RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269455
ทั้งหมด:13580742
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 101, 102, 103 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2014 8:00 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเรียกรฟม.-สนข.ถกคัดแยกสัญญาสายสีชมพู
ฐานเศรษฐกิจ 6 พ.ย. 57

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2014 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า อย่าสักแต่สร้างส่งเดช


ข่าวอสังหาริมทรัพย์ ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2557 17:04:43 น.
กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส

เราอยากให้สร้างรถไฟฟ้ากันมาก แต่ที่เราคิดจะสร้างนั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือเราถือคติว่า "กำขี้ ดีกว่า กำตด" คือได้สร้างก็ยังดี ขณะนี้รัฐบาล คสช. ก็คิดสร้างรถไฟฟ้าตามคำ "เพ็ดทูล" ของข้าราชการประจำเหมือนกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมาอีกแล้ว เรามาวิพากษ์กันให้ชัดเจนว่าจะสร้างตรงไหนดี



รถไฟฟ้าสายบางซื่อ-ตลิ่งชัน รถไฟฟ้าสายนี้เริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสวนผัก ไปตามแนวเส้นทางรถไฟ จากนั้นจะเป็นโครงสร้างยกระดับ ข้ามถนนจรัลสนิทวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ถนนประชาชื่น ข้ามคลองประปา สิ้นสุดที่จุดเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ที่สถานีกลางบางซื่อ หลายท่านอาจไม่รู้ว่าสร้างเสร็จ (เกือบ) 100%แล้ว เคยเอารถมาทดลองวิ่งแล้ว แต่อาจไม่ได้เปิดใช้ เพราะยังไม่มีรถไฟฟ้า อนาถไหมครับ

รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ - บางใหญ่ รถไฟสายนี้กำลังจะแล้วเสร็จ แต่ไม่รู้จะได้วิ่งเมื่อไหร่ จะล่าช้าหรือไม่ ที่สำคัญตลอดเส้นทางที่รถไฟฟ้านี้วิ่ง ผ่านชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีความหนาแน่นไม่มากนัก จะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจขนาดไหน แต่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเราได้รับการโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ นานาเพื่อขายโครงการที่อยู่อาศัยในย่านนี้ แต่ในความเป็นจริงการเดินทางจากบางใหญ่เข้าถึงสีลม อาจต้องใข้เงินไปกลับด้วยรถไฟฟ้านี้ถึงราว 200 บาทต่อวัน ชาวบ้านจะสู้ไหมไหม แถมใช้เวลาเดินทางนับชั่วโมง (ก็คล้ายรถไฟหวานเย็นธรรมดาแต่ติดแอร์) เท่านั้น

รถไฟฟ้าสายสีม่วงบางซื่อ-ราชบูรณะ ที่ควรสร้างก็คือจากบางซื่อวิ่งไปตามถนนสามเสน ถึงเทเวศน์ ผ่านมานางเลิ้ง เข้าราชวงศ์ ข้ามสะพานพระปกเกล้า ผ่านถนนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสิ้นสุดที่ราชบูรณะ แต่รถไฟฟ้าสายนี้แทบไม่มีความคืบหน้าเลย อันที่จริงช่วงจากบางซื่อถึงเทเวศน์ มีดำริจะสร้างมานาน ถือเป็นเส้นที่ดีที่สุดเส้นหนึ่งเพราะมีคนใช้สอยมาก สัญญารถไฟฟ้าก็ลงนามในสมัย "น้าชาติ" 2 วันก่อน รสช. มา พอ รสช.มา ก็หาว่า "น้าชาติ" โกง ยกเลิกรถไฟฟ้าสายนี้ไปทั้งที่เป็นสายที่มีประโยชน์ กลับไปสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ผ่านพื้นที่ๆ แทบไม่ค่อยมีคนเลย

รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟสายนี้สร้างจากแยกแคลาย ย้อนขึ้นไปแยกปากเกร็ด แล้ววิ่งไปทางตะวันออกตามถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ต่อไปยังถนนรามอินทราถึงมีนบุรี หะแรกดูตามโครงการนี้ก็ดีเหมือนกันที่จะมีรถไฟฟ้าผ่านแถวศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะที่รถติดวินาศสันตะโร บ้านเราก็แปลกมีศูนย์ราชการทั้งที ก็ไม่มีปัญญาเชื่อมทางด่วนโทลเวย์กับทางด่วนแจ้งวัฒนะเข้าหาศูนย์ราชการ รถไฟฟ้าก็ควรมีเชื่อมกับสายสีม่วง สายบีทีเอส และสายเอ็มอาร์ที

แต่หากดูให้ดี ๆ แล้วรถไฟฟ้าสายนี้ไม่รู้จะสร้างไปทำไม เพราะสร้างในเส้นทางที่ไม่ได้เข้าเมือง ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันระหว่างคนจากแคลาย ปากเกร็ดกับมีนบุรีเลย ไม่ทราบสร้างไปหาญาติใครแถวนั้นก็ไม่ทราบ รถไฟฟ้าที่ดีต้องวิ่งในเมือง หรืออย่างน้อยก็ต้องวิ่งเข้าเมืองเพื่อขนส่งคนมาทำงาน แต่นี่กลับวิ่งจากจุดนอกเมืองจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมใด ๆ เลย

รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟสายนี้วิ่งจากตลิ่งชัน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสนามหลวง ยศเส เพชรบุรี ประตูน้ำ วิภาวดี ดินแดง ศูนย์วัฒนธรรม บางกะปิ จบที่สุวินทวงศ์ นับเป็นรถไฟฟ้าที่มีประโยชน์อย่างยิ่งยวด ผ่าเข้าใจกลางเมืองโดยตรงเลย แต่รถไฟฟ้าสายนี้คงอีกนานกว่าจะได้สร้าง ดูอืด ๆ แต่ที่สำคัญก็คือช่วงจากบางกะปิไปถึงสุวินทวงศ์ ซึ่งมีระยะทางราว 1/3 ของทั้งหมด อาจไม่จำเป็นต้องสร้าง เพราะยังมีจำนวนประชากรค่อนข้างเบาบางกว่าเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น

รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายด้านเหนือ จากลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธินถึงลำลูกกา รถไฟฟ้าเส้นนี้ไม่ควรสร้าง!!! แต่มี "ลุ้น" มากที่สุดเส้นหนึ่ง เพราะเป็นการเชื่อมสัมปทานเดิม ขณะนี้รัฐบาลกำลังสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงไปรังสิต ดังนั้นหากสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสไปสะพานใหม่ขนานกันและห่างกันประมาณ 2กิโลเมตร ก็น่าจะมีเส้นใดเส้นหนึ่งที่ "เจ๊ง" อย่างแน่นอนเพราะแข่งขันกันเอง ถ้าจะสร้างรถไฟฟ้าไปเข้าลำลูกกาจริง (ถ้ามีผู้ใช้บริการเพียงพอ) ก็ควรสร้างเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ดอนเมือง น่าจะเหมาะสมกว่า ไม่ต้องไปเอื้อภาคเอกชนนัก

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว - บางนา รถไฟฟ้าสายนี้มาจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปบางกะปิ วิ่งลงใต้ไปตามถนนศรีนครินทร์และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบางนา สิ้นสุดที่สี่แยกบางนา แต่เดิมรถไฟฟ้าสายนี้จะสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2572 ซึ่งผมเองก็ยังไม่รู้จะอยู่จนได้ใช้หรือไม่ แต่ทางราชการว่าจะทำให้เสร็จภายในปี 2562ซึ่งผมก็ไม่เชื่อนักว่าจะทำได้ ดังนั้นก่อนที่เราคิดจะลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ตามแนวรถไฟฟ้านี้ ก็พึงเผื่อใจไว้บ้าง ที่สำคัญรถไฟฟ้าสายนี้ช่วงถนนศรีนครินทร์อาจไม่มีความจำเป็นนักเมื่อเทียบกับถนนสายอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะขณะนี้ถนนศรีนครินทร์ก็ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ

รถไฟฟ้าสายสีเทา รถไฟฟ้าสายนี้วิ่งจากแยกวัชรพล ถึงสะพานพระรามที่ 9 ผ่านถนนเอกมัยรามอินทรา ทองหล่อ สุขุมวิท 38 พระรามที 4 คลองเตย พระรามที่ 3 และรัชดาภิเษก (ช่วงที่ตัดกับสาธุประดิษฐ์) รถไฟฟ้าสายนี้น่าจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งเพราะสามารถเชื่อมเข้าเมืองได้ดี และเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุด น่าจะสร้างจากช่วงลาดพร้าวมาก็พอ ไม่ต้องไปถึงรามอินทรา ซึ่งยังมีประชากรน้อยอยู่ รถไฟฟ้าเส้นนี้จะทำให้ใจกลางเมืองได้รับการเชื่อมต่อกันมากขึ้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามรถไฟฟ้าเส้นนี้วางแผนที่จะสร้างเสร็จในปี 2572 ซึ่งผมอาจอยู่ไม่ถึงวันนั้น แต่กรุงเทพมหานครก็จะรับเป็นเจ้าภาพกระตุ้นให้เร็วขึ้น ซึ่งคงต้องคอยดูกันต่อไป

รถไฟฟ้าสายสีฟ้า รถไฟฟ้าสายนี้เชื่อมระหว่างดินแดง-สาทร) เป็นรถไฟฟ้าแบบมวลเบารางเดี่ยว จากเคหะชุมชนดินแดง ย่านมักกะสัน ไปยังถนนวิทยุ และถนนสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร แต่รถไฟฟ้าสายนี้เป็นอีกหนึ่ง "ความฝัน" ซึ่งไม่รู้ว่าจะลมๆ แล้งๆ หรือไม่ เพราะเป็นแผนปี พ.ศ.2572 แต่ถือเป็นรถไฟฟ้าสายที่มีประโยชน์มากเพราะเชื่อมต่อย่านธุรกิจใจกลางเมือง รถไฟฟ้าดี ๆ อย่างนี้อาจไม่ได้สร้าง หรืออาจสร้างช้ากว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะงบประมาณน้อยไม่คุ้มกับ "เงินทอน" ?!?

ราคาที่ดินรอบรถไฟฟ้าพุ่ง จากการสำรวจของ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) พบว่า ราคาที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า 112สถานีตามแนวรถไฟฟ้า 10 สายในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า ราคาพุ่งขึ้น 178% หรือเท่ากับปีละ 8.9% ณ ปี2553 จนบัดนี้ปี 2557 ราคาก็คงพุ่งสูงกว่าเดิมเป็น 251% จากราคาเดิม 100% เมื่อปี

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ยังพบว่า

โดยที่มีสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมด 41 สถานี จึงคาดว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินได้เพิ่มขึ้นมากถึง 404,105 ล้านบาท ณ ปี 2552 แต่หากนับถึงปี 2557 ก็น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 621,513 ล้านบาท เฉพาะเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ หากจัดเก็บภาษีสัก 20% ก็นำมาสร้างรถไฟฟ้าได้ใหม่ได้หลายสายเลยทีเดียว

ข้อคิดสำคัญเชิงนโยบายที่น่าสนใจ ที่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เคยนำเสนอไว้โดยสรุปก็คือ

1. การที่ราคาที่ดินบริเวณแนวรถไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ทางการเงินในการสร้างโครงการรถไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะคุ้มค่ากับเศรษฐกิจโดยรวมเป็นอย่างยิ่ง

2. การที่ราคาที่ดินรอบรถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มสูงกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ส่วนหนึ่งชี้ให้เห็นการการสร้างรถไฟฟ้ายกระดับไม่ใช่ “ทัศนะอุดจาด” สามารถที่จะสร้างได้ หากสามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ดังนั้นจึงควรสร้างเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างโดยไม่สนใจต่อกลุ่มนักอนุรักษ์ใด ๆ

3. การสร้างรถไฟฟ้าควรสร้างในใจกลางเมืองหรือเขตต่อเมืองเป็นสำคัญ ไม่ใช่สร้างออกนอกเมือง ซึ่งควรเป็นบทบาทของทางด่วนมากกว่า สำหรับการสัญจรโดยทางด่วนมีค่าโดยสารถูกกว่ารถไฟฟ้าในกรณีนอกเมือง เนื่องจากทางด่วนยังมีรถประจำทาง รถตู้ทางด่วน ซึ่งค่าโดยสารต่ำกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายชานเมืองซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เงินเดินทางเกือบร้อยบาทต่อเที่ยวในการต่อสายเข้าใจกลางเมือง

4. การที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเช่นนี้ เป็นข้อสนับสนุนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยิ่งหากสามารถจัดเก็บได้ประมาณ 1-2% ของมูลค่า ก็ยิ่งจะมีเงินงบประมาณเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นยิ่งขึ้น และยิ่งทำให้ท้องถิ่นเจริญเติบโต และราคาที่ดินจะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นตามลำดับ ทำให้ไม่เป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีแต่อย่างใด

ดังนั้นการมีรถไฟฟ้าจึงเป็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลพึงสร้างรถไฟฟ้าโดยเฉพาะรถไฟฟ้าในใจกลางเมือง เพื่อให้ประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่น (แต่มีระเบียบในเมือง) แทนที่จะออกไปทำลายพื้นที่เกษตรกรรมนอกเมือง และทำให้เมืองขยายตัวออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ทุนสร้างรถไฟฟ้ามาจากไหนดี การกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มาจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เคยเสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าโดยส่งเสริมให้ต่างชาติมาลงทุนอย่างขนานใหญ่ เพราะถือเป็นการดีกว่าการไปส่งเสริมให้ต่างชาติมาซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพราะผู้ได้ประโยชน์ก็เป็นเพียงผู้ประกอบการและนายหน้าข้ามชาติบางส่วนเป็นสำคัญ หากมีการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าจะเป็นเงินลงทุนในแต่ละโครงการนับแสนล้านบาท หากทำหลายโครงการ ก็จะเป็นเงินหลายแสนล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเกิดผลต่อเนื่องมากกว่าการลงทุนอื่น ๆ อีกมาก

ข้อคิดส่งท้ายก็คือสร้างรถไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาชาติโดยไม่ต้องใช้ภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ แต่ให้ผู้ใช้เป็นผู้จ่ายและหานักลงทุนต่างชาติมาลงทุน (แต่ต้องสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยเสียก่อน)

ภาพประกอบ:
57-175-1 เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สร้าง "ไปไหนก็ไม่รู้"
https://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/11/57-175-1.jpg
57-175-2 รถไฟฟ้าสายสีส้มที่ควรตัดช่วงบางกะปิ-สุวินทวงศ์ออกก่อน
https://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/11/57-175-2.jpg
57-175-3 โครงข่ายรถไฟฟ้าโดยรวมของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
https://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/11/57-175-3.jpg
57-175-4 การประมาณการการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินเพราะรถไฟฟ้า
https://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/11/57-175-4.jpg

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2014 11:41 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมหวั่นข้อครหาสายสีชมพูเอื้อ 3 ราย
วันพุธ ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.


แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.ท.บรรจง คลายนสูตร์ ที่ปรึกษารมว.คมนาคม ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) หารือเกี่ยวกับการคัดแยกสัญญาการประมูลงานก่อสร้าง และงานตัวรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยสั่งการให้กลับไปทบทวนใน 4 ประเด็นหลัก คือ

1.ข้อมูลผลการศึกษาปริมาณผู้โดยสารที่ได้ดำเนินการมาศึกษามาตั้งแต่ปี 2552 และได้มีการทบทวนผลการศึกษาไปเมื่อปี 2555 นั้นปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด 2.ให้ศึกษาเรื่องระบบการเดินรถที่เดิมกำหนดไว้เป็นระบบโมโนเรล (ระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา)เป็น เฮฟวี่เรล เพราะสาเหตุใด และในอนาคตหากจะเปลี่ยนจากโมโนเรลเป็นเฮฟวี่เรลจะทำได้หรือไม่

3.พิจารณาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะเกรงว่าจะเป็นการผูกขาด เนื่องจากระบบโมโนเรลในปัจจุบันมีอยู่เพียง 3 ค่ายใหญ่ ๆ
เท่านั้นที่ดำเนินการ หากต้องมีข้อจำกัดให้เลือกเพียงเทคโนโลยีใดหรือเทคโนโลยีหนึ่งเท่านั้นก็คงจะต้องเลือกเทคโนโลยีของบริษัทนั้นๆ ไปโดยตลอดอายุการใช้งานเลยหรือไม่ และ 4.พิจารณาเรื่องค่าบำรุงรักษาว่าระยะสั้น ระยะยาวรูปแบบใดจะเกิดความคุ้มค่าหรือประหยัดได้มากกว่า ทั้งนี้ได้สั่งการให้กลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจะมีการนำเสนอสู่ที่ประชุมในวันที่ 11 พ.ย. 2557 อีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2014 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านเฮ!รฟม.ยอมปรับแนวสายสีสัม เลี่ยงชุมชนถนนประชาสงเคราะห์ 150 หลังคาโล่ง ไม่ต้องย้ายหนี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2557 08:57 น.


ชาวบ้านเฮ!รฟม.ยอมปรับแนวสายสีสัม เลี่ยงชุมชนถนนประชาสงเคราะห์ 150 หลังคาโล่ง ไม่ต้องย้ายหนี

รฟม.เคาะเปลี่ยนแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ใช้แนวพระราม 9 แยกอสมก. ไปดินแดง ราชปรารภ แทนจากเดิม แนวเส้นทางจะเลี้ยวเข้าศูนย์วัฒธรรม โดย ผ่านเอสพลานาด ประชาสงเคราะห์ ออกวิภาวดี ยอมใช้เทคนิคแก้แบบสถานีร่วมกับสายสีน้ำเงิน จากศูนย์วัฒนธรรมเป็นสถานีพระราม 9 ลดเวนคืนได้ 500 ล้าน เตรียมจัดประชาพิจารณ์จริง 22 พย.

นายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรีระยะทาง 39.6 กม. วงเงินลงทุน 1.1 แสนล้านบาท ว่า รฟม.ได้เชิญชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 ประมาณ 150 ตนร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรม -ตลิ่งชัน ช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการคัดค้านอย่างหนัก และขณะนี้รฟม.ได้มีการศึกษาและเสนอปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่เพื่อลดผลกระทบ จึงได้เชิญชาวบ้านมารับทราบข้อมูลเบื้องต้นก่อนจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พย. เวลา 09.00-12.00 น. ที่โรงแรมเซ็นจูรี่

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงที่ได้รับการคัดค้านจนนำไปสู่การแก้ไขครั้งนี้ เดิมแนวเส้นทาง เริ่มจากสถานีรางน้ำ ถนนราชปรารภ จะตัดข้ามเข้าถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาผ่าน กทม. 2 เข้าถนนประชาสงเคราะห์ ตัดออกถนนรัชดาภิเษกบริเวณห้างเอสพลานาด เพื่อไปเชื่อมกับสถานีศูนย์วัฒนธรรม จากนั้นเบี่ยงเข้าถนนวัฒนธรรม เมื่อถึงแยกผังเมือง จะเลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 9 วิ่งไปตามแนวเส้นทางปกติ โดยมี 2 สถานี ได้แก่ สถานีดินแดง บริเวณกทม.2 และสถานีประชาสงเคราะห์

สำหรับแนวเส้นทางที่ปรับเปลี่ยนใหม่ เริ่มจากสถานีรางน้ำ ถนนราชปรารภ ตัดเข้าถนนดินแดง ผ่านโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ แยกโบสถ์แม่พระ ตรงเข้าถนนพระราม9 วิ่งเข้าถนนรามคำแหงไปตามแนวเส้นทางเดิม มี 1 สถานี คือ สถานีเคหะดินแดง ตั้งอยู่บริเวณหน้าการเคหะดินแดง โดยมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีพระราม 9 จากเดิมเป็นสถานีศูนย์วัฒนธรรม ลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือน ประหยัดงบประมาณเวนคืน 500 ล้านบาท ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวเส้นทางใหม่ โดยหลังจากสรุปผลรับฟังความคิดเห็น รฟม.จะรายงานบอร์ดเพื่อขออนุมัติปรับเปลี่ยนแนวเส้นทาง และแก้ไข พรฎ.เวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ได้รับอนุมัติแล้ว เฉพาะช่วงดังกล่าว เพื่อเดินหน้าก่อสร้างต่อไป

ด้านนายธนา ชีรวินิจ อดีตสส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รฟม.เชิญมารับฟังข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม แนวที่ 2 ถนนพะราม 9 ตามที่เสนอไป เมื่อได้ฟังชาวบ้านก็สบายใจ เพราะเป็นสิ่งที่รฟม.ดำเนินการบนเหตุผลความถูกต้อง มีความชัดเจน ประชาชนไม่ต้องวิตก และแนวโน้มไปพระราม 9 แทนประชาสงเคราะห์ จากเดิมวิ่งผ่าชุมชน จากพระราม 9 แล้วไป รัชดาฯ เอสพลานาด ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านโดยตรง แนวใหม่จะวิ่งพระราม 9 ตรงผ่านแยก อสมก. ซึ่งเป็นแหล่งพาณิชยกรรม คนใช้มากกว่า คุ้มกว่าแน่นอน การต่อสู้ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกของประชาชนที่ชนะ เพราะถ้ายืนหยัดในข้อเท็จจริง ความถูกต้องก็ชนะทุกอย่าง ซึ่งการเวนคืน ต้องหาทางใช้เทคนิคการก่อสร้างไม่ให้กระทบกับประชาชนให้มากที่สุด
//----------------------------------------------------------------------------------

จี้สรุปเดินรถสายสีน้ำเงิน-ม่วง
เสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 0:00 น.

บอร์ด รฟม.จี้ เดินหน้าแนวทางเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-ม่วง หลังอืดมากว่า 2 เดือน ด้าน-ชาวบ้านประชาสงเคราะห์ ร้องปรับแนวก่อสร้างสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 พ.ย. 2557 ที่ผ่านมา ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธาน ได้เร่งรัดให้คณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ซึ่งมีนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม. (ฝ่ายปฏิบัติการ) สรุปผลการเจรจาการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ กับหัวลำโพง-บางแค และสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
“ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 ส.ค.57 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตามมาตรา 13 ได้มีมติให้มีการเปิดประมูลเพื่อหาผู้ดำเนินการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย แต่หลังจากนั้น นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล อดีตผู้ว่าการ รฟม. ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตามมาตรา 13 โดยให้สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ รฟม. (วิศวกรรมและก่อสร้าง) เป็นประธาน กลับมีความคืบหน้าในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวกลับมีน้อยมาก” แหล่งข่าวกล่าว
นายรณชิตกล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2557 นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำกลุ่มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแนวก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี เข้าพบและเสนอให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าจากเดิม เป็นผ่านสามเหลี่ยมดินแดง เข้าสู่ถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ แม่เนี้ยว ผาสุกและชุมชนชานเมือง ไปยังเอสพลานาด-สถานีพระราม 9 (บริเวณศูนย์ซ่อม)
ทั้งนี้ หลังจากที่ รฟม.ได้ให้ที่ปรึกษาไปศึกษาแล้ว พบว่า มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ได้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนต่างๆ กว่า 150 หลังคาเรือน ลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืน 500 ล้านบาท พร้อมลดการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าอีก 1 สถานี ซึ่งหลังจากนี้ รฟม.จะนำข้อมูลทั้งหมดไปรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ในวันที่ 22 พ.ย.2557 จากนั้นบอร์ดจะพิจารณาเรื่องแนวเส้นทาง หากบอร์ด รฟม.เห็นชอบจะเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอทบทวนแนวเวนคืนที่ดินในช่วงดังกล่าวต่อไป.

//--------------

รฟม.รับปากเปลี่ยนแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม
โพสต์ทูเดย์
14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 19:10 น.

ชาวบ้านประชาสงเคราะห์เฮ รฟม.รับปากเปลี่ยนแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ลดผลกระทบกว่า 150 หลังคาเรือน เซฟเงินได้กว่า500ล้านบาท

นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 พ.ย.2557 นายธนา ชีรวินิจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ได้นำกลุ่มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแนวก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ช่วงสามเหลี่ยมดินแดง-ศูนย์วัฒนธรรมเข้าพบและเสนอให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มโดยเปลี่ยนจากแนวเส้นทางบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงผ่านเข้าสู่ถนนวิภาวดีรังสิตผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ แม่เนี้ยว ผาสุกและชุมชนชานเมืองไปยังเอสพานาดเป็นแนวเส้นทางใหม่ โดยผ่านจากสามเหลี่ยมดินแดง-สถานีเคหะดินแดง-สถานีพระราม 9 –สถานีรฟม. (บริเวณศูนย์ซ่อม)ทั้งนี้ หลังจากที่รฟม.ได้ให้ที่ปรึกษาไปศึกษาแล้ว พบว่า มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ได้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนต่างๆ ได้กว่า 150 หลังคาเรือน ลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนอีกกว่า 500 ล้านบาท พร้อมลดการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าอีก 1 สถานี ซึ่งหลังจากนี้ รฟม.จะนำข้อมูลทั้งหมดไปรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ในวันที่ 22 พ.ย.2557 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการรฟม.เพื่อพิจารณาเรื่องแนวเส้นทางหากบอร์ดรฟม.เห็นชอบจะเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอทบทวนแนวเวนคืนที่ดินในช่วงดังกล่าวต่อไป

นายธนา กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนเคยยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าประชาสงเคราะห์ไปยังคณะกรรมาธิการคมนาคม ที่มีนายเจือ ราชสีห์เป็นประธานในขณะนั้น เนื่องจากเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับแนวทางการเดินรถไฟฟ้าที่ต้องการลดปัญหาการจราจร ทั้งนี้ยังเห็นว่าถนนประชาสงเคราะห์เป็นถนนที่เล็ก ไม่เหมาะสมที่ประชาชนจะเข้ามาใช้รถไฟฟ้า ประกอบกับแนรวเส้นทางเดิมอยู่ห่างจากสถานีดินแดงไม่มากนัก ดังนั้น เมื่อทางรฟม.ได้ข้อสรุปที่จะเปลี่ยนแนวเส้นทางให้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่ดี ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อย ลดค่าเวนคืนที่ดินได้ด้วย

//----------------------

การเปลี่ยนเส้นทางนี้ก็เพราะ โครงการจีแลนด์นี่แหละที่ทำให้ รฟม. เปลี่ยนใจได้นอกเหนือจากการ ที่ ชาวบ้านย่านประชาสงเคราะห์ จะเอาอย่างนั้นขึ้นมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2014 11:14 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับเส้นทางรถไฟฟ้าสีส้ม ไม่ผ่านประชาสงเคราะห์-เข้าพระราม 9 ลดเวนคืน 150 หลัง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
15 พฤศจิกายน 2557 05:15


เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการ ผู้ว่าการ รฟม. เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ซึ่งเชิญชาวบ้านในพื้นที่ดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 ร่วมรับฟังประมาณ 150 คน โดยนายรณชิตกล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้ รฟม.ได้เชิญชาวบ้านมาแสดงความคิดเห็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการคัดค้านอย่างหนัก รฟม.จึงได้ศึกษาและเสนอปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่เพื่อลดผลกระทบ และเชิญชาวบ้านมารับทราบข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะจัดฟังความคิดเห็นอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พ.ย. เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมเซ็นจูรี่

นายรณชิตกล่าวว่า สำหรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงที่มีการคัดค้าน แนวเส้นทางเดิม เริ่มจากสถานีรางน้ำ-ถนนราชปรารภ-ถนนวิภาวดีรังสิต-กทม. 2-ถนนประชาสงเคราะห์-ถนนรัชดาภิเษกบริเวณห้างเอสพลานาด เพื่อไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม -ถนนวัฒนธรรม-แยกผังเมือง-ถนนพระราม 9 มี 2 สถานี ได้แก่ สถานีดินแดง ที่ กทม.2 และสถานีประชาสงเคราะห์ ส่วนเส้นทางที่ปรับเปลี่ยนใหม่ เริ่มจากสถานีรางน้ำ-ถนนราชปรารภ-ถนนดินแดง ผ่านโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ แยกโบสถ์แม่พระถนนพระราม 9 มี 1 สถานี คือ สถานีเคหะดินแดง ตั้งอยู่บริเวณหน้าการเคหะดินแดง โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีพระราม 9 แทน ซึ่งเส้นทางนี้ลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือน ประหยัดงบ 500 ล้านบาท ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวเส้นทางใหม่ ทั้งนี้ หลังจากสรุปผลรับฟังความคิดเห็น รฟม.จะรายงานบอร์ดเพื่อขออนุมัติปรับเปลี่ยนแนวเส้นทาง และแก้ไข พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ได้รับอนุมัติแล้ว เฉพาะช่วงดังกล่าว เพื่อเดินหน้าก่อสร้างต่อไป

ด้านนายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แนวเส้นทางใหม่ตามที่รฟม.เสนอมา ชาวบ้านฟังแล้วสบายใจ เพราะเส้นทางเดิมผ่านชุมชน กระทบชาวบ้าน แต่แนวเส้นทางใหม่ผ่านแหล่งพาณิชยกรรม คุ้มกว่าแน่นอน การต่อสู้ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกของประชาชนที่ชนะ.

//---------------


รฟม.เปิดฟังความเห็นปรับแนวสายสีส้ม22พ.ย. ลดผลกระทบบ้านย่านประชาสงเคราะห์
วันอาทิตย์ 16 พฤศจิกายน 2557 เวลา 19:01 น.

นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า จากที่นายธนา ชีรวินิจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำกลุ่ มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแนวก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ช่วงสามเหลี่ยมดินแดง-ศูนย์วั ฒนธรรมเข้าพบและเสนอให้มี การเปลี่ยนแนวเส้นทางก่อสร้ างรถไฟฟ้าสายสีส้มโดยเปลี่ยนจากแนวเส้นทางบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงผ่านเข้าสู่ถนนวิภาวดี รังสิตผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ แม่เนี้ยว ผาสุกและชุมชนชานเมืองไปยั งเอสพานาด เป็นแนวเส้นทางใหม่ โดยผ่านจากสามเหลี่ยมดินแดง- สถานีเคหะดินแดง-สถานีพระราม 9 –สถานีรฟม. (บริเวณศูนย์ซ่อม) แทนนั้น รฟม.จะนำข้อมูลทั้งหมดไปรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22 พ.ย.57 นี้ โดยจากข้อเสนอดังกล่าว เบื้องต้นได้มอบให้ที่ปรึกษาไปศึกษาแนวเส้นทางแล้ว พบว่า มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ตามข้อเสนอของประชาชนได้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนต่างๆ ได้กว่า 150 หลังคาเรือน ลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนอีกกว่า 500 ล้านบาท พร้อมลดการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าอีก 1 สถานี ซึ่งหลังจากนี้ จะนำเสนอคณะกรรมการรฟม. (บอร์ด) เพื่อพิจารณาเรื่องแนวเส้นทาง ซึ่งหาก บอร์ดรฟม.เห็นชอบจะเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่ อขอทบทวนแนวเวนคืนที่ดินในช่วงดังกล่าวต่อไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 39.8 กม. วงเงินกว่า 287,000ล้านบาท ซึ่งหากรฟม.แก้ไขปัญหาลดสถานี ราชปรารภ เหลือเพียงสถานีรางน้ำ และลดสถานีประชาสงเคราะห์ จะส่งผลให้ทั้งเส้นเหลือเพียง 28 สถานี จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 30 สถานี เบื้องต้นสามารถลดค่าเวนคืนค่ าก่อสร้างสถานีทั้งสองแห่ งรวมประมาณ 2,500 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2014 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมประมูลอีกรถไฟฟ้า3สายชมพู-เหลือง-ส้มพร้อมศึกษาสายสีน้ำเงินไปถึง“สาย4”
เดลินิวส์
วันเสาร์ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 22:02 น.

บอร์ดรฟม.เตรียมประมูลอีกรถไฟฟ้า3สายชมพู-เหลือง-ส้มพร้อมศึกษาสายสีน้ำเงินไปถึง“สาย4” เร่งสรรหาผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่คาดภายใน4เดือนได้ตัว ยันไม่มีล็อคสเปค

พล.อ.ยอดยุทธบุญญาธิการประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม.ว่าในที่ประชุมบอร์ดได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ว่างอยู่โดยมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานในการสรรหา เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)จึงจะสามารถดำเนินการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.ได้ตามกฎระเบียบต่างๆอย่างถูกต้องที่สุดอย่างไรก็ตามในการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.บอร์ดต้องการให้ไปอย่างรวดเร็วที่สุดเพราะเมื่อไม่มีผู้ว่าฯย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารงานต่างๆของรฟม.ทั้งนี้ตนยืนยันว่าในการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการรฟม.จะไม่มีการล็อกสเปกแน่นอนโดยจะเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจสมัครเข้ารับการสรรหาอย่างเต็มที่ ซึ่งการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.นั้น ตามระเบียบสามารถดำเนินการสรรหาได้ภายในระยะเวลา 1ปีแต่ตนคาดว่าในครั้งนี้จะทำการสรรหาเสร็จสิ้นและได้ตัวผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ภายในระยะเวลา 3-4 เดือนนี้แน่นนอน ส่วนกระแสข่าวที่ว่าจะมีการปลดรักษาผู้ว่าฯรฟม.นั้นไม่เป็นความจริงตนไม่มีความคิดที่จะปลดใคร

พล.อ.ยอดยุทธกล่าวต่อว่าส่วนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆบอร์ดก็พยายามเร่งรัดให้เป็นไปอย่างรวดเร็วตามแผนงานมากที่สุดซึ่งในภาพรวมนั้นทุกโครงการก็ยังดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนดไว้โดยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นประกวดราคาซึ่งคาดว่า ก.พ.58นี้จะสามารถเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆได้แก่โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสี ชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงและสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ภายในปี58และหลังจากการเปิดประกวดราคารถไฟฟ้า3สายดังกล่าวแล้วรฟม.ก็จะเริ่มดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย4ต่อไปอีกทันที.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2014 1:20 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม.จี้ประมูลรถไฟฟ้า ตั้ง“พงษ์ภาณุ”ปธ.สรรหาผู้ว่า
เศรษฐกิจ
17 พฤศจิกายน 2557 - 00:00

บอร์ด รฟม.เร่งเดินหน้ารถไฟฟ้า มั่นใจ ก.พ.58 เปิดประมูลสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต พร้อมตั้ง “พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์” กรรมการสรรหาผู้ว่าฯ คนใหม่ คาดสรุปได้ใน 2-3 เดือน
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ว่า ขณะนี้ได้เร่งรัดให้เป็นไปตามแผนอย่างรวดเร็ว โดยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นประกวดราคา ซึ่งคาดว่า ก.พ.2558 นี้จะสามารถเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จะเปิดประกวดราคาได้ภายในปี 2558 เช่นกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างออก พ.ร.บ.เวนคืน ส่วนในด้านงบประมาณนั้น ทางกระทรวงการคลังจะเป็นฝ่ายจัดหา ซึ่งมั่นใจว่าหลังจากทั้ง 3 สายทางดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรได้
พล.อ.ยอดยุทธกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวโยกย้ายนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ รฟม. ฝ่ายบริหาร และรักษาการผู้ว่าการ รฟม.ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รฟม. รวมทั้งอาจจะมีการปลดออกจากรักษาการผู้ว่าการ รฟม.นั้น ในที่ประชุมบอร์ดไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ แต่ที่ประชุมบอร์ดได้แต่งตั้งนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานสรรหาผู้ว่าการ รฟม. คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือนได้ตัวผู้ว่าฯ
ทั้งนี้ การสรรหาผู้ว่าฯ รฟม. บอร์ดต้องการให้ไปอย่างรวดเร็วที่สุด เพราะเมื่อไม่มีผู้บริหารย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารงานต่างๆ ของ รฟม. และยืนยันว่าในการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าฯ รฟม.จะไม่มีการล็อกสเปกแน่นอน และเปิดกว้างให้ทุกคนที่สนใจสมัครเข้ารับการสรรหาอย่างเต็มที่ ได้ทั้งบุคคลภายในและภายนอกที่มีคุณสมบัติตามระเบียบ
"ข่าวที่ออกมา ผมว่าต้องมีขบวนการอะไรที่ปล่อยข่าวออกมา ตอนนี้กำลังตรวจสอบว่าต้นตอข่าวมาจากไหน และต้องการอะไร อย่าลืมว่ารักษาการผู้ว่าฯ รฟม.เป็นข้าราชการรัฐวิสาหกิจ เมื่อตำแหน่งผู้ว่าฯ ว่างลง ก็ต้องให้รองที่อาวุโสสุดมาเป็นรักษาการไม่สมารถให้รองคนอื่นขึ้นมาได้ ซึ่งผมจะไปทำอะไรได้ ถ้าผมตั้งคนอื่นมาผมก็โดนฟ้องตาย ดังนั้นไปปลดไม่ได้ แต่ถ้าเป็นผู้ว่าฯ สรรหาอาจจะปลดได้ถ้าเขาทำอะไรไม่ได้" พล.อ.ยอดยุทธกล่าว.

++++++++++
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2014 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

อสังหาฯแนวรถไฟฟ้าปีหน้าเดือด รายเล็กแห่ผุดโครงการชิงตลาด
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 11:04

อสังหาฯชี้รัฐลงทุนเมกะโปรเจคระบบราง ดันความต้องการที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าโตต่อเนื่อง 3-5 ปี
ประเมินปีหน้า โต 5% คาดการแข่งขันรุนแรงจากรายเล็กแห่เข้าตลาด ขณะรายใหญ่ดันโครงการใหญ่เพิ่มขึ้น

ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเมินบ้านที่ดินและคอนโดมิเนียมในแนวรถไฟฟ้า ขยายตัวต่อเนื่องอีก 5 ปี ขานรับรัฐบาลเร่งลงทุนขนาดใหญ่ระบบราง ประเมินปีหน้าการแข่งขันรุนแรงขึ้น เมื่อผู้ประกอบการหน้าใหม่และรายเล็กเข้ามาชิงตลาด หลังจากรายใหญ่ครองตลาดมานาน

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการผู้จัดการ บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา "เมกะโปรเจ็กต์ระบบราง พลิกโฉมอสังหาฯไทย" จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในปี 2558 คาดว่าจะสามารถเติบโตได้แค่ 5% จากปีนี้ หรือคิดเป็นมูลค่า 3.15 แสนล้านบาท จากปีนี้ที่ตลาดอสังหาฯคาดว่าจะติดลบ 11-14% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตาม จนปัจจุบันไม่สามารถพัฒนาทาวน์เฮ้าส์ราคา 1 ล้านบาทได้แล้ว ขณะที่กำลังซื้อผู้บริโภควิ่งตามไม่ทัน กลายเป็นปัจจัยลบทำให้ภาพรวมตลาดอสังหาฯปีหน้าจะเติบโตไม่หวือหวา

ด้านภาพรวมการแข่งขันของตลาดอสังหาฯในปีหน้า ประเมินว่าจะรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเป็นผู้เล่นหลักในตลาด โดยจะเห็นภาพการพัฒนาโครงการใหญ่ๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าปีนี้ รวมถึงกระแสการร่วมทุนและการเข้าซื้อกิจการ (เอ็มแอนด์เอ) จะมีอยู่ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน

ที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าขยายตัว3-5ปี

ส่วนแนวโน้มความต้องการที่อยู่อาศัย ในทำเลเกาะโครงการระบบราง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า จะมีมากขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเป็นแนวโน้มที่สร้างเติบโตให้กับตลาดอสังหาฯต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปีจากนี้

แต่ทั้งนี้ จะต้องขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายผังเมืองที่จะต้องอิงระบบรางมากขึ้น จากปัจจุบันเน้นพื้นที่เกาะเส้นทางคมนาคมบนถนนเป็นหลัก

สำหรับรายได้ของผู้ประกอบการในปีหน้า คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากโครงการคอนโดมิเนียมที่เริ่มทยอยโอนในหน้า

กำลังซื้อโตน้อยกว่าราคาที่ดิน

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการอสังหาฯในระยะต่อไปคือ ราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากที่ดินมีจำกัด ทำให้โครงการใหม่ที่เกิดขึ้นราคาขายสูงตามต้นทุน ซึ่งราคาที่ดินขึ้นเฉลี่ย 9-10% แต่เงินเดือนขึ้นเพียง 4-5% ต่อปี ทำให้ความสามารถในการซื้อติดลบ ต้องรอโครงการลงทุนภาครัฐทั้งรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ที่จะเปิดทำเลใหม่ให้ผู้ประกอบการไปพัฒนาพื้นที่

ขณะที่เรื่องการเงินยังเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อ รวมทั้งเรื่องการก่อสร้างจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ยังเป็นปัญหาของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องละเอียดรอบคอบมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีกฎหมายใหม่เพิ่มขึ้นมา เช่น กฎหมายภาษีมรดก กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

รายย่อยชิงพัฒนาฯก่อนรายใหญ่

นายพีระพงศ์ จรูญเอก กรรมการบริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่กำลังขยับเข้าสู่รายกลาง กล่าวว่า เริ่มตอกเสาเข็มโครงการ ก่อนที่รถไฟฟ้าจะเริ่มพัฒนาโครงการ เพราะต้องการดูดซับความต้องการก่อนผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยยอมขยับทำเลห่างจากสถานีรถไฟฟ้าเข้าไป 300-600 เมตร หรือมากถึง 2 กม. เพื่อทำราคาขายให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สับเปลี่ยนการอยู่อาศัยจากเช่าอพาร์ตเมนต์ เป็นการซื้อคอนโดมิเนียม รวมถึงการมุ่งจับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นพนักงานโรงงาน ซึ่งมักจะซื้อทาวน์เฮ้าส์ราคา 1.7-1.9 ล้านบาท ให้มาอยู่คอนโดมิเนียมแทน

ปัจจุบัน บริษัทถือเป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯเกาะแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 15 โครงการ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ และเตรียมจะพัฒนาโครงการในย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวอ่อน หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

"การพัฒนาโครงการอสังหาฯเกาะแนวรถไฟฟ้าของบริษัทจะต้องกลมกลืนกับความต้องการของคนท้องถิ่นที่มีความสามารถในการผ่อนไหว เช่น ยอมสร้างคอนโดมิเนียมห่างไกลรถไฟฟ้าเล็กน้อย เพื่อให้ราคาขายอยู่ในระดับ 1 ล้านบาทต้นๆ ต่อยูนิต ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มองว่าที่ดินในเมืองมีจำนวนจำกัด แต่บริษัทกลับมองว่ายังมีศักยภาพจำนวนมาก ส่วนใหญ่ทำเลจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าพอประมาณ"

หมดยุคโขกราคาที่ดินแพงระยับ

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า แนวโน้มราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเฉพาะเกาะแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย คาดว่าจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากเหมือนกับในย่านในกลางธุรกิจ (ซีบีดี) ที่ทุบสถิติการซื้อขายราคา 1.7-1.8 ล้านบาทต่อตารางวา เพราะจะทำให้ราคาที่อยู่อาศัยแพงขึ้นมาก หากมีการทุบสถิติราคาดังกล่าว ก็จะพัฒนาที่อยู่อาศัยในตลาดเฉพาะเท่านั้น

คาดว่าราคาที่ดินส่วนต่อขยายจะอยู่ที่ระดับ 6-7 แสนบาทต่อตารางวา เพื่อให้สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียมในระดับราคา 2-3 ล้านบาทต่อยูนิต

"ราคาที่ดินส่วนต่อขยายคงไม่มีโอกาสขยับขึ้นเป็น 3 เท่าตัว เหมือนที่ผ่านมาในย่านสุขุมวิท จากระดับ 5 แสนบาทต่อตารางวา เป็น 1.5 แสนบาทต่อตารางวาอีกแล้ว หากจะมีก็จะทำที่อยู่อาศัยเฉพาะตลาดเท่านั้น ที่น่าจับตานอกจากที่อยู่อาศัย คือการพัฒนาอาคารสำนักงาน เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซัพพลายมีน้อยมาก แต่ความต้องการมีเพิ่มขึ้น"

แนะรัฐดูแลค่าโดยสารรถไฟฟ้า

ส่วนแนวโน้มการพัฒนาโครงการอสังหาฯเกาะแนวรถไฟฟ้าในส่วนต่อขยายนอกเมือง ส่วนใหญ่ยังคงอยู่บ้าน และเข้ามาทำงานในเมือง การจะพัฒนาคอนโดมิเนียมดได้อาจจะอยู่ระดับราคาไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อยูนิต หรืออาจจะเป็น 1 ล้านบาทต้นๆต่อยูนิต ดังนั้น สิ่งสำคัญภาครัฐควรจะพิจารณาเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไป เช่น 20 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีการแก้ไขกฎหมายการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้สามารถนำที่ดินเกาะแนวรถไฟฟ้ามาปล่อยเช่า หรือพัฒนาโครงการอสังหาฯได้ เช่น พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ให้เซ็นทรัลปล่อยเช่า 20 ปี มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท และนำเงินดังกล่าวมาอุดหนุนค่ารถไฟฟ้า

นายวสันต์ กล่าวอีกว่า หากต้องการเห็นราคาคอนโดมิเนียมปรับตัวลดลงอีก 50% รัฐควรยกเลิกการใช้สัดส่วนที่ดินต่อพื้นที่ก่อสร้าง (เอฟเออาร์) โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่จอดรถ เพราะเมื่อโครงการอยู่แนวรถไฟฟ้า ก็ไม่จำเป็นต้องใช้รถในการคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/11/2014 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านเฮ! รฟม.ยกเลิกสร้างสถานีราชปรารภรถไฟฟ้าสายสีส้ม

หันมาเชื่อมแอร์พอร์ตลิงค์มักกะสันไม่ต้องเวนคืน เล็งเลือกแนวที่ไม่ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์
เดลินิวส์ วันเสาร์ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:22 น.

เมื่อเวลา10.00น.วันที่22พ.ย.57ที่โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค ราชปรารภ นายรณชิต แย้มสอาดรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เป็นประธานในการเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี(เพิ่มเติม)สถานีรางน้ำ-สถานีรฟม.เพื่อตอบข้อซักถามและรับฟังข้อเสนอจากประชาชนโดยในที่ประชุมมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนและตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมกว่า500คนโดยในการประชุมครั้งนี้รฟม.ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโดยรฟม.ได้พิจารณาการศึกษา2ทางเลือก1.โดยตามแผนแม่บทปัจจุบันที่ได้จากมติรัฐมนตรีซึ่งจะเริ่มจากสถานีรางน้ำตามถนนราชปรารภถนนดินแดง เลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิตผ่านศาลาว่าการ กทม.2(สถานีดินแดง)เข้าถนนประชาสงค์เคราะห์ผ่านชุมชนและเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล(สถานีศูนย์วัฒนธรรม)และเบี่ยงเข้าถนนพระราม9จนถึงสถานีรฟม.2.เส้นทางศึกษาเพิ่มเติมเริ่มจากสถานีรางน้ำวิ่งไปตามถนนราชปรารภและวิ่งตามถนนดินแดงเข้าสู่ถนนพระราม9เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล(สถานีพระราม9)จากนั้นวิ่งเข้าจนถึงสถานีรฟม.

นายรณชิตกล่าวว่าการประชุมในวันนี้เป็นการขอรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้ง2รูปแบบเพื่อที่จะนำไปพิจราณาเลือกเส้นทางที่จะมีผลกระทบต่อภาคประชาชนให้น้อยที่สุดส่วนผลกระทบที่ได้มีการศึกษาจากเส้นทางแรกตามแนวถนนประชาสงค์เคราะห์มีผลกระทบกับประชาชนถึง180 หลังคาเรือนส่วนเส้นทางที่2ตั้งแต่แยกโบสถ์แม่พระฯมุ่งสู่ถนนพระราม9จะมีผลกระทบ 30หลังคาเรือนและจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนอีกกว่า500 ล้านบาทพร้อมลดการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าอีก1 สถานีซึ่งหลังจากฟังความคิดเห็นแล้วจะไปพิจารณาหารือเพื่อขอทบทวนแนวเวนคืนที่ดินต่อไปทั้งนี้ในที่ประชุมมีประชาชนส่วนใหญ่ต่างแสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่ต้องการให้รฟม.เลือกการดำเนินการในรูปแบบที่2เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนสำหรับการพิจารณานั้นทางรฟม.จะดูจากการได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและจะไม่พยายามสร้างรถไฟฟ้าบนความทุกข์ของประชาชนหลังจากนี้จะนำข้อสรุปหารือกับที่ปรึกษาเพื่อหาแนวทางที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเพื่อเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการรถไฟฟ้า(บอร์ด)ประมาณกลางปี58เพื่ออนุมัติเส้นทางและเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป

ทั้งนี้สำหรับแผนระยะยาวในโครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกซึ่งขณะนี้ได้นำเสนอครม.แล้วคาดว่าจะเปิดเดินรถในปี62ส่วนเส้นทางสายสีส้มตะวันตกนี้คาดว่าจะช้าไป1ปีเนื่องจากรอพิจารณาความคิดเห็นที่แน่นอนโดยน่าจะเปิดใช้ในปี63ซึ่งโครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ถือเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อตั้งแต่พื้นที่ตะวันออกถึงตะวันตกจึงอยากได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นอย่างมาก สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตลิ่งชัน-มีนบุรีมีระยะทาง 39.8กม.และมีสถานีที่กำหนดไว้30สถานีและมีวงเงินกว่า 287,000ล้านบาท ทั้งนี้หากไม่ก่อสร้างตามแผนเดิมโดยลดสถานีราชปรารภและเลี่ยงเส้นทางเข้าสู่ประชาสงเคราะห์จะลดค่าเวนคืนและค่าก่อสร้างรวมประมาณ2,500 ล้านบาทสำหรับกรณีที่มีประชาชนย่านราชปรารภได้รับผลกระทบจาการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อก่อสร้างสถานีราชปรารภนั้นรฟม.ได้ศึกษาหาแนวทางลดผลกระทบและพิจราณาให้มีการยกเลิกสถานีราชปรารภและปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานีรางน้ำให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่สถานีมักกะสันแทนเพื่อลดผลกระทบแก่ประชาชนและลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2014 1:10 am    Post subject: Reply with quote

ชุมชนดินแดงเฮ รฟม.เบนแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม พ้นเวนคืน 200 หลัง
โดย คเณ มหายศ
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2014 เวลา 18:39 น.
ชุมชนประชาสงเคราะห์ดินแดงมีเฮ รฟม.เคาะเบนแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มพ้นชุมชนหลังส่อแววโดนเวนคืนเกือบ 200 หลังคาเรือน เร่งสรุปก่อนนำเสนอบอร์ดเห็นชอบกลางปี 58 และคาดว่าเปิดให้บริการได้ในปี 63

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ(บริหาร) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รักษาการแทน ผู้ว่าการรฟม.กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี(เพิ่มเติม) สถานีรางน้ำ-สถานีรฟม.ว่าจากกรณีที่มีประชาชนได้รับผลกระทบในการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่ได้กำหนดแนวเส้นทางผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดงนั้น ผลของการนำเสนอความเห็นได้วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เห็นชอบให้ปรับแนวเส้นทางใหม่ตามที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษานำเสนอ 2 แนวทางเลือกคือ 1.เส้นทางเดิมตามแผนแม่บทปัจจุบันเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ที่สถานีดินแดง แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนประชาสงเคราะห์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ก่อนที่จะเบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9 จนถึงสถานีรฟม.

ในส่วนแนวทางที่ 2 ซึ่งเป็นเส้นทางเพิ่มเติม เริ่มต้นจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภ ถนนดินแดง ผ่านแยกโบสถ์แม่พระ แยกพระราม 9 เข้าสู่ถนนพระราม 9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานีรฟม.

โดยสามารถสรุปผลการศึกษาดังนี้คือ ปัจจัยด้านให้บริการผู้โดยสารและการพัฒนาเมือง ทั้ง 2 แนวทางมีผู้มาใช้บริการใกล้เคียงกัน และมีความพร้อมในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง และการพัฒนาพื้นที่สำหรับส่งเสริมการบริการและการพัฒนาเมือง

ในส่วนปัจจัยด้านวิศวกรรม ทั้ง 2 แนวทางเลือกสามารถจัดการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัยในการให้บริการ การก่อสร้างและการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม สำหรับปัจจัยด้านการลงทุนนั้น แนวทางเลือกที่ 1 มีผู้ถูกเวนคืนที่ดินและพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบด้านเสียง ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างสูงกว่าทางเลือกที่ 2

“สำหรับผลกระทบการเวนคืนช่วงสถานีราชปรารภนั้นรฟม.ได้ยกเลิกสถานีราชปรารภ และได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานีรางน้ำให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอรืพอร์ตลิ้งค์ที่สถานีมักกะสันแทน ซึ่งในครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็น 2 แนวทางเลือก ในแง่ของประโยชน์หรือผลกระทบที่จะได้รับโดยมีการนำผลการพิจารณามุมกว้างในทุกมิติ รวมไปถึงในอนาคตว่าหากรัฐลงทุนขนาดนี้ในระยะยาวจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งในแง่การก่อสร้างหากเลือกแนวที่ 2 พบว่าสามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 500 ล้านบาท ผลกระทบแนวประชาสงเคราะห์เดิมมีประมาณ 180 ราย ส่วนแนวทางที่ 2 ผ่านโบสถ์แม่พระ-พระราม 9 มีประมาณ 30 ราย ดังนั้นภายหลังการประชุมรับฟังความเห็นประชาชนในครั้งนี้แล้วรฟม.จะนำเสนอคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟม.พิจารณาเห็นชอบคาดว่าประมาณกลางปีหน้าก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติดำเนินโครงการต่อไป”

นายรณชิตกล่าวอีกว่าในส่วนความคืบหน้าสายสีส้ม ช่วงสถานีรฟม.-มีนบุรีนั้นนำเสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการครม.แล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้ในปี 2562 ในส่วนช่วงตลิ่งชัน-สถานีรฟม.นี้คาดว่าจะล่าช้าไปประมาณ 1 ปีแต่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถได้ในปี 2563 ทำให้ประชาชนฝั่งตะวันตกโซนตลิ่งชันและฝั่งตะวันออกโซนมีนบุรีเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายรวดเร็วขึ้น

“ทั้งนี้ตามหลักวิศวกรรมนั้นตามแนวทางเลือกที่ 1 พบว่ามีสถานีให้บริการ 3 สถานี คือสถานีดินแดง สถานีประชาสงเคราะห์ และสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แต่แนวทางที่ 2 มี 2 สถานี คือ สถานีเคหะดินแดง และสถานีพระราม 9 ส่วนการลงทุนก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าแนวทางที่ 1 มีระยะทางยาวกว่าทางเลือกที่ 2 ประมาณ 1.30 กิโลเมตร ในส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นแนวอุโมงค์อยู่ใต้ถนนดินแดงและถนนพระราม 9 จึงมีผลกระทบจราจรช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าแนวทางที่ 1”

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 39.8 กิโลเมตร โดยหากใช้แนวเส้นทางเดิมจะเป็นโครงสร้างใต้ดิน 30.6 กิโลเมตร และโครงสร้างยกระดับ 9.2 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 30 สถานี(ใต้ดิน 23 สถานี และยกระดับ 7 สถานี) มีอาคารจอดแล้วจรอยู่ติดสถานีคลองบ้านม้า ขนาด 10 ชั้นความจุได้ 1,200 คัน และอาคารจอดรถที่สถานีมีนบุรีขนาด 10 ชั้นความจุได้ประมาณ 3,000 คัน

//---------------------------------------

รฟม.ปรับแนวเส้นทางสายสีส้มลดเวนคืน เร่งสรุปชงบอร์ด ตั้งเป้าเปิดเดินรถปี 63
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 พฤศจิกายน 2557 13:46 น.


รฟม.ปรับแนวเส้นทางสายสีส้มลดเวนคืน เร่งสรุปชงบอร์ด ตั้งเป้าเปิดเดินรถปี 63
นายรณชิต แย้มสะอาด รองผู้ว่าการ(บริหาร) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทน ผู้ว่าการ รฟม.เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี (เพิ่มเติม) ช่วงสถานีรางน้ำ - สถานี รฟม.

รฟม.เปิดรับฟังความเห็นผลศึกษาปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ช่วงสถานีรางน้ำ-สถานี รฟม.ลดผลกระทบเวนคืนประชาชนช่วงตัดผ่านพื้นที่ประชาสงเคราะห์ ดินแดง จ่อยกเลิกสถานีราชปรารภ และปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานีรางน้ำให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่สถานีมักกะสันแทน เพื่อลดผลกระทบเวนคืน คาดสรุปรายละเอียดเสนอบอร์ด รฟม.กลางปีหน้า ตั้งเป้าเปิดเดินรถปี 63

วันนีี้ (22 พ.ย.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี (เพิ่มเติม) สถานีรางน้ำ-สถานี รฟม. ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน- มีนบุรี ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินงานศึกษา/ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ.2553 โดยมีประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า 700 คน

นายรณชิต แย้มสะอาด รองผู้ว่าการ (บริหาร) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทนผู้ว่าการ รฟม.เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว รฟม.จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อนำเสนอผลการศึกษา จากนั้นจะสรุปข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทาง เสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาได้ประมาณกลางปี 2558 และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยคาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในปี 2563

โดยก่อนหน้านี้ รฟม.ได้เชิญชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 ประมาณ 150 คน มาร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี (สายตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรม -ตลิ่งชัน) เพื่อหาทางออกช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง ที่มีการคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนในพื้นที่ โดย รฟม.ได้มีการศึกษา และเสนอปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่เพื่อลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือนลง ส่งผลประหยัดงบประมาณเวนคืนได้ 500 ล้านบาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย

ในการประชุมครั้งนี้ รฟม. ได้มีการนำเสนอการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโดยได้พิจารณาศึกษา 2 ทางเลือก ได้แก่ แนวทางเลือกที่ 1 เส้นทางตามแผนแม่บทฉบับปัจจุบัน เริ่มจากสถานีรางน้ำ ไปตามถนนราชปรารภ และถนนดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่ากลางกรุงเทพมหานคร 2 ที่สถานีดินแดง เข้าถนนประชาสงเคราะห์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม.

และแนวทางเลือกที่ 2 เส้นทางศึกษาเพิ่มเติม มีเส้นทางเริ่มจากสถานีรางน้ำ ไปตามถนนราชปรารภ และถนนดินแดง เข้าสู่ถนนพระราม 9 และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม. ซึ่งการศึกษาเปรียบเทียบแนวเส้นทางทั้ง 2 เส้นทางนี้ ได้คำนึงถึง 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ด้านการให้บริการผู้โดยสารและการพัฒนาเมือง ด้านวิศวกรรม ด้านการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อม สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

1.ปัจจัยด้านการให้บริการผู้โดยสาร และการพัฒนาเมือง ทั้ง 2 แนวทางเลือกมีผู้มาใช้บริการใกล้เคียงกัน และมีความพร้อมในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง และการพัฒนาพื้นที่สำหรับส่งเสริมการบริการ และการพัฒนาเมือง

2.ปัจจัยด้านวิศวกรรม ทั้ง 2 แนวทางเลือกสามารถจัดการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัยในการให้บริการ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม

3.ปัจจัยด้านการลงทุน แนวทางเลือกที่ 1 มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงกว่าทางเลือกที่ 2

4.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม แนวทางเลือกที่ 1 มีผู้ถูกเวนคืนที่ดิน และพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบด้านเสียง และฝุ่นละอองจากการก่อสร้างสูงกว่าทางเลือกที่ 2

สำหรับกรณีที่มีประชาชนในย่านราชปรารภได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เพื่อก่อสร้างสถานีราชปรารภนั้น รฟม. ได้ศึกษาหาแนวทางลดผลกระทบ และพิจารณาให้มีการยกเลิกสถานีราชปรารภ รวมถึงปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานีรางน้ำ ให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่สถานีมักกะสันแทน เพื่อช่วยลดผลกระทบแก่ประชาชน และลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 101, 102, 103 ... 278, 279, 280  Next
Page 102 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©