Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311216
ทั่วไป:13149619
ทั้งหมด:13460835
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เล่าเรื่องตั๋วแข็งหลากสีหลายชนิด
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เล่าเรื่องตั๋วแข็งหลากสีหลายชนิด
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 16, 17, 18  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 22/07/2006 10:28 am    Post subject: คุยด้วยคน Reply with quote

พูดถึงรถดีเซลรางปรับอากาศที่การรถไฟวิ่งรถให้เอกชนเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งมันก็เป็นรูปแบบของการรถไฟให้เอกชนเช่าเหมาขบวนไปให้เอกชนบริการ โดยเฉพาะสายพิษณุโลก-กรุงเทพ-พิษณุโลก ที่มีวันละ 3 ขบวน ออกจากพิษณุโลกเช้าก็ 8.30 แล้วก็ราว ๆ 5 โมงเย็น แล้วก็ 4 ทุ่ม หรือ 5 ทุ่มนี่แหละ ส่วนออกกรุงเทพเที่ยวแรกก็ราว ๆ 11 โมง แล้วก็ 5 โมงเย็น แล้วก็ ดูเหมือนจะ 5 ทุ่มผิดพลาดยังไงก็ขออภัยเพราะมันนานแล้วครับ มีความประทับใจที่จำไปนานเลยครับสำหรับรถดีเซลรางปรับอากาศนี้ เริ่มตั้งแต่ฐานะลูกค้าก่อน ขึ้นครั้งแรก โห ประทับใจในความเร็วของรถไฟ เร็วมาก เฉลี่ย 90-100 กม./ชม. แล้วอย่างที่พี่ตึ๋งว่าวิ่งยาวจอดน้อย แล้วที่สำคัญคือเขียวผ่านตลอด ขนาดรถเร็วขบวน 59 ว่าแน่ ๆ ยังต้องรอหลีก ความเร็วนี่เรียกว่าแข่งกับรถทัวร์ได้สบาย ๆ เพราะช่วงปีนั้นถนนสาย 117 พิษณุโลก-นครสวรรค์ สาย 32 นครสวรรค์-ปางปะอิน ยังไปเป็น 4 ช่องวิ่งเหมือนเดี๋ยวนี้ พิษณุโลก- ดอนเมือง 5 ชั่วโมงเศษ ๆ ชอบครับรวดเร็วทันใจ แล้วที่สำคัญเรื่องบริการสุดยอด เรื่องน้ำดื่มนี่ไม่มีขาดเรียกว่าแม่ค้าข้างทางไม่หมดสิทธิ์ได้ตังค์น่ะ แล้วเลี้ยงข้าวกลางวันหนึ่งมื้อนอกเหนือจากของว่าง เป็นรถขบวนเดียวที่ พขร. และ ชค. ไม่ต้องห่อข้าวขึ้นไป เพราะโฮสเตสเสริฟถึงห้องขับเหมือนสายการบิน แล้วไม่อั้นไม่อิ่มเติมได้ (เฉพาะ พขร. กับ ชค.) นอกจากนี้ลูกค้าจังหวัดไกล้เคียง อย่างสุโขทัย มีรถตู้รับ-ส่ง ฟรี ส่วนอีกฐานะนึงที่ประทับใจก็ฐานะคนขับครับ เพราะเคยฝันไว้ว่าอยากจะได้ขับสักครั้ง พอได้ไปฝึกงานแล้วได้ไปขับเป็นอะไรที่สนุกมาก ๆ แต่ก็เฉียดไปเหมือนกัน เพราะพี่ พขร. ที่ได้ไปอยู่ร่วมทีมเป็นประเภท งานเป็นงานเล่นเป็นเล่น แต่บางครั้งเรื่องเล่นกันเรื่องงานก็แยกกันไม่ออก ไม่ขอบอกนะครับว่าเป็นไง แต่ถ้าใครอยากทราบก็ติดต่อกันเป็นส่วนตัวแล้วกันครับจะเล่าให้ฟัง เป็นรถดีเซลรางขบวนเดียวที่เวลาผมขับแล้ว โฮสเตสสามารถเข้ามาว๊าก พขร. ได้ เผลอ ๆ จะโดนถาดเคาะหัวเอาด้วย แต่ด้วยสาเหตุอันใดนั้นไปคิดเอาเองแล้วกันครับ และไม่ทราบว่าด้วยเหตุใดประมาณปี 33 หรือ 34 การรถไฟก็ยกเลิกสัมประทานไป ส่วนในเรื่องที่ทำเวลาได้ดีนั้นในช่วงนั้นในส่วนของรถดีเซลรางยังได้รับการดูแลและซ่อมบำรุงได้ดีระดับหนึ่ง แล้วส่วนหนึ่งในขณะทำขบวน ทั้ง พขร. และ ชค. ก็ช่วยกันดูแลรถด้วย เลยไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องรถเสียกลางทางครับ แล้วในช่วงปีนั้นรถดีเซลรางที่เอามาวิ่งสายยาวส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างใหม่ (ราว ๆ ปี 28-29) แล้วตอนนั้นขบวนรถยังไม่มากเหมือนเดี๋ยวนี้ครับ แล้วก็สภาพทางก็ได้รับการบำรุงรักษาดีกว่าทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าช่วงจากลพบุรีขึ้นไปจะเป็นรางเชื่อม 70 ปอนด์หมอนไม้ ก็ยังสามารถทำความเร็วเฉลี่ย 80-90 กม./ชม. ได้อย่างสบาย ๆ ไม่หวาดเสียว ในความรู้สึกส่วนตัวผม หมอนไม้กับหมอนคอนกรีต ความนิ่มนวลก็เหมือนถนนยางมะตอย กับถนนคอนกรีตนั้นล่ะครับ ผมว่าหมอนไม้มีฟิลลิ่งที่กว่า หว่าต้องจบแล้วล่ะคุยไปคุยมาเลยไปไกลแล้ว
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Gunnersaurus
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 1574
Location: เมืองช้าง

PostPosted: 22/07/2006 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

อ.กิตติครับ พขร. รถเชิดชัยนี่เขาจะขับยาวต้นทางไปจนถึงปลายทางเลยหรือเปล่าครับ

เพราะผมคุ้นๆ ว่าน้าเขยเคยเป็น พขร. ขบวนสุรินทร์ - กรุงเทพฯ บอกว่าขับยาวจากสุรินทร์ถึงกรุงเทพฯ ครับ

Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 22/07/2006 12:38 pm    Post subject: ตอบครับ Reply with quote

ของเชิดชัยที่วิ่งสายขอนแก่นใช่มั้ยครับ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าวิ่งเวรเดียวหรือเปล่า แต่ของสายเหนือของที่แก่นอินน์เป็นผู้ให้บริการ หรือตอนหลังเปลี่ยนเป็นธานินทร์การท่องเที่ยวนี่วิ่งเวรเดียวครับ พิษณุโลก-กรุงเทพเลย ขาขึ้นมาก็เหมือนกันครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 22/07/2006 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อนะครับ

เล่าถึงตั๋วรถชั้นสองแบบรวมค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมมาหลายตอนแล้ว ถ้าจะไม่กล่าวถึงตั๋วรถนั่งชั้นสามแบบรวมค่าโดยสารกับค่าธรรมเนียม มินิซีรี่ส์(กระทู้)เรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะขาดดาราเจ้าบทบาทคนสำคัญไป เนื่องจากรถนั่งชั้นสาม(บชส.)เป็นโบกี้โดยสารที่มีจำนวนมากที่สุด แทบจะไม่มีใครที่เคยขึ้นรถไฟแต่ไม่เคยโดยสารรถประเภทนี้เลย ความจริงผมเห็นว่าไม่ต้องเรียกว่ารถนั่งชั้นสามก็ได้ เพราะรถนอนชั้นสามไม่มี นอกเสียจากผู้โดยสารบางท่านจะนอนราบไปกับที่นั่ง(เวลารถว่าง) หรือปูหนังสือพิมพ์นอนกับพื้นใต้ที่นั่ง(เวลารถแน่นๆ)เอาเอง รถชั้นสามนี้มีหลายรุ่นตั้งแต่รุ่นเก่าแก่เป็นเก้าอี้ไม้ ผนังไม้ รุ่นเก้าอี้เป็นเบาะความยาวของเบาะระหว่างทางเดินแต่ละข้างไม่เท่ากัน รุ่นดัดแปลงที่นั่งจากแนวขวางเป็นแนวยาวไปตามหน้าต่าง รถชั้นสามของรถดีเซลรางซึ่งมีทั้งเป็นเบาะนั่ง กับเป็นที่นั่งทำจากวัสดุไฟเบอร์ ฯลฯ แต่รถชั้นสามรุ่นมาตรฐานตามความเห็นของผมก็คือ บชส. ๗๖ ที่ เนื่องจากมีขนาดที่นั่งสองข้างทางเดินในสัดส่วนเท่าๆกัน มีที่เท้าแขน มีอ่างล้างหน้าพร้อมกระจกเงาแยกจากห้องน้ำซึ่งมีสองห้อง รถรุ่นนี้มักจะได้รับคัดเลือกไปพ่วงกับขบวนรถด่วนและขบวนรถเร็วชั้นนำ(ไม่รวมรถเร็ว “ปรับศักย์” นะครับ)

เล่าถึงอ่างล้างหน้าบนรถไฟแล้ว ผมมีข้อสังเกตว่าความสะดวกในการใช้อ่างล้างหน้าในโบกี้แต่ละชั้น เป็นเสมือนดัชนีบ่งบอกความมีระดับของโบกี้นั้นๆเลยนะครับ จะเห็นได้จากรถนอนชั้นหนึ่ง (บนอ.ป.) มีอ่างล้างหน้าอยู่ในห้องนอนทุกห้อง สัดส่วนผู้โดยสารต่ออ่างล้างหน้า(ไม่นับอ่างล้างมือที่อยู่ในห้องสุขา) คือ ๑หรือ ๒ คน ต่อ ๑ อ่าง (อ่างล้างหน้านะครับ อย่าคิดลึกถึงอ่างอย่างอื่น) รถนอนชั้นสองก็อยู่ในสัดส่วนประมาณ ๓๒-๔๐ คน ต่อ ๒-๓ อ่าง (ขึ้นอยู่กับโบกี้แต่ละรุ่น) ในขณะที่รถชั้นสาม(บชส.๗๖ ที่) อยู่ในสัดส่วน ๗๖ คน ต่อ ๒ อ่าง (เล็กๆ) ทั้งที่ตามสภาพความเป็นจริงแล้วผู้โดยสารชั้นสามซึ่งต้องผจญกับความร้อนระอุ ฝุ่นฟุ้งกระจายในระหว่างการเดินทาง น่าจะมีความจำเป็นต้องใช้อ่างล้างหน้ามากกว่าผู้โดยสารรถปรับอากาศ เช่น บนอ.ป. บนท.ป. แต่ก็คงเป็นไปตามธรรมดาที่ผู้จ่ายน้อยกว่าย่อมได้รับความสะดวกสบายระหว่างการเดินทางย่อหย่อนลงไปตามสมควรครับ

มาชมตั๋วรถชั้นสามแบบรวมค่าโดยสารกับค่าธรรมเนียมกันดีกว่า ตั๋วแบบดังกล่าวยังใช้สีพื้นเป็นสีแดงออกส้มสีแบบตั๋วค่าโดยสารชั้นสามที่เคยนำมาให้ชมในหัวข้อแรก หน้า ๑ น่ะครับ แต่จะมีสีแดงหรือสีส้มคาดกลางขึ้นอยู่กับประเภทขบวนรถ ท่านที่ติดตามชมคงเดาได้ว่า ถ้าเป็นตั๋วรถชั้นสามขบวนรถเร็ว สีคาดกลางตั๋วก็ต้องเป็นสีแดง หากเป็นตั๋วรถชั้นสามขบวนรถด่วน สีคาดกลางตั๋วก็ต้องเป็นสีส้ม ตาม (ระเบียบแบบแผน) สีของตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็ว หรือตั๋วค่าธรรมเนียมรถด่วนที่เคยนำเสนอไปแล้วในหัวข้อที่ ๒ ดังภาพต่อไปนี้

Click on the image for full size

Click on the image for full size

สำหรับตั๋วกระดาษแข็งรถชั้นสามปรับอากาศ (บชส.ป.)นั้น ไม่มีให้ชมนะครับ เนื่องจากมีการดัดแปลงโบกี้ บชส.๗๖ ที่ เป็นรถ บชส.ป. ในยุคที่ตั๋วคอมพิวเตอร์กำลังเฟื่องฟูในขณะที่ตั๋วแข็งกำลังร่วงโรยใกล้หมดลม(คือจะไม่มีจำหน่ายเพื่อการโดยสารตามปกติอีก)เข้าไปทุกที

๓.๒ ตั๋วรวมค่าโดยสารกับค่าธรรมเนียมชนิดราคาพิเศษ

ตั๋วรวมค่าโดยสารกับค่าธรรมเนียมชนิดราคาพิเศษนี้ (ขอเรียกสั้นๆว่า “ตั๋วราคาพิเศษ” นะครับ) มีทั้งกรณีที่รวมแล้วแพงเป็นพิเศษ กับรวมแล้วถูกเป็นพิเศษ ผมขอเริ่มจากของแพงก่อนนะครับ ภาพแรกเป็นตั๋วรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศ(สปรินเตอร์) กรุงเทพ-เชียงใหม่ ในยุคแรกเริ่มเปิดบริการครับ ลวดลายหน้าตั๋วเป็นลายทแยงมุมดูเผินๆคล้ายลวดลายตั๋วค่าโดยสารแบบไป-กลับ แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบข้อแตกต่างตรงที่ ตั๋วรถสปรินเตอร์นี้ลายทแยงมุมจะเริ่มจากด้านล่างซ้ายขึ้นไปบนขวาของหน้าตั๋ว ในขณะที่ตั๋วค่าโดยสารแบบไป-กลับนั้น ลายทแยงมุมจะเริ่มจากด้านบนซ้ายลงไปด้านล่างขวาของหน้าตั๋วครับ

Click on the image for full size

ที่ว่ารวมราคาแล้วแพงเป็นพิเศษ เนื่องจากเมื่อนำไปเทียบกับราคาค่าโดยสาร รวมค่าธรรมเนียมรถนั่งชั้นสองปรับอากาศ และค่าธรรมเนียมรถด่วนพิเศษแล้วจะมีราคาสูงกว่าเล็กน้อย แต่ก็คุ้มครับเพื่อแลกกับบริการจากเทรนโฮสเตทที่คอยดูแลให้บริการเสริฟขนม เครื่องดื่ม อาหารตลอดการเดินทางอันยาวไกล อาหารที่เสริฟยุคนั้นเป็นอาหารกล่องแช่แข็ง(ของบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่ง)นำมาอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟเสริฟกันร้อนๆ(แกงเผ็ดเป็ดย่างก็เคยมี) ดูน่ารับประทานไม่แพ้อาหารที่เสริฟบนเครื่องบินเลยครับ มีของหวานให้ด้วย บริการแบบเน้นคุณภาพและความอร่อยน่าประทับใจมากครับ รู้สึกว่ารถสปรินเตอร์นี่จะมีการติดตั้งเตาไมโครเวฟเพื่อบริการดังกล่าวเป็นครั้งแรก เพราะเมื่อก่อนบนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่เอกชนรับสัมปทานให้บริการ ผมก็ยังไม่เห็นเตาไมโครเวฟบนขบวนรถดังกล่าวมาก่อนเลย

ตามความเห็นของผม รถสปรินเตอร์มีข้อเสียที่สำคัญก็คือ การที่เก้าอี้นั่งมีทิศทางการหันตายตัว หากเป็นส่วนที่หันหน้าไปทางทิศเหนือ(คือนับจากสถานีกรุงเทพแล้ว หันหน้าไปทางสถานีเชียงใหม่) เวลานั่งตอนเที่ยวจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ก็จะไม่มีปัญหา แต่พอเที่ยวกลับจากเชียงใหม่เข้ากรุงเทพ คนที่นั่งเก้าอี้ดังกล่าวจะต้องนั่งถอยหลังชมวิว เพราะไม่สามารถหมุนเก้าอี้ให้หันหน้ามาทางทิศใต้ (คือหันมาทางสถานีกรุงเทพ) แบบรถบชท. หรือรถดีเซลรางชั้นสองนั่งปรับอากาศแดวู ทำให้ผู้โดยสารบางคนบ่นว่าชักจะเมารถถ้าต้องนั่งเก้าอี้ในลักษณะดังกล่าว ปัญหาเช่นนี้จะพบอีกในรถดีเซลรางปรับอากาศ หมายเลข ๒๑๐๑-๒๑๑๒ ซึ่งเป็นเก้าอี้หันไปในทิศทางตายตัว ไม่สามารถหมุนเก้าอี้ให้เป็นไปตามทิศทางที่รถวิ่งได้เช่นเดียวกัน

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mahachai
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 05/07/2006
Posts: 407
Location: ชั.

PostPosted: 23/07/2006 2:08 am    Post subject: Reply with quote

ไม่ได้เข้ามา 2 วัน อ่านกันตาแฉะเลย อิอิ สนุกดีครับ ได้สาระมากเลยทีเดียว มีทั้งเรื่องตั๋ว เรื่องรูปร่างและภายในของรถ รวมถึงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับโบกี้แต่ละรุ่น แล้วยังมีข้อมูลสมัยเอกชนให้บริการด้วย กระทู้นี้แจ่มดีครับ อิอิ รออ่านเช่นเดิมครับ คุณ tuie Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 23/07/2006 2:27 pm    Post subject: Re: คุยด้วยคน Reply with quote

Cummins wrote:
แล้วที่สำคัญเรื่องบริการสุดยอด เรื่องน้ำดื่มนี่ไม่มีขาดเรียกว่าแม่ค้าข้างทางไม่หมดสิทธิ์ได้ตังค์น่ะ แล้วเลี้ยงข้าวกลางวันหนึ่งมื้อนอกเหนือจากของว่าง เป็นรถขบวนเดียวที่ พขร. และ ชค. ไม่ต้องห่อข้าวขึ้นไป เพราะโฮสเตสเสริฟถึงห้องขับเหมือนสายการบิน แล้วไม่อั้นไม่อิ่มเติมได้ (เฉพาะ พขร. กับ ชค.) นอกจากนี้ลูกค้าจังหวัดไกล้เคียง อย่างสุโขทัย มีรถตู้รับ-ส่ง ฟรี


เรื่องอาหารนี่มีให้เฉพาะผู้โดยสารใน กซม.ป. นะครับ แต่สำหรับผู้โดยสารที่อยู่บน กซข. คงต้องอุดหนุนแม่ค้าข้างทางเอา

แต่เรื่องผู้โดยสารจังหวัดใกล้เคียงมีรถตู้รับ - ส่ง นี่ผมก็เพิ่งรู้นี่แหละ เอกชนตอนนั้นบริการดีเหมือนกัน Laughing
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Gunnersaurus
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 1574
Location: เมืองช้าง

PostPosted: 23/07/2006 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

รถเอกชนนี่แอร์สวยๆ ทั้งนั้นครับ


lovers wub
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 23/07/2006 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

ลืมไป ต้องเพิ่มเติมอีกหน่อย ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ ที่วิ่งไปพิษณุโลก ช่วงที่เป็นเอกชนดำเนินการเนี่ย ระหว่างทางพนักงานจะเข็นรถมาขายขนมด้วยครับ ราคาก็แพงกว่าข้างล่าง ( เป็นปกติอยู่แล้ว ) ผมกับน้องชายช่วงนั้นก็ได้กินขนมอิ่มทุกครั้งที่ได้ขึ้น อิอิ

ส่วนอาหารผมจำได้ว่าเสิร์ฟข้าวเป็นจาน ที่อร่อยที่สุดก็คงเป็นแพนงหมูมั้ง ติดใจ แต่สำหรับเด็กออกจะเผ็ดไปหน่อยครับ

ผมคงไม่มีอะไรเพิ่มแล้ว เกรงใจคุณตุ้ย เพราะกระทู้กำลังจะกลายจากเรื่องตั๋วแข็ง ไปเป็นรถดีเซลรางที่เอกชนดำเนินการไปแล้ว รออ่านตอนต่อไปอยู่ครับ Razz
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 23/07/2006 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อนะครับ

ลำดับต่อไปเป็นตั๋วราคาพิเศษแบบราคาถูกเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับค่าโดยสารรวมกับค่าธรรมเนียมต่างๆเต็มราคานั้นมีอยู่หลายแบบ อย่างกรณีการเดินทางด้วยขบวนรถเร็วบางระยะที่ราคาค่าโดยสารรวมกับค่าธรรมเนียมรถเร็วแล้วราคาสูง เมื่อเทียบกับราคาตั๋วโดยสารเส้นทางเดียวกันของระบบขนส่งระบบอื่น เช่น รถ บ.ข.ส. ก็จะมีการกำหนดค่าโดยสารรวมค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษ ซึ่งมักจะมีราคาถูกกว่า หรือเท่ากับราคาตั๋วรถ บ.ข.ส. ในยุคนั้น เป็นการจูงใจให้ประชาชน ไม่นับพวกชอบรถไฟแบบเราๆท่านๆที่อย่างไรก็ไม่ปันใจเดินทางระบบขนส่งอื่นอยู่แล้ว(ถ้าไม่จำเป็น) หันมาใช้บริการรถไฟได้ทางหนึ่ง นอกเหนือจากความปลอดภัยไม่ต้องเสี่ยงชีวิตกับโชเฟอร์ตีนผี (ขออภัยที่ใช้คำไม่สุภาพ แต่ต้องเรียกกันอย่างนี้จริงๆ ให้สาสมกับพฤติกรรมการขับรถของพวกนี้) ซึ่งชื่อเสียงด้านความปลอดภัยเป็นจุดขายที่สำคัญตลอดมาของรถไฟ ผมว่าการกำหนดให้มีตั๋วราคาพิเศษในลักษณะนี้เป็นนโยบายที่ดีดูมีวิสัยทัศน์นะครับ

ตั๋วค่าโดยสารชั้นสามรวมค่าธรรมเนียมรถเร็วเป็นราคาพิเศษมีหลายแบบดังนี้
แบบที่หนึ่งสีฟ้าอ่อนคาดสีฟ้าเข้ม

Click on the image for full size

แบบที่สองสีเหลืองคาดแดง

Click on the image for full size

แบบที่สาม แบบนี้สีและลายคล้ายกับตั๋วค่าโดยสารชั้นสามไป-กลับ

Click on the image for full size

แบบที่สี่สีเหลืองอ่อนคาดสีแดงอ่อน (ดูเผินๆจะคล้ายแบบที่สอง)

Click on the image for full size

ช่วงปี ๒๕๓๙ ยุคที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีเป็นชาวสุพรรณบุรี ทางรถไฟสายสุพรรณบุรีเลยโด่งดังตามไปด้วยพักใหญ่ เนื่องจากมีการเปิดเดินรถด่วนพิเศษกรุงเทพ-สุพรรณบุรี โดยใช้รถดีเซลรางนั่งปรับอากาศแดวูซึ่งตอนนั้นยังใหม่มากเพิ่งจะนำเข้ามาจากประเทศเกาหลีใต้ ใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมงครึ่ง สรุปข้อมูลจากตารางเดินรถปี ๒๕๓๙ ได้ว่า เที่ยวจากกรุงเทพไปสุพรรณบุรี มีสองขบวน ขบวนแรกออก ๙.๕๕ น. ถึง ๑๒.๒๕ น. ขบวนที่สองออก ๑๖.๕๐ น. ถึง ๑๙.๒๕ น. เที่ยวจากสุพรรณบุรีกลับเข้ากรุงเทพ มีสองขบวน ขบวนแรกออก ๕.๔๕ น. ถึง ๘.๒๐ น. ขบวนที่สองออก ๑๓.๑๕ น. ถึง ๑๕.๔๕ น. ทางช่วงชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี (๗๘ ก.ม.) ใช้เวลาเดินรถแค่ ๑ ชั่วโมงเอง รวดเร็วดีนะครับ ยิ่งเมื่อเทียบกับขบวนรถรวมสายธนบุรี-สุพรรณบุรีที่วิ่งอยู่เดิม ใช้เวลาเดินทางตั้งประมาณ ๕ ชั่วโมง แค่ช่วงชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี รถรวมก็ใช้เวลาตั้ง ๑ ชั่งโมง ๔๐ นาทีแล้ว (ข้อมูลจากตารางเดินรถปี ๒๕๓๖) ถึงขบวนรถดีเซลราง ๓๕๕ กรุงเทพ-สุพรรณบุรี ในปัจจุบันก็ยังสู้ไม่ได้(อันนี้แน่อยู่แล้วเพราะไม่ได้ทำขบวนด้วยแดวูนี่ครับ) เพราะใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง

ตั๋วรถด่วนพิเศษสายกรุงเทพ-สุพรรณบุรี เป็นตั๋วรวมค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมแล้วออกมาราคาถูกเป็นพิเศษ แค่ ๘๐ บาทเอง ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิด ค่าธรรมเนียมรถด่วนพิเศษ ๕๐ บาท ค่าธรรมเนียมรถนั่งปรับอากาศ ๕๐ บาท เข้าไปแล้ว ผมทราบข่าวการเปิดเดินรถด่วนพิเศษสายนี้แล้วคิดว่ากิจการไม่น่ารอด เลยรีบไปทดลองนั่งทันก่อนจะยกเลิกขบวนรถดังกล่าวได้ตั๋วแข็งมาให้ท่านชมตามภาพต่อไปนี้ครับ มีข้อสังเกตว่าตั๋วตามภาพใช้ตัวย่อชื่อสถานีต้นทาง-ปลายทางว่า กท-สพ หมายถึงกรุงเทพ-สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเรื่องแตกต่างไปจากตั๋วแข็งตามปกติทั่วไปที่จะระบุชื่อสถานีเป็นชื่อเต็มครับ

Click on the image for full size

ความรู้สึกของผมตอนนั่งรถดีเซลรางแดวูไปสุพรรณนั้น นอกจากจะตื่นเต้นกับรถรุ่นใหม่ แอร์เย็นฉ่ำ(ช่างตรงกับข้ามกับรถรุ่นนี้บางคันในสมัยนี้จริงๆ) ออกตัวเร็ว วิ่งนิ่มนวล ฯลฯแล้ว ยังตื่นเต้นที่ได้นั่งรถไปทางสายชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี ด้วยครับ เพราะเคยเห็นแต่ป้ายบอกทางสายนี้ซึ่งมีป้ายจำกัดความเร็วไว้ที่ ๕๐ ก.ม./ช.ม. เวลานั่งรถไฟลงใต้ หรือไปสายน้ำตก เท่านั้นเอง จะอาจหาญนั่งรถรวมธนบุรี-สุพรรณบุรีไปกว่าจะถึงปลายก็ทางค่ำแล้วกลัวหารถกลับกรุงเทพไม่ได้เลยไม่ได้ไปเสียที (เป็นปัญหาทำนองเดียวกันกับที่ผมอยากนั่งรถไปสายคีรีรัฐนิคม แล้วยังไม่เคยไปจนบัดนี้น่ะครับ สายอื่นไปเที่ยวจนสุดปลายทางครบหมดแล้วครับ) ยังจำได้ว่าช่วงระหว่างชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี
รถแล่นด้วยความเร็วประมาณ ๘๐-๙๐ ก.ม./ช.ม. สภาพทางก็คงไม่ดีนักขนาดนั่งรถแดวูยังรู้สึกถึงความโยก ส่าย สะเทือนได้ชัดเจน เมื่อถึงสถานีสุพรรณบุรียังไม่สุดทางนะครับ รถวิ่งต่อไปอีกนิดไม่เกิน ๓ นาที จะไปสุดทางจริงๆ
(แบบเห็นแป้นปะทะ)ริมถนนมาลัยแมนใกล้ๆวัดป่าเลไลยก์ครับ ตรงนั้นเป็นป้ายหยุดรถมาลัยแมนครับ

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42551
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2006 10:08 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ธนวิทย์ (tieu) ครับ ตอนผมไปตะลุยสายสุพรณบุรีหนะ ผมต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก ครฟ. จึงหาที่พักได้ ... จะหาได้ยังไงนั้นขออุบไว้ดีกว่า Laughing

อย่างไรก็ตาม ถ้าริอ่านจะไปสุพรรณบุรีด้วยวิธีนี้ กรุณารูดเครดิตการ์ด จองโรงแรมล่วงหน้า จะปลอดภัย ไม่งั้นได้นอนในวัดป่าเลไลยก์แน่ๆ Laughing Embarassed Razz Very Happy Smile
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 16, 17, 18  Next
Page 8 of 18

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©