Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262845
ทั้งหมด:13574125
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2016 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ผู้สันทัดกรณี แจ้งว่า รถไฟโมโนเรลจากสามบริษัท จะออกมาเป็นแบบนี้

In Fra Structure wrote:
The 3 Monorail trains on offer are:
1. Bombardier Innovia Monorail 300,
2. Hitachi "Alweg" (Japanese design which I assume will built by Changchun Railway Vehicles JV with Hitachi in Chongching China rather than in Japan)
3. SCOMI (Malaysian designed and manufactured)


ดูแล้วหวยออก Bombardier Innovia Monorail 300, แต่ของจีนแดงก็ไม่แน่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2016 10:31 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
มหากาพย์ 'โฮปเวลล์' EP.1 ย้อนรอย 26 ปี อนุสรณ์แห่งความอัปยศ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 26 ธ.ค. 2559 05:30
Arrow http://www.thairath.co.th/content/813302


มหากาพย์ 'โฮปเวลล์' EP. 2 -
http://www.thairath.co.th/content/815891


มหากาพย์ 'โฮปเวลล์' ในไทยพีบีเอส
https://www.youtube.com/watch?v=G4uBWQr_s8w
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2017 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า เรือด่วนเจ้าพระยาจะเริ่มใช้ เมษายน 2560
http://www.posttoday.com/biz/gov/473547
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44518
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2017 9:40 am    Post subject: Reply with quote

ถมสร้างรถไฟฟ้า3.5แสนล. วิกฤตจราจรลามยันชานเมือง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 05 ม.ค. 2560 เวลา 08:00:01 น.

เมกะโปรเจ็กต์มาตามนัด ปี′60 รฟม.-กทม.โหมสร้าง-เวนคืน ผุดรถไฟฟ้า ถนน อุโมงค์3.5 แสนล้าน จราจรโซนเหนือ-ตะวันออกวิกฤต "วิภาวดี-พหลโยธิน-ลำลูกกา-แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา-พระราม 9-มีนบุรี-รามคำแหง" รถติดหนักถึงปี′62 รัฐเร่งรับมือ แก้กฎหมายเพิ่มค่าปรับ 2 เท่า ชงนายกฯใช้ ม.44 ฟันเบี้ยวจ่ายค่าใบสั่ง เปิดสถิติรถใหม่จดทะเบียนพุ่ง 9.1 ล้านคัน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานผลสำรวจการจราจรและการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลว่า หลังโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กม. เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2559 กระทรวงคมนาคมได้เร่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมมูลค่า 538,396 ล้านบาท แยกเป็น 4 โครงการ อยู่ระหว่างก่อสร้างวงเงิน 186,937 ล้านบาท ได้แก่ สีแดง บางซื่อ-รังสิต, สีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค, สีเขียว ต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และสีเขียว ต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะทยอยแล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 2562-2563

ส่วนโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2560 มี 7 สาย วงเงิน 351,459 ล้านบาท ประกอบด้วย สีชมพู แคราย-มีนบุรี, สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง, สีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี, สีน้ำเงิน ต่อขยายบางแค-พุทธมณฑล สาย 4, สีส้ม ต่อขยายศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน, สีเขียว ต่อขยายคูคต-ลำลูกกา และสีเขียว ต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู

ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลเร่งโหมก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจำนวนมาก แม้ในระยะยาวจะทำให้การเดินทางสัญจรไปมาสะดวกรวดเร็วขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร และลดความสูญเสียในทางเศรษฐกิจ แต่หลายหน่วยงานประเมินว่า ปี 2526 กทม.และปริมณฑลจะประสบปัญหาวิกฤตจราจรรุนแรงขึ้น

"โซนเหนือ-ตะวันออก" โคม่า

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ประเมินว่าปี 2560 กทม.-ประมณฑลจะประสบปัญหารถติดหนักขึ้น โดยเฉพาะโซนเหนือและตะวันออก ปัญหาจะขยายวงกว้างจากใจกลางเมืองไปยังโซนพื้นที่ขอบเมือง เช่น วิภาวดีรังสิต แจ้งวัฒนะ รามอินทรา มีนบุรี ลาดกระบัง เนื่องจากมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่

"การจราจรใน กทม. และพื้นที่รอบนอกจะวิกฤตไปอีก 3-4 ปี ซึ่งปี"60 หนักสุดคือย่านชานเมือง เพราะคนต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ขณะที่คนอยู่โซนในเมืองถือว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่ยังมีรถไฟฟ้ามาช่วยทำให้การเดินทางคล่องตัวขึ้น"

"พหล-แจ้งวัฒนะ-ราม" อ่วม

ขณะที่นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ปี 2560 รฟม.มีงานก่อสร้างรถไฟฟ้า 6 สายทาง ทั้งสายเก่าที่กำลังก่อสร้างมี สีน้ำเงิน ต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค, สีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ และสีเขียว หมอชิต-คูคต ส่วนสายใหม่จะเริ่มสร้างตั้งแต่ครึ่งปีหลังเป็นต้นไป มีสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี, สีชมพู แคราย-มีนบุรี และสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จะส่งผลกระทบต่อผิวจราจรถนนสายหลัก ทำให้เกิดปัญหารถติดหนักกว่าปีที่ผ่านมา

"สีเขียวใต้ไปสมุทรปราการ จะสร้างบนเกาะกลาง ถนนสุขุมวิท น่าจะทุเลาลง เพราะใกล้เสร็จ 100% แล้ว ส่วนสีน้ำเงิน สร้างบนถนนจรัญสนิทวงศ์และเพชรเกษม งานก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า 90% จะวิกฤตหนักเฉพาะช่วงแยกไฟฉาย แต่จะประสานกับผู้รับเหมาให้เร่งงานช่วงปิดเทอม บรรเทาได้ระดับหนึ่ง ส่วนถนนพหลโยธินยังมีปัญหารถติด เพราะสายสีเขียวเหนือเพิ่งลงมือก่อสร้าง และมีการรื้อสะพานข้ามแยกรัชโยธิน"

ที่น่าห่วงว่าจะกระทบรุนแรง คือ ถนนพระราม 9 ต่อเนื่องไปถนนรามคำแหง และถนนมีนบุรี เพราะจะเริ่มปิดการจราจรรื้อย้ายสาธารณูปโภคก่อสร้างสายสีส้ม เนื่องจากปัจจุบันบริเวณดังกล่าวรถติดอยู่แล้ว แม้ไม่มีงานก่อสร้าง เช่นเดียวกับแจ้งวัฒนะ รามอินทรา ศรีนครินทร์ และถนนลาดพร้าว ที่ต้องใช้พื้นที่เกาะกลางก่อสร้างโมโนเรลสีชมพูกับสีเหลือง จะกระทบมากเช่นกัน

นอกจากนี้อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อสร้างรถไฟฟ้าใหม่อีก 4 สาย มีสีน้ำเงิน ต่อขยายบางแค-พุทธมณฑล สาย 4, สีเขียว คูคต-ลำลูกกา, สมุทรปราการ-บางปู และสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน จะได้ผู้รับเหมาเริ่มสร้างปลายปี ทำให้พื้นที่นอกเมืองเกิดปัญหาการจราจรไม่แพ้ในเมือง

กทม.โปรเจ็กต์ก่อสร้างเพียบ

ด้านนายจักกพันธุ์ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า คาดว่าปัญหารถติดใน กทม.จะรุนแรงไปถึงปี 2562 เพราะปัจจุบันนอกจากงานก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟฟ้าแล้ว ในส่วนของ กทม.กำลังสร้างทางลอด 5 แห่ง ได้แก่ 1.ทางลอดมไหสวรรย์ แนวถนนตากสิน-รัชดาภิเษก จะเปิดใช้ ก.พ.นี้ 2.แยกไฟฉายแนวถนนจรัญสนิทวงศ์-พรานนก 3.ทางลอดถนนพัฒนาการ-รามคำแหง-ถาวรธวัช 4.ทางลอดถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า จะเปิดใช้ปลายปี 2561 และ 5.ทางลอดรัชโยธินแนวถนนรัชดาภิเษกตัดถนนพหลโยธิน เปิดใช้ปี 2562

ไม่รวมงานก่อสร้างถนนใหม่และขยายถนนเดิม เช่น ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า, ขยายถนนดินแดงรองรับการเปิดใช้ศาลาว่าการ กทม. 2, สะพานข้ามคลองเลียบวารี-มิตรไมตรี, ถนนพรานนก-กาญจนาภิเษก เป็นต้น

นอกจากนี้ ปี 2561 กทม.เตรียมของบฯก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดเพิ่มอีก 4 แห่ง ได้แก่ 1.แยกรัชดาภิเษก-ราชพฤกษ์ 2.ทางลอดแยกถนนศรีอยุธยา-พระราม 6 3.ทางลอดถนนกาญจนาภิเษก-รามคำแหง และ 4.ทางลอดศรีนครินทร์-พัฒนาการ แนวถนนรถไฟตะวันออก หากได้รับการอนุมัติและเริ่มก่อสร้าง จะทำให้พื้นที่ กทม.มีปัญหารถติดหนักขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของปัญหารถติดมาจากปริมาณรถเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย ขณะที่ถนนจะรองรับไม่มีการก่อสร้างเพิ่ม

การแก้ปัญหาในส่วนของ กทม.จะเร่งงานก่อสร้างเก่าให้ทยอยเปิดใช้ โดยเฉพาะอุโมงค์ทางลอดจะช่วยเรื่องจราจรได้มากบนถนนสายหลัก จากการทดลองเปิดใช้อุโมงค์มไหสวรรย์ พบว่ารถสามารถทำความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 20-25 กม./ชม. จากเดิม 12 กม./ชม. รวมถึงจะเร่งเปิดใช้บริการถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งในเดือน มี.ค. 2560 จะเปิดใช้ 1 สถานีถึงสำโรงก่อน เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน

ม.44 เบี้ยวค่าปรับอดต่อทะเบียน

ด้าน พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธุ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เตรียมแผนรับมือปัญหาการจราจรปี 2560 ไว้แล้ว ที่ทำได้ทันทีคือการรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีวินัยการจราจร โดยจะลงนามความร่วมมือ (MOU) กับบริษัทประกันภัย กรณีรถถูกชนให้สามารถแยกกันได้ทันที โดยที่ไม่ต้องจอดรอพนักงานเคลม จากเดิมจะเป็นรถเฉพาะที่มีประกันชั้น 1 เท่านั้น ต่อไปจะบังคับใช้กับรถทุกประเภท จะเร่งแก้จุดคอขวดบริเวณทางโค้ง-ทางแยก 80 จุด ซึ่งปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้ว 50 จุด พร้อมกับเร่งคืนผิวจราจรในพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง เช่น ถนนจรัญสนิทวงศ์ สุขุมวิท ที่รถไฟฟ้าใกล้สร้างเสร็จแล้ว

นอกจากนี้จะให้มีการชำระค่าปรับใบสั่งผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทยและธนาคารที่เป็นเครือข่ายได้ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.นี้ หลังนำร่องในพื้นที่ส่วนกลางช่วงก่อนหน้านี้แล้ว พบว่ามีผู้ใช้บริการช่องทางนี้ถึง 2 แสนใบ รวมถึงจะนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจับปรับมากขึ้น เช่น ติดตั้งกล้องวงจรปิดจับปรับทางแยก ติดตั้งแอปพลิเคชั่นผ่านสื่อต่าง ๆ

ขณะเดียวกันจะแก้กฎหมายเพิ่มอัตราค่าปรับให้เป็นอัตราเดียวกันทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด เช่น สูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิม 500 บาท และ 1,000 บาท และจะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44แห่งรัฐธรรมนูญ ให้ สตช. กับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) บูรณาการทำงาน โดยไม่ให้ต่อทะเบียนรถ หากไม่จ่ายค่าปรับคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ได้ต้นปี 2560

รถจดทะเบียนพุ่ง 9.1 ล้านคัน

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยสถิติข้อมูลการจดทะเบียนรถช่วงปี 2559 ที่ผ่านมาว่า มีรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 30 พ.ย. รวม 9,165,247 คัน ในจำนวนนี้เป็นรถจดทะเบียนใหม่ 805,761 คัน หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 1,200 คัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2017 10:23 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมเลื่อนยาวไป ก.ย. 60 เหตุเร่งปิดดีล รอยต่อ 1 สถานี BEM

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น
Think of Living
5 มกราคม 2560 16:59

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการให้บริการระบบตั๋วร่วม (ตั๋วแมงมุม) ว่า ล่าสุดกำหนดการเปิดให้บริการสำหรับรถไฟฟ้าคงต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนกันยายน 2560 จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ประมาณกลางปี 2560 เนื่องจากการเจรจากับผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 3 รายยังไม่ได้ข้อยุติ คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์

ทั้งนี้ โดยเฉพาะ BEM ซึ่งที่ผ่านมาติดภารกิจเจรจารับงานวางระบบและเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ 1 สถานี เตาปูน-บางซื่อ และงานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระกับหัวลำโพง-บางแค จึงต้องรอให้การเจรจาในเรื่องดังกล่าวได้ข้อยุติก่อน จากนั้นก็จะเดินหน้าเจรจาเรื่องตั๋วร่วมได้

ส่วน BTS นั้น ไม่มีปัญหาและระบุว่าพร้อมให้ความร่วมมือในการลงทุนปรับปรุงระบบ เนื่องจากผู้โดยสารของ BTS มีจำนวนสูงมากอยู่แล้ว และการใช้ตั๋วร่วมจะสร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการส่งผลให้ BTS จะมีผู้โดยสารจาก BEM เข้าสู่ระบบมากขึ้น ขณะที่ BEM เองก็จะได้รับประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน ส่วน รฟฟท.นั้น เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพร้อมดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ


นอกจากนี้ ที่ผ่านมา สนข.ยังไม่เคยเจรจากับผู้ประกอบการทั้ง 3 รายอย่างเป็นทางการ มีเพียงแค่การหารือแบบเบื้องต้น ขณะที่ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ลงทุนวางระบบเองสายทางละประมาณ 150-200 ลบ. ดังนั้น จึงควรมีการเจรจาแบบเป็นทางการและมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ด้วย เพื่อความชัดเจนว่าทั้งรัฐและเอกชนจะร่วมมือกันแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้าสนข.จะเชิญผู้ประกอบการระบบรางทั้ง 3 รายมาเจรจาอย่างเป็นทางการ และประเมินว่าในเดือนเมษายน 2560 จะเริ่มให้บริการตั๋วร่วมได้เฉพาะในระบบรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เท่านั้น และในเดือนกันยายน 2560 จึงจะเริ่มให้บริการระบบรางได้

ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมเคยตั้งเป้าว่าจะเริ่มให้บริการตั๋วร่วมได้ช่วงปลายเดือนมกราคม 2560 โดยเชื่อมต่อ 4 ระบบ คือ BTS-Airport Link-รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-รถไฟฟ้าสายสีม่วง จากนั้นได้เลื่อนมาเป็นกลางปี 2560 เนื่องจากพบว่าการปรับระบบจัดเก็บค่าโดยสารให้รองรับระบบตั๋วร่วม จะมีความซับซ้อนและใช้เวลา โดยการติดตั้งระบบใช้เวลา 2-3 เดือน และทดสอบระบบอย่างน้อยอีก 2 เดือน ซึ่งระบบรถไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นงานยากที่สุด เพราะเป็นสายทางเก่า มีระบบเก็บเงินที่ซับซ้อนมาก มีความถี่สถานีสูง ส่วนอีก 3 สายทางนั้นไม่มีปัญหาเพราะสายสีม่วงเป็นสายทางใหม่จึงติดตั้งระบบใหม่ได้ง่าย รถไฟฟ้า BTS ก็คุ้นเคยกับการใช้ระบบตั๋วร่วมอยู่แล้วและเป็นผู้รับงานวางระบบตั๋วร่วมในโครงการนี้ด้วย ขณะที่แอร์พอร์ตเรลลิงก์มีความถี่สถานีไม่มาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2017 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ามาหาซะที! อัพเดตคืบหน้ารถไฟฟ้าทั่วกรุง ผ่านบ้านคุณเมื่อไหร่ได้ใช้?
โดย ไทยรัฐออนไลน์
6 มกราคม 2560 05:30


รถไฟฟ้าหลากสีหลายสายโอบล้อมรอบกรุง บางสายก่อสร้างทรหดมาเนิ่นนานนับสิบปี บางสีเพิ่งเริ่มก่อสร้างแสนวุ่นวาย แต่ผู้คนมากมายเฝ้ารอให้รถไฟฟ้ามาหาสักที...

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ไล่เรียงความคืบหน้ารถไฟฟ้ารอบกรุง สายอะไร ความคืบหน้าถึงไหน ได้ใช้เมื่อไหร่ เช็กดู!



รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน
1.1 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอดเส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร โดยมีแนวเส้นทางต่อเนื่องจากส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท

ขณะที่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีเจ้าของโครงการคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย รฟม. ได้ประมูลว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาบริหารจัดการและควบคุมงานโครงการ คือ กลุ่มบริษัท GBSC (Green Line Bearing Samutprakan Consultants) และบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง สัญญา 1 และสัญญา 2 คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบันงานโยธาในเส้นทางดังกล่าว เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 ณ ขณะนี้ ความคืบหน้า 99.83% ส่วนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ คณะกรรมการประสานการเดินรถประชุมครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 โดยมีแผนเปิดให้บริการในปี 2561 และระยะแรกจะเร่งเปิดให้บริการช่วงสถานีแบริ่ง-สถานีสำโรงในวันที่ 1 มีนาคม 2560


รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
1.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
กลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างเริ่มก่อสร้าง โดยเส้นทางก่อสร้างระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี เป็นทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง เริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิตไปตามถนนพหลโยธิน และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสองที่สถานีคูคต โดยเริ่มงานก่อสร้างมิถุนายน 2558

ขณะเดียวกัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยังมีแผนงานการก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
พฤศจิกายน 2560 เปิดใช้งานสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตร ตามแนวพหลโยธิน
กุมภาพันธ์ 2561 เปิดใช้งานสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธินตามแนวพหลโยธิน
มิถุนายน 2561 เปิดใช้งานสะพานรถยนต์ข้ามแยกเสนานิคม ตามแนวพหลโยธิน
มกราคม 2562 เปิดใช้งานอุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธินตามแนวรัชดาภิเษก

ล่าสุด มีความคืบหน้า 19% โดยส่วนใหญ่ได้มีการขึ้นตอม่อเสารถไฟฟ้า และคานคอนกรีตแล้ว โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการประชาชนประมาณปี 2563


รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา
1.3 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา เป็นส่วนต่อขยายจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยมีลักษณะโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดแนวเส้นทาง และมีสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 4 สถานี (ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทาง) ได้แก่
1. สถานีรถไฟฟ้าคลองสาม (Khlong 3 Station)
- บริเวณก่อนถึงสะพานข้ามคลองสาม
2. สถานีรถไฟฟ้าคลองสี่ (Khlong 4 Station)
- ศูนย์บริการโตโยต้าและใกล้กับถนนไสวประชาราษฎร์
3. สถานีรถไฟฟ้าคลองห้า (Khlong 5 Station)
- ก่อนถึงเชิงสะพานข้ามคลองห้า ประมาณ 100 เมตร
4. สถานีรถไฟฟ้าวงแหวงรอบนอกตะวันออก (Eastern Outer Ring Road Station)
- ระหว่างห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีลำลูกกา กับหมู่บ้านวราบดินทร์

อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา มีแผนดำเนินงาน คือ เริ่มดำเนินงานก่อสร้าง ธันวาคม 2560 และเปิดให้บริการ ธันวาคม 2564


รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู
1.4 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู นั้น ต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยระยะทาง 9.2 กิโลเมตร มีลักษณะโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดแนวเส้นทาง และมีสถานีรถไฟฟ้า จำนวน 5 สถานี (ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทาง) ได้แก่
1. สถานีรถไฟฟ้าสวางคนิวาส (Sawang Khaniwat Station)
- ซอยเทศบาลบางปู 59 ใกล้กับสวางคนิวาส ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย
2. สถานีรถไฟฟ้าเมืองโบราณ (Ancient City Station)
- ซอยเทศบาลบางปู 65 เมืองโบราณ
3. สถานีรถไฟฟ้าศรีจันทร์ประดิษฐ์ (Srichanpradit Station)
- ซอยเทศบาลบางปู 96 ทางเข้าวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์
4. สถานีรถไฟฟ้าบางปู (Bang Pu Station)
- ซอยเทศบาลบางปู 77 ทางเข้าสถานตากอากาศบางปูและนิคมอุตสาหกรรมบางปู
5. สถานีรถไฟฟ้าตำหรุ (Tamru Station)
- ซอยเทศบาลบางปู 108 ก่อนถึงแยกถนนตำหรุ-บางพลี ประมาณ 500 เมตร

อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู มีแผนดำเนินงาน คือ จะเริ่มดำเนินงานก่อสร้าง ธันวาคม 2560 และคาดว่าจะเปิดให้บริการ ธันวาคม 2564


โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต
2. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
2.1 โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต
โครงการดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นโครงการที่สถานีบางซื่อ ไปตามแนวเขตทางรถไฟในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านเขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และไปสิ้นสุดที่สถานีรังสิต จังหวัดปทุมธานี ระยะทางรวมประมาณ 26.3 กิโลเมตร ประกอบด้วย 10 สถานี และในอนาคตอันใกล้ มีแผนจะต่อขยายไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคมปี 2556 ซึ่งสัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีรถไฟบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง, สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต มีความก้าวหน้าไปแล้ว 60% และสัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าคืบหน้าแล้วประมาณ 10%

ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อและรองรับการให้บริการของทั้งรถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) และรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้มีความคืบหน้าการก่อสร้างประมาณ 50%

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวเกิดความล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 20% ซึ่งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวอย่างมั่นใจว่า “โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จะเสร็จทันตามกำหนดในปี 2563 อย่างแน่นอน”


รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
2.2 รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายดังกล่าว อยู่ในแผนปฏิบัติการกระทรวงคมนาคมปี 2560 วงเงิน 6,018 ล้านบาท ซึ่งมีระยะทางรวมประมาณ 10 กิโลเมตร มีทั้งหมด 5 สถานี (ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง) คือ

1. สถานีรังสิต
2. สถานีคลองหนึ่ง
3. สถานี ม.กรุงเทพ
4. สถานีเชียงราก และ
5. สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต


รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย
2.3 รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าของรถไฟฟ้าสายดังกล่าวไว้ว่า “โครงการรถไฟฟ้าบางส่วนต้องชะลอโครงการ เช่น สายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย เพราะมีปัญหาประชาชนไม่เห็นด้วย”


โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
2.4 โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
รถไฟฟ้าสายดังกล่าว มีจุดประสงค์ที่จะรองรับผู้โดยสารจากย่านวังหลัง โรงพยาบาลศิริราช ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนบางขุนนนท์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน และถนนบรมราชชนนี ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อแก้ปัญหาจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยล่าสุด อยู่ระหว่างการประเมินการลงทุนก่อสร้าง


รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค
3. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
3.1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
3.2 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 26.8 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาในเดือนเมษายน 2554 ซึ่งรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายดังกล่าว มีความพิเศษกว่าสายอื่นๆ เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของไทยที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ทางวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และ ณ ขณะนี้ การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 86.72%

ทั้งนี้ สถานีสนามไชยกำลังเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคมไม่น้อย เนื่องจากการออกแบบภายในตัวสถานีมีการตกแต่งได้อย่างวิจิตรสวยงาม ซึ่งมีลักษณะคล้ายท้องพระโรงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้กับนักท่องเที่ยวมาใช้งานระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีกด้วย

โดยในส่วนของการกำหนดเปิดเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีการวางแผนการเปิดเดินรถเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เดินรถสายใต้ ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-หลักสอง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และระยะที่ 2 เดินรถสายเหนือ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ หรือทั้งโครงการเปิดให้บริการตลอดสายในเดือนตุลาคม 2562


รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
4. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
4.1 รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มีระยะทางทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร และโครงสร้างทางยกระดับ 11 กิโลเมตร และมีสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากนั้น จะเสนอ ครม.อนุมัติภายในปี 2559 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายสุดท้ายที่เสนออนุมัติภายในปี 2559



โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
5. รถไฟฟ้าสายสีส้ม
5.1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินและยกระดับ (สถานีใต้ดิน 10 สถานี/ยกระดับ 7 สถานี รวม 17 สถานี) มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี่ยงเข้าแนว เข้าถนนพระราม 9 ตัดผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้ารามคําแหง ผ่านแยกลําสาลีตัดผ่านถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี

ล่าสุด โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดข้อเสนอการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา หลังจากนั้น คณะกรรมการฯ จะเจรจาต่อรองราคากับผู้ที่ประเมินแล้วเสนอราคาต่ำที่สุดของแต่ละสัญญา ซึ่งคาดว่าภายในเดือนมกราคม 2560 จะเจรจาได้ข้อยุติด้านราคา และจะสามารถเสนอคณะกรรมการ รฟม. เห็นชอบผลการประกวดราคาในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 และลงนามในสัญญาว่าจ้างฯ ได้ภายในเดือนมีนาคม 2560


6. รถไฟฟ้าสายสีชมพู
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) กำหนดให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost ซึ่งภาครัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่างานโยธา ระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นเวลา 33 ปี 3 เดือน ทั้งนี้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี

ทั้งนี้ รฟม. ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะงานประมูลสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างงานโยธางานระบบและขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถบำรุงรักษา ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS Group) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผ่านการประเมินสูงสุด วงเงินลงทุน 53,519.5 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาสัมปทานได้ภายในเดือนเมษายน 2560 ในเบื้องต้นสามารถก่อสร้างเสร็จ และเปิดบริการได้ในปี 2563

7. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) เป็นการลงทุนในลักษณะ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับการก่อสร้างงานโยธา รวมทั้งให้เงินสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธา และเอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธา จัดหาระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า สัญญาสัมปทานจะมีอายุ 33 ปี 3 เดือน (ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี) ผู้รับสัมปทานจะมีหน้าที่ในการเดินรถ และซ่อมบำรุงรักษาระบบตลอดอายุสัมปทาน ตลอดจนจัดเก็บรายได้จากค่าโดยสารและรายได้จากกิจการเชิงพาณิชย์อื่นๆ ในระบบ โดยจะมีการแบ่งรายได้ให้กับ รฟม.ด้วย

ทั้งนี้ รฟม. ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะงานประมูลสัมปทานลงทุนด้านโครงสร้างงานโยธา งานระบบและขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถบำรุงรักษา ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS Group) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผ่านการประเมินสูงสุด วงเงินลงทุน 51,931.15 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาสัมปทานได้ภายในเดือนเมษายน 2560 ในเบื้องต้นสามารถก่อสร้างเสร็จ และเปิดบริการได้ในปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2017 3:06 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' วางเกณฑ์ตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าใหม่
by ปรียารัตน์ บุญมี
Voice TV
14 มกราคม 2560 เวลา 13:55 น.

'คมนาคม' วางเกณฑ์ตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าใหม่ เน้นตั้งเป็นชื่อย่านมากกว่าชื่อถนน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบูรณาการระบบราง มีมติว่าหลังจากนี้สถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือออกแบบ ที่ตั้งอยู่ในโครงสร้างอาคารเดียวกัน หรือมีทางเข้าออกใกล้เคียงกัน ในระยะไม่เกิน 50 เมตร จะต้องมีชื่อสถานีเหมือนกัน แต่หากสถานีใดอยู่คนละโครงสร้าง แต่อยู่ในระยะไม่เกิน 50 เมตร ให้กำกับด้วยสีของสายรถไฟฟ้า เช่น วุฒากาศสีแดง หรือวุฒากาศสีเขียว รวมทั้งจะเน้นตั้งเป็นชื่อย่านมากกว่าชื่อถนน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

สำหรับสถานีที่ก่อสร้างแล้ว และประชาชนใช้มานานกว่า 10 ปี ที่อยู่ใกล้กัน แต่มีชื่อแตกต่างกัน บางส่วนมองว่าหากเปลี่ยนจะทำให้สับสน เพราะคุ้นเคยกับชื่อเดิมแล้ว อีกส่วนมองว่าจะกระทบกับงบประมาณ จึงมอบให้ สนข.จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อหาข้อสรุป

//-----------

มึนชื่อสถานีรถไฟฟ้า! คมนาคมวางเกณฑ์ใหม่ ต้องสอดคล้องเข้าใจง่าย เน้นตั้งตามย่าน
โดย MGR Online
13 มกราคม 2560 17:53 น. (แก้ไขล่าสุด 13 มกราคม 2560 18:03 น.)


“คมนาคม” วางเกณฑ์ตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าใหม่ หลังบางแห่งทั้งที่สถานีติดกัน แต่เป็นรถไฟฟ้าคนละสาย ตั้งชื่อไม่เหมือนกันทำให้ประชาชนสับสน สั่งทุกหน่วยต้องบูรณาการร่วม เน้นชื่อต้องสอดคล้องกันเป็นมาตรฐาน ไม่ให้ใช้ชื่อถนน ให้ใช้ย่าน ตั้งชื่อสถานีเพราะมีความชัดเจนเข้าใจมากกว่า กางแผนแม่บท สีส้ม, สีแดง, สีเหลือง, ต้องแก้ชื่อใหม่หลายสถานี

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบูรณาการทางราง ที่มีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) เป็นประธานว่า ตามที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราง ของกระทรวงคมนาคมบูรณาการในการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากในอนาคตจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีกหลายสาย และชื่อสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่แล้วในปัจจุบันมีหลายสถานีที่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงแต่มีชื่อที่แตกต่างกัน

โดยในการประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์) ได้เห็นชอบร่วมกันในเกณฑ์การตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างออกแบบและอยู่ในแผนงานในอนาคต ลำดับแรกให้ใช้ชื่อย่านเป็นหลัก ต่อมาให้ใช้ชื่อสถานีจากจุดตัด และใช้ชื่อสถานีจากแลนด์มาร์กสำคัญของพื้นที่นั้นๆ และงดใช้ชื่อถนน เพราะถนนมีความยาวกินพื้นที่กว้าง ให้ใช้ชื่อย่านแทน เพราะมีความชัดเจนมากกว่า และหากกรณีสถานีอยู่ในอาคารเดียวจะต้องใช้ชื่อเดียวกัน และกรณีไม่ได้อยู่ในอาคารเดียวกัน แต่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน ระยะไม่เกิน 50 เมตร ให้ชื่อเดียวกันหรือสอดคล้องกัน โดยกรณีที่ใช้ชื่อเดียวกัน ให้ใช้สีของรถไฟฟ้าเป็นตัวกำกับเพื่อแยกให้เกิดความชัดเจน เข้าใจ และจดจำง่าย


ทั้งนี้ ปัญหาของรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว และมีสถานีอยู่จุดเดียวกัน แต่ใช้ชื่อไม่เหมือนกันนั้น ควรจะมีการปรับชื่อใหม่ให้เหมือนกันหรือไม่นั้น ที่ประชุมได้มอบให้ทาง สนข.ไปทำประชาพิจารณ์หรือสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประเมินอีกครั้ง เนื่องจากยังมีความเห็นว่าชื่อสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว ประชาชนคุ้นเคยแล้ว หากมีการปรับชื่อใหม่อาจจะเกิดความสับสนหรือไม่

ทั้งนี้ มี 4 จุดได้แก่ สถานีหมอชิต (รถไฟฟ้า BTS) กับ สถานีจตุจักร (รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือ MRT), สถานีอโศก (รถไฟฟ้า BTS) กับ สถานีสุขุมวิท (รถไฟฟ้า MRT), สถานีศาลาแดง (รถไฟฟ้า BTS) กับสถานีสีลม (รถไฟฟ้า MRT) และสถานีเพชรบุรี (รถไฟฟ้า MRT) กับสถานีมักกะสัน (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์) ซึ่งการเปลี่ยนชื่อจะต้องหารือกับทาง BTS ด้วย ทั้งนี้จะต้องหาข้อสรุปให้ได้ว่าควรเปลี่ยนชื่อหรือไม่ หากควรเปลี่ยนจะใช้ชื่ออะไร และเปลี่ยนเมื่อใด เนื่องจากอาจจะกระทบต่อการให้บริการได้ที่สำคัญ

สำหรับชื่อสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างหรืออยู่ระหว่างประมูล และต้องปรับเปลี่ยนให้ชื่อสอดคล้องกันนั้น ที่ประชุมได้หารือและได้ข้อสรุปแล้ว ในส่วนของสถานที่อยู่ใกล้กัน ได้แก่ สถานีพัฒนาการ (รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง) กับสถานีหัวหมาก (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์) อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดย รฟม.จะปรับชื่อสถานีพัฒนาการของสายสีเหลืองเป็นสถานีหัวหมาก

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน และสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มี 2 จุด คือ ที่สถานีศิริราช โดยสายสีแดงจะปรับจากชื่อสถานีธนบุรี-ศิริราช เป็นสถานี ศิริราช เหมือนสายสีส้ม และอีกจุด คือ สถานีบางขุนนนท์ ซึ่งสายสีแดง เดิมใช้ชื่อสถานีจรัญสนิทวงศ์ จะปรับเป็นสถานีบางขุนนท์ เหมือนกับสายสีส้ม

นอกจากนี้ยังมีกรณีสถานีอยู่ห่างกันคนละจุด แต่ใช้ชื่อเหมือนกัน สถานีหัวหมากของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ย่านโรงพยาบาลรามคำแหง ใช้ชื่อเหมือนกับสถานีหัวหมากของแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งทาง รฟม.ได้รับไปพิจารณาปรับปรุงแล้ว รวมถึงสถานีตากสินของรถไฟฟ้าสายแดงเข้ม ซึ่งยังอยู่ในแผนงาน สถานีตั้งอยู่ใกล้กับสถานีวุฒากาศ ของ BTS สายสีเขียว ดังนั้นควรปรับให้สอดคล้องกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2017 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งขีดวงแนวรถไฟฟ้า ผังเมืองให้ชั้นในผุดตึกสูงเกิน10เท่าตามแบบญี่ปุ่น
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 14 มกราคม 2560
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,226 วันที่ 12 – 14 มกราคม 2560

ผังเมือง กทม.ใหม่เล็งขีด 2 วงรัศมีผุดตึกสูงเกิน 10 เท่าแนวรถไฟฟ้า 250 เมตร ส่วนอีกวง 500 เมตร สร้างลดหลั่นลงมา เผยยิ่งแลกสิทธิ์-ยกที่ดินมอบให้สาธารณะยิ่งสร้างสูงได้เกิน10 เท่า ด้านเอกชนแนะแก้กฎกระทรวงปี 35 ก่อนปรับแก้ผังเมือง เหตุขัดหลักปฏิบัติ


นายพีระพงศ์ ศิริเกษม รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าเตรียมเปิดให้บริษัทที่ปรึกษาแข่งขันประมูลงานเพื่อศึกษาปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปี 2556 ที่ จะครบกำหนด 5 ปี 2561 ให้สอดรับกับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าที่ฉุดให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น จนผลักดันให้เอกชนต้องสร้างอาคารที่สูงขึ้นตามต้นทุนที่ดินโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม

ทั้งนี้ จะนำรูปแบบการพัฒนาของประเทศญี่ปุ่นมาใช้ คือ จะกำหนดรัศมีรอบรถไฟฟ้าเป็น 2 วง คือ วงที่ 1 รัศมี 250 เมตร สามารถสร้างตึกสูงได้มากเช่น 10 เท่า วงที่ 2 รัศมี 500 เมตรห่างจากรถไฟฟ้า จะลดระดับความสูงลงมา โดยเฉพาะเขตพื้นที่ชั้นในและในรัศมีของถนนวงแหวนรัชดา หรือเฉพาะที่มีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการเท่านั้น เพื่อบีบให้คนใช้ขนส่งระบบรางมากขึ้น ซึ่ง เอกชนจะสร้างอาคารสูง-ใหญ่ได้มากขึ้น จากการเปิดให้มีการซื้อขายแลกสิทธิ์พื้นที่ที่ถูกควบคุมความสูง เช่นสนามบิน หรือ พื้นที่สีน้ำตาลอ่อนที่ดินอนุรักษ์อย่างเกาะรัตนโกสินทร์ รัศมี 25 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ไปถึงฝั่งธน ย่านจรัญสนิทวงศ์บางบริเวณ ทั้งที่ ปกติ จะต้องสร้างอาคารได้สูง เช่น 5-8 เท่า เป็นต้น แต่ปัจจุบันสร้างได้แค่ 2.5 เท่าของแปลงที่ดิน

หากเอกชนต้องการสร้างอาคารแนวรถไฟฟ้าได้สูงมากกว่าเดิม ก็สามารถซื้อขายสิทธิ์กับเจ้าของที่ดินย่านอนุรักษ์ที่เหลือได้ แต่เกณฑ์การซื้อขายจะให้เป็นไปตามราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ หรือ การใช้สิทธิ์ของโบนัสที่ผังเมืองกทม.ปัจจุบันกำหนดให้สร้างพื้นที่พาณิชย์ได้อีก 20% จาก เพดานอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (เอฟเออาร์)เดิม หากเอกชนเสียสละที่ดินบางส่วนมอบให้เป็นสาธารณะ อาทิ สร้างสวนสาธารณะ ทางจักรยาน ถนนฯลฯ

อย่างไรก็ดีมองว่า เอกชนยังใช้เอฟเออาร์ หรือ ใช้สัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างอาคารต่อแปลงที่ดินยังไม่เต็มศักยภาพ ตามที่ผังเมืองปัจจุบันให้ไว้ ดังนั้นจึง ไม่จำเป็นต้องเพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวเพิ่ม อีก ส่วนพื้นที่รอบนอกจะเน้นการพัฒนาความสูงลดหลั่นลงในลักษณะแนวราบ โดยเฉพาะชานเมือง

คาดว่า อีก 2-3 ปีข้างหน้า หากผังเมืองใหม่บังคับใช้ จะสามารถเพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าเพิ่มได้โดยเฉพาะอาคารสูง เพราะ จะก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการ เช่นส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ –คูคต ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วง บางซื่อ-ท่าพระ -หัวลำโพง-บางแค และรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ

ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่นๆจะไม่ปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินพัฒนาอาคารสูงได้ เช่นรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีชมพู เป็นต้น เนื่องจากเกรงว่า จะส่งผลกระทบต่อสาธารณูปโภค-บริการสาธารณะของกทม. ที่ยังรองรับไม่เพียงพอ ดังนั้น การพัฒนาจะเพิ่มขึ้นได้ จะต้องมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วเท่านั้น

ด้าน นายมงคล วาราเวณุชย์ เลขาสมาคมอสังหาริมทรัพย์ สะท้อนว่า เอกชนต้องการให้กทม. เปิดให้พัฒนาได้มากขึ้นในพื้นที่ที่รัฐกำหนดแนวโครงข่ายรถไฟฟ้า ถนน ฯลฯ ไว้แล้ว เพราะไม่อยากให้ซ้ำรอยเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงค์ที่ กำหนดให้สร้างได้เฉพาะแนวราบ เพราะยังไม่เปิดให้บริการช่วงที่ อยู่ระหว่างร่างผังเมืองกทม.สมัยนั้น แต่เมื่อรถไฟฟ้าเปิดให้บริการต่างประสบภาวะขาดทุนเพราะไม่มีคนใช้บริการ เกิดจากพื้นที่แนวรถไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นบ้านมากกว่าคอนโดมิเนียม

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันภาคเอกชนได้รับโบนัสในการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบสถานีระยะ 500 เมตรอยู่แล้ว โดยได้รับ FAR หรือ สัดส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดินที่กำหนดไม่เกิน 20% แต่จะต้องพัฒนาหลังจากสถานีเปิดให้บริการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในเรื่องของราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่มีแผนพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นประโยชน์จากโบนัสดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้มีการปรับแก้ข้อจำกัดเสียก่อน

นอกจากนี้ไม่ควรจำกัดการพัฒนาแค่บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าเท่านั้น แต่ควรให้สิทธิประโยชน์ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถพัฒนาโครงการที่เหมาะสมกับรายได้ของผุ้บริโภคในกลุ่มนี้

ขณะที่ นายธำรงค์ ปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมอาคารชุดไทยและประธานกรรมการ บริษัท นิรันดร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำรูปแบบการพัฒนาของประเทศญี่ปุ่นมาใช้กับประเทศไทยนั้น ยังไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของพัฒนาในปัจจุบัน เนื่องจากยังมีเรื่องของกฎกระทรวงปี 2535 เป็นข้อกำหนดที่ขัดต่อการพัฒนา แม้ว่าจะกำหนดรัศมีรอบรถไฟฟ้าใน 2 ลักษณะก็ตาม

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามกฎกระทรวงปี 2535 ว่าด้วยเรื่องความกว้างของถนน ที่ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาอาคารอยู่อาศัยรวม อาทิ คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ หอพักโรงแรมในซอย ถนนต้องกว้าง 6-8 เมตรโดยอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 สูงไม่เกิน 8 ชั้นหรือ 23 เมตร นอกจากนี้กฎหมายควบคุมอาคารยังระบุอีกว่า หากถนนกว้าง 10 เมตร สามารถสร้างได้เกิน 1 หมื่นตารางเมตร สูงเกิน 23 เมตรและยิ่งเว้นถอยร่นมาก ยิ่งสร้างได้เพิ่ม 2 เท่า เช่น เว้นถอยร่นเข้าหาที่ดินตัวเอง 1 เมตร สร้างสูงได้เพิ่ม 2 เมตร ฯลฯ จากข้อกำหนดดังกล่าว แม้จะกำหนดรัศมีการพัฒนาเพิ่ม แต่สุดท้ายก็มาติดเรื่องกฎกระทรวง ดังนั้นจึงอยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหันมาพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน

“แม้ว่ากฎหมายควบคุมอาคารจะมีข้อยกเว้นเรื่องการถอยร่น แต่ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการจะทำตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นไม่มีใครเว้นระยะถอยร่น จึงทำให้เกิดการแออัดภายในซอย เป็นไปได้หรือไม่หากผู้ประกอบการต้องการสร้างตึกสูงในซอย ต้องเว้นระยะถอยร่นข้างละ 8 เมตร 2 ข้างถนนก็จะได้ถนน 16 เมตร โดยที่ภาครัฐไม่ต้องขยายถนน ผู้ประกอบกอบการเองก็จะสามารถสร้างอาคารสูงได้ หรือหากอยากให้เกิดความโปร่งโล่ง ก็อาจจะกำหนดระยะเว้นระหว่างตึกเพิ่มเป็น 10 เมตร จากเดิม 6 เมตร”นายธำรงค์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2017 6:53 pm    Post subject: Reply with quote

BEM ลดค่าติดระบบ1สถานี เร่งเปิดเดินรถ12 ส.ค. 60 ส่วน“ชมพู-เหลือง”รอเคลียร์ข้อกม.กรณี BTS เสนอยืดเส้นทาง
โดย MGR Online
18 มกราคม 2560 16:42 น.

บอร์ดรฟม.เห็นชอบผลเจรจาจ้างพิเศษ BEM ติดตั้งระบบและ เดินรถ 1 สถานี ระยะ 2 ปี วงเงินรวม 918.48 ล้านบาท เร่งชงคมนาคมและครม.เห็นชอบเพื่อเซ็นสัญญาในต้นก.พ. พร้อมเร่งเอกชนเปิดเดินรถใน 12 ส.ค.60 ตามนโยบาย ”นายกฯ”ขณะที่ เจรจา โมโนเรล “ชมพู,เหลือง” กก.มาตรา 35 ถกข้อกม.กรณีBTS เสนอยืดเส้นทางนอกแผนแม่บท พร้อมเร่งทำแผนจราจรประสานตำรวจก่อนลุยขุดอุโมงค์แยกรัชโยธินและลงตอม่อห้าแยกลาดพร้าว

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการเจรจาด้วยวิธีพิเศษ กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เป็นผู้ติดตั้งระบบรถไฟฟ้า และบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม. สัญญาจ้าง 2 ปี วงเงินรวม 918,488,046 บาท โดยแบ่งเป็น งานระยะที่ 1 ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ราคากลาง 678 ล้านบาท ต่อรองลดลงเหลือ 672 ล้านบาท งานระยะที่ 2 จ้างบริหารการเดินรถราคากลางที่ 52.11 ล้านบาทต่อปี ต่อรองเหลือวงเงิน 52 ล้านบาทต่อปี ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมทางการเงิน 82.5 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ทั้งนี้ ตามสั่ง มาตรา 44 หลังเจรจาจบให้ รฟม.เร่งเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา โดยจะเสนอได้ภายในวันที่ 19 ม.ค.นี้ พร้อมเสนอร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดพิจารณาคู่ขนานด้วย ซึ่งเรื่องการเดินรถ 1 สถานี เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดให้เปิดเดินรถช่วง 1 สถานี ในวันที่ 12 ส.ค. 2560 ดังนั้น คาดว่า จะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในต้นเดือนก.พ.และรฟม.จะเร่งลงนามสัญญากับ BEM พร้อมกับให้เข้าพื้นที่ติดตั้งระบบทันที

“เชื่อว่า ทาง รมว.คมนาคมไม่น่ามีประเด็นพิจารณาที่ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้เคยพิจารณาผลการเจรจาของคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เรื่องการเดินรถ 1 สถานีแล้ว ขณะที่การเดินรถสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ คณะกรรมการร่วมฯ สายเฉลิมรัชมงคล ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 56 และคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2556 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ได้เสนอผลการเจรจากับ BEM ไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แล้วตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 60 ซึ่งสคร.มีเวลาพิจารณา 45 วัน จากนั้นต้องส่งเรื่องไปยังรมว.คมนาคม ซึ่งจะมีเวลาพิจารณาอีก 30 วัน คาดว่าจะเสนอครม.ได้ในปลายเดือนมี.ค. 60 ซึ่งเมื่อสามารถลงนามสัญญาเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้เรียบร้อยจะทำให้สัญญาของ 1 สถานีเข้าไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาใหญ่ทันที”

*** กก.มาตรา 35 ถกข้อกม.รับข้อเสนอBTS ยืดเส้นทางโมโนเรล “ชมพู,เหลือง”

นายพีระยุทธกล่าวถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม.ว่า ขณะนี้ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) (ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS Group) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดซึ่งยังมีบางเรื่องที่ คณะกก.มาตรา 35 มีความเห็นไม่ตรงกัน รวมถึงข้อเสนอการต่อเพิ่มเส้นทางของ สายสีชมพู เชื่อมเข้าเมืองทองธานี และสายสีเหลืองต่อมาถึงรัชโยธินเชื่อมกับสายสีเขียวเหนือนั้น จึงต้องดูข้อกฎหมายให้ชัดเจน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เพิ่มเติมจากแผนแม่บท และยังไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะสามารถพิจารณาอนุมัติในสัญญาเดียวกันได้หรือไม่ หรือจะทำเป็นข้อตกลงเพิ่มเติมเพื่อให้ไปดำเนินการขออนุมัติและศึกษา EIA ให้เรียบร้อยก่อนแล้ว ค่อยดำเนินการเป็นส่วนต่อขยาย ภายหลัง อย่างไรก็ตามเป้าหมายจะสรุปในเดือนมี.ค. และลงนามสัญญาในเดือนเม.ย. 60

ส่วนการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ราคากลาง 80,118 ล้านบาท จำนวน 5 สัญญานั้น จะสรุปผลการเจรจาต่อรองในเดือนม.ค.นี้ ขณะเดียวกันได้ส่งร่างสัญญาให้อัยการพิจารณาแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ในมี.ค.นี้ตามแผน

***ประสานตำรวจจัดจราจรขุดอุโมงค์แยกรัชโยธินและลงตอม่อห้าแยกลาดพร้าว

นายพีระยุทธกล่าวถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สัญญา 1 ว่า หลังจาก รื้อย้ายสะพานข้ามแยกรัชโยธินเสร็จแล้ว จะเริ่มดำเนินการขุดอุโมงค์เพื่อทำทางลอดทดแทน โดยจะหารือกับทางตำรวจจราจรเพื่อวางแผนการจัดจราจรให้มีผลกระทบน้อยที่สุด เช่น รูปแบบ วงเวียน ไม่มีไฟแดง เป็นต้น ส่วนบริเวณห้าแยกลาดพร้าว จะมีการลงพื้นที่ได้ไม่เกินต้นเดือนก.พ.นี้ โดยอยู่ระหว่างปรับแผนด้านจราจร ทั้งนี้หากจะมีการปรับการจราจรเพื่อก่อสร้างนั้นจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งรฟม.ตระหนักถึงผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนน จึงพยายามกำหนดวิธีการก่อสร้างให้กระทบการจราจรน้อยที่สุด โดยช่วงการก่อสร้างโครงสร้างสายสีเขียว จากหมอชิต มายังลาดพร้าว จะยกระดับข้ามโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ โดยจะใช้การก่อสร้างวิธีคานยื่นสมดุลย์ (Balanced Cantilever) ค่อยๆ ยืดโครงสร้างไปเจอกัน โดยถือเป็นช่วงที่รถไฟฟ้ามีความสูง จากระดับพื้นถึงสันราง 26 เมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2017 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ามหานคร 2017 ความหวังของคนกรุง
โดย...ทศพล หงษ์ทอง
โพสต์ทูเดย์
18 มกราคม 2560 เวลา 18:23 น.



ในปี 2560 จะเป็นปีที่ได้เห็นกระทรวงคมนาคมผลักดันโครงการรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 10 สาย เข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการคัดเลือกเอกชน และเริ่มก่อสร้างให้เสร็จทันภายในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อวางรากฐานสำคัญการเชื่อมโยงระบบขนส่งใน กทม. ตลอดจนลดปัญหาการจราจรติดขัด ควบคู่ไปกับแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 เพื่อเป็น Feeder กับรถไฟฟ้าสายหลักทั้ง10 สาย เพิ่มโครงข่ายเชื่อมโยงการเดินทางรอบทิศของ กทม.และปริมณฑล รับผู้คนนอกเส้นทางขยายทำเลที่อยู่อาศัยรอบ กทม. โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองธนบุรี-ประชาธิปก ที่จะเริ่มเปิดใช้ในปี 2562

ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 87 ควบคู่กับงานระบบรถไฟฟ้าซึ่งอยู่ระหว่างนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก่อนเข้าสู่กระทรวงคมนาคม (คค.) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ส่วนการเชื่อมต่อ 1 สถานีที่ให้บีอีเอ็มเข้ามาเดินรถคือต้องลงทุนติดตั้งอาณัติสัญญาณ 693 ล้านบาท ร่วมกับค่ารับจ้างเดินรถปีละ 52 ล้านบาท จะเสนอเข้าสู่บอร์ด รฟม.ได้ในเดือน ม.ค. ก่อนลงนามช่วงเดือน ก.พ. เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถได้ไม่เกินเดือน ส.ค. 2560 ตามแผน

ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้วอยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบจากการประชุมสภา กทม.ภายในเดือน ม.ค. เพื่อโอนหนี้สินและทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 21,403.561 ล้านบาท ซึ่ง กทม.ต้องชำระเงินทันที 3,557 ล้านบาท เพื่อเปิดเดินรถในเดือน มี.ค. 2560

อย่างไรก็ตาม ถ้า รฟม.บริหารเองคาดว่าจะเปิดเดินรถได้ทันภายในเดือน มี.ค.เช่นกัน ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ก่อสร้างเสร็จแล้วร้อยละ 20 คาดว่าจะเปิดเดินรถ 1 สถานีก่อน หมอชิต-ลาดพร้าว ช่วงกลางปี 2561 ก่อนให้บริการทั้งเส้นทางในปี 2563

ปี’60 ลงทุน 1.88 แสนล้าน
ธีรพันธ์ กล่าวว่า โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 8.29 หมื่นล้านบาท โดยเป็นทางวิ่งยกระดับ 9 กิโลเมตร และทางวิ่งใต้ดิน 12.2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเปิดซองและเจรจารายละเอียดราคา คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค. 2560 ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 53,519 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 51,931 ล้านบาท คาดว่าจะเซ็นสัญญาทั้งสองสายได้ในเดือน เม.ย.

“ปีหน้าจะเริ่มเห็นการก่อสร้างทั้ง 3 โครงการ คือ สายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 สายอยู่ระหว่างเร่งรัดการเวนคืนที่ดินเพื่อเริ่มก่อสร้างโครงการดังกล่าว” ธีรพันธ์ กล่าว

ปี’61 ลงทุน 1.52 แสนล้าน
สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างเสนอที่ประชุม ครม. ซึ่งบางโครงการถูกบรรจุในแผนแอ็กชั่นแพลนปี 2561 ของกระทรวงคมนาคมไปแล้ว ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร วงเงิน 131,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอบอร์ดสภาพัฒน์ คาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ภายในเดือน ม.ค. ก่อนเริ่มต้นคัดเลือกเอกชนในเดือน พ.ค. และได้ตัวผู้รับเหมาช่วงปลายปี เพื่อเริ่มก่อสร้างต้นปี 2561

ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร วงเงิน 123,354 ล้านบาทขณะนี้การออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้วควบคู่ไปกับการพิจารณาอีไอเอ คาดว่าจะเสนอเข้าสู่บอร์ด รฟม.ต้นเดือน ม.ค. ก่อนเปิดประมูลช่วงปลายปี 2560 ให้สอดคล้องกับแผนปีหน้าของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการเร่งรัดให้อนุมัติรถไฟฟ้าทุกโครงการภายในรัฐบาลชุดนี้

ขณะที่โครงการซึ่งถูกบรรจุในแผนแอ็กชั่นแพลนอย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑล สาย 4 วงเงิน 21,197 ล้านบาท กำลังอยู่ระหว่างเสนอบอร์ดสภาพัฒน์และคาดว่าที่ประชุม ครม.จะเห็นชอบในเดือน ม.ค.-ก.พ. ก่อนเปิดประมูลปลายปี 2561 ควบคู่ไปกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเขียวใต้ สมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 12,146 ล้านบาท และช่วงต่อขยายสีเขียวเหนือ คูคต-ลำลูกกา คลองหก วงเงิน 9,803 ล้านบาท คาดว่า ครม.จะอนุมัติได้ช่วงต้นปี ไปจนถึงเปิดประมูลได้ในช่วงกลางปีและได้ตัวผู้รับเหมาปลายปี ก่อนเริ่มก่อสร้างในปี 2561 อีกทั้งบริเวณชานเมืองไม่น่ามีปัญหาในกระบวนการก่อสร้างมากนัก

แจงแผนสีชมพู-เหลือง
ธีรพันธ์ กล่าวว่า การต่อขยายเส้นทางสายสีชมพูราว 2.8 กิโลเมตร จากสถานีศรีรัช (PK10) บนถนนแจ้งวัฒนะเข้าไปยังเมืองทองธานีอีก 2 สถานีนั้น เป็นการเชื่อมต่อแบบ Shuttle ซึ่งไม่เกี่ยวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลัก คือเอกชนต้องสร้างรางมาเชื่อมต่อที่สถานีศรีรัชเอง (PK10) เพื่อใช้รถไฟฟ้าโมโนเรลมาเชื่อมต่อผู้โดยสารเข้าสู่เมืองทองธานี ด้านการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองระยะทางราว 2.6 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเริ่มจากสถานีรัชดา (YL01) ไปทางทิศเหนือตามถนนรัชดาภิเษกบริเวณแยกรัชโยธินเพื่อเชื่อมต่อกับสถานี N10 ของสายสีเขียวบริเวณปากซอยพหลโยธิน 24 นั้นเป็นการเชื่อมต่อในเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลักโดยที่ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนขบวนรถได้ที่สถานีจุดเชื่อมต่อ (Interchange Station)

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงสถานการณ์จราจรในปี 2560 โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีส้ม ซึ่งจะเกิดขึ้นในปีหน้า จนส่งผลให้การจราจรทางฝั่งตะวันออกของ กทม.เป็นอัมพาต ซึ่งเป็นพื้นที่ถนนสายหลักมีผู้ใช้บริการรถยนต์และประชากรจำนวนมาก เช่น ถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนรามอินทรา รวมถึงย่านมีนบุรี ย่านรามคำแหง-ลำสาลี ซึ่งในสภาวะปกติการจราจรก็หนาแน่นทุกวันอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วน อีกทั้งการก่อสร้างยังต้องมีการปิดช่องจราจรและถนนในบางจุดอีกด้วย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการก่อสร้างโครงการใหญ่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ทว่าประชาชนต้องปรับตัวและอยู่ร่วมกันให้ได้ในระยะเวลา 2-3 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองหลวงระยะยาวหากรถไฟฟ้าสามารถให้บริการได้ ส่วนสถานการณ์จราจรบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่แยกรัชโยธินถึงแม้จะประสบปัญหาอย่างมากในขณะนี้ แต่ประชาชนผู้สัญจรเริ่มคุ้นเคยกับเรื่องรถติดมากขึ้น อีกทั้งยังเข้าใจในการใช้ตำแหน่งกลับรถตามที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ตามจุดต่างๆ รอบบริเวณดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 278, 279, 280  Next
Page 146 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©