RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181302
ทั้งหมด:13492537
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 146, 147, 148 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2017 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.คลอดแผนแม่บทขนส่งระบบรางเฟส 2
TNN 24
25 มกราคม 2560 เวลา 13.36 น.

สนข.คลอดแผนแม่บทขนส่งระบบรางเฟส 2 มี 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 509 กิโลเมตร เริ่มลงมือปี 60

วันนี้ (25 ม.ค. 60) นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางที่ สนข. จะดำเนินการในปี 2560 เพื่อกำหนดระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จำเป็นสำหรับกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องระยะเวลา 20 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า สนข. เริ่มจัดทำแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง (URMAP) ตั้งแต่ปี 2545 และในปี 2547 ได้มีการปรับปรุงแผนดังกล่าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์และผังเมืองที่เปลี่ยนไป ตามโครงการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง (BMT) และต่อมาในปี 2553 ได้มีการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (MMAP) ซึ่งกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายหลักและสายรองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) จำนวน 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 509 กิโลเมตร ประกอบด้วย

1. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต – มหาชัย) ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร

2. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) ระยะทาง 58.5 กิโลเมตร

3. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ (ดอนเมือง-พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-บางปู) ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร

6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) ระยะทาง 55 กิโลเมตร

7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 42.8 กิโลเมตร

8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร

9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร

10.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร

11.รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร

12.รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร

สำหรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (MMAP) ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2553 และหน่วยงานต่างๆ ได้นำแผนแม่บทนี้มาดำเนินการไปแล้วบางส่วน และปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ระหว่างศึกษาโครงการเพิ่มเติม ดังนั้น เพื่อให้โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสามารถรองรับการเดินทางของประชาชนในเส้นทางต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 เพื่อช่วยให้การเดินทางของประชาชนจากเขตปริมณฑลเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเกิดการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สนข. ได้นำกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และสนับสนุนเกื้อกูลระบบราง เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนได้อย่างสะดวก และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสนับสนุนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ในประเทศ (Local Contents) ในงานระบบรางให้มากที่สุด เช่นอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในตัวรถ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนการใช้ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) และศูนย์จอด (Stabling yards) ของระบบรางร่วมกัน (มีเท่าที่จำเป็นและสร้างเพิ่มภายหลังเพื่อลดต้นทุน) รวมทั้งออกแบบสถานีรถไฟฟ้าให้มีรูปแบบและขนาดพอเหมาะกับการใช้งาน



ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้ สนข. ดำเนินการศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าให้สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องในอนาคตได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2017 11:59 am    Post subject: Reply with quote

อลหม่าน 37 สถานีจุดตัดรถไฟฟ้า คมนาคมสั่ง "บีทีเอส-รฟม." ตั้งชื่อเดียวกัน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 26 มกราคม 2560 เวลา 20:30:46 น.


จากนโยบายของ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งบูรณาการชื่อรถไฟฟ้าใหม่ทั้งสายเก่าและสายใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและเปิดประมูล

หลังมีบางสถานีมีชื่อเรียกต่างกันทั้งที่ตำแหน่งตั้งอยู่ใกล้กัน ทำให้เกิดความสับสน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มึนกับชื่อระบบขนส่งมวลชนของไทยไม่น้อย

จากการตรวจสอบของ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" พบมีสถานีเป็นจุดร่วมรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทจำนวน 37 สถานี ซึ่งสายใหม่ไม่น่ามีปัญหา ที่น่ากังวลคือเส้นทางเปิดบริการไปแล้ว 4 สถานี ได้แก่ 1.บริเวณสวนจตุจักรระหว่างสถานีหมอชิตของ BTS กับสถานีจตุจักรรถไฟฟ้าใต้ดิน 2.บริเวณแยกศาลาแดงระหว่างสถานีศาลาแดง BTS กับสถานีสีลมรถไฟฟ้าใต้ดิน 3.บริเวณแยกอโศกระหว่างสถานีอโศก BTS กับสถานีสุขุมวิทรถไฟฟ้าใต้ดิน และ 4.บริเวณมักกะสันระหว่างสถานีเพชรบุรีรถไฟฟ้าใต้ดิน กับสถานีมักกะสันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และสถานีเพชรบุรีของสีฟ้า (ดินแดง-มักกะสัน-สาทร)

โดยให้เจ้าของรถไฟฟ้าไปตกลงร่วมกันตามโจทย์ที่ได้รับ คือ 1.จะเปลี่ยนหรือไม่ 2.เปลี่ยนแล้วชื่ออะไร 3.เปลี่ยนเมื่อไหร่ และ 4.ใครจะเป็นคนเปลี่ยน ล่าสุดมีความเป็นไปได้สูง จะยึดตามชื่อเดิม

สอดคล้องกับ "สุรพงษ์ เลาหะอัญญา" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บีทีเอสเปิดบริการมา 15 ปี ชื่อสถานีเป็นที่คุ้นเคยอย่างดี ทั้งนี้ หากจะให้บีทีเอสเปลี่ยนชื่อสถานีใหม่ คงจะเป็นการยาก เนื่องจากจะทับซ้อนกับชื่อเส้นทาง เช่น สถานีอโศกจะเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีสุขุมวิทเหมือนรถไฟฟ้าใต้ดินคงไม่ได้เพราะซ้ำกับชื่อสายทางสุขุมวิท หรือสถานีศาลาแดงจะให้ชื่อสถานีสีลมก็ไม่ได้ จะทำให้คนสับสนมากขึ้น

"การเปลี่ยนชื่อสถานีมีรายละเอียดมาก มีค่าใช้จ่าย ต้องเปลี่ยนระบบฮาร์ดแวร์ใหม่ เช่น เครื่องขายตั๋ว แผนที่ เสียงผู้ประกาศ"

ด้าน "พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยอมรับว่า การเปลี่ยนชื่อมีค่าใช้จ่าย เช่น เปลี่ยนระบบซอฟต์แวร์ ป้ายสถานี จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกที เนื่องจากผู้โดยสารคุ้นชื่อกันแล้ว

สำหรับสายใหม่นั้น "สนข." คลอดเกณฑ์การตั้งชื่อสถานีไว้ ได้แก่ 1.ถ้าเป็นโครงสร้างสถานีเดียวกัน เห็นควรใช้ชื่อสถานีเหมือนกัน 2.ถ้าโครงสร้างแยกออกจากกัน ระยะน้อยกว่า 50 เมตร ควรใช้ชื่อสถานีเหมือนกัน

3.ถ้าโครงสร้างแยกออกจากกันอยู่ในระยะมากกว่า 50 เมตร และน้อยกว่า 500 เมตร เห็นควรพิจารณาความเหมาะสม ตามตำแหน่งของโครงสร้างสถานีและ 4.หากทางออกห่างเกิน 500 เมตร หรือสถานีไม่ได้เชื่อมกันอย่างสิ้นเชิง เห็นควรใช้ชื่อสถานีต่างกัน

ทั้งนี้ สนข.ระบุว่ามี 33 สถานีให้ทบทวนชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับย่าน ได้แก่ 1.บริเวณสถานีบางซ่อน สายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) กับสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) 2.บริเวณสถานีเตาปูน สีม่วงกับสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 3.บริเวณสถานีบางหว้า สีน้ำเงินกับบีทีเอส (ตากสิน-บางหว้า) 4.บริเวณวังบูรพา สีน้ำเงินกับสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) 5.บริเวณสถานีบางขุนนนท์มี 3 สาย คือ สีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) สีน้ำเงินต่อขยาย และสถานีจรัญสนิทวงศ์ของสีแดง (ตลิ่งชัน-ศาลายา)

6.บริเวณวงเวียนหลักสี่ของสีเขียว (หมอชิต-คูคต) กับสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 7.บริเวณสถานีสำโรง สีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) กับสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 8.บริเวณสถานีหลักสี่ของสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) กับสีชมพู 9.บริเวณสถานีวัชรพลของสีชมพูกับสีเทา (วัชรพล-พระราม 4-สะพานพระราม 9)

10.บริเวณศูนย์ราชการนนทบุรีของสีม่วงกับสีชมพู 11.บริเวณสถานีมีนบุรีระหว่างสีชมพูกับสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 12.บริเวณสถานีฉลองรัชของสีเหลืองกับสีเทา 13.บริเวณสถานีลำสาลีของสีเหลืองกับสีส้ม 14.บริเวณสถานีหัวหมากของสีเหลือง สถานีพัฒนาการ กับสถานีหัวหมากของแอร์พอร์ตลิงก์

15.บริเวณสถานีลาดพร้าวของสีเหลืองกับสีน้ำเงิน 16.บริเวณนวศรีของสีส้มกับสีเทา 17.บริเวณศูนย์วัฒนธรรมของสีส้มกับสีน้ำเงิน 18.บริเวณวงเวียนใหญ่ของสีม่วงใต้ สีแดง (หัวลำโพง-บางบอน) กับบีทีเอส (ตากสิน-บางหว้า) 19.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของสีม่วงใต้กับสีส้ม 20.บริเวณศิริราชของสีส้มกับสถานีธนบุรี-ศิริราชของสีแดง (ตลิ่งชัน-ศาลายา)

21.บริเวณยมราชของสีส้มกับสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 22.บริเวณราชเทวีของสีส้มกับบีทีเอสหมอชิต-อ่อนนุช 23.บริเวณดินแดงของสีส้มกับสีฟ้า (ดินแดง-มักกะสัน-สาทร) 24.บริเวณประชาสงเคราะห์ของสีส้มกับสีฟ้า 25.บริเวณราชปรารภของสีส้มกับแอร์พอร์ตลิงก์

26.บริเวณตลิ่งชันของสีส้มกับสีแดง (ตลิ่งชัน-ศาลายา) 27.บริเวณยศเสของสีแดงเข้มบางซื่อ-หัวลำโพงกับบีทีเอสสนามกีฬา-ยศเส 28.บริเวณสถานีวุฒากาศของสถานีตากสิน สายสีแดงหัวลำโพง-บางบอน กับสถานีวุฒากาศ ของบีทีเอสวงเวียนใหญ่-บางหว้า

29.บริเวณสถานีช่องนนทรีของสีฟ้ากับบีทีเอสสนามกีฬา-สะพานตากสิน 30.บริเวณสถานีลุมพินีของสีฟ้ากับสีน้ำเงิน

31.บริเวณสถานีเพลินจิตของสีฟ้ากับบีทีเอสหมอชิต-อ่อนนุช 32.บริเวณสถานีทองหล่อของสีเทากับบีทีเอส และ 33.บริเวณสถานีคลองเตยของสีเทากับสีน้ำเงิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2017 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

จับตา...รถไฟฟ้าชานเมือง หวั่นซ้ำรอยสีม่วง "เขียวปากน้ำ" คนนั่งไม่ถึงแสน

คอลัมน์ ดาต้าเบส

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 27 มกราคม 2560 เวลา 08:00:47 น.


เริ่มมีหลายฝ่ายชักจะไม่มั่นใจรถไฟฟ้าสายใหม่จ่อเรียงคิวเปิดใช้บริการตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป จะมีชะตากรรมซ้ำรอยรถไฟฟ้าสายที่ 4 สีม่วง "เตาปูน-คลองบางไผ่" ระยะทาง 23 กม.หรือไม่

หลัง "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เปิดหวูดบริการเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 22,000 เที่ยวคน/วัน พลาดจากเป้าที่ปรับใหม่ 73,443 เที่ยวคน/วัน อยู่กว่า 50,000 เที่ยวคน/วัน

แม้จะมีคนเปรยว่าเป็นปรากฏการณ์ปกติของรถไฟฟ้าสายใหม่ที่คนจะใช้น้อยในช่วงแรก เหมือนบีทีเอสที่เปิดปีแรกมีผู้โดยสาร 150,000 เที่ยวคน/วัน จากเป้า 500,000 เที่ยวคน/วัน กว่าผู้โดยสารจะทะลุทะลวง 800,000-900,000 เที่ยวคน/วัน ต้องใช้เวลา 10 ปี



แต่เนื่องจาก "บีทีเอส" แนวเส้นทางพาดผ่านใจกลางเมือง แหล่งงาน ย่านช็อปปิ้ง ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา จึงทำให้มีลูกค้าทุกกลุ่มมาใช้บริการ

ขณะที่ "สีม่วง" ถึงแนวจะเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ แต่เส้นทางส่วนใหญ่พาดผ่านพื้นที่ จ.นนทบุรี ที่อยู่ชานเมือง และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยรองรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก ทำให้รถไฟฟ้าราคาแพงอาจจะไม่ตอบโจทย์เท่ารถเมล์และรถตู้ที่ราคาถูก เข้าถึงง่าย ใช้บริการคล่องตัวกว่า

เมื่อย้อนดูประมาณการผู้โดยสารรถไฟฟ้าสารพัดสีที่กำลังก่อสร้าง เตรียมเปิดใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า พบว่า "สีเขียวต่อขยาย" จากแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู อาการน่าเป็นห่วง เพราะตัวเลขที่โชว์อยู่ที่ 87,000 เที่ยวคน/วัน ซึ่งสายนี้มีแผนจะทยอยเปิดใช้บริการตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 ก่อน 1 สถานี จาก "แบริ่ง-สำโรง"

รองลงมา "สีน้ำเงินต่อขยาย" จากบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 เฉลี่ยอยู่ที่ 64,560 เที่ยวคน/วันในปีเปิดบริการ 2564 ตามมาด้วย "สีชมพู" จะต่อเชื่อมกับสีม่วงที่แครายไปถึงมีนบุรี มีผู้โดยสารเฉลี่ย 109,130 เที่ยวคน/วัน ตามแผนเปิดใช้เดือน ส.ค. 2563

พร้อมกับ "สีเหลือง" ลาดพร้าว-สำโรง โดยสายสีเหลืองจะมีจุดเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีลาดพร้าว และสีเขียวที่สถานีสำโรง แต่ตามผลการศึกษา คาดว่าจะมีคนใช้ประมาณ 171,527 เที่ยวคน/วัน



ที่น่าสนใจ "สีเขียวต่อขยายส่วนเหนือ" หลายคนประเมินว่าจะได้อานิสงส์จากบีทีเอสสายเดิม ทำให้ส่วนต่อเชื่อมจากหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และในอนาคตจะลากไปถึงลำลูกกา คลอง 4 จะมีคนใช้เฉลี่ย 176,000 เที่ยวคน/วัน

ด้านสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" จะเปิดหวูดปี 2563 ถึงวันนั้นจะมีคนใช้ถึงเป้า 306,608 เที่ยวคน/ปี อย่างที่ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" คาดหวังไว้หรือไม่ ยังไม่มีใครตอบได้ ในเมื่อเส้นทางก่อสร้างเลาะไปตามรถไฟสายเดิม

เช่นเดียวกับสายอื่นที่ลุ้นระทึก คนจะมาตามนัดหรือไม่ ไม่ว่าสีน้ำเงินต่อขยาย "บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค" ตั้งเป้ามีผู้ใช้ถึง 492,432 เที่ยวคน/วัน เมื่อมีการเดินรถต่อเนื่องกับสีน้ำเงินเดิมจนครบโครงข่ายในปี 2563

"สีส้ม" ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เป็นอีกสายที่น่าจับตา เพราะแนวเส้นทางจะเชื่อมการเดินทางกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน ที่สำคัญจะพาดผ่านพื้นที่ใจกลางเมือง ย่านการค้า เช่น ประตูน้ำ รัชดาฯ ตามแผนเปิดในปี 2566 จะมีคนใช้ 492,792 เที่ยวคน/วัน

สุดท้าย สีม่วงใต้ "เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ" ในผลศึกษาระบุชัดจะมีคนมาใช้บริการ 749,034 เที่ยวคน/วัน ซึ่งไม่รู้ประมาณการนี้จะยังสามารถใช้ได้หรือไม่ ในเมื่อฤกษ์ตอกเข็มยังไม่นิ่ง เพราะถึง รฟม.จะย้ำสถานะเตรียมเปิดประมูลก่อสร้างในปีนี้ ก็ยังไม่รู้จะมีอะไรมาแทรกให้ดีเลย์หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2017 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เร่งตั๋วร่วม “แมงมุม” มิ.ย.นี้ ใช้ใบเดียวขึ้นรถเมล์เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 4 สายได้
โดย MGR Online 27 มกราคม 2560 15:56 น. (แก้ไขล่าสุด 27 มกราคม 2560 17:07 น.)

สนข.เร่งรัดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในชื่อ “บัตรแมงมุม” เพื่อความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบให้กับประชาชน ภายในเดือน มิ.ย. 60 “รถเมล์-รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วง-BTS-แอร์พอร์ตลิงก์” เริ่มใช้งาน และขยายไปที่ “ทางด่วน-เรือโดยสาร” ธ.ค. 60 เพิ่มศักยภาพการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางและเชื่อมต่อ

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 เพื่อจัดทำนโยบายกำหนดมาตรการ/มาตรฐานระบบตั๋วร่วม ดำเนินการจัดหาผู้พัฒนาระบบตั๋วร่วมและจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) และการกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้พัฒนาระบบ รวมทั้งการดำเนินงานอื่นๆ ที่เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมให้ประสบความสำเร็จ สนข.ได้เร่งดำเนินงานพัฒนาระบบตั๋วร่วมในชื่อ “บัตรแมงมุม” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบให้แก่ประชาชนด้วยบัตรเพียงใบเดียว

โดยได้กำหนดแผนงานเพื่อให้ระบบตั๋วร่วมสามารถใช้เดินทางในระบบรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. และระบบรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีเขียว และสายแอร์พอร์ตลิงก์ ในเดือนมิถุนายน 2560 นี้ และให้สามารถใช้ระบบตั๋วร่วมกับระบบทางพิเศษ และระบบเรือโดยสาร ในเดือนธันวาคม 2560 นอกจากนี้ ระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับกับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการเข้ากับระบบจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐสำหรับพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ให้เริ่มใช้ได้ในเดือนตุลาคม 2560


นอกจากนี้ ระบบรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ประชาชนก็จะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมในการเดินทางในรถไฟฟ้าสายต่างๆ เหล่านั้นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางเชื่อมต่อทุกรูปแบบ ด้วย “บัตรแมงมุม” เพียงใบเดียว ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

โดยแผนการดำเนินงาน คือ 1. กำหนดมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System Standard) เพื่อให้ผู้ประกอบการระบบขนส่ง นำไปปรับปรุง และจัดทำระบบจัดเก็บรายได้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และเตรียมการเพื่อเข้าสู่การใช้งานระบบตั๋วร่วมร่วมกันต่อไป

2. จัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ในภาคขนส่ง แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน 4 สาย ประกอบด้วย ระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน) ระบบรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์) และระบบรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สายที่ 1 และสายที่ 2 (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารให้สามารถรองรับการใช้ระบบตั๋วร่วม และเจรจากับผู้ประกอบการระบบขนส่งรายใหม่ ให้มีการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสารตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วมเพื่อรองรับการใช้งาน “บัตรแมงมุม” เมื่อเปิดให้บริการ เช่น ระบบรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ รถโดยสารประจำทาง ระบบทางพิเศษ เป็นต้น รวมทั้งอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการนอกภาคขนส่ง เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อ เพื่อจัดเตรียมระบบฯ ให้สามารถรองรับการใช้งานร่วมกับระบบตั๋วร่วมต่อไป

3. เตรียมการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบการดำเนินงานและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) รวมทั้งการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมต่อไปแผนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมในปี 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2017 11:23 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.เร่งตั๋วร่วม “แมงมุม” มิ.ย.นี้ ใช้ใบเดียวขึ้นรถเมล์เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 4 สายได้
โดย MGR Online 27 มกราคม 2560 15:56 น. (แก้ไขล่าสุด 27 มกราคม 2560 17:07 น.)


สนข.พัฒนา ‘บัตรแมงมุม’ เชื่อมการเดินทาง กทม.-ปริมณฑล ภายใน มิ.ย.นี้

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 27 มกราคม 2560 11:40

สนข. เร่งรัดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในชื่อ “บัตรแมงมุม”
เพื่อความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบใน มิ.ย. 60
เพิ่มศักยภาพการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง
เรือโดยสาร และทางพิเศษ

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 60 กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
(สนข.) ได้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ตามมติคณะรัฐมนตรี
(ครม.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555
เพื่อจัดทำนโยบายกำหนดมาตรการ/มาตรฐานระบบตั๋วร่วม
ดำเนินการจัดหาผู้พัฒนาระบบตั๋วร่วมและจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง
(Central Clearing House: CCH) และการกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้พัฒนาระบบ
รวมทั้งการดำเนินงานอื่นๆ
ที่เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมให้ประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ สนข.ได้เร่งดำเนินงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม ในชื่อ “บัตรแมงมุม”
เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบให้กับประชาชน
ด้วยบัตรเพียงใบเดียว มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. กำหนดมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม
(Common Ticketing System Standard) เพื่อให้ผู้ประกอบการระบบขนส่ง นำไปปรับปรุง
และจัดทำระบบจัดเก็บรายได้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน
และเตรียมการเพื่อเข้าสู่การใช้งานระบบตั๋วร่วมร่วมกันต่อไป

2. จัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ในภาคขนส่ง
แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2559

ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน 4 สาย
ประกอบด้วย ระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน)
ระบบรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง)
ระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์)
และระบบรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สายที่ 1 และ สายที่ 2
(รถไฟฟ้าสายสีเขียว)
เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารให้สามารถรองรับการใช้ระบบตั๋วร่วม
และเจรจากับผู้ประกอบการระบบขนส่งรายใหม่
ให้มีการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสารตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วมเพื่อรองรับการใช้งานว
“บัตรแมงมุม” เมื่อเปิดให้บริการ เช่น ระบบรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ รถโดยสารประจำทาง
ระบบทางพิเศษ เป็นต้น รวมทั้งอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการนอกภาคขนส่ง เช่น
ร้านค้าสะดวกซื้อ เพื่อจัดเตรียมระบบฯ
ให้สามารถรองรับการใช้งานร่วมกับระบบตั๋วร่วมต่อไป

3. เตรียมการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เพื่อรับทราบการดำเนินงานและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
และแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) รวมทั้ง
การจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ...
เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมต่อไป
แผนการดำเนินงานระบบตั๋วร่วมในปี 2560 สนข.
ได้กำหนดแผนงานเพื่อให้ระบบตั๋วร่วมสามารถใช้เดินทางในระบบรถโดยสารประจำทางของ
ขสมก. และระบบรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันในเดือนมิถุนายน 2560 นี้
และให้สามารถใช้ระบบตั๋วร่วมกับระบบทางพิเศษ และระบบเรือโดยสาร ในเดือนธันวาคม 2560
นอกจากนี้
ระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับกับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยา
ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment)
ของรัฐบาล

โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการเข้ากับระบบจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐสำหรับพื้นที่จ
กทม. และปริมณฑล ให้เริ่มใช้ได้ในเดือนตุลาคม 2560

อย่างไรก็ตาม ระบบรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ
ประชาชนก็จะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมในการเดินทางในรถไฟฟ้าสายต่างๆ เหล่านั้นได้ด้วย

ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางเชื่อมต่อทุกรูปแบบ ด้วย
“บัตรแมงมุม” เพียงใบเดียว ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 1:08 am    Post subject: Reply with quote

ก.คลังผุดไอเดีย “ผู้มีรายได้น้อย” นั่งรถไฟฟ้าฟรี!
PPTV
1 กุมภาพันธ์ 2560 16:30น.

ก.คลัง ผุดแนวคิดให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถขึ้นรถไฟฟ้าฟรี นอกเหนือจากรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ และการทำประกันภัย หวังช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่าย คาดจะดำเนินการให้ได้ภายในปีนี้

ก.คลังผุดไอเดีย “ผู้มีรายได้น้อย” นั่งรถไฟฟ้าฟรี!
วันนี้ (1 ก.พ.60) นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมเตรียมพร้อมสำหรับการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ ระหว่างวันที่ 3-30 เม.ย.นี้ โดยมีการพิจารณาช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถขึ้นรถไฟฟ้าฟรี นอกเหนือจากการขึ้นรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ช่วยค่าน้ำ-ค่าไฟ และการทำประกันภัย เพราะรัฐบาลต้องการช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่าย โดยเฉพาะค่าเดินทาง เนื่องจากเป็นต้นทุนสูงในการดำเนินชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในสังคมปัจจุบัน คาดจะดำเนินการให้ได้ภายในปีนี้

นายสมชัย กล่าวต่อว่า มาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยจะไม่เป็นภาระงบประมาณ เพราะเป็นการช่วยเหลือที่ตรงกลุ่ม ไม่เหมือนกับที่ผ่านมาที่ได้รับทุกกลุ่ม ทำให้ประชาชนที่มีฐานะดีได้รับมาตรการโดยไม่จำเป็น โดยผู้มีรายได้น้อยสามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกตร( ธ.ก.ส.) ทั่วประเทศ รวมถึงสำนักงานเขตกรุงเทพ และคลังจังหวัด ซึ่งจะช่วยให้การลงทะเบียนครั้งนี้ครอบคลุมมากขึ้น


การเปิดลงทะเบียนรอบใหม่ผู้มีรายได้น้อยในรอบแรก ต้องมาลงทะเบียนใหม่ในรอบนี้ด้วย เพราะจะทำการอัพเดทข้อมูล เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยมารับบัตรประจำตัวสำหรับรับสวัสดิการที่รัฐบาลจะจัดทำให้ในอนาคต

ทั้งนี้ ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง( สศค.) ระบุ ปัจจุบันมีผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ 14 ล้านราย ซึ่งได้มาลงทะเบียนไปแล้ว 8 ล้านราย และรับสิทธิ์ในการแจกเงิน 1,500 บาท และ 3,000 บาท จำนวน 7 ล้านคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่ม EIA ทางรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน จากหลักสอง ไป พุทธมณฑลสายสี่ และ สายสีทองจาก สถานีกรุงธนบุรีไปถนนประชาธิปก

http://www.onep.go.th/eia/images/6interest/4EIAtransport/4eia_12_59.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2017 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อลหม่าน 37 สถานีจุดตัดรถไฟฟ้า คมนาคมสั่ง "บีทีเอส-รฟม." ตั้งชื่อเดียวกัน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 26 มกราคม 2560 เวลา 20:30:46 น.


หน้าแรก ข่าวเดลินิวส์ เศรษฐกิจ-นวัตกรรมขนส่ง
เปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้ายุ่ง รฟม.ขอรอนโยบายสนข.
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07.17 น.

ตามที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ปัจจุบันพบว่าสถานีรถไฟฟ้าหลายสายมีความซับซ้อน อาทิ4 จุด เช่นสถานีหมอชิต ของรถไฟฟ้า บีทีเอส กับ สถานีจตุจักร รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ รฟม.ระบุมีความยุ่งยากหากเปลี่ยนใหม่ขอรอสนข.พิจารณาอีกครั้ง

  
 นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า   ตามที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ปัจจุบันพบว่าสถานีรถไฟฟ้าหลายสายมีความซับซ้อนของชื่อทั้งที่สถานีอยู่ใกล้เคียงกันแต่ชื่อต่างกัน    รฟม.ได้พิจารณากฎเกณฑ์ ต่างๆ แต่การเปลี่ยนชื่อสถานีต้องนำ หารือว่าหน่วยงานใดจะเป็นคนเปลี่ยน หรือทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)อาจจะตั้งชื่อกลางใหม่เลย ต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง
 
 นายพีระยุทธ กล่าวต่อว่า   ในการเปลี่ยนชื่อสถานีนั้นจะมีความยุ่งยากและปัญหาทั้งระบบการเดินรถ ป้าย แผนผังและสื่อประชาสัมพันธ์ ต้องเปลี่ยนใหม่หมด   หากระทรวงฯพิจารณาเห็นสมควรแล้วต้องเปลี่ยนรฟม.ก็พร้อมร่วมมือและปรับเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งหมดรวมถึงต้อง พิจารณาชื่อสำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในอนาคตด้วย สำหรับกฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้านั้นต้องพิจารณา ชื่อย่านเป็นหลักหรือ ชื่อสถานีจากแลนด์มาร์กสำคัญของพื้นที่นั้นๆ และไม่ให้ใช้ชื่อถนน เพราะถนนมีความมีความยาวกินพื้นที่กว้าง หากสถานีอยู่ในอาคารเดียวกันต้องใช้ชื่อเดียวกัน และกรณีไม่ได้อยู่ในอาคารเดียวกัน แต่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน ระยะไม่เกิน50 เมตร ให้ชื่อเดียวกันหรือสอดคล้องกัน โดยกรณีที่ใช้ชื่อเดียวกัน ให้ใช้สีของรถไฟฟ้าเป็นตัวกำกับเพื่อแยกให้เกิดความชัดเจน เข้าใจ และจดจำง่าย
 
สำหรับชื่อสถานีรถไฟฟ้าที่มีความซับซ้อนกัน  ขณะนี้มีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ 
1. สถานีหมอชิต ของรถไฟฟ้า บีทีเอส กับ สถานีจตุจักร รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที  , 
2. สถานีอโศก  รถไฟฟ้า บีทีเอส กับ สถานีสุขุมวิท รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที , 
3. สถานีศาลาแดง รถไฟฟ้าบีทีเอส กับสถานีสีลม รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที และ
4. สถานีเพชรบุรี รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอารืที กับสถานีมักกะสัน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2017 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

ในฝัน...กรุงเทพฯ วันที่โครงการข่ายระบบไฟฟ้าสมบูรณ์
โพสต์ทูเดย์
เสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 16.28 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2017 7:56 am    Post subject: Reply with quote

ขอต่อสีชมพูเข้าเมืองทอง สายสีเหลืองถึงรัชโยธิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 6 ก.พ. 2560 05:01

สายสีส้มร่างสัญญาจ้างเสร็จแล้ว

นายธีรพันธ์ เตชะสิรินุกูล รองผู้ว่าการรฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการตามมาตรา 35 พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุน ปี 2556 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการเจรจากับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท BTS Group บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งฯ หรือ RATCH และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งฯ หรือ STEC ที่ชนะการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทาง เรื่องการขอขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อเข้าเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8กม. และสายสีเหลือง ขอขยายเส้นทางจากเดิมสิ้นสุดที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ซึ่งเชื่อมต่อสถานีลาดพร้าว รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เลี้ยวขวาไปถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. เพิ่มอีก 2 สถานี เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรัชโยธิน รถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อให้การเดินทางเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายสมบูรณ์ โดยคณะกรรมการฯพยายามพิจารณาให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นจะส่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาตรวจร่างสัญญา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบลงนามสัญญาทั้ง 2 เส้นทางในเดือน เม.ย.60

รองผู้ว่าการ รฟม.กล่าวด้วยว่า ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 23 กม. ขณะนี้ตัวร่างสัญญาตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว รฟม.เตรียมเสนอที่ประชุมบอร์ดวันที่6ก.พ.นี้ เห็นชอบเพื่อลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาวันที่ 8 ก.พ. มีทั้งหมด 6 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1งานอุโมงค์ใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ซอยรามคำแหง 12 ได้บริษัท ช.การช่าง ร่วมกับบริษัท ซิ-โนไทย รับเหมาก่อสร้าง สัญญาที่ 2 งานอุโมงค์ใต้ดิน ซอยรามคำแหง 12-หัวหมาก บริษัท ช.การช่างร่วมกับบริษัท ซิ-โนไทย สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ใต้ดินหัวหมาก-คลองบ้านม้า บริษัท อิตาเลียน-ไทยฯ สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างยกระดับ สี่แยกบ้านม้า-สุวินทวงศ์ บริษัท ยูนิค สัญญาที่ 5ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร บริษัท ช.การช่าง ร่วมกับบริษัท ซิ-โนไทย และสัญญาที่ 6งานวางรางบริษัท ยูนิค
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 146, 147, 148 ... 277, 278, 279  Next
Page 147 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©