Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269596
ทั้งหมด:13580883
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 114, 115, 116 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2015 12:47 am    Post subject: Reply with quote

“ธนา” บี้ “บิ๊กจิน” เคลียร์กลับลำทำรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นเดิม ปูดเอื้อผลประโยชน์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 มิถุนายน 2558 12:52 น. (แก้ไขล่าสุด 5 มิถุนายน 2558 13:38 น.)

"ธนา"แฉพิรุธเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม
โพสต์ทูเดย์
05 มิถุนายน 2558 เวลา 13:28 น.

อดีต ส.ส.ปชป.แถลงข้อพิรุธเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มกลับมาใช้เส้นทางที่ 1 ทั้งที่แพงกว่า ประชาชนเดือดร้อนเพียบ และเห็นพ้อง รฟม.ใช้เส้นที่ 2 แล้ว จี้ “ประจิน” เคลียร์เหตุใดใช้อำนาจโดยพลการกลับมติบอร์ด ย้อนสร้างสถานีใต้เอสพลานาดรอแล้ว ขอ คจร.อย่าอนุมัติ ชี้ส่อผิดกฎหมาย วอน “ประยุทธ์” ระงับโครงการ ปูดมีทุนระดับชาติครอบครองพื้นที่เดินรถ ลั่นประชาชนใช้สิทธิระงับเต็มที่

วันนี้ (5 มิ.ย.) นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงความไม่ชอบมาพากลในการเปลี่ยนเส้นทางเดินรถสายสีส้มของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ว่าเดิมมีการกำหนดเส้นทางที่ 1 ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้องเวนคืนที่ดิน การทำจัดทำผลสำรวจสามด้านนั้นย่านดินแดงซึ่งจะมีประชาชนเดือดร้อนกว่าหนึ่งพันครอบครัว ทำให้ประชาชนออกมาคัดค้านและมีการเสนอเส้นทางที่ 2 ซึ่งได้มีการศึกษาและมีความเห็นร่วมกันทั้งประชาชนและ รฟม.ว่าเส้นทางที่ประชาชนเสนอมีเหตุผลในการเดินรถมากกว่าเส้นทางสายที่ 1 โดยมีการรับฟังความเห็นประชาชนปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2557 ทั้ง รฟม.และประชาชนเห็นตรงกันร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะประหยัดงบประมาณได้หลายพันล้านและเสียเวลาในการก่อสร้างเพิ่มอีกเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น

“แต่ไม่ทราบเพราะเหตุใด พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคมกลับยึดความเห็นตัวเองว่าจะกลับไปใช้เส้นทางเส้นที่ 1 โดยเสนอ คจร. ในวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ก่อนจะขอความเห็นชอบต่อ ครม.ต่อไป จึงขอถามว่า รมว.คมนาคมมีข้อมูลพิเศษอะไรจึงทำให้ใช้อำนาจโดยพลการกลับมติบอร์ด รฟม.เช่นนี้ และขอให้ทบทวนเรื่องดังกล่าว รวมทั้งหากมีการเสนอไปยัง คจร.ก็ขอเรียกร้องไม่ให้อนุมัติเพราะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรมและไม่น่าจะถูกกฎหมาย โดยอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจที่มีระงับโครงการดังกล่าวด้วย” นายธนากล่าว

นายธนาระบุว่า เส้นทางที่ 1 ที่ รมว.คมนาคมจะนำกลับมาใช้นั้นเป็นเส้นทางที่ประหลาดที่สุดเพราะขัดต่อหลักการสร้างรถไฟใต้ดินที่ต้องไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจึงมีการสร้างใต้ดินแม้ว่าค่าก่อสร้างจะราคาแพงกว่า แต่เส้นทางนี้วิ่งผ่ากลางดินแดงเลย และพบว่าใต้อาคารเอสพลานาดมีการสร้างขารองรับสถานีรถไฟเส้นดังกล่าวแล้ว จึงอยากถามว่านี่คือเหตุผลที่ต้องใช้เส้นทางนี้เวนคืนที่ดินแถวดินแดงจนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนใช่หรือไม่

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา รฟม.ยอมรับว่าจะมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในโครงการรถไฟใต้ดินเพื่อประโยชน์ของ รฟม.เป็นครั้งแรก คือ พื้นที่โรงเรียนดรุณพิทยาในปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 20 ไร่ โดยอ้างว่าจะใช้พื้นที่นี้สร้างอสังหาริมทรัพย์รองรับประชาชนที่ถูกเวนคืนให้ไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่มีคำถามว่า รฟม.สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้หรือไม่ อีกทั้งเมื่อมีการทักท้วงบอร์ด รฟม.ก็เห็นพ้องกับประชาชนที่จะเปลี่ยนจากเส้นทางที่ 1 มาเป็นเส้นทางที่ 2 ตามข้อเสนอของประชาชนแล้ว

นายธนาตั้งคำถามไปถึง รมว.คมนาคมว่า เมื่อมีการศึกษาแล้วยืนยันว่าเส้นทางที่ 2 ดีกว่า บอร์ด รฟม.มีมติเห็นด้วยเสนอ รมว.คมนาคม และรักษาการผู้ว่า รฟม.เคยทำหนังสือถึงประชาชนว่าเปลี่ยนเส้นทางเป็นเส้นทางที่ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ รมว.คมนาคมกลับเสนอเส้นทางที่ 1 ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่าหลายพันล้านบาทเพราะจะยาวกว่าเส้นทางที่ 2 ถึง 1.3 กิโลเมตร จึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มทั้งค่าเวนคืนที่ดินและการก่อสร้าง อีกทั้งยังเป็นจุดที่ประชาชนทั่วไปเข้าไม่ถึงรถไฟสายสีส้ม เพราะไม่มีจุดเชื่อมต่อ

“ขอตั้งคำถามไปยัง รมว.คมนาคมว่ามีข้อมูลพิเศษที่รู้คนเดียวจากใครใช่หรือไม่ว่าการเดินรถไฟเส้นที่ 1 เกิดประโยชน์กว่าเส้นที่ 2 ข้อมูลดังกล่าวคืออะไร เพราะมีข่าวว่ามีกลุ่มทุนระดับชาติไปครอบครองพื้นที่ที่จะมีการเดินรถแล้ว รัฐบาลมาจากการยึดอำนาจเพื่อสร้างความผาสุกให้ประชาชน แต่โครงการนี้ไม่สนองนโยบายดังกล่าว จึงขอให้ทบทวนถ้ายังเดินหน้าหรือมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องประชาชนจะใช้สิทธิระงับยับยั้งตั้งแต่ชั้นศาลปกครองไปจนถึงการร้องต่อ ป.ป.ช.หากมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมากเนื่องจากเส้นทางเดิมปรับระดับของท่อรถไฟใต้ดินสูงเพื่อเข้าสถานีใต้ตึกเอสพานาร์ดจึงต้องผ่าดินแดง ขอให้นึกถึงผลประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก ถ้าทำไม่ชอบมาพากลผมและประชาชนจะใช้สิทธิที่มีอย่างเต็มที่ต่อไป” นายธนากล่าว

นายธนากล่าวว่า ตนยังเชื่อว่านายกรัฐมนตรีมีเจตนาทำประโยชน์เพื่อประชาชน จึงขอส่งผ่านข้อมูลนี้ไปยังนายกรัฐมนตรีด้วยว่ามีความไม่ชอบมาพากล ขอให้ใช้อำนาจยับยั้งไม่เช่นนั้นจะเป็นจุดด่างของรัฐบาลชุดนี้แน่นอน โดยประชาชนจะใช้สิทธิทางศาลปกครอง หรือถ้ารัฐมนตรีทำมิชอบ หรือมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องก็ผิดมาตรา 157 จะยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เพราะการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หาประโยชน์ให้รฟม.จะขัดคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดที่เคยวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องการเวนคืนที่ดินไว้แล้วว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์สาธารณะเต็มที่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จะต้องคืนทรัพย์ให้ประชาชน เช่น กรณีคำวินิจฉัยที่ อ. 788/2556 จึงขอยืนยันว่าตนและประชาชนจะสู้ทุกขั้นตอนเพราะนี่ไม่ใช่โครงการรถไฟใต้ดินแล้วแต่เป็นโครงการบนดินหากเดินหน้าต่อก็เท่ากับดำเนินการเหมือนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามทำมาก่อนหน้านี้ประชาชนก็ต้องใช้สิทธิทางกฎหมายปกป้องตัวเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2015 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ยืนยันรถไฟฟ้าสีส้มยึดแนวเส้นทางเดิมและ พร้อมเจรจาทำความเข้าใจมวลชน
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
มิถุนายน 2558 11:49 น.

บอร์ด รฟม.ยืนยันรถไฟฟ้าสีส้มยึดแนวเส้นทางเดิมและ พร้อมเจรจาทำความเข้าใจมวลชน
พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดรฟม. เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงปัญหา แนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่ปัจจุบัน มีมวลชนออกมาคัดค้าน แนวเส้นที่ 1 ซึ่งเป็นแนวเส้นทางเดิม (ผ่านดินแดง-ประชาสงเคราะห์ ) ที่ศึกษาไว้ และให้ไปแนวถนนพระราม 9 แทน ซึ่งเรื่องนี้ บอร์ด รฟม.เห็นว่า ยังควรใช้แนวเส้นทางก่อสร้างเดิม โดยเหตุผลส่วนหนึ่ง มาจาก การที่ รฟม. ได้มีการลงทุนก่อสร้าง จุดต่อเชื่อม ของสายสีส้ม ไว้ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ของเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) ที่ให้บริการในปัจจุบัน โดยภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรม มีห้องโถง ผู้โดยสารขนาดใหญ่ รองรับการต่อเชื่อมได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ ต้องมีการเจรจาทำความเข้าใจกับมวลชนที่อยู่อาศัยในสายทางต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมแผนที่จะนำเสนอปัญหาเข้าสู่ ที่ปะชุมคณะกรรมการ จัดระบบการจราจร (คจร.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมหารือในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ โดยล่าสุด มีรายงานระบุว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม

ทั้งนี้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีกลุ่มมวลชนที่อยู่อาศัย ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมถึงขอเข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ทบทวนการกลับมติบอร์ดที่เสนอให้ย้ายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี จากตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง มาใช้ถนนถนนพระราม 9 แทน

แต่หาก รฟม.ยืนยันจะกลับไปใช้แนวเส้นทางเดิมที่ผ่าน ดินแดง-ประชาสงเคราะห์ ชาวบ้านยื่นข้อเสนอขอให้ รฟม.ก่อสร้างโดยใช้หัวเจาะ และเปิดหน้าดินที่สถานีบริเวณโรงเรียนอรุณ ซึ่งมีพื้นที่กว้าง และให้ปรับแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บทจากสามเหลี่ยมดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดี ลอดข้ามไปฝั่งตรงข้ามผ่านด้านข้างโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ มาใช้แนวถนนมิตรไมตรี โดยไม่ผ่านชุมชน มุ่งหน้าสถานีศูนย์วัฒนธรรม ซึ่ง กทม. มีโครงการที่จะปรับปรุงขยายถนนมิตรไมตรี อยู่แล้วก็ให้ทำไปพร้อมๆกัน เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีและชุมชน

ส่วนความคืบหน้าด้านอื่นๆ ของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงตลิ่งชัน-พระราม 9 ขณะนี้ รฟม.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และพื้นที่ที่จะต้องทำการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นบริเวณสถานี เบื้องต้นจากการสำรวจพบว่ามีประมาณ 50 ราย คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมประมาณ 3 เดือน โดยจะแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ ภายหลังดำเนินการเสร็จ รฟม.จะนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) รฟม. และเสนอไปยังสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่ออนุมัติ หลังจากนั้น รฟม.จะเร่งรัดดำเนินการส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี อนุมัติการก่อสร้างเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปอย่างเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของการออกแบบรายละเอียดนั้น รฟม.ได้ดำเนินการไปพร้อมๆกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งในบางจุดจะต้องมีการทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อลดความ อย่างไรก็ตาม คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจะยังไม่สามารถเปิดประกวดราคาได้ทันภายในปี 2558 นี้ เนื่องจากแนวสายทางของรถไฟฟ้านั้นมีบ้านเรือน อาคารพาณิชย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีการรับฟังความเห็นกันอีกครั้งภายหลังจากศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกนั้นมีแนวสายทาง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อยลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาคเข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวีประตูน้ำ โดยโครงสร้างเป็นใต้ดินตลอดแนวสายทาง.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2015 4:48 am    Post subject: Reply with quote

เสนอสผ.ดูผลกระทบอีไอเอโมโนเรลสายสีเทา |
เดลินิวส์
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2558 เวลา 21:47 น.

เสนอสผ.ดูผลกระทบอีไอเอโมโนเรลสายสีเทา กทม.พร้อมเดินหน้าก่อปลายปี59 เร่งศึกษาวิธีหางบลงทุน 27,000 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้ง ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(โมโนเรล) สายสีเทา ว่า สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ต่อ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างที่รอการอนุมัติอีไอเอ โดยระหว่างการรอขั้นตอนนี้ กทม.ได้ทำการศึกษารูปแบบการลงทุนโครงการควบคู่ไปด้วยเพื่อไม่ให้โครงการล่าช้า ทั้งนี้รูปแบบการลงทุนที่ ศึกษานั้นได้กำหนดแนวทางเบื้องต้นไว้ 4 แนวทาง ได้แก่

1.ใช้งบของ กทม.เองในการลงทุน โดยวิธีนี้ กทม.ต้องจัดหางบในการลงทุนประมาณ 27,000 ล้านบาท แต่เนื่องจาก ปัจจุบัน กทม.อยู่ในช่วงขนาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะมีงบค่าใช้จ่ายต่างๆ มากกว่ารายได้ ทำให้การเดินหน้าโครงการด้วยงบประมาณตนเองเป็นไปได้ยาก

2.ของบลงทุนจากรัฐบาล

3.เปิดให้ เอกชนร่วมลงทุน แต่อาจจะติดปัญหาล่าช้า ตามกระบวนการของ พรบ.ร่วมทุน และ

4. ให้วิสาหกิจของ กทม. คือ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด(เคที) ดำเนินการภายใต้รูปแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือเอสพีวี (Special Purpose Vehicle)โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น เดียวกับที่ กทม. ดำเนินการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม สถานีสะพานตากสิน -เพชรเกษม ที่ กทม.มอบหมายให้ เคทีเป็นตัวกลางในการบริหารโครงการและระดมทุนโครงการต่าง ๆ แทน กทม. ซึ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดเพราะกทม.เคยทำมาแล้ว โดยจะทำให้ โครงการสามารถเดินหน้าได้และไม่ล่าช้าจนเกินไป ซึ่งเมื่อผ่านอีไอเอแล้วก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที

คาดว่าขั้นตอนนี้หากเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด จะใช้เวลา 6 เดือน และช่วงปลายปี 2559 จะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ โดยจะใช้เวลาก่อสร้างรวมประมาณ 3ปี จะเสร็จเปิดให้บริการได้ปลายปี 2562 โดยการก่อสร้างจะเริ่มดำเนินการในช่วงแรกก่อน คือ ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กิโลเมตร 15 สถานีในส่วนของขบวนรถไฟ น่าจะเป็นลักษณะ 3 ตู้ ตัวเลขประเมินจะมีผู้โดยสาร 4,000-40,000 คน ต่อวันในช่วง 20 ปีแรก จากนั้นอาจจะมีการเพิ่มตู้ขบวน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวจะสอดรับกับโครงข่ายการจราจรหลักของรัฐบาลที่จะทยอยเสร็จในช่วงปี2560 เป็นต้นไป “
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2015 4:49 am    Post subject: Reply with quote

จี้รัฐลุยเมกะโปรเจ็กต์ ลือ"อุ๋ย"สั่งรื้อรถไฟฟ้า
ไทยโพสต์
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา - 00:00

ลือรื้อรถไฟฟ้าสายชมพู-เหลือง
ลือรื้อรถไฟฟ้าสายชมพู-เหลือง ลือคณะกรรมการ รฟม.ปรับแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง เปลี่ยนเป็นเอกชนลงทุนทั้งหมด 100% ตามแนวคิด "หม่อมอุ๋ย"
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 7:00 น.“

ซิโน-ไทยฯ วอนรัฐ เร่งดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ชี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เผยก่อสร้างแข่งเดือด ตัดราคา 20-30% ชิงงาน ลือ "หม่อมอุ๋ย" สั่งทบทวนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง ให้เอกชนลงทุนทั้งหมด “คีรี” ติง เกิดยาก ไม่คุ้มทุน

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ( STEC) เปิดเผยว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐไม่เกิดขึ้นเลย ดังนั้น อยากให้ภาครัฐเร่งรัดโครงการต่างๆ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ

“ต้องยอมรับว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เอกชนหวังว่าจะมีโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐออกมาตั้งแต่โครงการ 2 ล้านล้านบาทแล้ว แต่ทุกโครงการก็เร่งรัด แต่ไม่มีความชัดเจนเลย ดังนั้น ช่วงนี้จึงมีแต่โครงการลงทุนขนาด 100-1,000 ล้านบาท แต่มีการแข่งขันกันรุนแรง โดยเฉพาะมีการตัดราคากันค่อนข้างสูงถึง 20-30% เพื่อให้ได้งาน” นายภาคภูมิกล่าว

สำหรับบริษัทคาดว่า ในปี 2558 จะมีปริมาณงานเข้ามาดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่รายได้ยังทรงตัว โดยคาดว่าปีนี้ต้องได้งานใหม่มาเติมไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาท ทั้งงานภาครัฐ และเอกชน อาทิ การก่อสร้างอาคาร และงานในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บริษัทมีงานในมือ (แบ็กล็อก) อยู่ราว 5 หมื่นล้านบาท

ส่วนการเปิดโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ จ.นนทบุรี พื้นที่ 250 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อรองรับโครงการทางด่วนศรีรัช (บางซื่อ-วงแหวนตะวันออกตลิ่งชัน) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ หรือทางพิเศษในอนาคต

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า กรณีที่คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) มีมติปรับแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. วงเงิน 5.67 หมื่นล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. วงเงิน 5.47 หมื่นล้านบาท เปลี่ยนเป็นให้เอกชนลงทุนทั้งหมด 100% นั้น เป็นแนวคิดของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เพราะกระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่ต้นปี 2558 ที่อยากให้รวมเป็นสัญญาเดียว และเอกชนรายเดียวดำเนินการ เพื่อลดระยะเวลาดำเนินการให้เร็วขึ้น

ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า ข้อเสนอที่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนรถไฟฟ้าทั้งโครงการ มีความเป็นไปได้ยากที่จะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน หากเทียบกับระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ส่วนบีทีเอสยืนยันสนใจเข้าร่วมแน่นอน แต่ขอศึกษารายละเอียดก่อน.


Last edited by Wisarut on 08/06/2015 11:10 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2015 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

"ประจิน" ยัวะโต้กลับอดีต ส.ส.ปชป. กล่าวหาเปลี่ยนแนวรถไฟฟ้า-กระทบกับคนนับพัน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 15:05:41 น.


"ประจิน" โต้อดีต ส.ส.ปชป.ที่โวยเปลี่ยนแนวสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม กระทบชาวบ้านนับพันครัวเรือน ย้ำยังไม่ได้สรุปจะใช้เส้นทางไหน ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาก่อนในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ แต่ยันไม่กระทบมากอย่างที่อ้าง

จากกรณีนายธนา ชีรวินิจ อดีตส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยชาวบ้านแฟลตดินแดง แถลงไม่พอใจที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปลี่ยนแนวเส้นทางสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตลิ่งชัน-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ช่วงพระราม 9-มีนบุรี กลับไปใช้เส้นทางเดิมคือศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยอ้างว่ากระทบประชาชนย่านดินแดงกว่าพันหลังคาเรือน

ล่าสุด พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตลิ่งชัน-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ซึ่งอดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยชาวบ้านแฟลตดินแดงออกมาคัดค้านว่า เส้นทางแรกคือศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตรเป็นแนวเส้นทางเดิมที่เคยศึกษาไว้ และช่วงพระราม 9-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ที่ได้ปรับเปลี่ยนใหม่นั้น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องแนวเส้นทาง โดยสั่งการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และที่ปรึกษาไปเตรียมข้อมูลการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้ง 2 เส้นทางเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ พิจารณาเพื่อหาข้อสรุปว่าจะเลือกเส้นทางไหน

"แนวเส้นทางเดิมจากศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ผ่านขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดแล้ว หากที่ประชุมเลือกแนวเส้นทางนี้ก็สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดินหน้าได้ทันที โดยแนวเส้นทางนี้จะเชื่อมต่อกับช่วงที่ 2 จากศูนย์วัฒนธรรมจะผ่านพื้นที่ประชาสงเคราะห์-ดินแดง-ประตูน้ำ-ตลิ่งชัน แต่หากเลือกแนวเส้นทางพระราม 9-มีนบุรี ต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน-1 ปี จึงจะแล้วเสร็จ"

ที่ผ่านมาเปิดรับความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ประชาสงเคราะห์ ตั้งแต่ปี 2539-2545 ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบกับเส้นทางเดิม จากนั้นในปี 2554-2555 ได้เปิดรับฟังอีก ประชาชนก็ยังเห็นชอบเหมือนเดิม แต่ในปี 2556 มี ส.ส.ท่านหนึ่งเข้าใจว่าประชาชนจะได้รับผล กระทบถึง 1 พันครอบครัวจึงออกมาต่อต้าน ถือเป็นความเข้าใจผิด เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบมี 184 รายเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2015 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

ธนา โต้ ประจิน มั่วข้อมูล รถไฟฟ้าสีส้ม เตือนรฟม.ระวังโดนอาญา

โดย ไทยรัฐออนไลน์
9 มิถุนายน 2558 เวลา 16:00

นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ โต้ "ประจินต์" มั่วข้อมูลรถไฟฟ้าสีส้ม เตือน จนท.รฟม.ระวังโดนอาญาให้ข้อมูลเท็จ ดักทาง รฟม. สงสัยเปลี่ยนแนวสร้างกลับไป-มา สุดท้ายเอื้อใคร

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 9 มิ.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายธนา ชีรวินิจ อดีตส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณี พล.อ.อ.ประจินต์ จั่นตอง รมว.คมนาคม ระบุอ้างว่า ถ้าสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงสถานีดินแดง-ประชาสงเคราะห์ เส้นที่ 2 จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าและใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานกว่า 1 ปีนั้น ว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ข้อมูลของ รฟม.เอง ยืนยันว่า เส้นทางที่ 2 ค่าใช้จ่ายถูกกว่า เพราะระยะทางสั้นกว่า 1.3 กิโลเมตร และมีสถานีน้อยกว่า อีกทั้งยังเวนคืนที่ดินน้อยกว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากเหมือนเส้นทางที่ 1 ซึ่งผ่าดินแดงถึง 18 ซอย ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะต้องเปิดหน้าดินจะมีปัญหาการสัญจรของประชาชนมาก ต่างจากการทำใต้ดินบริเวณพระรามเก้าที่ไม่ต้องเวนคืนที่ดินและมีประชาชนที่มาใช้บริการมากกว่า

นายธนา กล่าวต่อว่า ขอเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ รฟม.ว่า ระวังจะถูกดำเนินคดีอาญา เพราะให้ข้อมูลขัดแย้งกันจากเดิมเคย ระบุว่า เส้นทางที่ 2 ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และมีผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนน้อยกว่า เส้นทางที่ 1 แต่กลับเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ว่า เส้นทางที่ 1 ค่าใช้จ่ายถูกกว่า 4 พันล้านบาท เข้าใจ ว่า รฟม.ถูกกดดันจากผู้บังคับบัญชา แต่เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ต้องรักษาประโยชน์ของชาติ แต่มาวันนี้ข้อมูลกลับแตกต่างโดยสิ้นเชิง และตนมั่นใจ ว่า ถ้าทำเส้นทางที่สอง จะถูกกว่าเส้นทางที่ 1 ประมาณ 4 พันล้านบาท

เมื่อถามว่า รฟม.อ้างว่า ถ้าทำเส้นทางที่ 2 ซึ่งต้องสร้างบริเวณใต้ถนนพระรามเก้า นั้น นายธนา กล่าวว่า ขอถามกลับไปที่ รฟม.ว่า การก่อสร้างรถไฟใต้ดินในทุกแห่ง ก็จะมีปัญหาเรื่องสาธารณูปโภคใต้ดินทั้งสิ้น จึงไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้าง และขอให้ รมว.คมนาคม ทำให้เกิดความชัดเจนว่า จะเอาเส้นทางไหนแน่ เพราะถ้าจะทำเส้นทางที่ 1 ก็บอกเองว่า ทำได้เลย เพราะมีการอนุมัติแล้ว แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะมีการสำรวจเส้นที่ 2 เสนอ คจร. ขออนุมัติเปลี่ยนเส้นทาง เป็นเรื่องที่ รมว.คมนาคม ต้องรับผิดชอบเอง อย่าอ้าง คจร. เพราะอนุมัติเส้นที่ 1 ไปแล้ว โดยประชาชนจะปกป้องสิทธิของตัวเอง ว่า การดำเนินการของรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร เพราะสงสัย ว่า มีเหตุผลอื่นนอกจากผลประโยชน์ประชาชน และรฟม. ทั้งนี้ รัฐมีหน้าที่ตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2015 3:27 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเบื้องหลังทาง 2 แพร่ง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" เปลี่ยนเส้นทางเพื่อใคร? (คลิป)
PPTV
9 มิถุนายน 2558 เวลา 20:13น.

การที่กระทรวงคมนาคมมีแนวทางจะปรับเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มกลับไปที่ถนนพระราม 9 อีกครั้ง จะส่งผลกระทบต่อชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 70 ปีที่ชื่อว่า "แม่เนี้ยว" ถึง 184 ครัวเรือน ซึ่งที่นี่เคยต่อสู้และผลักดันให้รถไฟฟ้าเปลี่ยนเส้นทางไปแล้ว

แม้การเวรคืนพวกเขาจะได้รับเงินเยียวยาและทาง รฟม.สัญญาว่าจะจัดหาที่อยู่อาศัยให้เช่าอยู่ แต่ความไม่ชัดเจนที่อยู่เบื้องหลังหลักเกณฑ์การเลือกเส้นทาง คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่เป็นธรรม

แต่ที่กลายเป็นปัญหาขึ้นมาคือเส้นทางการเดินรถซึ่งปรับเปลี่ยนไปมาจนทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าโครงการนี้เอื้อประโยชน์ต่อใครหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2015 8:18 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. คาดปี72 คนใช้รถไฟฟ้าเพิ่ม20.7 เปอร์เซ็นต์
ข่าวด่วน
Nation Channel
วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 12:00 น.

นายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ว่าขณะนี้จำนวนรถยนต์มีมากขึ้นในกรุงเทพฯถึง 8.6 ล้านคัน โดยมีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ในกรุงเทพฯประมาณ 5.6 ล้านคน เมื่อรวมกับประชากรแฝงจากปริมณฑลรวมกันเป็น 10 ล้านคน ซึ่งประชากรแฝงที่เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯก็เป็นปัจจัยที่ทำให้การใช้รถยนต์มีมากกว่าเดิม โดยการเดินทางเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านเที่ยว แบ่งเป็นการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล 37 เปอร์เซ็นต์ ระบบขนส่งมวลชนหรือรถไฟฟ้า 5.8 เปอร์เซ็นต์ รถประจำทางหรือขนส่งทางเรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ก็จะเห็นว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ยังมีมากกว่าการเดินทางประเภทอื่น

นายสุธน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การแก้ปัญหารถติดยอมรับว่าแก้ได้ยาก เพราะการเดินทางของประชาชนขณะนี้สามารถคำนวณลดลงมาที่ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากเดิมปี 2552 ความเร็วการใช้รถยนต์อยู่ที่ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ปัจจุบันหากออกจากบ้านไปที่ทำงานก็จะคำนวณได้ว่าระยะทาง 15 กิโลเมตรจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะในปี 2556 ในโครงการรถคันแรกพบว่ามีจำนวนรถยนต์เพิ่มวันละ 2 พันคัน ทำให้มีอัตราเฉลี่ยความเร็วการใช้รถยนต์ลดลงมา ส่วนกรณีถ้ารถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างแล้วเสร็จในกรุงเทพฯทั้งหมด 8 สายหลัก กับ 5 สายรองในปี 2572 คาดว่าจะยังไม่สามารถแก้ปัญหารถติดได้ทั้งหมด ถึงแม้อัตราการใช้ระบบขนส่งมวลชนจะเพิ่มเป็น 20.7 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการเพิ่มจากผู้ที่คนที่เคยใช้รถเมล์ หรือเรือโดยสาร ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากผู้ใช้รถยนต์เท่าที่ควร ทำให้อัตราการเพิ่มรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเช่นเดิม

ส่วนแนวคิดจากหลายฝ่ายในการแก้ปัญหารถติดในการเก็บภาษี การเก็บค่าที่จอดรถ หรือค่าผ่านทางเพื่อจะลดการใช้รถยนต์ของประชาชนนั้นก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดการใช้รถยนต์ แต่ในเบื้องต้นอาจจะต้องมีการสร้างระบบที่จะป้อนผู้โดยสารไปยังระบบขนส่งรถไฟฟ้าได้ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าใน 5 ปีน่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ ขณะที่แนวคิดจากนักวิชาการในการควบรวมหน่วยงานการแก้ปัญหาจราจรนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะปัจจุบันมีหน่วยงานที่แก้ปัญหาจราจรกว่า 30 หน่วยงาน แต่ต้องเป็นนโยบายของรัฐบาล เพราะรัฐบาลมีหน่วยงานแก้ปัญหาจราจรมากกว่ากทม.

//------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2015 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

คจร.เคาะสร้างรถไฟฟ้าสีส้มตามแนวเดิม ขีดเส้นคค.เจรจากทม.เดินรถสีเขียวในก.ค.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มิถุนายน 2558 19:01 น.

Click on the image for full size

คจร.ยันเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวเดิม ผ่านประชาสงเคราะห์ “หม่อมอุ๋ย”ระบุแนวเดิมผ่านชุมชน มหาวิทยาลัย ย่านคนมีรายได้น้อยได้ประโยชน์กว่าแนวพระราม 9 ที่มีคอนโด คนมีฐานะอยู่เยอะ เร่งรฟม.ทำความเข้าใจประชาชน โดยอนุมัติให้ประมูลด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนฯ-มีนบุรีก่อน พร้อมเร่งคมนาคมเจรจากทม.รับโอนเดินรถสายสีเขียวใต้ ในก.ค.นี้ เปิดทางเจรจาเดินรถสีเขียวเหนือร่วมด้วย ส่วนรถไฟทางคู่ ประจวบฯ-ชุมพร 1.7 หมื่นล. ผ่าน EIA ฉลุย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการระบบการจราจรทางบก (คจร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คจร.วันนี้ (10 มิ.ย.) ได้พิจารณาแนวเส้นทางโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 17.5 กม.กรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เสนอปรับเปลี่ยนช่วงที่ผ่าน ชุมชนประชาสงเคราะห์-สถานีศูนย์วัฒนธรรมจากเดิม เป็นแนวใหม่ โดยให้ผ่านดินแดง-ถนนพระราม 9 แทนนั้น คจร.มีมติให้รฟม.ดำเนินการก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิมที่ประกาศไว้ในแผนแม่บทรถไฟฟ้า เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่เหมาะสม ผ่านชุมชนและมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่ ประชาชนมีรายได้น้อย จะได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟฟ้ามากกว่า ในขณะที่แนวเส้นทางใหม่เป็นย่านคอนโด ตึกสูงซึ่งเป็นที่อยู่ของคนมีฐานะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแนวเดิมหรือเปลี่ยนแนวใหม่มีผลกระทบหมด แต่ควรเลือกแนวที่มีการประกาศไว้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมารฟม.ดำเนินงานล่าช้า จึงต้องรีบไปทำความเข้าใจกับประชาชน พร้อมกันนี้ ที่ประชุม คจร.ยังมีมติอนุมัติ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ด้านตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 21.5 กม. โดยให้รฟม.ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

“ยืนยันให้ใช้แนวสายสีส้มตามแผนแม่บทไม่เปลี่ยน ส่วนแนวเก่าผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ จะช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้มาก มีทั้งมหาวิทยาลัยหอการค้า ศูนย์วัฒนธรรม ปริมาณรถยนต์หนาแน่น และแนวทางตามแผนแม่บทได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์ ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ต้องเดินหน้า ทุกแนวมีผลกระทบแต่เลือกแนวที่กระทบแล้วเกิดประโยชน์มากกว่าด้วย”ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

ส่วนการบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า ได้มอบหมายให้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับไปเจรจากับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้สำเร็จภายใน 2 เดือน โดยให้เจรจาในส่วนของการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตไปพร้อมกันด้วย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคมกล่าวว่า ที่ประชุมคจร.ยืนยันให้รฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ตามแนวเส้นทางเดิมโดยมอบหมายให้รฟม.เร่งทำความเข้าใจกับผู้ได้รับผลกระทบ 184 รายพร้อมหาทางเยียวยาให้มากที่สุด ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีส้มแนวเส้นทางเดิมในแผนแม่บทมีการพิจารณาตั้งแต่ปี 2548 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อปี 2553 โดยรฟม.ได้ดำเนินตามขั้นตอนทั้งด้านเทคนิค การทำความเข้าใจประชาชน และผ่าน EIA แล้ว โดยช่วงประชาสงเคราะห์มีประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 184 ราย รฟม.จะต้องดำเนินการจัดหาที่อยู่ให้ แต่เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินโครงการช้าประมาณ 2 ปี จึงมีการเคลื่อนไหว เพราะเข้าใจว่าจะมีผลกระทบมากถึง 1,000 ราย และเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า จึงได้เสนอแนวเส้นทางใหม่ผ่านถนนพระราม 9 ให้รฟม.พิจารณา ซึ่งมีระยะทางสั้นกว่าเดิม และมีผลกระทบ 35 รายแต่จะมีผลกระทบต่อการจราจรระหว่างก่อสร้างมากกว่า

สำหรับการเจรจากับกทม.เพื่อโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) นั้น คจร.มอบให้ตนเร่งเจรจากับกทม.ให้ได้ข้อยุติภายในเดือนก.ค.นี้ และหากจะนำการเดินรถสายสีเขียวเหนือมาเจรจาด้วยให้อยู่ในการพิจารณาของรมว.คมนาคม ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะขณะนี้ในส่วนของการเดินรถมีความล่าช้ากว่าแผน 2-3 เดือนแล้ว โดยหลักการเดิม เจรจากับกทม.หากได้ข้อยุติ กทม.จะทำสัญญาจ้างให้ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้เดินรถ โดยก่อนหน้านี้ ทางกทม.เสนอเงื่อนไขผ่อนชำระค่าก่อสร้างงานโยธาสายสีเขียวใต้ ให้รฟม. 10 ปี ซึ่งกระทรวงไม่ยอมรับ ทำให้การเจรจาไม่ได้ข้อสรุป โดยเห็นว่ากทม.จะต้องชำระหนี้สินทันทีที่มีการโอนโครงการไปให้กทม. จึงจะต้องมีการเจรจากันอีกครั้ง ส่วนการโอนเดินรถสายสีเขียวเหนือ ที่ผ่านมายังไม่เคยเจรจาเงื่อนไขใดๆ จึงต้องรอดูว่ากทม.จะเสนอมาอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ในแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า จะเสนอครม.และพร้อมประกวดราคาภายในปี 2558 รวม 6 โครงการ ระยะทางประมาณ 144 กม.ประกอบด้วย
1. สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม.
2. สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 21.5 กม.
3. สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม.
4.สายสีแดงอ่อน ช่วง บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ระยะทาง 19 กม.
ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 6.5 กม.
5. สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ระยะทาง 10 กม.
6. แอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กม. และ
ดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทาง 13.9 กม.

สผ.เห็นชอบ EIA รถไฟทางคู่ ประจวบฯ-ชุมพร 1.7 หมื่นล.

รายงานข่างแจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ วันนี้ (10 มิ.ย.) มีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,293 ล้านบาทแล้ว โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะทำรายละเอียดเพื่อเสนอครม.ขออนุมัติเพื่อดำเนินการประกวดราคาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2015 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

คจร. มีมติลุยรถไฟฟ้าสายสีส้มลดชี้เส้นทางเดิมลดจราจรแออัด
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 20.05 น.


10 มิ.ย.58 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเกี่ยวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) มีมติจะใช้เส้นทางเดิมในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ตามแผนแม่บทเดิม เนื่องจากคณะกรรมการฯมองว่าการใช้เส้นทางตามแนวเส้นทางตัดผ่านชุมชนประชาสงค์เคราะห์จะสามารถลดปัญหาการจราจรที่แออัดได้มากตามแนวเส้นทางถนนพระราม 9 รวมถึงได้มีการประกาศล่วงหน้ามานานกว่า 10 ปี และได้ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) แล้ว

ซึ่งการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยยังไม่มีการดำเนินการก่อสร้างผ่านชุมชนฯ จึงควรใช้ระยะเวลาต่อจากนี้ในการบริหารจัดการพื้นที่และจัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินจำนวน 184 ครัวเรือนอย่างเหมาะสม และมองว่าไม่ว่าจะมีการสร้างเส้นทางผ่านแนวใดก็ส่งผลกระทบต่อประชาชนเหมือนกัน ซึ่งตามเส้นทางเดิมจะช่วยเหลือคนยากจนและสร้างประโยชน์ต่อชุมชนได้มากกว่า เนื่องจากผ่านห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัยหอการค้า และโรงพยาบาล

ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มีข้อสรุปว่า ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเจรจากับผู้ที่ได้รับผลกระทบในชุมชนประชาสงเคราะห์โดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้การก่อสร้างล่าช้ามากว่า 2 ปี และแม้ว่าเส้นทางพระราม 9 จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบเพียง 35 ครัวเรือน แต่ต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการด้านจราจรยากกว่าแนวเส้นประชาสงเคราะห์โดยจะมีการหาแนวทางการเยียวยาให้ได้มากที่สุด สำหรับแนวเส้นทางสายสีส้มเดิมนั้นได้ผ่านการพิจารณาก่อนปี 2548 และ ครม.ได้มีมติเห็นชอบในปี 2553 ซึ่งเมื่มีมติจาก คจร. ที่เห็นชอบให้กลับไปใช้แนวเส้นทางเดิม ทาง รฟม.จึงต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน

ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ ได้มีการมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไปเจรจากับกรุงเทพมหานครในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินโดยเร็วเพื่อการก่อสร้างไม่ล่าช้า โดยจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.58 และเส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่จะต้องเร่งการเจรจาเพื่อให้มีความรวดเร็วในการดำเนินการ

//----------------------------------------

“อุ๋ย”ฟันธงสายสีส้มใช้แนวเดิม สั่งรฟม.เร่งทำความเข้าใจประชาชน
ไทยโพสต์
วันพุธ ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558, - 00:10

"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" เผย ที่ประชุม คจร.สรุปการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีส้ม ยึดแนวเส้นทางเดิม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระบุประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ พร้อมสั่ง รฟม.เร่งทำความเข้าใจ ส่วนรถไฟฟ้าสีเขียวให้เวลาเจรจาอีก 2 เดือน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการจัดการระบบการจราจรทางบก (คจร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คจร.มีมติเห็นชอบไม่เปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เนื่องจากเส้นทางนี้ได้ทำการศึกษามานานแล้ว และผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมทั้งผ่านการทำประชาพิจารณ์หลายครั้งแล้ว

"การเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนแนวเส้นทางก็กระทบกับมวลชน แต่แนวเส้นทางเดิมผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์-ศูนย์วัฒนธรรม นั้นเป็นแนวเส้นทางที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารได้รับผลประโยชน์มาใช้บริการ เพราะผ่านย่านสำคัญ เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้า และยังผ่านเส้นทางผู้โดยสารที่ยากจนกว่า แต่เส้นทางใหม่จะผ่านเส้นทางของเศรษฐี เปลี่ยนไม่เปลี่ยนก็มีผลกระทบคนทั้งนั้น และที่สำคัญการตัดสินใจวันนี้จะทำให้การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถเดินหน้าโครงการต่อได้" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

สำหรับมวลชนที่ยังคัดค้านโครงการนั้น เป็นหน้าที่ รฟม.จะต้องไปทำความเข้าใจ ส่วนการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งด้านฝั่งใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และฝั่งเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม จะไปเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งขอเวลาเจรจา 2 เดือน ซึ่งหากได้ข้อสรุปการเจรจาทาง รมว.คมนาคมจะรายงานเข้ามา และยืนยันว่าปัจจุบันการเดินหน้าระบบรางในเมืองยังเดินหน้าตามกรอบที่รัฐบาลวางไว้

“ยอมรับว่าการรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชน (รฟม.) อาจจะเจรจาล่าช้ากับผู้ที่ได้รับผลกระทบในแนวเส้นทางที่มีการก่อสร้าง ซึ่งผู้ว่าฯ รฟม.จะเร่งดำเนินการทำความเข้าใจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวเส้นทางเดิมจากศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ผ่านขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดแล้ว หากที่ประชุมเลือกแนวเส้นทางนี้ก็สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดินหน้าได้ทันที โดยแนวเส้นทางนี้จะเชื่อมต่อกับช่วงที่ 2 จากศูนย์วัฒนธรรมจะผ่านพื้นที่ประชาสงเคราะห์-ดินแดง-ประตูน้ำ-ตลิ่งชัน แต่หากเลือกแนวเส้นทางพระราม 9-มีนบุรี ต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน-1 ปี จึงจะแล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีกลุ่มมวลชนที่อยู่อาศัยในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมถึงขอเข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ให้ทบทวนการกลับมติบอร์ด ที่เสนอให้ย้ายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี จากตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง มาใช้ถนนพระราม 9 แทน.
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=SLOCejQegFA


Last edited by Wisarut on 13/06/2015 2:11 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 114, 115, 116 ... 278, 279, 280  Next
Page 115 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©