RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180618
ทั้งหมด:13491853
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 141, 142, 143 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2016 10:59 pm    Post subject: Reply with quote


โฆษณาของ Siemens เรื่องรถไฟฟ้าในกรุงเทพ
https://www.youtube.com/watch?v=UCnJ8jvX-BU&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2016 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

คค.เลื่อนใช้บัตร “แมงมุม” เป็นกลางปี 60 เร่งชงตั้ง บ.ร่วมทุน บริหารตั๋วร่วมเชื่อมรถไฟฟ้า 4 สาย
โดย MGR Online 31 ตุลาคม 2559 16:35 น. (แก้ไขล่าสุด 31 ตุลาคม 2559 17:58 น.)

คมนาคมขยับใช้ระบบตั๋วร่วม “บัตรแมงมุม” เป็นกลางปี 60 ถือใบเดียวใช้รถไฟฟ้าได้ 4 สาย ดึง “BTS-BEM-แอร์พอร์ตลิงก์” ถือหุ้น ในบริษัทบริหารกลาง (CTC) “อาคม” เร่งชง กก.PPP ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ยอมรับช่วงแรกยังไม่มีผลต่อการลดค่าแรกเข้าเหตุต้องรอร่างกฎหมายตั๋วร่วมเสร็จก่อน ระบุใช้บัตรเดียวทุกระบบ ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ดี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการใช้ระบบตั๋วร่วม หรือ “บัตรแมงมุม” กับระบบขนส่งมวลชนว่า อยู่ระหว่างจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : CTC) ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน ( PPP) โดยต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งเตรียมส่งเรื่องเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ PPP เพื่อขออนุมัติโครงการ โดยระยะเริ่มต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และธนาคารกรุงไทย (KTB) จะร่วมบริหาร Clearing House เพื่อความรวดเร็วหากการดำเนินการจัดตั้งบริษัท กลางบริหารตั๋วร่วมไม่แล้วเสร็จ

โดย “บัตรแมงมุม” จะเริ่มใช้รูปแบบ Common Ticket กับรถไฟฟ้า 4 สาย คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ได้ภายในกลางปี 2560 ขณะที่ตั๋วร่วม รูปแบบ Common Fair ซึ่งจะมีค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวจะต้องมีกฎหมายกลางดูแลในเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสารและอัตราค่าแรกเข้าในแต่ละสาย ซึ่งอยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ดังนั้นในกลางปี 2560 จะเป็นการเชื่อมตั๋วให้เป็นใบเดียวกันก่อน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าจะต้องปรับปรุงระบบของตัวเอง นอกจากนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้า BTS ที่ขณะนี้มีลูกค้าที่ถือบัตรแรบบิตแล้วจำนวนมาก หากจะปรับเปลี่ยนมาเป็นบัตรแมงมุมจะกระทบกับที่บริษัทได้ลงทุนตั๋วแรบบิตไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ได้หารือกับทาง BTS แล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้มอบให้ รฟม.ทำหน้าที่บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมในระยะเริ่มต้น คาดว่าจะสามารถเปิดใช้ ได้ในเดือน ม.ค. 2560 แต่มีการปรับแผนเป็นกลางปี 2560 ซึ่งกรณี BTS มีบัตรแรบบิตเป็น 10 ล้านใบ ซึ่งจะทยอยปรับเปลี่ยนเป็นบัตรแมงมุมโดยฝังชิปเข้าไป ส่วนผู้ที่ไม่เปลี่ยน ยังคงสามารถใช้บัตรแรบบิตเดิมได้แต่จะเป็นการเดินทางเฉพาะโครงข่าย BTS เท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ MRT หรือแอร์พอร์ตลิงก์ได้ และในอนาคตหากมีการขยายตั๋วร่วมไปยังขนส่งสาธารณะอื่นๆ เช่น รถ ขสมก.จำนวน 2,600 คันที่จะมีการติดตั้ง ระบบ E-Ticket, เรือโดยสาร, ทางด่วนช่องจ่ายเงินสด และรถไฟฟ้าสายใหม่ จะสามารถใช้ได้เพิ่มเติมด้วย รวมถึงบริการนอกภาคขนส่ง (Non Transit) เช่น ร้านสะดวกซื้อ จะมีการติดตั้งตัวอ่านบัตรแมงมุม

สำหรับการจัดตั้งบริษัท CTC ภาครัฐ อาจจะเป็นกระทรวงการคลัง จะถือหุ้นไม่เกิน 50% เพื่อให้เป็นเอกชน ส่วนภาคเอกชน ผู้ประกอบการจะลงทุนตามวงเงินที่ได้ปรับปรุงระบบ โดยคณะกรรมการ PPP จะเป็นผู้พิจารณาสัดส่วน และได้เสนอขอปรับปรุงสัดส่วนผู้ถือหุ้น ทุกๆ 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง เป็นต้น ซึ่งได้จัดทำร่างสัญญาเสนอต่อสำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2016 1:55 pm    Post subject: Reply with quote

'บางกอกแลนด์'ทุ่ม1.25พันล้านสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 03 พฤศจิกายน 2559, 13:23

“บางกอกแลนด์”เตรียมลงทุน 1.25 พันล้าน สร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทองฯ

บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BLAND ซึ่งทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย รวมถึงให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้บริการและบริหารศูนย์นิทรรศการเอนกประสงค์ แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการลงนามสัญญาสนับสนุนส่วนต่อขยาย ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เข้าเมืองทองธานี ถ.แจ้งวัฒนะ กับบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS หลังจาก BTS ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู และอนุญาตให้มีส่วนต่อขยาย จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งไทย

ทั้งนี้ บางกอกแลนด์ จะรับผิดชอบในวงเงินไม่เกิน 1.25 พันล้านบาท เพื่อเป็นต้นทุนก่อสร้างระบบราง เฉพาะเส้นทางต่อขยายเข้าสู่เมืองทองธานี และก่อสร้างสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร จำนวน 2 สถานี

จะใช้เงินจำนวน 10 ล้านบาทต่อปี สำหรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี

สำหรับการเคลื่อนไหวราคาหุ้นบางกอกแลนด์ ปิดครึ่งวันเช้าวันนี้ (3พ.ย.) อยู่ที่ 1.59 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.63% มูลค่าการซื้อขาย 81.34 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2016 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดยื่นซองโมโนเรลชมพู-เหลือง
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 07.50 น.

รฟม. เปิดยื่นซองโครงการโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 34.5 กม. วงเงินลงทุน 56,691ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 29.1 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท รอลุ้น17บริษัทยักษ์ใหญ่ชิงดำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 7 พ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.-15.00 น. การรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคาเป็นผู้รับสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ระบบเครื่องกลและไฟฟ้า (รถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมรางหรือโมโนเรล) และให้บริการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเก็บค่าบริการ(PPP Net Cost)

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 56,691ล้านบาท และ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 29.1 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท

หลังจากเปิดขายซองเมื่อวันที่ 6ก.ค.-5ส.ค.ที่ผ่านมามีเอกชนมาซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ รวม 17 ราย

โดยทั้ง2โครงการรฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นสัญญาสัมปทานรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน33 ปี 3 เดือน

ระยะที่1 งานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้า 3 ปี 3 เดือน
ระยะที่ 2งานให้บริการด้านบริหารจัดการการเดินรถและบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปี หลังเปิดให้ยื่นซองแล้วมีกำหนดเปิดซองข้อเสนอวันที่17 พ.ย.เวลา 13.00 น. ที่สำนักงาน รฟม. ถนนพระรามที่ 9 สำหรับเอกชนที่ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯทั้ง17 ราย มี 16 รายที่ซื้อทั้ง 2โครงการ ได้แก่

1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด(มหาชน)
2. บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (BEM)
3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม)
4. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)
5. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
6. SK ENGINEERING & CONSTRUCTION CO., LTD.จากเกาหลีใต้
7. SINOHYDROCORPORATION LIMITEDจากจีน
8. CHINA RAILWAY CONSTRUCTIONCORPORATION LIMITED จากจีน
9. บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)
10. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTS)
11. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน)
12. บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน)
13. RATP DEVTRANSDEV ASIA จากฝรั่งเศส
14. SMRT INTERNATIONAL PTE LTD จากสิงคโปร์
15. บริษัท ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
16. บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการจำกัด (มหาชน) และ
17. CHINA COMMUNICATIONS CONSTRUCTION COMPANY LIMITEDจากจีน ซึ่งยื่นเฉพาะสายสีเหลือง

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีระยะทาง 34.5กม. มี 30 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และอาคารจอดและจร 1 แห่งส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 30 กม. มี 23สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งและอาคารจอดและจร 1 แห่ง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างทั้ง 2 โครงการได้ภายในปี60และกำหนดเปิดบริการปี 63
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2016 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดยื่นซองโมโนเรลชมพู-เหลือง
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 07.50 น.

BTS ผนึกซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง ตัดเชือก"BEM-ช.การช่าง"ประมูลโมโนเรลสีชมพู-เหลืองแสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 07 พ.ย. 2559 เวลา 15:17:32 น.

BTS ผนึกซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง ตัดเชือก"BEM-ช.การช่าง"ประมูลโมโนเรลสีชมพู-เหลืองแสนล้าน รู้ผลวันที่ 17 พ.ย.นี้

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้เอกชนทั้ง 17 รายที่ซื้อเอกสาร ยื่นรายละเอียดลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. มูลค่าลงทุน 53,490 ล้านบาท และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) มูลค่าลงทุน 51,810 ล้านบาท ระยะทาง 30 กม. โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกชนลงทุนค่างานโยธา ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถ รวมทั้งการบริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา ระยะเวลา 33 ปี

ผลปรากฎว่ามียื่น 2 ราย ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้ง) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ร่วมกับ บมจ.ช.การช่าง

ตามแผน รฟม.จะเปิดซองข้อเสนอวันที่ 17 พ.ย. 2559 เซ็นสัญญาเดือน เม.ย. และเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. 2560


Last edited by Mongwin on 07/11/2016 5:16 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2016 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

เนรมิตที่ดินหน้าสวนสยาม ‘ไชยวัฒน์’เท2พันล.ผุดโปรเจ็กต์รับสายสีชมพู-เหลือง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,207 วันที่ 6 – 9 พฤศจิกายน 2559

“ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ตำนานสวนสนุกเมืองไทย เตรียมเปิดกรุที่ดินโซนด้านหน้าสวนสยาม ผุดโปรเจ็กต์ยักษ์ วงเงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท รับประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลือง หวังอานิสงค์ราคาที่ดินโซนรามอินทราปรับเพิ่มต่อเนื่อง ด้าน รฟม.เตรียมเปิดซอง 17 พ.ย. นี้ คาดลงนาม เม.ย.ปีหน้าและเปิดบริการปี 63

นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานกรรมการ บริษัท สยามพาร์คซิตี้ กรุ๊ป จำกัด ผู้ก่อตั้งสวนสยาม เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ส่วนตัวให้ความสนใจติดตามความเคลื่อนไหวแผนการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีส้ม ตะวันออก(ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายสีชมพู ผ่านถนนรามอินทรา และยังมีสถานีโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสวนสยามประมาณ 500 เมตร ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่าราคาซื้อขายที่ดินตามแนวถนนรามอินทราปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นประมาณ 10% – 30% ในบางทำเล โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ๆ สวนสยามนั้นราคาที่ดินปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 30% เช่น ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี

“ราคาที่ดินที่แพงขึ้นถือเป็นพื้นฐานปกติเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าผ่านไปเส้นทางไหนราคาที่ดินจะปรับเพิ่มประมาณ 10% – 25% โดยภาพรวมย่านถนนรามอินทราราคาที่ดินตารางวาละประมาณ 1 แสนบาท ดังนั้นหากรถไฟฟ้าเริ่มประมูลและมีการก่อสร้างราคาคงปรับเพิ่มไม่น้อยกว่าตารางวาละ 1.5 แสนบาท”

สำหรับที่ดินสวนสยามมีทั้งหมดประมาณ 300 ไร่ ที่ผ่านมาได้พัฒนาไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ยังเหลือที่ดินโซนด้านหน้าอีกประมาณ 20% เท่านั้นที่ยังไม่ได้นำมาพัฒนา ถัดจากศูนย์การค้าอมอรินี่ ซึ่งผมได้วางแผนพัฒนารองรับไว้เรียบร้อย โดยโซนด้านหน้านี้จะรื้อเพื่อก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ “เมืองบางกอก” ที่จะรวบรวมเอาเรื่องราวในอดีตของกรุงเทพมหานครมารวมไว้ ณ ที่แห่งนี้ เนื่องจากสวนสยามถือได้ว่าคือเอกลักษณ์ของประเทศไทยอย่างหนึ่ง

Advertisement
นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่าการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ยังเติบโตได้เสมอ วงการพัฒนาที่อยู่อาศัยจะมีขึ้นมีลงเป็นบางครั้งเท่านั้น ยกเว้นช่วงวิกฤตก็จะมีผลกระทบอยู่บ้าง โดยเฉพาะเมื่อรายไหนต้องพึ่งพาสถาบันการเงิน ซึ่งแต่ละรัฐบาลก็จะเร่งเข้ามาให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ เพราะหากรัฐบาลเริ่มส่งสัญญาณที่ดี มีการนำเงินออกมาจับจ่าย สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อ ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็จะค่อยๆเติบโตตามไปด้วย ปัจจุบันนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์คนรุ่นใหม่มีมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีก่อสร้างที่รวดเร็วทันสมัยมากขึ้น ทั้งวิธีการก่อสร้างไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ประดับตกแต่งบ้าน จึงยังเห็นว่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ยังก้าวหน้าได้อีก เพียงแต่จะต้องสามารถบริหารจัดการให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้ ทั้งนี้สวนสยามคงจะไม่ขยายไปทางอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่วนลูกๆก็หันมาสนใจทางด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น ตามที่ได้วางรากฐานเอาไว้ก็คงจะช่วยกันขับเคลื่อนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป เช่นโครงการเมืองบางกอกที่จะเน้นเพื่อการท่องเที่ยวมากกว่าเมืองเพื่อการค้าขาย ให้เป็นธุรกิจที่อยู่ในความสนใจของชาวโลก”

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า ตามที่ได้ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2559 โดยมีเอกชนขอซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนจำนวน 17 รายนั้นได้กำหนดให้มีการยื่นซองในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ พร้อมเตรียมเปิดซองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559

โดยการคัดเลือกผู้รับสัมปทานดังกล่าวได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 และพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 โดยสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางนี้เป็นโครงการในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งรฟม.ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และผู้รับสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ระบบเครื่องกลและไฟฟ้า(รถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง) และให้บริการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost) มีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง ส่วนสายสีเหลือง ระยะทาง 30 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง รูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว คาดว่าจะเซ็นสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน 2560 และเปิดให้บริการในปี 2563 โดยสายสีชมพู และสายสีเหลือง มีสัญญาเดียว โดยสายสีชมพู วงเงินรวม 53,519 ล้านบาท สายสีเหลือง วงเงินรวม 51,931 ล้านบาท และสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี วงเงินรวม 113,999 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2016 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

BTS ผนึกซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง ตัดเชือก"BEM-ช.การช่าง"ประมูลโมโนเรลสีชมพู
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 15:17:32 น.


BTS ผนึกซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง ตัดเชือก"BEM-ช.การช่าง"ประมูลโมโนเรลสีชมพู-เหลืองแสนล้าน รู้ผลวันที่ 17 พ.ย.นี้

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้เอกชนทั้ง 17 รายที่ซื้อเอกสาร ยื่นรายละเอียดลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. มูลค่าลงทุน 53,490 ล้านบาท และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) มูลค่าลงทุน 51,810 ล้านบาท ระยะทาง 30 กม. โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกชนลงทุนค่างานโยธา ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถ รวมทั้งการบริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา ระยะเวลา 33 ปี

ผลปรากฎว่ามียื่น 2 ราย ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้ง) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ร่วมกับ บมจ.ช.การช่าง

ตามแผน รฟม.จะเปิดซองข้อเสนอวันที่ 17 พ.ย. 2559 เซ็นสัญญาเดือน เม.ย. และเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. 2560

//----------------------------------

2 บริษัทยื่นซองร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง
กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 5:06 PM
(เพิ่มเติม) รฟม.เผย BEM และ กลุ่ม BTS-STEC-RATCH ยื่นซองชิงรถไฟฟ้าชมพู-เหลือง คาดเซ็นสัญญา เม.ย. 60
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
จันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559 17:06:35 น.


กรุงเทพฯ 7 พ.ย. – ภายหลังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการจัดการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ตั้งแต่ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม – 5 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น มีเอกชนสนใจติดต่อขอซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 16 ราย สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว –สำโรง 17 ราย ซึ่ง รฟม.กำหนดเปิดรับซองข้อเสนอวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559

ทั้งนี้ มีบริษัทยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ สายสีชมพูฯ และสายสีเหลืองฯ 2 ราย คือ

1.กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS Group, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ

2.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM

ส่วนขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 จะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ในการดำเนินการประเมินผลข้อเสนอฯ และเจรจาต่อรองกับเอกชนผู้ชนะการคัดเลือกก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาประมาณเดือนเมษายน 2560

สำหรับสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ นั้น เป็นโครงการในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม.ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและผู้รับสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ระบบเครื่องกลและไฟฟ้า (รถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง) และให้บริการการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost) ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 3 ปี 3 เดือน และระยะที่ 2 งานให้บริการด้านบริหารจัดการการเดินรถและบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีวงเงินลงทุนรวม 53,519.50 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีวงเงินลงทุนรวม 51,931.15 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย

//----------------------

https://www.youtube.com/watch?v=L5wp9HUzNBc

4 ยักษ์กลุ่มรับเหมายื่นซองประมูลรถไฟฟ้าเหลือง-ชมพู วันนี้
Money Channel
7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 12.03 น.

วันนี้จับตา 4 กลุ่มยักษ์ใหญ่รับเหมา จับมือพันธมิตร ยื่นซองประกวดราคาประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ชิงเค้กมูลค่า 1.1 แสนล้านบาท

ในวันนี้ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. จะเปิดให้เอกชนเข้ายื่นเอกสารประกวดราคาประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กิโลเมตร วงเงิน 51,810 ล้านบาท

โดยจะเปิดให้เอกชนยื่นซองเอกสารข้อเสนอ 3 ซองพร้อมกัน ประกอบด้วย ซองที่ 1 เป็นข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่ 2 เป็นข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 เป็นข้อเสนอด้านราคา ทั้งนี้ รฟม. ได้กำหนดเปิดข้อเสนอในวันที่ 17 พ.ย.59 และคาดว่าจะพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประมูลในเดือน ก.พ.60

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง จะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Mono Rail โดย รฟม.ใช้รูปแบบการลงทุน PPP ประเภท Net Cost แบบทั้งโครงการ ดังนั้นเอกชน 1 รายจะต้องรับทั้งงานก่อสร้าง วางระบบ เดินรถ พร้อมซ่อมบำรุง ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และแบ่งรายได้ให้รัฐ โดยมีเงื่อนไขว่า ภาครัฐจะให้การอุดหนุนโครงการไม่เกินมูลค่างานโยธาของแต่ละสายทาง ดังนั้นหากเอกชนรายใดเสนอผลตอบแทนให้ภาครัฐมากที่สุด และขออุดหนุนน้อยที่สุดก็จะได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้รับงาน

ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จากกรณีที่ รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ประเภท Net Cost แบบทั้งโครงการ สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง พบว่าบริษัทเหมาก่อสร้างรายใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ จะเข้าประมูลกันถ้วนหน้า

โดย ITD จะร่วมกับ SK Engineering & Construction จากประเทศเกาหลีใต้ และ Trandev จากประเทศฝรั่งเศส ขณะที่ CK ร่วมมือกับบริษัทลูกอย่างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ส่วน STEC จับมือกับบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) หรือ BTS และ UNIQ จับมือกับ SMRT จากประเทศสิงคโปร์ และซิโดรไฮโดร และไชน่าสเตท จากประเทศจีน ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวมีโอกาสที่จะได้รับงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้วยกันทั้งนั้น

โดยก่อนหน้านี้ มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้เข้าร่วมซื้อซองประกวดราคาทั้งสิ้น 11 บริษัท

//---------------

สี่ยักษ์รับเหมาแบ่งเค้ก 2 แสนล้าน รถไฟฟ้า "ส้ม-ชมพู-เหลือง"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 19:30:27 น.

เป็นที่จับตากระดานประมูลรถไฟฟ้า 3 สาย 3 สี "ส้ม-ชมพู-เหลือง" มีเม็ดเงินลงทุนเฉียด 2 แสนล้านบาท ที่ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" กำลังกดปุ่มส่งท้าย ปี 2559 ถึงยังไม่เปิดซองราคา แต่ว่ากันว่าบิ๊กรับเหมาของวงการตัดเค้กแบ่งกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มี 2 รับเหมาเบอร์รองของวงการเป็นโต้โผ

พลิกดูรายชื่อผู้ท้าชิงสายสีส้ม 6 สัญญา ค่าก่อสร้าง 79,724 ล้านบาท ยื่นซองประมูลเมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา มีแต่ขาใหญ่ที่เข้าชิง สุดเซอร์ไพรส์รับเหมา 2 ตระกูลดัง "ช.การช่าง" ใต้ปีกตรีวิศวเวทย์และ "ซิโน-ไทยฯ" ของตระกูลชาญวีรกูล ผนึกกำลังกันลงขันคนละ 60 : 40 ชิงดำกับ บมจ.ยูนิคฯที่ "เสี่ยประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย" จับมือกับ "บจ.ซันยอง" รับเหมาแดนกิมจิชิงงานอุโมงค์ใต้ดิน ส่วนงานยกระดับขอโชว์เดี่ยว ที่ไม่ขอเอี่ยวกับใคร "อิตาเลียนไทยฯ" ที่ขอฉายเดี่ยวเสนอราคาทั้ง 6 สัญญา

"ซิโน-ไทยฯจับกับช.การช่างเพราะไม่มีผลงานอุโมงค์ขณะที่ ช.การช่างก็อาศัยคอนเน็กชั่นของซิโน-ไทยฯ ซึ่งก็คงได้งานอย่างน้อย 2-3 สัญญา ส่วนอิตาเลียนไทยฯจะได้งานอุโมงค์ ทางยกระดับ และงานวางระบบราง ส่วนยูนิคฯน่าจะได้งานทางยกระดับเพราะมีผลงานสายสีน้ำเงิน ส่วนงานอุโมงค์น่าจะเป็นแค่คู่เทียบ" แหล่งข่าวจากวงการรับเหมากล่าว

ขณะที่สีชมพู "แคราย-มีนบุรี" และสีเหลือง "ลาดพร้าว-สำโรง" ที่ รฟม.ให้เอกชนลงทุนทั้งโครงการจะเปิดยื่นซองวันที่ 7 พ.ย.นี้ ก็ยังเป็นที่กังวลจะมีเอกชนรายไหนเป็นหน่วยกล้าตาย เนื่องจากโครงการมีความเสี่ยงสูง จึงทำให้ไม่จูงใจให้เอกชนโดดร่วมวงสักเท่าไหร่ หวั่นจะเป็นมวยล้มต้มคนดู

ทั้งนี้จากการสอบถามไปยังรับเหมาที่ซื้อแบบ พบว่ามีหลายรายถอดใจ ทั้ง บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ ขณะที่ บมจ.อิตาเลียนไทยฯก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่เข้าร่วมประมูล ส่วน "ยูนิคฯ" ที่ประโคมข่าวจะร่วมกับสิงคโปร์และจีน คงเป็นแค่ไม้ประดับ

รอลุ้น "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ของ เสี่ยคีรี กาญจนพาสน์ ที่ควง "ซิโน-ไทยฯ" รวมถึง "บีอีเอ็ม-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ" ธุรกิจในเครือ ช.การช่าง จะตบเท้าเข้าประมูลอย่างที่ลั่นวาจาไว้หรือไม่ เพราะดูจากท่าทียังชั่งใจ แต่ถ้ายอมกัดฟันยื่นซองจริง หนีไม่พ้นที่ 2 ยักษ์รถไฟฟ้าจะคว้าชิ้นปลามัน !


Last edited by Wisarut on 08/11/2016 5:13 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2016 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสสนใจประมูลสร้างรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง (คลิป)
มติชน
วันที่ 08 พฤศจิกายน 2559, เวลา: 14:00 น.



การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ได้เปิดรับซองเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีบริษัทยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุน จำนวน 2 ราย ได้แก่

1.กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ //บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 2.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM

สำหรับขั้นตอนต่อไป จะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอฯ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ในการดำเนินการประเมินผลข้อเสนอฯ และเจรจาต่อรองกับเอกชนผู้ชนะการคัดเลือก ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ประมาณเดือนเมษายน 2560

ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง นั้นเป็นโครงการในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม.ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและผู้รับสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ระบบเครื่องกลและไฟฟ้า โดยเป็นแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง และให้บริการการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีวงเงินลงทุนรวม 53,519.50 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีวงเงินลงทุนรวม 51,931.15 ล้านบาท
https://www.youtube.com/watch?v=FQMJKzZbPv8
//--------------
"บีทีเอส-บีอีเอ็ม" เปิดศึกชิงโมโนเรลสีชมพู-เหลือง
เดลินิวส์
อังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 12.04 น.

"บีทีเอส-บีอีเอ็ม" เปิดศึกชิงเค้กโมโนเรลสีชมพู-เหลือง กว่าแสนล้านบาท


การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)  แจ้งว่า  ตามที่ได้เปิดให้เอกชน 17 บริษัทที่มาซื้อเอกสารประกวดราคาเป็นผู้รับสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธาระบบเครื่องกลและไฟฟ้า(รถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมรางหรือโมโนเรล)และให้บริการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเก็บค่าบริการ(PPPNet Cost)โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี  ระยะทาง 34.5 กม. และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง  29.1 กม.  เวลา  09.00 น.-15.00 น. วันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา  ปรากฎว่ามีเอกชนมายื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ  2 ราย   คือ1.กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR JointVenture)  ประกอบด้วยบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)  บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)  และ2.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (หรือบีอีเอ็มBEM)     โดยทั้ง2รายได้ยื่นซองลงทุนทั้ง2โครงการ
 
สำหรับขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา35 จะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอฯ วันที่ 17 พ.ย.นี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ  3 เดือน ในการประเมินผลข้อเสนอฯและเจรจาต่อรองกับเอกชนผู้ชนะการคัดเลือก ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ  คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ประมาณเดือนเม.ย.60  สำหรับระยะเวลาสัมปทาน33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1งานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาพร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้า 3 ปี 3 เดือน และระยะที่2 งานให้บริการด้านบริหารจัดการการเดินรถและบำรุงรักษา  30 ปี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีวงเงินลงทุนรวม 53,519.50 ล้านบาท  ส่วนสายสีเหลืองวงเงินลงทุนรวม 51,931.15 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2016 3:16 pm    Post subject: Reply with quote

'คีรี' ยื่นข้อเสนอพิเศษชิงรถไฟฟ้า 2 สาย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 08 พฤศจิกายน 2559, 09:15

"คีรี" จับมือพันธมิตรชิงประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู คาดใช้เงินลงทุนกว่า 8 หมื่นล้าน พร้อมยื่นข้อเสนอพิเศษนอกเหนือทีโออาร์เชื่อม "อิมแพค"

วานนี้ (7 พ.ย.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดรับซองข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มูลค่า 105,450.65 ล้านบาท ด้วยรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ปรากฏว่ามีเอกชน 2 ราย เข้าร่วมยื่นซองข้อเสนอทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง จากผู้สนใจซื้อเอกสารโครงการสายสีชมพู 16ราย ส่วนสายสีเหลือง 17 ราย

บีทีเอส-ช.การช่างชิงดำรถไฟฟ้า

รายงานข่าวจากรฟม.ระบุว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายแรกคือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วยบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กรุ๊ป ,บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)หรือ RATCH และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ส่วนรายที่ 2 คือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม

โดยขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 จะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอในวันที่ 17 พ.ย. นี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการดำเนินการประเมินข้อเสนอและเจรจาต่อรองกับเอกชนผู้ชนะการคัดเลือก ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ประมาณเดือน เม.ย. 2560

ใช้รูปแบบ“พีพีพี”ทั้ง2โครงการ

รายงานข่าว ระบุว่าสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และสีเหลืองวงเงิน 51,931.15 ล้านบาท เป็นรูปแบบพีพีพี โดยรฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนผู้รับสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ระบบเครื่องกลและไฟฟ้า (รถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง) และให้บริการการจัดการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ(PPP Net Cost) ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน

ทั้งนี้ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างงานโยธา พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 3 ปี 3 เดือนและระยะที่ 2 งานให้บริการด้านบริหารจัดการการเดินรถและบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี

รฟม.ยอมรับมีผู้เสนอน้อยราย

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม.อยากเห็นจำนวนผู้ยื่นข้อเสนอและการแข่งขันมากกว่านี้ แต่การประมูลครั้งนี้ถือว่ามีผู้เข้าร่วมพอสมควร และยังเห็นผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาวงการ เช่น กลุ่มราชบุรี โฮลดิ้ง

ส่วนสาเหตุที่มีผู้ยื่นซองข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสีชมพูและเหลืองน้อยราย คาดว่าเป็นเพราะเอกชนผู้รับสัมปทานต้องลงทุนทั้งด้านก่อสร้างและเดินรถ ส่งผลให้มีผู้คุณสมบัติและความสามารถในการลงทุนมีจำนวนไม่มาก

อีกทั้งบางรายพิจารณาว่าการลงทุนไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง เนื่องจากมีความเสี่ยงเรื่องระยะเวลาการก่อสร้างที่จำกัดและรายได้ที่ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสาร อีกทั้งเอกชนต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากภาครัฐสูงสุดไม่เกิน 20,000 ล้านบาทจึงอาจทำให้มีกำไรไม่มาก

“คีรี”ลั่นพร้อมชิงประมูล 2 เส้นทาง

ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส กล่าวว่าบริษัทมีความสนใจเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ เสนอราคาที่ถูกต้องและด้วยประสบการณ์ ความชำนาญบริษัทจึงได้เสนอข้อเสนอพิเศษในการเชื่อมต่อของเส้นทางไปในจุดที่มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นข้อเสนอที่นอกเหนือจากทีโออาร์ที่กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีจุดแข็งคือเป็นผู้เดินรถลอยฟ้าที่มีความชำนาญและสามารถบริหารต้นทุนได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีพาร์ทเนอร์ที่จะขายรถให้ในราคาต้นทุนที่ต่ำด้วย ในส่วนของบริษัทเองก็ได้เสนอราคาที่สมเหตุสมผลมาก โดยทั้งสองสายจะใช้เงินลงทุนกว่า 80,000 ล้านบาท

ยื่นข้อเสนอพิเศษเชื่อมต่อ 2 จุด

นายคีรี กล่าวว่าในส่วนของสายสีชมพู (แคลาย-มีนบุรี) บริษัทได้เสนอที่จะขยายเส้นทางเพิ่มเพื่อเชื่อมเข้าไปยังอิมแพค เมืองทองธานีระยะทางประมาณ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งแผนเดิมไม่มีการเชื่อมต่อ ส่วนสายสีเหลืองบริษัทก็ได้จะขยายเส้นทางเพิ่มอีก2.6 กิโลเมตร บริเวณรัชดาแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว

“ข้อเสนอดังกล่าวแม้จะไม่อยู่ในทีโออาร์ แต่จากการศึกษาพฤติกรรมของคนจากการเดินทาง ทำให้เห็นว่าการขยายเส้นทางเหล่านี้ จะสามารถเพิ่มปริมาณผู้โดยสารได้ ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกว่าผู้โดยสารเดินทางไปไหนบ้าง ถือเป็นข้อเสนอพิเศษของบริษัท ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสารมากในการเดินทาง ผมมีความมั่นใจบริษัทมีความชำนาญบริหารต้นทุน และความชำนาญด้านการเดินรถเป็นอย่างดี”นายคีรี กล่าวและว่าในส่วนของแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ไม่เป็นปัญหาแน่นอน เพราะขณะนี้ธนาคารต่างๆให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมเพราะต้องการให้โครงการลงทุนมีต้นทุนที่ต่ำ

ช.การช่างจับมือ BEM ร่วมประมูล

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม กล่าวว่า บีอีเอ็ม ร่วมกับบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ยื่นประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง โดยช.การช่างจะรับผิดชอบด้านงานโยธา ส่วน บีอีเอ็ม จะรับผิดชอบด้านการเดินรถตามที่ถนัด

“จริงๆ ทุกเรื่องมันมีความเสี่ยงทั้งนั้น แต่ถ้าเกิดเรามีความสามารถที่จะบริหารความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงนั้นก็จะไม่มากมายสำหรับเรา การลงทุนแบบพีพีพี เนื่องจากมันมีข้อมูลที่รัฐก็เข้าใจว่ารัฐจะต้องสนับสนุนอย่างไรบ้าง จะเป็นการเยียวยาทำให้ความเป็นไปได้ทางธุรกิจมันเกิดขึ้น” นายสมบัติ กล่าว

สำหรับผู้ชนะการประมูลครั้งนี้ คือผู้ที่เสนอส่วนลดค่าชดเชยจากภาครัฐมากที่สุด เพราะฉะนั้น BEM จะเน้นโมเดลเรื่องการสร้างรายได้ เช่น การพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้าซึ่งที่ผ่านก็ประสบความสำเร็จพอสมควร และการลดต้นทุนเพื่อแข่งขันกับรายอื่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2016 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

"สมคิด"มอบ รฟม.เร่งรัดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพูภายในกลาง ธ.ค.นี้
โดย MGR Online
9 พฤศจิกายน 2559 16:08 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจ พร้อมด้วยนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือร่วมกับผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วยผู้บริหารธุรกิจก่อสร้างและผู้รับสัมปทานให้บริการรถไฟฟ้าในประเทศทั้งบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส

นายสมคิด กล่าวภายหลังการหารือว่า วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่เอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองร่วมหารือ ซึ่งจะเป็นแนวทางสะท้อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่จะขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง โดยปี 2560 จะเป็นปีที่มีการลงทุนโครงการระบบรางทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ รฟม. เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายทั้งส่วนภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร เชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญช่วยสร้างความเชื่อมั่น และเมื่อข่าวสารกระจายออกไปจะช่วยให้เรตติ้งความน่าลงทุนของประเทศปรับตัวในทิศทางที่ดีแน่นอน

นายสมคิด กล่าวด้วยว่า วันนี้ได้มอบนโยบายให้ รฟม.เร่งรัดดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าใน 2 เส้นนี้ ขอให้ประกวดราคาให้เสร็จก่อนกลางเดือนธันวาคมนี้ เชื่อว่าจะทำให้การเดินหน้าก่อสร้างโครงการเริ่มดำเนินการได้ปี 2560 นอกจากนี้ ยังเร่งรัดให้ผลักดันลงทุนรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ รวมถึงโครงการระบบรางรถไฟฟ้าในจังหวัดที่มีความพร้อม ซึ่ง รฟม.จะเริ่มดำเนินการแต่ละจังหวัดเพื่อให้พัฒนาโครงการเหล่านี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 141, 142, 143 ... 277, 278, 279  Next
Page 142 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©