Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181540
ทั้งหมด:13492778
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 138, 139, 140 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2016 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

"รับเหมา" ผนึกพันธมิตร ชิงเค้กรถไฟฟ้า 2 เส้น
โดย : ดาริน โชสูงเนิน
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 17 สิงหาคม 2559, 12:00
อ่านแล้ว 2,514 ครั้ง

รับเหมารายใหญ่ ผนึกพันธมิตร โดดประมูลโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง (สีเหลือง-ชมพู) มูลค่า 1.11 แสนล้านบาท

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC ) เปิดเผยว่า จากการที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้ารวมทั้งงานให้บริการการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) มูลค่ารวม 1.11 แสนล้านบาท

แบ่งเป็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู มูลค่า 5.66 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย 30 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และอาคารจอดและจร 1 แห่ง ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มูลค่า 5.46 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 30 กิโลเมตร ประกอบด้วย 23 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และอาคารจอดและจร 1 แห่ง

โดย ซิโน-ไทย ได้เข้าซื้อซองประมูลโครงการ (ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน) ทั้ง 2 โครงการ ซึ่งในกระบวนการบริษัทจับมือร่วมกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ในการลงทุน แต่รูปแบบความร่วมมือในสัดส่วนการลงทุนจะเป็นในรูปแบบไหนอยู่ระหว่างการเจรจา โดยบริษัทขอยังไม่เปิดเผยในรายละเอียด

@“ซิโน-ไทย”ร่วม“บีทีเอส”ลุยรถไฟฟ้า

แต่ทั้ง 2 บริษัท คือ STEC และ BTS ต่างมีความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญงานคนละด้าน ทว่าข้อเด่นของแต่ละบริษัทเป็นการสอดคล้องกับลักษณะเงื่อนไขของการประมูลของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง ในลักษณะให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการทั้งออกแบบ , ก่อสร้าง , จัดหาและเดินรถ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีจุดแข็งที่สอดรับกันได้พอดี

อย่างไรก็ตาม แม้ใช้เงินลงทุนสูงแต่ซิโน-ไทยฯ มีเงินลงทุนพร้อม ประกอบกับ มีความแข็งแกร่งงานก่อสร้าง โดยที่ผ่านมามีประสบการณ์จากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้งสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียว ขณะที่ บีทีเอสมีความพร้อมและประสบการณ์กับโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ลงทุนโดยเอกชนทั้งโครงการมาแล้ว อีกทั้งเงินทุนก็เพียงพอ

“STEC มีความมั่นใจพอสมควรที่จะเป็นผู้ที่มีโอกาสที่ดีสุดในการเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางโดยเงินทุนเราพร้อมบริษัทไม่มีภาระดอกเบี้ยเพราะเราไม่มีหนี้ประกอบกับมีกระแสเงินสดเหลืออยู่ด้วย”

@เล็งประมูล“รถไฟทางคู่”-“สายสีส้ม”

สำหรับโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ ซิโน-ไทย ยังสนใจจะยื่นประมูลทั้งรถไฟทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.2 กม. กรอบวงเงิน 80,118 ล้านบาท แยกเป็น ราคากลางค่างานโยธา 76,632 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,486 ล้านบาท

สำหรับ กรณีที่มีเอกชนสนใจเข้าซื้อซองประกวดราคาในสองเส้นทางดังกล่าว มากถึง 17 ราย มองว่าเป็นการร่วมกลุ่มกันมาร่วมประมูล ฉะนั้น การแข่งขันก็จะสูงขึ้นเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

@เนาวรัตน์ฯสนงานก่อสร้าง 2 เส้นรถไฟฟ้า

นายปสันน สวัสดิ์บุรี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจใหม่และวางแผนกลยุทธ์ บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR เปิดเผยว่า บริษัทเข้าซื้อซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง (สีเหลือง-ชมพู) โดยบริษัทสนใจงานก่อสร้างเป็นหลัก เนื่องจากบริษัทมีความถนัดในงานก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ตามบริษัทยังต้องขอดูเงื่อนไขรายละเอียดก่อน

แต่ถามว่าบริษัทมีความพร้อมลงทุนหรือไม่ ต้องบอกว่า NWR พร้อมทั้งบุคลากรและเงินลงทุน โดยที่ผ่านมาบริษัทมีการระดมทุนออกหุ้นกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท สามารถรองรับการขยายการลงทุนและขีดความสามารถในการรับงานในโครงการในอนาคตได้จำนวนมากขึ้น และหากบริษัทชนะการประมูลงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าอาจจะมีการร่วมมือกับพันธมิตรได้

อย่างไรก็ตาม มองว่าการที่ภาครัฐเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรับเหมารายย่อยไม่มีประสบการณ์สามารถประมูลโครงการภาครัฐได้นั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งจะเห็นว่ามีผู้ประกอบการซื้อซองประกวดราคากันหลายราย แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ต้องดูศักยภาพภาพของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างแต่ละรายด้วยว่ามีศักยภาพสามารถรับงานได้หรือไม่

@เปิดกว้างรายใหญ่-เล็กดันราคาประมูลพุ่ง

นอกจากนี้ มองว่าการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรับเหมารายเล็กยื่นประมูล เชื่อว่าจะทำให้ภาครัฐมีโอกาสได้ราคาประมูลที่สูงขึ้นด้วย เพราะว่ามีผู้ประกอบการรับเหมาหลายเข้าแข่งขันกันประมูลทำให้เกิดการแข่งขันจริง

แต่สำหรับบริษัทไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะว่าที่ผ่านมามีหน่วยงานของภาครัฐเปิดกว้างให้ผู้รับเหมารายเล็กที่ไม่มีประสบการณ์เข้ามาประมูลงานได้บางแล้ว แต่เป็นโครงการไม่ใหญ่มาก ซึ่งบางโครงการที่ผ่านมาบริษัทไม่มีคุณสมบัติ แต่เมื่อรัฐเปิดกว้างมากขึ้นบริษัทก็สามารถเข้าประมูลงานได้

โดยที่ผ่านมา บริษัทมีประสบการณ์ในการรับเหมาก่อสร้าง ถนน , สะพาน, โรงบำบัดน้ำเสีย,โรงไฟฟ้า,ท่อส่งน้ำ เป็นต้น

“เราเตรียมตัวพร้อมที่จะรับงานในโครงการขนาดใหญ่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์แต่มั่นใจว่าเรามีศักยภาพและคุณสมบัติพร้อม”

นอกจากนั้น บริษัทยังคาดหวังว่าจะได้รับงานที่มีมูลค่ารวมอีกกว่า 4 หมื่นล้านบาท อีกประมาณ 10% อาทิ โครงการมอเตอร์เวย์ สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 โรงไฟฟ้าที่จังหวัดกระบี่

ก่อนหน้า นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เคยระบุว่า จะเข้าร่วมประมูลงานใหญ่ของภาครัฐทุกโปรเจ็กต์ โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองจะร่วมกับผู้ผลิตระบบรถจากประเทศฝรั่งเศส

ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานบริหาร บมจ.ช.การช่าง (CK) กล่าวว่า บริษัทจะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่ของรัฐทุกโครงการ ทั้งทางคู่ มอเตอร์เวย์ และรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและ สายสีเหลือง อาจจะต้องมีพันธมิตรร่วมด้วย เช่น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่มีความเชี่ยวชาญด้านรถไฟฟ้าอยู่แล้ว ส่วนสายสีส้มที่มีทั้งงานอุโมงค์และทางยกระดับ ทาง ช.การช่างก็มีความถนัดเพราะเคยสร้างอุโมงค์ใต้ดินสายสีน้ำเงิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2016 1:51 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เล็งจัดรูปที่ดินแทนเวนคืน เตรียมชงอาคมนำร่องสายสีส้มแก้ปมต้านก่อสร้าง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,183 วันที่ 14 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รฟม.เล็งจัดรูปที่ดินแทนเวนคืน เตรียมชงอาคมนำร่องสายสีส้มแก้ปมต้านก่อสร้าง
รฟม.ปรับกลยุทธ์เล็งเสนอจัดรูปที่ดินแทนการเวนคืน เคลียร์ปมคัดค้านก่อสร้างรถไฟฟ้า หวังเดินหน้าโครงการตามแผนแม่บทที่คมนาคมกำหนด นำร่องสายสีส้มตะวันออกก่อนทยอยสู่สายอื่น คาดเสนอบอร์ดกันยายนนี้ เพื่อให้ทันใช้ในสายสีส้มตะวันออก

แหล่งข่าวระดับสูง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากการที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆประท้วงไม่ให้มีการนำที่ดินไปใช้ดำเนินโครงการ จนส่งผลกระทบให้โครงการล่าช้า นับต่อนี้ไปรฟม.เตรียมนำเสนอแนวคิดการจัดรูปที่ดินไปดำเนินการแทนกรณีการเวนคืน เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะกระทบต่อเจ้าของที่ดินน้อยที่สุด อีกทั้งยังช่วยให้เจ้าของที่ดินได้รับสิ่งที่ดีในโอกาสที่ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆของรัฐบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นความเสียสละต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมอีกทางหนึ่งด้วย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
“รฟม.มีประสบการณ์ต่อกรณีการเวนคืนที่ผ่านมาเนื่องจากเกิดการประท้วงและไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของที่ดิน ประการสำคัญผู้ที่โดนเวนคืนต้องพลัดพรากจากที่อยู่ของถิ่นเดิมออกไปอยู่ที่ใหม่อย่างไม่เต็มใจ ความเป็นธรรมไม่มีต่อผู้ได้รับผลกระทบแต่ผลดีกลับจะส่งไปถึงผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน รฟม.จึงมีแนวคิดเสนอคณะกรรมการรฟม. ในเดือนกันยายนนี้ และเสนอนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นชอบให้มีการจัดรูปที่ดินไปดำเนินการ”

โดยเบื้องต้นผลดีที่เจ้าของที่ดินจะได้รับคือ 1.มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้น จากการพัฒนาโครงการของรัฐบาล ซึ่งกรณีนี้รฟม.ได้ปรึกษาหารือกับผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง และแม้กระทั่งไปศึกษาดูงานที่ญี่ปุ่นที่ใช้รูปแบบดำเนินการตามที่รฟม.จะเสนอให้รัฐบาลเร่งผลักดันต่อไป 2. จะได้อยู่ที่เดิมแต่ขนาดอาจจะเล็กลงบ้าง 3.เจ้าของที่ดินยังได้ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยจะระบุไว้ในเงื่อนไขและเจรจากับเจ้าของที่ดินแต่ละรายต่อไป

แนวความคิดดังกล่าวนี้จะเริ่มใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี สายสีส้มตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสายอื่นๆที่อยู่ระหว่างการเร่งผลักไม่ว่าจะเป็นสายสีม่วงใต้ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เป็นต้น

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กล่าวว่ากรณีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ส่วนต่อขยาย(สายสีม่วงใต้) ที่รฟม.รอการพิจารณาผลการศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)นั้น มีความเห็นว่าหลังจากที่มีนโยบายปรับลดงบประมาณโครงการดังกล่าวโดยเฉพาะกรณีปรับลดศูนย์ซ่อมบำรุง(เดโป)ที่ย่านราษฎร์บูรณะไปเป็นที่จอดพักรถเท่านั้นจึงเห็นว่าน่าจะตัดระยะ 5 กิโลเมตรนั้นออกไปเพื่อให้ไปใช้ที่บางไผ่ให้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า

“จะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มมากขึ้น ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมลงไปได้อย่างมาก ร่นระยะเวลาดำเนินโครงการที่ล่าช้ามานานให้สามารถเร่งผลักดันได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดงบประมาณและให้มาใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ”

สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินและยกระดับ (สถานีใต้ดิน 10 สถานี/ยกระดับ 7 สถานี รวม 17 สถานี) มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี่ยงเข้าแนวเข้าถนนพระราม 9 ตัดผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้ารามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ตัดผ่านถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2016 9:26 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะตั๋วร่วม “บัตรแมงมุม” เริ่ม ม.ค. 60 สั่ง รฟม.ตั้ง BU ชั่วคราวบริหารระยะแรก
โดย MGR Online
18 สิงหาคม 2559 16:07 น. (แก้ไขล่าสุด 18 สิงหาคม 2559 18:29 น.)

เคาะแล้ว!ตั๋วร่วมแมงมุมบัตรเดียวคลุมขนส่งทุกประเภท
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 18 สิงหาคม 2559, 14:59


ตั๋วร่วมแมงมุมใช้ ม.ค.60
พิกัดข่าวเช้า
NowTV26
วันที่ 19 สิงหาคม 2559

คมนาคมเร่งตั๋วร่วม “บัตรแมงมุม” ดีเดย์ ม.ค. 60 นำร่องใช้ได้กับรถไฟฟ้า “สีน้ำเงิน-ม่วง-เขียว-แอร์พอร์ตลิงก์” มอบ รฟม.เป็นแกนนำ ตั้งหน่วยธุรกิจชั่วคราวเพื่อขับเคลื่อนบริการก่อนระหว่างรอจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฯ PPP ส่วนตั๋วร่วมทางด่วนกับมอเตอร์เวย์ “Easy Pass-M Pass” ต.ค. 59 เริ่มใช้ใบเดียววิ่งได้ทั้ง 2 โครงข่าย

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ในการให้บริการระบบตั๋วร่วม บัตรแมงมุม (MANGMOOM) นั้น ที่ประชุมมีมติเร่งรัดให้เริ่มดำเนินการให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน ม.ค. 2560 สำหรับโครงข่ายรถไฟฟ้า 4 สาย คือ สายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นแกนในการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ขึ้นมาเป็นการชั่วคราว เพื่อขับเคลื่อนการให้บริการตั๋วร่วมดังกล่าวได้ในกำหนด โดย รฟม.จะต้องหาพันธมิตรมาร่วมในหน่วยธุรกิจ โดยมีธนาคารกรุงไทยเป็นผู้บริหารรายได้ (Clearing House) ในการบริหารจัดการ และจะต้องเจรจาร่วมกับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าในเรื่องค่าใช้จ่ายและการลดค่าแรกเข้าเมื่อมีการใช้ตั๋วร่วม

ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมอยู่ระหว่างจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : CTC) ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (Public Private Partnerships : PPP) โดยดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 และมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม จึงต้องใช้ระยะเวลานาน ไม่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเร่งรัดให้เริ่มใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว จึงต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ในระหว่างที่การจัดตั้ง CTC ยังไม่แล้วเสร็จ

“ที่ประชุมฯ จึงได้มอบให้ รฟม.ทำหน้าที่บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมในระยะเริ่มต้น โดยบริหารจัดการในช่วงทดลองระบบ และเจรจาทำความตกลงกับผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชน เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะหลายระบบด้วยการใช้บัตรใบเดียว ภายใต้ระบบปฏิบัติการและการบริหารจัดการที่มีความน่าเชื่อถือและมีเสถียรภาพ คาดว่าจะสามารถเปิดใช้ระบบตั๋วร่วม ภายใต้ชื่อ “บัตรแมงมุม” สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้ามหานครได้ภายในเดือนมกราคม 2560” นายชาติชายกล่าว

พร้อมกันนี้ ได้ติดตามเร่งรัดการให้บริการตั๋วร่วมระหว่างบัตรผ่านทางอัตโนมัติ หรือ M-Pass ของกรมทางหลวง กับบัตร Easy Pass ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยผู้ถือบัตรของ 2 ระบบจะสามารถใช้บริการบนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 กรุงเทพฯ-ชลบุรี (สายใหม่) และทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก และทางด่วนด้วยบัตรใบเดียวกัน ได้ภายในเดือน ต.ค. 2559 โดยที่ผ่านมาได้มีการทดลองการส่งข้อมูลข้ามโครงข่ายแล้ว แต่อาจจะมีความล่าช้าไปบ้างเนื่องจากมีรายละเอียดในเรื่องการหักภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ไม่เหมือนกัน โดย กทพ.หักVAT ทันทีที่ซื้อบัตรหรือเติมเงิน ซึ่งได้มีธนาคารกรุงไทยเข้ามาเป็นหน่วยกลางหรือ Clearing House ในการบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตาม ตามแผนการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฯ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น ในส่วนของภาครัฐจะถือหุ้นไม่เกิน 50% โดยจะมี 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ ร.ฟ.ท. ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สำหรับสัดส่วนที่เหลือจะเจรจากับเอกชนให้มาร่วมทุน คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM

ซึ่งทั้ง 3 รายจะต้องเสียค่าปรับปรุงระบบสายทางละ 100 ล้านบาท คือ สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน ซึ่ง BEM ดำเนินการติดตั้งระบบตั๋วร่วมไปแล้ว รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์


Last edited by Wisarut on 19/08/2016 7:36 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2016 11:50 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เคาะตั๋วร่วม “บัตรแมงมุม” เริ่ม ม.ค. 60 สั่ง รฟม.ตั้ง BU ชั่วคราวบริหารระยะแรก
โดย MGR Online
18 สิงหาคม 2559 16:07 น. (แก้ไขล่าสุด 18 สิงหาคม 2559 18:29 น.)

ตั๋วร่วมแมงมุมใช้ ม.ค.60
พิกัดข่าวเช้า
NowTV26
วันที่ 19 สิงหาคม 2559


รฟม.ตั้งบริษัทลูกดูแลตั๋วร่วม
โพสต์ทูเดย์
19 สิงหาคม 2559 เวลา 06:58 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2016 2:00 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กรับเหมาไทย-เทศเทหมดหน้าตัก รุมทึ้งประมูลรถไฟฟ้า2แสนล.ทยอยเปิดซองต.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 19 สิงหาคม 2559 เวลา 08:00:09 น.


บิ๊กรับเหมารุมทึ้งประมูลรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สี มูลค่ากว่า 1.9 แสนล้าน "บีทีเอส" ผนึกยักษ์รับเหมาซิโน-ไทยและผู้ผลิตจีน-ญี่ปุ่น ชิงโมโนเรลแสนล้าน ITD ควงฝรั่งเศส-เกาหลี ร่วมวง "ช.การช่าง-BEM" สู้ยิบตา "ยูนิค" ทุ่มหมดหน้าตักร่วมทุนจีน-สิงคโปร์ ปาดหน้าเค้ก

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ผลการซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงินรวม 191,453 ล้านบาท แยกเป็นสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ค่าก่อสร้าง 80,118 ล้านบาท มี 6 สัญญา มีซื้อเอกสาร 20 ราย เปิดยื่นซองวันที่ 31 ต.ค.นี้ เซ็นสัญญาเดือน พ.ค. 2560

ส่วนสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) วงเงิน 56,691 ล้านบาท และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) รวมเงิน 54,644 ล้านบาท มีซื้อเอกสาร 17 ราย ยื่นข้อเสนอวันที่ 7 พ.ย. เปิดซองวันที่ 17 พ.ย.นี้ จะเป็นการยื่นประมูลทั้งก่อสร้าง จัดหาระบบและเดินรถ 30 ปี ซึ่งเอกชนให้รัฐอุดหนุนรายได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ คาดเซ็นสัญญาและเริ่มสร้างเดือน พ.ค. 2560 เปิดบริการปี 2563

ITD ผนึกเกาหลี-ฝรั่งเศส

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานกรรมการบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ซื้อเอกสารประมูลรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ซึ่งโมโนเรลสายสีชมพูและสีเหลืองจะร่วมกับ บจ.เอสเค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จากเกาหลี และ บจ. RATP DEV TRANSDEV ASIA จากฝรั่งเศส กำลังจะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพราะเป็นครั้งแรกที่รัฐเปิดให้เอกชนลงทุนทั้งโครงการตั้งแต่ก่อสร้าง จัดหาระบบ และเดินรถตลอดอายุสัญญา 30 ปี

ขณะที่สายสีส้มจะยื่นประมูล 6 สัญญา มีงานอุโมงค์ใต้ดิน 3 สัญญา ยกระดับ 2 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา กำลังพิจารณาจะยื่นประมูลเดี่ยว หรือร่วมกับ บจ.เอสเคฯจากเกาหลี

BTS ผนึกผู้ผลิตจีน-ญี่ปุ่น

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC เปิดเผยว่า จะเข้าร่วมประมูลโมโนเรลสายสีชมพูกับสีเหลือง โดยบีทีเอสกรุ๊ปจะร่วมกับ บีทีเอสซี และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ส่วนงานระบบจะคัดเลือกผู้ผลิตจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ระบบฮิตาชิจากญี่ปุ่น ระบบฉงชิ่งจากจีน ระบบบอมบาดิเอร์จากแคนาดา และระบบสโคนี่จากมาเลเซีย

"วันยื่นข้อเสนอยังไม่ระบุจะใช้ระบบของประเทศไหน แต่เสนอรายชื่อเพื่อเป็นทางเลือกไว้ จะคัดเลือกหลังได้งานแล้ว บีทีเอสมั่นใจเพราะมีประสบการณ์"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้าน บมจ.ช.การช่าง ของนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ คาดว่าร่วมกับ บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บริษัทในเครือมีประสบการณ์จากรถไฟฟ้าใต้ดินกับสายสีม่วง เข้าร่วมประมูล

ยูนิคร่วมรับเหมาจีน-สิงคโปร์สู้

นายประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า สนใจยื่นประมูลรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ซึ่งสายสีส้มจะยื่น 6 สัญญาจะร่วมกับ บจ.ซิโนไฮโดรฯจากจีน

ส่วนโมโนเรลสายสีชมพูกับสีเหลือง จะร่วมกับ บจ.SMRT จากสิงคโปร์และบจ.ซิโดไฮโดรฯ และ บจ.ไชน่า สเตท ผู้รับเหมาจากจีน

"พร้อมเข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่ทุกสาย เราได้ลงทุนไปกว่า 3 พันล้านบาท สร้างโรงงานพรีแฟบที่นวลฉวี 20 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟหนองโดน จ.สระบุรี 1,700 ไร่ โรงงานเหล็กที่กบินทร์บุรี 700 ไร่"

ผุดโรงงานพรีแฟบรองรับ

และเมื่อปีที่แล้วยังลงทุน 3,000 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรจากจีน มาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงสัญญาที่ 1 สีน้ำเงินต่อขยายสัญญาที่ 3 และสีเขียวต่อขยายสะพานใหม่-คูคต และถนนราชพฤกษ์ตัดใหม่แนวเหนือ-ใต้ ที่ประมูลได้ 4 สัญญา

ในเร็ว ๆ นี้จะลงทุน 300 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตหมอนรถไฟที่สระบุรี กำลังการผลิต 2 แสนก้อน/ปี เช่น เสา คาน สามารถนำมาก่อสร้างได้ทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่ โดยบริษัทจะร่วมประมูลทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ซึ่งจะร่วมกับบจ.ซิโนไฮโดรและไชน่าเรลเวย์ ยื่นประมูล รวมถึงยังสนใจรถไฟทางคู่สายอื่น ๆ โดยเฉพาะสายลพบุรี-ปากน้ำโพ ที่อยู่ใกล้กับโรงงานผลิตพรีแฟบของบริษัท

จับตาแบ่งเค้กถ้วนหน้า

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงกลุ่มบีทีเอสจะได้โมโนเรลสายสีชมพูกับสีเหลือง จะเป็นฟีดเดอร์ป้อนผู้โดยสารเข้ารถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีวงเวียนหลักสี่และสถานีสำโรง ส่วนสายสีส้มจะมีหลายบริษัทได้รับงาน โดยงานอุโมงค์จะมีทั้ง ช.การช่าง และอิตาเลียนไทยฯ ที่มีประสบการณ์สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินและสีน้ำเงินส่วนต่อขยายมาแล้ว ส่วนงานทางยกระดับคาดว่าจะเป็นกลุ่มยูนิคกับผู้รับเหมาจีน และซิโน-ไทยฯที่ได้งาน เพราะมีประสบการณ์ก่อสร้างสายสีเขียว สีม่วง และสีน้ำเงินต่อขยายมาแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2016 12:29 am    Post subject: Reply with quote

โฉมหน้าผู้ท้าชิง 3 เส้นทาง สายสีส้ม-ชมพู-เหลือง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 19 สิงหาคม 2559 เวลา 20:20:5 น.


หลัง "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เปิดให้ผู้รับเหมาไทย-เทศซื้อซองประมูลรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สี

ปรากฏว่ามีเอกชนให้ความสนใจท่วมท้น "สายสีส้ม" (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 21.2 กม. ค่าก่อสร้าง 80,118 ล้านบาท มี 6 สัญญา มีซื้อเอกสาร 20 ราย ได้แก่ 1.บมจ.ช.การช่าง ซื้อ 6 สัญญา 2.บมจ.ยูนิคฯ ซื้อ 6 สัญญา 3.บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ซื้อ 6 สัญญา

4.บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ ซื้อ 3 สัญญา 5.บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งฯ ซื้อ 6 สัญญา 6.บจ.ซิโนไฮโดร ซื้อ 6 สัญญา 7.บจ.เอสเค เอ็นจิเนียริ่ง ซื้อ 6 สัญญา

8.บจ.ซีทีซีไอ ซื้อสัญญา 6 9.บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ ซื้อสัญญา 6 10.อีทีเอฟ ซื้อสัญญา 6 11.บจ.ไชน่า คอมมูนิเคชั่น ซื้อ 6 สัญญา

12.บจ.Ssangyong ซื้อสัญญา 1-3 13.บจ.ไชน่าเรลเวย์ ซื้อ 6 สัญญา 14.บมจ.เพาเวอร์ไลน์ฯ ซื้อสัญญา 5-6 15.บจ.ไชน่าสเตท ซื้อ 6 สัญญา

16.บจ.โคโอเปร่าติว่ามูราโตรี่ เอ เชเม็นติสติ ซี.เอ็ม.ซี.ดิ ราเวนน่า ซื้อสัญญา 1-3 17. บจ.ทิพากร ซื้อสัญญา 4 18.กิจการร่วมค้า พีซีที ซื้อสัญญา 5-6 19.บมจ.คริสเตียนีแอนด์นีลเส็น ซื้อสัญญา 5 และ 20.บจ.WIJAYA KARYA (CPERSERO) TBK.PT ซื้อสัญญา 5

ส่วนสาย "สีชมพู" (แคราย-มีนบุรี) 34.5 กม. วงเงิน 56,691 ล้านบาท และ "สายสีเหลือง" (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท มีซื้อเอกสาร 17 ราย ได้แก่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งส์, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย, บมจ.ซิโน-ไทยฯ

บจ.เอสเค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จากประเทศเกาหลี, บจ.ไชน่าคอมมูนิเคชั่น จากจีน, บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น จากจีน , บจ.ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น จากจีน

บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น, บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS), บมจ.เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง, บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ประเทศไทย), บจ.RATP DEV TRANSDEV ASIA จากฝรั่งเศส, บจ. SMRT IN-TERNATIONAL PTE จากสิงคโปร์, บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ

ส่วนใครจะคว้าชิ้นปลามัน...ปลายปีนี้รู้กัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2016 10:49 am    Post subject: Reply with quote

คนจีนทำผัง รถไฟฟ้ากรุงเทพที่มีภาษาจีนควบคู่ไปด้วย

dixiadetie wrote:
From my Weibo . I drew the map of Bangkok Rail Transit . Station names are in Chinese and English . Not the best one but I quite satisfied with my work Smile

Click on the image for full size


http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=134882127#post134882127
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2016 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมใช้บัตรแมงมุมต้นปี60 M-Pass/Easy Passเริ่มตุลานี้
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,185 วันที่ 21 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คมนาคมใช้บัตรแมงมุมต้นปี60 M-Pass/Easy Passเริ่มตุลานี้
เร่งเดินหน้าระบบตั๋วร่วมคมนาคมภายใต้แบรนด์ “แมงมุม” ดีเดย์ต้นปี 60 นำร่องบีทีเอส แอร์พอร์ตลิงค์ สายสีม่วง และ MRT ต่อเนื่องกันไป ล่าสุดเตรียมเสนอครม.อนุมัติให้รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบเจรจาทั้ง 4 รายให้ปรับเปลี่ยนสู่ระบบใหม่ ปลัดคมนาคมเผยการใช้งานร่วมระหว่างบัตร M- Pass และบัตร Easy Pass เริ่ม ต.ค.นี้

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รายงานความคืบหน้าโครงการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมว่า อยู่ระหว่างจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : CTC) ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน ( PPP) โดยดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 และมีความจำเป็นต้องตราพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. …. เพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม จึงไม่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเร่งรัดให้เริ่มใช้ระบบตั๋วร่วม

ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ในระหว่างที่การจัดตั้ง CTC ยังไม่แล้วเสร็จ โดยมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหน้าที่บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมในระยะเริ่มต้น โดยบริหารจัดการในช่วงทดลองระบบ และเจรจาทำความตกลงกับผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชน เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้

“ระหว่างนี้จะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้รฟม.เป็นเจ้าภาพดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดใช้ระบบตั๋วร่วมภายใต้ชื่อ “บัตรแมงมุม” สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ รถไฟฟ้าเฉลิมมหานคร และรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วงได้ภายในเดือนมกราคม 2560 นี้”

ปลัดคมนาคมกล่าวอีกว่า นอกจากนั้น สนข. ยังได้รายงานความคืบหน้าการพัฒนาการเชื่อมต่อระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC) ระหว่างบัตร M-Pass ของกรมทางหลวง ( ทล.) และบัตร Easy Pass ของ กทพ. ว่า ทล. ได้ลงนามในสัญญาจ้างดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารและจัดการข้อมูลเพื่อการให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติข้ามโครงข่ายระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559

“ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงระบบ ส่วนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ( กทพ.) จะลงนามในสัญญาจ้างดำเนินโครงการปรับปรุงระบบขายบัตร Easy Pass และติดตั้งระบบรับ – ส่งข้อมูล เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระบบกับ ทล. ภายในเดือนสิงหาคม 2559 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงและเปิดใช้งานระบบ ETC ร่วมกันระหว่างบัตร M-Pass และบัตร Easy Pass ได้ภายในเดือนตุลาคม 2559 นี้”

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2559 ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 13-1/2559 ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) และผู้แทนจากสำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กรมทางหลวง (ทล.) สนข. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (BEM) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2016 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

โฆษกรัฐบาลเผย กทม.สนองนโยบายนายกรัฐมนตรีเตรียมเปิดเดินเรือคลองผดุง ก.ย.นี้ มุ่งระบายรถบนถนน เชื่อมหัวลำโพง-เจ้าพระยา ควบคู่แผนส่งเสริมการค้าการท่องเที่ยว ฟื้นฟูวิถีชีวิตไทย
Arrow http://www.thaigov.go.th/index.php/th/government-th1/item/106538-106538

พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนนี้ กทม.จะเริ่มนำร่องให้บริการเรือโดยสารในคลองผดุงกรุงเกษม จากท่าเรือหัวลำโพงถึงท่าเรือเทเวศน์ ระยะทาง 5 กม.ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อระบายการจราจรทางถนนที่คับคั่งจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ

“การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างท่าเรือใหม่ในคลองผดุง 1 ท่าเรือ คือ ท่าเรือเทวราชกุญชร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ รวมทั้งปรับปรุงเรือของสำนักระบายน้ำ จำนวน 4 ลำ โดยใส่หลังคาคลุมกันแดดและฝน จัดที่นั่ง และอุปกรณ์ความปลอดภัย เพื่อให้บริการประชาชน เดินทางเชื่อมต่อสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีหัวลำโพง กับเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าเรือเทเวศร์

ระยะที่ 2 จะดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม ขุดลอก ดูดเลนในคลองและซ่อมแซมผนังเขื่อนตามแนวคลอง พร้อมทั้งจัดหาเรือโดยสารเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ โดยคาดว่าจะเริ่มเดินเรือในคลองได้ราว เดือน มี.ค.60"

พลตรี สรรเสริญ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีฝากขอบคุณ กทม. ที่ได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผล โดยอยากให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน คำนึงถึงความสะดวกของประชาชน รวมทั้งกำชับให้ดูแลเรื่องของสภาพเรือ และจิตสำนึกของคนขับ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

“ท่านนายกฯ ย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในเมือง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดหนาแน่น โดยเร่งรัดโครงการก่อสร้างทางพิเศษ รถไฟฟ้า รวมถึงเรือโดยสารในแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ

โดยเฉพาะการสัญจรทางน้ำนั้น ขอให้คิดเพิ่มเติมเรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย เช่น การขายสินค้า อาหารในเรือ การเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ริมน้ำ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้วย”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2016 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

ฮิตาชิสนลงทุนโมโนเรลชมพู-เหลือง
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 16.53 น.

ฮิตาชิสนร่วมทุนผู้รับเหมาที่ยื่นประมูลรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู-เหลือง ยันฝีมือเจ๋งผลิตรถ-สร้างระบบไม่กลัวคู่แข่ง


เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์  นายอิชิโร่ อิโนะ ประธานบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย จำกัด  และบริษัท ฮิตาชิ อินเดีย จำกัด  ให้สัมภาษณ์ในโอกาสที่ร่วมกับนายยาสุโอะ มิซึทานิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย ประเทศไทย  จัดนิทรรศการและงานสัมมนาแสดงศักยาภาพของบริษัทฮิตาชิ"ด้านนวัตกรรมทางสังคม"   ทั้งเทคโนโลยีระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม การขนส่ง พลังงาน และบริการด้านสุขภาพ

นายอิชิโร่ กล่าวว่า  ฮิตาชิ  สนใจเข้าร่วมลงทุนระบบและตัวรถไฟฟ้าโมโนเรลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู(มีนบุรี-แคราย) และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)  โดยอยู่ระหว่างเจรจาบริษัทที่เข้าร่วมประมูลเพื่อหาพันธมิตร   ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ากำลังเจรจากับบริษัทรายใด แต่เชื่อว่าฮิตาชิมีความพร้อมทั้งด้านการสร้างขบวนรถและตัวระบบที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะแข่งขันกับบริษัทอื่นได้ ทั้งนี้ในอนาคตเชื่อว่าระบบขนส่งทางรางในประเทศไทยจะต้องพัฒนาไปข้างหน้าอีกมาก การให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้  เช่น ตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าควรมีการร่วมมือกับห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เป็นต้น 

ด้านนายยาสุโอะ กล่าวว่า   สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต)  สัญญาที่ 3 ประกอบด้วยงานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (48 เดือน) ฮิตาชิเป็นหนึ่งในบริษัทของกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ผู้รับจ้างสัญญา  โดยอยู่ระหว่างหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในรายละเอียดตัวรถ และสเปคทั่วไป  หากได้ข้อสรุปทางฮิตาชิจะเริ่มผลิตทันทีเพื่อให้ทันกำหนดการเปิดเดินรถในปี63
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 138, 139, 140 ... 277, 278, 279  Next
Page 139 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©