Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271352
ทั้งหมด:13582641
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 144, 145, 146 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2016 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

'ปลิว'รับโมเดลธุรกิจรถไฟฟ้าชมพู-เหลืองสู้'บีทีเอส'ไม่ได้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 09 ธันวาคม 2559, 16:21

"ปลิว" ยอมรับโมเดลธุรกิจรถไฟฟ้าชมพู-เหลืองสู้ "กลุ่มบีทีเอส" ไม่ได้ ยันไม่กระทบผลประกอบการ "ช.การช่าง" เพราะมีงานในมือถึง 8 หมื่นล้านบาท

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยถึงผลการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาทและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 5.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ที่นำโดยบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นเอกชนที่ผ่านการประเมินสูงสุดว่า BEM ยื่นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนอย่างเต็มที่ แต่ยอมรับว่าสู้ได้แค่นี้ โดยตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่ารายละเอียดต่างๆ เพราะ BEM ก็มั่นใจว่าได้ยื่นข้อเสนอดีที่สุดเท่าที่ทำได้แล้ว

สำหรับผลการประเมินเบื้องต้นตอนนี้คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ยื่นขอรับการอุดหนุนจากภาครัฐต่ำกว่า BEM และมีสิทธ์ชนะการประมูล แต่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. เอกชนร่วมลงทุนฯ (PPP) ก็ยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาข้อเสนอและยังไม่ได้แจ้งผลกับ BEM อย่างเป็นทางการ แต่หากผลออกมาว่า BEM แพ้การประมูล ก็จะไม่ยื่นอุทรณ์

"วิธีการดูโมเดลธุริจของเราอาจสู้อีกกลุ่มไม่ได้ เช่น อีกกลุ่มอาจจะเสนอต่อสายสีชมพูไปถึงเมืองทองธานี ซึ่งเป็นโครงการเสริมที่ทำให้มีรายได้มากขึ้นและต้นทุนลดลง หรือเสนอต่อสายสีเหลืองมาถึงแยกรัชโยธินซึ่งเสริมให้มีรายได้มากขึ้น ตรงนั้นทำให้โมเดลธุรกิจดีขึ้นด้วย" นายปลิวกล่าว
สำหรับการประมูลโครงการรถไฟฟ้ารูปแบบ PPP อื่นๆ คงไม่ใช่ปัญหาสำหรับ BEM แม้บริษัทฯ อาจจะแพ้การประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง เพราะแต่ละสายก็มีวิธีการคิดเรื่องผลประโยชน์ รายได้และความเสี่ยงแตกต่างกัน

ด้านการประมูลงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ที่จะเปิดข้อเสนอซองที่ 3 ด้านราคา จำนวน 5 สัญญา รวมมูลค่า 7.4 หมื่นล้านบาทวันนี้ (9 ธ.ค.) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นใหญ่ BEM ก็เสนอราคาอย่างเต็มที่ทุกสัญญา แต่ก็ต้องรอผลว่าจะชนะที่สัญญา

อย่างไรก็ตาม นายปลิว กล่าวว่า การประมูลงานรถไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบกับผลประกอบการของ ช.การช่าง ที่มีงานในมือสูงถึง 80,000 ล้านบาท โดยหากบริษัทฯ ประมูลโครงการรถไฟฟ้าไม่ได้เลยก็ยังมีรายได้ 30,000-40,000 ล้านบาทต่อปี ในอีก 3 ปีข้างหน้า อีกทั้งยังมีโครงการอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างรอการลงนามในสัญญา ส่วนรายได้ในปีนี้ก็ไม่ตกลงและจะมากกว่าปีก่อนอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2016 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

ของบ 61 ขุดอุโมงค์อีก 3 แยก ศรีอยุธยา, ศรีนครินทร์, ราชพฤกษ์-พบจุดตัด รฟม.ซ้ำรอยไฟฉาย
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
13 ธ.ค. 2559 05:01 90
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2016 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

คีรี'ลั่นพร้อมร่วมประมูลรถไฟฟ้าทุกสาย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 16 ธันวาคม 2559, 08:45

"กลุ่มบีเอสอาร์" ประกาศความพร้อมพัฒนาและให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สีชมพู "คีรี" ลั่นพร้อมประมูลทุกโครงการ ยันมีกระแสเงินสดเพียงพอ



กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ประกาศความพร้อมพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ชี้แจงรายละเอียดถึงความพร้อมหลังชนะการประมูล

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เป็นการลงทุนในลักษณะ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับการก่อสร้างงานโยธา รวมทั้งเงินสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธา ขณะที่บีเอสอาร์ลงทุนก่อสร้างงานโยธาจัดหาระบบรถไฟฟ้า และได้รับสัญญาสัมปทานอายุ 33 ปี 3 เดือน (ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี) เพื่อดำเนินการจัดเก็บรายได้จากค่าโดยสารและรายได้จากิจการเชิงพาณิชย์อื่นๆ ในระบบโดยแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.)

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบีเอสอาร์มั่นใจว่าการได้รับสัมปทานพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นโอกาสของการสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บีทีเอสบริหารอยู่แล้ว

“คาดว่าเมื่อดำเนินการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าทั้งระบบ 3 สาย ทั้งสายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีเขียว จะมีผู้โดยสารรวม 1.7-2 ล้านคนต่อวันในปี 2563 ซึ่งจะช่วยลดการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี”

สำหรับร่วมมือระหว่างกลุ่มกิจการร่วมค้า แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บีทีเอส กรุ๊ป สัดส่วนหุ้น 75% บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 15% และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 10% โดยเงินลงทุนโครงการทั้งหมดรวมประมาณ 1 แสนล้านบาท จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านของเงินก่อสร้างงานโยธาแบ่งเป็นสายสีชมพู 20,135 ล้านบาท และสายสีเหลือง 22,354 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นการกู้เงินจากสถาบันทางการเงินและส่วนของบีทีเอสจะเป็นวงเงินจากการทำกองทุนอินฟราฟันด์ 6 หมื่นล้านบาทก่อนหน้านี้

“บริษัทมีความพร้อมที่จะลงทุนในรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน เนื่องจากปัจจุบันยังมีกระแสเงินสดเพียงพอ”

โดยเงินลงทุนโครงการแบ่งออกเป็นสายสีชมพู 5.3 หมื่นล้านบาท และสายสีเหลือง 5.1 หมื่นล้านบาท รวมสองโครงการประมาณ 1 แสนล้านบาทนั้น แหล่งเงินจะมาจากส่วนทุน 2.8 หมื่นล้านบาท และอีก 7 หมื่นล้านบาท จะอาศัยเงินกู้จากสถาบันทางการเงิน ปัจจุบันเจรจาไว้กับแบงก์หลายราย แต่จะมีเงินอุดหนุนจากรัฐ ในงานโยธา เมื่อลงนามสัญญาแล้วบีเอสอาร์จะต้องวางเงินทุนเบื้องต้น 3.5 พันล้านบาท ตามสัดส่วนการถือหุ้น และทยอยลงทุนครบ 2.8 หมื่นล้านบาทตามกำหนด

ลั่นพร้อมร่วมประมูลทุกโครงการ

นายคีรี กล่าวอีกว่านอกจากการเข้ามาร่วมประมูลในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองแล้ว บีทีเอส กรุ๊ป ยังสนใจลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่ภาครัฐเตรียมเปิดประมูล ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งตะวันออกและตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9 -ท่าพระ) และระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) ที่อยู่ในแผนของกรุงเทพมหานคร

“จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าไม่มีปัญหาในส่วนของงบประมาณการลงทุน แต่จะต้องตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาทีโออาร์อีกครั้ง”

ยันมีกระแสเงินสดเพียงพอ

นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการลงทุนเริ่มต้นในปี 2560 คาดการณ์ว่าจะต้องจัดใช้งบประมาณราว 1.5-2 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง 1 หมื่นล้านบาท และการลงทุนสายสีเขียวเรื่องการวางระบบและขบวนรถอีก 5 พันล้าน-1 หมื่นล้านบาท

แต่จากการประเมินสถานการณ์แล้ว มั่นใจว่าบริษัทมีงบประมาณเพียงพอในการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ปัจจุบันมีกระแสเงินสดอยู่ราว 1.6 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงวงเงินจากการถือหุ้นบีทีเอสด้วย

คาดหนุนคนใช้บีทีเอสพุ่งเท่าตัว

นายสุรยุทธ กล่าวว่า เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลืองเปิดให้บริการ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจะก่อให้เกิดปริมาณเดินทางทั้งระบบบีทีเอส 1.7-2 ล้านคนต่อวันนั้น ยังจะส่งผลให้รายได้ของบีทีเอสในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอยู่ที่ราว 2.2 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ภาพรวมของการดำเนินงานในปีนี้ คาดว่ามีรายได้ประมาณ 1-1.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นผลจากจำนวนผู้โดยสาร และค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ประกอบกับธุรกิจอื่นๆ เติบโต

เจรจาต่อรองราคารฟม.เสร็จ2เดือน

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์จะหารือกับรฟม.ในขั้นตอนการเจรจาต่อรองราคาและการพิจารณารายละเอียดต่างๆ ร่วมกันเป็นครั้งแรก หลังจากบีเอสอาร์ชนะการประกวดราคา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จึงจะได้ข้อสรุป และสามารถลงนามในสัญญาได้ ซึ่งอาจเร็วกว่ากำหนดเดิมที่วางไว้ในเดือนเม.ย.2560

บริษัทมั่นใจว่าจะดำเนินโครงการได้ประสบความสำเร็จ เพราะมีความพร้อมเต็มที่ แต่ รฟม.ต้องส่งมอบพื้นที่ตามแนวเส้นทางการก่อสร้างให้ได้ตามแผนงานที่กำหนด

ในการเจรจาวันที่ 19 ธ.ค.นี้ นอกจากจะมีการต่อรองราคาโครงการแล้ว ยังพูดคุยถึงรายละเอียดสัญญา 3 ที่บริษัทยื่นข้อเสนอเพื่อทำการขยายขอบเขตเส้นทางเดินรถของทั้งสองโครงการออกไปเพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น สายสีชมพู เสนอให้ต่อเส้นทางระยะประมาณ 2.8 กิโลเมตร จากสถานีศรีรัช เข้าไปยังอิมแพค เมืองทองธานี และสายสีเหลืองขยายออกไปอีก 2.6 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดสถานีรัชโยธินเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว

นอกจากนี้ในข้อเสนอที่ทีเอสอาร์ยื่นไปยังจะผลักดันให้มีการใช้บัตรโดยสารใยเดียว สามารถเดินทางได้ทั้ง 3 ระบบรถไฟฟ้าของบีทีเอสอีกด้วย

//------------------
บีทีเอสทุ่มแสนล.ลุยสัมปทาน ชมพู-เหลือง ต่อยอดธุรกิจในเครือ มั่นใจทั้งโครงข่ายผู้โดยสารแตะ 2 ล้านคน
โดย MGR Online
15 ธันวาคม 2559 17:18 น.



กลุ่ม BSR พร้อมลุยสัมปทาน โมโนเรล"ชมพู-เหลือง" ทุ่มแสนล. "คีรี"ลั่นมีพันธมิตรแข็งแกร่ง " ซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง" มั่นใจ เชื่อมโครงข่าย "เขียว-ชมพู-เหลือง"ต่อยอดธุรกิจในเครือคุ้มค่าลงทุน แนวเส้นทางประชากรหนาแน่น มีศักยภาพใช้บริการรถไฟฟ้า คาดเปิดเดินรถผู้โดยสารทั้ง 3 สาย แตะ1.7 ล้านคน-2 ล้านคน/วัน เผยยื่นข้อเสนอต่อขยายชมพูเข้าเมืองทอง ส่วนสีเหลืองเชื่อมเขียวที่รัชโยธิน ช่วยเพิ่มผู้โดยสารอีก





นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)พร้อมด้วย นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และนายรัมย์ เหราบัตย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมทุนในกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งผ่านการประเมินสูงสุด จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการเป็นผู้รับสัมปทานการลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธาการจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.มีมูลค่าลงทุนรวม 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรงระยะทาง 30.4 กม. มูลค่าลงทุนรวม 51,810 ล้านบาท

นายคีรีกล่าวว่า บีทีเอสมีประสบการณ์ กว่า 17 ปีมีความพร้อมทางการเงิน มีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง การร่วมประมูลสีชมพูและเหลือง เพราะเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยเอกชน และการร่วมทุนกับ ซิโน-ไทยฯ และราชบุรีโฮลดิ้ง จะยิ่งทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย แม้ว่าเงื่อนไขในTOR จะค่อนข้างเข้มงวด ลงทุนไม่ง่าย แต่เมื่อสายสีเขียวต่อขยาย สีชมพู สีเหลือง เปิด เส้นทางของ 3 สายจะมีระยะทางถึง 146 กม. ส่วนขบวนรถจะมีกว่า 300 ตู้ และมีสถานีเพิ่มอีก 53 สถานี ซึ่งจะสนับสนุนธุรกิจ4 หมวด ในเครือ ซึ่งนอกจากรถไฟฟ้า ยังมีด้านอสังหาริมทรัพย์ อาคาร 200 แห่ง โรงแรม200 แห่ง ด้านมีเดียจะมีพื้นที่สื่อโฆษณาบนตัวรถเพิ่มอีก 3-4- เท่า เชื่อว่า ตัวเลขเมื่อรวมธุรกิจทั้งหมดเชื่อว่าคุ้มในการลงทุน

นอกจากนี้ จากการศึกษาตลอดแนวเส้นทางของ2 สาย มีประชากรหนาแน่น ประมาณ 2.98 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะใช้บริการรถไฟฟ้าได้ ประกอบกับการเชื่อมต่อกับสายสีเขียว ซึ่งเป็นสายหลักที่เข้าใจกลางเมืองและมีจุดหมายปลายทาง ซึ่งเมื่อโครงข่ายสีเขียวต่อขยายเสร็จ ต่อเชื่อมกับสีชมพูและสีเหลือง คาดการณ์ผู้โดยสารในปีที่เปิดให้ห้บริการ ของโครงข่ายทั้ง 3 สาย จะอยู่ที่ประมาณ 1.7 ล้านคน-2 ล้านคน/วัน

โดยสายสีชมพูนั้น จะก่อสร้างไปบนถนนที่มีการจราจรหนาแน่น และ จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สาย คือ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมกับสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน)-สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมกับสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) สถานีมีนบุรี เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันออก) โดยกลุ่มไ้ด้เสนอต่อขยายเส้นทางเข้าไปยังเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. (2 สถานี) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น มีศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า ผู้เข้างาน 15 ล้านคน/ปี ที่อยู่อาศัย 80,000-100,000 คน สนามฟุตบอล SCG เมืองทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาพรวมมีผู้อาศัย150,000-180,000 คน เทียบเท่าเทศบาลโคราช มีรถไฟฟ้าเข้าไปจะช่วยลดปัญหาจราจรได้มาก


สายสีเหลือง มีจุดเชื่อมต่อ 3 จุด โดยเริ่มจากลาดพร้าว ทางกลุ่มฯได้เสนอต่อขยายระยะทาง 2.6 กม. จากสถานีรัชดาภิเษก เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สี่แยกรัชโยธิน เพื่อแก้ปัญหาจราจรที่ถนนลาดพร้าว ส่วนที่สี่แยกลำสาลีจะเชื่อมกับสายสีส้ม (ตะวันนออก) ,ต่างระดับพระราม 9 จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสุดทาง จะเชื่อมกับสายสีเขียวที่ สำโรง และเพื่อความสะดวกยังเสนอใช้บัตรโดยสารใบเดียวทั้งประเภท เที่ยวเดียว เติมเงิน (แรบบิท และแมงมุม) เดินทางไ้ด้ทั้ง3 ระบบ โดยไม่ต้องแตะบัตรออกจากระบบ เข้าและออกครั้งเดียว จนกว่าจะถึงปลายทาง

นายคีรีกล่าวว่า สัดส่วนหุ้นของ BSR Joint Venture มีบีทีเอส 75% ,ซิโน-ไทยฯ 15% และราชบุรีโฮลดิ้ง 10% ด้านการเงิน บีทีเอสได้เตรียมพร้อมแล้ว โดย TOR กำหนดทุนจดทะเบียน โครงการละ 14,000 ล้านบาท รวม 28,000 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญา ต้องชำระก้อนแรกโครงการละ 3,500 ล้านบาท และชำระเต็ม เมื่อเปิดเดินรถ ซึ่งจากประสบการณ์ทำให้รู้ว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ การที่เอกชนลงทุน 100% รัฐต้องอุดหนุนบางส่วน เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการลงทุนของเอกชนและแบ่งเบาภาระภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาจราจร

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย กล่าวว่า บริษัทรับหน้าที่ 2 ส่วนคือ ก่อสร้างงานโยธาโดยเมื่อได้ข้อสรุป รฟม.จะต้องส่งมอบพื้นที่ เพื่อให้บริษัททำการรื้อย้ายสาธารณูปโภค จากนั้นจะก่อสร้างฐานราก เสา และคานรองรับ เพื่อให้บีทีเอสเข้าติดตั้งงานระบบต่อไป งานโครงสร้างระบบโมโนเรลไม่ซับซ้อนทก่อสร้างบนเกาะกลางถนน ขณะที่มีแรงงานประมาณ 10,000 คน เครื่องมือเครื่องจักรพร้อม รวมถึงมีโรงหล่อคอนกรีตสำเร็จรูป และเริ่มล็อควัสดุก่อสร้างแล้ว ดังนั้น เวลาก่อสร้าง 3 ปีจึงไม่มีปัญหา

โดยภาพรวม บริษัทมีงานที่รอลงนามสัญญาในปี2560 ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เช่น โมโนเรลชมพู,เหลือง สายสีส้ม,งานกรมทางหลวงประมาณ 5-6 พันล. ,รถไฟทางคู่ อย่างน้อย นทาง ประมาณ 2 หมื่นล. งานภาครัฐในงบประจำปีอีก 1 หมื่นล.

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวว่า ในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ รฟม.นัดเจรจากับกลุ่ม เพื่อเจรจาต่อรองในข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน) ซึ่งจะมีข้อเสนอซองที่ 3 การเสนอต่อขยายเส้นทางเชื่อมเข้าเมืองทองธานีและต่อเชื่อมกับสีเขียวด้วย ส่วนระบบรถโมโนเรลนั้น บริษัทได้เสนอไว้ 3 ยี่ห้อ คือ ฉงชิ่ง ,บอมบาดิเอร์,สโคมี่ ซึ่งหลังลงนามสัญญา 30 วัน จะสรุปว่าเลือกยี่ห้อไหน ขณะที่รฟม.จะต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำรวจรายสถานีและพื้นที่โดยรอบ ประเมิน ผู้โดยสารสีชมพู และเหลืองจะมีประมาณสายละ1.8- 2 แสนคน/วัน ขณะที่ปัจจุบัน บีทีเอสมีผู้โดยสารเฉลี่ย 7 แสนคน/วัน

***ขอดูเงื่อนไขไฮสปีด ก่อนตัดสินใจร่วมประมูล ชี้เป็นโครงการใหญ่

นายคีรีกล่าวถึง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ว่า การจะเข้าลงทุนหรือร่วมทุนด้วยนั้น คงต้องขอดูรายละเอียดจากทางรัฐบาลก่อนว่ารูปแบบรายละเอียดโครงการเป็นอย่างไร รัฐบาลจะมีความช่วยเหลือในส่วนใดบ้างเนื่องจากเป็นการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพนั้น หากเป็นโครงการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) หรือ โครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีการเปิดประมูลบริษัทมีความสนใจที่จะเข้าร่วมดำเนินการทั้งสิ้น เพราะรถไฟฟ้าเป็นธุรกิจหลักของบริษัท
https://www.youtube.com/watch?v=UdpggSkDI80
//-------------------

บีทีเอสทุ่มแสนล้านเชื่อมโครงข่าย”ชมพู-เหลือง”-ต่อยอดธุรกิจดันผู้โดยสารพุ่ง
โดย ผู้จัดการรายวัน
16 ธันวาคม 2559 00:04 น. (แก้ไขล่าสุด 16 ธันวาคม 2559 00:09 น.)

ผู้จัดการรายวัน360- กลุ่ม BSR พร้อมลุยสัมปทาน โมโนเรล"ชมพู-เหลือง" ทุ่มแสนล. "คีรี"ลั่นมีพันธมิตรแข็งแกร่ง " ซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง" มั่นใจ เชื่อมโครงข่าย "เขียว-ชมพู-เหลือง"ต่อยอดธุรกิจในเครือคุ้มค่าลงทุน แนวเส้นทางประชากรหนาแน่น มีศักยภาพใช้บริการรถไฟฟ้า คาดเปิดเดินรถผู้โดยสารทั้ง 3 สาย แตะ1.7 -2 ล้านคน/วัน เผยยื่นข้อเสนอต่อขยายชมพูเข้าเมืองทอง ส่วนสีเหลืองเชื่อมเขียวที่รัชโยธิน ช่วยเพิ่มผู้โดยสารอีกเพียบ

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)พร้อมด้วย นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และนายรัมย์ เหราบัตย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมทุนในกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งผ่านการประเมินสูงสุด จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการเป็นผู้รับสัมปทานการลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธาการจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.มีมูลค่าลงทุนรวม 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว- สำโรงระยะทาง 30.4 กม. มูลค่าลงทุนรวม 51,810 ล้านบาท

นายคีรีกล่าวว่า บีทีเอสมีประสบการณ์ กว่า 17 ปีมีความพร้อมทางการเงิน มีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง การร่วมประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง เพราะเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยเอกชน และการร่วมทุนกับ ซิโน-ไทยฯ และผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จะยิ่งทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย แม้ว่าเงื่อนไขในTOR จะค่อนข้างเข้มงวด ลงทุนไม่ง่าย แต่เมื่อสายสีเขียวต่อขยาย สีชมพู สีเหลือง เปิด เส้นทางของ 3 สายจะมีระยะทางถึง 146 กม. ส่วนขบวนรถจะมีกว่า 300 ตู้ และมีสถานีเพิ่มอีก 53 สถานี ซึ่งจะสนับสนุน 4 ธุรกิจในเครือ ซึ่งนอกจากรถไฟฟ้า ยังมีด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านมีเดียจะมีพื้นที่สื่อโฆษณาบนตัวรถเพิ่มอีก 3-4- เท่า เชื่อว่าตัวเลขเมื่อรวมธุรกิจทั้งหมดเชื่อว่าคุ้มในการลงทุน

นอกจากนี้ จากการศึกษาตลอดแนวเส้นทางของ 2 สาย มีประชากรหนาแน่น ประมาณ 2.98 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะใช้บริการรถไฟฟ้าได้ ประกอบกับการเชื่อมต่อกับสายสีเขียว ซึ่งเป็นสายหลักที่เข้าใจกลางเมืองและมีจุดหมายปลายทาง ซึ่งเมื่อโครงข่ายสีเขียวต่อขยายเสร็จ ต่อเชื่อมกับสีชมพูและสีเหลืองคาดการณ์ผู้โดยสารในปีที่เปิดให้ห้บริการ ของโครงข่ายทั้ง 3 สาย จะอยู่ที่ประมาณ 1.7 -2 ล้านคน/วัน

โดยสายสีชมพูนั้น จะก่อสร้างไปบนถนนที่มีการจราจรหนาแน่น และ จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สาย คือ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมกับสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน)-สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมกับสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) สถานีมีนบุรี เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันออก) โดยกลุ่มได้เสนอต่อขยายเส้นทางเข้าไปยังเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. (2 สถานี) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น มีศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า ผู้เข้างาน 15 ล้านคน/ปี ซึ่งการมีรถไฟฟ้าเข้าไปจะช่วยลดปัญหาจราจรได้มาก


สายสีเหลือง มีจุดเชื่อมต่อ 3 จุด โดยเริ่มจากลาดพร้าว ทางกลุ่มฯได้เสนอต่อขยายระยะทาง 2.6 กม. จากสถานีรัชดาภิเษก เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สี่แยกรัชโยธิน เพื่อแก้ปัญหาจราจรที่ถนนลาดพร้าว ส่วนที่สี่แยกลำสาลีจะเชื่อมกับสายสีส้ม (ตะวันนออก) ,ต่างระดับพระราม 9 จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสุดทางจะเชื่อมกับสายสีเขียวที่ สำโรง และเพื่อความสะดวกยังเสนอใช้บัตรโดยสารใบเดียวทั้งประเภท เที่ยวเดียว เติมเงิน (แรบบิท และแมงมุม) เดินทางได้ทั้ง3 ระบบ โดยไม่ต้องแตะบัตรออกจากระบบ เข้าและออกครั้งเดียว จนกว่าจะถึงปลายทาง

นายคีรีกล่าวว่า สัดส่วนหุ้นของ BSR Joint Venture มีบีทีเอส 75% ,ซิโน-ไทยฯ 15% และผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 10% โดยเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้รวม 1 แสนล้านบาท โดยบีทีเอสได้เตรียมเงินทุนพร้อมแล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน ซึ่งใน TOR กำหนดทุนจดทะเบียน โครงการละ 14,000 ล้านบาท รวม 28,000 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญา ต้องชำระก้อนแรกโครงการละ 3,500 ล้านบาท และชำระเต็ม เมื่อเปิดเดินรถ ส่วนอีก 7 หมื่นล้านบาทอยู่เจรจากู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีหลายธนาคารสนใจปล่อยกู้คาดได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้

ดังนั้นผลการดำเนินงานงวดปี 2562/63 บีทีเอสคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 หมื่นล้านบาทหลังรับรู้รายได้จากการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้รวม 1.1 หมื่นล้านบาท

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย กล่าวว่า บริษัทรับหน้าที่ 2 ส่วนคือ ก่อสร้างงานโยธาโดยเมื่อได้ข้อสรุป รฟม.จะต้องส่งมอบพื้นที่ เพื่อให้บริษัททำการรื้อย้ายสาธารณูปโภค จากนั้นจะก่อสร้างฐานราก เสา และคานรองรับ เพื่อให้บีทีเอสเข้าติดตั้งงานระบบต่อไป ขณะที่มีแรงงานประมาณ 10,000 คน เครื่องมือเครื่องจักรพร้อม รวมถึงมีโรงหล่อคอนกรีตสำเร็จรูป และเริ่มล็อควัสดุก่อสร้างแล้ว ดังนั้น เวลาก่อสร้าง 3 ปีจึงไม่มีปัญหา

โดยภาพรวม บริษัทมีงานที่รอลงนามสัญญาในปี2560 ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เช่น โมโนเรลชมพู,เหลือง สายสีส้ม,งานกรมทางหลวงประมาณ 5-6 พันล้านบาท,รถไฟทางคู่ อย่างน้อย 1เส้นทางทาง ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท งานภาครัฐในงบประจำปีอีก 1 หมื่นล้านบาท

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวว่า ในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ รฟม.นัดเจรจากับกลุ่ม เพื่อเจรจาต่อรองในข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน) ซึ่งจะมีข้อเสนอซองที่ 3 การเสนอต่อขยายเส้นทางเชื่อมเข้าเมืองทองธานีและต่อเชื่อมกับสีเขียวด้วย ส่วนระบบรถโมโนเรลนั้น บริษัทได้เสนอไว้ 3 ยี่ห้อ คือ ฉงชิ่ง,บอมบาดิเอร์,สโคมี่ ซึ่งหลังลงนามสัญญา 30 วัน จะสรุปว่าเลือกยี่ห้อไหน ขณะที่รฟม.จะต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำรวจรายสถานีและพื้นที่โดยรอบ ประเมิน ผู้โดยสารสีชมพู และเหลืองจะมีประมาณสายละ1.8- 2 แสนคน/วัน ขณะที่ปัจจุบัน บีทีเอสมีผู้โดยสารเฉลี่ย 7 แสนคน/วัน

นายรัมย์ เหราบัตย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นบริษัทฯจะถือหุ้น 10% และมีโอกาสที่จะถือหุ้นเพิ่มขึ้นแต่ขอพิจารณารายละเอียดหลังมีการเจรจากับรฟม.ก่อน โดยปกติการเข้าไปร่วมทุนบริษัทจะถือหุ้น 25%เพื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งการตัดสินใจลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าถือเป็นการแตกไลน์ธุรกิจด้านพลังงานเป็นครั้งแรกของบริษัทฯ เพื่อต้องการกระจายความเสี่ยง

//--------------------------

PPP เห็นชอบเร่งรัดการลงนามก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลือง
โดย MGR Online
15 ธันวาคม 2559 19:23 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ คณะกรรมการ PPP ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการให้เช่าพื้นที่ราชพัสดุบริเวณถนนสุขุมวิท และ ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมอบหมายให้กรมธนารักษ์ดำเนินการ เพื่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน คาดว่าจะมีวงเงินลงทุนเพิ่มเติม 120,000 ล้านบาท เพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและสร้างรายได้กระตุ้นให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง โดยให้เร่งรัดการลงนามก่อสร้าง จากเดิมในเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2560 ให้เร็วขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการพิจารณาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อท่าพระ เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 18 ธันวาคมนี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือแผนการออกกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ เพื่อให้รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต โดยไม่ต้องก่อหนี้สาธารณะหรือพึ่งพาเอกชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เลือกเส้นทาง 2 เส้นทาง จากทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางฉลองรัช บูรพาวิถี และเฉลิมรัชมงคล เพื่อนำขายหน่วยหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนมาใช้พัฒนาทางด่วนเส้นทางพระราม 3 - ดาวคะนอง วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มขายหน่วยลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า ในราคาหน่วยลงทุนละ 1,500 บาท และจะให้กระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ทันในเดือนพฤษภาคม 2560 เพราะ กทพ.จะนำเงินไปดำเนินการในเดือนมิถุนายน 2560 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2016 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บีทีเอสทุ่มแสนล้านเชื่อมโครงข่าย”ชมพู-เหลือง”-ต่อยอดธุรกิจดันผู้โดยสารพุ่ง
โดย ผู้จัดการรายวัน
16 ธันวาคม 2559 00:04 น. (แก้ไขล่าสุด 16 ธันวาคม 2559 00:09 น.)

...
ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวว่า ในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ รฟม.นัดเจรจากับกลุ่ม เพื่อเจรจาต่อรองในข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน) ซึ่งจะมีข้อเสนอซองที่ 3 การเสนอต่อขยายเส้นทางเชื่อมเข้าเมืองทองธานีและต่อเชื่อมกับสีเขียวด้วย ส่วนระบบรถโมโนเรลนั้น บริษัทได้เสนอไว้ 3 ยี่ห้อ คือ ฉงชิ่ง,บอมบาดิเอร์,สโคมี่...


ผู้สันทัดกรณี แจ้งว่า รถไฟโมโนเรลจากสามบริษัท จะออกมาเป็นแบบนี้

In Fra Structure wrote:
The 3 Monorail trains on offer are:
1. Bombardier Innovia Monorail 300,
2. Hitachi "Alweg" (Japanese design which I assume will built by Changchun Railway Vehicles JV with Hitachi in Chongching China rather than in Japan)
3. SCOMI (Malaysian designed and manufactured)

https://www.youtube.com/watch?v=Nh3ghbbKyIc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2016 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

‘คีรี’เล็งเชื่อมเมืองทอง รถไฟฟ้า2เส้นทางบริการผู้อยู่อาศัยกว่าแสนคน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 19 ธันวาคม 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,219 วันที่ 18-21 ธันวาคม 2559
'คีรี' กางแผนลุยอสังหาฯ ปักธงยึดหัวหาดแนวรถไฟฟ้า
โพสต์ทูเดย์
20 ธันวาคม 2559 เวลา 06:09 น.
“คีรี” เปิดกลยุทธ์รุกระบบราง ดึงพันธมิตรร่วมลงทุนและยื่นข้อเสนอพิเศษทางธุรกิจ ดึงบางกอกแลนด์ต่อขยายเชื่อมเมืองทอง เผยรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง กวาดรายได้ป้อนบีทีเอสอีกกว่าแสนล้านบาท

ตามที่กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์(BSR Joint Venture) ได้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและด้านเทคนิค ในการประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี)และสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) คงเหลือเพียงการพิจารณาสัญญาที่ 3 (ด้านราคา) ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันในวันที่ 19 ธันวาคมนี้

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่าบีทีเอสกรุ๊ปให้ความสนใจลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ โดยเฉพาะเส้นทางสายสีชมพูและสายสีเหลือง มีความมั่นใจว่าให้ผลตอบแทนในระดับที่ยอมรับได้ รวมทั้งได้พันธมิตรที่มีความชำนาญอย่างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ที่เชี่ยวชาญในส่วนของการก่อสร้าง และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) ที่มีความชำนาญเรื่องไฟฟ้ากำลังและระบบควบคุมมาร่วมลงทุน

โดยการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า 2 สายดังกล่าว เป็นรูปแบบร่วมลงทุนลักษณะ PPP Net Cost ที่ภาครัฐโดยรฟม.จะลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมทั้งให้เงินสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธา สายสีชมพูจำกัดวงเงินไม่เกิน 20,135 ล้านบาท และสายสีเหลืองไม่เกิน 22,354 ล้านบาท ส่วนกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธา จัดหาระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุงรักษาระบบตลอดอายุสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน ตลอดจนจัดเก็บรายได้จากค่าโดยสารและรายได้จากกิจการเชิงพาณิชย์อื่นๆในระบบ ดังนั้น วงเงินการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพูทั้งโครงการประมาณ 53,490 ล้านบาท (รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่างานโยธา และค่าระบบไฟฟ้า) ส่วนสายสีเหลือง ประมาณ 51,810 ล้านบาท

Advertisement

แต่ละโครงการต้องมีทุนจดทะเบียนชำระเต็มไม่น้อยกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 2.8 หมื่นล้านบาท โดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์จะทยอยจ่ายเริ่มต้นประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อโครงการ ที่เหลือจะมาจากการกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือการระดมทุนจากตลาดทุนในรูปแบบอื่นๆเช่น การออกพันธบัตร โดยกลุ่มบีเอสอาร์ได้หารือสถาบันการเงินและผู้เกี่ยวข้องรองรับไว้พร้อมแล้ว

“การร่วมลงทุนกับภาครัฐลักษณะ PPP Net Cost ในโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนหลักแสนล้านบาทนั้น วันนี้บีทีเอสมีศักยภาพการลงทุนอย่างมากและพร้อมที่จะเข้าไปรับบริหารโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆทั้งของ รฟม.
กรุงเทพมหานคร(กทม.) มากขึ้น ด้วยประสบการณ์ด้านระบบรถไฟฟ้ามานานกว่า 17 ปี เมื่อรวมระยะทางทั้งหมดมีมากเกือบ 140 กิโลเมตร ครอบคลุมโครงข่ายได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยจะมีผู้ใช้บริการมากกว่า 3 ล้านคน และอีก 4 ปีหลังจากนี้ที่สายชมพูและสีเหลืองเปิดให้บริการ รวมกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายจึงค่อนข้างมั่นใจว่าจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มไม่น้อยกว่า 1.7 แสน-2 ล้านคนต่อวัน”

เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมจากขอบเขตโครงการเดิมต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็คือว่า สายสีชมพูเสนอให้มีการต่อขยายแนวเส้นทางประมาณ 2.8 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี จากสถานีศรีรัช บนถนนแจ้งวัฒนะ เข้าไปยังเมืองทองธานี ส่วนสายสีเหลือง เสนอต่อขยายเส้นทางอีกประมาณ 2.6 กิโลเมตร 2 สถานี จากสถานีรัชดา ไปตามถนนรัชดาภิเษกสิ้นสุดที่แยกรัชโยธินก็จะเชื่อมต่อกับสถานี N10 (บริเวณปากซอยพหลโยธิน 24) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

“รถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่มีจุดหมายผ่านกว่า 200 อาคาร 200 โรงแรม โดยเฉพาะจุดผ่านเมืองทองธานี คาดว่าจะมีผู้อยู่อาศัยกว่า 1 แสนคน ผู้ใช้บริการกว่า 4-5 ล้านคน จึงได้ต่อขยายแนวเส้นทางเชื่อมเข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวเสนอต่อรฟม.พิจารณา อย่างไรก็ตามไม่อยากให้มองว่าเป็นการเอื้อเอกชนเพราะภาคเอกชนลงทุนพัฒนาโครงการอื่นๆก็ดำเนินการมาแล้ว อาทิ เชื่อมเข้าถึงสยามพารากอนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางนั่นเอง โดยไม่ใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล”

นอกจากนี้ยังเสนอให้ใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว ทั้งบัตรประเภทเที่ยวเดียว และบัตรเติมเงินสามารถเดินทางได้ทั้งสายสีเขียว สายสีชมพู และสายสีเหลือง ให้เชื่อมกันได้แบบไม่ต้องออกนอกระบบโดยแตะบัตรเข้าและออกเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าหลายครั้ง เพื่อเพิ่มความสะดวกและประหยัดให้ผู้โดยสาร เพราะต่อไประบบรางที่จะเกิดขึ้นใหม่ทางภาครัฐต้องผลักดันให้เข้าสู่ระบบตั๋วร่วมทั้งหมด

นายคีรียังกล่าวถึงการลงทุนระบบรางของรัฐบาล บริษัทมีความสนใจทุกโครงการ เพราะมั่นใจว่าได้พันธมิตรที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ ประกอบกับบีทีเอสกรุ๊ปมีธุรกิจหลักคือการลงทุนระบบรถไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม จะขอพิจารณาทีโออาร์แต่ละโครงการก่อนว่ามีข้อกำหนดและเปิดทางให้เอกชนอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะโครงการไฮสปีดเทรนเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก แต่หากให้เอกชนลงทุนทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก เพราะมูลค่ามากเกินกว่าที่เอกชนจะลงทุนได้ทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2016 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

บ.ไทยเจ๋งคิดจอภาพแสดงเส้นทาง ประเดิมติดบีทีเอส/เตรียมรุกตปท.
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,197 วันที่ 2 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

“เอเอ็มอาร์ เอเชีย” อวดโฉมนวัตกรรมล่าสุด Dynamic Route Map System เล็งทดสอบติดตั้งบนรถไฟฟ้าบีทีเอส หลังเป็นผู้ประกอบการไทยเพียงหนึ่งเดียวนำระบบไปจัดแสดงที่งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านคมนาคมขนส่งครั้งใหญ่ InnoTrans 2016 ที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี

สมบุญ ลิขิตเจริญพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด
สมบุญ ลิขิตเจริญพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด
นายสมบุญ ลิขิตเจริญพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หลังจากบริษัทพัฒนาระบบจอภาพแสดงเส้นทางรถไฟแบบไดนามิก (Ultra-Wide Screen Dynamic Route Map System) ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา เวลานี้ทางบริษัทเตรียมนำไปติดตั้งบนรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อทดสอบว่าสามารถติดตั้งได้อย่างลงตัวโดยไม่มีปัญหาใดๆ หรือไม่

จุดเด่นของจอภาพแสดงเส้นทางรถไฟแบบไดนามิก จะเป็นประโยชน์กับการแสดงแผนที่เส้นทางเมื่อมีการขยายสถานีโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนป้ายแสดงเส้นทางใหม่ อีกทั้งสามารถกะพริบบอกตำแหน่งสถานีได้ ตลอดจนนำโฆษณา แผนที่ และข้อมูลอื่นๆ มาใส่ได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับโอเปอเรเตอร์อีกช่องทางหนึ่ง สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลบนหน้าจอได้ตามความต้องการของลูกค้า ขณะเดียวกันจอภาพดังกล่าวไม่ได้จำกัดเพียงนำมาติดตั้งบนรถไฟเท่านั้น สามารถนำไปติดตั้งบนรถโดยสารประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย

แม้ว่าเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าวจะมีการพัฒนาและนำมาใช้ในรถไฟของหลายประเทศแล้ว อาทิ ในสิงคโปร์ ญี่ปุ่น หรือฮ่องกง แต่เอเอ็มอาร์ เอเชีย เชื่อว่าบริษัทมีความได้เปรียบตรงที่มีความคล่องตัว สามารถทำงานตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

Advertisement

นายสมบุญกล่าวว่า เมื่อวันที่ 20-23 กันยายนที่ผ่านมา เอเอ็มอาร์เอเชียได้นำระบบจอภาพแสดงเส้นทางรถไฟแบบไดนามิกไปจัดแสดงในงาน InnoTrans 2016 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านคมนาคมขนส่งที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี นับเป็นบริษัทจากไทยเพียงรายเดียวที่มาจัดแสดงในงานดังกล่าว

“เราตัดสินใจขนผลิตภัณฑ์ข้ามน้ำข้ามทะเลไปจัดแสดงไกลถึงเยอรมนี เพราะต้องการบุกเบิก ดูกระแสความสนใจ และนำชื่อของบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยคนไทยออกมาให้เป็นที่รู้จักในระดับโลกมากขึ้น ซึ่งในงานมีผู้ประกอบการจากหลายประเทศที่มาเข้าร่วมชมงาน อาทิ สาธารณรัฐเช็ก อังกฤษ ฮ่องกง และรัสเซีย ให้ความสนใจสินค้าของบริษัทค่อนข้างมาก”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายตัวเลขรายได้ที่ชัดเจนกับผลิตภัณฑ์ตัวนี้ นอกเหนือจากการเจรจากับทางรถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว เอเอ็มอาร์ เอเชีย กำลังอยู่ในระหว่างการเสนอราคาสำหรับระบบดังกล่าวให้กับบริษัทในฮ่องกงและมาเลเซีย

สำหรับบริษัทเอเอ็มอาร์ เอเชียฯ ทำงานอยู่ในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถไฟในประเทศไทยมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โดยเป็นผู้รับเหมาติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟของบริษัท บอมบาดิเอร์ฯ บริษัทวิศวกรรมชั้นนำของแคนาดา ให้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายตากสิน-วงเวียนใหญ่ เมื่อปี 2549 และมีโครงการต่างๆ ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ตลอดจนระบบรถไฟอื่นๆ เรื่อยมา

นอกจากนี้ เอเอ็มอาร์ เอเชีย ยังให้บริการระบบหยุดรถไฟฉุกเฉิน (Emergency Stop Plunger) และกำลังอยู่ในระหว่างการทดสดระบบประตูเปิดปิดบนชานชาลา (Platform Screen Door) ที่พัฒนาขึ้นมาร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2016 9:44 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกสัมปทานรถไฟฟ้า คีรี VS ปลิว ใครจะเป็น‘เจ้า’?
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 21 ธันวาคม 2559

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,219 วันที่ 18-21 ธันวาคม 2559

ชัยชนะของกิจการกลุ่มร่วมค้า บีเอสอาร์ จอยช์ เวนเจอร์ ภายใต้การนำของ คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกลุ่มบีทีเอส ของ รฟม. ที่ผ่านการประเมินสูงสุดในการเสนอตัวชิงสัมปทานการร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และเดินรถระบบรัฐบาลร่วมทุนเอกชน(พีพีพี) ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)ระยะทาง 36 กม.มูลค่า 5.35 หมื่นล้านบาท และ สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กม.มูลค่า 5.19 หมื่นล้านบาท รวมมูลค่า 1.05 แสนล้านบาท เหนือกลุ่มบีอีเอ็ม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทำให้ฐานะผู้นำธุรกิจรถไฟฟ้าของคีรีที่มี บีทีเอสซี หรือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นหัวหอก โดดเด่นขึ้น และทำให้ภาพคู่แข่ง ระหว่าง บีอีเอ็ม บริษัทย่อยของช.การช่างของ ปลิว วิศวเวทย์ (ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีอีเอ็ม) กับกลุ่มบีทีเอสของคีรี คมชัดขึ้นทันควัน

ในฐานะผู้ผ่านการประเมินสูงสุด กลุ่มร่วมค้าบีเอสอาร์ (มีบีทีเอสเป็นแกน) มีโอกาสชนะการประมูล ตามขั้นตอนต่อจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เอกชนร่วมลงทุนฯ(พีพีพี) ซึ่งเป็นผู้คัดเลือกเจรจาต่อรอง และประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไปเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนปีหน้าต่อไป

2 ผู้บุกเบิก

ทั้งนี้ บีทีเอสของคีรี กับบีอีเอ็ม ของปลิว คือ 2 ผู้เล่นหลักในตลาดสัมปทานรถไฟฟ้ามาตั้งแต่ยุคบุกเบิกสัมปทานรถไฟฟ้าในไทย โดย บีทีเอส ถือสัมปทานรถไฟฟ้ายกระดับจากกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2542 ก่อนได้สัญญาส่วนต่อขยายเพิ่มเติม ด้าน บีอีเอ็มถือสัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปี 2547 ต่อมาได้สัมปทานสายสีม่วงตั้งแต่ปี 2559 (ดูรายละเอียดจากตลาด) แต่ถึงอยู่ในตลาดเดียวกันมากว่า10 ปี ที่ผ่านมาทั้ง 2 ค่ายเป็นเพียงผู้เล่นตลาดเดียวกันเท่านั้นไม่มีภาพของการแข่งขัน กระทั่งมีการประมูลชิงสัมปทานรถไฟฟ้า 2 สาย(ชมพูและเหลือง)ใน ครั้งนี้ บีทีเอส กับ บีอีเอ็มจึงได้มาเผชิญหน้ากันโดยตรงเป็นครั้งแรก

Advertisement
คีรีลั่นพร้อมประมูลทุกสาย

การประมูลที่ผ่านมา กลุ่มร่วมค้าบีเอสอาร์ ชุจุดแข็ง ความชำนาญในการเดินรถลอยฟ้า (โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองเป็นรถไฟรางเดี่ยวยกระดับ) และความสามารถในการบริหารต้นทุน ส่วน บีอีเอ็ม เน้นโมเดลในการสร้างรายได้ เช่นพัฒนาเชิงพาณิชย์) แต่จุดชี้ขาดที่ทำให้ รฟม. เลือก กลุ่มร่วมค้าบีเอสอาร์คือ ข้อเสนอ ขยายสายสีเหลืองจากแยกรัชดาภิเษกไปอีก 2 สถานีระยะทาง 2.6 กม.เพื่อเชื่อมต่อกับสายสีเขียว(หมอชิต-คูคต) บริเวณแยกรัชโยธิน (อยู่ในแนวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่คีรีบริหารอยู่ และขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูอีก 2.6 กม.เข้าไปยัง เมืองทองธานี ข้อเสนอดังกล่าวคือ ช่องทางเพิ่มรายได้และทำให้คีรีขอเงินอุดหนุนจากรัฐได้ต่ำกว่าบีอีเอ็ม

คีรีได้เปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที 15 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพูเดินรถในปี 2563 จำนวนผู้โดยสารภายใต้สัมปทานบีทีเอสจะเติบโตเป็น 1.7 แสนคน-2 ล้านคนต่อวัน และรายได้บริษัทจะเพิ่มเป็น 2.2 หมื่นล้านบาทในปี 2562/2563 มากกว่าปัจจุบันเท่าตัว เขายืนยันในอนาคต รถไฟฟ้าทุกสายที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพแห่งประเทศไทย(รฟม.) และ กรุงเทพมหานคร (กทม.)เปิดประมูลเราพร้อม อนึ่งโครงการสร้างการร่วมทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง บีทีเอสจะถือหุ้น 75 % ผ่านกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ร่วมกับ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง บมจ.ผลิต ไฟฟ้าราชบุรี คีรีตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า ปลิว (ช.การช่าง)ใช่คู่แข่งของเขาหรือไม่ๆ ว่า “ไม่มอง(ปลิว)เป็นคู่แข่ง มองว่าอยู่ในธุรกิจเดียวกันควรเสริมกัน” ก่อนย้ำว่า “ ต่างคนต่างทำคนละสาย (โครงการรถไฟฟ้า) แต่ละสายใหญ่มาก มูลค่าลงทุน 4-5 หมื่นล้านบาท ”

ด้านปลิวได้ออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้กับผู้สื่อข่าว ระหว่างการเปิดข้อเสนอ การประกวดราคาจ้างการก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (9 ธ.ค.59)ว่า บีอีเอ็มได้ทำข้อเสนอดีที่สุดเท่าที่ทำได้แล้ว เขายอมรับจุดชี้ขาดคือการที่ ทำให้กลุ่มบีเอสอาร์ผ่านการประเมินสูงสุดคือ กลุ่มบีเอสอาร์ขอรับการอุดหนุนจากรัฐต่ำกว่ากลุ่มบีอีเอ็ม และปลิวยังยอมรับว่า ข้อเสนอ ขยายเส้นทางสายสีชมพูเข้าไปยังเมืองทองธานีและขยายทางเชื่อมระหว่างสายสีเหลืองกับสายสีเขียวของกลุ่มบีเอสอาร์เป็นโมเดลธุรกิจที่ดี

เปรียบเทียบเครือข่าย

หากบีทีเอสชนะประมูลสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง อนาคตโครงข่ายรถไฟฟ้าของบีทีเอสจะแข็งแกร่งขึ้น นอกจากมีรถไฟฟ้ายกระดับบีทีเอส 2 สาย ที่ผ่านมาพื้นที่กลางเมืองของกรุงเทพฯ ส่วน 2 สายใหม่จะขยายเครือข่ายครอบคลุมโซนทางเหนือและตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และอนาคตสัมปทานสายสีเขียวแก่ หมอชิต-ลำลูกกาของกรุงเทพมหานคร มีโอกาสมากๆที่บีทีเอสจะได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นผู้บริหาร ซึ่งจะทำให้บีทีเอสเชื่อมด้านตะวันออกกับทิศเหนือของกรุงเทพฯและเชื่อมต่อไปยังฝั่งธนบุรี

ส่วนบีอีเอ็มหรือ ช.การช่าง แม้จะพลาดประมูลโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย (ชมพูกับเหลือง)ไม่ได้หมายความว่าแต้มต่อในธุรกิจรถไฟฟ้าของ บีอีเอ็ม จะลดลงหากพิจารณาสัมปทานรถไฟฟ้าในมือของบีอีเอ็มปัจจุบันคือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นบางซื่อ-หัวลำโพง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นบางใหญ่-บางซื่อ เมื่อผนวกกับโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังจะตามมาในอนาคตอันใกล้นี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เส้นบางซื่อ-ท่าพระระยะทาง 11.08 กม.และ โครงการสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย เส้นหัวลำโพง-บางแคระยะทาง 15.9 กม. ที่คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินเป็นวงกลม ผ่านพื้นที่กลางเมืองเช่นเดียวกับบีทีเอส ที่ครอบคลุมไปถึงฝั่งธนบุรี นับว่าเป็นโครงข่ายที่มีศักยภาพแม้จะไม่ได้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองก็ตาม

แบ่งกันใหญ่

สภาพการณ์ดังกล่าวสะท้อน ความเป็นไปของ ธุรกิจสัมปทานรถไฟฟ้าที่กำลังเติบโตในอนาคตได้ 2 ประการ ประการแรกแม้คีรีกับปลิว ไม่ได้ตั้งใจเป็นคู่แข่งกันและคีรีเชื่อว่าด้วยขนาดของมูลค่าโครงการทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ในสภาวะต่างคนตางทำ แต่สภาพธุรกิจจะบีบทั้ง 2 คนต้องแข่งขันกันโดยปริยาย และประการที่ 2 แม้ รฟม.อยากเห็นผู้ประมูลหน้าใหม่สำหรับโครงการในอนาคต (สายสีส้ม-สีเทา-สีทอง) แต่ความพร้อมทั้งทุน ประสบการณ์และเครือข่ายของบีทีเอสและบีอีเอ็มเป็นการปิดทางการแจ้งเกิดของรายใหม่เกือบสิ้นเชิง โดยรวมธุรกิจสัมปทานรถไฟฟ้าในอนาคตแม้ไม่ถึงขั้นผูกขาด แต่คงไม่พ้นสภาพสนามธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อยราย ต่างฝ่ายต่างใหญ่ไม่มีใครเป็น”เจ้า”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2016 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโผรับเหมาคิวทอง สร้างรถไฟฟ้า คสช.
คอลัมน์ ดาต้าเบส
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23 ธันวาคม 2559 เวลา 08:30:23 น.



ได้รับงานก่อสร้างรถไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง "บิ๊กโฟร์" วงการรับเหมา ธุรกิจใต้ปีก 4 ตระกูลทั้ง "บมจ.อิตาเลียนไทยฯ" จากตระกูลกรรณสูต "บมจ.ช.การช่าง" ของตระกูลตรีวิศวเวทย์ "บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งฯ" แห่งตระกูลชาญวีรกูล และ "ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ" ของสุวิวัฒน์ธนชัย

เสร็จจากรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส แอร์พอร์ตลิงก์ สายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) ที่ 4 ค่ายก่อสร้าง ล่าสุด 4 รถไฟฟ้าที่กำลังเปิดไซต์ก็มีชื่อ 4 รับเหมาประทับตรา

ไม่ว่าสีเขียว "แบริ่ง-สมุทรปราการ" ที่ ช.การช่างเหมาสร้างและวางราง 16,553 ล้านบาท สายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" งานสัญญาที่ 1 สถานีกลางบางซื่อ "ซิโน-ไทยฯ" จับกับ "ยูนิคฯ" ได้งาน 34,118 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างพร้อมสถานีเป็นของ "อิตาเลียนไทยฯ" วงเงิน 24,575 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบและเครื่องกล รวมจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า วงเงิน 32,399 ล้านบาทตกอยู่ในมือของยักษ์รถไฟฟ้าจากแดนปลาดิบ




ขณะที่สีน้ำเงินต่อขยาย "บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค" เค้กชิ้นใหญ่ไม่พ้น 4 รับเหมาที่คว้าชิ้นปลามัน เริ่มที่ "อิตาเลียนไทยฯ" ได้สัญญา 1 งานอุโมงค์หัวลำโพง-สนามไชย 10,884 ล้านบาท "ช.การช่าง" สร้างสัญญาที่ 2 ขุดอุโมงค์สนามไชย-ท่าพระ 10,163 ล้านบาท "ยูนิคฯควงซิโนไฮโดรฯ" ซิวสัญญา 3 ทางยกระดับจากเตาปูน-ท่าพระ 10,846 ล้านบาท "ซิโน-ไทยฯ" ได้สัญญาที่ 4 งานยกระดับท่าพระ-หลักสอง 12,770 ล้านบาท ส่วนสัญญาที่ 5 งานวางราง "ช.การช่าง" ได้งานปิดท้าย 4,843 ล้านบาท

ขณะที่สีเขียว "หมอชิต-คูคต" 3 บิ๊กรับเหมารายงานตัวครบ สัญญาที่ 1 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ "อิตาเลียนไทย" ได้งาน 15,269 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วงสะพานใหม่-คูคต "ยูนิคฯ" เป็นผู้ก่อสร้าง 6,657 ล้านบาท สัญญาที่ 3 งานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจรและสัญญาที่ 4 งานวางราง "กลุ่มซิโน-ไทยฯ และเอ.เอส.แอสโซซิเอท" เหมา 6,860 ล้านบาท

ปิดท้ายที่สีส้ม "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" 76,632 ล้านบาท แบ่งเค้กกันครบถ้วน "กิจการร่วมค้า CKST" เป็นการจับมือของ 2 บิ๊ก "ช.การช่างกับซิโน-ไทยฯ" สัดส่วน 60 : 40 คว้าชัย 3 สัญญา งานอุโมงค์ 2 สัญญาจากศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง 12-หัวหมากและงานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร รวม 47,171 ล้านบาท "อิตาเลียนไทยฯ" ได้ 18,589 ล้านบาท สร้างอุโมงค์ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ปิดท้าย "ยูนิคฯ" ได้สัญญาที่ 4 สร้างทางยกระดับคลองบ้านม้า-มีนบุรี กับ สัญญาที่ 6 งานวางราง รวม 13,749 ล้านบาท

ปีหน้ามาลุ้นกันต่อกับรถไฟฟ้าเฟส 2 อีก 6 สาย 221,148 ล้านบาท คงไม่พ้น 4 บิ๊กหน้าเก่าขาประจำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2016 2:52 am    Post subject: Reply with quote

เอ ชักจะยังไงๆ ซะแล้ว - สายเหลือง มี 2 สถานี คือ ที่ จันทร์เกษม (รัชดา 36 - มรภ. จันทร์เกษม) กะ ที่ พหลโยธิน 24 เพราะ บีทีเอส + สันต์สิริ ซื้อที่แถวพหลโยธิน 24 เพื่อการพัฒนาแน่ๆ
https://www.facebook.com/propholic2014/posts/1031752290257908
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44623
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2016 11:03 am    Post subject: Reply with quote

มหากาพย์ 'โฮปเวลล์' EP.1 ย้อนรอย 26 ปี อนุสรณ์แห่งความอัปยศ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 26 ธ.ค. 2559 05:30
Arrow http://www.thairath.co.th/content/813302
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 144, 145, 146 ... 278, 279, 280  Next
Page 145 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©