Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311216
ทั่วไป:13150663
ทั้งหมด:13461879
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 29/02/2008 10:10 am    Post subject: Reply with quote

CENTENNIAL wrote:
เฮียวิซซี่แบร์ฮะ เท่าที่ผมอ่านดูแล้ว มีแต่โครงการรถไฟฟ้าก้างปลา ทั้งนั้นเลย

แล้วโครงการรถไฟรางคู่ รถไฟก้างปลา เพื่อเอาใจคนต่างจังหวัด ไม่มีเห็นซักแผนเลยฮะ Sad


ไม่ต้องห่วง ในไม่ช้าจะต้องมีมหกรรมบีบชมพู่ จาก สส. อีสาน หอการค้า และ สภาอุตสาหกรรม ให้ แบ่งงบมาภาคตะวันออก และ อีสานบ้างตามรายการต่อไปนี้

สนข. ชงแผนใช้เงินปี 2552 ขอ 704 ล. เชื่อมต่อศูนย์พหลโยธิน-ม.ธรรมศาสตร์/หนุนโลจิสติกส์-จราจรภูมิภาค

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2296 14 ก.พ. - 16 ก.พ. 2551


สนข.ชงแผนของบปี 52 วงเงินรวม 704 ล้านบาท เน้นแผนงานพัฒนาระบบการเชื่อมโยงการเดินทางศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และม.ธรรมศาสตร์รังสิต พร้อมจัดแผนสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ –การจราจรในเขตเมืองภูมิภาค

แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สนข.ได้ส่งคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว โดยได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 704 ล้านบาท ซึ่งมีแผนโครงการต่างๆ รวม 24 โครงการ มีทั้งโครงการที่เป็นการสนับสนุนต่อแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง แทนการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ แผนการพัฒนาระบบการจราจรในเมืองภูมิภาค และอื่นๆ


สำหรับรายละเอียดประกอบด้วย งานจ้างศึกษาพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 69 ล้านบาท , งานจ้างที่ปรึกษาพัฒนาการเดินทางเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะหลายรูปแบบใน กทม. และปริมณฑล 35 ล้านบาท , งานจ้างศึกษาและจัดทำการเชื่อมต่อระบบรถไฟชานเมือง ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กับชุมชนโดยรอบ ด้วยระบบขนส่งมวลชน วงเงิน 39 ล้านบาท


นอกจากนั้น ยังมีงานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนเร่งด่วนในการปรับปรุงเบ็ดเสร็จบนถนนสายหลัก ระยะที่ 3 วงเงิน 35 ล้านบาท ,งานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาระบบขนส่งและจราจร ในกทม.และปริมณฑล 50 ล้านบาท ,งานจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาการกำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับการจราจรใน กทม. 35 ล้านบาท ,งานจ้างศึกษาความเหมาะสมเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมการออกแบบเบื้องต้น

โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา-ขอนแก่น และ
ช่วงแก่งคอย-สุรนารายณ์-บัวใหญ่ 95 ล้านบาท,
งานจ้างศึกษาจัดทำแผนแก้ไขอุบัติเหตุ บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสำหรับรถไฟทางไกล 20 ล้านบาท


แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวอีกว่า งานที่มีส่วนส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ จะประกอบด้วยงานจ้างศึกษาพัฒนาระบบฐานข้อมูลข้อสนเทศ และแบบจำลองเพื่อบูรณาการพัฒนาการขนส่งและจราจรการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบโลจิสติกส์ (TDML II) 30 ล้านบาท , งานจ้างศึกษาจัดทำแผนหลักการขนส่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแนวทางการพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน 15 ล้านบาท,งานจ้างศึกษาวางแผนพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนในภาคการขนส่งของประเทศ 25 ล้านบาท,งานจ้างศึกษาความเหมาะสมและแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถและการใช้ประโยชน์ของท่าเรือชายฝั่ง เพื่อส่งเสริมการขนส่งของประเทศ 20 ล้านบาท , งานจ้างศึกษาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งทางลำน้ำ และชายฝั่งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ 16 ล้านบาท


นอกจากนี้ยังมีงานจ้างที่ปรึกษาสำรวจข้อมูลด้านการขนส่งและจราจร เพื่อจัดทำแผนแม่บทในเมืองภูมิภาค (จ.กำแพงเพชร,เพชรบูรณ์,ประจวบคีรีขันธ์,ชัยภูมิ,ยโสธร และสงขลา) 18 ล้านบาท , งานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนบูรณาการเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายด้านการขนส่งและจราจรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่ 2) จ.มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครพนม และสกลนคร,งานจ้างที่ปรึกษาศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ และเชื่อมโยงเมืองสงขลา วงเงิน 15 ล้านบาท


อย่างไรก็ดีมีการจ้างศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการการจัดเก็บค่ามลพิษทางการขนส่งทางอากาศ 20 ล้านบาท ,งานจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะและการประเมินสภาพการจราจรใน กทม. และปริมณฑล 27 ล้านบาท , งานจ้างศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดในภาคคมนาคม และขนส่ง ระยะที่ 2 วงเงิน 30 ล้านบาท, งานจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลกลางด้านการขนส่ง เพื่อการติดตามและประเมินผล 20 ล้านบาท ,งานจ้างที่ปรึกษาพัฒนาศูนย์เทคโนโลยี และการสื่อสารเพื่อการบูรณาการข้อมูลด้านการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (แบบอัตโนมัติ) ของหน่วยงานด้านการจราจรและขนส่งระยะที่ 2 วงเงิน 25 ล้านบาท ,งานจ้างศึกษาพัฒนาระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 20 ล้านบาท ส่วนอีก 2 โครงการ วงเงินรวม 30 ล้านบาท เป็นแผนงานสนับสนุนการบริหารจัดการภายในองค์กรของสนข.เอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2008 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

เศรษฐกิจ
สันติลุยรถไฟ9สายปัด'แม้ว'กุนซือ

ไทยโพสต์ 1 มีนาคม 2551 กองบรรณาธิการ

"สันติ" ประกาศเดินหน้ารถไฟฟ้า 9 สาย ระบุไม่จำเป็นต้องปรึกษา "ทักษิณ" เพราะ "สมัคร" มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว สั่งเร่งรัดสายสีม่วงหลังจาบิคให้คำมั่นปล่อยเงินกู้แน่นอน เตรียมชงบอร์ด


ร.ฟ.ท.ชุดใหม่เข้า ครม.อังคารนี้

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 เส้นทาง ไม่จำเป็นต้องขอคำปรึกษาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และเป็นคนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านระบบขนส่งมวลชนให้ความสำคัญมากอยู่แล้ว และการที่นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานคณะกรรมการผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ จะเป็นการเร่งรัดและลดขั้นตอนการดำเนินโครงการและทำให้การเดินหน้าโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ได้เร่งรัดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่งให้เร่งรัดการให้มีการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านรูปแบบและการประกวดราคา เพราะที่ผ่านมาธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) อนุมัติเงินกู้วงเงิน 31,000 ล้านบาทให้ในงวดแรก 18,000 ล้านบาทแล้ว คาดว่าภายในปี 2551 นี้จะสามารถเซ็นสัญญาและก่อสร้างได้

ส่วนการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้น จะนำรายชื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 4 มี.ค.นี้

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทางเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลชุดที่แล้ว และ 9 สายทาง ตามนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ มีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 695,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 02/03/2008 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

รอดูกันต่อไป ว่าจะเป็นแบบก้างปลาทู ก้างปลานิล ที่สังเกตง่ายๆ หรือจะเป็นก้างปลาตะเพียน ที่มองไปตรงไหน ก็มีแต่ก้าง

Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2008 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

นโยบายรถไฟฟ้าใหม่9สาย9แฉก
Dailynews - 3 March 2008

..เทียบ..รถไฟฟ้าตามแผนแม่บทเดิม10สายคนกรุงปวดใจจะเอายังไงแน่..หวั่นเป็นแม่สายบัวตามเคย

นับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายแรกได้เปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2542 “รถไฟฟ้า” ก็กลายเป็นโครงการเนื้อหอมที่รัฐบาลทุกชุดหยิบยกมาเป็นนโยบายเร่งด่วน ให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ ที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดเรื้อรังในเมืองหลวง

แต่เวลาที่ล่วงเลยมาเกือบ 10 ปี คนกรุงเทพฯ ก็มีรถไฟฟ้าใช้เพียง 2 สาย คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล ระยะทางรวมกันแค่ประมาณ 50 กม.เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นระยะทางที่น้อยมาก เป็นเส้นทางด้วน ๆ กระจุกอยู่แค่ในตัวเมือง ไม่เพียงพอต่อการเดินทางของคนกรุงเทพฯ และสวนทางกับนโยบายของรัฐบาลโดยสิ้นเชิง

จะเห็นว่าที่ผ่านมาเมื่อมีการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีที เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที หรือเปลี่ยนรัฐบาลที ก็จะต้องนำโครงการรถไฟฟ้ามารื้อแก้ใหม่ทุกครั้ง ซึ่งมีการปรับใหม่ทั้งแนวเส้นทาง นโยบายการดำเนินการ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนประชาชนที่ตั้งหน้าตั้งตารอใช้รถไฟฟ้าสับสน และสุดท้ายต้องกลายเป็นสายบัวแต่งตัวรอเก้อกันไป

จนมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ได้สร้างปรากฏการณ์ดังกล่าวอีกครั้ง สร้างความฮือฮาให้กับคนกรุงได้ไม่น้อย ด้วยการแถลงนโยบายส่งเสริมโครงการระบบขนส่งมวลชนของนายกรัฐมนตรีที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย 9 แฉก ระยะทาง 300 กม. ภายใน 3 ปี ประกอบด้วย 1.สายหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา ระยะทาง 30 กม. 2.สายบางใหญ่-ไทรน้อย 25 กม. 3.สายตากสิน-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 21.7 กม. 4.สายสำโรง-เมืองโบราณ 17 กม. 5.สายดอนเมือง-ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต 8 กม. 6.สายคลองมหา นาค-สุขสวัสดิ์-ป้อมพระจุล 32.5 กม. 7.สายมีนบุรี-ศาลายา 51 กม. 8.สายวงแหวนรอบใน บางซื่อ-คลองเตย 29 กม. และ 9.สายวงแหวนรอบนอก จากเกษตรนวมินทร์-ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-ปู่เจ้าสมิงพราย-ราชพฤกษ์-พระราม ที่ 5 ระยะทาง 88 กม. เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการรื้อโครงการรถไฟฟ้าใหม่ ทั้ง ๆ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้าถึง 10 สาย ระยะทางกว่า 300 กม. แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มต้นก่อสร้างโครงการเลยแม้แต่สายเดียว

โดยแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 สาย ที่มีอยู่ขณะนี้ประกอบด้วย 1.สายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย) ระยะทาง 65 กม. 2.สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50 กม. 3.สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ, หัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 27 กม. 4.สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 43 กม. 5.สายสีส้ม (บาง กะปิ-บางบำหรุ) ระยะทาง 24 กม. 6.สายสีเขียวอ่อน (พรานนก-สมุทรปราการ) 24 กม. 7.สายสีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-บางหว้า) 17 กม. 8.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-ศรีนครินทร์-สำโรง) 32 กม. 9.สายสีชมพู (แคราย-สุวินทวงศ์) 33 กม. และ 10.สายสีน้ำตาล (บางกะปิ-สุวินทวงศ์) 9.5 กม.

เมื่อเทียบแนวสายทางรถไฟฟ้าที่มีในแผนแม่บท 10 สาย กับแนวโครงข่ายใหม่ 9 สาย 9 แฉก ของรัฐบาลปัจจุบัน พบว่าสามารถแบ่งแยกได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.สายที่เหมือนกันทุกประการมี 3 โครงการ คือ สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทร ปราการ และสายเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิ้งก์ ที่กำลังก่อสร้างอยู่ขณะนี้ 2.สายที่เหมือนกันบางส่วน ได้แก่ สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ ที่มีการขยายส่วนปลายทางออกไปถึงไทรน้อย สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค มีเพียงช่วงถนนจรัญสนิทวงศ์ที่เหมือนกัน ที่เหลือต้องพิจารณาใหม่ทั้งหมด สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ กับสายคลองมหานาค-สุขสวัสดิ์-ป้อมพระจุล มีส่วนเหมือนกันช่วงพื้นที่ชั้นในสายเหลืองเหมือนกับรถไฟฟ้าวงแหวนที่ช่วงศรีนครินทร์-เทพารักษ์ สายสีส้มและสายสีน้ำตาลเหมือนกับสายมีนบุรี-ศาลายา แต่เพิ่มต่อขยายไปถึงศาลายา และ 3.สายที่ไม่เหมือนกันเลย ได้แก่ สายสะพานใหม่-ลำลูกกา สายดอนเมือง-รังสิต สายบางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4 และที่สำคัญสายสีแดงทั้งโครงข่ายไม่มีอยู่ในแนวรถไฟฟ้าใหม่เลย

สำหรับนโยบายของนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ล่าสุดได้แบ่งการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าเป็น 2 ระยะ ระยะแรก เริ่มในปี 2551 จะเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 5 สายทางที่รัฐบาลชุดที่แล้วเตรียมความพร้อมไว้ ระยะทาง 136 กม. วงเงินลงทุน 2.8 แสนล้านบาท ได้แก่ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความก้าวหน้ามากที่สุด โดยได้ประกวดราคาไปแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมา สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต อยู่ระหว่างปรับแก้แบบรายละเอียด สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ รอเซ็นสัญญาเงินกู้จากเจบิค ก่อนเดินหน้าประกวดราคา สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด

ระยะทางที่ 2 เริ่มในปี 2552 เพิ่มเติมจาก นโยบายของนายกรัฐมนตรี ระยะทาง 125 กม. วงเงินลงทุน 4.2 แสนล้านบาท ประกอบด้วยสายสะพานใหม่-ลำลูกกา สายดอนเมือง-ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สายบางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4 สายคลองมหานาค-สุขสวัสดิ์-ป้อมพระจุล สายสมุทรปราการ-เมืองโบราณ สายมีนบุรี-ศาลายา และจะเดินหน้ารถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอกในปี 2553

ไม่ว่านโยบายการจัดการระบบขนส่งจะออกมาอย่างไร ก็ขอให้ผลักดันไปตามแผนได้จริง เพราะการเปลี่ยนแผนใหม่ก็เหมือนเริ่มนับหนึ่ง ไม่อยากให้เกิดความล่าช้า เพื่อให้อีก 5 ปีข้างหน้า คุณภาพชีวิตของคนกรุงและการจราจรในเมืองหลวงจะได้ดีขึ้น แต่เมื่อเห็นตัวเลขเงินลงทุนโครงการจำนวนมหาศาลแล้วชักหวั่นใจ หวังว่ารัฐบาลจะสามารถบริหารจัดการได้ด้วยดี

คนกรุงจะได้ไม่ต้องร้องเพลงสายบัวแต่งตัวรอเก้อซ้ำแล้วซ้ำอีก.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2008 9:39 am    Post subject: Reply with quote

เปิดมุมมองรถไฟฟ้า 'สมัคร สุนทรเวช'[/color]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2300 28 ก.พ. - 01 มี.ค. 2551

บทความชิ้นนี้ เป็นบทความที่ "ฐานเศรษฐกิจ" ถอดความคิดด้านแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง หรือโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามมุมมองของ "สมัคร สุนทรเวช" ที่ได้กล่าวไว้ในเวที การประชุมชี้แจงนโยบายของรัฐบาลต่อผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำไปขยายผลสู่การปฏิบัติจริงนับจากนี้ไป ซึ่งจะมีมุมมองอย่างไรติดตามได้จากรายละเอียด


โดยนายกรัฐมนตรีได้เริ่มต้นกล่าวถึง แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ว่า "กรณีขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร บอกว่าจะทำ 9 สาย ก็สุดแท้แต่ เรื่องตรงนี้ความผูกพันจะมีอยู่บ้างตรงที่ว่า รัฐบาลเก่าได้เริ่มต้นดำเนินการไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการถึงขั้นที่สุด รัฐบาลนี้เข้ามาต้องดำเนินการทันที แต่เราจะไม่หลับหูหลับตา เขาทำอย่างไรทำต่อเลย ไม่ ต้องขอดูหน่อยว่าเป็นอย่างไร


ผมจะคุยเรื่องนี้คือว่าปัญหาของผมอยู่ตรงที่ว่า รัฐบาลต้องการทำระบบขนส่งมวลชนบนรางในกรุงเทพมหานคร ในฐานะนักการเมืองผมเคยพูดไว้แล้วว่า ทำบนดินยกระดับ ทำก่อนนะครับ 10 กว่าปีก่อน ผมว่ามันน่าเกลียด ระบบนี้ผมดูมาเวลาจะทำในโลกนี้อยู่ชานเมือง เขาทำ เขาเรียก train เอามาใกล้ชานเมืองที่เรียกว่า near suburban เพราะว่า elevated ยกระดับไป 5.30 เมตร เข้ามาใกล้เมืองลงไปใต้ดินเรียกว่า subway ของเราทำอย่างไร คือเวลาทำต้องทำพร้อมกัน 3 ท่อน ราคานี้จะราคาเดียวกัน และเมื่อทำเสร็จแล้วข้างนอกจะเสร็จก่อน ที่ช้าที่สุดคือตัวที่ทำใต้ดิน ตัวทำบนดินง่ายและมาเร็วมาก ปีครึ่งอาจจะได้ใช้ แต่ยังไม่ต้องใช้ ยกระดับทั้งหมด 3 ปี ได้ใช้ มาจ่ออยู่ชานเมืองแล้ว ตรงนี้ได้ประโยชน์ได้ 3 ปี แต่ว่าลงมือพร้อมกันใต้ดินเสร็จ 6 ปี เพราะฉะนั้น ก็มาจ่ออยู่ชานเมืองทุกทิศ ถ้าทำตามที่คิดไว้ แล้วรอใต้ดินที่ช้าหน่อย มาต่อเชื่อมกันเสร็จก็นำร่องได้


มีความคิดซึ่งพูดให้ฟังแล้วด้วย ผมถามเลยว่ารถทำใต้ดินก่อนแค่ 20 กิโลเมตร ทำยกระดับแค่ 23 กิโลเมตร จะได้ประโยชน์อะไร ถ้าทำอย่างนี้คนในเมืองก็ใช้หมด คนใส่สูตผูกเทกไทก็นั่งรถไปเปลี่ยนที่กินข้าว ประโยชน์นี้คือว่าคนจนไปอยู่ไกล เขาต้องการเดินทางรวดเดียวเข้ามาข้างใน ไปทำตรงปลายได้ประโยชน์ เพราะระบบที่เรียกว่า เดโป้ คือที่จอดแล้วต้องมีศูนย์ซ่อมและบำรุง จะได้ทำอยู่ปลายทาง ได้ประโยชน์อย่างไร ได้ประโยชน์ว่าปลายทางที่อยู่ในนา ตอนที่พูดวาละ 500 บาท ไร่ละ 200,000 บาท ผมก็ถามว่าลองบอกสิว่าจะทำใต้ดิน และอู่ซ่อมอยู่ไหน อยู่ในเมือง เอาตรงไหน เอาใจกลางเมือง แล้วเป็นอย่างไร ต้องเวนคืนที่ดินราคาวาละ 70,000 กว่าบาท ตอบหน่อยสิว่าอู่ซ่อมอยู่บนดินหรือใต้ดิน ไม่มีใครตอบผมได้ ขนาดผมเป็นรองนายกรัฐมนตรีคุมงานนี้ บอกต้องทำแบบนี้ ๆ เวนคืนที่ดิน 1,000 ไร่ มูลค่ามหาศาลเพื่อจะทำเดโป้ เขาบอกเขาคิดเอง จะเอาที่ดิน 300 ไร่ ตรงกลางเป็นไข่ดาวจะทำเป็นเดโป้ ที่เหลือ 700 ไร่ จะทำเป็นเมืองขึ้นมา จะได้เอาเงินคืน ก็คิดไปแต่คิดได้ตลอดรอดฝั่งไหม เจอไฟฟ้าแรงสูงผ่าน 170 ไร่ ทำได้แต่ที่จอดรถ วาละ 76,000 บาท จะทำมูลค่าเพิ่ม กลายเป็นว่าทำได้แต่ที่จอดรถ


จะบอกให้ฟังว่านี่คือวิธีคิด ถ้าเอาเดโป้ไปอยู่ จะอยู่ยกระดับก็ไม่ยก มันอยู่ติดพื้น ฉะนั้น เดโป้ถ้าอยู่อ้อมน้อย ไทรน้อย วาละ 500 บาท จะสร้างอย่างไรก็สุดแท้แต่ เพราะรถต้องไปจอดไปซ่อมที่นั่น เช้าก็วิ่งเข้ามา สุดท้ายโรงซ่อม 300 ไร่อยู่บนดิน และจะต้องทำตะแคงลงไปใต้ดิน แตกต่างกัน 25 เมตร เอาลากขึ้นไปซ่อม ซ่อมไม่ได้ปล่อยรถวิ่งไปกระแทกรถ เห็นไหมครับสร้างโรงซ่อมข้างบน แล้วปล่อยให้รถไหลลงไปข้างล่าง 25 เมตร ทำไมถึงคิดอย่างนั้น เพราะคิดสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าจะทำแค่ 20 เมตร ไปหัวลำโพงกับบางซื่อ


แต่การออกแบบนั้นคิดอย่างไร ลากออกมาจากหัวลำโพงตามเส้นทางพระราม 4 เข้ามาถนนรัชดาภิเษก ความคิดควรจะใช้รัชดาภิเษกทั้งวงเลย เป็น loop 40 กิโลเมตร วงแหวนรอบใน ไม่เอาครับ ไม่มุ่งมั่นกับศูนย์สถานีกลางที่จะไปตั้งอยู่ที่หมอชิต มาดีๆ เขาทำสะพานซ้ายขวาไว้ เขาต้องการให้รถไฟผ่ากลาง ต้องไปทางรัชโยธิน ไม่ต้องอ้อมไปทางโน้น หักเลี้ยว 90 องศา ต้องรื้อสะพานทิ้ง 2 สะพาน ทำสะพานใหม่ตรงกลาง เลี้ยว 90 องศาไปลาดพร้าว วิ่งไปถึงปากทางลาดพร้าว เลี้ยวอีก 90 องศา เพราะจะต้องไปหาศูนย์นี้ ศูนย์ก็ยังไม่สร้าง เลี้ยวไปหมอชิตหน้า อ.ต.ก. ท่านต้องนึกออกเลยรัชดาภิเษก เลี้ยว 90 องศาไปผ่านหน้าปานะพันธุ์ ไปถึงนั่นเลี้ยว 90 องศาไปหมอชิต เลี้ยว 90 องศาไปหน้า


อ.ต.ก. เลี้ยวเกือบ 90 องศาไปบางซื่อ ถามว่าคิดอย่างนี้คิดได้อย่างไรครับ เสียของ


เวลานี้ก็วิ่งอยู่ แต่ถามว่าเส้นทางจากบางซื่อเข้ามา มีคนแน่นอน แต่ 20 กิโลเมตร 18 สถานี ยกระดับก็เหมือนกัน ผมบอกเขาไม่ทำกันในเมือง ต้องเอาสายไฟฟ้าลงถนนสีลม เอาสายไฟฟ้าลงหมดไปเป็นพัน ๆ ล้าน เอาสายไฟฟ้าลงใต้ดิน 2 กิโลเมตร สวยงาม เสร็จแล้วก็ปักเสากลางถนนสีลม กลางถนนสาทร กลางถนนพญาไท กลางถนนราชดำริ กลางถนนพระราม 1 กลางถนนพหลโยธิน ในเมืองทั้งนั้น ปักเสาขึ้นมาเลย ผมบอกเหมือนกับมีงูตัวใหญ่ 2 ตัวมาเลื้อยอยู่กลางถนน ถึงถนนสีลมทำสถานีครอบปีกซ้ายปีกขวา มีเต่าตัวใหญ่อยู่กลางสีลม


ผมคิดจะต่อหางออกไป ผมต่อ 4 ทิศว่ารถใต้ดินไปจ่อบางซื่อ ผมจะต่อไปบางใหญ่ ทิศหนึ่ง ไปจ่ออยู่ที่หมอชิต ผมจะต่อออกไปถึงลำลูกกา ทางด้านนี้ทำไปข้ามแล้วสะพาน ผมทำไป 4.3 กิโลเมตร แต่สิ่งแวดล้อมบอกอนุญาตแค่ 2.3 กิโลเมตร แล้วเจรจากันอยู่ 2 ปียังไปไม่ได้ ตรงนั้นถ้าออกไปข้างทางรถไฟไปมหาชัย ตามโครงการเดิมเขาเลี้ยวไปบางหว้า เพราะเราจะไปใช้ถนนเพชรเกษม ลากเพชรเกษมไปอ้อมน้อย อีกเส้นหนึ่งออกไปอ่อนนุช ไปติดแค่ลาซาล เพราะกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของโครงการมีบริษัทมารับสัมปทาน ก็ได้ตรงนี้ครับ ถ้า กทม. ไม่ถูกกับรัฐบาล หรือคนละพรรคกับรัฐบาล ก็ติดอยู่แค่ลาซาล ไปสำโรงก็ไม่ได้ ไปอ้อมน้อยไม่ได้เพราะไปได้แค่หนองแขม เพราะ กทม. มีขอบเขตแค่นั้น


นี่จะหารือกับท่าน ท่านไม่ต้องตอบคำถาม ใครที่เกี่ยวข้อง ท่านต้องไปดูว่าถ้าผมจะคิดตอนนี้รัฐบาลจะเป็นคนทำ ที่เกิดอยู่เวลานี้คนที่บริหารรถไฟฟ้ายกระดับ ถือหุ้นอยู่ 11% เจ้าหนี้ KFW ถือหุ้น 59% New World Holding ที่ฮ่องกงถือ 30% ของเจ้าหนี้มีรวมกัน 89% คนบริหาร 11% คิดแบบนี้ผิดไหม วันหนึ่งจะวิ่งได้ 6 แสน วันเปิดก็เห่อกันอย่างนั้น ต่อมา 1 ปีแรก 1.2 แสน ได้ 20% เท่านั้น อีก 1 ปีได้ 1.8 แสน อีก 1 ปีได้ 3 แสน ตอนนี้ก็อยู่ 3 แสน วันนักขัตฤกษ์ก็ขึ้นไป 4 แสน กลัวที่จะต้องไปถึง 6 แสนในเวลากี่ปี ไม่ถึง แล้วทำอย่างไรตอนนี้ ผมก็คิด ก็บอกว่าบัดนี้หัวหน้ารัฐบาลขอฝากใครที่เกี่ยวข้อง ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะเป็นคนเอาสัมปทานมาดำเนินการเสียเอง จะได้ออกไปตรงนั้นตรงนี้ได้ ไม่ต้องมีเรื่องยุ่งยาก เพราะรัฐบาลดูแลทั้งประเทศ


ผมบอกว่าต้องเหยียดออกไปไกล อยู่กรุงเทพฯ มีญาติอยู่ 6 คน หันหน้าขึ้นทางเหนือดีกว่า ซ้ายมือก็สมุทรสาคร 28 กิโลเมตร นครปฐม 56 กิโลเมตร ไปนนทบุรีใกล้หน่อย 14 กิโลเมตร แต่ต้องนับไปทางไทรน้อยสัก 30 กิโลเมตร ขึ้นไปปทุมธานี 33 กิโลเมตร ขึ้นไปฉะเชิงเทรา 45 กิโลเมตร นับจากมีนบุรี และทางปากน้ำ 25 กิโลเมตร มีญาติอยู่ 6 คน ต้องเดินทางไปมาหาสู่ เพราะฉะนั้น ระบบขนส่งมวลชนถ้ากุดอยู่แค่นี้ ถ้าเหยียดออกไปถึงจังหวัดคือไปให้ไกลที่สุดก่อน เช่น ไปถึงอ้อมน้อย อีก 18 กิโลเมตรก็ถึง ออกไปถึงพุทธมณฑลก่อน เดี๋ยวก็ถึงนครชัยศรี นครปฐม เมืองนนทบุรีผ่านเลยมาแล้ว ต้องไปถึงบางใหญ่ บางบัวทอง ออกไปหาที่ถูกหน่อยก็ไทรน้อย ไม่ต้องถึงอำเภอ กลาง ๆ ทางก็ได้ เสร็จแล้วมาแต่ละทิศ เราวิ่งขึ้นไปอนุสรณ์สถาน เลี้ยวขวาก็คนเยอะ ขึ้นไปอีก 8 กิโลเมตรก็คนเยอะ แล้วเลี้ยวขวาทอดเดียวมาขึ้นรถไฟ จะติดพื้นก็ได้ elevated ก็ได้ ไปคลอง 4 คนเยอะ ทำแค่คลอง 4 ต่อไป ๆ คลองเจ็ด ลำลูกกา ทั้งหมดลงไป อ่อนนุชลงไป ผ่านลงไปเลยจะถึงสำโรง จะเลี้ยวเข้าเทพารักษ์ เลี้ยวไป 4 กิโลเมตร ถ้าเลี้ยวขวา เข้าไปทางโน้น ก็ไปได้เลย ออกไปปลายทางถนนศรีนครินทร์ ไปจนถึงบางปิ้ง เลี้ยวบางปิ้งไปบางปู


เรียนฝากถามไว้ว่า ถ้ารัฐบาลจะปรับปรุงตรงเส้นนี้ เราจะไปใช้หนี้ไม่กี่หมื่นล้าน ไม่มากเท่าไร คือไปใช้หนี้ KFW 59% แล้วถือหุ้นแทน ไปใช้หนี้ New World ก็ถือหุ้น รัฐบาลจะถือหุ้นโดยหน่วยงาน ไม่ใช่รัฐบาลบริหาร กระทรวงการคลังก็ได้ถือหุ้น 89% ผู้บริหารถือ 11% และก็เจรจาความกับเขา เราจะจ้างคุณบริหารต่อ หรือคุณไม่บริหาร เราจะเอามาบริหาร อย่างนี้รัฐบาลก็ลงทุนเทกโอเวอร์ กทม. เป็นเจ้าของถูกต้อง เหลือ 20 กว่าปี ไม่เป็นไร มีประโยชน์ ก็จะคิดแบบรัฐบาล คือถ้าทำเหยียดออกไปทุกทิศได้ประโยชน์ จริง ๆ ถ้าแบบนี้ระบบทั่วไป breakeven point (จุดคุ้มทุน) 30 ปี แต่ว่ามีญาติอยู่ 6 คนรอบ ๆ แล้วชอบเดินทางกันอย่างนี้ 20 ปีถึงจุดคุ้มทุนแน่นอน


ผมคิดให้ฟังอย่างนี้ว่า ถ้าได้ ก็ไม่มีใครเสียหาย กทม. ยังเป็นเจ้าของสัมปทาน หน่วยงานไหนเป็นคนได้รับสัมปทานช่วงต่อ แล้วก็ดำเนินการต่อ แสดงความเร็วตรงนี้ครับ ที่เขาทำเรียกว่า Airport Link ระบบเดียวกันเลยเป็น elevated train ทำปีครึ่ง 28 กิโลเมตรทำปีครึ่ง ถ้าใส่เสร็จหมด 3 ปีก็วิ่งได้ อันนี้คิดช้า ผมคิดก่อนแล้วว่าที่อ่อนนุชเลี้ยวซ้าย elevated ไปกลางอ่อนนุช 22 กิโลเมตร ถึงสนามบินมุดเข้ามาข้างใต้ เมืองจีนมาดูแล้วดูอีกมาสำรวจ 3 ครั้ง ไม่ให้ไม่ยอม ไม่ตกลง บอกจะเอา Airport Link ผมบอก Airport Link ก็ทำไป แต่ผมจะบอกให้ฟังว่าสนามบินสุวรรณภูมิทางเข้าดีกว่าดอนเมือง เข้าจากทุกทิศ คนจะไปสะดวกสบาย ที่ทำ Airport Link คิดผิด เพราะเหตุว่า ถ้าสนามบินอยู่ลึกลับไปมีทางไป Airport Link มีประโยชน์ เพราะคนจะไปใน downtown terminal ก็ส่งขึ้นไป แต่ถามว่ามีใครบ้างที่ไป check in ใน downtown ส่งกระเป๋าไป และตัวเองนั่งรถไฟไป ไม่มีหรอกครับ นั่งรถไฟไปของก็ไปด้วย แปลว่า city terminal นั้น เสียของ แต่ก็จะทำ ผมผ่านทุกเช้า เดี๋ยวนี้ทำแค่หลังคา งานไม่เดินหรอกครับ เดินแค่หลังคา มุงหลังคาเสร็จเรียบร้อย แต่ elevated เสร็จเร็วทันใจ ปีครึ่งเสร็จออกไปทุกทิศประมาณ 30 กิโลเมตร


เราบอกได้ภายในปีครึ่ง เสาตอม่อเสร็จ อีกครึ่งปีวางรางทำสถานี และสถานีนอกเมือง เป็นสถานีที่ทำธรรมดาไม่ต้องประดับ ไม่ต้องหรูหรา พอกันแดดกันฝน อย่างนี้เร็ว พูดง่าย ๆ เหยียดออกไป 4 ทิศ ในเวลา 3 ปี ต้องได้ใช้งาน รัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี ถ้าลงมือวันนี้ อีก 3 - 4 ปี ไม่เสร็จ ให้รู้ไปเลยว่ายังไง


ถ้าผมจะใช้ระบบรัฐบาลไปเทกโอเวอร์ 89% ของเจ้าหนี้ แล้วขอดำเนินการได้หรือไม่ ถ้าได้แปลว่ารัฐบาลเป็นคนรับสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร เราจะต้องดำเนินการในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และจัดการปรับปรุง และพูดให้เห็นชัดเจนเลยว่า 4 สายออกไปคือ จากบางซื่อ ยกระดับทางยกระดับไปตามเส้นสีม่วง ออกไปถึงบางใหญ่ เลยบางใหญ่ไปหน่อยก็ได้ ไปหาโรงจอดซ่อมบำรุง พอเสร็จเรียบร้อยแล้วออกจากหมอชิตตรงไปเลย ทางยกระดับไปกลางถนนพหลโยธินไปถึงอนุสรณ์สถานเลี้ยวขวา ไปตามถนนดอนเมืองลำลูกกา ทั้งหมด 32 กิโลเมตร เราไปแค่คลองหนึ่ง 2 กิโลเมตรครึ่ง 2 คลอง 5 กิโลเมตร 6 คลอง 7 สองคลอง 10 กิโลเมตร ไปอีกครึ่ง 12 กิโลเมตรครึ่ง อย่างนี้เราไปได้ตามนั้นเลย คือถ้าเข้าเส้นตรงแล้ว ก็ค่อย ๆ ต่อได้ แต่ว่าอันไหนที่เป็นวงกลมวิ่งวน ต้องทำทีเดียว เพราะฉะนั้นจะเล่าให้ฟังง่าย ๆ ว่า คิดเรื่องระบบขนส่งมวลชน เราบอกว่าเบื้องต้นต่อหางออกไป 4 ทิศ ใน 3 ปี ต้องได้ใช้ ขณะเดียวกัน อันนี้เป็นตัว X นะ ลองไปเขียนรูปดู จากทางบางใหญ่ลากลงไปถึงบางปู กว้างเท่านี้ จากอ้อมน้อยโยงไปถึงสะพึง ไปลำลูกกา เป็นตัว X ครับ


เพราะฉะนั้นเราลากใหม่ ลากจากรังสิตเหนือ ผ่านรังสิตวิ่งทับกันเข้ามาตามระบบคอมพิวเตอร์ ทำได้ ผ่านมาหน้าสนามกีฬา ด้วนอยู่ตรงนั้น ทางยกระดับสิ้นสุดอยู่แค่นั้น ถ้าเลยไป เลี้ยวตรงแต่ก่อนเป็นเจริญผลเดี๋ยวนี้เป็นเทสโก้โลตัส เลี้ยวขาวตีโค้งไปก็ไปทางยกระดับบนคลองแสนแสบ ยาวไปเลยผ่านมหานาค ผ่านคลองแสนแสบ ออกมาผ่านฟ้า เลี้ยวซ้ายถนนผ่านฟ้าบนคลองโอ่งอ่าง ยาวตลอด ปักกลางคลองไปเลย ไปถึงก็ไปโผล่ตีนสะพานพุทธ สะพานพระปกเกล้า เขาทำสะพานไว้เรียบร้อยแล้ว ทางยกระดับไปก็ไปเชื่อมต่อถนนพระปกเกล้า และยาวไปถึงถนนตากสิน เข้าไปถนนสุขสวัสดิ์ ยาวสุดตลอดเลยที่ป้อมพระจุล เหนืออยู่รังสิต ใต้อยู่ป้อมพระจุล อีกด้านหนึ่งที่พุทธมณฑล หรือที่นครชัยศรีก็ได้ลากยาวลงมาผ่านกรุงเทพมหานคร ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีที่ดีที่สุดอยู่ข้างใต้ แล้วก็ผ่านออกไปลาดพร้าว บางกะปิ มีนบุรี ไปลาดกระบัง ทิศตะวันออก พุทธมณฑล นครชัยศรี ทิศตะวันตก ทิศเหนือรังสิต ทิศใต้ป้อมพระจุล


เมื่อสักครู่ผมพูดถึงตัว X 4 ทิศ เป็นตัว X กากบาท เพราะฉะนั้นตัว X ผสมกับ 4 ทิศ กากบาทก็เป็น 8 ทิศ แล้วสายที่พูดเมื่อสักครู่ก็เชื่อมพญาไท ออกไปสุวรรณภูมิ ตรงนี้ 28 กิโลเมตร รวมเป็น 9 ลงมือเลย เรื่องเงินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะทราบวิธีการ

// -------------------------------------------------

'สมัคร'ควบ5โปรเจ็กต์ เร่งลงทุนรถไฟฟ้า 5 แสนล้าน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2300 28 ก.พ. - 01 มี.ค. 2551


ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2551 ภารกิจของรัฐบาลสมัคร 1 หลังจากนั้น ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากทุกส่วนงานราชการ ร่วมประชุม เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เพื่อแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในส่วนของนโยบายเร่งด่วน 19 โครงการ การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ปี 2551-2554 และจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งกรอบการทำงานและระยะเวลาการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินนี้ต้องให้แล้วเสร็จและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 11 มีนาคม 2551





+"สมัคร"ย้ำเร่ง5โครงการใหญ่


ในบรรดาโครงการขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลตั้งเป้าให้เสร็จภายใน 1 ปี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะจัดลำดับความสำคัญ ไปที่โครงการขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีสามารถบอกเล่าโครงการได้โดยไร้สคริปต์ ประมวลภาพกล่อมให้ผู้ฟังเห็นภาพคล้อยตามได้ชัดเจน กี่ครั้งกี่ครานายกฯยังคงมุ่งให้ความสนใจกับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมาก


โดยเฉพาะ 5 โครงการใหญ่ คือโครงการเรื่องขนส่งมวลชนเมืองหลวง เรื่องรถไฟ โครงการเรื่องน้ำ เรื่องเศรษฐกิจ และ เรื่องแพทย์ ตั้งเป้าและตั้งใจที่ดำเนินการด้วยการทำเป็น "คณะกรรมการ 5 คณะ" โดยนายกฯไปนั่งเป็นประธานทั้ง 5 คณะ เพื่อจะไม่ปล่อยให้รัฐมนตรีดำเนินการอย่างโดดเดี่ยว ซึ่งหวังไว้ว่าโครงการที่จะดำเนินการภายใน 1 ปี รัฐบาลจะเริ่มลงมือทำเลย แล้วนายกฯจะลงไปดูเรื่องความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการ


นายกฯยังได้ย้ำถึงการเดินหน้าโครงการต่างๆที่เป็นโครงการ ต่อเนื่องจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่า จะสานต่อโครงการต่อไป โดยเฉพาะเน้นไปที่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย 8 ทิศทาง เน้นที่จะขยายเส้นทางออกสู่ชานเมืองมากขึ้นทั้งยกตัวอย่างถึงโครงการรถไฟสายสีแดง ที่ควรจะต้องมีการต่อเส้นทางไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตหรือไม่ ส่วนเรื่องแนวสายสีใดนั้น นายกฯยังไม่ยอมกล่าวถึงในรายละเอียด แต่ทว่าสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปศึกษาเส้นทางอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง


อย่างไรก็ตามนายกฯ ยืนยัน ว่ามีการเตรียมการไว้แล้ว ซึ่งจะไม่ทำให้โครงการล่าช้าและเริ่มลงมือตอกเข็ม ดำเนินการได้แน่นอน และ ในการชี้แจงนโยบายให้กับฝ่ายบริหารนั้นนายกฯย้ำให้เห็นถึงความเอาจริงกับโครงการเหล่านี้ว่า


"การลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์หรือโครงการรถไฟฟ้ามูลค่า 5 แสนล้านบาท ให้มีการลงทุนก่อสร้างไปได้เลย หากเงินงบประมาณไม่เพียงพอให้มีการออกพันธบัตรในอัตราดอกเบี้ย 4-5% ออก 6 ปีให้อัตราดอกเบี้ย 5% ออกบอนด์ ได้หรือไม่อย่างไรให้ไปดูกัน "นายกฯสมัครระบุชัดเจน


ทันทีที่นายกฯ ยืนยันแนวคิด สร้างระบบขนส่งมวลชน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกมาสอดรับว่ากรอบแนวความคิดของนายกฯยังคงเป็นแนวเส้นทางเดิม แต่ได้ขยายเส้นทางออกไปชานเมืองมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนและลดปัญหาการจราจรที่แออัดในเมือง ซึ่งทางกระทรวงจะต้องไปหารือกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป คาดว่าภายในปีนี้จะเริ่มดำเนินการได้ 1-2 เส้นทาง


ในเบื้องต้นนี้สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจ็กต์มีมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่วนแหล่งเงินทุนต้องพิจารณาว่าจะใช้จากเงินกู้หรือกองทุนวายุภักดิ์ โดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนในส่วนงานโยธาส่วนการเดินรถจะให้เอกชนเข้าร่วมโดยรัฐเป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแล เพื่อให้สามารถใช้ตั๋วร่วมได้ เพื่อให้เป็นความสะดวกสบายกับประชาชน


ขณะที่ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)กล่าวสนับสนุนเช่นกันว่า สำหรับการสานต่อโครงการรถไฟฟ้านั้นยังคงเป็นไปตามแนวเส้นทางเดิมแต่มีการปรับขยายเส้นทางเพิ่มขึ้นเท่านั้นเพื่อขยายออกสู่ชานเมือง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีหากรัฐบาลจะเป็นผู้เข้ามาบริหารและวางแผนระบบขนส่งมวลชนเอง จะทำให้ประชาชนทั่วไปมีโอกาสในการใช้เส้นทางเหล่านี้และจะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานเรื่องน้ำมันลงไปได้มาก คาดว่าโครงการที่จะมีการดำเนินการได้ทันทีคือรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่จะเซ็นสัญญาเงินกู้กับเจบิคได้ในภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนสายสีอื่นๆด้านแหล่งเงินทุนจะต้องขึ้นกับรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร


+วางกรอบ/คนรับผิดชอบงาน

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนฯได้กล่าวว่าภายหลังจากที่ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ เป็นต้น เห็นว่า นโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) นโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ (นโยบายเร่งด่วน ) มี 7 กลุ่ม (ดูตัวอย่างแผนการบริหารราชการแผ่นดินนโยบายเร่งด่วน ในตารางประกอบ)


โดยกลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ผู้ที่รับผิดชอบคือรองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และรองนายกรัฐมนตรี นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ กลุ่มที่ 2 การลดรายจ่ายของประชาชน ดูแลโดยรองนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรองนายกรัฐมนตรี พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์


กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชนรับผิดชอบโดยรองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ รับผิดชอบโดยรองนายกรัฐมนตรี นายสหัส บัณฑิตกุล และรองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ


รองนายกรัฐมนตรี พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี นายสหัส บัณฑิตกุล และ กลุ่มที่ 7 กลุ่มฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านสังคมและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รองนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


(2) นโยบายที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปี มี 7 นโยบาย คือ1)นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิตรองนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 2)นโยบายเศรษฐกิจรองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ และรองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ 3)นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี นายสหัส บัณฑิตกุล 4)นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รองนายกรัฐมนตรี นายสหัส บัณฑิตกุล


5)นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรี นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 6)นโยบายความมั่นคงของรัฐ รองนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 7) นโยบายการบริหารจัดการที่ดี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายชูศักดิ์ ศิรินิล โดยแต่ละนโยบายมีรัฐมนตรีกำกับทั้งนี้จะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมครม.ให้ครม.เห็นชอบต่อไปด้วย


+ 11 มี.ค. แผนบริหารเข้า ครม.

นอกจากนี้นายสมชายได้มอบหลักการสำคัญและชี้ให้เห็นว่าหัวใจของการทำงานคือ"ข้าราชการประจำ " ที่จะเป็นผู้รอบรู้ในการวางแผนงาน และสำหรับแนวทางการทำงานของข้าราชการในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนถึงวันที่ 11 มีนาคม 2551 คือต้องเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลทั้ง 19 เรื่อง โดยขั้นแรกนั้นทางรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวง จะต้องปรับแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2551 เพื่อเสริมการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน ก่อนที่จะมีการของบประมาณเพิ่มเติม โดยให้ข้าราชการประจำกลับไปพิจารณาเลื่อนชะลอโครงการที่ไม่จำเป็นออกไปให้อยู่ในปีงบประมาณถัดไป พร้อมให้เร่งรัดจัดทำแผนสำหรับขอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 เพื่อให้เริ่มใช้งบประมาณได้ภายในเดือนตุลาคม 2551


อีกทั้งได้ให้ทางรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบาย ให้มีการบูรณาการแผนงาน ที่ต้องเชิญกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานในความรับผิดชอบมาร่วมพิจารณาแผนงานร่วมกัน โดยยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนจากการกำหนดแผนงาน/โครงการเป็นรายกระทรวง


สำหรับการจัดทำงบประมาณและแผนงานที่เป็นหน้าที่ของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะต้องให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนงานของกระทรวง เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มบทบาทของท้องถิ่นในการรับผิดชอบภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน และงบลงทุนแผนงาน และโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และสาธารณสุข ที่ใช้เงินลงทุนสูง ให้ทางกระทรวงประสานงานและหารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณอย่างใกล้ชิด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2008 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

เจบิกพร้อมปล่อยกู้เมกะโปรเจกท์กว่า 700,000 ล้านบาท

–LogisticNews 7 มี.ค. 2551

กรุงเทพฯ 7 มี.ค. - กระทรวงคมนาคม ยืนยันเจบิกพร้อมให้กู้ โครงการเมกะโปรเจ็กต์วงเงินกว่า 700,000 ล้านบาท ขณะที่ รฟม.พร้อมเซ็นสัญญาเงินกู้ โครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วงได้ในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ จำนวน 18,000 ล้าบาท


นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (เจบิก) ว่า จากการหารือร่วมกันพบว่ากระทรวงคมนาคมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจบิก โดยทางธนาคารได้ยืนยันว่ามีความตั้งใจจะเข้ามาสนับสนุนวงเงินกู้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม รวมกว่า 700,000 ล้านบาท รวมถึงพร้อมจะให้ความร่วมมือกับประเทศไทยในด้านเทคนิคการก่อสร้าง โดยโครงการที่สนใจที่จะให้วงเงินกู้คือโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

นายสันติ กล่าวต่อว่า นอกจากเจบิกจะให้ความสนใจในการให้รัฐบาลไทยกู้เงินมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่แล้ว ยังมีหลายประเทศที่พร้อมจะเข้ามาให้การสนับสนุนวงเงินกู้หากพิจารณาว่าแหล่งเงินจากประเทศใดที่มีข้อเสนอที่ดีกว่าเชื่อว่ากระทรวงการคลังก็จะไม่ปิดกั้น และพร้อมจะพิจารณาเพื่อให้ได้เงินกู้ที่มีเงื่อนไขที่ดีที่สุด

นอกจากนี้ เจบิกยังแสดงความสนใจที่จะให้รัฐบาลไทยกู้วงเงินในการขยายการก่อสร้าง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการ 2 หรือเฟส2 มูลค่า 56,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมต้องเร่งให้มีการก่อสร้างโครงการดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้สูญเสียความเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมทางอากาศ หรือฮับทางการบิน ส่วนการตัดสินใจว่าจะกู้วงเงินดังกล่าวหรือไม่นั้นให้ทางผู้บริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ทำหน้าที่ในการหารือกับทางเจบิก แต่ในความเห็นของตนนั้นเห็นว่า ทอท. จะต้องเร่งตัดสินใจให้มีการก่อสร้างเฟส 2 ให้ได้ในปี 2551 นี้เพื่อให้ทันต่อการขยายตัวของจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้น

“ประเทศไทยถือเป็นลูกหนี้ที่ดีของเจบิก ทำให้ทางเจบิกยินดีที่จะปล่อยกู้ให้กับประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นก็สนใจที่จะปล่อยกู้ให้ไทยเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งก็ไม่ปิดกั้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลังที่จะเป็นผู้พิจารณา” นายสันติ กล่าว

นายสันติ กล่าวต่อว่า นอกจากการใช้วงเงินกู้จากเจบิกแล้วตนยังเห็นว่าหากจะมีการขยายเฟส 2ออกไป หากมีการขายหุ้นเพิ่มทุน ทอท.ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ ทอท.ชุดใหม่ ที่คาดว่าจะได้รายชื่อมาหลังวันที่ 14 มี.ค. นี้

ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่าทางเจบิกได้ยืนยันมายัง รฟม. แล้วว่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนวงเงินกู้แก่รฟม.ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงงวดแรก 18,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 30,000 ล้านบาท โดยภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้จะมีการเซ็นสัญญาร่วมกับระหว่างรฟม.กับเจบิกในสัญญาเงินกู้ดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2008 9:23 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ + คค.เล็งสร้างรถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่ 20 โครงการใน 4 ปี/สนข.ขอ 180 ล.ทบทวนแผนรถไฟฟ้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2303 09 มี.ค. - 12 มี.ค. 2551


เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ ของคมนาคม เร่งผุดรถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่ รวม 20 โครงการใน 4 ปี ค่าหลายแสนล้าน ขณะที่ สนข.ได้ข้อสรุปแผนจ้างที่ปรึกษา 5 โครงการ เล็งจ้างศึกษาทบทวนแผนพัฒนารถไฟฟ้า 180 ล้านบาท

แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รวบรวมข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อใช้ประกอบการจัดทำร่างแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ระหว่าง พ.ศ.2551-2554 เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์แล้ว โดยรายละเอียดของแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงภูมิภาคต่างๆ ได้จำแนกแผนงานเป็น 2 แผนใหญ่ คือแผนงานด้านการศึกษาความเหมาะสมรวมถึงออกแบบรายละเอียด และแผนการลงทุนก่อสร้าง


สำหรับรายละเอียดแผนงานจ้างที่ปรึกษาฯ มีงานที่สำคัญคือ การศึกษาทบทวนแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ด้านความเหมาะสม และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในสายทางต่างๆ 180 ล้านบาท ภายในปี 2551-2552,การจัดทำแผนแม่บท ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่ และระบบรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ (ระยะที่ 1) 345 ล้านบาท ภายในปี 2551-2552


อีกทั้งยังมีการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น (ระยะที่ 2) ของระบบรถไฟทางคู่ และรถไฟก้างปลาทั่วประเทศ 480 ล้านบาท ช่วงปี 2553-2554, การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น ทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน 140 ล้านบาท ช่วงปี 2552-2553 และโครงการออกแบบและก่อสร้างโดยพิจารณาดำเนินการตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนจากผลการศึกษา 259,000 ล้านบาท โดยจะใช้เงินดำเนินการในปี 2553-2554 จำนวน 40,500 ล้านบาท


แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่นั้น ในปี 2551 สนข.ได้จัดทำแผนการลงทุนรวม 11 โครงการคือ

1.1 รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 55,945 ล้านบาท ใช้เงินดำเนินการช่วงปี 2551-2554 จำนวน 53,294 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินลงทุนที่จะใช้ในปีถัดไป,

1.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู 28,640 ล้านบาท ซึ่งจะลงทุนทั้งหมดภายใน 4 ปี,

1.3 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 75,540 ล้านบาท จะใช้เงินลงทุนภายใน 4 ปีรวม 42,231 ล้านบาท

1.4 นอกจากนั้นยังมีรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 8,971 ล้านบาท จะลงทุนภายใน 4 ปี,

1.5 รถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต 59,888 ล้านบาท ใน 4 ปีลงทุนรวม 44,164 ล้านบาท,

1.6 รถไฟฟ้าสายตะวันออกช่วงพญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งใช้เงินลงทุนงานส่วนต่อเนื่องใน 4 ปี รวม 445 ล้านบาท


1.7 ต่อมาคือการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง 4,174 ล้านบาท ภายในปี 2551-2553,
1.8 การก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 7,648 ล้านบาท ใน 4 ปี จะใช้เงิน 5,428 ล้านบาท


1.9 รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียว สะพานใหม่-รังสิต และสะพานใหม่-ลำลูกกา 29,040 ล้านบาท ซึ่งภายใน 4 ปี จะใช้เงินรวม 21,320 ล้านบาท,
1.10 รถไฟฟ้าสายสีเขียวตากสิน-บางหว้า-พุทธมณฑล 4 มูลค่า 20,070 ล้านบาท รวมแล้ว 4 ปีใช้เงินลงทุนรวม 14,762 ล้านบาท และ
1.11 โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง 21,090 ล้านบาท ภายใน 4 ปีใช้เงิน 16,890 ล้านบาท


ขณะที่โครงการที่จะเริ่มต้นดำเนินการในช่วงระหว่างปี 2552 ประกอบด้วย

2.1 รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มหมอชิต-สะพานใหม่ 30,771 ล้านบาทใน 3 ปี จะใช้เงิน 22,379 ล้านบาท,
2.2 รถไฟฟ้าสายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ 101,988 ล้านบาท ใน 3 ปีใช้เงิน 13,474 ล้านบาท,
2.3 รถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-พญาไท-หัวลำโพง-มักกะสัน-หัวหมาก 36,947 ล้านบาท ใน 3 ปีจะใช้เงิน 33,249 ล้านบาท,
2.4 รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ 71,276 ล้านบาท รวม 4 ปีใช้เงิน 7,723 ล้านบาท,
2.5 รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล บางกะปิ-มีนบุรี 15,300 ล้านบาท ใน 3 ปีจะใช้เงิน 6,587 ล้านบาท (ส่าวนหนึ่งของสาย ศาลายา - มีนบุรี พอถือว่าเป็นส่สนต่อขยายสายส้มก็ได้)
2.6 รถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอก บางหว้า-พระราม 5-งามวงศ์วาน-เกษตรนวมินทร์-ศรีนครินทร์-ปู่เจ้าสมิงพราย-สุขสวัสดิ์-บางหว้า 100,300 ใน 3 ปีจะใช้เงิน 52,237 ล้านบาท


ส่วนปี 2553 มีแผนที่จะลงทุน 1 โครงการ คือ

3.1. รถไฟฟ้าสายสีแดงหัวลำโพง-มหาชัย 53,695 ล้านบาท จะใช้เงินลงทุนในช่วงปี 2553 และ 2554 รวม 6,222 ล้านบาท

จากนั้นในปี 2554 จะลงทุนอีก 2 โครงการ คือ
4.1. จัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าสำหรับสายสีแดง 14,880 ล้านบาท โดยใช้เงินก้อนแรก 3,720 ล้านบาท และ
4.2 รถไฟฟ้าชานเมืองช่วงรังสิต-บ้านภาชี,มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา,ตลิ่งชัน-นครปฐม และมหาชัย-ปากท่อ 93,474 ล้านบาท จะใช้เงินก้อนแรกเพียง 3,522 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2008 9:25 am    Post subject: Reply with quote

เบรกกู้เจบิคทำเมกะโปรเจกต์ ชงแผนระดมทุนในประเทศ1.5ล้านล้าน

สยามธุรกิจ ฉบับที่ 877 ประจำวันที่ 8-3-2008 ถึง 11-3-2008 ]


รมว.คลัง หวั่นค่าเงินบาทแข็งเบรกเงินกู้เจบิค รถไฟฟ้าสายสีแดง น้ำเงินเล็งเสนอแผนเงินกู้ในประเทศลงทุนเมกะโปรเจกต์ 1.5 ล้านล้านบาท เข้า ครม. ส่วนเงินกู้สายสีม่วงก้อนแรก 1.8 หมื่นล้านบาท เบรก ไม่ทัน ขณะที่ก้อนสองที่เหลือยืดไปก่อน ระบุระยะแรกกู้ซินดิเคตโลนผ่านแบงก์พาณิชย์ สั่งกรุงไทยเป็นลีดนำปล่อย กู้ รวมทั้งออกตั๋วเงินคลังหาเงินก่อสร้าง 5 โครงการขนาด ใหญ่ ส่วนแผนแปลงหนี้ต่างประเทศ 1 แสนล้านบาทชะงัก หลังพบเยนผันผวนหนัก

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีแผนที่จะชะลอเงินกู้จากต่างประเทศไว้ก่อน ซึ่งรวมถึงเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากผิดปกติ ภายหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% และได้เตรียมแผนเงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนนี้

สำหรับแผนดังกล่าวนั้นจะเน้นเงินกู้ภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งในระยะแรกจะกู้จากกลุ่ม สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการออกตั๋วเงินคลังเพื่อหาเงินมาก่อสร้างโครงการทั้ง 5 ด้าน ที่ประกอบด้วย สาขาระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟในภูมิภาค สาขาสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ด้านบริหารจัดการน้ำ ระบบชลประทานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม และสาขาการพัฒนาระบบการศึกษา และการเรียนรู้

แหล่งข่าวกล่าวว่า สัญญากู้รถไฟฟ้าสาย สีม่วง แบ่งเป็น 2 งวด งวดแรก 1.8 หมื่นล้าน บาท อัตราดอกเบี้ยที่ 1.4% ต่อปี จากวงเงินทั้งหมด 3 หมื่นล้านบาท ส่วนงวดที่สองยังต้อง พิจารณาดูก่อนว่าจะกู้เพิ่มหรือไม่ โดยดูจากเงื่อนไขและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ และขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเจรจาต่อรองกับเจบิค ที่มีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ว่า ผู้กู้ต้องถูกปรับหากเบิกจ่ายเงินไม่ครบตามที่สัญญาระบุ ในอัตรา 0.01% ของเงินที่เหลือแหล่งข่าว กล่าวว่าในการกู้เงินในประเทศ นั้นแบงก์กรุงไทยคงเป็นแบงก์หลักที่จะปล่อยกู้ให้ แต่อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงต้องร่วมกันปล่อยกู้แบบ ซิดิเคทโลน ซึ่งแบงก์ต่างๆ สามารถ เสนอเงื่อนไข การให้กู้มาได้ ทั้งอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาปลอดหนี้เงินต้น

ส่วนการออกพันธบัตรระยะยาว 30 ปี หรืออินชัวร์รันบอนด์สบน.ต้องตรวจสอบตลาดดู ก่อน เพราะเป็นตราสารหนี้ชนิดใหม่ หาผู้ซื้อทั่วไปยาก ซึ่งในช่วงแรกอาจทดลองตลาดฯโดย ออกในจำนวนน้อยก่อน ประมาณ 5 พันล้านบาท และจะเพิ่มวงเงินในปีถัดไป ตามความจำเป็นของการใช้งบประมาณ

ขณะที่ปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้ายหลังเลิกมาตรการกันสำรอง 30% นั้นคลังต้องพิจารณา อย่างรอบคอบในการหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ เนื่องจากจะส่งผลต่อค่าเงินบาท อย่าง ไรก็ตาม ในระยะยาวหากค่าเงินบาทมีเสถียรภาพอาจหันไปพึ่งหาเงินกู้จากต่างประเทศได้อีก

สำหรับวงเงินที่จะกู้ในปีนี้ไม่น่าจะมีปัญหา เนื่องจากหนี้สาธารณะต่อจีดีพียังต่ำ เดิมสัดส่วนการกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะมาจากเจบิค แต่หลังยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ก็ต้องมาดูสัดส่วนเงินกู้ใหม่

ด้านนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวย การสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. สบน.จะเร่งคืนหนี้ต่างประเทศให้ได้ 1 แสนล้านบาททันที หลัง จากที่คลังได้ออกมาตรการรองรับความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยน

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯและรมว.คลัง กล่าวระหว่างตรวจเยี่ยมธนาคารกรุง ไทยว่าแบงก์กรุงไทยพร้อมที่จะสนับสนุนวงเงิน กู้ให้กับโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล

ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า จะมีประชุมคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล จำนวน 5 คณะ โดยแต่ละคณะจะมีนายกรัฐ มนตรีเป็นประธาน มีรมต.และปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เป็นรองประธานและกรรมการ ซึ่งเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจกต์ เพื่อหาเงินงบประมาณมาสนับสนุน

รมว.คลัง กล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าทั้ง 5 โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 4 ปี ซึ่งอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตาม ความเหมาะสมในแต่ละโครงการต่อไป โดยปีแรกจะใช้งบประมาณไม่มากนักเพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของโครงการและเป็นการติดตามในรายละเอียด แต่จะเริ่มใช้งบประมาณมากขึ้นในปีที่ 2 และ 3 ต่อไป โดยแหล่งเงินมาจากงบประมาณ เงินกู้จากองค์กรต่างประเทศและในประเทศ รวมถึงการร่วมลงทุนกับเอกชน

น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า การลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้นั้น จะนำเม็ดเงินลงสู่ระบบได้ประมาณปลายปีนี้ ซึ่งหาก เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยของนักลงทุนต่างประเทศก็จะฟื้น รวมทั้งการลงทุนก็จะเพิ่มขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42553
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2008 10:02 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเอาใจคนกรุง กำหนดเวลาขายซองประกวดราคารถไฟฟ้า 6 สาย จากทั้งหมด 9 สาย

Logistic News - 11 March 2008

กรุงเทพฯ 10 มี.ค. - กระทรวงคมนาคมกำหนดเวลากำหนดเวลาขายซองประกวดราคารถไฟฟ้า 6 สาย จากทั้งหมด 9 สาย พร้อมมั่นใจเงินกู้ไม่มีปัญหา

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการติดตามเร่งรัดการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย ว่า ภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทั้งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการเปิดขายซองประกวดราคาได้ภายในปี 2551 ในเบื้องต้น 6 สาย คือ

1.สายสีม่วง เส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ ในช่วงปลายเดือน มี.ค.
2.สายสีน้ำเงิน เส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ ในช่วงเดือน มิ.ย.
3.สายสีเขียวอ่อน เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ ในช่วงเดือน ก.ค.
4.สายสีเขียวเข้ม เส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ ในช่วงเดือน ก.ค. เช่นกัน
5.เส้นทางสายสีแดง ช่วงเส้นทางบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วงเดือน มิ.ย. หรือ ก.ค.
6.ส่วนสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น ได้ประกวดราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว และอยู่ในช่วงรอการเปิดซองประกวดราคาเพื่อคัดเลือกเอกชนผู้รับเหมาก่อสร้าง

นายสันติ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างเบื้องต้นได้มีการประเมินไว้ทั้ง 6 สาย คาดว่าจะใช้งบประมาณในภาพรวมประมาณ 270,000 ล้านบาท โดยทางกระทรวงการคลังจะทำหน้าที่ในการเจรจาเพื่อขอกู้เงินจากแหล่งเงินต่าง ๆ ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะทุกแหล่งเงินแสดงเจตนาที่ต้องการให้รัฐบาลไทยกู้เงินมาเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างดังกล่าวอยู่แล้ว

นายสันติ กล่าวต่อว่า ตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการก่อสร้างให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะสายสีม่วง แดง และน้ำเงิน ที่ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด และต้องการให้เกิดขึ้นก่อนสายอื่น ๆ ทั้งนี้ มั่นใจว่ารถไฟฟ้าสายอื่น ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับการก่อสร้างก็จะเร่งดำเนินการให้มีการก่อสร้างให้เร็วที่สุด

สำหรับการออกแบบก่อสร้างนั้น ตนได้เน้นให้ทุกหน่วยงานเน้นการออกแบบก่อสร้างที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนให้มากที่สุด เช่น การออกแบบให้มีสถานีในจุดที่เหมาะสม เพื่อรับส่งผู้โดยสาร มีช่องจอดรถประจำทางและรถเวียนเพื่อรับส่งผู้โดยสารที่ลงจากรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ โดยให้ผู้โดยสารเดินในระยะที่ไม่เกิน 200 เมตร จากสถานี เป็นต้น. -LogisticNews
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 11/03/2008 10:15 am    Post subject: Reply with quote

จนกระทั่งบัดเดี๋ยวนี้ ก็คงยังไม่ปรากฎโครงการรถไฟซักโครงการเลยฮะ เฮียวิซซี่แบร์
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 277, 278, 279  Next
Page 2 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©