RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262520
ทั้งหมด:13573800
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 111, 112, 113 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2015 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"ลั่นยิ่งถูกว่ายิ่งทำมากกว่าเดิม แย้มสั่งผลิตรถไฟฟ้าเองไม่เห็นยาก


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
17 เมษายน 2558 11:27 น. (แก้ไขล่าสุด 17 เมษายน 2558 11:35 น.)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานแถลงผลงานรัฐบาล 6 เดือน ถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ชี้แจงถึงผลงานรัฐบาลในด้านต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับนโยบายที่แถลงทั้ง 11 ด้าน ส่วนในรายละเอียดนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สอบถามจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

โดยในตอนท้าย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าหลายเรื่องที่ตนพูดไปก็ซ้ำแล้วซ้ำอีก เดี๋ยวค่ำนี้ก็เจอกันอีกแล้ว อดทนกันหน่อย หลายคนฟังแต่ตอนแรกแล้วเบื่อแล้วก็ไป แล้วก็บอกว่าผมไม่ได้พูด อุตส่าห์นำเสนอในทีวีให้เห็นในอนาคตว่าประเทศไทยจะดีขนาดไหน นี่ผมสั่งให้ผลิตรถไฟฟ้าประเทศไทยเองให้ได้ไม่เห็นยากเลย วันหน้าเราอาจต้องใช้รถเมล์ไฟฟ้าเป็นอนาคตของเราหลายอย่างที่วิจัยเป็นต้นแบบตลอด ไม่มีกิ่งก้านสาขามาซักทีต่อไปนี้การวิจัยอะไรต้องอยู่ในกรอบที่กำหนดให้วิจัยพัฒนา และให้ทุนทำออกมาให้สำเร็จ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยิ่งว่าผม ผมยิ่งทำมากกว่าเดิม เข้มงวดมากขึ้นในเรื่องกฎหมาย อะไรที่ต้องรีฟอร์มใหม่ทั้งหมด ยิ่งว่าผมยิ่งสู้ นี่พักผ่อนมา 5 วันแล้วพร้อมสู้ทุกอย่าง

//-------------

เร่งเชื่อมโยง'รัก-เรือ-ราง'ประเดิม3ท่าเรือเจ้าพระยา
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 15 เมษายน 2015 เวลา 09:45 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,044 วันที่ 16 - 18 เมษายน พ.ศ. 2558

"คมนาคม" เร่งติดตามระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้า-ถนน-เรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ด้านเอกชนสร้างท่าเรือปิด เน้นส่งเสริมเทคโนโลยีสอดรับระบบตั๋วร่วม คาดส.ค.ปี 59 แล้วเสร็จ ร.ฟ.ท.เร่งปรับโฉมสถานีท่าเรือรามคำแหงให้รองรับใช้บริการแอร์พอร์ตลิงค์ได้มากขึ้น
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ได้ติดตามความคืบหน้าการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน บริเวณสถานีบางซ่อน ซึ่งจะต้องทำทางเชื่อมต่อระหว่างกันบนพื้นที่ประมาณ 200 ตร.ม. พร้อมกับออกแบบรายละเอียดเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยเบื้องต้นจะทำ Inclined platform lift (ลิฟต์เกาะกับบันได) จำนวน 2 ตัวติดตั้งที่บันไดทางเชื่อมต่อ และบันไดทางขึ้นลงให้คนพิการสามารถดึงรถเข็นขึ้น-ลงบันไดได้อย่างสะดวกขึ้น
นอกจากนั้นในส่วนของกรมเจ้าท่าจะอยู่ระหว่างปรับปรุงท่าเรือบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 17 ท่าเรือ(จากทั้งหมด 35 ท่าเรือ) วงเงินรวมทั้งสิ้น 70 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้จำนวน 3 แห่งคือ ท่าเรือพรานนก ราชวงศ์ และสี่พระยา ส่วนที่เหลือจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2559 ขณะเดียวกันทางภาคเอกชนที่ต้องการพัฒนาท่าเรือปิดจำนวน 19 ท่าเรือจะเริ่มดำเนินการพัฒนาท่าเรือ 3 แห่งก่อนคือ ท่าเรือนนทบุรี สาทร และท่าพระปิ่นเกล้า คาดว่าจะแล้วเสร็จสิงหาคม 2559
"จะมีการก่อสร้างเส้นทางจักรยานเชื่อมโยงจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมายังสถานีลาดกระบังของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ภายใต้งบ 50 ล้านบาท ขณะนี้ท่าเรือรามคำแหง ในคลองแสนแสบที่จะเชื่อมโยงกับแอร์พอร์ตลิงค์ได้ก่อสร้างท่าแล้วเสร็จพร้อมให้บริการ ในส่วนการขนส่งทางน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา กรมเจ้าท่าได้ลงนามสัญญาไปแล้วทั้ง 17 ท่า เช่นเดียวกับท่าเรือทันสมัยที่เอกชนจะเข้าไปดำเนินการขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอกรมธนารักษ์พิจารณาจัดเก็บค่าใช้พื้นที่ โดยเอกชนจะต่อเรือ 6 ลำมาให้บริการในสิงหาคม 2559 นี้ที่จะสอดรับการการเปิดใช้ระบบตั๋วร่วมพอดี"


Last edited by Wisarut on 17/04/2015 7:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2015 7:58 pm    Post subject: Reply with quote

รับเหมาแบ่งเค้กรถไฟฟ้า 3 ยักษ์‘ช.การช่าง/อิตาเลียนไทย/ซิโน-ไทย’ลั่นพร้อมสุดขีด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1 - BIG STORIES
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 14 เมษายน 2015 เวลา 14:59 น.
พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,044 วันที่ 16 - 18 เมษายน พ.ศ. 2558

เปรมชัย กรรณสูตเปรมชัย กรรณสูต ยักษ์รับเหมาจ้องตาเป็นมัน เค้กรถไฟฟ้าสายใหม่สารพัดสี หลังครม.ประยุทธ์กดปุ่มเร่งเดินหน้า "ช.การช่าง/อิตาเลียนไทย/ซิโน-ไทย" เชื่อทุกรายรับกันถ้วนหน้า ปลัดคมนาคมแย้ม 1-2 เดือนได้ลุ้นประมูลสายส้ม แถมสายสีแดง และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยาย พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง และรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่นที่จ่อครม. ด้านรฟม.เผยเตรียมแบ่งงานก่อสร้างไว้พร้อมแล้ว
หลังจากที่ "ครม.ประยุทธ์" กดปุ่มเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์โครงข่ายระบบรางโดยเฉพาะรถไฟฟ้าหลากสีทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างบรรยากาศการลงทุนในประเทศ ทันทีที่รัฐบาลเร่งให้ทุกอย่างเดินหน้าเต็มที มีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าติดตาม เมื่อบรรดายักษ์รับเหมาระดับท็อปของวงการไม่ว่าจะเป็นช.การช่าง หรือบมจ.อิตาเลียนไทย"และซิโน-ไทย ถึงจะมีงานล้นทะลักหน้าตัก แต่ก็ยังหมายมั่นหวังชิงเค้กก้อนใหญ่นี้กันอย่างคึกคัก ค่อนข้างจะมั่นใจว่าจะคว้างานมาได้อย่างน้อย 25-30% ของโครงการใหม่ที่จะออกประมูลทั้งหมด
++"ไอทีดี"อั้นแค่ 1.5 แสนล้าน
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือไอทีดี กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเร็วๆนี้ถึงการประมูลงานโครงการใหญ่ที่คาดว่าปีนี้จะมีอีกหลายโครงการทยอยกันออกมาไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อาทิ สายสีส้ม ชมพู เหลือง โครงการมอเตอร์เวย์ และโครงการรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)อีก 5 สาย คาดจะมีงบประมาณร่วม 5 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทมีกำลังรับงานได้เพียง 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น ที่สามารถทำงานได้
นอกจากนี้นายเปรมชัยยังระบุอีกว่า ถ้าเกินกว่านี้ไม่สามารถรับงานได้ หรือเท่ากับ 2 หรือ 3 สัญญาเท่านั้น เพราะแต่ละโครงการมีมูลค่าสูงมาก เพราะต้องเก็บความสามารถเอาไว้รองรับงานอย่างอื่น โดยเฉพาะโครงการรถไฟไทย-จีน มูลค่าร่วม 4 แสนล้านบาท ที่คาดว่าสัญญาแรกจะมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท ที่น่าจะทำได้ก่อน และจำเป็นต้องใช้บริษัทของคนไทยมาเป็นซับคอนแทร็กซ์ ในการก่อสร้าง ส่วนจีนคงจะเป็นฝ่ายควบคุมหลักเท่านั้น และมั่นใจว่ารถไฟความเร็ว 180กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคายย่อมเกิดได้แน่นอนภายในปีนี้
อย่างไรก็ดีในส่วนของความร่วมมือรถไฟไทย-จีนนั้นได้มีหารือผ่าน 2 รัฐวิสาหกิจของจีนทั้ง คือซีอาร์อีซีและซีอาร์ซีซี ส่วนความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเราก็สนใจแต่คาดว่าจะใช้เวลาอีก 3ปี โดยหวังงานยาก ๆ และเชื่อว่าคนเก่งทางด้านไหนก็คงจะประมูลงานด้านนั้น
สำหรับเงินลงทุนที่จะต้องใช้ในการขยายงานนั้น นายเปรมชัยกล่าวว่างานประมูลรัฐไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพราะสามารถเบิกเงินล่วงหน้า 15 % เป็นเงินทุนอยู่แล้ว ด้านปัญหาแรงงานนั้น คงจะต้องใช้แรงงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ ไอทีดีใช้แรงงานจากเมียนมาร์ ซึ่งเวลานี้ประเทศไทยเปิดทางให้ใช้แรงงานต่างชาติจาก ลาว กัมพูชาและเมียนมาร์ ส่วนแรงงานบังกลาเทศนั้นค่าแรงแพงกว่าไทย
++มุ่งหางานกำไรเพิ่ม
ส่วนแผนการทำกำไรนั้น นายเปรมชัย ชี้แจงว่าเป็นความตั้งใจของผู้บริหารที่จะแสวงหากำไรเพิ่มมากขึ้นและเห็นว่างานราชการได้กำไรน้อย ส่วนงานภาคเอกชนก็จะถูกต่อรองมาก แต่งานราชการจำเป็นต้องทำเพราะเป็นงานส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้มีเงินหมุนเวียนมาเลี้ยงพนักงาน และองค์กร
"เรามั่นใจว่าระยะยาวอัตราผลตอบแทนกำไรจะมากกว่า 1 % โดยในปี 2557 บริษัทมีรายได้ 4.9 หมื่นล้านบาท ปี 2558 คาดว่าจะมีรายได้ 5-6 หมื่นล้าน โดยมีงานที่รอเซ็นสัญญาอีก 1.7 แสนล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้จาก 8 โครงการ คาดจะมีแบ็กล็อกในมือ 3.5 แสนล้านบาท"
101++ช.การช่างตั้งเป้าได้งานอีก25%
นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK กล่าวว่าปีนี้ ช.การช่างยังใช้งบลงทุนตามปกติประมาณ10-15% ของปริมาณงานในมือหรือแบ็กล็อกที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9.3 หมื่นล้านบาท และยังคาดว่าจะสามารถรับงานอย่างต่อเนื่องกันไปโดยมีเป้าหมายที่จะรับงานได้ปีนี้อีกราว 25% ของปริมาณการประมูลงานของรัฐบาล
"การร่วมประมูลเดินรถสายสีชมพูและสายสีเหลืองก่อนที่จะก่อสร้างนั้นเราไม่พลาดร่วมแข่งขันอย่างแน่นอนเนื่องจากมีบริษัทลูกอย่างบีเอ็มซีแอลพร้อมดำเนินการอีกทั้งยังมีพันธมิตรจากอีกหลายประเทศพร้อมให้การสนับสนุน เท่านั้นยังไม่พออุปกรณ์และบุคลากรก่อสร้างยังสามารถรับงานได้อีกมาก เช่นเดียวกับความพร้อมด้านการร่วมลงทุนนั้นยังเห็นว่าเป็นสิ่งที่รัฐควรเร่งดำเนินการ ส่วนภาคเอกชนมีความพร้อมอย่างเต็มที่โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำของไทย ขอเพียงรัฐบาลแสดงความชัดเจนแต่ละโครงการเท่านั้น เช่น การเดินรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น"
++STECเชื่อแบ็กล็อกปีนี้ 5 หมื่นล.
เช่นเดียวกับนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC ที่กล่าวยืนยันว่า"เตรียมพร้อมประมูลอยู่แล้วทุกเส้นทาง และอยากให้มีโครงการออกมาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ล่าสุดสายสีเขียวทางซิโน-ไทยก็ได้มา 2 สัญญา ส่วนอีก 5-6 เส้นทางคือสายสีส้ม สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีแดงมิสซิ่งลิงค์และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายนั้นที่คาดว่าจะเปิดประมูลในปีนี้เราก็พร้อมดำเนินการ โดยซิโน-ไทยยังมีการเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง มีการแสวงหาเครื่องมือตลอดจนอุปกรณ์ก่อสร้างพร้อมทั้งหาวิธีการในการก่อสร้างใหม่เพื่อนำมาช่วยลดการใช้แรงงานและเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย
สำหรับความเห็นด้านการร่วมลงทุนนั้นพร้อมร่วมงาน ทั้งนี้ รัฐควรเร่งดำเนินการ เพราะภาคเอกชนเตรียมการมานานแล้ว โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำของไทย ขอเพียงรัฐบาลเร่งผลักดันออกมาโดยเร็วเท่านั้น เช่น ร่วมการลงทุนเดินรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทางคือ บางใหญ่-กาญจนบุรี และบางปะอิน-นครราชสีมา หรือโครงการท่าเรือน้ำลึก 3-4 แห่งของกรมเจ้าท่า เป็นต้น
"รายได้ในปีนี้คาดการณ์ว่าจะทำได้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนแบ็กล็อกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถรับงานได้เรื่อยๆแต่ปีนี้ตั้งเป้าที่จะได้งานไว้ 3 หมื่นล้านบาท ล่าสุดได้สายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 2 สัญญา กว่า 6 พันล้านบาท"
++ลุ้นสายสีส้มเปิดประมูล1-2เดือนนี้
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟ-รถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆที่อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันว่า เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือกรณีที่จะนำรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรีเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)พิจารณากรณีที่ได้ปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางจากเดิมกำหนดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ย่านดินแดง-ห้วยขวางนั้น แต่เนื่องจากประชาชนต่อต้านพร้อมเสนอให้ปรับเปลี่ยนแนวมาเป็นเชื่อมโยงแยกพระราม 9 แทนเพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชนดังกล่าว
"เบื้องต้นนี้มีความเป็นไปได้อย่างมากที่สายสีส้มจะสามารถเปิดประมูลได้ใน 1-2 เดือนนี้ซึ่งอาจต่อเนื่องไปกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หรือเรียกว่าช่วงมิสซิ่งลิงค์ ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร มูลค่า 3.3 หมื่นล้านบาท และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 2.8 หมื่นล้านบาทที่นำเสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว"
++สีชมพู-สีเหลืองปลายปีชัด
ด้านนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวถึงความคืบหน้าสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ที่จะใช้รูปแบบการเดินรถแบบโมโนเรลนั้น ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการเร่งสรุปรูปแบบการร่วมลงทุน PPPs NetCross ของระบบเดินรถและซีวิลเวิร์กให้สอดคล้องกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าว
"เรื่องนี้เสนอกระทรวงคมนาคมมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้ให้กลับไปพิจารณาทบทวนรูปแบบการเดินรถ จากนั้นจึงนำไปสู่การออกแบบก่อสร้าง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติดำเนินโครงการรูปแบบการร่วมลงทุน PPPs NetCross กับระบบเดินรถและซีวิลเวิร์ก ล่าสุดบอร์ดรฟม.ได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา คาดว่าในอีก 2 สัปดาห์จะเร่งนำเสนอไปยังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตร.) พิจารณา ก่อนนำเสนอครม.อนุมัติให้ดำเนินการโดยเร็วต่อไป ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้จะชัดเจนด้านการเปิดประมูลเพื่อหาผู้รับการดำเนินการด้านระบบเดินรถและการก่อสร้างงานโยธาควบคู่กันไป"
++ซอยยิบสัญญาก่อสร้าง
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรฟม. กล่าวว่า กรณีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรี จะแบ่งสัญญาการก่อสร้างทั้งใต้ดินและยกระดับ โดยใต้ดินอาจแบ่งออกเป็น 1-2 สัญญารูปแบบดีไซน์แอนด์บิลต์ ส่วนยกระดับประมาณ 1-2 สัญญา นอกจากนั้นยังมีสัญญางานระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ และระบบราง 1-2 สัญญา
"ล่าสุดรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันออก) ช่วงพระราม 9-รามคำแหง-มีนบุรีได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมและสนข.แล้ว เพื่อนำเสนอเข้าสู่การเห็นชอบของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ต่อไป"
ด้านนายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างร.ฟ.ท.กล่าวว่า กรณีสายสีแดงอาจแบ่งออกเป็น 3-4 สัญญารวมงานระบบด้วย ส่วนแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายจะแบ่งออกเป็น 2-3สัญญาคืองานโยธาช่วงพญาไท-บางซื่อ 1 สัญญา ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 1 สัญญา และงานระบบอีก 1สัญญา นอกจากนั้นยังมีโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น อยู่อีก 1 เส้นทาง วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาทที่นำเสนอครม.ไปแล้ว
++ยักษ์รับเหมาตุนหน้าตักไว้เพียบ
สำหรับการประมูลงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่ผ่านมา จากการรวบรวมของ"ฐานเศรษฐกิจ" ซึ่งประกอบด้วยสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สายม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต นั้น ปรากฏว่ามีเพียงบริษัทก่อสร้างชั้นนำเท่านั้นที่แบ่งเค้กไปตามๆกัน โดย บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD ชนะประมูลงานก่อสร้างรวมแล้วกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท โดยงานที่มีมูลค่าสูงสุดคือ งานก่อสร้างเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคตกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท และงานก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามชัย สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน วงเงินกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นต้น
ตามด้วยบมจ.ซิโน-ไทย ได้งานก่อสร้างรวมกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท มีงานก่อสร้างทางยกระดับช่วงท่าพระ-หลักสอง และสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง กับอาคารจอดรถ 2 แห่ง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และงานโครงสร้างยกระดับ ช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ และก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงินกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท
ส่วน บมจ.ช.การช่าง ชนะการประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆเป็นวงเงินเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ที่เด่นๆคือ สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ได้งานเกือบทั้งหมด มีงานก่อสร้างทางยกระดับ สร้างสะพานข้ามคลองสำโรง ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ เป็นวงเงินรวม 1.4 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2015 1:27 am    Post subject: Reply with quote

ราคาคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าปรับเพิ่มเกือบร้อยละ 5 ช่วงไตรมาสแรกปี 2558


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
17 เมษายน 2558 23:05 น. (แก้ไขล่าสุด 17 เมษายน 2558 23:06 น.)

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ในไตรมาสแรกปี 2558 ราคาห้องชุด หรือ คอนโดมิเนียม ในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่า เขตที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นมากคือ เขตห้วยขวาง จตุจักร ปทุมวัน สาทร บางรัก วัฒนา และคลองเตย ส่วนปริมณฑล ในจ.นนทบุรี และจ.สมุทรปราการ มีการปรับราคาขึ้นมากคือ อ.เมืองนนทบุรี หรือ บริเวณถนนรัตนาธิเบศร์ ใกล้แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง และอ.เมืองสมุทรปราการ ช่วงส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า บีทีเอสอ่อนนุช - แบริ่ง
ทั้งนี้โดยเฉลี่ยราคาคอนโดมีเนียม จ.กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และจ.สมุทรปราการ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ 2557 โดยคอนโดมีเนียม ตารางเมตรละ 80,000 - 120,000 บาท มีการปรับราคามากที่สุดคือ ร้อยละ 6 ขณะที่ราคาบ้านเดี่ยวทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปรับขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ส่วนทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มร้อยละ 3.9
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2015 11:58 am    Post subject: Reply with quote

คอนโดฝั่งธนเปิดศึกทำเล"จรัญ-เพชรเกษม" ทุนจีนดอดขึ้นตึก33ชั้นโซนบางแค"เอพี-ซีพี"แข่งตุนที่ดินผืนใหญ่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
21 เมษายน 2558 เวลา 20:31:02 น.


ระเบิดศึกห้องชุดแนวรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ต่อขยายวงเวียนใหญ่ "จรัญฯ-ตลาดพลู-เพชรเกษม" ทำเลเดือด "เอพี-แมกโนเลีย"กว้านซื้อที่ดินใกล้สถานีบางยี่ขัน-ตรงข้ามเดอะมอลล์ท่าพระ เตรียมเปิดบิ๊กโปรเจ็กต์ครึ่งปีหลัง "อนันดาฯ" ลดเพดานบินขายคอนโดฯต่ำล้านหลบอยู่ในซอยจรัญฯ 3 เกือบ 2 พันห้อง ส่วนถนนเพชรเกษมกลุ่มทุนจีน "จีดีทีฯ" ขึ้นคอนโดฯ 33 ชั้นชิดรถไฟฟ้าสถานีบางแค

ผู้สื่อข่าวสำรวจความเคลื่อนไหวการเปิดตัวคอนโดมิเนียมในช่วงไตรมาส 2-4 ปีนี้ พบว่าการแข่งขันตลาดกลาง-ล่างทำเลฝั่งธนบุรีมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นอีกรอบ เนื่องจากรถไฟฟ้าก่อสร้างคืบหน้าไปมาก โดยเฉพาะบนถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเพชรเกษม ตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่มีกำหนดเปิดบริการปี 2560 รวมถึงแนวรถไฟฟ้าต่อขยายจากวงเวียนใหญ่-บางหว้า ที่เปิดบริการปีที่ผ่านมา ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวผู้ประกอบการรายใหญ่-รายกลาง และกลุ่มทุนต่างชาติเปิดโครงการคึกคัก



จรัญฯŽ ขายคอนโดฯวิวแม่น้ำ

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานกลยุทธ์การตลาด บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทเพิ่งซื้อที่ดินบนถนนจรัญสนิทวงศ์ช่วงซอย 40 เดิมเป็นโรงแรมเก่า เนื้อที่ 3 ไร่ ใกล้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสถานีบางยี่ขัน

บริษัทวางแผนเปิดตัวช่วงไตรมาส 3-4 เป็นคอนโดฯไฮไรส์ไม่ต่ำกว่า 1 พันยูนิต อยู่ระหว่างออกแบบคาดว่าราคาเริ่มต้นไม่เกิน 1 แสนบาท/ตร.ม. เจาะกลุ่มผู้พักอาศัยย่านพุทธมณฑลแต่ทำงานในเมือง ผู้ปกครองที่มีลูกหลานเรียนในละแวกนี้ เช่นโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนราชินี ฯลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทำเลถนนจรัญฯช่วงสี่แยกบางพลัดของบริษัท มีสไตล์ เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนาคอนโดฯทรูทองหล่อ ได้เปิดพรีเซลคอนโดฯบริกซ์ติดสถานีรถไฟฟ้าสิรินธร ห่างจากที่ดินค่ายเอพี 500-600 เมตร เป็นตึกสูง 32 ชั้น 560 ยูนิต ห้องชุดแบบสตูดิโอ-2 ห้องนอน และดูเพล็กซ์ พื้นที่ใช้สอย 22-123 ตร.ม. ราคาเริ่มต้นยูนิตละ1.6 ล้านบาท แถมแอร์ ชุดครัว และวอลเปเปอร์ หลังจากเปิดตัว 1 เดือนมียอดขายแล้ว 50% ถือว่าผลตอบรับค่อนข้างดี

อย่างไรก็ตาม โครงการบริกซ์ต้องประชันกับคอนโดฯเดอะทรี ริโอ้ สถานีบางอ้อของ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ที่เปิดขายปลายปี 2557 ทั้ง 2 โครงการเห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเดอะทรีฯเป็นตึกสูง 40 ชั้น 1,412 ยูนิต ห้องชุดแบบ 1-2 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 28-61 ตร.ม. ปัจจุบันเฟส 1-2 มียอดขาย 80% และปรับราคาเริ่มต้นจากยูนิตละ 1.85 ล้านบาท เป็น 1.95 ล้านบาท ส่วนเฟส 3 ที่เหลืออีก 10% จะเปิดตัวครึ่งปีหลัง ราคาน่าจะปรับขึ้น 5%

อนันดาขึ้นคอนโด BOI

ส่วนถนนจรัญสนิทวงศ์นับจากแยกไฟฉาย-แยกท่าพระ ระยะทาง 3-5 กิโลเมตร ผลสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บจ.เดย์เกนกรุ๊ป เปิดพรีเซลคอนโดฯบัดเจท ไบร์ท ใกล้รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน (ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) สถานีแยกไฟฉาย เป็นตึก 8 ชั้น 2 อาคารรวม 266 ยูนิต เริ่มต้น 1 ห้องนอน 25 ตร.ม. ราคาเริ่ม 1.69 ล้านบาท มียอดขายมากกว่า 20%

ล่าสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จะลงมารุกตลาดคอนโดฯบีโอไอ ราคาไม่เกินยูนิตละ 1 ล้านบาทเป็นครั้งแรก เตรียมเปิดตัวโครงการยูนิโอ้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 3 (เข้าซอย 500 เมตร) ห่างสถานีรถไฟฟ้าท่าพระ 900 เมตร เป็นคอนโดฯ 8 ชั้น 10 อาคาร รวม 1.93 พันยูนิต พื้นที่ใช้สอย 28 ตร.ม. ราคาเดียวทุกยูนิต 999,900 บาท โดยเปิดขายเฟสแรกก่อน 3 อาคาร

ถ.เพชรเกษมทำเลฮอต

ส่วนถนนเพชรเกษมตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแค) เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บจ.จีดีที พร็อพเพอร์ตี้ ที่มีทุนจีนถือหุ้น เปิดพรีเซลคอนโดฯเดอะโพรดิจี้ เพชรเกษม ใกล้สถานีบางแค เป็นตึกสูง 2 อาคาร 31-33 ชั้น รวม 1,273 ยูนิต แบบสตูดิโอ-2 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 23-50.5 ตร.ม. ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์พร้อมอยู่ ราคาเริ่มที่ยูนิตละ 1.69 ล้านบาท มียอดขายกว่า 30%

ส่วนทำเลใกล้เคียงกันในปีที่ผ่านมาบจ.โปรต้า พร็อพเพอร์ตี้ ที่มีทุนจีนไต้หวันถือหุ้น เปิดตัวโครงการดิออสการ์ คอนโด ใกล้สถานีภาษีเจริญ ห้างซีคอนบางแค เป็นตึก 8 ชั้น 256 ยูนิต แบบ 1 ห้องนอน 24-35 ตร.ม. ตกแต่งเฟอร์ฯพร้อมอยู่ ราคาเริ่ม 1.59 ล้านบาท มียอดขายแล้ว 50%

สถานีตลาดพลูแข่งดุ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทำเลถนนรัชดาภิเษกใกล้สถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสถานีตลาดพลู มีแนวโน้มทวีความร้อนแรงหลังจากปลายปีที่ผ่านมา บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ประสบความสำเร็จกับการเปิดตัวคอนโดฯแอสปาย สาทร-ท่าพระ ติดบีทีเอสตลาดพลู ล่าสุด บจ.แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของตระกูลเจียรวนนท์ ได้ซื้อที่ดินประชิดสถานีรถไฟฟ้าตรงข้ามห้างเดอะมอลล์ท่าพระ เดิมเป็นศูนย์ซ่อมรถบี-ควิก เตรียมเปิดคอนโดฯในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะเดียวกัน มีกระแสข่าวบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ได้ซื้อที่ดินในทำเลใกล้กัน ติดกับคอนโดฯไลฟ์ ท่าพระของ บมจ.เอพี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2015 3:25 am    Post subject: Reply with quote

ถามตอบเรื่องตั๋วร่วม

Smart VC wrote:
หลังจากได้ฟังสรุปโครงการพัฒนาตั๋วร่วมของสนข. ขอสรุปเป็น FAQsง่ายๆนะครับ

ตั๋วร่วมมาแน่ไมหรือเป็นแนวคิดเฉยๆ?
-มาแน่นอนครับ เปิดงบทำกันแล้ว ประมาณเกือบ 400ล้านบาทโดยมี สนข.เป็นเจ้าของโครงการ

ตั๋วทำงานยังไง?
-ตั๋วนี้จะทำงานเหมือน เป็นกระเป๋าตัง(digital wallet) คือเอาเงินใส่เข้าไปแล้วก็ใช้ไปเรื่อยๆ

ตั๋วนี้ใช้จ่ายค่าอะไรได้บ้าง?
หมวดขนส่งคมนาคม
-ระบบราง BTS,MRT,Airport Link
-รถโดยสารประจำทาง รถเมล์(เฉพาะขสมก.) BRT
-เรือด่วน
-ทางด่วน Troll way

หมวดร้านค้า (ในช่วงเปิดตัว)
7-11
-The Mall
-Tops
-เมเจอร์
-McDonald
-ภาคเอกชนกำลังเข้ามาเรื่อยๆครับ

นอกจากบัตรแล้วใรทำรูปแบบไหนบ้าง?
-รูปแบบของตัวToken จะมี5แบบครับ
1.บัตร
2.บัตรเล็ก(เหมือนบัตรสมาชิกโลตัส)
3.พวงกุญแจ
4.สติกเกอร์ NFC (เอาไว้แปะหลังมือถือฯลฯ)
5.NFCตรงจากมือถือ

จุดออกตั๋ว?
-ธนาคาร-ร้านค้าและจุดให้บริการที่เข้าร่วมโครงการ

บริษัทไหนเป็นคนเข้ามาพัฒนา?
-กลุ่ม BVS (BTSรถไฟลอยฟ้า,Smart Trafficบริษัทที่ออกแบบตัวเก็บตังบนทางด่วน,VIX อันนี้มาจากออสเตรียครับ ทำระบบเก็บตังของที่นั้น)

มาเมื่อไร?
-จากกำหนดการแล้ว น่าจะได้ใช้ สิงหาปี2561 (อีก 3 ปี)

ใครมีข้อสังสัยอื่นๆเข้าไปดูได้ที่
http://www.thaicommonticket.com/index.php/th/

https://www.facebook.com/smartvc/photos/a.686925038046135.1073741827.633175056754467/872566042815366/?type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2015 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่ไกลเกินฝันผลิตรถไฟฟ้าในไทย
เดลินิวส์
วันพุธที่ 22 เมษายน 2558 เวลา 10:06 น.
“ซีเมนส์”รุดเดินหน้าผลิตรถไฟฟ้าในไทยรอบรับขยายเส้นทางรถไฟฟ้า10สายทั่วกรุง

นายโทมัส มาซัวรองประธานอาวุธโส บ.ซีเมนส์จำกัด ประเทศไทยกล่าวว่า บริษัทซีเมนส์ได้เข้าร่วมงานเดินรถไฟฟ้าในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2542โดยได้นำรถไฟฟ้าเข้ามาวิ่งให้บริการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสายสุขุมวิทและสีลมรวมทั้งส่วนต่อขยายไปบางหว้าและไปแบริ่งด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการเข้าไปดูระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถให้แก่บีเอ็มซีแอลที่วิ่งให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งในการนำรถมาวิ่งครั้งแรกนั้นรถไฟฟ้าจะมีทั้ง 3ตู้ต่อขบวนแต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่มเป็น4ตู้ต่อขบวนเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่มีมากยิ่งขึ้นปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสมีทั้งหมด 43ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินมีทั้งหมด19 ขบวนทั้งนี้ในอนาคตกรุงเทพมหานครจะมีการก่อสร้างรถไฟ้ฟ้าอีก10เส้นทางดังนั้นทางบริษัทจำเป็นจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเดินรถอาณัตสัญญาณระบบการดูและรักษาอุปกรณ์ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเข้าแข่งขันกับระบบอื่นๆในรูปแบบการเข้าไปร่วมมือกับบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐบาลและหากรัฐบาลต้องการที่จะให้ซีเมนส์เข้าไปช่วยเหลือเรื่องระบบต่างๆทางบริษัทถือว่ามีความพร้อมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะด้านระบบที่สามารถเชื่อมโยงได้กับทุกระบบเพราะซีเมนส์ใช้ระบบอีทีซีเอชซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าสากลที่ทั่วโลกใช้งานนอกจากนี้ทางบริษัทจะมีการพัฒนาวิศวกรบุคคลกรที่เป็นคนประเทศไทยขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบรถไฟฟ้าด้วยซึ่งในอนาคตจะต้องมีวิศวกรที่สามารถดูแลระบบประกอบรถไฟฟ้าได้มากถึง2,000 คนจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการและผลิตขบวนรถให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

นายโทมัสกล่าวต่อว่าด้านการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการขณะนี้ได้มีการแบ่งศูนย์ซ่อมบำรุงออกเป็น 2แห่ง คือบริเวณหมอชิตของบีทีเอสและศูนย์พระราม 9ของเอ็มอาร์ทีซึ่งต่อไปในอนาคตสำหรับสายสีเขียวฝั่งเหนือจะต้องวิ่งไปถึงคูคตและฝั่งใต้จะต้องวิ่งไปถึงสมุทรปราการผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องมีการสร้างโรงศูนย์ซ่อมบำรุงเพิ่มเติมเนื่องจากบริเวณหมอชิตจะไม่สามารถรองรับได้เพราะการขยายเส้นทางออกไปจะต้องเพิ่มขบวนมากขึ้นซึ่งขณะนี้ศูนย์ซ่อมหมอชิตสามารถรองรับได้เพียง 45ขบวนเท่านั้นสำหรับการกำหนดการซ่อมบำรุงขบวนรถไฟฟ้านั้นจะมีการซ่อมบำรุงตรวจสอบทั่วไปเป็นประจำ 1ครั้งต่อสัปดาห์และจะซ่อมใหญ่ทุกๆ6 ปีโดยปี 2558นี้จะเป็นการซ่อมใหญ่รอบที่2 อย่างไรก็ตามระหว่างวิ่งบริการประชาชนหากเกิดเหตุขัดข้องต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุดโดยภายใน 5นาทีเจ้าหน้าที่จะต้องทราบสาเหตุที่ขัดข้องเพื่อจะได้เร่งเข้าแก้ไขปัญหาเพราะหากดำเนินการล้าช้าจะส่งต่อการให้บริการประชาชนซึ่งส่วนมากปัญหาที่พบจะเป็นกรณีแอร์เสีย น้ำมันหล่อลื่นระบบอาณัติสัญญาณช่วงสับรางซึ่งก็สามารถแก้ไขได้ทันเวลา.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2015 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้มประมูลปี59
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558 เวลา 9:30 น.
รฟม.เดินหน้าศึกษาอีไอเอรถไฟฟัาส้มตะวันตกเสร็จมิ.ย.นี้ คาดประกวดราคาไม่ทันในปี 58

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุลผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)กล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-พระราม9ว่าขณะนี้รฟม.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอและพื้นที่ที่จะต้องทำการเวนคืนที่ดินจากประชาชนซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นบริเวณสถานีเบื้องต้นจากการสำรวจพบว่ามีประมาณ50รายทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมประมาณ3เดือนโดยจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิ.ย.2558 นี้จากนั้นจะเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม.และเสนอไปยังสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อม(สผ.)เพื่ออนุมัติภายหลังจากนั้นรฟม.จะเร่งรัดดำเนินการส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้างเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปอย่างเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ตามคาดว่ารถไฟฟ้าส้มตะวันตกจะยังไม่สามารถเปิดประกวดราคาได้ทันภายในปี2558 นี้เนื่องจากจะต้องมีการศึกษารายละเอียดและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและจะต้องทำความเข้าใจก่อนรวมทั้งต้องมีการรับฟังความเห็นกันอีกครั้งภายหลังจากศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะประกวดราคาได้ในปี2559

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกนั้นมีแนวสายทางเริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชันชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯฝั่งธนบุรีเข้าสู่ย่านบางกอกน้อยลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่นสนามหลวง ถนนราชดำเนินภูเขาทองตลาดมหานาคเข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวีประตูน้ำโดยโครงสร้างเป็นใต้ดินตลอดแนวสายทาง.

//-----------------

อีไอเอสายสีส้มเสร็จ มิ.ย.นี้ รฟม.ชี้ประกวดราคาไม่ทันปีนี้-เวนคืนมากจัดรับฟังอีก
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558 เวลา 05:01

เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2558 นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-พระราม 9 ว่า ขณะนี้ รฟม.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และพื้นที่ที่จะต้องทำการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นบริเวณสถานี เบื้องต้นจากการสำรวจพบว่ามีประมาณ 50 ราย ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมประมาณ 3 เดือน โดยจะแล้วเสร็จประมาณเดือน มิ.ย.2558 นี้ ภายหลังดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว รฟม.จะนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) รฟม. และเสนอไปยังสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่ออนุมัติ หลังจากนั้น รฟม.จะเร่งรัดดำเนินการส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้างเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปอย่างเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของการออกแบบรายละเอียดนั้น รฟม.ได้ดำเนินการไปพร้อมๆกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งในบางจุดจะต้องมีการทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อลดความขัดแย้งและให้งานทุกอย่างสามารถดำเนินการไปได้ ทั้งนี้สำหรับการยกเลิกสถานีราชปรารภและรวมเป็นสถานีเดียวที่บริเวณซอยรางน้ำนั้น ถือว่าการปรับแผนเป็นที่พอใจของประชาชน ยอมรับในข้อเสนอ

อย่างไรก็ตาม คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจะยังไม่สามารถเปิดประกวดราคาได้ทันภายในปี 2558 นี้ เนื่องจากแนวสายทางของรถไฟฟ้านั้นมีบ้านเรือน อาคารพาณิชย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีการรับฟังความเห็นกันอีกครั้งภายหลังจากศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกนั้นมีแนวสายทาง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อยลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาคเข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวีประตูน้ำ โดยโครงสร้างเป็นใต้ดินตลอดแนวสายทาง.


Last edited by Wisarut on 28/04/2015 9:45 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2015 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดร่วมทุนรถไฟฟ้าสายใหม่2สาย
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2558 เวลา 10:10 น.

รฟม.กลับ ลำให้เอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพูชี้มีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำกว่า รฟม.ดำเนินการเองเร่งพิจารณาแนวทางเสนอครม.อนุมัติต่อไป่

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุลผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟม.ได้ศึกษารูปแบบการลงทุนของรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรีระยะทาง 34.5กิโลเมตรงบประมาณลงทุน 31,261ล้านบาทและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงระยะทาง30.4กิโลเมตรซึ่งจากเดิมทั้ง2สายรฟม.จะดำเนินการจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าเองแต่ขณะนี้รฟม.ได้ศึกษารูปแบบการโดยให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบPPPNet Costหรือภาครัฐลงทุนด้านงานโยธาและที่เกี่ยวข้องด้านภาคเอกชนลงทุนค่าด้านงานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้ารวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงเองโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาของคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม.เพื่อพิจารณาแนวทางที่ชัดเจนและเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมต่อไปทั้งนี้หากบอร์ดมีมติเห็บชอบให้ลงทุนแบบPPP Net Costรฟม.จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพรบ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556

นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบการลงทุนรูปแบบPPP Net Cost นั้นจะมีความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสารด้านการเงินและด้านต้นทุนการลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้าและการใช้บริการต่ำเนื่องจากเอกชนจะเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดอย่างไรก็ตามคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอครม.ได้ในเร็วๆนี้ทั้งนี้คาดว่าการการประชุมคณะกรรมการบอร์ดประจำเดือนพ.ค.2558 จะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยโดยหากผ่านการเห็นชอบจากครม.แล้วรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ประมาณพ.ศ.2560 และเปิดให้บริการในพ.ศ.2563 สำหรับรูปแบบของรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองนรฟม.ได้มีการออกแบบไว้เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลเพราะรถไฟฟ้าทั้ง2สายจะเป็นฟีดเดอร์เพื่อส่งคนเข้าเมือง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2015 1:58 am    Post subject: Reply with quote

สั่ง รฟม.ทบทวนแก้ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ ตีกรอบขอบเขตพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ฯ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 พฤษภาคม 2558 00:27 น. (แก้ไขล่าสุด 5 พฤษภาคม 2558 09:45 น.)


“คมนาคม” สั่ง รฟม.ทบทวนรายละเอียดแก้ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ ใหม่ ขีดกรอบความชัดเจนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเสนอตั้ง ก.คลัง และ ก.วิทย์ฯ ร่วมในคณะ กก.กองทุนพัฒนาและวิจัย ขณะที่คมนาคมเตรียมแก้ พ.ร.บ.เวนคืนฯ 2530 เปิดทางหน่วยงานพัฒนาที่ดินได้หากใช้ได้ครบถ้วนสมประโยชน์แล้ว

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการแก้ไขพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งทาง รฟม.ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของคำจำกัดความจากเดิม “จัดสร้าง ขยาย บูรณะ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า การเดินรถไฟฟ้า การจัดให้มีสถานที่จอดรถ การให้บริการ การอำนวยความสะดวก และการดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการดังกล่าว” โดยเพิ่มว่า จัดให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กังวลว่าอาจมีความหมายกว้างมากไป เห็นควรปรับให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น การจัดหาให้มีกิจการอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการของ รฟม. นอกจากนี้ รฟม.ได้เสนอจัดตั้งกองทุนพัฒนาและการวิจัยขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อมีทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาด้านรถไฟฟ้า ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนจำนวน 5 คน คัดเลือกจาก รฟม.ทั้งหมด โดยที่ประชุมเห็นว่าควรมีผู้แทนกระทรวงการคลังและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมในคณะกรรมการฯ ด้วยเพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านการเงินและด้านเทคโนโลยี

ทั้งนี้ รฟม.จะต้องนำความเห็นทั้งหมดกลับไปทบทวนเพื่อปรับร่างแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ พร้อมทั้งนำเรื่องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ให้ความเห็นชอบใหม่อีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน ก.ย. 2556 รฟม.เคยเสนอแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ พ.ศ. 2543 มาแล้ว แต่มีการยุบสภาไปก่อนทำให้ต้องเสนอเรื่องกลับมาใหม่ ซึ่งปรากฏว่า รฟม.ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากที่เคยเสนอมาเมื่อปี 2556 ให้กระทรวงคมนาคมต้องประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558

“กรณีที่เพิ่มคำจำกัดความ ให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ รฟม.นั้นไม่ได้หมายความว่า รฟม.จะสามารถนำที่ดินที่เวนคืนมาดำเนินการพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ได้ เพราะการพัฒนาที่ดินที่เวนคืนมานั้นจะเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายอีกฉบับที่ต้องใช้เป็นหลักในการเวนคืนที่ดินของหน่วยงาน โดยหลักหน่วยงานเวนคืนที่ดินตามกฎหมายเวนคืน จะต้องนำมาใช้ในกิจการ กรณี รฟม.นำมาใช้ในการก่อสร้าง หากใช้ที่ดินบรรลุวัตถุประสงค์แล้วสามารถนำไปพัฒนาได้ เช่น พื้นที่ในสถานีต่างๆ” นายชาติชายกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น กระทรวงคมนาคมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ศึกษาเพื่อปรับปรุงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เวนคืนที่ดินมาใช้กิจการและสมประโยชน์บรรลุวัตถุประสงค์แล้วสามารถนำที่ดินที่เหลือไปพัฒนาได้ จากเดิมที่ห้ามนำไปพัฒนา โดยจะต้องพิจารณาและระบุรายละเอียดที่จะปรับปรุงอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เป็นช่องโหว่ ในการเวนคืนที่ดินจำนวนมากเกินความจำเป็นเพราะหวังที่จะให้มีที่ดินเหลือเพื่อไปพัฒนาเชิงพาณิชย์หารายได้ ซึ่งการปรับแก้ พ.ร.บ.เวนคืนฯ นี้จะเกิดประโยชน์ต่อหลายหน่วยงานโดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่ไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เนื่องจากจะมีช่องทางในการสร้างรายได้จากการพัฒนาที่ดิน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขใช้เพื่อกิจการสมประโยชน์แล้ว เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รฟม. กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2015 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

3 ยักษ์‘ช.การช่าง/อิตาเลียนไทย/ซิโน-ไทย’ลั่นพร้อมสุดขีด
BUSINESS, INVESTMEN
ฐานเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 10:00:52



รับเหมาแบ่งเค้กรถไฟฟ้า

ยักษ์รับเหมาจ้องตาเป็นมัน เค้กก้อนใหญ่รถไฟฟ้าสารพัดสี หลังครม.ประยุทธ์กดปุ่มเร่งเดินหน้า “ช.การช่าง/อิตาเลียนไทย/ซิโน–ไทย” เชื่อทุกรายรับกันถ้วนหน้า ปลัดคมนาคมแย้ม 1-2 เดือนได้ลุ้นประมูลสายสีส้ม แถมสายสีแดง และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยาย พญาไท–บางซื่อ–ดอนเมือง และรถไฟทางคู่จิระ–ขอนแก่นที่จ่อครม. ด้านรฟม.เผยเตรียมแบ่งงานก่อสร้างไว้พร้อมแล้ว

หลังจากที่ “ครม.ประยุทธ์” กดปุ่มเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์โครงข่ายระบบรางโดยเฉพาะรถไฟฟ้าหลากสีทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างบรรยากาศการลงทุนในประเทศ ทันทีที่รัฐบาลเร่งให้ทุกอย่างเดินหน้าเต็มที มีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าติดตาม เมื่อบรรดายักษ์รับเหมาระดับท็อปของวงการไม่ว่าจะเป็นช.การช่าง หรือบมจ.อิตาเลียนไทย”และซิโน-ไทย ถึงจะมีงานล้นทะลักหน้าตัก แต่ก็ยังหมายมั่นหวังชิงเค้กก้อนใหญ่นี้กันอย่างคึกคัก ค่อนข้างจะมั่นใจว่าจะคว้างานมาได้อย่างน้อย 25-30% ของโครงการใหม่ที่จะออกประมูลทั้งหมด

++”ไอทีดี”อั้นแค่ 1.5 แสนล้าน

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือไอทีดี กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเร็วๆนี้ถึงการประมูลงานโครงการใหญ่ที่คาดว่าปีนี้จะมีอีกหลายโครงการทยอยกันออกมาไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อาทิ สายสีส้ม ชมพู เหลือง โครงการมอเตอร์เวย์ และโครงการรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)อีก 5 สาย คาดจะมีงบประมาณร่วม 5 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทมีกำลังรับงานได้เพียง 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น ที่สามารถทำงานได้

นอกจากนี้นายเปรมชัยยังระบุอีกว่า ถ้าเกินกว่านี้ไม่สามารถรับงานได้ หรือเท่ากับ 2 หรือ 3 สัญญาเท่านั้น เพราะแต่ละโครงการมีมูลค่าสูงมาก เพราะต้องเก็บความสามารถเอาไว้รองรับงานอย่างอื่น โดยเฉพาะโครงการรถไฟไทย-จีน มูลค่าร่วม 4 แสนล้านบาท ที่คาดว่าสัญญาแรกจะมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท ที่น่าจะทำได้ก่อน และจำเป็นต้องใช้บริษัทของคนไทยมาเป็นซับคอนแทร็กซ์ ในการก่อสร้าง ส่วนจีนคงจะเป็นฝ่ายควบคุมหลักเท่านั้น และมั่นใจว่ารถไฟความเร็ว 180กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคายย่อมเกิดได้แน่นอนภายในปีนี้

อย่างไรก็ดีในส่วนของความร่วมมือรถไฟไทย-จีนนั้นได้มีหารือผ่าน 2 รัฐวิสาหกิจของจีนทั้ง คือซีอาร์อีซีและซีอาร์ซีซี ส่วนความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเราก็สนใจแต่คาดว่าจะใช้เวลาอีก 3ปี โดยหวังงานยาก ๆ และเชื่อว่าคนเก่งทางด้านไหนก็คงจะประมูลงานด้านนั้น

สำหรับเงินลงทุนที่จะต้องใช้ในการขยายงานนั้น นายเปรมชัยกล่าวว่างานประมูลรัฐไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพราะสามารถเบิกเงินล่วงหน้า 15 % เป็นเงินทุนอยู่แล้ว ด้านปัญหาแรงงานนั้น คงจะต้องใช้แรงงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ ไอทีดีใช้แรงงานจากเมียนมาร์ ซึ่งเวลานี้ประเทศไทยเปิดทางให้ใช้แรงงานต่างชาติจาก ลาว กัมพูชาและเมียนมาร์ ส่วนแรงงานบังกลาเทศนั้นค่าแรงแพงกว่าไทย

ส่วนแผนการทำกำไรนั้น นายเปรมชัย ชี้แจงว่าเป็นความตั้งใจของผู้บริหารที่จะแสวงหากำไรเพิ่มมากขึ้นและเห็นว่างานราชการได้กำไรน้อย ส่วนงานภาคเอกชนก็จะถูกต่อรองมาก แต่งานราชการจำเป็นต้องทำเพราะเป็นงานส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้มีเงินหมุนเวียนมาเลี้ยงพนักงาน และองค์กร

“เรามั่นใจว่าระยะยาวอัตราผลตอบแทนกำไรจะมากกว่า 1 % โดยในปี 2557 บริษัทมีรายได้ 4.9 หมื่นล้านบาท ปี 2558 คาดว่าจะมีรายได้ 5-6 หมื่นล้าน โดยมีงานที่รอเซ็นสัญญาอีก 1.7 แสนล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้จาก 8 โครงการ คาดจะมีแบ็กล็อกในมือ 3.5 แสนล้านบาท”

++ช.การช่างตั้งเป้าได้งานอีก25%

นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK กล่าวว่าปีนี้ ช.การช่างยังใช้งบลงทุนตามปกติประมาณ10-15% ของปริมาณงานในมือหรือแบ็กล็อกที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9.3 หมื่นล้านบาท และยังคาดว่าจะสามารถรับงานอย่างต่อเนื่องกันไปโดยมีเป้าหมายที่จะรับงานได้ปีนี้อีกราว 25% ของปริมาณการประมูลงานของรัฐบาล

“การร่วมประมูลเดินรถสายสีชมพูและสายสีเหลืองก่อนที่จะก่อสร้างนั้นเราไม่พลาดร่วมแข่งขันอย่างแน่นอนเนื่องจากมีบริษัทลูกอย่างบีเอ็มซีแอลพร้อมดำเนินการอีกทั้งยังมีพันธมิตรจากอีกหลายประเทศพร้อมให้การสนับสนุน เท่านั้นยังไม่พออุปกรณ์และบุคลากรก่อสร้างยังสามารถรับงานได้อีกมาก เช่นเดียวกับความพร้อมด้านการร่วมลงทุนนั้นยังเห็นว่าเป็นสิ่งที่รัฐควรเร่งดำเนินการ ส่วนภาคเอกชนมีความพร้อมอย่างเต็มที่โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำของไทย ขอเพียงรัฐบาลแสดงความชัดเจนแต่ละโครงการเท่านั้น เช่น การเดินรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น”

++ซิโน-ไทยเชื่อแบ็กล็อกปีนี้ 5 หมื่นล.

เช่นเดียวกับนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC ที่กล่าวยืนยันว่า”เตรียมพร้อมประมูลอยู่แล้วทุกเส้นทาง และอยากให้มีโครงการออกมาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ล่าสุดสายสีเขียวทางซิโน-ไทยก็ได้มา 2 สัญญา ส่วนอีก 5-6 เส้นทางคือสายสีส้ม สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีแดงมิสซิ่งลิงค์และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายนั้นที่คาดว่าจะเปิดประมูลในปีนี้เราก็พร้อมดำเนินการ โดยซิโน-ไทยยังมีการเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง มีการแสวงหาเครื่องมือตลอดจนอุปกรณ์ก่อสร้างพร้อมทั้งหาวิธีการในการก่อสร้างใหม่เพื่อนำมาช่วยลดการใช้แรงงานและเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย

สำหรับความเห็นด้านการร่วมลงทุนนั้นพร้อมร่วมงาน ทั้งนี้ รัฐควรเร่งดำเนินการ เพราะภาคเอกชนเตรียมการมานานแล้ว โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำของไทย ขอเพียงรัฐบาลเร่งผลักดันออกมาโดยเร็วเท่านั้น เช่น ร่วมการลงทุนเดินรถไฟฟ้า โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทางคือ บางใหญ่-กาญจนบุรี และบางปะอิน-นครราชสีมา หรือโครงการท่าเรือน้ำลึก 3-4 แห่งของกรมเจ้าท่า เป็นต้น

“รายได้ในปีนี้คาดการณ์ว่าจะทำได้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนแบ็กล็อกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถรับงานได้เรื่อยๆแต่ปีนี้ตั้งเป้าที่จะได้งานไว้ 3 หมื่นล้านบาท ล่าสุดได้สายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 2 สัญญา กว่า 6 พันล้านบาท”

++ลุ้นสายสีส้มเปิดประมูล1-2เดือนนี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟ-รถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆที่อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันว่า เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือกรณีที่จะนำรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรีเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)พิจารณากรณีที่ได้ปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางจากเดิมกำหนดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ย่านดินแดง-ห้วยขวางนั้น แต่เนื่องจากประชาชนต่อต้านพร้อมเสนอให้ปรับเปลี่ยนแนวมาเป็นเชื่อมโยงแยกพระราม 9 แทนเพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชนดังกล่าว

“เบื้องต้นนี้มีความเป็นไปได้อย่างมากที่สายสีส้มจะสามารถเปิดประมูลได้ใน 1-2 เดือนนี้ซึ่งอาจต่อเนื่องไปกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หรือเรียกว่าช่วงมิสซิ่งลิงค์ ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร มูลค่า 3.3 หมื่นล้านบาท และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 2.8 หมื่นล้านบาทที่นำเสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว”

++สีชมพู-สีเหลืองปลายปีนี้จะชัดเจน

ด้านนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวถึงความคืบหน้าสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ที่จะใช้รูปแบบการเดินรถแบบโมโนเรลนั้น ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการเร่งสรุปรูปแบบการร่วมลงทุน PPPs NetCross ของระบบเดินรถและซีวิลเวิร์กให้สอดคล้องกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

“เรื่องนี้เสนอกระทรวงคมนาคมมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้ให้กลับไปพิจารณาทบทวนรูปแบบการเดินรถ จากนั้นจึงนำไปสู่การออกแบบก่อสร้าง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติดำเนินโครงการรูปแบบการร่วมลงทุน PPPs NetCross กับระบบเดินรถและซีวิลเวิร์ก ล่าสุดบอร์ดรฟม.ได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา คาดว่าในอีก 2 สัปดาห์จะเร่งนำเสนอไปยังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตร.) พิจารณา ก่อนนำเสนอครม.อนุมัติให้ดำเนินการโดยเร็วต่อไป ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้จะชัดเจนด้านการเปิดประมูลเพื่อหาผู้รับการดำเนินการด้านระบบเดินรถและการก่อสร้างงานโยธาควบคู่กันไป”

++เตรียมแบ่งงานสายสีส้ม 3-6สัญญา

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรฟม. กล่าวว่า กรณีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรี จะแบ่งสัญญาการก่อสร้างทั้งใต้ดินและยกระดับ โดยใต้ดินอาจแบ่งออกเป็น 1-2 สัญญารูปแบบดีไซน์แอนด์บิลต์ ส่วนยกระดับประมาณ 1-2 สัญญา นอกจากนั้นยังมีสัญญางานระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ และระบบราง 1-2 สัญญา

“ล่าสุดรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันออก) ช่วงพระราม 9-รามคำแหง-มีนบุรีได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมและสนข.แล้ว เพื่อนำเสนอเข้าสู่การเห็นชอบของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ต่อไป”

++สายสีแดง/แอร์พอร์ตลิงค์ ซอย 6-8 สัญญา

ด้านนายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างร.ฟ.ท.กล่าวว่า กรณีสายสีแดงอาจแบ่งออกเป็น 3-4 สัญญารวมงานระบบด้วย ส่วนแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายจะแบ่งออกเป็น 2-3สัญญาคืองานโยธาช่วงพญาไท-บางซื่อ 1 สัญญา ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 1 สัญญา และงานระบบอีก 1สัญญา นอกจากนั้นยังมีโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น อยู่อีก 1 เส้นทาง วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาทที่นำเสนอครม.ไปแล้ว

++ยักษ์รับเหมาตุนหน้าตักไว้เพียบ

สำหรับการประมูลงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่ผ่านมา จากการรวบรวมของ”ฐานเศรษฐกิจ” ซึ่งประกอบด้วยสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สายม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต นั้น ปรากฏว่ามีเพียงบริษัทก่อสร้างชั้นนำเท่านั้นที่แบ่งเค้กไปตามๆกัน โดย บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD ชนะประมูลงานก่อสร้างรวมแล้วกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท โดยงานที่มีมูลค่าสูงสุดคือ งานก่อสร้างเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคตกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท และงานก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามชัย สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน วงเงินกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

ตามด้วยบมจ.ซิโน-ไทย ได้งานก่อสร้างรวมกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท มีงานก่อสร้างทางยกระดับช่วงท่าพระ-หลักสอง และสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง กับอาคารจอดรถ 2 แห่ง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และงานโครงสร้างยกระดับ ช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ และก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงินกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท

ส่วน บมจ.ช.การช่าง ชนะการประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆเป็นวงเงินเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ที่เด่นๆคือ สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ได้งานเกือบทั้งหมด มีงานก่อสร้างทางยกระดับ สร้างสะพานข้ามคลองสำโรง ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ เป็นวงเงินรวม 1.4 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 111, 112, 113 ... 278, 279, 280  Next
Page 112 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©