Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269017
ทั้งหมด:13580304
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 115, 116, 117 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2015 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

“คจร.”สั่งศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล –หลัง”ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ”ยังเคลียร์ไม่จบ
มติชนออนไลน์ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 19:22:34 น.

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) โดยพิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบของการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า เพื่อทดแทนการดำเนินโครงการทางพิเศษ ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 N2 และ N3โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2560

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 N2 N3 มีระยะทาง 42.9 กม. เพื่อรองรับปริมาณจราจร East-West Corridoor ของกรุงเทพฯ โดยช่วง N1 ระหว่างถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก บริเวณแยกบางใหญ่-แยกเกษตรศาสตร์ระยะทาง 19.2 กม.แต่ยังถูกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ คัดค้าน

ช่วง N 2 จากแยกเกษตรศาสตร์-ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนนวมินทร์ ระยะทาง 9.2 กม. และช่วง N3 นวมินทร์-ถนนเสรีไทย-ถนนรามคำแหง สิ้นสุดที่ถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ บริเวณถนนศรีนครินทร์ ระยะทาง 11.5 กม.

โดยโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ จะเร่งอนุมัติโครงการก่อสร้างในส่วนของ N2 N3 ให้สามารถอนุมัติโครงการได้ในปี 2558 และคาดว่าจะดำเนินก่อสร้างได้ในปี 2559 โดยปัจจุบันนั้นอยู่ระหว่างการปรับแนวเส้นทางให้เรียบร้อย

ส่วน N1 อยู่ระหว่างการหารือของ สนข. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหาทางลดผลกระทบและการบดบังทัศนียภาพมหาวิทยาลัย โดยคาดว่าจะสามารถสรุปได้ในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2015 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

ดินแดงค้านต่อ-พึ่งศาล ปค. สายสีส้มใช้ประชาสงเคราะห์-คน รฟม.วุ่นเคลียร์ที่เดปโป้
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 05:01


เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก 3 ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากมติที่ประชุม คจร. เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2558 ให้ รฟม.ใช้แนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามแผนแม่บทเดิม ซึ่งจะตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ประโยชน์และได้รับความสะดวกในการเดินทางนั้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยแม่เนี้ยว 3 ยืนยันไม่เห็นด้วย และจะขอต่อต้านจนถึงที่สุด โดยเตรียมล่ารายชื่อประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนประมาณ 1,000 กว่าราย และถ้า ครม.อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเมื่อไหร่ ตนจะนำรายชื่อประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนยื่นศาลปกครอง

นายประทีปกล่าวว่า สำหรับข้อเสนอทางรัฐบาลและ รฟม.จะหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว โดยการสร้างคอนโดฯทดแทนที่ดิน บ้าน ที่ถูกเวนคืนให้นั้นตนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวขัดต่อความรู้สึกและวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชน เนื่องจากประชาชนบางรายมีอาชีพค้าขาย หากถูกเวนคืนที่ดินและต้องขึ้นไปอยู่ในคอนโดฯนั้น ก็ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนจริง ก็สามารถทำได้โดยปรับแนวเส้นทางที่ตนและชุมชนเคยเสนอไป โดยเปลี่ยนมาใช้แนวถนนมิตรไมตรี แทนการตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์

ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ รฟม.ได้มีประกาศแจ้งเตือนพนักงาน และลูกจ้าง รฟม.ที่อาศัยบ้านพักชั่วคราว ภายในพื้นที่ที่เวนคืนสำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า บริเวณห้วยขวาง ส่วนที่เหลือจากโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ย้ายออกภายในสิ้นปี 2558 เนื่องจาก รฟม.มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวสำหรับก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง หรือเดปโป้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี หลังจากพนักงานและลูกจ้างรับทราบ ต่างวิตกกังวลการหาที่อยู่ใหม่ เนื่องจากพักอาศัยที่นี่มานานกว่า 10 ปี ตามโครงการช่วยเหลือพนักงานและลูกจ้างที่มีรายได้น้อย สมัยนายประภัสร์ จงสงวน เป็นผู้ว่าการ รฟม.

คนดินแดงค้านสายสีส้มหัวชนฝา |
เดลินิวส์
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 9:16 น.
ชาวบ้านประชาสงเคราะห์ ค้านสายสีส้มตะวันตกหัวชนฝาไม่ยอมรับมติคจร.เตรียมล่ารายชื่อยื่นศาลปกครอง ชี้รัฐสร้างคอนโดให้อยู่ขัดต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน

นายปราทีป นิลวรรณประธานชุมชนแม่เนี้ยวแยก3ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันตก)ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมเปิดเผยว่าจากที่คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก(คจร.)มีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย(รฟม.)ใช้แนวเส้นทางตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ก่อสร้างรถไฟฟ้าเมื่อวันที่ 10มิ.ย.ที่ผ่านมานั้นโดยคจร.ให้เหตุผลว่าต้องการให้ประชาชนที่มีรายน้อยได้ประโยชน์และได้รับความสะดวกในการเดินทางโดยทางประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยแม่เนี้ยว3ยังยืนยันว่าจะขอต่อต้านจนถึงที่สุดซึ่งหลังจากนี้ตนจะล่ารายชื่อประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนประมาณ1,000 กว่ารายและจะรอจนกว่าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะเห็นชอบอนุมัติให้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกโดยหลังจากที่ครม.มีมติเห็นชอบตนจะนำรายชื่อประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนยื่นศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้ออกกฎหมายคุ้มครองซึ่งหากศาลปกครองไม่รับคุ้มครองจะต้องมีการยื่นถวายฏีกาเป็นอันดับต่อไปทั้งนี้สำหรับข้อเสนอที่รัฐบาลและรฟม.จะจะหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ชาวบ้านโดยการสร้างคอนโดทดแทนที่ดิน บ้านที่ถูกเวนคืนให้นั้นตนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวขัดต่อความรู้สึกและวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนเนื่องจากประชาชนบางรายมีอาชีพค้าขายหากถูกเวนคืนที่ดินและต้องขึ้นไปอยู่ในคอนโดนั้นก็จะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ นายปราทีป กล่าวต่อว่าอย่างไรก็ตามหากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะรัฐบาลจริงก็สามารถดำเนินการตามแนวเส้นทางที่ตนและชุมชนเคยเสนอไปโดยชาวบ้านยื่นข้อเสนอขอให้รฟม.ก่อสร้างโดยใช้หัวเจาะและเปิดหน้าดินที่สถานีบริเวณโรงเรียนอรุณซึ่งมีพื้นที่กว้างและให้ปรับแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บทจากสามเหลี่ยมดินแดงเลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิตลอดข้ามไปฝั่งตรงข้ามผ่านด้านข้างโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์มาใช้แนวถนนมิตรไมตรีโดยไม่ผ่านชุมชนมุ่งหน้าสถานีศูนย์วัฒนธรรมได้เช่นกันซึ่งแนวทางดังกล่าวชาวบ้านได้เสนอไปแล้วกว่า2 ปีตั้งแต่เริ่มต้นกำหนดเขตและแนวเส้นทาง.“

//----------------------

งานนี้ไม่ใครก็ใครต้องหัวโหม่งพสุธาเป็นแม่นมั่น เพราะ จะเอากันให้ตายไปข้างขนาดนี้ ได้เชิญไปที่กรม. 1 แน่


Last edited by Wisarut on 13/06/2015 2:52 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2015 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

พลิกโฉมกรุงเทพฯแบบ ‘ไม่เปลืองงบ' ปรับแนวรถไฟฟ้า เพิ่ม 9 สะพาน
โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย“
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 2:01 น.

การให้สัมปทานรถไฟฟ้าใจกลางเมือง ทั้งนี้รัฐบาลไม่ต้องออกเงินก่อสร้างเองจะทำให้เกิดรายได้สูงเพราะเป็นเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ทางการเงินมีผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าการก่อสร้างออกไปนอกเมือง

เมื่อไม่กี่วันมานี้ (4 มิถุนายน) ผมได้นำหนังสือไปยื่นให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีไม่ได้เกี่ยวกับการเมืองนะครับแต่เสนอวิธีการหาเงินมาฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งจะสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินนับล้านล้านบาท ผมเสนอไว้ดังนี้ครับ สัมปทานรถไฟฟ้าใจกลางเมือง การให้สัมปทานรถไฟฟ้าใจกลางเมือง ทั้งนี้รัฐบาลไม่ต้องออกเงินก่อสร้างเองจะทำให้เกิดรายได้สูงเพราะเป็นเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ทางการเงินมีผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าการก่อสร้างออกไปนอกเมือง เช่น เส้นนราธิวาสราชนครินทร์-พระรามที่ 3-ท่าพระ (แทนรถ BRT ซึ่งไม่เวิร์ก) สายอนุสาวรีย์ชัยฯ-คลองสามเสน-รามคำแหง ซอย 2 (เชื่อมสายสีส้ม) และสายสะพานพระรามที่ 9-รัชดาภิเษก-พระรามที่ 4-เอกมัย-ลาดพร้าว (แนวคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีเทาแต่ไม่ผ่านทองหล่อและไปถึงแค่ลาดพร้าวก็พอ) นอกจากนี้ รัฐบาลยังควรให้สัมปทานรถไฟฟ้ามวลเบา (Light Rail หรือ Monorail) ที่ควรดำเนินการเชื่อมกับรถไฟฟ้ามาตรฐาน เพื่อรองรับการจราจรในเมือง ได้แก่ 1. ถนนทหาร-ประดิพัทธ์-สุทธิสาร-ลาดพร้าว 64 หรืออาจสร้างคร่อมบนคลองบางซื่อซึ่งตั้งอยู่ทางด้านเหนือของถนนข้างต้นแทนเพื่อประหยัดค่าเวนคืนและปัญหาการจราจรในระหว่างการก่อสร้างก็อาจสามารถทำได้เช่นกัน 2. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ถนนสามเสนโดยคร่อมบนคลองสามเสนเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟฟ้าสายบางซื่อ-ราชบูรณะ 3. เทเวศน์-หัวลำโพงโดยสร้างเลียบถนนกรุงเกษมโดยรักษาคลองผดุงกรุงเกษมเอาไว้ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายบางซื่อ-ราชบูรณะกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่หัวลำโพง 4. ช่องนนทรี-สวนพลู-ถนนจันทน์-เจริญกรุง-สี่พระยา-พญาไทโดยเชื่อมระหว่างรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีช่องนนทรีกับพื้นที่ปิดล้อมถนนสวนพลู ถนนจันทน์ ถนนเจริญกรุงบางรัก สี่พระยาและตรงออกสู่ถนนพญาไทถึงสถานีรถไฟฟ้า BTS ที่สยาม 5. สุขุมวิท 39-แสนแสบ-สุขุมวิท 55 เชื่อมกับระบบรถไฟฟ้า BTS 2 สถานีคือสถานีพร้อมพงษ์และสถานีทองหล่อ 6. อุดมสุข-อ่อนนุชโดยเป็นการเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า BTS 2 สถานีคือสถานีอุดมสุขไปตามถนนอุดมสุขถึงสวนหลวง ร.9 และออกสู่ถนนอ่อนนุชเชื่อมกับสถานีอ่อนนุชทั้งนี้ต้องมีข้อกำหนดให้สามารถสร้างอาคารพักอาศัยรอบๆสวนหลวง ร.9 ได้และในแต่ละวันมีผู้ใช้สวนหลวง ร.9 นี้เพียง 800 คนและส่วนมากเชื่อว่าจะเป็นผู้ที่ไปใช้บริการเดิม ๆ ที่ไปออกกำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนใหญ่ การให้สัมปทานเช่นนี้เชื่อว่าในกรณีรถไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไปแบบเดียวกับ BTS 3 สายข้างต้น คงเป็นเงินประมาณเส้นละ 40,000 ล้านบาทโดยเฉลี่ย ส่วนกรณีรถไฟฟ้ามวลเบา 6 เส้นทาง น่าจะเป็นเงินเส้นทางละ 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ 240,000 ล้านบาท การทำรถไฟฟ้าในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป จะทำให้มีเอกชนสามารถเข้าร่วมประมูลได้มากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันเสรี โดยไม่ต้องถูกผูกขาดโดยรายใหญ่ และรัฐบาลแทบไม่ต้องเสียงบประมาณแผ่นดินใด ๆ เพียงแต่ควบคุมและตรวจสอบการจัดทำสัญญาที่ไม่เสียเปรียบภาคเอกชน อย่างไรก็ตามใช่ว่าผมจะเสนอแต่ให้มีรถไฟฟ้าผมเห็นว่าบางสายที่รัฐบาลวางแผนไว้ควรเร่งให้มาก่อนบางสายควรหดหรือยกเลิก รถไฟฟ้าสายบางซื่อ-ราชบูรณะ ผ่านถนนสามเสน เทเวศน์ คลองบางลำพู สะพานพระปกเกล้า ถนนพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ ควรทำก่อนเส้นอื่นเพราะจะมีผู้ใช้บริการมาก รถไฟฟ้าสายสีส้มก็ควรสิ้นสุดที่แยกลำสาลี โดยไม่จำเป็นต้องไปถึงมีนบุรี เพราะยังมีจำนวนประชากรไม่หนาแน่นนัก ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งขนานกันเพียง 2 กิโลเมตรกับสายสีแดงควรเลิก แล้วเชื่อมเข้าลำลูกกาผ่านสายสีแดงแทน เป็นต้น สร้างอย่างหนาแน่นแต่ไม่แออัด โดยที่ในเขตกรุงเทพมหานครมีข้อจำกัดในการก่อสร้างมากมายทำให้การก่อสร้างอาคารต่าง ๆ จำกัด เมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมืองมากขึ้นผมจึงเสนอลุงตู่ให้กำหนดผังเมืองใหม่โดยให้การก่อสร้างในเขตใจกลางเมืองสามารถสร้างสูงได้ถึงประมาณ 15-20 เท่าของขนาดแปลงที่ดิน(Floor Area Ratio : FAR) โดยให้เว้นพื้นที่โดยรอบให้เป็นพื้นที่สีเขียว ส่งเสริมการก่อสร้างอาคารอัจฉริยะอาคารเขียวเพื่อไม่ก่อมลภาวะ พื้นที่ใจกลางเมืองก็ควรให้มีการก่อสร้างสูงได้ยกเว้นพื้นที่ประวัติศาสตร์ (เขตพระนคร)พื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานครยกเว้นบริเวณโดยรอบสวนหลวง ร.9 ก็ควรให้สร้างสูงขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มาใช้สวนสาธารณะแห่งนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นต้น การอนุญาตให้สร้างได้มากกว่าผังเมืองปัจจุบัน จะทำให้เกิดการก่อสร้างในใจกลางเมืองอีกมหาศาล (http://goo.gl/aBukys) โดยสมมุติให้พื้นที่พาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น 2 ล้านตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ที่ขายได้ประมาณ 70% หรือ 1.4 ล้านตารางเมตร และสมมุติให้ตารางเมตรละ 60,000 บาท ก็เป็นเงิน 84,000 ล้านบาทที่เพิ่มขึ้นหากส่วนที่เพิ่มจากกฎหมายเดิม เก็บภาษี 10% ก็จะได้ภาษีนำมาพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มเติมอีก 8,400 ล้านบาท การอยู่อาศัยในใจกลางเมืองยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขยายไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ระบบคมนาคมและขนส่งมวลชนออกไปชานเมืองอย่างไม่สิ้นสุดได้อีก เท่ากับประหยัดงบประมาณแผ่นดินไว้พัฒนาทางด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป ยิ่งกว่านั้นเมืองก็ไม่ขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต คุณภาพชีวิตของประชาชนก็จะดีขึ้นแทนที่จะเสียเงินเสียเวลาเดินทางไกลบนท้องถนน และเป็นการลดมลภาวะอีกด้วย ถนนเลียบและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันจำนวนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีจำกัดทำให้การเดินทางสัญจรประสบปัญหาเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังขาดพื้นที่ถนนเพื่อการรองรับความเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครในการทำหน้าที่ประสานการพัฒนากับจังหวัดภูมิภาค กรุงโซล ซึ่งเป็นเมือง “อกแตก” ตั้งอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร ก็มีสะพานข้ามแม่น้ำถึง 30 สะพานห่างกันทุก 2 กิโลเมตรโดยเฉลี่ยยิ่งถ้าเป็นในย่านใจกลางเมืองยิ่งมีความถี่ในการสร้างสะพานประมาณทุก 1 กิโลเมตร ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีสะพานตั้งแต่ช่วงวงแหวนรอบนอกด้านเหนือถึงวงแหวนรอบนอกด้านใต้เพียง 20 สะพานถือว่าระยะห่างเฉลี่ยระหว่างสะพานคือ 4.32 กิโลเมตร ในเขตใจกลางเมืองตั้งแต่สะพานพระราม 6 ถึงสะพานภูมิพล 1 มีเพียง 12 สะพานโดยมีระยะห่างของแต่ละสะพานถึง 1.9 กิโลเมตร หรือเกือบ 2 กิโลเมตร ดังนั้นผมจึงเสนอลุงตู่ให้ สร้างสะพานเพิ่มเติมในกรุงเทพมหานครได้แก่ 1. บริเวณถนนสุโขทัย-ถนนจรัญสนิทวงศ์ 68 2. ถนนกรุงเกษม-ถนนจรัญสนิทวงศ์ 44 3. ถนนเจริญกรุง-ถนนทวีธาภิเษก (อุโมงค์), 4. ถนนท่าดินแดง-ถนนราชวงศ์ 5. ถนนสี่พระยา-ถนนเจริญรัถ 6. ถนนจันทน์ -ถนนเจริญนคร 27 7. ถนนเจริญกรุง-ถนนพระรามที่ 2 8. ถนนบางนา-ตราด-ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ข้ามบางกระเจ้า) และ 9. ถนนสุขุมวิท -ถนนสุขสวัสดิ์ (ปากน้ำ-บางปลากด) ยิ่งกว่านั้นยังควรสร้างถนนเลียบแม่น้ำเช่นในกรุงโซล โดยก่อสร้างเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร (ไปกลับ) ทั้งสองฝั่ง เพื่อให้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้ด้วยและเป็น การเพิ่มพื้นที่การจราจร การมีสะพานน้อยทำให้ความเจริญกระจาย ออกไปในแนวราบโดยเฉพาะฝั่งตะวันออกสังเกตได้ว่าราคาทาวน์เฮาส์ระดับไม่เกิน 1.5 ล้านบาทยังมีอยู่บริเวณถนนประชาอุทิศที่ตั้งอยู่เพียงข้ามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแต่หากเป็นในฝั่งตะวันออกอาจต้องไปหาซื้อไกลถึงมีนบุรี ดังนั้นการมีสะพานข้ามแม่น้ำมากขึ้นทำให้โอกาสที่ความเจริญจะกระจายไปในเขตใจกลางเมืองด้านตะวันตกก็จะมีมากขึ้น การพัฒนาก็จะหนาแน่นในเขตเมืองชั้นในไม่แผ่ไปในแนวราบมากนักเปิดโอกาสให้ “ชาวกรุงธนฯ” ได้เดินทางสะดวกและถือเป็นการเปิดช่องทางและทำเลในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น การก่อสร้างสะพานยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งและง่ายกว่าการสร้างทางด่วนหรือรถไฟฟ้า การให้เอกชนดำเนินการเช่นจัดเก็บขยะ ตามที่กรุงเทพมหานครระบุว่า มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะปีละ 6,000 ล้านบาทและจะขึ้นค่าจัดเก็บขยะ 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นยังเกิดปัญหาขยะล้นเมืองไม่สามารถแก้ไขได้ ในประเทศไทยมีขยะ 26 ล้านตันต่อปี แต่กำจัดได้อย่างถูกต้องแค่ 7.2 ล้านตัน แนวทางที่เป็นไปได้ก็คือการให้ภาคเอกชนรับสัมปทานการจัดเก็บทำลายขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้แบ่งออกเป็นหลาย ๆ บริษัทเพื่อป้องกันการผูกขาด และให้มีการควบคุมโดยใกล้ชิด ที่ผ่านมาภาคเอกชนสามารถกำจัดขยะและนำมาหารายได้ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ในประเทศสิงคโปร์มีขยะปีละ 7.5 ล้านตัน สามารถรีไซเคิลได้ถึง 60% นำไปเผาและผลิตพลังงานได้ 38% ที่เหลือเพียง 2% เท่านั้นที่นำไปฝังกลบ นอกจากจะลดค่าจัดเก็บขยะปีละ 6,000 ล้านบาทของกรุงเทพมหานครแล้วยังสามารถเกลี่ยเจ้าหน้าที่ไปทำงานอื่นและยิ่งกว่านั้นยังอาจสามารถสร้างรายได้ให้กับกรุงเทพมหานครหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เสียอีก เช่นในกรุงเทพมหานครอาจประหยัดงบประมาณแผ่นดินรวมค่าเครื่องจักร ทรัพยากรมนุษย์และอื่น ๆ ปีละราว 10,000 ล้านบาท โครงการที่ไม่ควรดำเนินการ ในขณะที่เศรษฐกิจฝืดเคืองทางราชการต้องใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติยังมีบางโครงการที่ไม่ควรดำเนินการเพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ตัวอย่างเช่นควรยกเลิกแนวคิดที่จะนำมักกะสันไปทำสวนสาธารณะ ที่ดินแปลงนี้พึงใช้เพื่อกิจการรถไฟโดยเฉพาะในการเชื่อมต่อรถไฟของสนามบิน 2 แห่งและรถไฟฟ้าต่าง ๆ ควรเป็นศูนย์รวมการคมนาคมของการรถไฟ ลุงตู่ควร ยกเลิกโครงการพัฒนาริมแม่น้ำเจ้าพระยา 14,000 ล้านบาท เพราะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ควรสร้างให้เป็นถนน 6 ช่องทางจราจร ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแทน ยิ่งกว่านั้นยังควรยกเลิกการสร้าง สกายวอร์ก ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย สกายวอล์กเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางนาและสถานีบีทีเอสอุดมสุข สกายวอล์กเชื่อมระหว่างสถานีสุรศักดิ์กับสถานีสะพานตากสิน เพราะค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรแพงกว่าสร้างตึกสูงเสียอีก และไม่เกิดประโยชน์เพราะบริเวณดังกล่าวไม่ค่อยมีผู้เดินสัญจรมากนัก ควรสร้างช่วงสุรศักดิ์-ช่องนนทรีน่าจะมีผู้ใช้ประโยชน์มากกว่า พวกเรามาหนุนช่วยลุงตู่พัฒนาเมืองทั้งเมืองกรุงและเทศบาลต่าง ๆ กันนะครับ แต่ภายใต้กรอบที่ลุงประกาศเองว่า “ขอเวลาอีกไม่นาน“ คงไม่อ้างคนรอบข้างว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ให้อยู่ต่อนะครับ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2015 8:11 pm    Post subject: Reply with quote

ใช้การรอนสิทธิแทนเวนคืน แก้สายสีส้มช่วงประชาสงเคราะห์-ออกตอนสร้าง, เสร็จกลับคืน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
13 มิถุนายน 2558 เวลา 05:01


วันที่ 12 มิ.ย. นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยให้ใช้แนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท ขั้นตอนต่อไป รฟม.จะต้องรายงานบอร์ด รฟม.รับทราบ ก่อนส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคม นำเสนอที่ประชุม ครม.เห็นชอบ ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล การอนุมัติคงจะไม่ล่าช้า รฟม.ตั้งเป้าจะสามารถเริ่มการประกวด ราคาได้ประมาณเดือน ต.ค.2558 ทั้งนี้ เหตุผลของ คจร. ที่ให้ใช้แนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท คือ

1.ถ้าปรับไปใช้แนวเส้นทางใหม่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีผู้คัดค้านรายใหม่เกิดขึ้นอีก

2.ต้องการเปิดพื้นที่ย่าน กทม.2 ที่ยังขาดระบบขนส่งมวลชน

3.เส้นทางเดิมอนุมัติหลักการตั้งแต่ปี 2539 แต่มามีปัญหาช่วงปี 2556-2557

4.รัฐลงทุนก่อสร้างสถานีร่วมที่ศูนย์วัฒนธรรมรองรับไว้แล้ว หากไม่ใช้อาจจะทำให้เสียงบประมาณและประโยชน์ใช้สอย

5.แนวเดิมผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว หากเปลี่ยนจะต้องศึกษากันใหม่ทำให้เสียเวลา

นายพีระยุทธกล่าวว่า สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน คจร. มีมติให้ รฟม. ไปทำความเข้าใจ และหาแนวทางลดผลกระทบที่จะเกิดกับชาวบ้านให้น้อยที่สุด ซึ่งตามแนวเส้นทางเดิมจากดินแดง ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปสถานีศูนย์วัฒนธรรม มีผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินจำนวน 184 แปลง ประกอบด้วยบ้านพักอาศัย อาคารต่างๆขนาด 2-4 ชั้น ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือ เบื้องต้นอาจจะใช้วิธีรอนสิทธิแทนการเวนคืนที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินยังมีสิทธิ์ในที่ดินของตนเองและสามารถพักอาศัยได้ตามเดิม ทั้งนี้ ระหว่างก่อสร้างจำเป็นต้องรื้อและให้ย้ายออกไปก่อน โดย รฟม.จะก่อสร้างให้ใหม่ทดแทนภายหลังโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยเร็วๆนี้จะเชิญผู้แทนชุมชนและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมาชี้แจงและทำความเข้าใจ ส่วนกรณีพนักงาน ลูกจ้าง รฟม. ได้แจ้งให้ย้ายออกจากบ้านพักแล้วเช่นกัน โดยขอให้ย้ายออกโดยเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกินสิ้นปี 2558 เนื่องจากต้องเคลียร์พื้นที่สำหรับก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง หรือเดปโป้สายสีส้ม โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 300 ไร่.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2015 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

ทบทวนแผนแม่บทรถไฟฟ้า ขยายสีเขียว-ส้มรับเมืองโต
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
12 มิถุนายน 2558 เวลา 08:59:19 น.


คมนาคมชง คจร.ทบทวนแผนแม่บทรถไฟฟ้า 12 สายใหม่ ขยาย "สายสีส้ม" ไปถึงสุวินทวงศ์ ปรับจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินสถานี "ศูนย์วัฒนธรรม" หรือ "พระราม 9" กทม.ขอขีดเพิ่มเส้นทาง "บางหว้า-ตลิ่งชัน" อีก 7 กิโลเมตร จับตาบีทีเอสหยิบชิ้นปลามันเดินรถสายสีเขียว "หมอชิต-คูคต" และ "แบริ่ง-สมุทรปราการ"

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน วันที่ 10 มิถุนายน 2558 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ขอเสนอทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 12 สายทาง ระยะทางรวม 495 กิโลเมตรใหม่ หลังมีการปรับแนวเส้นทางและเสนอก่อสร้างเส้นทางใหม่เพิ่ม

ประกอบด้วย 1.สายสีส้มจากตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะขอปรับแนวเฟสแรกจากช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เป็นพระราม 9-มีนบุรี พร้อมกับขอขยายเส้นทางเพิ่ม 1 สถานี ช่วงจากมีนบุรีไปถึงสุวินทวงศ์ ระยะทางประมาณ 1-2 กิโลเมตร และ 2.สายสีเขียวอ่อน(ยศเส-บางหว้า) กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะขยายเส้นทางเพิ่มจากบางหว้า-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร หลังจากที่ได้ศึกษาโครงการเสร็จแล้ว จะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 13,000 ล้านบาท

"หาก คจร.อนุมัติ สนข.จะต้องขอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อของบประมาณมาทบทวนแผนแม่บทดังกล่าวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น"

สำหรับรถไฟฟ้า 12 สายทาง ได้แก่
1.สีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร
2.สีแดงอ่อน (ศิริราช-ศาลายา-ตลิ่งชัน-หัวหมาก) ระยะทาง 54 กิโลเมตร
3.สายเชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์ (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร 4.สีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-สมุทรปราการ-บางปู) ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร
5.สีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร
6.สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) ระยะทาง 55 กิโลเมตร
7.สีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 42.8 กิโลเมตร
8.สีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร
9.สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร
10.สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร
11.สีเทา (วัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร และ
12.สีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการขออนุมัติจาก คจร.ให้ชี้ขาดจะให้ กทม. หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 มีมติแค่ให้ รฟม.เป็นผู้ก่อสร้างงานโยธา แต่ไม่ได้ระบุว่าจะให้หน่วยงานไหนเป็นผู้รับผิดชอบการเดินรถ

อย่างไรก็ตาม นโยบายของกระทรวงคมนาคมต้องการจะให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง โดยให้ รฟม.ไปเจรจากับ กทม.เพื่อหาข้อยุติ ก่อนจะไปเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีผู้รับสัมปทานรายเดิมเป็นผู้ดำเนินการ แต่ที่ผ่านมาในการหารือยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจาก กทม.ไม่มีเงินก้อนที่จะมาจ่ายค่าก่อสร้างคืนให้ รฟม. ขณะที่บีทีเอสก็ยื่นข้อเสนอว่าพร้อมจะเดินรถให้ แต่ขอให้รัฐบาลรับผิดชอบภาระหนี้ให้เป็นระยะเวลา 10 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2015 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนหนุนกคช. ปั๊ม‘บ้านคนจน’ เกาะรถไฟฟ้า


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
16 มิถุนายน 2558 22:12 น. (แก้ไขล่าสุด 17 มิถุนายน 2558 00:10 น.)

ASTVผู้จัดการรายวัน - ภาคธุรกิจอสังหาฯแนะหากรัฐจะทำโครงการอพาร์ตเมนต์ ราคาขาย 3 แสนบาทตามแนวรถไฟฟ้า ควรศึกษาข้อมูลโครงการบ้านเอื้ออาทร ยังเหลือขายอื้อ พร้อมชงให้กคช.รับผิดชอบ ด้านผู้บริหารเสนาฯ รัฐต้องชัดเจนและรัดกุมเรื่องการบริหารจัดการ หวั่นเป็นภาระผู้ซื้อในอนาคต เชื่อไม่กระทบตลาดอาคารชุด คนละกลุ่มลูกค้า

นายอธิป พีขานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนาอพาร์ทเมนต์ ให้เช่า หรือ ซื้อ ตามแนวรถไฟฟ้าราคา 3 แสนบาท เพื่อผู้มีรายได้น้อยของนายกรัฐมนตรี เข้าใจว่าต้องการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดการจ้างงาน มีเงินหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องการให้รัฐบาลไปเร่งผลักดันโครงการสาธารูปโภคพื้นฐานและการเร่งให้มีโครงการรถไฟฟ้าทุกสายมากกว่า เพราะเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยาวอีกทั้งยังโครงการที่มีความจำอย่างมากที่จะต้องใช้ในอนาคต

นอกจากนี้รัฐบาลควรศึกษาข้อมูลของโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ปัจจุบันมียูนิตหลือขายพอสมควร และหากจะมีการพัฒนาโครงการอพาร์ตเมนต์สำหรับผู้มีรายได้น้อย สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึง คือ ควรมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติ(กคช.)เป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ควรตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นมาทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ควบคุมปริมาณให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เหลือขายเช่นบ้านเอื้ออาทรที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการทำให้เกิดความโปร่งใสไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ควรพิจารณาว่าในทำเลที่เปิดโครงการมีความต้องการหรือไม่ เช่น อยู่ใกล้แหล่งงาน มหาวิทยาลัย เพราะไม่เช่นนั้นโครงการที่ทำไปแล้วจะไม่มีผู้มาซื้อหรือเช่าอยู่

รศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า น่าจะเป็นโครงการที่ดี โดยน่าจะเป็นการนำที่ดินของภาครัฐมาพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถขายขาดได้ ดังนั้นที่น่าจะทำได้คือโครงการเพื่อเช่าและเช่าซื้อระยะยาว แต่ปัญหาของโครงการประเภทนี้คือ การหาที่ดินซึ่งในขณะนี้ที่ดินในแนวรถไฟฟ้ามีอยู่จำกัด ทำให้ปริมาณในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้น้อย และมีความเป็นไปได้น้อยกว่าโครงการบ้านเอื้ออาทร

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องมีการศึกษาและกำหนดรูปแบบให้ชัดเจน และมีความรอบครอบรัดกุมคือ ระบบการบริหารจัดการ การจัดเก็บค่าส่วนกลาง เพราะโครงการประเภทนี้หากมีค่าส่วนกลางสูงจะทำให้ผู้อยู่อาศัยลำบาก แต่หากจัดเก็บค่าส่วนกลางต่ำเกินไปจะส่งผลให้เกิดภาระต่อนิติบุคคลอาคารชุดในระยะยาว และจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาในอนาคต

นอกจากนี้ การกำหนดระยะเวลาในการเช่าซื้อ ให้สัมพันธ์กับไฟแนนช์ ซึ่งก็มีความสำคัญ ในกรณีที่เมื่อหมดสัญญาเช่าซื้อในอนาคตอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ เช่นเดียวกับกรณีของแฟลตดินแดง ซึ่งในส่วนดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดรูปแบบไฟแนนช์และสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา

“โครงการดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดอาคารชุด เพราะเชื่อว่าหากเกิดขึ้นจะมีจำนวนจำกัด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทรที่เกิดขึ้นจำนวนมากและมีการกระจายตัวไปทุกที่ ผลกระทบบ้านเอื้ออาทรจะชัดเจนมากกว่า นอกจากนี้ อพาร์ตเมนต์ในโครงการดังกล่าวยังเป็นคนละตลาดกับคอนโดแนวรถไฟฟ้าในปัจจุบันด้วย”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2015 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

จี้5จว.ต้นแบบแก้จราจรภูมิภาค คจร.เร่งแผนแม่บท/สนข.จ้าง 3 มหาวิทยาลัยศึกษา
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
ออนไลน์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2558 เวลา 16:45 น.
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,061 วันที่ 14 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คจร.ติวเข้มอจร.ภูมิภาค เร่งวางแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมือง มอบสนข.ใช้งบกว่า 33 ล้านว่าจ้าง 3 มหาวิทยาลัยศึกษานำร่องที่เชียงใหม่-ขอนแก่น-นครราชสีมา-ภูเก็ต-หาดใหญ่ ด้าน เชียงใหม่-ภูเก็ตเสนอใช้ระบบแทรมป์ ส่วนโคราชเสนอบีอาร์ที หาดใหญ่ขอใช้โมโนเรล
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองพล.อ.อ.ประจิน จั่นตองพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) กำหนดแนวทางดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาค โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต และสงขลา(หาดใหญ่)
"ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจข้อมูลด้านการจราจรและขนส่งใน 5 เขตเมืองดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในระยะเร่งด่วน โดยใช้งบประมาณประจำปี 2558-2559 ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จให้จังหวัดต่างๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกัน"
ด้านแหล่งข่าวระดับสูง สนข. กล่าวว่าปัจจุบันคจร.ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะ 5 เมืองหลักข้างต้น โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาคของประเทศโดยใช้งบประมาณวงเงิน 33 ล้านบาท
"ตามแผนเดิมกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)ระดับจังหวัดจะเป็นผู้รับภารกิจนี้ไปดำเนินการ ซึ่งบางจังหวัดจัดทำแผนดำเนินการเอง แต่เมื่อ คจร.มอบหมายให้สนข.จัดทำเกณฑ์ดังกล่าว ไว้ในแผนหลักพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค ซึ่งจัดทำแผน 3 ระดับ คือระดับเล็ก ระดับกลาง และระดับใหญ่ ให้เป็นเมืองต้นแบบ โดยในปี 2558-2559 จะเห็นการปรับปรุงแผนใน 5 เมืองหลักข้างต้น รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ของรัฐบาล อาทิ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วปานกลาง หรือไฮสปีดเทรน"

1. แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าโครงการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นจะต้องไปศึกษาทบทวนโครงการรถเมล์บีอาร์ที 5 สายทางระยะทาง 108 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 6,356 ล้านบาท โดยต้องผ่านการพิจารณาของอจร.ในพื้นที่ก่อน หากมีความเหมาะสมและสอดคล้องตามที่คจร.กำหนดจึงจะไปพิจารณาว่าควรใช้ระบบใดที่เหมาะสม อาทิ รถไฟฟ้าโมโนเรล แทรมป์ หรือบีอาร์ที
สำหรับโครงการระบบขนส่งสาธารณะตามเมืองหลักต่างๆที่อยู่ระหว่างการนำเสนอกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลเร่งผลักดัน ประกอบด้วย

2. เมืองภูเก็ต อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดเส้นทาง สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง โครงการรถรางไฟฟ้า(Tram) ช่วงสัปดาห์หน้าจะมีการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนและหน่วยงานต่างๆโดยผู้บริหารระดับจังหวัดจะรณรงค์ให้ข้อมูลแก่ประชาชนมากขึ้น ระยะทาง 60 กิโลเมตร มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท(รวมจัดหารถ)
3. จังหวัดเชียงใหม่จะใช้รถรางไฟฟ้า(Tram) 4 สาย ระยะทาง 100 กิโลเมตร มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท
4. นครราชสีมาจะใช้รถประจำทางด่วนพิเศษ(บีอาร์ที) 5 สายทาง 47 กิโลเมตร
5. เมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รถไฟรางเดี่ยว โมโนเรล ระยะทาง 28 กิโลเมตร

จาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2015 12:05 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ประมูลรถไฟฟ้า3เส้นทาง ‘สร้อยทิพย์’ลั่นก่อนกันยายนนี้/ทั้งสีส้ม-ชมพู-เหลือง

BUSINESS, REAL ESATE
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัส ที่ 18 มิถุนายน, 2558

ปลัดคมนาคมเร่ง รฟม.ชงโครงการรถไฟฟ้า 3 สายสีชมพู–สีส้ม–สีเหลือง ภายในมิถุนายนนี้ ลุ้น ครม.อนุมัติเปิดประมูล 5 ระบบราง ทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟทางรางอีก 2 เส้นทางมีคลองสิบเก้า–แก่งคอย, ชุมทางถนนจิระ–ขอนแก่น “สร้อยทิพย์” ลั่นอยากเห็นเปิดประมูลรถไฟฟ้าพร้อมกัน 3 เส้นทาง

นางสร้อยทิพย์ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรียบร้อยแล้ว กระบวนการหลังจากนี้เพียงรฟม.นำมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ในครั้งนี้เข้ารายงานให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.รับทราบเท่านั้น ดังนั้นในช่วงปลายปีนี้นอกเหนือจากจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทาง โครงการสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 แล้วยังมีโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าได้อีก 4-5 เส้นทาง

“ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้จัดทำร่างเรื่องเพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับไว้แล้ว เพียงเติมมติคจร.เข้าไปให้สมบูรณ์เท่า นั้น ดังนั้นจึงเร่งรัดให้รฟม.เร่งส่งเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม–มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย–มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรงมายังกระทรวงคมนาคมให้ได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้เพื่อเสนอครม.อนุมัติให้เปิดประมูลต่อไป ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ที่เหลืออีก 2-3 เส้นทางก็จะเร่งผลักดัน โดยหากเส้นไหนผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้วจะต้องนำเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.เห็นชอบให้เปิดประกวดราคาต่อไป อยากทำให้สำเร็จภายในเดือนกันยายนนี้โดยจะเร่งนำเสนอประกวดราคารถไฟฟ้าให้ได้พร้อมกันทั้ง 3 เส้นทาง”

ด้านนายวุฒิชาติกัลยาณมิตรผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่าอยู่ระหว่างการเร่งรัดโครงการประกวดราคารถไฟทางคู่เส้นทางประจวบคีรีขันธ์–ชุมพรตามที่ได้ผ่านอีไอเอ แล้ว ขณะที่เส้นทางชุมทางคลองสิบเก้า–แก่งคอย ที่ร.ฟ.ท.เสนอทีโออาร์ให้ตรวจสอบนั้น ยืนยันไม่มีปัญหาเพียงแต่รอให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตอบหนังสือกรณีที่เดิมเคยรวมเอาการจัดซื้อเครื่องมือเข้าไว้ด้วยสตง.จึงท้วงติง เมื่อได้รับหนังสือตอบกลับจากสตง.แล้วก็จะนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท.เห็นชอบเพื่อเปิดประกวดราคาต่อไป

ส่วนเส้นทางชุมทางถนนจิระ–ขอนแก่น ครม.อนุมัติให้จัดประกวดราคาได้แล้วนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) เช่นเดียวกับช่วงประจวบคีรีขันธ์–ชุมพรก็จะเร่งผู้เกี่ยวข้องจัดทำเอกสารประกวดราคานำเสนอโดยเร็วต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2015 1:49 am    Post subject: Reply with quote

ผ่านบ้านใครบ้าง เส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล สุวรรณภูมิ แพรกษา สุขุมวิท

Click on the image for full size

มาถึงระยะสุดท้ายแล้ว สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) โดยบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนทั้งในปัจจุบันและอนาคตเพื่อจัดทำแผนแม่บทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ของ อบจ.สมุทรปราการ



ประเด็นที่ต้องศึกษาประกอบด้วย แนวสายทางสถานีโดยสาร สถานีสับเปลี่ยนเส้นทาง อาคารจอด และศูนย์ซ่อมบำรุง รวมถึงวิเคราะห์ความเหมาะสมของการดำเนินโครงการ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ความเป็นไปได้เบื้องต้นทางด้านวิศวกรรม อีกทั้งรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม

หลังจากบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอแนวเส้นทาง 4 เส้นทางได้แก่ สายสุวรรณภูมิ-บางปู, สายแพรกษา (ช่วงบางพลี-ตำหรุ-สุขุมวิท), สายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท และสายบางปู-แพรกษา-สุขุมวิท เบื้องต้นให้กับ อบจ.พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อเป็นเส้นทางนำร่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษาและการออกแบบโครงสร้าง

บริษัทที่ปรึกษาเสนอเส้นทาง สุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิกับรถไฟฟ้าสีเขียวได้สะดวก โดยจุดเริ่มต้นจะเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีลาดกระบัง แล้วจะมาตามถนนกิ่งแก้ว ถนนตำหรุ-บางพลี เมื่อถึงแยกแพรกษาจะมุ่งหน้าไปตามถนนแพรกษาสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิทเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว รวมระยะ 29.79 กิโลเมตร

สถานีจะมีทั้งหมด 15 สถานี คาดการณ์ผู้โดยสายในปี 2564 จะมีผู้โดยสารประมาณ 72,702 คน/วัน และคาดการณ์ปี 2590 จะมีผู้โดยสารประมาณ 365,975 คน/วัน

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) จะคัดเลือกเส้นทางที่บริษัทที่ปรึกษาเสนออีก 3 เส้นทางมาเจาะลึกว่าเส้นทางใดจะเป็นเส้นทางนำร่องโครงการโมโนเรล ติดตามจากข่าวหน้าครับ



ตำแหน่งสถานี
- ลาดกระบัง / จุดเชื่อม Airport Rail Link
- กิ่งแก้ว 60 / ซอยกิ่งแก้ว 60/2
- กิ่งแก้ว 50 / ซอยกิ่งแก้ว 50
- รพ.จุฬารัตน์ 9 / หน้าทางเข้าวัดกิ่งแก้ว
- ราชาเทวะ / ซอยกิ่งแก้ว 19
- บางนา-ตราด 1 / ซอยกิ่งแก้ว 1
- บางนา-ตราด 2 / หน้ามูลนิธิร่วมกตัญญู
- บางพลีใหญ่ / หน้า บจ.ไทยคาเนะ
- เทพารักษ์ / แยกเทพารักษ์
- จงสิริ / แยกจงศิริ
- เพชรงาม / หน้าเอื้ออาทรแพรกษา 2
- แพรกษา 14 / หน้าเอื้ออาทรแพรกษา 14
- วัดแพรกษา / หน้าวัดแพรกษา
- พุทธรักษา / ซอยเทศบาลบางปู 34
- แพรกษา / จุดสิ้นสุดเชื่อมสายสีเขียว
จ่อยเองค๊าบ เก็บ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42733
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2015 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

อ่านบทความนี้รู้สึกสังเวช คนเขียน ที่คิดอะไรได้ตื้นเขิน ปานนี้ ขนาดรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ราคาคนรวยยังอัดกันเต็มขบวนรถ ถ้ามาตั้งราคาคนจนอย่างที่ผู้เขียนต้องกัน มิยัดทะนานกันหรือ
http://tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=3159
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 115, 116, 117 ... 278, 279, 280  Next
Page 116 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©