Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179713
ทั้งหมด:13490945
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 106, 107, 108 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2015 11:48 pm    Post subject: Reply with quote


เร่งให้รถไฟฟ้าใต้ดินสายส้ม รถไฟรางเดียวสายเหลือง และ รถไฟรางเดียวสายชมพูให้ได้รับการอนุมัติโดยครม. ปลายมกราคม 2558
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=4-gfopCnMQ0

คมนาคมชงครม.อนุมัติสร้างรถไฟ
เดลินิวส์
วันจันทร์ 12 มกราคม 2558 เวลา 17:34 น.

คมนาคม ยันเดือนนี้ ชงครม. อนุมัติสร้าง รถไฟฟ้า ส้ม เขียว ชมพู ได้แน่ ด้านสุวรรณภูมิ ดันสร้าง รันเวย์สำรอง + อาคารผู้โดยสารตะวันออก ได้ ก.พ.58

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งปี 58 ว่า โครงการที่จะประกวดราคาก่อสร้างแน่นอน คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องมารอที่กระทรวงคมนาคมแล้ว หลังจากนี้จะส่งให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคมพิจารณา และเสนอ ครม. อนุมัติภายในเดือนม.ค.นี้

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องให้คณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท. พิจารณาก่อนในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เมื่อผ่านบอร์ดแล้วจะส่งมาที่กระทรวงคมนาคม และเสนอให้ ครม. เห็นชอบภายในเดือนม.ค.นี้เช่นกัน ส่วนการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องรูปแบบการลงทุนคาดได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้

“มอเตอร์เวย์ที่พร้อมดำเนินการมากที่สุดในตอนนี้ คือ สายพัทยา-มาบตาพุด ของกรมทางหลวง เพราะได้รับการอนุมัติจาก ครม.ในเรื่องของค่าเวนคืนที่ดินแล้ว ส่วนเงินลงทุนก็ใช้จากกองทุนมอเตอร์เวย์มาดำเนินการ จึงสามารถเปิดประกวดราคาได้ทันที แต่ปัจจุบันก็ยังเงียบอยู่”

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย จะก่อสร้างเดือนมี.ค.นี้ ส่วนเส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น จะเสนอ ครม.ในเดือนม.ค.นี้ ก่อนเปิดประกวดราคาเดือนส.ค.นี้ ขณะที่เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ และเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ จะเสนอ ครม.ได้เดือนมี.ค.และก่อสร้างได้เดือนต.ค.นี้ หากทุกโครงการเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ จะทำให้ราคาลดต่ำกว่าราคาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดเงินได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากราคาวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆได้ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงด้วย

ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ขณะนี้กำลังหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เพื่อเร่งสรุปแผนลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ก่อนเสนอบอร์ดวันที่ 21 ม.ค.นี้ และเสนอ ครม.ในเดือนก.พ.โดยโครงการที่ทำได้ก่อน คือ การก่อสร้างรันเวย์สำรอง 2,900 เมตร และอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก ส่วนการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (อาคารแซทเทิลไลท์) จะทำในเดือนต่อไป


Last edited by Wisarut on 12/01/2015 7:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2015 2:25 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กจิน"สั่งเร่งวิเคราะห์ข้อมูลก่อนชี้ชะตา ทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 มกราคม 2558 08:50 น.


"ประจิน"สั่งเร่งหาข้อสรุปสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงN1, 2, 3 หรือล้มเลิก สร้างรถไฟฟ้าสีน้ำตาลแทน เผยต้องฟังเสียงประชาชนที่ไม่เห็นด้วย และหารูปแบบที่ตกลงร่วมกัน ชี้โครงการจำเป็นเพื่อแก้จราจร ขณะที่สนข.เร่งวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ เสนอนโยายตัดสินใจใน2 สัปดาห์

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมถึงการดำเนินโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงN1, 2, 3 ระยะทาง 40.9 กม.ว่า เนื่องจากแนวเส้นทางตามแนวเดิม ไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน จึงต้องพิจารณาใหม่ว่ารูปแบบไหนที่จะสามารถแก้ปัญหาจราจรและภาคประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด โดยได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมและนางชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันศึกษาแนวทางที่เหมะสม เพื่อหาทางเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาจราจรต่อไป โดยหลักการต้องรับฟังเสียงประชาชนที่เกี่ยวข้องซึ่งหากเดินตามแผนแล้วไม่เป็นที่ยอมรับ อาจต้องปรับใหม่

โดยนางสร้อยทิพย์ระบุว่า จะเร่งหาข้อยุติที่ชัดเจนเร็วๆนี้ ซึ่งขณะนี้มีทางเลือกที่จะตัดสินใจแล้ว รอความชัดเจนข้อมูลประกอบจากผู้เกี่ยวข้อง ว่าจะสามารถก่อสร้างโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือได้ตามแผนทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ มีแนวทางออกในระดับหนึ่งคือ ช่วงN1 ซึ่งเป็นส่วนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คัดค้าน อาจจะต้องปรับเป็นระบบรถไฟฟ้าแทน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมาได้มีการประชุมพิจารณาการก่อสร้างโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือกรณีที่แนวเส้นทางช่วง N1 มีปัญหาถูกคัดค้าน และการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลทดแทน โดยมีนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดฯคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งล่าสุดมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.)วิเคราะห์ข้อมูลที่มีการศึกษาไว้แล้วซึ่งมีหลายแนวทาง เช่น ให้การทางพิเศษดำเนินการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2,N3 ส่วนช่วง N1 ให้ชะลอไปก่อน โดยให้ศึกษาปริมาณจราจรบริเวณแยกเกษตรและแนวทางแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นจุดขึ้นลงทางด่วน

หรือให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ซึ่งเป็นระบบโมโนเรล โดยใช้ประโยชน์จากตอม่อของกทพ.ตามแนวทาง ที่อยู่บริเวณเกาะกลางอยู่แล้ว ซึ่งสนข.ต้องพิจารณาประเด็นปัญหาที่
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลยังเป็นแค่แนวคิดเบื้องต้นไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทรถไฟฟ้าของรฟม.ทำให้ยังไม่สามารถตั้งงบประมาณเพื่อศึกษาใดๆได้จนกว่าจะนำมาบรรจุในแผนแม่บทรถไฟฟ้าก่อน

หรือหากจะใช้ระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลทดแทนทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือต้องพิจารณาว่าจะให้เทดแทนเฉพาะช่วง N1 ที่มีปัญหา หรือ ทดแทนทั้งเส้นทาง N1,N2,N3 หรือช่วง N2,N3 ควรจะมีทางด่วนและระบบรถไฟฟ้าควบคู่ไปด้วย โดยให้สนข.สรุปข้อมูลรายงานมายังกระทรวงคมนาคมภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอต่อรมว.คมนาคมหาข้อยุติต่อไป

ทั้งนี้กทพ.ได้เสนอขอดำเนินโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนืออีกครั้ง เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหาร หลังจากที่ถูกชะลอโครงการไปสมัยรัฐบาลเพื่อไทย มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรมว.คมนาคม แต่เพราะถูกคัดค้านจากม.เกษตรฯอย่างหนักโดยกทพ.วางโครงข่ายเส้นทางแก้ปัญหาการจราจรด้านเหนือที่ยังไม่มีโครงข่ายทางด่วนเชื่อมจากแนวตะวันตก-ตะวันออก ทำให้ปัจจุบันถนนงามวงศ์วาน ถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนเกษตรนวมินทร์ ติดขัดอย่างมาก โดยขอดำเนินการช่วง N2,N3 ที่ไม่มีปัญหาก่อน ส่วนช่วง N1 อาจจะต้องปรับปรุงจุดที่มีผลกระทบ ทั้งกับชุมชนและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยจะลงพื้นที่พูดคุยและหาแนวทางออกร่วมกัน

สำหรับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1,2,3) ระยะทาง 42.9 กม.รองรับปริมาณจราจร East-West Corridoor ของกรุงเทพฯ ช่วง N1 (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตก บริเวณแยกบางใหญา-แยกเกษตรศาสตร์) ระยะทาง 19.2 กม.ถูกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ คัดค้าน ช่วง N2 (แยกเกษตร-ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนนวมินทร์ ) ระยะทาง 9.2 กม.และช่วง N3 ( นวมินทร์-ถนนเสรีไท- ถนนรามคำแหง สิ้นสุดที่ถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ บริเวณถนนศรีนครินทร์ )ระยะทาง11.5 กม.

//----------------

คมนาคมสั่งสนข. เร่งสรุปผลศึกษา ข้อดี-เสียด่วนขั้น3
ไทยโพสต์
12 มกราคม 2558

คมนาคมสั่ง สขน.เร่งศึกษาสรุปข้อดี-ข้อเสียการสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 แยกแคราย เชื่อมถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก ภายใน 2 สัปดาห์

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ทางวิชาการ ถึงข้อดี-ข้อเสียในการก่อสร้างทางด่วน ตอน N1, N2 และ N3 ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ หรือการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงบึงกุ่มทดแทน ให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ ว่าจะมีผลอย่างไร พร้อมกับพิจารณาในรายละเอียดว่าจะเลือกดำเนินโครงการใด

สำหรับผลการศึกษาเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 แนวทางด้วยกันคือ แนวทางแรก ก่อสร้างทางด่วนทั้งหมด 3 ตอน N1, N2 และ N3 ตั้งแต่แยกแคราย ถนนงามวงศ์วาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปตลอดแนวถนนเส้นเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก (บางปะอิน-บางพลี) (บางปะอิน-ชลบุรี) หรือแนวทางที่ 2 เริ่มก่อสร้างเพียง N2, N3 จากแยก ม.เกษตรฯ ไปเชื่อมต่อถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก เนื่องจากตอน N1 ที่มีผลกระทบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือแนวทางที่ 3 คือให้ดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-บึงกุ่ม ทดแทนตามข้อเสนอของ สนข.ที่ได้เคยเสนอให้กับกระทรวงคมนาคมไปเมื่อปี 2556

“รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นเพียงแผนรองรับในกรณีที่ทางด่วนไม่สามารถดำเนินการสร้างได้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เชื่อมต่อไปจนถึงบึงกุ่ม โดยทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แต่ยังไม่มีการศึกษา เพราะเป็นแค่แผนการดำเนินการที่จะสร้างแทนทางด่วน และยังไม่มีบรรจุในแผนแม่บทของโครงการรถไฟฟ้า แต่ถ้าหาก สนข.คิดว่ามีประโยชน์ สมควรทำ ก็ต้องนำบรรจุเข้าในแผนแม่บทต่อไป” นายชาติชายกล่าว

นายชาติชายกล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ สนข.เร่งศึกษาถึงความเหมาะสมโครงการสร้างทางด่วนหาดใหญ่-ด่านสะเดา ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และโครงการมอเตอร์เวย์ หาดใหญ่-ด่านสะเดา ของกรมทางหลวงชนบท ว่าเส้นทางใดมีความเหมาะสมมากที่สุด และหน่วยงานใดต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการดังกล่าว โดยเร่งสรุปให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อนำเสนอให้รัฐมนตรีคมนาคมพิจารณาต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2015 10:50 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแคราย-บึงกุ่ม คมนาคมลั่น 14 วันรู้คำตอบสร้างไม่สร้าง
หมวดหมู่ ข่าวเด่นวันนี้
วันจันทร์ 12 มกราคม 2558 9:45

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังประชุมพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ แคราย-เกษตรนวมินทร์ ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษาข้อดี-ข้อเสียการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ แคราย-เกษตรนวมินทร์ ช่วงเอ็น 1 เอ็น 2 และเอ็น 3 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแคราย-บึงกุ่ม ให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์หรือ 14 วัน ว่าควรเลือกก่อสร้างโครงการใด หรือยกเลิกทั้งหมด

ทั้งนี้ การศึกษาเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การก่อสร้างทางด่วน 3 ตอน ช่วงเอ็น 1 เอ็น 2 และเอ็น 3 ตั้งแต่แยกแคราย ถนนงามวงศ์วาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปตลอดแนวถนนเส้นเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก (บางปะอิน-บางพลี) (บางปะอิน-ชลบุรี) หรือจะก่อสร้างเพียงช่วงเอ็น 2 และเอ็น 3 จากแยก ม.เกษตรฯ ไปถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออกเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบกับ ม.เกษตรฯ หรือทำตามแนวทาง 3 ให้ก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-บึงกุ่ม แทนทางด่วนตามข้อเสนอ สนข.เมื่อปี 2556

“การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลนั้นเป็นเพียงแค่ข้อเสนอของ สนข. ซึ่งยังไม่ได้บรรจุในแผนแม่บทการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย เพราะต้องรอผลสรุปจาก สนข. และการพิจารณาของ รมว.คมนาคมก่อน หากมีข้อสรุปว่าจะดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแทนการก่อสร้างทางด่วนก็จะนำเรื่องบรรจุไปในแผนแม่บท ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เป็นเพียงแผนรองรับกรณีทางด่วน ไม่สามารถสร้างได้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เชื่อมไปจนถึงบึงกุ่ม โดย รฟม.ยังไม่ได้ทำอะไรเนื่องจากเป็นเพียงแผนการ ถ้าหาก สนข.คิดว่ามีประโยชน์สมควรทำก็ต้องนำบรรจุเข้าในแผนแม่บทต่อไป”.

//-----------------

รัฐผุดรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลตัดม.เกษตร ไอเท็มน่าสนใจ
พิรุณนิวส์
วันจันทร์, 12 มกราคม 2558

คมนาคมแก้เกมหลังการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ แคราย-เกษตรนวมินทร์ ช่วงเอ็น 1 เอ็น 2 และเอ็น 3 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไม่สำเร็จ เล็งศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแคราย-บึงกุ่ม สรุปภายใน 2 สัปดาห์

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังประชุมพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ แคราย-เกษตรนวมินทร์ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษาข้อดีข้อเสียในการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ แคราย-เกษตรนวมินทร์ ช่วงเอ็น 1 เอ็น 2 และเอ็น 3 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแคราย-บึงกุ่ม ให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ว่าควรเลือกก่อสร้างโครงการใด หรือยกเลิกโครงการทั้งหมด

ทั้งนี้การศึกษาเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน คือ การก่อสร้างทางด่วนทั้งหมด 3 ตอน ช่วงเอ็น1 เอ็น2 และเอ็น3 ตั้งแต่แยกแคราย ถนนงามวงศ์วาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปตลอดแนวถนนเส้นเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก (บางปะอิน-บางพลี) (บางปะอิน-ชลบุรี) หรือจะก่อสร้างเพียงช่วงเอ็น 2 และเอ็น 3 จากแยก ม.เกษตรไปถนนกาญจนาพิเษกด้านตะวันออกเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือทำตามแนวทาง 3 ให้ก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-บึงกุ่มแทนทางด่วนตามข้อเสนอของ สนข. ที่ได้เคยเสนอให้กับกระทรวงคมนาคมไปตั้งแต่ปี 56

นายชาติชาย กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลนั้นเป็นเพียงแค่ข้อเสนอของทาง สนข. แต่ยังไม่ได้บรรจุในแผนแม่บทการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งต้องรอผลสรุปจาก สนข. และการพิจารณาของ รมว.คมนาคมก่อน หากมีข้อสรุปว่าจะดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแทนการก่อสร้างทางด่วนก็จะนำเรื่องบรรจุไปในแผนแม่บท

"รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นเพียงแผนรองรับในกรณีที่ทางด่วนไม่สามารถดำเนินการสร้างได้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เชื่อมต่อไปจนถึงบึงกุ่มโดยทาง รฟม. ยังไม่ได้ทำอะไรเนื่องจากว่าเป็นแค่แผนการดำเนินการที่จะสร้างแทนทางด่วนโดยที่ยังไม่ได้บรรจุในแผนแม่บทของโครงการรถไฟฟ้า ถ้าหาก สนข. คิดว่ามีประโยชน์สมควรทำก็ต้องนำบรรจุเข้าในแผนแม่บทต่อไป"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2015 7:52 am    Post subject: Reply with quote

ชงครม.'พรบ.-พรฎ.'รถไฟฟ้า 2 สาย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 13 มกราคม 2558 04:30

"ประยุทธ์"เป็นประธานถกครม.วันนี้ จับตาก.คมนาคมเสนอพรบ.-พรฎ.เกี่ยวกับรถไฟฟ้า 2 สาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้(13 ม.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ครั้งที่ 2/2558 โดยที่ประชุมจะมีการพิจารณาวาระที่หน่วยงานต่างๆเสนอเข้ามายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.)และที่ได้รับการบรรจุเป็นวาระประชุมครม.ที่น่าสนใจส่วนใหญ่เป็นวาระด้านเศรษฐกิจ อาทิ กระทรวงคมนาคม จะเสนอร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ... และขออนุมัติหลักเกณฑ์การคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง K โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ และนอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนและร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ รวม 4 ฉบับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2015 10:03 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงครม.อนุมัติสร้างรถไฟ
เดลินิวส์
วันจันทร์ 12 มกราคม 2558 เวลา 17:34 น.

คมนาคม ยันเดือนนี้ ชงครม. อนุมัติสร้าง รถไฟฟ้า ส้ม เขียว ชมพู ได้แน่ ด้านสุวรรณภูมิ ดันสร้าง รันเวย์สำรอง + อาคารผู้โดยสารตะวันออก ได้ ก.พ.58

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งปี 58 ว่า โครงการที่จะประกวดราคาก่อสร้างแน่นอน คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องมารอที่กระทรวงคมนาคมแล้ว หลังจากนี้จะส่งให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคมพิจารณา และเสนอ ครม. อนุมัติภายในเดือนม.ค.นี้

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องให้คณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท. พิจารณาก่อนในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เมื่อผ่านบอร์ดแล้วจะส่งมาที่กระทรวงคมนาคม และเสนอให้ ครม. เห็นชอบภายในเดือนม.ค.นี้เช่นกัน ส่วนการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องรูปแบบการลงทุนคาดได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้

“มอเตอร์เวย์ที่พร้อมดำเนินการมากที่สุดในตอนนี้ คือ สายพัทยา-มาบตาพุด ของกรมทางหลวง เพราะได้รับการอนุมัติจาก ครม.ในเรื่องของค่าเวนคืนที่ดินแล้ว ส่วนเงินลงทุนก็ใช้จากกองทุนมอเตอร์เวย์มาดำเนินการ จึงสามารถเปิดประกวดราคาได้ทันที แต่ปัจจุบันก็ยังเงียบอยู่”

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย จะก่อสร้างเดือนมี.ค.นี้ ส่วนเส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น จะเสนอ ครม.ในเดือนม.ค.นี้ ก่อนเปิดประกวดราคาเดือนส.ค.นี้ ขณะที่เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ และเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ จะเสนอ ครม.ได้เดือนมี.ค.และก่อสร้างได้เดือนต.ค.นี้ หากทุกโครงการเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ จะทำให้ราคาลดต่ำกว่าราคาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดเงินได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากราคาวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆได้ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงด้วย

ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ขณะนี้กำลังหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เพื่อเร่งสรุปแผนลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ก่อนเสนอบอร์ดวันที่ 21 ม.ค.นี้ และเสนอ ครม.ในเดือนก.พ.โดยโครงการที่ทำได้ก่อน คือ การก่อสร้างรันเวย์สำรอง 2,900 เมตร และอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก ส่วนการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (อาคารแซทเทิลไลท์) จะทำในเดือนต่อไป

//-------------------

จับตาวาระครม.วันนี้: ′คมนาคม′เตรียมชงร่างพ.ร.บ.เวนคืนที่ดิน สร้าง′รถไฟฟ้าสายสีม่วง′
มติชน
วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 07:25:32 น.

เมื่อวันที่ 12 มกราคม รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 มกราคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมีวาระสำคัญ ดังนี้

กระทรวงคมนาคม เสนอร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ...

และขออนุมัติหลักเกณฑ์การคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ และนอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนและร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ รวม 4 ฉบับ
...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2015 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

'วิชาญ'นำทีมเข้าร้อง'ประยุทธ์' เปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสีชมพู
แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558, 12.06 น.

15 ม.ค. 58 เมื่อเวลา10.30น. ที่ศูนย์บริการประชาชน นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตส.ส. พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานมูลนิธิคนรักเมืองมีน นำอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทยฝั่งตะวันออกของกทม. อาทิ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอขา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. ผ่านศูนย์บริการประชาชน เพื่อขอให้พล.อ.ประยุทธ์สละเวลา 2 ชั่วโมงลงพื้นที่ดูสถานที่จริงและขอให้ทบทวนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในส่วนของสถานีที่ 29 ตลาดมีนบุรี ที่จะใช้เป็นสถานีปลายทางและเป็นสถานีซ่อมบำรุงโดยเสนอให้เปลี่ยนเส้นทางไปยังถนนสุวินทวงศ์ที่มีประชาชนอาศัยหนาแน่นกว่าในตลาดมีนบุรี เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาว เพราะปัจจุบันถนนสุวินทวงศ์อยู่ในระหว่างการปรับปรุงให้เป็นถนน8ช่องจราจรผ่านไปเขตหนองจอก และต่อไปยังจ.ฉะเชิงเทรา และอยู่ใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ


วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558, 12.06 น.
tags : สายสีชมพู, รถไฟฟ้า, วิชาญ


15 ม.ค. 58 เมื่อเวลา10.30น. ที่ศูนย์บริการประชาชน นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตส.ส. พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานมูลนิธิคนรักเมืองมีน นำอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทยฝั่งตะวันออกของกทม. อาทิ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอขา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. ผ่านศูนย์บริการประชาชน เพื่อขอให้พล.อ.ประยุทธ์สละเวลา 2 ชั่วโมงลงพื้นที่ดูสถานที่จริงและขอให้ทบทวนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในส่วนของสถานีที่ 29 ตลาดมีนบุรี ที่จะใช้เป็นสถานีปลายทางและเป็นสถานีซ่อมบำรุงโดยเสนอให้เปลี่ยนเส้นทางไปยังถนนสุวินทวงศ์ที่มีประชาชนอาศัยหนาแน่นกว่าในตลาดมีนบุรี เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาว เพราะปัจจุบันถนนสุวินทวงศ์อยู่ในระหว่างการปรับปรุงให้เป็นถนน8ช่องจราจรผ่านไปเขตหนองจอก และต่อไปยังจ.ฉะเชิงเทรา และอยู่ใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้นายวิชาญได้อ้างอิงว่ามีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากสวนดุสิตโพลล์ ว่ามีประชาชนในพื้นที่ 82.35% ต้องการให้เส้นทางดังกล่าวออกไปแนวถนนสุวินทวงศ์ ส่วนเส้นทางถนนสีหบุรานุกิจ หรือตลาดมีนบุรีเห็นด้วย 24.54% ซึ่งตนเคยทำหนังสือชี้แจงรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและคณะกรรมาธิการฯแล้วก็มีความเห็นเช่นเดียวกับตน เพราะจะทำให้เศรษฐกิจย่านตะวันออกของ กทม.ดีขึ้น
//------------------


อดีตส.ส.กทม.เพื่อไทยยื่นหนังสือทบทวนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู
Written by: กอง บก.ข่าวการเมือง
การเมือง
สำนักข่าวไทย
วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 11:12 AM

15 ม.ค.- อดีต สส.กทม.เพื่อไทย ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีทบทวนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีที่ 29 ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวินทวงศ์ แทนตลาดมีนบุรี

นายวิชาญ มีนชัยนันท์ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ และนายพลภูมิ วิวัติภูมิประเทศ อดีต ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เดินทางยื่นหนังสือที่ศูนย์บริการประชาชน ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนปรับเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีชมพูเฉพาะสถานีที่ 29 เพื่อให้เลี้ยวซ้ายจากถนนรามอินทรา ไปยังถนนสุวินทวงศ์ ซึ่งผลสำรวจดุสิตโพลล์พบว่าประชาชนในพื้นที่ร้อยละ 82 ต้องการให้ใช้เส้นทางนี้แทน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นมากกว่าตลาดมีนบุรีที่รถไฟฟ้าจะเข้าไปจอด การเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวินทวงศ์ จะเป็นการลงทุนในระยะยาว เพิ่มความคุ้มค่าในการก่อสร้าง ลดปัญหาจราจรและอนาคตรถไฟสายนี้จะสามารถเชื่อมต่อไปยังเขตหนองจอกและจังหวัดฉะเชิงเทราได้ง่ายขึ้น ประกอบกับในพื้นที่ของสุวินทวงศ์ มีประชาชนอยู่จำนวนมากที่ต้องการใช้รถไฟฟ้า จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีลงไปดูพื้นที่ก่อนตัดสินใจ เพื่อความคุ้มค่าของงบประมาณ อย่างไรก็ตามในการยื่นหนังสือครั้งนี้นายวิชา ได้นำผลสำรวจการศึกษาและรายชื่อประชาชนที่ต้องการให้รถไฟฟ้าไปพื้นที่สุวินทวงศ์มาประกอบคำร้องด้วย.-
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2015 2:08 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม
โครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับระยะทาง 9 กิโลเมตร สถานียกระดับ 7 สถานี และโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบใต้ดินระยะทาง 30.6 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 23 สถานี


โครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟตลิ่งชัน จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยง ใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดงแล้วเลี้ยว ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี้ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี


สิ่งที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกันคือ รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม จะใช้เส้นทางเดิม คือ ดินแดง-ประชาสงเคราะห์-ศูนย์วัฒนธรรม


ข้อสรุปตามข่าว คือ รฟม.ออกมายืนยันว่าจะใช้เส้นทางเดิม แต่แกนนำผู้คัดค้านของชุมชนประชาสงเคราะห์ กล่าวว่า รฟม.ยืนยันต่อที่ประชุมรับฟังความเห็นครั้งสุดท้าย เดือน พ.ย.2557 ว่าจะใช้เส้นทางพระราม 9 แทนไปแล้ว

นอกจากนั้น อีกสถานีหนึ่งที่ย้ายตำแหน่งสถานี คือ สถานีราชปรารภ - ย้ายจากหน้าอินทราสแควร์ไปบริเวณ ซอยรางน้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2015 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

BMCL ยินยันจะให้ใช้ One Line One Operator
http://www.now26.tv/view/32341/%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.html

//----------------------------

ชงคมนาคมรื้อวิธีประมูลรถไฟฟ้า
โดย : รังสรรค์ อรัญมิตร
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 16 มกราคม 2558 13:30

(สัมภาษณ์) ชงคมนาคมรื้อวิธีประมูลรถไฟฟ้า "บีเอ็มซีแอล" แนะสัญญาเดียวทั้งโครงการ

รัฐบาลกำลังเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑลตามแผนแม่บทคมนาคมและขนส่ง แต่หลายปีที่ผ่านมา ที่ไทยเริ่มสร้างรถไฟฟ้าทำได้เพียง 2 สายระยะแค่ 56 กม.เท่านั้น บีเอ็มซีแอล หรือบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพในฐานะผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าและเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่พร้อมในงานโยธา มองจุดอ่อนของการดำเนินการโครงการและข้อเสนอแนะไว้อย่างน่าสนใจ

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในแผนแม่บทดำเนินการล่าช้าไปกว่าแผนหลายโครงการ และหากย้อนมองดูโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศ ที่ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระยะทาง 36.92 กม.และโครงการรถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการในปัจจุบันระยะทาง 20 กม. รวม 2 สายระยะทางกว่า 56.92 กม.และหากรวมกับสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กม.ที่กำหนดเปิดในปี 2559 รวมระยะทางทั้งสิ้น 79.92 กม.แต่ใช้ระยะเวลาถึง 17 ปีในการก่อสร้างถือว่าใช้เวลานานมาก

"เราเห็นว่ากระทรวงคมนาคมน่าจะปรับรูปแบบวิธีการประมูลโครงการรถไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ในการดำเนินการตามโครงการและเป็นไปตามแผนงาน โดยเปลี่ยนมาเป็นการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียว ที่มีศักยภาพพร้อมดำเนินโครงการทั้งระบบ ตั้งแต่งานออกแบบก่อสร้าง งานโยธาก่อสร้าง ตลอดจนการให้บริการเดินรถ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินโครงการ"

ทั้งนี้รูปแบบการประมูลที่ผ่านมาแต่ละโครงการ จะถูกแบ่งเป็นหลายสัญญาด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อจำกัดและความล่าช้า และไม่เกิดความต่อเนื่องของการเปิดบริการเดินรถ

“โครงการบีทีเอสที่ผ่านมาเป็นผู้ดำเนินโครงการเพียงบริษัทเดียว ตั้งแต่ออกแบบ ก่อสร้างงานโยธา การให้บริการเดินรถ ขณะที่สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง ทำเป็นท่อนๆ มันทำให้งานโยธาบางช่วงหยุดชะงัก จึงเห็นว่าถ้าบริษัทใดที่เขาเก่งจริงๆ แล้วสามารถบริหารทั้งโครงการได้ แล้วทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผน ก็ต้องปรับรูปแบบให้เป็นบริษัทเดียวบริหารทั้งโครงการ”

ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทที่มีศักยภาพและเชี่ยวชาญ งานก่อสร้างโยธาโครงการรถไฟฟ้าหลายบริษัท ที่พร้อมประมูลงานและดำเนินโครงการทั้งระบบแต่เพียงรายเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันกันสูงขึ้นและมีการพัฒนาบริษัทตัวเองให้มีศักยภาพ เพื่อการแข่งขันและรัฐบาลก็จะได้บริษัทผู้ที่มีศักยภาพเข้ามาบริหารโครงการ โดยรัฐเพียงเป็นผู้ออกนโยบายพร้อมกับระบุความต้องการของแต่ละโครงการ

นายสมบัติ ยังกล่าวถึงแผนงานของบริษัทปี 2558 ว่า บริษัทเตรียมพร้อมเข้าประมูลโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ที่รัฐบาลจะจัดประกวดราคาในปีนี้ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงตลิ่งชัน - มีนบุรี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)

ส่วนสายสีม่วงที่ได้รับสัญญาเดินรถแล้ว และวางแผนจะเปิดให้บริการเดินรถอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค. 2559 ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิม 4 เดือนนั้น ทางบริษัทต้องดำเนินการกำกับดูแลตามขั้นตอนจากนี้อย่างจริงจังเพื่อให้สามารถเปิดได้ตามแผน

สำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (ช่วงหัวลำโพง-บางแค) (ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) ทางกระทรวงคมนาคมได้ประกาศให้เกิดการเชื่อมต่อเดินรถอย่างต่อเนื่อง จึงเชื่อมั่นว่าจะได้รับให้เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ขณะนี้รอเพียงข้อสรุปของคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน)ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆ นี้

ส่วนสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน จะมีการพัฒนาขยายพื้นที่ในเชิงพาณิชย์เพิ่ม โดยเฉพาะพื้นที่โฆษณา โดยการเติบโตของผู้โดยสารประมาณ 4-5%เป็นปกติเหมือนที่ผ่านมา และหากสายสีม่วงเปิดเดินรถปี 2559 จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนเที่ยวต่อวัน ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนประมาณ 1 แสนเที่ยวต่อวัน รวมกับที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็น 3 แสนเที่ยวต่อวันก็จะช่วยให้ผู้โดยสารเติบโตขึ้น 3-4% ทำให้เปลี่ยนจากฐานะขาดทุนเป็นกำไรได้ในไตรมาส 4 ของปี 2559


Last edited by Wisarut on 16/01/2015 11:20 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2015 12:51 am    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านประชาสงเคราะห์ขอพบบอร์ดฯดันเปลี่ยนแนวสายสีส้ม
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 15 มกราคม 2558 เวลา 20:51 น.

รฟม.ออกพ.ร.บ.เวนคืนเพื่อโอนกรรมสิทธิที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงย่านนนทบุรีหลังก่อสร้างเสร็จชาวบ้านกว่า 50 รายไม่ยอมรับเงินหวั่นเกิดปัญหาตามมาที่หลัง ด้านสายสีส้มเตรียมเรียกชาวบ้านประชาสงเคราะห์หารือในที่ประชุมบอร์ด


นาย พีระยุทธสิงห์พัฒนากุลรองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย(รฟม.)(ฝ่ายปฏิบัติการ)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ(รฟม.)เปิดเผยว่าตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบให้ออกพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือช่วงบางใหญ่-บางซื่อไปเมื่อวันที่13ม.ค.58 ที่ผ่านมานั้นเนื่องจากที่ผ่านมาก่อนจะมีการดำเนินการก่อสร้างไปนั้นทางรฟม.ได้มีการออกพระราชกฤษฎีหา(พ.ร.ฏ.)เวนคืนไปแต่ยังพบว่าประชาชนกว่า50รายยังไม่ได้เข้ามารับเงินและกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของประชาชนอยู่ถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินการก่อสร้างไปและจ่ายเงินไปแล้วก็ตามเพราะประชาชนทั้ง50รายยังไม่มารับเงินซึ่งหากไม่ออกพ.ร.บ.เวนคืนฯรฟม.ก็จะไม่มีสิทธิในอำนาจที่ดิน ดังนั้นรฟม.จึงจำเป็นต้องออกพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่จะใช้อำนาจพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของรฟม.ซึ่งในการออกพ.ร.บ.นั้นเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาที่หลังอย่างไรก็ตามสำหรับหลักการออกพ.ร.บ.เวนคืนถือว่าเป็นขั้นตอนตามกฎหมายซึ่งหากมีการเวนคืนแล้วจะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์เพื่อให้รฟม.สามารถนำที่ดินไปพัฒนาต่อได้ ทั้งนี้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อซึ่งงานก่อสร้างได้ดำเนินไปแล้วถึง 96เปอร์เซ็นต์เหลือเพียงการเก็บรายละเอียดงานบางส่วนเท่านั้นดังนั้นบอร์ดจึงได้กำหนดการเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่12ส.ค.ปี 59ซึ่งถือเป็นวันมหามงคลโดยจะเร็วขึ้นกำหนดเดิมที่จะเปิดการเดินรถอย่างเป็นทางการในปลายปี59

นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า สำหรับกรณีสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-วัฒนธรรมซึ่งบอร์ดได้พิจารณาว่าจะใช้แนวเส้นทางเดิมที่ตัดผ่านถนนประชาสงเคราะห์จะต้องมีการหารือในหารประชุมบอร์ดในวันพรุ่งนี้(16ม.ค.58)อีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนทั้งนี้ในการประชุมบอร์ดนั้นจะมีการเชิญตัวแทนจากชุมชนประชาสงเคราะห์เข้ามาร่วมหารือด้วยเพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาข้อสรุปร่วมกันอย่างไรก็ตามหากในที่ประชุมบอร์ดเห็นว่าจะต้องดำเนินการก่อสร้างในแนวเส้นทาถนนประชาสงเคราะห์รฟม.ก็จะต้องออกพ.ร.ฎเวนคืนที่ดินตามขั้นตอน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2015 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งฟ้องศาลปกครองบีบเปลี่ยนแนวสายสีส้ม
เดลินิวส์
วันศุกร์ 16 มกราคม 2558 เวลา 16:40 น.

ชาวบ้านย่านประชาสงเคราะห์ยืนกรานเสนอบอร์ดฟรม.เปลี่ยนแนวรถไฟสายสีส้มโวยหากยังทำแนวเดิมเตรียมยืนศาลปกครองและเข้าพบนายก


เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2558 ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงศพร สุดบรรทัด ที่ปรึกษาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม.ถึงกรณีแนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ว่า ในวันนี้ประชาชนได้มาชี้แจงถึงกรณีที่ต้องการให้เปลี่ยนเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มไปตามถนนพระราม 9 เนื่องจากมีการศึกษาในเบื้องต้นประชาชนเห็นว่ามีความคุ้มค่าทางสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการก่อสร้าง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยกว่าแนวเส้นทางถนนประชาสงเคราะห์ และมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า นอกจากนี้การออกแบบการก่อสร้างตามแนวเส้นทางชุมชนประชาสงเคราะห์เป็นการออกแบบการก่อสร้างที่ไม่ถูกต้องเพราะจะต้องมีการออกแบบเพื่อหลบรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลบริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมโดยการไต่ระดับใต้ดินซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการออกมาชี้แจงความเห็นในครั้งนี้ถือว่าประชาชนกระทำตามสิทธิของชุมชนที่จะอนุรักษ์ชุมชนเก่าไว้เพื่อเป็นการปกป้องชุมชนจากความเจริญของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเข้ามาไล่คนเก่าออกไปโดยถือว่าการเดินหน้าก่อสร้างโครงการตามที่บอร์ดพิจารณาไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยในที่ประชุมบอร์ดมีความเข้าใจและคาดว่าผลจะออกมาในแง่ที่ประชาชนรับได้

ด้านนายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว กล่าวว่า การย้ายแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มไปตามแนวถนนพระราม 9 นั้นถือว่ามีผลกระทบต่อประชาชนน้อยกว่าแนวเส้นทางเดิม ทั้งนี้ภายหลังจากการเจรจาไปแล้วหากบอร์ดรฟม.ยังยืนยันที่จะใช้แนวถนนประชาสงเคราะห์ประชาชนในบริเวณนั้นที่ได้รับผลกระทบจะต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่เพื่อต่อต้าน และให้บอร์ดกลับไปทบทวนมติที่ออกมาไม่ว่าจะเป็นการยื่นเรื่องไปยังศาลปกครอง หรือการรวมตัวกับเพื่อไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพ่ื่อปกป้องชุมชน.
//--------------------

รฟม.ปรับแนวสร้างสายสีส้ม
ไทยโพสต์
เสาร์ที่ 17 มกราคม 2558

๐ บอร์ด รฟม.มีมติปรับแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสีส้ม เบี่ยงมาเส้นพระราม 9 หลังประชาชนคัดค้านหนัก แจงช่วยลดค่าใช้จ่าย 500 ล้าน
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับแนวเส้นก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี โดยเลือกแนวเส้นทางช่วงตัดผ่านถนนประชาสงเคราะห์ มาใช้แนวเบี่ยงมาที่ถนนพระราม 9 แทน หลังจากที่ปรึกษาได้เสนอแนะว่าควรใช้แนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายทั้งโครงการได้ 500 ล้านบาท หลังจากนี้จะเสนอการปรับเปลี่ยนแบบไปที่กระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมานั้นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงที่ได้รับการคัดค้านจนนำไปสู่การแก้ไขครั้งนี้ เดิมแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีรางน้ำ ถนนราชปรารภ จะตัดข้ามเข้าถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาผ่าน กทม. 2 เข้าถนนประชาสงเคราะห์ ตัดออกถนนรัชดาภิเษกบริเวณห้างเอสพลานาด เพื่อไปเชื่อมกับสถานีศูนย์วัฒนธรรม จากนั้นเบี่ยงเข้าถนนวัฒนธรรม เมื่อถึงแยกผังเมืองจะเลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 9 วิ่งไปตามแนวเส้นทางปกติ โดยมี 2 สถานี ได้แก่ สถานีดินแดง บริเวณ กทม. 2 และสถานีประชาสงเคราะห์
“เส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มไปตามถนนพระราม 9 ที่ปรึกษาเห็นการคัดค้านมีน้อย จากการลงพื้นที่ไปสำรวจประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนเส้นทางใหม่นั้นจะมีระยะทางสั้นลง หลังจากนี้การทำโครงการครั้งต่อไปจะต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ เรื่องนี้บอร์ดมีการสรุปเป็นเอกฉันท์ เมื่อได้แนวทางนี้เราจะรีบเสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคม ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อโครงการ ยืนยันเราใช้ประโยนช์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง” พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว.

//----------------------

บอร์ดรฟม.ยอมปรับแนวรถไฟฟ้าสีส้มเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
16 มกราคม 2558 18:54 น.


บอร์ดรฟม.ยอมปรับแนวรถไฟฟ้าสีส้มเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์
ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)



บอร์ดรฟม.จำนนชาวบ้านประชาสงเคราะห์ ยอมปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยึดตามถนนพระราม 9 ลดค่าเวลคืน ผลกระทบชุมชน ค่าก่อสร้างรวมลดลงถึง 500 ล้านบาท ด้านชาวบ้านยันไม่ปรับแนว ร้องศาลปกครองและยื่น"ประยุทธ์"พิจารณา




วันนี้(16 ม.ค.) คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานได้หารือถึงแนวทางการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม. วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท โดยมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเข้าร่วมหารือ เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา บอร์ดรฟม.มีมติไม่เห็นด้วยกับการปรับแนวเส้นทางพื่อเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปใช้ถนนพระราม9 แทน

โดยนายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก3 แกนนำชุมชนประชาสงเคราะห์กล่าวว่า หากบอร์ดรฟม.ยังคงยืนยันตามว่าจะก่อสร้างตามแนวทางที่ 1 ซึ่งผ่านชุมชนจำนวนมาก ชาวบ้านจะประชุมเพื่อขอมติของชุมชนในเจตดินแดงที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ เพื่อในการขับเคลื่อนในส่วนของภาคประชาชนต่อไป เช่น ยื่นศาลปกครองและนำมวลชนเข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณไปถึงบอร์เ รฟม.ได้เข้าใจและทบทวนมติ โดยเบื้องต้นในวันที่ 18 มกราคมนี้ จะนัดประชุมหารือกันและแจ้งความคืบหน้าให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับทราบ

ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม.ได้หารือกับชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 เพื่อหาทางออกและลดผลกระทบ ช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง โดย รฟม.ได้มีการศึกษาปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่ โดยมีเส้นทางเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง เข้าสู่ถนนพระราม 9 และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม. ซึ่งจะลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือนลง ส่งผลประหยัดงบประมาณเวนคืนได้ 500 ล้านบาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย

ผ.ศ.พงศ์พร สุดบรรทัด พยานผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า รฟม.ได้เชิญตัวแทนชุมชนมาชี้แจงต่อที่ประชุมบอร์ดกรณีที่ขอให้ดำเนินการก่อสร้างในทางเลือกที่ 2 เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่า ต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและทางกายภาพต่ำกว่าและมีประสิทธิภาพกว่าแนวที่ผ่านชุมชน ซึ่งการเคลื่อนไหวของชาวบ้านเป็นไปตามข้อเท็จจริงและสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนที่พึงกระทำได้ เพื่อรักษาชุมชนเก่า โดยชาวบ้านเห็นว่าการออกแบบแนวเส้นทางเดิมที่เลี้ยวไปเลี้ยวมาและผ่านชุมชนเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะต้องมีการเปิดหน้าดิน เพื่อผ่านสถานีศูนย์วัฒนธรรมซึ่งต้องขุดลงใต้ดินลึกกว่า 60 เมตร ซึ่งค่าก่อสร้างจะสูงมาก ในขณะที่ใช้แนวไปทางถนนพระราม 9 จะลดผลกระทบได้มาก

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดรฟม.กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.วันนี้ (16 ม.ค.) มีมติให้รฟม.ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามทางเลือกที่ 2 โดยขยับแนวมาใช้ถนนพระราม9 แทนการตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ หลังจาก
ขอให้ชาวบ้านมาหารือกัน ใช้เวลา2 ชม. ชาวบ้านยืนยันไม่เห็นด้วยกับแนวเดิมและบอกถึงข้อดีข้อเสีย ซึ่งบอร์ดพอใจและมีมติออกมา โดยแนวพระราม 9 จะไม่มีปัญหาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม และไม่มีเสียงคัดค้านและยังส่งผลให้มูลค่าโครงการทั้งค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เพราะเส้นทางจะสั้นกว่า แนวเดิม

"เราไม่อยากให้มีความเดือดร้อนต่อชุมชน และอยากให้ชุมชนมีส่วนร่วม ความติ้งการของสังคมเป็นเหตุผลที่ต้องนำมาพิจารณาในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า เมื่อไม่มีการคัดค้านโครงการจะเดินหน้าได้ตามแผน"พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 106, 107, 108 ... 277, 278, 279  Next
Page 107 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©