07/2015 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

ชงครม.เร่งรัดลงทุน2เส้นทางรถไฟรางคู่
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 08 กรกฎาคม 2558, 19:30

"คลัง" ขอ "ครม." เร่งโครงการลงทุนรถไฟรางคู่ใน 2 เส้นทาง หลังพบช้ากว่ากำหนดในเส้น "ประจวบฯ-ชุมพร" และ "ชุมทางจิระ-ขอนแก่น"

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จะรายงานคณะรัฐมนตรีช่วยเร่งรัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการลงทุนรถไฟรางคู่ใน 2 เส้นทาง ให้เกิดการลงทุนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พบว่า มีความล่าช้าในการดำเนินโครงการค่อนข้างมาก คือ เส้นทางระหว่างจ.ประจวบคีรีขันธ์ ถึง จ.ชุมพร และ เส้นทางระหว่าง ชุมทางจิระ จ.นครราชสีมา ถึง จ.ขอนแก่น โดยทั้งสองเส้นทางดังกล่าวนั้น มีเป้าหมายจะลงทุนวงเงินรวมกว่า 4 พันล้านบาท ภายในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2558 แต่ขณะนี้ โครงการดังกล่าว ยังไม่สามารถหาผู้รับเหมาการลงทุนได้

“เราได้ติดตามการลงทุนดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่า ยังมีความล่าช้าในการลงทุน จากเป้าหมายจะมีการลงทุนได้ไม่เกินกลางปี 2558 นี้ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถหาผู้รับเหมา รวมถึง โครงการยังไม่ผ่านการอนุมัติด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีช่วยเร่งรัดการลงทุนดังกล่าว เพราะถือเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ”นายธีรัชย์ กล่าว

โครงการลงทุนทั้งสองเส้นทาง มีวงเงินรวมประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการลงทุนเส้นทางระหว่าง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถึง จ.ชุมพร วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท และเส้นทางระหว่างชุมทางจิระ จ.นครราชสีมา ถึง จ.ขอนแก่นวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท

“สำหรับโครงการลงทุนที่อยู่ในแผนบริหารจัดการหนี้ของสบน. ส่วนใหญ่ถือว่า เป็นไปตามแผน เช่น รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เช่น สายสีม่วง น้ำเงิน เขียว แดง และ แดงส่วนเหนือ แต่มีสองเส้นทางลงทุนดังกล่าวเท่านั้น ที่ยังมีความล่าช้า” นายธีรัชย์ กล่าว

สำหรับการลงทุนระยะสั้นในระบบถนนและชลประทาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 7.8 หมื่นล้านบาท นายธีรัชย์ กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการขอจัดสรรวงเงินจากสำนักงบประมาณไปแล้ว 50% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2015 6:35 am    Post subject: Reply with quote

โผบัญชีรายชื่อสถานี จากขอนแก่นไปหนองคายในโครงการทำทางคู่ ระยะทาง 174 กม. เริ่มที่กม. 453 + 955

0. ขอนแก่น
1. สำราญ
2. ห้วยไห - ฟื้นฟูขึ้นมา
3. โนนพยอม - ต้องมีการแก้โค้งหักข้อศอก และ สะพานข้ามลำน้ำพองเพื่อแทนสะพานอเมริกันที่เอามาตั้งปี 2483
4. ที่หยุดรถบ้านวังชัย
5. น้ำพอง
6. ห้วยเสียว
7. เขาสวนกวาง - ต้องมีการแก้โค้งหักข้อศอกตรงรอยต่อ ขอนแก่นกะอุดรธานี
8. โนนสะอาด
9. ห้วยเกิ้ง
10. กุมภวาปี
11. ห้วยสามพาด
12. หนองตะไก้
13. ที่หยุดรถคำกลิ้ง
14. หนองขอนกว้าง
15. อุดรธานี
16. หนองตูม - ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ สำหรับคนที่อยู่ริมถนนมิตรภาพ
17. นาพู่ - ที่เพิ่งเปิดเพื่อช่วยการหลีกรถเมื่อไม่นานมานี่
18. บัวเงิน
19. หนองสองห้อง - ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ เพื่อคนอยู่เส้น Bypass ไปท่าบ่อ
20. นาทา
21. หนองคาย - หมดระยะทาง กม. 623
https://www.facebook.com/railkhonkaen.nongkhai/posts/761375323971737
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 390, 391, 392  Next
Page 98 of 392

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©