RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180646
ทั้งหมด:13491881
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 105, 106, 107 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2015 11:52 pm    Post subject: Reply with quote

สถานะรถไฟฟ้า ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 02 มกราคม 2015 เวลา 11:21 น.
พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,015 วันที่ 4 - 7 มกราคม พ.ศ. 2558

altปัจจุบันโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้ว 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 85 กม. ประกอบด้วย
1. สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช-แบริ่ง 22 กม.
2. สายสีเขียวอ่อน ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า 14.5 กม.สำหรับ 2 เส้นทางนี้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นเจ้าของโครงการ และให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริหารจัดการเดินรถ
3. สายสีนํ้าเงิน MRT (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 20กม.โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการ และให้บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ลงทุนระบบรถไฟฟ้าและบริหารจัดการให้บริการเดินรถไฟฟ้า และ
4. สายแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ช่วงพญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 28.5กม.โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.เป็นเจ้าของโครงการ และให้บริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกบริหารจัดการเดินรถ

altนอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 4 โครงการ ระยะทางรวม 89กม. มี
1. สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง23 กม. ก่อสร้างงานโยธา คืบหน้า 91.77% เร็วกว่าแผน 0.82% มีแผนเปิดบริการ ปี 2559

2. สายสีนํ้าเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กม.และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กม. ก่อสร้างงานโยธา คืบหน้า 51.84% ล่าช้า 2.63% ซึ่งมีแผนเปิดบริการ ปี 2561

3. สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม. ก่อสร้างงานโยธา ก้าวหน้า 32.77% ล่าช้า 3.37% มีแผนเปิดบริการ ปี 2560 และ

4. สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ก่อสร้างงานโยธาก้าวหน้า 15.60% มีแผนเปิดบริการ ปี 2561

alt ส่วนโครงการที่พร้อมประกวดราคาในปี2558 มีทั้งสิ้น 6 โครงการ ระยะทางรวม 144.1กม. โดยมีโครงการสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จอยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมนำเสนอครม. พิจารณา สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 20 กม. กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ

สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. รฟม.ได้ให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษา/ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ (รวมศึกษาความเหมาะสม ระหว่างรูปแบบ Monorailและ Heavy Rail) ซึ่งมติบอร์ดรฟม.เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2556 เห็นชอบผลการศึกษาความเหมาะสมทางเลือกระบบรถไฟฟ้าแบบ Monorailตลอดสาย โดยกำหนดเปิดบริการ ปี 2562

สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 19 กม. ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงระยะทาง 6.5 กม. (Missing Link: MSL) ร.ฟ.ท.พร้อมประกวดราคา อยู่ระหว่างนำเสนอครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการ สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตระยะทาง 10 กม. บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด เอกสารประกวดราคาและโครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงค์ ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กม. ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทาง 13.9 กม. ร.ฟ.ท.เตรียมความพร้อมประกวดราคารองรับไว้แล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างนำเสนอกระทรวงคมนาคมนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2015 11:54 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ-รถไฟฟ้า-มอเตอร์เวย์ยอดฮิต คมนาคมลุ้นเปิดประมูลก่อสร้างปี 58
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 02 มกราคม 2015 เวลา 10:49 น.
พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,015 วันที่ 4 - 7 มกราคม พ.ศ. 2558

หลังจากปี 2557 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ไม่มาตามนัด ต้องเลื่อนมาปี 2558 เกือบทั้งสิ้น โดยพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงยืนยันว่าในปี 2558 จะเห็นภาพโครงการพร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบให้เปิดประมูลชัดเจนหลังจากที่ในปี 2557 แต่ละโครงการผ่านการศึกษาออกแบบรายละเอียด การรับรองผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)เรียบร้อยแล้ว

alt+ร.ฟ.ท.จ่อคิวเพียบ
เริ่มกันที่โครงการต่างๆในความรับผิดชอบของหน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้แก่
1. รถไฟทางคู่เส้นทางจิระ- ขอนแก่น 2.6 หมื่นล้านบาท
2. ส่วนอีก 1 เส้นทางที่พร้อมเปิดประมูลต่อเนื่องกันไปคือประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร มูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท

ในส่วนอีก 3 เส้นทางคือ
1. เส้นทางนครปฐม-หัวหิน มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ,
2. ลพบุรี-ปากน้ำโพ มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาทและ
3. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระมูลค่า 2.9 หมื่นล้านบาทที่อยู่ระหว่างรอผลการรับรองอีไอเอหากแล้วเสร็จในปี 2558 ก็จ่อคิวเสนอครม.ต่อเนื่องกันไป

สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 19 กม. ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 6.5 กม. (Missing Link: MSL) รวมมูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท ร.ฟ.ท. พร้อมประกวดราคา อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ(บอร์ด)ร.ฟ.ท.พิจารณาเห็นชอบการปรับราคาเพิ่มให้เป็นปัจจุบันก่อนที่จะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมและครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กม. บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด เอกสารประกวดราคา การปรับปรุงแบบจากทางคู่ให้เป็น 4 ทางเพื่อรองรับทางมาตรฐานสแตนดาร์ดเกจ พร้อมกับการปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลรายงาน EIA ตามที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)ด้านสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการ และโครงการ Airport Rail Link ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กม. ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทาง 13.9 กม. รวมมูลค่า 3.1 หมื่นล้านบาทร.ฟ.ท. เตรียมความพร้อมประกวดราคารองรับไว้แล้ว
ปัจจุบันอยู่ระหว่างนำเสนอกระทรวงคมนาคมนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.
+รฟม.ดันรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ชมพู-เหลือง
ในส่วนโครงการในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ที่เห็นได้ชัดคือโครงการสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม- บางกะปิ-มีนบุรี มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทขณะนี้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ จึงสามารถเร่งดำเนินการ (ด้านตะวันออก) ได้ก่อนช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม โดยกระทรวงคมนาคมนำเสนอครม.พิจารณา
ส่วนอีก 1 เส้นทางจ่อคิวไล่กันติดๆ คือสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี มูลค่ากว่า 5.6 หมื่นล้านบาท ได้มีการปรับราคาก่อสร้างฐานรากที่เดโป้ราว 1,300 ล้านบาทออกไป ล่าสุดกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จอยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมนำเสนอ ครม. พิจารณา
เช่นเดียวกับสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง มูลค่ากว่า 5.4 หมื่นล้านบาทรฟม.ได้ปรับราคาค่าก่อสร้างฐานรากที่เดโป้ออกไปก่อน ล่าสุดกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้ศึกษา/ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ โดยสายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลืองมติคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม.เห็นชอบผลการศึกษาความเหมาะสมทางเลือกระบบรถไฟฟ้าแบบ Monorail ตลอดสาย
+++มอเตอร์เวย์เอาแน่เส้นทางสู่บางปะอิน-โคราช
นอกจากมีโครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค ระยะทาง 979 กม. โครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 4 เส้นทาง ยังเดินหน้าทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)อีก 3 เส้นทางรวมมูลค่าก่อสร้างกว่า 1.6 แสนล้านบาท คือบางปะอิน-นครราชสีมา, บางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด กรมทางหลวงได้นำเสนอรูปแบบการลงทุนให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาถึงรูปแบบที่เหมาะสม ก่อนที่จะนำเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อประกอบการพิจารณาเห็นชอบนำเสนอครม.อนุมัติให้ดำเนินการโดยเร็วต่อไป
สำหรับหน่วยงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)ยังเดินหน้าโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คันมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาทโดยชุดแรกจะซื้อ 489 คัน กำหนดส่งมอบ 5 คันแรกในเดือนมีนาคม 2558 และทยอยจนครบทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม 2558
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์มูลค่ารวมสูงกว่าแสนล้านบาทที่จะเห็นความชัดเจนของการประมูลเพื่อเร่งก่อสร้างในปี 2558 นี้ ส่วนจะทำได้จริงสักกี่โครงการนั้นคงต้องไปลุ้นกันอีกทีปลายปีหน้า
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,015 วันที่ 4 - 7 มกราคม พ.ศ. 255
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2015 1:57 am    Post subject: Reply with quote

สรุปสายสีส้มใช้ถนนประชาสงเคราะห์
เดลินิวส์
วันอังคาร 6 มกราคม 2558 เวลา 20:46 น.

บอร์ดรฟม.ยืนไม่เปลี่ยนแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมเตรียมเดินหน้าเจรจาชาวบ้าน


เมื่อวันที่6 ม.ค.2558ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)พล.อ.ยอดยุทธบุญญาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการ(บอร์ด)รฟม.กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม.ว่าในที่ประชุมได้มีการหารือกรณีการปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมโดยบอร์ดเห็นว่าการปรับแนวเส้นทางจากเดิมที่จะต้องผ่านถนนประชาสงเคราะห์มาเป็นเส้นทางตามแนวถนนพระราม9นั้นไม่มีความเหมาะสมเพราะหากมีการปรับแนวเส้นทางจะต้องมีการปรับแบบใหม่ทั้งหมดและเส้นทางเดินที่มีการศึกษาไว้แล้วนั้นหากดำเนินการก่อสร้างจะมีความคุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีประชาชนอาศัยหนาแน่นซึ่งหากก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางเดิมประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่าแต่หากมีการปรับแนวไปตามถนนพระราม9จะส่งผลให้มีปัญหาด้านการจราจรและเส้นทางดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทั้งนี้คณะกรรมการบอร์ดจะมีการลงพื้นที่เพื่อเข้าไปเจราจาและหารือกับประชาชนในย่านถนนประชาสงเคราะห์ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง100กว่ารายเท่านั้นที่ยังได้รับผลกระทบที่ผ่านมารฟม.ได้พยายามปรับเปลี่ยนแบบและแนวทางการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนในบริเวณดังกล่าวหากการลงพื้นที่สามารถทำความเข้าใจกับประชาชนได้ก็จะคงแนวทางเดิมไว้เบื้องต้น

ทั้งนี้จะเร่งลงพื้นที่ให้เสร็จภายในเดือนม.คนี้และจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบอร์ดครั้งต่อไปเพื่อรายงานความคืบหน้าสำหรับแนวเส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมจะมีแนวสายทางไปตามดินแดง-ชุมชนประชาสงเคราะห์-ศูนย์วัฒนธรรม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2015 11:47 pm    Post subject: Reply with quote


คมนาคมคาด เสนอครม.พิจารณารถไฟฟ้า 3 สาย ม.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 มกราคม 2558 เวลา 15:54:59 น.

5 ม.ค. กระทรวงคมนาคมยืนยันปี 2558 ประชาชนจะเห็นความคืบหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ ประเดิมรถไฟฟ้า 3 สาย ที่กระทรวงคมนาคมจะเสนอ ครม. ให้อนุมัติภายในเดือนนี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ส่งข้อมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ให้กระทรวงคมนาคมเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ สายสีส้มฝั่งตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง-มีนบุรี, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

หลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะจัดทำข้อมูลรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย เสนอให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นชอบภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าทั้งหมดเป็นไปตามแผน คาดว่าจะเสนอโครงการบรรจุเป็นวาระในที่ประชุม ครม. ภายในเดือนมกราคมนี้
ขณะเดียวกัน รฟม.กำลังต่อรองราคากับผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ทั้ง 4 สัญญา คาดจะเสร็จอย่างรวดเร็ว สามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างได้ในเดือนมีนาคม เนื่องจากต้นทุนเหล็กและน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง รฟม.จะนำเสนอข้อมูลให้ พล.อ.อ.ประจิน ตัดสินใจภายในเดือนนี้ว่า รฟม. จะเดินรถเอง หรือจะโอนทรัพย์สินและการบริหารงานให้กรุงเทพมหานคร เนื่องจากต้องเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีอ่อนนุช ซึ่งกรุงเทพมหาครเป็นเจ้าของสัมปทานและบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้เดินรถ
ส่วนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่ – บางซื่อ จะเสร็จ 100% ภายในปีนี้ โดยรถไฟฟ้าขบวนแรกจะมาถึงประเทศไทยเพื่อเริ่มทดสอบเดินรถเดือนกันยายนนี้ และสามารถเปิดบริการได้ตามแผนปี 2559

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมเร่งรัดให้คณะกรรมการมาตรา 13ฯ สรุปวิธีสรรหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เส้นทางหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ให้เสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ว่าจะใช้วิธีเปิดประมูล หรือจะเปิดให้บริษัท บีเอ็มซีแอล ผู้เดินรถไฟฟ้าใต้ดิน ปัจจุบันเข้ามาเดินรถต่อเนื่อง เพราะถ้ายังหาผู้เดินรถไม่ได้ ขณะที่การก่อสร้างเสร็จจะทำให้เปิดบริการล่าช้าจากกำหนดในเดือนเมษายนปี 2562

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=TfWdhp7i_60
http://www.nationtv.tv/main/content/economy_business/378439174/
http://money.kapook.com/view108609.html
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1021691271180433&set=a.100195233330046.254.100000187083196&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2015 12:45 am    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียว“พีระยุทธ”นั่งผู้ว่ารฟม.
ไทยโพสต์
8 มกราคม 2558

บอร์ดไฟเขียว “พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล” นั่งผู้ว่าฯ รฟม. เตรียมลงพื้นที่ชุมชนประชาสงเคราะห์ หาข้อยุติแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 7 ม.ค.58 ได้เห็นชอบให้นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง นั่งตำแหน่งผู้ว่าฯ รฟม. หลังจากนี้ทางคณะกรรมการจะเจรจาอัตราเงินเดือน ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม.อนุมติอย่างเป็นทางการ คาดว่ากระบวนการจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคมนี้
นอกจากนี้บอร์ดยังได้รับทราบความคืบหน้า การนำเสนอเพื่อปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ที่แนวเดิมผ่านพื้นที่ชุมชนประชาสงเคราะห์ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 100 หลังคาเรือน และได้มีการเสนอปรับแนวเส้นทางไปเป็นแนวเส้นทางดินแดง-โบส์ถแม่พระฟาติมา-พระราม 9 เพื่อเลี่ยงผลกระทบดังกล่าว แต่บอร์ดต้องการให้ก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิม เนื่องจากมีปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้ามากกว่า และยังกระทบกับการจราจรน้อยกว่าแนวเส้นทางใหม่
“ภายในเดือนนี้ ทางบอร์ด รฟม.จะลงพื้นที่หารือกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมรับฟังความเห็นว่าจะเดินหน้าอย่างไร ก่อนสรุปในที่ประชุมบอร์ด รฟม.ครั้งหน้าในเดือนกุมภาพันธ์นี้” พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว
พล.อ.ยอดยุทธกล่าวถึงปัญหาข้อร้องเรียน กรณีของนายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าฯ รฟม. ว่า ต้องให้ศาลปกครองมีคำสั่งอย่างเป็นทางการ ดังนั้น ในขณะนี้ กระบวนการสรรหายังเดินหน้าตามกระบวนการจนกว่าศาลปกครองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2015 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

คืบหน้ารถไฟฟ้าชานเมือง
โดย ไทยรัฐออนไลน์
8 มกราคม 2558 19:45


โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ถือเป็นความหวังของคนเมือง ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาจราจร พร้อมทั้งลดภาระค่าครองชีพจากการเดินทาง ไทยรัฐทีวี ได้รวบรวมความคืบหน้าล่าสุดของโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมาให้ชมกัน

ชานชลาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งกลางปีนี้ ก็จะมีรถไฟฟ้ามาวิ่งให้ประชาชนได้เริ่มทดลองใช้บริการ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีระยะทาง 23 กิโลเมตร จะวิ่งให้บริการตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่ สถานีตลาดบางใหญ่ เลี้ยวขวาเข้าเส้นรัตนาธิเบศร์ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางพลู สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางพลู สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ สถานีไทรม้า สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีศรีพรสวรรค์ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนติวานนท์ สถานีกระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี สถานีแยกติวานนท์ สถานีวงศ์สว่าง สถานีบางซ่อน และสิ้นสุดที่สถานีเตาปูน โดยจะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบช่วงกลางปี 2559

โครงการนี้มีจุดเด่นตรงที่เป็นเส้นทางรองรับการเดินทางในกรุงเทพมหานคร กับนนทบุรี และสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญได้

จุดแรกที่สถานีเตาปูน เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และในอนาคตสามารถเชื่อม ส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราชฎร์บูรณะ

สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีบุรี

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีบุรี สถานีคลองบางไผ่ เชื่อมต่อระบบรถประจำทาง

นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าอีกหลายสายที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 11.08 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานีเตาปูน ที่ต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณสถานีบางซื่อ เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านสี่แยกบางโพ ที่สถานีบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ เป็นสถานีบางอ้อ บางพลัด สิรินธร บางยี่ขัน บางขุนนนท์ แยกไฟฉาย จรัญสนิทวงศ์ 13 และสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ

อีกช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง เป็นเส้นทางใต้ดินตามแนวถนนพระราม 4 ไปสถานีวัดมังกรกมลาวาส วังบูรพา สนามไชย ลอดใต้แม้น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ ถึงสถานีอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับที่สถานีท่าพระ วิ่งไปตามแนวถนนเพชรเกษม ผ่านสถานีบางไผ่ บางหว้า เพชรเกษม 48 ภาษีเจริญ บางแค และสิ้นสุดสายทางที่บริเวณวงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก

แต่ความคืบหน้าล่าสุดโดยรวมของโครงการ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ยังอยู่ที่ ร้อยละ 57.33 แม้จุดก่อสร้างสำคัญก็คือ อุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา จะก่อสร้างเสร็จแล้ว

โดยโครงการนี้วางแผนเปิดเดินรถ เป็น 2 ช่วง ช่วงแรก หัวลำโพง-บางแค กว่าจะเปิดให้บริการต้องรอไปถึงเดือนกันยายน ปี 2561 ส่วนช่วงเตาปูน-ท่าพระ เปิดให้บริการเดือนเมษายน ปี 2562 ยกเว้นสถานีแยกไฟฉาย เปิดให้บริการกันยายนปีเดียวกัน รถไฟฟ้าสายนี้จะช่วยเชื่อมการเดินทางในกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนคร กับฝั่งธนบุรี

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ต่อขยายจากรถไฟฟ้าบีทีเอสเดิม ที่สถานีแบริ่ง วิ่งไปตามเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านสถานีสำโรง ปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านสถานีเอราวัณ โรงเรียนนายเรือ ศาลากลาง ศรีนครินทร์ แพรกษา สายลวด และสิ้นสุดที่สถานีสมุทรปราการ

ปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 44.42 เร็วกว่าแผนร้อยละ 2.30 โครงการนี้ ผู้รับสัมปทานรายเดิม เป็นผู้รับจ้างเดินรถในส่วนต่อขยายนี้ จึงสามารถเปิดใช้บริการได้เร็วขึ้น จากเดิมปี 2563 มาเริ่มได้ในปี 2561

ขณะที่โครงการระบบรถชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร เริ่มจากสถานีรังสิต วิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย ผ่านสถานีหลักหก ดอนเมือง การเคหะ บางเขน ทุ่งสองห้อง วัดเสมียนนารี จตุจักร และสิ้นสุดที่สถานีบางซื่อ

ปัจจุบันยังคงเป็นโครงการที่ล่าช้าที่สุด คืบหน้าเพียงร้อยละ 16 เพราะมีหลายปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะการส่งมอบที่ดินล่าช้า เพราะติดท่อน้ำมันใต้ดิน และจำเป็นต้องย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ส่งผลให้โครงการนี้ จะเปิดให้บริการได้ล่าช้า จากเดิมปี 2560 เป็นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2562

ความล่าช้าที่เกิดขึ้น ยังจะส่งผลต่อไปยังโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่งานก่อสร้างโยธาแล้วเสร็จแล้วตั้งแต่ปี 2555 แต่ยังไม่สามารถเปิดเดินรถได้ เพราะต้องรอระบบเดินรถของช่วงบางซื่อ-รังสิตด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2015 11:40 pm    Post subject: Reply with quote

เปรียบเทียบราคาน้ำมันลดลง กับการพัฒนารถไฟฟ้า
ครอบครัวข่าว 3
วันที่ 08 มกราคม 2558 เวลา 15:24:06 น.

เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาลดลง ส่วนหนึ่งจะเป็นผลดีให้ไทยใช้เงินในการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศในราคาที่ถูกลง ซึ่งส่วนต่างราคาน้ำมันเหล่านี้จะสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

ปีล่าสุด 2557 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ เฉลี่ยวันละ 800,000 บาร์เรล ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมัน เฉลี่ย 100 ดอลลาร์/บาร์เรล และสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนที่ 32 บาท/ดอลลาร์ เท่ากับปี 57 ไทยต้องใช้เงินนำเข้าน้ำมันประมาณ 934,400 ล้านบาทในขณะที่ปี 58 ราคาน้ำมันโลกร่วงลงต่ำ ระดับ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ทำให้ไทยใช้เงินนำเข้าน้ำมันดิบลดลง 50% ช่วยประหยัดเงินนำเข้าน้ำมันได้ราว 467,200 ล้านบาท

ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถใช้ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม.ได้ ประมาณ 7 สาย ประกอบด้วย
1. สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) งบก่อสร้าง63,674 ล้านบาท
2. สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และ หัวลำโพง-บางแค) งบก่อสร้าง 82,592ล้านบาท
3. สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) งบก่อสร้าง 27,834ล้านบาท
4. สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) งบก่อสร้าง 58,878ล้านบาท
5. สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) งบก่อสร้าง 110,325 ล้านบาท
6. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) งบก่อสร้าง 56,725 ล้านบาท
7. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) งบก่อสร้าง 54,768 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2015 12:26 am    Post subject: Reply with quote

ดินแดงจวกรฟม.หลอกลวง หลังบอร์ดไม่เปลี่ยนแนวสายสีส้ม-"ธนา"ลั่นจะค้านถึงที่สุด
โดย ทีมข่าวกทม.
ไทยรัฐ
8 มกราคม 2558 2558 05:01


จากกรณีที่การประชุมคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) ที่มี พล.อ.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา มีมติไม่เห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ช่วงตัดผ่านถนนประชาสงเคราะห์ มาเป็นถนนพระราม 9 แทน เนื่องจากไม่เหมาะสมและคุ้มค่าการลงทุนนั้น

นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.กทม.เขตดินแดง แกนนำคัดค้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ช่วงตัดผ่านถนนประชาสงเคราะห์ เปิดเผยว่า หาก รฟม.ทำเช่นนั้นจริง ถือว่าเป็นการหลอก ลวงประชาชน เพราะก่อนหน้านี้ผู้บริหาร รฟม. ยืนยันต่อที่ประชุมรับฟังความเห็นโครงการดังกล่าวครั้งสุดท้าย เดือน พ.ย.2557 ว่า จะมีการปรับ เปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตัดผ่านถนนประชาสงเคราะห์ มาใช้แนวถนนพระราม 9 แทน เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนชุมชนย่านถนนประชาสงเคราะห์ รวมถึงความคุ้มค่าการลงทุนน้อยกว่า

นายธนากล่าวว่า เหตุผลที่ รฟม.กลับไปใช้แนวถนนประชาสงเคราะห์ น่าจะมีธงอยู่ก่อนแล้ว และอาจมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องตรวจสอบและเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ และถ้าพิจารณาด้านความคุ้มค่าการลงทุน แนวเส้นทางใหม่ ผ่านถนนพระราม 9 คุ้มค่ามากกว่าแน่นอน เพราะเป็นย่านธุรกิจใหม่ เวนคืนน้อยกว่าแนวเส้นทางเดิมซึ่งคาดว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 300 ครัวเรือน ไม่ใช่แค่ 100 รายเท่านั้น เพราะบ้านบางหลัง อาคารบางแห่งมีผู้อาศัยมากกว่า 1 ครอบครัว

นอกจากนี้ แนวเขตทางเวนคืนที่ระบุไว้ไม่เกิน 16 เมตร จากขอบทาง แต่ในทางปฏิบัติระหว่างก่อสร้างจะต้องใช้พื้นที่มากกว่า ขณะเดียวกันถนนประชาสงเคราะห์แคบมากและมีปัญหาการจราจรติดขัด หากมีการก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อการจราจรมีปัญหาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ตนจะแจ้งให้ชาวบ้านในพื้นที่รับทราบข้อมูล เพื่อติดตามทวงถามข้อเท็จจริงจาก รฟม. คิดว่าเรื่องนี้คงไม่จบง่ายๆ ชาวบ้านจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด.

//----------------

รถไฟฟ้าสีส้มส่อมีปัญหา บอร์ด รฟม.เมินปรับแนวเส้นทางลดเวนคืนประชาสงเคราะห์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
8 มกราคม 2558 10:07 น.

บอร์ด รฟม.ยันไม่ปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเฟสแรก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เดินหน้าเวนคืนชุมชนประชาสงเคราะห์ ชี้ปรับเส้นทางยุ่งยากเหตุต้องออกแบบใหม่ และหวั่นมีผู้โดยสารน้อย “ยอดยุทธ” เชื่อชาวบ้านเข้าใจ

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ประชุมได้มีการหารือกรณีการปรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม. วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท เพื่อเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์ ซึ่งมีปัญหาการคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งบอร์ดเห็นว่า รฟม.ควรก่อสร้างตามเส้นทางเดิมที่ออกแบบไว้แล้ว เพราะจะได้ประโยชน์มากกว่าการปรับเส้นทางใหม่ โดยบอร์ดจะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบแนวเส้นทางพร้อมทั้งเจรจากับประชาชนที่คัดค้าน ซึ่งขณะนี้ทราบว่าเหลือผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 130 ครัวเรือน จากเดิมที่มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 300 ครัวเรือน โดยจะให้ได้ข้อยุติในการประชุมบอร์ดเดือนกุมภาพันธ์นี้

“บอร์ดเห็นว่าควรจะก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิมที่ได้ออกแบบไว้แล้ว เพราะการเบี่ยงแนวทางใหม่มีความยุ่งยาก ต้องออกแบบใหม่ และจากการศึกษาก็จะมีผู้โดยสารไม่หนาแน่นเท่าเดิม แถมจะไปเบียดเส้นทางรถโดยสารด้วย โดยภายในเดือนนี้บอร์ดจะลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับผู้ที่คัดค้าน และการประชุมบอร์ดครั้งหน้าต้องสรุปให้ได้ว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนแนวเส้นทาง ซึ่งยืนยันว่าเรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเสนอโครงการเข้า ครม.” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว

โดยก่อนหน้านี้ รฟม.ได้เชิญชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 ประมาณ 150 คน มาร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรีว่า (สายตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรม -ตลิ่งชัน) เพื่อหาทางออก ช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง ที่มีการคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนในพื้นที่ โดย รฟม.ได้มีการศึกษาปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่ โดยมีเส้นทางเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง เข้าสู่ถนนพระราม 9 และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม. ซึ่งจะลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือนลง ส่งผลประหยัดงบประมาณเวนคืนได้ 500 ล้านบาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย

ส่วนแนวเส้นทางตามแผนแม่บทฉบับปัจจุบัน เริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ที่สถานีดินแดง เข้าถนนประชาสงเคราะห์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เบี่ยงเข้าแนวถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม.

ซึ่งในการศึกษาได้เปรียบเทียบแนวเส้นทางทั้ง 2 เส้นทาง ได้คำนึงถึง 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านการให้บริการผู้โดยสารและการพัฒนาเมือง ทั้งสองแนวทางเลือกมีผู้มาใช้บริการใกล้เคียงกัน และมีความพร้อมในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางและการพัฒนาพื้นที่สำหรับส่งเสริมการบริการและการพัฒนาเมือง

2. ปัจจัยด้านวิศวกรรม ทั้งสองแนวทางเลือกสามารถจัดการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัยในการให้บริการ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม

3. ปัจจัยด้านการลงทุน แนวเส้นทางเดิมมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงกว่าแนวที่ปรับใหม่

4. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม แนวเส้นทางเดิมมีผู้ถูกเวนคืนที่ดินและพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบด้านเสียงและฝุ่นละอองจากการก่อสร้างสูงกว่าแนวใหม่

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม. วงเงิน 110,325.76 ล้านบาทนี้อยู่ในแผนงานโครงสร้างพื้นฐานที่กระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายที่จะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งล่าช้าจากแผนงานเดิมที่จะเสนอ ครม.ในเดือนมกราคม รวมไปถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,691 ล้านบาท ซึ่งต้องปรับแผนเสนอ ครม.ล่าช้าไป 1 เดือนเช่นกัน โดยทั้ง 3 โครงการมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563

//------------------

บ่นเรื่อง เสนคืนที่ทำสายส้ม
http://pantip.com/topic/33076586


Last edited by Wisarut on 09/01/2015 7:12 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2015 1:24 am    Post subject: Reply with quote

ปลัดคมนาคมมั่นใจ-ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า 3 ระบบเปิดใช้ก.ค.59
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 20:19 น.

วันที่ 23 ธ.ค. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า คาดว่าเดือน ก.ค.2559 จะเปิดใช้บริการตั๋วร่วมร่วมระยะแรกกับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ และร้านสะดวกซื้อได้ จากนั้นก่อนสิ้นปี 2559 จะเปิดให้บริการในระยะที่ 2 ครอบคลุมทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ของกรมทางหลวง และระยะที่ 3 จะครอบคลุมการให้บริการรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่จะติดตั้งระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ(อี-ทิกเก็ต)เพื่อรองรับระบบตั๋วร่วมด้วย โดยขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)อยู่ระหว่างจัดทำระบบ

“ตามแผนการดำเนินงานจะต้องจัดทำระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน หรือให้บริการได้กับบริการขนส่งสาธารณะทุกระบบก่อนสิ้นปี 2559 ระบบตั๋วร่วมจะกำหนดให้จัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวถึงแม้จะเชื่อมต่อการเดินทางไปยังขนส่งสาธารณะอื่นๆ เช่น กรณีใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส แล้วไปต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ก็จะเสียค่าแรกเข้าครั้งเดียว จากนั้นจะคิดราคาตามระยะทางแทนที่จะต้องไปเริ่มเสียค่าบริการใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนไปใช้ระบบอื่นเหมือนปัจจุบัน คาดว่าการคิดค่าบริการเริ่มต้นครั้งเดียว จะเริ่มได้ตั้งแต่เปิดให้บริการในระยะแรก”นางสร้อยทิพย์ กล่าว

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า ในเดือนเม.ย.2558 กรมทางหลวงจะเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์อัตโนมัติ "เอ็มพาส" ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหารถติดบริเวณหน้าด้านเก็บค่าผ่านทางได้ และในเดือนมิ.ย.2559 ผู้ที่ใช้บัตรเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติอีซี่พาสของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และบัตรเอ็มพาสจะสามารถใช้บริการได้ทั้งทางด่วนของ กทพ. และมอเตอร์เวย์ของ ทล.ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2015 12:08 am    Post subject: Reply with quote


ผลกระทบระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้า
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=fDOPEdCf8BY
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 105, 106, 107 ... 277, 278, 279  Next
Page 106 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©