Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263138
ทั้งหมด:13574420
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 102, 103, 104 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2014 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.รุก‘สายสีส้ม’ ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ส่อปรับเส้นทางวิ่ง
แนวหน้า
วันจันทร์ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฯ และรักษาการแทน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี(เพิ่มเติม) ที่มีประชาชนได้รับผลกระทบในการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่ได้กำหนดแนวเส้นทางผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง ว่าผลจากการนำเสนอความเห็นได้วันที่ 22 พ.ย. 2557 ว่าจะมีการปรับแนวเส้นทางหรือไม่อย่างไร

โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่เห็นชอบให้ปรับแนวเส้นทางใหม่ตามที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษานำเสนอ 2 แนวทางเลือกคือ

1.เส้นทางเดิมตามแผนแม่บทปัจจุบันช่วงสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ที่สถานีดินแดง แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนประชาสงเคราะห์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ก่อนที่จะเบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9จนถึงสถานีรฟม.

2. ส่วนแนวทางที่ 2 เริ่มต้นจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภ ถนนดินแดง ผ่านแยกโบสถ์แม่พระ แยกพระราม 9 เข้าสู่ถนนพระราม 9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม.

“ช่วงสถานี รฟม.-มีนบุรี คาดว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้ในปี 2562 ส่วนช่วงตลิ่งชัน-สถานี รฟม. คาดว่าจะล่าช้าไปประมาณ 1 ปี แต่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถได้ในปี 2563”

//---------------------

ชาวบ้านเฮ! พ้นเวนคืน200หลัง รฟม.ยกเลิกสร้างสถานีราชปรารภ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2557 07:23 น.


นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ(บริหาร) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รักษาการแทน ผู้ว่าการรฟม.กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี(เพิ่มเติม) สถานีรางน้ำ-สถานีรฟม.ว่าจากกรณีที่มีประชาชนได้รับผลกระทบในการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่ได้กำหนดแนวเส้นทางผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดงนั้น ผลของการนำเสนอความเห็นได้วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เห็นชอบให้ปรับแนวเส้นทางใหม่ตามที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษานำเสนอ 2 แนวทางเลือกคือ 1.เส้นทางเดิมตามแผนแม่บทปัจจุบันเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ที่สถานีดินแดง แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนประชาสงเคราะห์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ก่อนที่จะเบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9 จนถึงสถานีรฟม.

ในส่วนแนวทางที่ 2 ซึ่งเป็นเส้นทางเพิ่มเติม เริ่มต้นจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภ ถนนดินแดง ผ่านแยกโบสถ์แม่พระ แยกพระราม 9 เข้าสู่ถนนพระราม 9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานีรฟม.

โดยสามารถสรุปผลการศึกษาดังนี้คือ ปัจจัยด้านให้บริการผู้โดยสารและการพัฒนาเมือง ทั้ง 2 แนวทางมีผู้มาใช้บริการใกล้เคียงกัน และมีความพร้อมในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง และการพัฒนาพื้นที่สำหรับส่งเสริมการบริการและการพัฒนาเมือง

ในส่วนปัจจัยด้านวิศวกรรม ทั้ง 2 แนวทางเลือกสามารถจัดการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัยในการให้บริการ การก่อสร้างและการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม สำหรับปัจจัยด้านการลงทุนนั้น แนวทางเลือกที่ 1 มีผู้ถูกเวนคืนที่ดินและพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบด้านเสียง ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างสูงกว่าทางเลือกที่ 2

“สำหรับผลกระทบการเวนคืนช่วงสถานีราชปรารภนั้นรฟม.ได้ยกเลิกสถานีราชปรารภ และได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานีรางน้ำให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอรืพอร์ตลิ้งค์ที่สถานีมักกะสันแทน ซึ่งในครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็น 2 แนวทางเลือก ในแง่ของประโยชน์หรือผลกระทบที่จะได้รับโดยมีการนำผลการพิจารณามุมกว้างในทุกมิติ รวมไปถึงในอนาคตว่าหากรัฐลงทุนขนาดนี้ในระยะยาวจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งในแง่การก่อสร้างหากเลือกแนวที่ 2 พบว่าสามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 500 ล้านบาท ผลกระทบแนวประชาสงเคราะห์เดิมมีประมาณ 180 ราย ส่วนแนวทางที่ 2 ผ่านโบสถ์แม่พระ-พระราม 9 มีประมาณ 30 ราย ดังนั้นภายหลังการประชุมรับฟังความเห็นประชาชนในครั้งนี้แล้วรฟม.จะนำเสนอคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟม.พิจารณาเห็นชอบคาดว่าประมาณกลางปีหน้าก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติดำเนินโครงการต่อไป”

นายรณชิตกล่าวอีกว่าในส่วนความคืบหน้าสายสีส้ม ช่วงสถานีรฟม.-มีนบุรีนั้นนำเสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการครม.แล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้ในปี 2562 ในส่วนช่วงตลิ่งชัน-สถานีรฟม.นี้คาดว่าจะล่าช้าไปประมาณ 1 ปีแต่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถได้ในปี 2563 ทำให้ประชาชนฝั่งตะวันตกโซนตลิ่งชันและฝั่งตะวันออกโซนมีนบุรีเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายรวดเร็วขึ้น

“ทั้งนี้ตามหลักวิศวกรรมนั้นตามแนวทางเลือกที่ 1 พบว่ามีสถานีให้บริการ 3 สถานี คือสถานีดินแดง สถานีประชาสงเคราะห์ และสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แต่แนวทางที่ 2 มี 2 สถานี คือ สถานีเคหะดินแดง และสถานีพระราม 9 ส่วนการลงทุนก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าแนวทางที่ 1 มีระยะทางยาวกว่าทางเลือกที่ 2 ประมาณ 1.30 กิโลเมตร ในส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นแนวอุโมงค์อยู่ใต้ถนนดินแดงและถนนพระราม 9 จึงมีผลกระทบจราจรช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าแนวทางที่ 1”

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 39.8 กิโลเมตร โดยหากใช้แนวเส้นทางเดิมจะเป็นโครงสร้างใต้ดิน 30.6 กิโลเมตร และโครงสร้างยกระดับ 9.2 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 30 สถานี(ใต้ดิน 23 สถานี และยกระดับ 7 สถานี) มีอาคารจอดแล้วจรอยู่ติดสถานีคลองบ้านม้า ขนาด 10 ชั้นความจุได้ 1,200 คัน และอาคารจอดรถที่สถานีมีนบุรีขนาด 10 ชั้นความจุได้ประมาณ 3,000 คัน


Last edited by Wisarut on 25/11/2014 1:01 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2014 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

นักธุรกิจขอนแก่นตั้งไข่แผนระดมทุนสร้างรถไฟฟ้า-บีอาร์ที เปิดพิมพ์เขียวรถรางขอนแก่น สายแรก27กม.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 พ.ย. 2557 เวลา 15:20:02 น.

นักธุรกิจขอนแก่นตั้งไข่แผนระดมทุนสร้างรถไฟฟ้า-บีอาร์ที เปิดพิมพ์เขียวสายแรกทำแน่ "รถรางสายสีแดง" 27 กม. เส้นทางบ้านสำราญ-ท่าพระ-ม.ขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่นเปิดแผนร่วมทุนสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ ตั้งเป้าเห็นรูปธรรมภายใน 3 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา เทศบาลนครขอนแก่นร่วมกับหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดสัมมนาเรื่องแนวทางการจัดตั้งบริษัทจำกัด และการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีผู้สนใจจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 คน

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า เทศบาลมีโครงการความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยพันธมิตรหลักที่เปิดตัวตอนนี้ คือ กลุ่มบริษัท KKTT (Khon Kaen Think Tank Co,. Ltd.) ที่เกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจขอนแก่น 20 ราย อย่างไรก็ตาม แหล่งเงินที่จะลงทุนมีแนวคิดว่าจะระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ ดังนั้นจึงต้องจัดสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับนักลงทุนในพื้นที่และคนขอนแก่น

ผุดศูนย์ประชุมนานาชาติ

"ในส่วนเทศบาลกำลังดำเนินการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลของตัวเอง ในรูปแบบเดียวกับที่กรุงเทพมหานครมีบริษัทกรุงเทพธนาคม เข้ามาลงทุนโครงการสาธารณะ ตามแนวทางนี้จะเพิ่มความคล่องตัวให้กับเทศบาล แต่ยังติดปัญหาทางข้อกฎหมายบางประการ ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดให้กรมการปกครองท้องถิ่นไปดูแลแก้ไขระเบียบให้สามารถดำเนินการได้ คาดว่าน่าจะจดทะเบียนบริษัทได้ภายใน 3-5 ปี และหลังจากสัมมนาครั้งนี้จะนำกลุ่มนักธุรกิจเข้าพบ รมว.มหาดไทย เพื่อนำเสนอพลังขับเคลื่อนที่เกิดจากการรวมตัวของคนขอนแก่นต่อไป"

นายธีระศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้เทศบาลมีแผนร่วมลงทุนกับกลุ่ม KKTT ในการสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ วงเงินลงทุน 300-400 ล้านบาท ตั้งเป้ารูปแบบการบริหาร 2 รูปแบบ คือ 1.ร่วมทุนกับบริษัทเอกชน 2.เทศบาลเป็นผู้ลงทุนแล้วให้สัมปทานเอกชนบริหาร คาดว่าจะมีความชัดเจนต้นเดือนธันวาคมนี้

ทุนประเดิมเป้า 300 ล้าน

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไชย รองคณบดีฝ่ายบริหารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวี ดอลลาเชียน จำกัด หนึ่งในนักธุรกิจขอนแก่นผู้ริเริ่มกลุ่ม KKTT กล่าวเพิ่มเติมว่า อนาคตขอนแก่นจะเป็น 4 แยกอินโดจีน จึงต้องร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

"กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและบริษัทจำกัดของเทศบาลนครขอนแก่น คือคำตอบที่เป็นทางออกที่จะสามารถพัฒนาเมืองขอนแก่นได้เอง จากคำแนะนำของตลาดหลักทรัพย์ฯมีความมั่นใจ 90% ว่าขอนแก่นจะมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง โดยเริ่มต้นจากผู้ประกอบการ 20-30 ราย ต้องมีเงินประเดิมก้อนแรก 200-300 ล้านบาท โดยจะทำคู่ขนานไปกับการจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล และแม้ว่าเทศบาลจะไม่สามารถตั้งบริษัทเพื่อร่วมทุน กองทุนก็ยังสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบที่เทศบาลให้สัมปทานกับกองทุน โดยต้นเดือนธันวาคมนี้จะเริ่มคิกออฟในการระดมทุนจากกลุ่ม KKTT"

ชิมลาง รถรางสายสีแดง

"เงินประเดิมก้อนแรก 200-300 ล้านบาท อาจจะนำไปสร้างศูนย์ประชุมระดับนานาชาติ อีกส่วนนำไปจัดจ้างที่ปรึกษาต่าง ๆ รวมถึงการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ"

นายสุรเดชกล่าวว่า เบื้องต้นจะมีการลงทุนรถไฟฟ้า แต่ไม่ใช่รถไฟฟ้าแบบกรุงเทพฯ แต่เรียกว่า Tram เป็นรถรางสายสีแดง เส้นทางบ้านสำราญ ท่าพระ เลี้ยวเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร ตัวรถจะอยู่เกาะกลางถนน วิ่งตามถนนมิตรภาพมาเรื่อย ๆ ไม่ไปกินพื้นที่ถนน รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ สำนักงาน ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เมืองโตอย่างมีระเบียบ

"จริง ๆ ที่วางแผนไว้มีหลายสาย แต่วันนี้เราต้องการทำสายแรกให้ได้ก่อน เมื่อเริ่มสายแรกได้ สายอื่นจะตามมา คาดว่าใช้เวลา 3 ปีในการระดมทุน ส่วนปัญหาจราจรในตัวเมืองจะใช้ระบบ BRT หรือรถโดยสารด่วนพิเศษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าระดมทุนไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านบาท โดยอยากจะให้สิท...
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2014 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

คลังเตรียมกู้2แสนล้านสถาบันการเงินในปท. ทำรถไฟฟ้า5สาย
มติชนออนไลน์ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 11:26:30 น.

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศเพื่อนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของ รฟม.ใน 5 เส้นทาง วงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาท คือ
1.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4
2.รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
3.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
4.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และ
5.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี
เพราะจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากต่างประเทศ

"เศรษฐกิจไทยจะฟื้นเร็วหรือช้าขึ้นกับการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนระบบราง หากรัฐมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการเหล่านี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เอกชนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ประกอบกับรัฐยังมีนโยบายเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย" นายพงษ์ภาณุกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2014 10:22 pm    Post subject: Reply with quote

ประท้วงเรื่องการปรับเส้นทางเพราะ ทำให้เฟสแรกไม่ต่อกะรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ต้องรอเฟส 2 ที่ไปตลิ่งชันที่รับไม่ได้จริงๆ
https://www.facebook.com/MRTORangesolution?ref=notif&notif_t=fbpage_fan_invite
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2014 11:34 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระบุถูกหวย594แปลง-222อาคาร
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 13.38 น.

2

26 พ.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี “แนวหน้าออนไลน์” ได้นำเสนอพื้นที่เวนคืนที่ดินตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปแล้วนั้น ในส่วนของ 3 โครงการที่เหลือปรากฏว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่จะเริ่มเฟสแรก ( ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ) ระยะทาง 20 กม. มีเวนคืนที่ดิน 594 แปลง และอาคาร 222 หลัง

รายงานระบุว่า โครงการเริ่มจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรม ที่เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน เข้าศูนย์ซ่อมบำรุง สำนักงาน รฟม. ไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวซ้ายไป ถ.รามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัด ถ.รามคำแหง กับสุวินทวงศ์ มีสถานที่ที่ตั้งทั้ง 17 สถานี ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมฯ หน้าห้างเอสพลานาด , สถานี รฟม.ติด ถ.พระราม 9 , ประดิษฐ์มนูธรรม ปากซอยวัดพระรามเก้า , รามคำแหง 12 หน้าห้างเดอะมอลล์

สถานีรามคำแหง หน้า ม.รามคำแหง , ราชมังคลาหน้าสนามกีฬา , หัวหมากหน้า ร.พ.รามคำแหง , ลำสาลี แยกลำสาลี , ศรีบูรพา หน้าห้างบี๊กซี , คลองบ้านม้า ซ.รามคำแหง 92-94 , สัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร , น้อมเกล้า หน้า ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า , ราษฎร์พัฒนา หน้ามิสทิน , มีนพัฒนา หน้าวัดบางเพ็ญใต้ , เคหะรามคำแหง ซ.รามคำแหง 184 , มีนบุรี อยู่สะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น และสุวินทวงศ์ ใกล้แยกสุวินทวงศ์

//-----------------------
แนวเวนคืนที่ดิน2สายรถไฟฟ้า 'ชมพู'ยึด280ไร่'เหลือง'รื้อ184หลัง
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 14.20 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี “แนวหน้าออนไลน์” ได้นำเสนอพื้นที่เวนคืนที่ดินตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปแล้วนั้น ในส่วนของ 3 โครงการที่เหลือปรากฏว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง ) ระยะทาง 30.4 กม. มีที่ดินและอาคารรื้อถอน 184 หลัง แนวเส้นทางเริ่มต้นจะเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่แยกรัชดา - ลาดพร้าว วิ่งไปตาม ถ.ลาดพร้าว ยกข้ามทางด่วน ถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาไป ถ.ศรีนครินทร์ ยกข้ามแยกต่างระดับพระราม 9 ผ่านแยก พัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม ลาซาล ถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาไป ถ.เทพารักษ์ สิ้นสุดที่แยกสำโรง มีที่ดินและอาคารต้องรื้อถอน 184 หลัง

โดยมี 23 สถานี ได้แก่ รัชดาฯ , ภาวนา ปากซอยภาวนา ลาดพร้าว 41 , โชคชัย , ลาดพร้าว 53 , ลาดพร้าว 65 , ฉลองรัชหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว 81 , วังทองหลาง หน้าโรงเรียนบางกอกศึกษา ลาดพร้าว 112 , ลาดพร้าว 101 , บางกะปิ ใกล้เดอะมอลล์ , แยกลำสาลี ด้านทิศใต้แยกลำสาลี , ศรีกรีฑา ด้านทิศใต้แยกศรีกรีฑา , พัฒนาการ ช่วงจุดตัดรถไฟและ ถ.พัฒนาการ , คลองกลันตัน หน้าธัญญะช็อปปิ้ง พาร์ค , ศรีนุช , ศรีนครินทร์ 38 , สวนหลวง ร.9 กึ่งกลางห้าง ซีคอน สแควร์ และพาราไดซ์ พาร์ค , ศรีอุดม , ศรีเอี่ยม เยื้องศุภาลัยปาร์ค , ศรีลาซาล , ศรีแบริ่ง , ศรีด่าน , ศรีเทพา , ทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล และสำโรง ใกล้ตลาดเทพารักษ์



เส้นทาง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. มีพื้นที่เวนคืนกว่า 280 ไร่ แนวเส้นทางเริ่มต้น หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง วิ่งเข้า ถ.ติวานนท์ แล้วเลี้ยวขวา ห้าแยกปากเกร็ด ผ่าน ถ.แจ้งวัฒนะรามอินทรา สิ้นสุดที่มีนบุรี มีเวนคืนที่ดิน บริเวณจุดขึ้น - ลงสถานี และ อีก 5 จุดใหญ่ คือ แยกปากเกร็ด , เมืองทอง , หลักสี่ , วงเวียนหลักสี่ และมีนบุรี

มี 30 สถานี ได้แก่ ศูนย์ราชการนนทบุรี , แคราย ใกล้ ร.พ.โรคทรวงอก , สนามบินน้ำ ซ.ติวานนท์ 35 , สามัคคี ใกล้แยกสามัคคี , กรมชลประทาน ซ.ติวานนท์ 4 - 6 , ปากเกร็ด หัวมุมห้าแยก , เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ , แจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 28 ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซา , เมืองทองธานี ใกล้ทางเข้าเมืองทองธานี , ศรีรัช ทางเข้าอิมแพ็ค , เมืองทอง 1 ซ.แจ้งวัฒนะ 14 , ศูนย์ราชการ หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร , ทีโอที ซ.แจ้งวัฒนะ 5 - 7 , หลักสี่ ใกล้ไอทีสแควร์ เชื่อมต่อสายสีแดง , ราชภัฏพระนคร หน้าห้างแม็กซ์ แวลู และม.ราชภัฏพระนคร

จนถึงวงเวียนหลักสี่ ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว , รามอินทรา 3 ใกล้ห้าง เซ็นทรัล , ลาดปลาเค้า ใกล้สะพานข้ามแยก , รามอินทรา 31 ใกล้ฟู้ดแลนด์ , มัยลาภ รามอินทรา ซ.12-14 , วัชรพล ใกล้ซอยวัชรพล , รามอินทรา 40 ระหว่าง ซ. 40-42 , คู้บอน แยกนวมินทร์ , รามอินทรา 83 ใกล้ร.พ.สินแพทย์ , วงแหวนตะวันออก หน้าแฟชั่นไอส์แลนด์ , นพรัตนราชธานี ใกล้แยกเข้าสวนสยาม , บางชัน รามอินทรา ซ.109 - 115 , เศรษฐบุตรบำเพ็ญ , ตลาดมีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจ ใกล้ตลาดมีนบุรี และ มีนบุรี ถ.รามคำแหงซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า จะเชื่อมกับสายสีส้ม


//-----------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2014 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

จุดพลุ9โซนศก.ใหม่ สายสีส้มแรงส่งทุนอสังหาฯเฮโลเปิดโครงการแนวจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : BIG STORIES
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2014 เวลา 10:35 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,004 วันที่ 27 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

"รฟม."เปิดโพย 9 จุดเชื่อมต่ออินเตอร์เชนจ์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี หนุนเอกชนเข้าไปต่อยอดเชิงพาณิชย์แห่งใหม่ หลังเคลียร์ชาวบ้านรุมต้านได้ข้อยุติ ด้านดีเวลอปเปอร์เฮ ชี้ดันราคาที่ดินพุ่งตามความคืบหน้าโครงการ ทั้งคอมมิวนิตีมอลล์ บูติกโฮสเทล ผุดพรึ่บ ดัน"พระราม 9" เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ แจงเป็นสายที่วิ่งผ่ากลางเมืองอย่างแท้จริง "ศุภาลัย"จ่อปัดฝุ่นแลนด์แบงก์ขึ้นมาพัฒนา
altนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ(บริหาร) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทน ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีว่า จากการศึกษาและออกแบบพบว่าจะมีสถานีจุดเชื่อมต่อขนาดใหญ่หรืออินเตอร์เชนจ์กับรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ รวมประมาณ 9 จุด ได้แก่ 1.จุดเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา บริเวณสถานีตลิ่งชัน
2.จุดเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่สถานีบางขุนนนท์ 3.จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 4.จุดเชื่อมสายสีแดง ช่วงมิสซิ่งลิงก์ที่สถานียมราช 5.จุดเชื่อมรถสายสีเขียวบีทีเอสที่สถานีราชเทวี 6. จุดเชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์ ที่สถานีรางน้ำ 7.จุดเชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน MRT สถานีพระราม 9 8.จุดเชื่อมกับสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงที่สถานีลำสาลี และ 9.จุดเชื่อมสายสีชมพูที่สถานีมีนบุรี
++ หนุนต่อยอดเชิงพาณิชย์
นายรณชิต กล่าวต่ออีกว่า เรื่องนี้ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านธุรกิจ จึงอยากสนับสนุนให้ภาคเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการให้บริการรถไฟฟ้านำไปต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการให้ รฟม.เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีหรือเอกชนเขาไปพัฒนาที่อยู่อาศัย ช็อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกรูปแบบต่างๆ ทั้งการพัฒนาที่ดินของตัวเองและสร้างทางเดินเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้า
"ทั้ง 9 จุดภาคเอกชนสามารถต่อยอดการพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่วันนี้เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีส้มมีความชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการทำความเข้าใจถึงผลกระทบกับประชาชนที่ต่อต้านโครงการ ซึ่งรฟม.ได้ขจัดอุปสรรคเป็นที่เรียบร้อย" รองผู้ว่าการและรักษาการผู้ว่าการ รฟม.กล่าว
+++จับตาราคาที่ดินพุ่ง
ต่อเรื่องนี้นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสิ่งปลูกสร้างและราคาที่ดินในจุดเชื่อมโยงรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดว่าหลายจุดจะต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามย่านสถานีและพื้นที่โดยรอบ หากเริ่มมีการก่อสร้าง โดยเฉพาะจุดตัด ตลิ่งชัน-จรัญสนิทวงศ์ ย่านราชเทวี ย่านพระราม 9 แยกลำสาลี ฯลฯ คาดว่าทำเลดังกล่าวจะเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต อันจะส่งผลต่อราคาที่ดินจะเพิ่มสูงขึ้น
"น่าจับตามองว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และนักพัฒนาที่ดินรายใดจะกว้านซื้อที่ดินได้มากกว่ากัน โดยเฉพาะจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 9 จุดใหญ่ๆ ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 ปีนี้ หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติประกวดราคา แน่นอนว่าราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกหลายเท่า" นายวสันต์กล่าว
++ผุดคอมมิวนิตีมอลล์
นอกจากนี้ยังพบว่า ในย่านเขตเมืองชั้นใน ย่านเทเวศร์ต่อเนื่องข้าวสาร คาดว่าจะมีการนำอาคารต่างๆ มาดัดแปลงเป็นโรงแรมขนาดเล็กทั้งโรงแรมสไตล์บูติก โฮสเทล (Hostel) เนื่องจากใกล้สถานที่ท่องเที่ยวถนนข้าวสารและย่านศิลปวัฒนธรรมเมืองเก่า แต่ย่านนี้การพัฒนาในแนวสูงทำไม่ได้เนื่องจากติดกฎความสูงไม่เกิน 4 ชั้น รวมถึง การเข้าสู่พื้นที่ตลาดโบ๊เบ๊ อาคารในโซนนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยมากขึ้นเพื่อเข้าถึงง่าย
เช่นเดียวกับย่านสะพานขาวเชื่อมโยงกับสายสีแดงที่ปัจจุบัน 2-3 อาคาร ซึ่งเป็นทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกปล่อยร้างมานานก็จะเห็นทิศทางการพัฒนาชัดเจนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะรูปแบบคอมมิวนิตีมอลล์ขนาดย่อมเพื่อรองรับนักช็อป ส่วนพื้นที่ราชเทวี ประตูน้ำ มีการพัฒนาสูงอยู่แล้วในปัจจุบัน และยกระดับมารองรับตลาดอาเซียนไปแล้ว
++พระราม 9 แลนด์มาร์กใหม่
นายวสันต์ ยังระบุอีกว่า พื้นที่สำคัญที่จะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในอนาคต คือย่านแยกพระราม 9 ที่เอกชนได้เดินหน้าพัฒนาโครงการล่วงหน้าไปแล้ว ทั้งค่าย จี-แลนด์ ไอดีโอ อาคาร ซูเปอร์ทาวเวอร์สูง 125 ชั้น อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯแห่งใหม่ ที่ผลักดันให้ โซนพระราม 9- ดินแดงจะเข้าสู่ย่านธุรกิจแห่งใหม่ได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น ส่วนจุดสถานีรฟม. นั้นกระทรวงคมนาคมมีแผนย้ายหน่วยงานในสังกัดมาอยู่รวมกันที่นี่ คาดว่าจะเป็นทำเลที่ขยายตัวสูงมาก
เนื่องจากสะดวกทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน มอเตอร์เวย์ เชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิ ครบอีกทั้งปัจจัยด้านราคาที่ดินย่านถนนพระราม 9 ยังถือว่าต่ำอยู่เมื่อเทียบกับราคาที่ดินย่านแนวรถไฟฟ้าอื่น ส่วนจุดตัดย่านรามคำแหง ลำสาลี บางกะปิ ที่เชื่อมโยงกับสายสีเหลือง มีชุมชนโดยรอบหนาแน่นคงจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านที่อยู่อาศัยแนวสูงตามมาอีกหลายโครงการก็อยู่ในทำเลนี้ ย่านนี้ราคาที่ดินโดยเฉลี่ย 1.0-1.5 แสนบาทในปัจจุบัน นายวสันต์กล่าวทิ้งท้าย
++ กลุ่ม "มีนชัยนันท์" เฮ
สอดรับกับความเห็นของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่มีนบุรีกล่าวว่ามีที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและสำนักงานอยู่ไม่เกิน 5 ไร่เท่านั้น และเชื่อว่าประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์ในการเดินทางได้สะดวกขึ้น ส่วนราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเปิดให้บริการ ซึ่งหาก รัฐบาลดำเนินการตามที่ได้ขอให้เปลี่ยนแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีผ่านไปยังถนนหทัยราษฎร์นั้นน่าจะเกิดผลดีมากกว่าที่จะให้จุดสิ้นสุดแค่ตลาดมีนบุรี กับรถไฟฟ้าสายสีส้มเท่านั้น รัฐควรมองอนาคตรองรับเพิ่มแนวเส้นทางออกไปให้เข้าถึงย่านชุมชนอย่างหลากหลาย ทั้งยังสามารถขยายแนวเส้นทางไปเชื่อมโยงกับรถไฟสายตะวันออกก่อนขยายไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทราได้อีกด้วย
++ ศุภาลัยงัดแลนด์แบงก์พัฒนา
ทางด้านนายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาลมีแผนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ต่างเข้ามาปักหลักพัฒนาโครงการเป็นจำนวนมาก เหตุเพราะรถไฟฟ้าสายนี้มีศักยภาพ เนื่องจากเป็นสายที่วิ่งผ่านกลางเมืองอย่างแท้จริง นอกเหนือจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมกับสายสุขุมวิทและรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
โดยพื้นที่ที่ได้รับความนิยมจากดีเวลอปเปอร์คือ ย่านรัชดาฯ ซึ่งปัจจุบันมีอาคารสำนักงานเกิดใหม่จำนวนมาก ในขณะที่จำนวนคอนโดมิเนียมก็มีมากเช่นกัน จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า มีจำนวนคอนโดมิเนียมรอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีประมาณ 2.67 พันยูนิต ปัจจุบันมียูนิตเหลือขายเพียง 463 ยูนิต ระดับราคาขายเริ่มต้นที่ 2 ล้านบาทต่อยูนิต ในขณะที่ราคาที่ดินก็มีการขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาที่ริมถนนใหญ่มีราคาขายอยู่ที่ 3-5 แสนบาทต่อตารางวา
"ยิ่งรถไฟฟ้าสายสีส้มมีความคืบหน้ามากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยทำให้อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นโอกาสให้ผู้ที่มีแลนด์แบงก์เก่าสามารถพัฒนาสินค้าได้ในต้นทุนเดิม ในขณะที่ราคาขายในอนาคตจะขยับเพิ่มสูงขึ้นตามความคืบหน้าของโครงการ ซึ่งบริษัทก็มีแลนด์แบงก์เก่าในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรอการพัฒนาอยู่จำนวนหนึ่ง" นายไตรเตชะ กล่าว
+++ยุบสถานีราชปรารภ
อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ได้คัดค้านก่อนหน้านั้น นายรณชิต ชี้แจงว่า จากการประชุมนำเสนอความเห็นล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วม700 คน ส่วนใหญ่เห็นชอบให้ปรับแนวเส้นทางใหม่ตามที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษานำเสนอ 2 แนวทางเลือกคือ
1.เส้นทางเดิมจากสถานีรางน้ำ –ถนนราชปรารภ -ถนนดินแดง เลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ที่สถานีดินแดง แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนประชาสงเคราะห์ไปเชื่อมต่อกับMRTที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ก่อนที่จะเบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9 จนถึงสถานีรฟม. 2 .เป็นเส้นทางเพิ่มเติม เริ่มต้นจากสถานีรางน้ำ -ถนนราชปรารภ - ถนนดินแดง ผ่านแยกโบสถ์แม่พระ เข้าสู่ถนนพระราม 9 เชื่อมต่อ MRT ที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานีรฟม.โดยไม่ต้องเข้าไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ
โดยผลการศึกษาสรุปว่า ทางด้านปัจจัยให้บริการผู้โดยสารและการพัฒนาเมือง ทั้ง 2 แนวทางมีผู้มาใช้บริการใกล้เคียงกัน ส่วนผลกระทบการเวนคืนช่วงสถานีราชปรารภรฟม.ได้ยกเลิกสถานีราชปรารภปรับเป็นสถานีรางน้ำเพื่อเชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงค์ ส่วนการก่อสร้างหากเลือกแนวทางที่ 2 จะประหยัดงบได้ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท และกระทบชุมชน 180 ราย แต่ปรับมาผ่านโบสถ์แม่พระ-พระราม 9 กระทบเพียง 30 ราย
"ภายหลังการประชุมรับฟังความเห็นประชาชนในครั้งนี้แล้วรฟม.จะนำเสนอบอร์ด รฟม.กระทรวงคมนาคมและครม.อนุมัติดำเนินโครงการต่อไป" นายรณชิต กล่าว
อนึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทางราว 39.8 กิโลเมตร มี 30 สถานี ใช้งบประมาณลงทุนราว 1.1 แสนล้านบาท ตั้งเป้าเปิดบริการปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 05/12/2014 3:27 pm    Post subject: Reply with quote

ผุดโมโนเรล 'แคราย-ลำสาลี' 22 สถานี ราคา 3.8 หมื่นล้าน .
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 ธันวาคม 2557 เวลา 14:08:10 น.


สำหรับโมโนเรลสายสี น้ำตาล "รฟม." ศึกษาความเป็นไปได้ไว้แล้วเมื่อเดือนส.ค. ปีที่แล้ว มีระยะทาง 21.6 กม. จะก่อสร้างเป็นระบบโมโนเรลขนาดกลาง กว้าง 2.40-3 เมตร ยาว 12-15 เมตรต่อตู้ จากแครายไป ลำสาลี ยาว 21.6 กิโลเมตร มี 22 สถานี และ ใช้งบ 38,583 ล้านบาท โดยรถที่จะใช้จะยาว 12-15 เมตร กว้าง 2.4 - 3.0 เมตร ในแต่ละตู้ - ค่าก่อสร้าง 13900 ล้านบาท - ค่าระบบรถไฟฟ้า 13200 ล้านบาท ค่า เวนคืน 8300 ล้านบาท โดย มีสถานีตามรายทางดั่งนี้

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตรงข้ามไทยคม - ต่อกะสายม่วงและสายชมพู
2. สถานีงามวงศ์วาน - ใกล้งามวงศ์วาน 3 - ใกล้ทิืมแลนด์
3. สถานีบัวขวัญ ตรงชุมชนวัดบัวขวัญ
4. สถานีแยกพงษ์เพชร
5. สถานีชินเขต หน้าซอยงามวงศ์วาน 43 - ใกล้ ซอยงามวงศ์วาน 43 (หมู่บ้านชินเขต)
6. สถานีบางเขน หน้าเรือนจำคลองเปรม (เรือนจำลาดยาว) และ วัดแคราย - ต่อสายแดงที่นี่
7. สถานีคุณหญิงอิศรา - ใกล้ ม. เกษตร และ โรงพยาบาลวิภาวดี
8. สถานีเกษตร บริเวณทางแยก - ต่อสายเขียวที่นี่
9. สถานีกรมยุทธโยธาทหารบก
10. สถานีลาดปลาเค้า 39 - ใกล้ซอยลาดปลาเค้า 39 - ต่อกะ ถนนลาดปลาเค้า และ ย่านวังหิน ที่จะไปเสนานิคม และ โชคชัย 4 ที่นี่
11. สถานีสถานีประเสริฐมนูกิจ ซอย 25
12. สถานีเสนานิเวศน์ ใกล้หมู่บ้านเสนานิเวศน์
13. สถานีสตรีวิทยา 2 - เชือมกะซอยนาคนิวาส (ลาดพร้าว 71) ที่นี่
14. สถานีถนนประดิษฐ์มนูธรรม - เชื่อมกะสายสีเทาที่นี่
15. สถานีคลองลำเจียก - ใกล้ถนนลำเจียก
16. รามอินทรา - นวมินทร์
17. นวลจันทร์ - ใกล้ ซอยนวลจันทร์ 11
18. สถานีโพธ์แก้ว - ถนนนวมินทร์ตัดกะ ถนนโพธิ์แก้ว
19. สถานีนวมินทร์ 73 - ซอนนวมินทร์ 73
20. สถานีแฮปปี้แลนด์ - ตรงแยกแฮปปี้แลนด์ตัดกะ ถนนนวมินทร์
21. สถานีการเคหะแห่งชาติ - หน้าการเคหะแห่งชาติที่คลองจั่น
22. สถานีลำสาลี - ต่อกะ สายเหลืองและสายส้มที่แยกลำสาลีนี้

หาก "บิ๊กจิน" มีนโยบายชัดเจน "รฟม." ตั้งแท่นจะออกแบบรายละเอียดในปีหน้า จะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนจะได้ใช้ปีไหน อยู่ที่รัฐบาลจะทุบโต๊ะให้สร้างได้เมื่อไหร่ ก็ได้แต่หวังอย่าให้รถไฟฟ้าสายนี้เป็นแค่โปรเจ็กต์คั่นเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2014 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

นักธุรกิจขอนแก่นลงขัน100ล. ตั้งบริษัทก่อสร้างรถไฟฟ้า-ศูนย์ประชุม
มติชนออนไลน์ วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:00:40 น.

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช.ทวี ดอลลาเชียน จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับผู้ประกอบการในจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 20 คน ร่วมลงขันรายละ 5 ล้านบาท รวม 100 ล้านบาท ก่อตั้งบริษัท ขอนแก่น ทิงก์ แทงก์ จำกัด หรือ KKTT เพื่อพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ คือโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเส้นทางท่าพระ-สำราญ วงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท โดยใช้วิธีการระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งหาก ตลท.อนุมัติก็จะขายหุ้นให้กับประชาชนในจังหวัดขอนแก่นเป็นลำดับแรก เพื่อเปิดโอกาสให้คนขอนแก่นมีส่วนร่วมในทรัพย์สิน

นายสุรเดชกล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีแผนการก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานและทันสมัยที่สุดในอาเซียน วงเงินก่อสร้างประมาณ 500 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาพื้นที่ก่อสร้าง คือบริเวณบึงทุ่งสร้าง หรือ บ.ข.ส.3 เพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนได้โดยสะดวก สามารถรองรับการจัดประชุมขนาดใหญ่และระดับนานาชาติของความเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคและเมืองแห่งการประชุม 1 ใน 5 ที่สำคัญของไทย

นายสุรเดชกล่าวว่า คาดว่าหากโครงการได้รับการอนุมัติ คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยปัจจุบันขอนแก่นเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ได้รับงบประมาณในการลงทุนพัฒนาสาธารณูปโภคจากรัฐบาลจำนวนจำกัด และต้องใช้เวลารอนานมาก ดังนั้น กองทุนโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นทางเลือกในการระดมทุน ซึ่งแผนการจัดตั้งกองทุนฯจะดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อทำหน้าที่เป็นนิติบุคคลสำหรับเพื่อลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมือง รูปแบบเดียวกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจ ซึ่งมีกรุงเทพมหานคร (กทม.) ถือหุ้น 100% ถ้าหากทำสำเร็จจะเป็นบริษัทแรกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2014 11:49 pm    Post subject: Reply with quote

“พล.อ.อ.ประจิณ”ส่ง”สร้อยทิพย์” หารือกลต.ตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม

โดย เมธา สกาวรัตน์
คอลัมน์ :ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ พิมพ์
วันจันทร์ที่ 08 ธันวาคม 2014 เวลา 18:35 น.
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม จะประชุมกับนายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พร้อมกับรับฟังบรรยายสรุป เพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งคมนาคมของกระทรวงคมนาคมในปี 58และหากมีความเป็นไปได้ก็จะแยกให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องไปหารือกับก.ล.ต.โดยตรงต่อไป สำหรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นที่ฐานที่มีความชัดเจนแล้ว ในเดือนม.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ให้ครม.พิจารณา จากนั้นจะเสนอครม.รับทราบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งจะเปิดซองราคาได้ผู้รับเหมาวันที่ 9ธ.ค.นี้ รวมทั้งยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินบางแค-พุทธมณฑลสาย 4
"โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คาดว่าเมื่อเปิดซองได้ผู้รับเหมา ผ่านกระบวนการต่อรองราคา และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรรมการร.ฟ.ม.แล้ว คาดว่าจะรายงานให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ พร้อมเสนอครม.ในเร็วๆนี้ ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง จะเสนอให้ครม.พิจารณากลางปีหน้า"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2014 4:02 pm    Post subject: Reply with quote

สศค.แนะรัฐเร่งสร้างทางรถไฟฟ้าเสริมความเชื่อมั่นเอกชน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
8 ธันวาคม 2557 12:56 น.

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจปี 58 ว่า ตามศักยภาพเศรษฐกิจไทยปกติ ควรขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4 แต่เศรษฐกิจไทยกลับเติบโตเฉลี่ย 2 ปี ไม่ถึงร้อยละ 2 เพราะว่าการส่งออกยังส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้เอกชนมั่นใจระยะยาวคือภาครัฐต้องเร่งเดินหน้าสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ เพราะจะส่งผลต่อความมั่นใจภาคเอกชนในระยะยาวได้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 102, 103, 104 ... 278, 279, 280  Next
Page 103 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©