RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271257
ทั้งหมด:13582546
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 130, 131, 132 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2016 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.คาด เริ่มสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลือง ภายใน เม.ย.60
โดย ไทยรัฐออนไลน์
30 มี.ค. 2559 16:45

ผู้ว่าการ รฟม.คาด เซ็นสัญญา-เริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลืองได้ ใน เม.ย.60 เผย เสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก มูลค่า 9.2 หมื่นล้าน ให้คมนาคมพิจารณาแล้ว จ่อชง ครม.สัปดาห์หน้า...

เมื่อวันที่ 30 มี.ค.59 นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จะสามารถนำเสนอผลการประมูลทั้ง 2 สายต่อที่ประชุม ครม.ราวต้นปี 60 และคาดว่า จะลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน เม.ย.60 ทั้งนี้ รฟม.จะพยายามเร่งรัดการเปิดประมูลทั้ง 2 โครงการจากกำหนดเปิดประมูลในเดือน มิ.ย.นี้

ขณะเดียวกัน ได้นำเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มูลค่า 9.2 หมื่นล้านบาท ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุม ครม.พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ภายในเดือน เม.ย.นี้. และเสนอต่อกระทรวงคมนาคม จากนั้นเข้าที่ประชุม ครม.เพื่ออนุมัติดำเนินการต่อไป.

//-------------

คาดเปิดประมูลสายสีเหลือง-ชมพู มิ.ย.นี้
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
29 มีนาคม 2559 เวลา 17:55 น.



ครม. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในลักษณะ พีพีพี ฟาสต์แทร็ก คาดเปิดประกวดราคาได้ในเดือนมิถุนายนนี้

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 53,490 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 51,810 ล้านบาท รวม 109,300 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

โดยเป็นรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล หรือรางเดี่ยวยกระดับ และเปิดให้เอกชนลงทุนในลักษณะ PPP ขณะนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. จัดทำทีโออาร์ คืบหน้ากว่าร้อยละ 90 คาดจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในเดือนมิถุนายนนี้ และเริ่มก่อสร้างในปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี 3 เดือน โดยจะเร่งการก่อสร้างให้เร็วขึ้น เพื่อเปิดใช้บริการได้เร็ว

รถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว ถือเป็นโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ชุดแรกที่ผ่านระบบพีพีพี ฟาสต์แทร็ก หรือการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ลดขั้นตอนการจัดเตรียมและนำเสนอโครงการ จาก 2 ปี เหลือ 9 เดือน

รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้ รัฐจะรับผิดชอบค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้เอกชนลงทุนระบบงานโยธา ระบบรถและขบวนรถไฟฟ้า ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารการเดินรถและค่าซ่อมบำรุง โดยให้สิทธิ์ร่วมลงทุน 30 ปี และเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร พร้อมกับรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2016 3:51 pm    Post subject: Reply with quote


นี่ครับโมโนเรลสายสีชมพู
https://www.youtube.com/watch?v=_5-IzliApww

ครม.ไฟเขียวอนุมัติแล้ว! โมโนเรล สายสีชมพู / สายสีเหลือง
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย สิณีวรรณ เทศปัญ กองบรรณาธิการ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ sineewan@ddproperty.com
DDproperty
29 มีนาคม 2559


สดๆร้อนหลังจาก ครม.ไฟเขียวอนุมัติแล้ว! โมโนเรล สายสีชมพู / สายสีเหลือง ดึงเอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เป็นระบบรถไฟฟ้าทางเดี่ยว (โมโนเรล) และอนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost ตามที่คณะกรรมการ PPP นำเสนอ

ทั้งนี้ โครงการทั้ง 2 ได้ปรับลดกรอบวงเงินลง โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร 30 สถานี ปรับลดลงเหลือ 53,490 ล้านบาท จากเดิม 56,691 ล้านบาท และสายสีเหลือง ระยทาง 30.4 กิโลเมตร 23 สถานี ปรับลงมาเป็น 51,810 ล้านบาท จาก 54,644 ล้านบาท รวมวงเงินลงทุนทั้งหมดที่ 105,300 ล้านบาท จากเดิม 111,335 ล้านบาท

trainpink

สำหรับรูปแบบ PPP Net Cost รัฐจะลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 6,847 ล้านบาทในรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีเหลือง จำนวน 6,013 ล้านบาท รวมทั้งให้วงเงินสนับสนุนแก่เอกชนสำหรับงานโยธาไม่เกิน 21,200 ล้านบาทสำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และไม่เกิน 22,354 ล้านบาทสำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ขณะเอกชนจะต้องลงทุนงานโยธาส่วนใหญ่ ค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งงานบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ โดยให้ระยะเวลาเอกชนดำเนินการ 33 ปี ซึ่งรวมระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาสัมปทานเดินรถ 30 ปี ซึ่งเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงของจำนวนผู้โดยสาร

ทั้งนี้ หากเอกชนสามารถดำเนินงานได้ดีกว่าที่ภาครัฐศึกษาไว้ก็ให้แบ่งปันผลประโยชน์แก่รัฐด้วย ซึ่งจะระบุไว้ใน TOR ด้วย โดยรัฐได้ประเมินจำนวนผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีชมพู 2.7 แสนเที่ยว/วัน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 2.5 แสนเที่ยว/วัน โดยเบื้องต้นกรอบค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท/เที่ยว

หลังจาก ครม.อนุมัติแล้ว กระทรวงคมนาคมจะเริ่มกระบวนการเพื่อเปิดประมูลโครงการ โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนเอกชน พ.ศ. 2535 ซึ่งร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้จัดทำไป 90% แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายใน 3 เดือนหรือประมาณเดือน มิ.ย.59

“ครม.ให้เร่งรัดการประมูลให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน จากนี้ไปก็ขอให้คณะกรรมการมาตรา 35 พิจารณากรอบเวลาด้วย”นายอาคม กล่าว

รมว.คมนาคม กล่าวว่าการเปิดประมูลจะเป็นประมูลแบบนานาชาติที่จะต้องมีเจ้าของเทคโนโลยีรถไฟโมโนเรลเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ปัจจุบันผู้ประกอบการเทคโนโลยีโมโนเรลมีหลายแห่ง อาทิ ยุโรป แคนาดา เกาหลี จีน เป็นต้น อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นแผนเร่งด่วน ต้องเร่งดำเนินการให้เปิดประมูลให้ได้ 2 เดือนนับจากนี้



BTS เตรียมเงินกว่าแสนลบ.พร้อมเข้าชิงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู,ชะลองานตปท.
โดย จำเนียร พรทวีทรัพย์/วิลาวัลย์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--


ข่าวหุ้น-การเงิน
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
พฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 16:07:36 น.

บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เตรียมเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู ที่คาดว่าจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ รวมทั้งยังให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลงานโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าทุกเส้นทางในประเทศ ทำให้ต้องชะลอการประมูบงานในต่างประเทศออกไปก่อน

ขณะที่คาดว่าในปี 59/60 (เม.ย.59-มี.ค.60) จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส จะเติบโต 5-6% ตามการขยายตัวของเมือง โดยเตรียมงบลงทุนกว่าหมื่นล้านบาทเพื่อซื้อขบวนรถเพิ่ม 43 ขบวนภายในงวดปี 59/60

นอกจากนี้ยังจะร่วมมือกับบมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (GLAND) ศึกษาการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ หลังร่วมกันซื้อที่ดิน 50 ไร่ย่านพหลโยธิน

//-----------------------------

BTS ทุ่มแสนล้านชิงรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู
Money Channel
พฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 16.18 น.

BTS โดดชิงเค้ก จัดงบแสนล้านแข่งประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู พร้อมชะลองานในต่างประเทศ

บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ระบุว่า เตรียมเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลในเร็วๆ นี้ รวมทั้งยังให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลงานโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าทุกเส้นทางในประเทศ จึงต้องชะลอการประมูบงานในต่างประเทศออกไปก่อน

ส่วนการดำเนินงานคาดว่าในปี 59/60 (เม.ย.59-มี.ค.60) จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส จะเติบโต 5-6% ตามการขยายตัวของเมือง โดยเตรียมงบลงทุนกว่าหมื่นล้านบาทเพื่อซื้อขบวนรถเพิ่ม 43 ขบวนภายในงวดปี 59/60

อีกทั้งจะร่วมมือกับบมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (GLAND) ศึกษาการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ หลังร่วมกันซื้อที่ดิน 50 ไร่ย่านพหลโยธิน

ก่อนหนานี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จะสามารถนำเสนอผลการประมูลทั้ง 2 สายต่อที่ประชุม ครม.ราวต้นปี 60 และคาดว่า จะลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน เม.ย.60 โดยรฟม.จะพยายามเร่งรัดการเปิดประมูลทั้ง 2 โครงการจากกำหนดเปิดประมูลในเดือน มิ.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2016 7:13 pm    Post subject: Reply with quote



ได้เริ่มทำรถไฟฟ้าในอีก 3 เดือนข้างหน้า หลังจากได้อนุมัติเพิ่มอีก 3 สายแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=ZHSQzFCHZTg
https://www.youtube.com/watch?v=woNCnrHQG8M
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2016 10:13 pm    Post subject: Reply with quote

"ซีเมนส์" ชน "ญี่ปุ่น-จีน" ทวงบัลลังก์ยักษ์รถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ออนไลน์เมื่อ 02 เมษายน 2559 เวลา 19:00:09 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน ถึง 6 เมษายน 2559

ข่าวหน้า 1 - ซีอีโอ "ซีเมนส์" ชี้ประเทศไทยยังน่าลงทุน ตั้งป้อมฝ่าวงล้อม "จีน-ญี่ปุ่น" ชิงเค้กรถไฟฟ้าหวังทวงบัลลังก์เจ้าตลาดคืน หมายตาสายสีน้ำเงิน-สีเขียวส่วนต่อขยาย เผยบีทีเอส-บีอีเอ็มเป็นพันธมิตรที่ดี ล่าสุดซิวงานระบบไฟฟ้าทางคู่ "จิระ-ขอนแก่น" ลุยประมูลต่ออีก 4 สาย

อ่านบทสัมภาษณ์ของ นายมาร์คุส ลอเรนซินี่ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายระบบรถไฟฟ้าจากประเทศเยอรมนี เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจ ประเด็น ปักธงพลังงาน-ระบบราง ,เกาะติด BEM-BTS-จีทูจี เเละการตั้งโรงงานในไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2016 8:05 am    Post subject: Reply with quote

ปรับราคาสายสีส้มเหลือ9.24หมื่นล. คค.ชงครม.5 เม.ย.ขออนุมัติเปิดประมูล
โดย MGR Online 4 เมษายน 2559 07:18 น.

Click on the image for full size

"คมนาคม"คาดชงครม.5เม.ย.นี้ ขออนุมัติรถไฟฟ้าอีก 2 โครงการ โดยสายสีส้ม( ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) รฟม.ได้ปรับลดค่าก่อสร้างลงกว่า 2.6 พัน ล. คาดเร่งเปิดประมูลได้ใน 3 เดือน ส่วนเดินรถ1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ เสนอจ้าง BEM รับงาน 2 ปี

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งให้เร่งรวบรวมข้อมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.2 กม.ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ทบทวนปรับลดกรอบเงินลงทุนงานโยธาโครงการลง และได้เสนอเรื่องมาที่กระทรวงคมนาคมแล้ว คาดว่าจะสามารถคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาได้ในการประชุมวันที่ 5 เม.ย.นี้ ส่วน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 5 (งานเดินรถ 1 สถานี) ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม. ซึ่งรฟม.ได้เสนอการเจรจาของคณะกรรมการ มาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้นำเสนอครม.แล้วเช่นกัน

"เดิมคาดว่าจะเสนอรถไฟฟ้าสายสีส้มเข้าครม.ได้เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ รฟม.เพิ่งส่งรายละเอียดเข้ามาและตามขั้นตอน จะต้องส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาก่อน ซึ่ง สนข.ได้ส่งเรื่องกลับมากระทรวงแล้ว คาดว่าจะสรุปเสนอครม.ได้ในอังคารหน้า โดยสายสีส้.มเป็น 1ใน 20 โครงการลงทุนของคมนาคมที่จะเปิดประมูลในปีนี้ " ปลัดคมนาคมกล่าว

ทั้งนี้ ครม.เมื่อ วันที่ 8 ธ.ค.ได้ มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก ( ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ) วงเงิน 95,108 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนงานโยธาที่รัฐเป็นผู้ลงทุน โดยแบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 9,625 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธารวม 85,483 ล้านบาท โดยครม.ได้ให้รฟม.ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในเรื่องการออกแบบก่อสร้างนั้นจะต้องประหยัดและใช้วัสดุภายในประเทศ ส่วนระบบรถไฟฟ้า ระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณนั้น จะต้องสนับสนุนซุปเปอร์คลัสเตอร์เช่น ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ และให้สนับสนุนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในประเทศโดยเฉพาะ SME ให้เข้ามามีส่วนร่วมและเสนอครม.อีกครั้ง

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ได้เห็นชอบการปรับลดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ลงอีก 1,620 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ปรับลดไปแล้ว 1,028 ล้านบาท หรือเท่ากับปรับลดรวม 2,648 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินรวมลดลงจาก 95,108 ล้านบาท เหลือ 92,460 ล้านบาท โดยมีการปรับลดเกรดวัสดุบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการและความปลอดภัย เช่น ฝ้าเพดานจากฝ้าปิดเป็นฝ้าเปลือย ลดค่าใช้จ่ายลง 200 กว่าล้านบาท ชะลองานเทพื้นศูนย์ซ่อมบำรุงฝั่งตะวันตกไว้ก่อน โดยสามารถปรับลดลงได้ 650 ล้านบาท เป็นต้น คาดว่า หลังครม. จะใช้เวลาในการจัดทำราคากลางและเปิดประมูลได้ภายใน 2-3 เดือน

ส่วนผลการเจรจาการเดินรถ 1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ นั้น ได้ขยายเวลาจ้าง BEM จาก 1 ปี เป็น 2 ปี หลังจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ไม่เห็นกับการจ้าง 1 ปี
และต้องการให้การเดินรถ 1 สถานี สอดคล้องกับเดินรถสายเฉลิมรัชมงคล และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ ที่จะเปิดให้บริการประมาณปี 2562
ด้วยนั้น กก.มาตรา 13 ได้ขยายเวลาจ้างเดินรถเป็น 2 ปีวงเงินค้าจ้างปีละ 52 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมระยะเวลาในการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสารระบบตั๋วโดยสารที่สถานีเตาปูน ซึ่ง BEM จะเป็นผู้ลงทุน 693 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน จากนั้นจึงจะเป็นการ บริหารการเดินรถ 24 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2016 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแนวเวนคืน "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" ทุ่ม 9 พันล้านรื้อ 594 หลัง "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 09 เม.ย 2559 เวลา 10:00:02 น.

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต โดย มิสเซอร์เวย์

เป็นรถไฟฟ้าอีกหนึ่งสายทางที่ "รัฐบาลประยุทธ์" กำลังเร่งปักหมุดภายในรัฐบาลชุดนี้ สำหรับสายสีส้มเฟสแรก ระยะทาง 21.2 กม. เชื่อมสถานี "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี"

Click on the image for full size

เพราะหากพ้นจากนี้ไปแล้ว ไม่รู้ว่าจะใช้เวลาไหนผลักดันโครงการได้สำเร็จ ด้วย "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ต้องกู้มาก่อสร้างกว่า 92,460 ล้านบาท

ความคืบหน้าขณะนี้ "กระทรวงคมนาคม" ได้เสนอ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนเพื่อเดินหน้าประมูลโครงการ มีแผนจะเปิดขายซองประมูลภายในเดือน พ.ค.นี้ แบ่งก่อสร้างเป็น 6 สัญญา คาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้างปลายปีนี้และเริ่มก่อสร้างต้นปี 2560 ใช้เวลาประมาณ 4 ปี ตามกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2563

ล่าสุดแนว พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินมีผลบังคับใช้แล้วเช่นกัน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา (ดูแผนที่) จากนี้ "รฟม." ในฐานะเจ้าของโครงการจะเริ่มเวนคืนที่ดินเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะเปิดไซต์งานต้นปี 2560

สำหรับแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายปัจจุบัน จากนั้นไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) สำนักงาน รฟม. แล้วเบี่ยงแนวไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวเข้า ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง

ตลอดระยะทาง 21.2 กม. เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.2 กม.จากศูนย์วัฒนธรรม-สถานีคลองบ้านม้า จากนั้นจะเป็นโครงสร้างทางยกระดับ 9 กม. จนถึงสถานีปลายทางที่สถานีสุวินทวงศ์ จะมีเวนคืนที่ดิน จำนวน 594 แปลง และอาคารสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 222 หลัง รวมค่าเวนคืน 9,625 ล้านบาท

โดยจุดที่จะเวนคืนที่ดินอยู่บริเวณจุดขึ้น-ลงสถานี มีรัศมีแนวเขตทางกว้างตั้งแต่ 200-500 เมตร เพื่อก่อสร้าง 17 สถานี พาดผ่านพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตสะพานสูงและเขตมีนบุรี

แต่จะมีจุดเวนคืนใหญ่อยู่ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม สถานีประดิษฐ์มนูธรรม สถานีลำสาลี สถานีมีนบุรี และสถานีปลายทางสุวินทวงศ์

รวมถึงเวนคืนที่ดินย่านสถานีคลองบ้านม้า จะเป็นจุดก่อสร้างจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) จอดรถได้ 1,200 คัน และมีนบุรีที่จะใช้จุดจอดรถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) จอดได้ 3,000 คัน

สำหรับจุดที่ตั้งทั้ง 17 สถานี ประกอบด้วย
1.สถานีศูนย์วัฒนธรรม อยู่ใต้ ถ.รัชดาภิเษกหน้าห้างเอสพลานาด เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายปัจจุบัน จะเจาะอุโมงค์ทะลุเข้าห้างเอสพลานาดด้วย ซึ่งตามแบบจะใหญ่กว่าที่สถานีพระราม 9
2.สถานี รฟม.อยู่บริเวณประตูติด ถ.พระราม 9
3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม อยู่ใต้ ถ.พระราม 9 ปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก
4.สถานีรามคำแหง 12 อยู่ด้านหน้าห้างเดอะมอลล์
5.สถานีรามคำแหง อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
6.สถานีราชมังคลา อยู่ด้านหน้าสนามกีฬาหัวหมาก
7.สถานีหัวหมาก อยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลรามคำแหง
8.สถานีลำสาลี ตั้งอยู่บริเวณแยกลำสาลี
9.สถานีศรีบูรพา อยู่บริเวณแยกรามคำแหงตัด ถ.ศรีบูรพา หน้าห้างบี๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3
10.สถานีคลองบ้านม้า อยู่ระหว่างซอยรามคำแหง 92-94
11.สถานีสัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร
12.สถานีน้อมเกล้า อยู่หน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
13.สถานีราษฎร์พัฒนา อยู่หน้าบริษัทมิสทิน
14.สถานีมีนพัฒนา อยู่ช่วงทางเข้าวัดบางเพ็ญใต้
15.สถานีเคหะรามคำแหง ตั้งอยู่ปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง
16.สถานีมีนบุรี อยู่บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น ซอยรามคำแหง 192 เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ
17.สถานีสุวินทวงศ์ อยู่ใกล้แยกสุวินทวงศ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2016 4:41 pm    Post subject: จับแพะชนแกะสไตล์อีตาโสภณ Reply with quote

บทเรียนด่วน2-โทลเวย์-โฮปเวลล์ กับรถไฟฟ้าสายสีแดง-เขียว
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 11 เมษายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,146 วันที่ 7 – 9 เมษายน พ.ศ. 2559

บทเรียนด่วน2-โทลเวย์-โฮปเวลล์ กับรถไฟฟ้าสายสีแดง-เขียว
เมื่อ 25 ปีก่อน ด่วน 2 โทลเวย์ และโฮปเวลล์ ต่างสร้างขึ้นไปในทิศทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร และโดยที่เป็นการแข่งขันกันเองจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นี่คือบทเรียนสำคัญของการพัฒนาสาธารณูปโภคแบบกระเป๋าใครกระเป๋ามัน ที่อาจเกิดซ้ำในกรณีรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว

ผมได้รับมอบหมายจากทางกองบรรณาธิการฐานเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจชั้นนำของประเทศ ให้เขียนบทวิเคราะห์นี้เพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่นักวางนโยบายและแผนของชาติ พร้อมกับให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม โดยมุ่งชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ขาดการประสานงาน จนนำไปสู่ความล้มเหลว เหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดซ้ำขึ้นอีกในอนาคต โดยเฉพาะกรณีรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว เรามาลอง สรุปบทเรียนในอดีตที่ผ่านมากัน

ต่างสร้างดาวกันคนละดวง

โครงการทางด่วนทั้ง 3 เส้น ต่างก็สร้างกันไปทางเดียวกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้:

1. โครงการทางด่วนขั้นที่สอง เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยร่วมกับ บจก.กูมาไกกูมิ จากประเทศญี่ปุ่น ทางด่วนนี้วิ่งขึ้นเหนือไปจนถึงบางปะอินและสามารถเชื่อมต่อไปยังถนนสายเอเซีย

2. โครงการดอนเมืองโทลเวย์ ก็สร้างคร่อมอยู่บนถนนวิภาวดี-รังสิตไปสิ้นสุดตรงบริเวณประมาณ ก.ม.35 ของ ถ.พหลโยธิน โครงการนี้เป็นของกรมทางหลวง และ

3. โครงการโฮปเวลล์ก็สร้างคู่ขนานกับถนนวิภาวดีโดยคร่อมเส้นทางรถไฟไปทางด้านเหนือเช่นกัน โครงการนี้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัทของมหาเศรษฐีฮ่องกงชื่อลีกาชิง

ปัญหาอยู่ตรงไหน

แล้วทำไมไม่ประสบความสำเร็จ ประเด็นก็คือ โดยที่ทั้ง 3 เส้นทางนี้ล้วนแต่แข่งขันกันเองจึงปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

1. ทางด่วนขั้นที่ 2 โดยเฉพาะตั้งแต่ ถ.แจ้งวัฒนะขึ้นไปทางด้านเหนือมีผู้ใช้จำนวนน้อยมากมาก ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ขาดทุนก็ว่าได้ แม้แต่ตอนเริ่มต้นโครงการก็เกิดปัญหาจน บจก.กูมาไกกูมิ ต้องถอนตัวออกไปเลย

2. ดอนเมืองโทลเวย์ ก็มีผู้ใช้สอยน้อยมาก จนต้องมีการนำหางบัตรมาจับฉลากแลกสร้อยคอทองคำกันเลย มาถึงสมัยรัฐบาลทักษิณได้ส่งเสริมให้มีการลดราคาเหลือเพียง 20 บาทตลอดสาย จึงมีผู้คนขึ้นกันอย่างล้นหลาม แต่ในภายหลัง เมื่อมีการขึ้นค่าโดยสารอย่างมหาโหด ก็กลับมีคนขึ้นน้อยลงเป็นอย่างมาก ยกเว้นในชั่วโมงเร่งด่วนจริงๆ

3. โครงการโฮปเวลล์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด กลายเป็นโครงการที่ผมขนานนามว่าเป็น Stonehenge เมืองไทย เพราะมีสภาพคล้ายเสาหินในอังกฤษ

ความทำอย่างไร

ถ้าหน่วยราชการโดยรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ มีการทำงานอย่างมีบูรณาการ ก็ควรให้สร้างเฉพาะโครงการโฮปเวลล์ ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาทางรถไฟและทางด่วนไปพร้อมๆ กัน โดยไม่พึงสร้างทางด่วนบนทางหลวงเดิมคือ ถ.วิภาวดี ส่วนกรณีทางด่วนขั้นที่ 2 ก็ควรให้สิ้นสุดลงเฉพาะถนนงามวงศ์วานหรืออย่างมากไม่เกินแจ้งวัฒนะ และให้รวมเส้นทางกับโครงการโฮปเวลล์เพื่อเชื่อมต่อไปจนถึงรังสิต

เมื่อโครงการสร้างทางด่วนขึ้นเหนือสำเร็จ ในขั้นตอนต่อมา ก็อาจพัฒนาตามทางรถไฟต่อไปจนถึงบางปะอินและวังน้อยก็ยังได้ แต่โดยที่การลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องของ “คนละกระเป๋า” จึงต่างคน “ต่างสร้างดวงดาว” และล้มเหลวในที่สุด ที่สำคัญทำให้ผลประโยชน์ของชาติเสียหาย ทำให้ประชาชนอดใช้สอยประโยชน์เท่าที่ควร และชื่อเสียงของประเทศไทยก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

ประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอย?

เหตุการณ์ทำนองนี้อาจจะเกิดขึ้นในกรณีรถไฟฟ้าสายสีแดงที่วิ่งจากบางซื่อไปถึงรังสิต และรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่วิ่งจากจตุจักรไปจนถึงลำลูกกา เพราะทั้ง 2 เส้นนี้วิ่งขนานกันและห่างกันเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น นี่ก็เป็นเรื่องคนละกระเป๋าระหว่าง รฟม. และกรุงเทพมหานครอีกเช่นกัน

ถ้าคิดอย่างมีบูรณาการก็ควรสร้างเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีแดง และให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเชื่อมต่อกับสายสีแดงได้สะดวกที่ตลาดจตุจักร จากนั้นหากต้องการแยกสายเลี้ยวเข้าถนนรามอินทรา ถนนลำลูกกาหรือถนนรังสิตนครนายก ก็สามารถเลี้ยวเข้าได้โดยง่ายไม่วิ่งคู่ขนานเส้นทางกันเช่นนี้

ในกรุงเทพมหานคร ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้าที่ควรสร้างอีกหลายสาย ไม่ใช่ไปกระจุกกันอยู่ในบริเวณใด และรถไฟฟ้าแต่ละสาย ควรขนคนจากนอกเมืองเข้าเมือง ได้แก่

1. สายสีม่วงชุมบางซื่อผ่านสะพานพระปกเกล้ามาถึงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นการเชื่อมเข้าเมืองโดยตรงจากด้านเหนือถึงด้านใต้ของกรุงเทพมหานคร

2. สายสีส้มจากบางบำหรุถึงแยกบางกะปิแต่ไม่ควรสร้างไปถึงมีนบุรีโดยสายนี้เป็นการเชื่อมเข้าเมืองระหว่าง 2 พื้นที่สำคัญด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

3. สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจากสามแยกท่าพระมาตามถนนพระราม 3 ถึงคลองเตยซึ่งน่าจะมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากอีกทั้งยังผ่านย่านธุรกิจ และสมควรยกเลิกรถ BRT ที่กินพื้นที่ถนนไปข้างละ 1 ช่องทางจราจร

4. สายสีเหลืองจากลาดพร้าวมาตามถนนลาดพร้าว ผ่านศรีนครินทร์ เทพารักษ์และสิ้นสุดที่สำโรงซึ่งเป็นเขตต่อเมืองไม่ได้ออกไปนอกเมืองเช่นถนนรามอินทราและจะมีผู้ใช้บริการมากกว่าอย่างแน่นอน

5. สายสีเทาซึ่งควรเริ่มจากถนนลาดพร้าวมาตามถนนเอกมัยรามอินทราผ่านทองหล่อพระรามสี่และรัชดาภิเษกบริเวณถนนสาธุประดิษฐ์ เป็นต้น

ในสมัยรัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่สามารถสร้างบูรณาการได้ น่าเสียดายที่ในสมัยรัฐบาลรัฐประหารก็ยังไม่สามารถสร้างบูรณาการได้เช่นกัน สู้ๆ ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2016 12:32 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดแนวเวนคืน "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" ทุ่ม 9 พันล้านรื้อ 594 หลัง "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 09 เม.ย 2559 เวลา 10:00:02 น.



ถึงจะออกกฤษฎีกาขนาดนี้ แล้วก็ยังดื้อแพ่งไม่ยอมย้าย
http://www.now26.tv/view/74426
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=zMX4Q98PCAk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2016 10:59 pm    Post subject: Reply with quote


โมโนเรลสายเหลือง สายชมพู จะเปิดการเดินรถ ปี 2563
https://www.youtube.com/watch?v=8fT1Lo4eVgo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2016 10:23 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เร่งแผนผุด LRT บางนา-สุวรรณภูมิ
แนวหน้า
วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559, 06.00 น.

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail) หรือ LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ความคืบหน้าล่าสุดคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มีมติรับเรื่องที่กรุงเทพมหานครเสนอไป ว่าให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามมติครม.ปี’54 ซึ่งขณะนี้ได้สำรวจรับฟังความคิดเห็นประชาชนรอบสองมีสัญญาณที่ดี เนื่องจากการจราจรบนถนนบางนา-ตราด ต้องการระบบขนส่งมวลชนจำเป็นให้ประชาชนเดินทางโดยที่ไม่ต้องใช้รถ

โดยโครงการนี้เป็นการดำเนินการตามแผนนโยบายกรุงเทพมหานครในการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมการเดินทางระบบล้อ ราง เรือ เพื่อให้ประชาชนได้เดินทางสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ซึ่งแนวเส้นทางนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร อำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่ถนนบางนา-ตราด ถนนสุขุมวิท และพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการให้เดินทางเข้าเมืองได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นช่องทางที่จะช่วยขนส่งผู้โดยสารจากสนามบินสุวรรณภูมิเข้า-ออกเมืองด้วย

ซึ่งขณะนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำลังพิจารณาเส้นทางจากเดิมสิ้นสุดที่บริเวณแยกบางนา อาจจะให้ข้ามแยกบางนาไปถึงถนนสรรพาวุธเชื่อมกับพื้นที่ของกรุงเทพมหานครที่ถนนสรรพาวุธ จำนวน 50 ไร่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตบางนา และศูนย์เรียนรู้การบำบัดน้ำเสีย ซึ่งอนาคตจะพัฒนาเป็นศูนย์ราชการแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันปัญหาการจราจรในอนาคต อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถทำเป็นโรงซ่อมบำรุงได้ด้วย ซึ่งจะพิจารณาถึงความเหมาะสมระหว่างพื้นที่ของกทม.บริเวณนี้กับพื้นที่ของเอกชนบริเวณสนามกอล์ฟธนาซิตี้ที่ให้กรุงเทพมหานครใช้ที่ดินในการทำโรงซ่อมบำรุงได้ โดยเร่งให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) สรุปผลศึกษาสำรวจ

ส่วนเรื่องของระยะเวลาการก่อสร้างนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางบริหารจัดการ หากใช้วิธีการร่วมทุนก็น่าจะประมาณ 6 ปี แต่ถ้าใช้วิธีการมอบหมายบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ลงทุน อาจลดระยะเวลาลงเหลือประมาณ 3 ปี คาดว่าจะผ่านขั้นตอนต่างๆ สามารถ
เริ่มก่อสร้างได้ในปี’60 ประมาณการวงเงินงบประมาณไว้ที่ 20,000 กว่าล้านบาท

สำหรับแนวเส้นทางตามที่ได้มีการศึกษาแล้ว เริ่มจากแยกบางนาไปตามแนวถนนบางนา-ตราดไปจนถึงสุวรรณภูมิ รวมระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตรมีสถานีหลัก 12 สถานี คือ 1.สถานีบางนา 2.สถานีประภามนตรี 3.สถานีบางนา-ตราด 17 4.สถานีบางนา-ตราด 25 5. สถานีวัดศรีเอี่ยม 6.สถานีเปรมฤทัย 7.สถานีบางนา-ตราด กม.6 8.สถานีบางแก้ว 9.สถานีกาญจนาภิเษก 10.สถานีวัดสลุด 11.สถานีกิ่งแก้ว 12.สถานีธนาซิตี้ และอีก 2 สถานีเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คือ สถานีมหาวิทยาลัยเกริก และสถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งอาจมีการพิจารณาเพิ่มอีก 1 สถานี เชื่อมการเดินทางข้ามแยกบางนาไปที่ถนนสรรพาวุธ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 130, 131, 132 ... 278, 279, 280  Next
Page 131 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©