RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181692
ทั้งหมด:13492930
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 147, 148, 149 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2017 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

ที่ประชุมคจร.มอบหมายสนข.ศึกษาเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี กับโครงข่ายในแนว E-W Corridor
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 18:24:29 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มอบให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมโครงการถไฟสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) และพิจารณาทางเลือกอื่นในการเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่งเมืองหมายเลข 9 และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อทางยะระดับอุตราภิมุขกับวงแหวนตะวันตกเพื่อพิจารณาในภาพรวมตลอดจนการเชื่อมต่อต่างๆในแนวระเบีย
พร้อมทั้งมอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการโครงการะบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และส่วนต่อขยายกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) โดยให้สอดคล้องกับผลการศึกษาของสนข. และให้กทพ.พิจารณาแนวทางเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุข และทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกทม. ที่สนข.อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกทม.ให้คลอบคลุมและเพื่อช่วยลดปัญหาจราจรบริเวณแยกเกษตร

ที่ประชุมยังมีมติมอบหมายให้ สนข.ดำเนินการดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองต้นแบบการพัฒนา 3 เมือง ประกอบไปด้วย พิษณุโลก อุบลราชธานี และสระแก้ว เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการจราจร โดยใช้ผลการศึกษาการจัดทำแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาคของประเทศที่สนข.ได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และรายงานผลให้คจร.ทราบต่อไป

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบขนส่งสาธาระเมืองหลักในภูมิภาค ในจังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ตและสงขลา ซึ่งในส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นโครงการขนส่งรางเบา จากท่าอากาศยานไปยังตัวเมือง คาดว่าจะเสนอโครงการเข้าที่ประชุม ครม.ได้ไม่เกินเดือนมี.ค.และหากการดำเนินโครงการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ คาดว่า โครงการจะแล้วเสร็จในช่วงปี 63 หรือ ต้นปี 64

--อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/เสาวลักษณ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2017 7:27 am    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟฟ้า10สายเสนอครม. สมคิดหวังดึงเชื่อมั่นลงทุน เชื่อมเตาปูนเปิดวิ่งแน่9ส.ค.
ไทยโพสต์ Friday, February 10, 2017 - 00:00

"สมคิด" สั่งคมนาคมเร่งดันรถไฟฟ้า 10 สายเข้า ครม.ในปี 60 หวังดึงความเชื่อมั่นนักลงทุน พร้อมจี้คมนาคมศึกษาพัฒนารถไฟฟ้า 2 เส้นทางไปต่างหวัด หวังแก้ปัญหาจราจร เผยลงนามสร้างงานโยธาสายสีส้มแล้ว ยันเชื่อม 1 สถานีเตาปูน-บางซื่อ เปิดเดินรถได้ในวันที่ 9 ส.ค.60

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปี 60 จะเร่งผลักดันโครงการรถไฟฟ้า 10 สายให้ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากโครงการเดินหน้าตามแผน ซึ่งจะมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี และได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด และรูปแบบการลงทุน โดยตั้งเป้าภายในปีนี้จะต้องดำเนินการได้อย่างน้อย 2 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่และภูเก็ต เป็นต้น เนื่องจากมีการจราจรที่หนาแน่น

นอกจากนี้ ได้เร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งในวันที่ 1 มี.ค.นี้จะเคาะราคา 5 เส้นทาง พร้อมทั้งลงนามกับผู้รับเหมาภายในเดือน มี.ค.60 อย่างไรก็ตาม ในอนาคตรัฐบาลมีแผนที่จะนำผู้รับเหมาก่อสร้างไทยไปรับงานในกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพราะแต่ละประเทศยังมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานมาก

ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าช่วง 1 สถานี 1 กิโลเมตร ช่วงเตาปูน-บางซื่อนั้น จะนำเสนอต่อ ครม.ในวันที่ 14 ก.พ.60 เพื่อลงนามสัญญากับเอกชน เพื่อเริ่มติดตั้งระบบและทดสอบแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถได้ในวันที่ 9 ส.ค.60

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ตามแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้นส่วนที่เหลืออีก 5 เส้นทาง คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกนี้ โดยในช่วง มี.ค.-เม.ย.จะเสนอ สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 131,004.30 ล้านบาท, สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วงเงิน 111,186 ล้านบาท

ส่วนสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 21,197 ล้านบาท, สายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 12,146 ล้านบาท, สายสีเขียวเข้ม ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 9,803 ล้านบาท จะทยอยตามไป ซึ่งหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้รถไฟฟ้าทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายสมบูรณ์

นายอาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระหว่าง รฟม.กับบริษัทผู้รับจ้างที่ผ่านการคัดเลือกด้านราคาทั้ง 6 สัญญา เป็นเงิน 7.9 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางจำนวน 5.05 ร้อยล้านบาท ซึ่งภายในเดือน มิ.ย.นี้จะเริ่มก่อสร้างงานโยธา และแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในเดือนม.ค.66

"หลังจากการลงนามสัญญาแล้ว รฟม.และผู้รับจ้างจะเร่งรัดดำเนินการในการก่อสร้างงานโยธาเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถให้เร็วที่สุด และให้ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง และเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบปริมณฑล" นายอาคมกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2017 2:09 pm    Post subject: Reply with quote

เจรจาส่วนต่อขยายสายสีชมพู-เหลืองคาดรู้ผลก.พ.นี้.
http://www.posttoday.com/biz/gov/480169
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2017 2:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ที่ประชุมคจร.มอบหมายสนข.ศึกษาเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี กับโครงข่ายในแนว E-W Corridor
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 18:24:29 น.


คจร.เร่งเคลียร์รถไฟฟ้า ผุดเส้น'แคราย-บึงกุ่ม'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560, 08:45
อ่านแล้ว 1,815 ครั้ง

"คจร." เร่งแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ปรับลดเส้นทางสายสีส้มลดความซ้ำซ้อน พร้อมสั่ง "สนข." ศึกษาเส้นใหม่ "แคราย-บึงกุ่ม"

การประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วานนี้ (9 ก.พ.) ได้มีการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และให้ศึกษาแก้ปัญหาการจราจรบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมเสนอโครงการรถไฟฟ้าเส้นใหม่จากแคราย-ลำสาลี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ-ตลิ่งชัน โดยกำหนดให้แนวเส้นทางสิ้นสุดที่สถานีบางขุนนนท์ (ถนนจรัญสนิทวงศ์) ในระยะแรก จากเดิมที่ต้องมีการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งเส้นทางไปจนถึงสถานีตลิ่งชัน

แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-สถานีศิริราช ซึ่งเป็นโครงใหม่ของรฟท.เป็นพื้นที่ให้บริการเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในช่วงตลิ่งชัน-สถานีศิริราช ที่ประชุมฯจึงเห็นว่าการก่อสร้างในช่วงเส้นทางดังกล่าวทั้งสองโครงการจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนจึงให้ รฟม.ก่อสร้างถึงช่วงสถานีบางขุนนนท์ซึ่งจะทำให้ลดค่าก่อสร้างงานโยธาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ประมาณ1.5หมื่นล้านบาท

นอกจากนั้นยังสามารถลดผลกระทบจากการโยกย้ายและเวนคืนที่ดินในโครงการและทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ตามแผนที่วางไว้ในปี 2565 และในอนาคตหากจะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเพิ่มเติมในช่วงสถานีบางขุนนนท์ถึงสถานีตลิ่งชัน ยังสามารถที่จะดำเนินการได้โดยกำหนดเป็นแผนระยะต่อไป

ทั้งนี้ที่ประชุมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ รฟม.พิจารณาการกำหนดค่าโดยสารให้เกิดความเหมาะสมร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในอนาคต

เห็นชอบโอนสายสีเขียวให้กทม.บริหาร

นายอาคม กล่าวว่าที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร(กทม.)เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และมีมติเห็นชอบในหลักการให้มีการโอนทรัพย์สินโครงการดังกล่าว และให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบ

สำหรับข้อสรุปในเรื่องการเงินที่จะต้องมีการโอนทรัพย์สินของระหว่างรฟม.และกทม. วงเงิน 21,108ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ กทม.ต้องชำระให้ รฟม.โดยตรงจำนวน3,548.77ล้านบาท และส่วนที่ กทม.สามารถกู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง หรือหาแหล่งเงินกู้เองโดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินกู้เป็นวงเงิน17,559.487ล้านบาท

ในระหว่างนี้ให้สามารถเดินรถในช่วงต่อขยายได้1สถานีคือสถานีแบริ่ง–สำโรง โดยจะเริ่มเดินรถในเดือน มี.ค.นี้ ส่วนช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มอบหมายให้คณะกรรมการประเมินทรัพย์สินไปเร่งรัดดำเนินการโอนหนี้สินและทรัพย์สิน โดยพิจารณาควบคู่ไปกับความสามารถในการชำระหนี้และรายได้ของกทม.ในการดำเนินโครงการในอนาคต

สั่งศึกษารถไฟฟ้า‘แคราย-ลำสาลี’

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯเห็นชอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) และศึกษาระบบทางด่วนที่เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข9และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุขกับวงแหวนตะวันตก เพื่อพิจารณาภาพรวมตลอดการเชื่อมต่อต่างๆในแนวตะวันออก-ตะวันออก (E-W Corridor) และมอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการโครงการระบบทางด่วนขั้นที่3สายเหนือตอน N2 และส่วนต่อขยายกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก)

ให้ กทพ.พิจารณาแนวทางการเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯที่สนข.อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกทม.ให้ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร

สั่งสนข.เร่งระบบขนส่งหัวเมืองหลัก

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯยังมอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาคต้นแบบ 3 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก อุบลราชธานี และสระแก้ว ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ส่งผลให้เมืองมีปัญหาการจราจร อุบัติเหตุ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง

สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัดท่องเที่ยว2จังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากและมีปัญหาการจราจรติดขัด คือ จ.ภูเก็ต และ จ.เชียงใหม่ จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งทางรางแบบเบาหรือ “แทรม”

โครงการใน จ.ภูเก็ต ออกแบบแล้วเสร็จครอบคลุมระยะทาง43กิโลเมตร20สถานี งบประมาณก่อสร้าง 2.8 หมื่นล้านบาท ค่าโดยสาร150 บาทต่อคนตลอดระยะทาง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนมิ.ย.ปีนี้ โดยใช้รูปแบบการลงทุนแบบพีพีพี โดยอาจให้เอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมามีส่วนร่วมด้วย

ส่วนโครงการแทรมในจังหวัดเชียงใหม่มีการออกแบบไปแล้ว70%ระยะทาง40กิโลเมตร33สถานี คาดว่าการออกแบบและการประเมินวงเงินของโครงการจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษาการก่อสร้างรถไฟฟ้าใน 6 เมืองใหญ่ ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก และสงขลาซึ่งจะสรุปผลภายในเดือน มี.ค.2560 หลังจากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคจร.

ชงสนข.พิจารณาข้อเสนอกลุ่ม‘บีเอสอาร์’

ด้านนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา35แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน5.4หมื่นล้านบาทและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 5.2 หมื่นล้านบาทเปิดเผยว่า
คณะกรรมการมาตรา 35ฯได้เจรจาสัญญาหลักกับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ผู้ชนะการประมูลทั้ง 2 โครงการใกล้เสร็จแล้วแต่ยังต้องพิจารณาข้อเสนอซองที่3หรือข้อเสนอเพิ่มเติมอีก

ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปว่าจะรับข้อเสนอซองที่ 3 หรือไม่ เพราะต้องรอให้สนข. พิจารณาความเหมาะสมและบรรจุข้อเสนอในแผนแม่บทรถไฟฟ้าก่อนจึงก่อสร้างได้ เนื่องจากข้อเสนอเป็นแนวรถไฟฟ้าที่อยู่นอกเหลือสัญญาหลัก

เบื้องต้นจึงได้หารือกับ สนข. เพื่อให้ศึกษาความเหมาะสมของข้อเสนอทั้ง 2 โครงการ ได้แก่ การขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูอีก 2-3 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อไปยังอิมแพ็ค เมืองทองธานี และสายสีเหลือง จะขยายเส้นทางเพิ่มเติมอีก 2.6 กิโลเมตร จากรัชดาไปถึงแยกรัชโยธินเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว

“เราจะเสนอให้ สนข. บรรจุข้อเสนอเพิ่มเติมทั้ง 2 โครงการลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้า จากนั้น สนข. ต้องศึกษาว่าเส้นทางดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ส่วนจะใช้เวลาศึกษานานไหมก็ขึ้นอยู่กับ สนข. เป็นหลัก แต่ข้อเสนอเพิ่มเติมนี้จะไม่เกี่ยวกับสัญญาหลัก เพราะสัญญาหลักจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือนเดิม” นายธีรพันธ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2017 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐเร่ง "ตั๋วร่วม" กลางปีนี้ขึ้น 4 รถไฟฟ้า-รถเมล์ 2 พันคันฉลุย
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560, เวลา 08:18:03 น.

คมนาคมเร่งยกระบบตั๋วร่วม หลังดีเลย์มานาน ตั้งเป้ากลางปีเปิดซิงบัตรแมงมุม ขึ้น 4 รถไฟฟ้าและรถเมล์ 2.6 พันคัน เจรจาผู้ประกอบการเดินรถลดราคาค่าโดยสาร ปลายปีขยายฐานใช้ร่วม "ทางด่วน-มอเตอร์เวย์-เรือ" เตรียมเสนอ ครม.ดึงเอกชนร่วมทุนระบบจัดการรายได้กลาง ผนึกบัตรผู้มีรายได้น้อยกว่า 10 ล้านใบเข้าระบบ หลังยกเลิกรถเมล์-รถไฟฟรี ต.ค.นี้

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลางปี 2560 จะนำระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมใช้กับรถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส แอร์พอร์ตลิงก์ สีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) สีน้ำเงิน รวมถึงรถเมล์ ขสมก. และร้านค้าสะดวกซื้อหลังจากติดตั้งระบบเสร็จเดือน ก.พ.-เม.ย. และทดสอบระบบเดือน พ.ค.-มิ.ย.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"บัตรแมงมุมช่วงแรกยังเป็นแค่ระบบตั๋วต่อเพื่อให้สะดวกในการเดินทางหลายระบบด้วยตั๋วใบเดียว โดยอัตราค่าโดยสาร และอัตราค่าแรกเข้าแต่ละสายยังคงราคาเดิม ทั้งนี้ จะเจรจากับผู้ประกอบการสำหรับการมอบส่วนลด จะมีประชุมหารือกับผู้ประกอบการรถไฟฟ้า 4 สายเรื่องปรับปรุงระบบให้รองรับกับบัตรแมงมุมในช่วงต้นเดือน ก.พ.นี้ ส่วนการใช้ระบบตั๋วร่วมกับทางด่วน มอเตอร์เวย์ เรือโดยสาร จะเริ่มเดือน ธ.ค.นี้"

สำหรับการใช้บัตรแมงมุมกับรถโดยสารของ ขสมก. ระยะแรกจะนำมาใช้กับรถเมล์จำนวนกว่า 2,600 คัน ทั้งรถเดิม และรถที่จัดซื้อใหม่ โดย ขสมก.จะติดตั้งระบบ e-Ticket ในรถโดยสารจะรองรับบัตรแมงมุมได้ด้วย ขณะนี้ ขสมก.อยู่ระหว่างประกวดราคาหาเอกชนติดตั้งระบบ คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างเดือน มี.ค. เริ่มทยอยติดตั้งและทดสอบระบบในเดือน เม.ย.-มิ.ย.นี้



"ปีแรกคาดว่าจะมีผู้ใช้บัตรแมงมุม 20-30% หรือ 5-6 แสนเที่ยวคนของจำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสารและรถไฟฟ้ากว่า 1 ล้านเที่ยวคน/วัน" นายเผด็จกล่าวและว่า นอกจากนี้ ระบบตั๋วแมงมุมยังบูรณาการร่วมกับผู้ถือบัตรสวัสดิการ หรือบัตรผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลังในส่วนพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล สามารถใช้เป็นบัตรเดินทางคล้ายกับบัตรแมงมุมได้ด้วย ซึ่งในบัตรจะฝังชิปบัตรแมงมุมไว้พร้อมมีวงเงินให้ในการเดินทาง ซึ่งกระทรวงการคลังตั้งเป้าออกบัตรสวัสดิการเดือน ต.ค.นี้กว่า 10 ล้านใบ จะรองรับการยกเลิกนโยบายรถเมล์และรถไฟฟรี โดยผู้ถือบัตรดังกล่าวสามารถใช้กับระบบ e-Ticket รถเมล์ได้

ส่วนที่ใช้ร่วมกับรถไฟกำลังหารือวิธีการใช้ ทั้งติดตั้งเครื่อง e-Ticket ในห้องจำหน่ายตั๋ว 200 สถานี ใช้หางตั๋วขึ้นเงิน หรือ จัดทำบัตรขึ้นรถไฟฟรี ซึ่งปัจจุบันรถเมล์และรถไฟฟรีจะหมดเขตเดือน เม.ย.นี้ แต่อาจจะมีการขยายเวลาให้สอดคล้องกับการออกบัตรสวัสดิการจะแล้วเสร็จเดือน ต.ค.นี้

ด้านความคืบหน้าหน่วยงานบริหารจัดการตั๋วร่วม (CTC) มอบให้ สนข., การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และธนาคารกรุงไทย เป็นผู้บริหารจัดการจนกว่าจะจัดตั้งบริษัท ตั๋วร่วม จำกัด มีรัฐและเอกชนถือหุ้นร่วมกันจะแล้วเสร็จ ซึ่งอยู่ระหว่างรอร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม จะเสนอ คณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเดือน ก.พ.นี้ จะให้อำนาจหน่วยงานที่กำกับดูแลตั๋วร่วม กำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมตั๋ว และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

"การให้เอกชนร่วมลงทุนในบริษัท CTC อยู่ระหว่างหารือเอกชนมาลงทุนแบบ PPP Fast Track จะใช้เวลา 9 เดือน แต่ยังไม่มีข้อสรุปเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง และการลงทุนอาจจะไม่ได้กำไรเพราะเป็นการบริการสาธารณะ" นายเผด็จกล่าวและว่าบริษัทกลางที่เอกชนร่วมลงทุนจะใช้เงินทุนเริ่มต้น 600 ล้านบาท ดูเรื่องการจัดการค่าใช้บริการแต่ละระบบ ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บเงิน แบ่งสรรเงินให้กับระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ จะมีรายได้จากการคิดค่าฟี โดยรัฐจะให้สัมปทาน 15-20 ปี ส่วนกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้ควบคุมค่าฟีจะไม่ให้เกิน 1.5% ของค่าขนส่ง และกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารจะมี 4 รูปแบบ คือ 1.คิดอัตราเดียว เช่น 20 บาท 30 บาท 40 บาท 2.เก็บตามระยะทาง โดยคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว 3.เก็บตามระยะทาง ลดค่าแรกเข้าครั้งที่ 2 เช่น 10-30% อยู่ที่นโยบายรัฐบาล และ 4.คิดตามโซนพื้นที่

ส่วนค่าโดยสารร่วมอาจจะเป็นเรื่องยากเพราะยังติดสัญญาของผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้ารายเดิมในเรื่องการคำนวณรายได้หากจะใช้ค่าโดยสารร่วมกันต้องแก้สัญญาใหม่และรัฐจะต้องซัพพอร์ตบางส่วนให้ แต่หากเป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ต่อไปจะระบุไว้ในสัญญาสัมปทานว่าทุกสายทางต้องเข้าระบบตั๋วร่วม เช่น สายสีน้ำเงินต่อขยาย สีเขียวต่อขยาย สีชมพู และสีเหลือง

นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า จะเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยวันที่ 3-30 เม.ย.นี้อีกรอบ จากก่อนหน้านี้มีผู้ลงทะเบียนไปแล้ว 8 ล้านคน จากทั่วประเทศ 14 ล้านคน ซึ่งผู้ลงทะเบียนจะได้รับบัตรสวัสดิการเพื่อรับมาตรการช่วยค่าครองชีพ เช่น รถไฟฟ้าฟรี นอกเหนือจากรถเมล์และรถไฟฟรี


Last edited by Wisarut on 20/02/2017 6:40 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2017 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ รฟม. ชุด โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี


https://www.youtube.com/watch?v=p21Tk16Ihhs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2017 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

[url=http://www.thaipost.net/?q=ปี60ลุยตอกหมุดรถไฟฟ้า10สาย]ปี 60 ลุยตอกหมุดรถไฟฟ้า 10 สาย[/url]
ไทยโพสต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเร่งเดินหน้าโครงข่ายรถไฟฟ้าระยะแรก 10 สายทางให้แล้วเสร็จ เพื่อหวังที่จะแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อลดความสูญเสียพลังงานมูลค่าหลายหมื่นล้านต่อปี ล่าสุด นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้กำชับให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เร่งผลักดันรถไฟฟ้าเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ครบ 10 สาย ภายในปี 2560 หลังจากที่ได้อนุมัติไปแล้ว 5 เส้นทาง เหลือ 5 เส้นทาง ทุกอย่างต้องเร่งให้ได้ตามแผน เพราะการลงทุนรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ช้ามาเป็น 10 ปีแล้ว

พร้อมทั้งยังได้ให้ รฟม.เร่งลงทุนรถไฟฟ้าในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างน้อย 2 เส้นทาง เช่น จ.เชียงใหม่ หรือ จ.ภูเก็ต เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการจราจรเช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) หรือรัฐลงทุนเองทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม สำหรับรถไฟฟ้า 5 เส้นทางที่รอเข้า ครม.นั้น ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะเสนอเข้า ครม.ได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 สายสีเขียว (ใต้) ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และ สายสีเขียว (เหนือ) ช่วงคูคต-ลำลูกกา ซึ่งใน 4 เส้นทางหลังนี้อยู่ระหว่างขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะสามารถเสนอให้ ครม.อนุมัติภายในครึ่งปีแรกของปี 2560 นี้ และเมื่อผ่าน ครม.และประมูลแล้วจะใช้เวลาก่อสร้าง 5-6 ปี

อย่างไรก็ตาม นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์ และแผน) รฟม.กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ขณะนี้ รฟม.ได้เร่งรัดทุกโครงการ เพราะว่าทุกโครงการเป็นเป้าหมายของตามแผนแอคชั่นแพลนปี 59 ก็ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันก็เป็นแผนปี 60 ก็คือโครงการที่จะอนุมัติในปี 60 รวมทั้งโครงการที่จะดำเนินการในต่างจังหวัด 2 โครงการรวมอยู่ด้วย นี่คือเป้าหมายของเรา

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าขณะนี้ เริ่มจาก รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพงบางแคและบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งการก่อสร้างงานโยธาขณะนี้มีความก้าวหน้า 89.16% จากแผนงาน 89.42% ถือว่าล่าช้าเล็กน้อย โดยเฉพาะในช่วงท่าพระ-เตาปูน 10.5 กม. จะเสร็จเดือน ธ.ค.60 ซึ่งล่าช้าเนื่องจากมีการปรับการใช้พื้นที่ร่วมกับกรุงเทพมหานครในช่วงอุโมงค์แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ และหลังจากที่แล้วเสร็จก็จเริ่มงานวางระบบราง

ส่วนการเดินรถนั้นขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และอัยการพิจารณาร่างสัญญา คาดว่าจะส่งมายังคมนาคมเพื่อเสนอ ครม. และลงนามสัญญา กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลได้ในเดือน มี.ค.60

ส่วน สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ งานโยธาแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนหน้านี้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติให้เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่งสมุทรปราการ จำนวน 1 ช่วงสถานีในวันที่ 1 มี.ค.ตามเดิม คือ จากสถานีแบริ่ง-สำโรง คาดว่าขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างเชื่อมต่อระบบอยู่

แต่ต้องอยู่ภายในเงื่อนไขว่า กรุงเทพมหานครต้องรับโอนหนี้สินและทรัพย์สิน ซึ่งที่ผ่านมา กทม.ได้มีการรับหลักการ และต้องสรุปก่อนที่จะมีการเดินรถ โดยเบื้องต้นมีหนี้จำนวน 3,500 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมี สายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง งานโยธาคืบหน้าแล้ว 20% คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเพราะการก่อสร้างเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง

ต่อมาคือ สายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 23 กม. ซึ่งเมื่อวันที่ 9 ก.พ.60 ที่ผ่านมา รฟม.ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธากับผู้รับเหมา 6 สัญญา วงเงิน 79,221 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดเริ่มก่อสร้างงานโยธาในเดือน มิ.ย.60 และกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ม.ค.66 อย่างไรก็ตาม รฟม.จะเร่งรัดเข้าพื้นที่และเวนคืนพื้นที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจ คาดว่าเดือน มิ.ย.จะสามารถลงพื้นที่ได้ คาดว่าจะใช้เวลาในการรื้อย้ายประมาณ 1 ปี

อย่างไรก็ตาม โครงการสายสีส้ม (ตะวันออก) ยอมรับว่ามีปัญหา เพราะต้องเลาะไปตามถนนยกระดับรามคำแหง โดยการสร้างอุโมงค์ใต้แนวทางยกระดับ ซึ่งมีเสาเข็ม มีฐานรากตลอดแนว และต้องมีสถานีอยู่ใต้ฐานราก ดังนั้นต้องใช้วิธีการก่อสร้างที่เป็นลักษณะพิเศษ ลักษณะคล้ายกับสถานีสีลม คือต้องเสริมความแข็งแรงของฐานรากให้ได้ก่อนที่จะมีการลงเสาเข็ม ซึ่งจะใช้เวลาลงเวลา 2 ปี ต่อ 1 เสาเข็ม ประเด็นอยู่ที่พื้นด้านล่าง แม้ว่าจะมีการสำรวจแล้ว แต่เมื่อขุดลงไปเราไม่รู้จะเจออะไรบ้าง

ส่วน สายสีส้มตะวันตก ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ได้อนุมัติให้ดำเนินตามแผนแม่บท โดยปรับลดเส้นทางลง 2 สถานี ทำให้ลดวงเงินลงทุนลงได้ประมาณ 7 พันล้านบาท เป็นเส้นทางบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ จากเดิมเส้นทางตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ทำให้วงเงินค่าโยธาอยู่ที่ 90,271 ล้านบาท เพราะไม่ต้องการลงทุนทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอให้กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุม ครม.ได้ไม่เกินเดือน เม.ย.60 และน่าจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการเปิดประมูลในเดือน ก.ค.60 จากนั้นจะเซ็นสัญญาราวปลายปี 60 หรือต้นปี 61 และจะเปิดเดินรถปลายปี 66

ส่วนงานเดินรถของสายสีส้มนั้นจะต้องหาผู้รับสัมปทานทั้งสายเลย จะไม่ทำเป็นช่วงๆ แบบสายสีม่วง เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาแบบนั้นอีก เพราะอย่างนั้นการจ้างเดินรถหรือทำสัญญาสัปทานเดินรถจะทำทั้งสายเลย เนื่องจากเป็น PPP ก็ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ตาม พ.ร.บ.ปี 56

0 เจรจาขยายเส้นทางสายสีชมพู-เหลือง

นายธีรพันธ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และ สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการตามมาตรา 35 พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุน ปี 2556 นั้นขณะอยู่ระหว่างการเจรจากับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท BTS Group บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งฯ หรือ RATCH และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งฯ หรือ STEC ที่ชนะการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทาง

โดยขอขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อเข้าเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. และสายสีเหลืองขอขยายเส้นทางจากเดิมสิ้นสุดที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ให้สามารถเชื่อมต่อสถานีลาดพร้าว รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เลี้ยวขวาไปถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. เพิ่มอีก 2 สถานี เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรัชโยธิน รถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อให้การเดินทางเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ พยายามพิจารณาให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นจะส่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาตรวจร่างสัญญา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบลงนามสัญญาทั้ง 2 เส้นทาง ในเดือน เม.ย.60 ตามที่ตั้งเป้าไว้ และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 60 เช่นกัน

ส่วน สายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ รวมวงเงินทั้งสิ้น 297,500 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน ก.ค.นี้ และเริ่มก่อสร้างได้ตามแผนในช่วงต้นปี 2561 และ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างรอ สศช.เห็นชอบ จากนั้นกระทรวงคมนาคมจะนำเสนอ ครม. คาดว่าจะคัดเลือกผู้รับเหมาได้ในปลายปี 60 ส่วนรูปแบบการก่อสร้างนั้นจะเป็นแบบใต้ดิน

เช่นเดียวกับ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร ที่รอ สศช.เห็นชอบ ก่อนที่กระทรวงคมนาคมจะเสนอ ครม.อนุมัติก่อสร้าง รวมไปถึง สายสีเขียวส่วนต่อขยายสีเขียวใต้ สมุทรปราการ-บางปู และต่อขยายสีเขียวเหนือ คูคต-ลำลูกกา คลองหก ขณะนี้ส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนนำเสนอ ครม.

0 นำร่องพัฒนารถไฟฟ้าภูเก็ต-เชียงใหม่

นายธีรพันธ์กล่าวว่า ตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่มอบนโยบายให้สร้างรถไฟฟ้าให้ได้ภายในปีนี้โดยเน้นจังหวัดใหญ่ เช่น ภูเก็ตและเชียงใหม่ที่มีการจราจรหนาแน่น กระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสม และให้ รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะต้องอนุมัติโครงการให้ได้อย่างน้อย 2 จังหวัด ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นให้พิจารณาความเหมาะสม กรณีที่จังหวัดมีกำลังดำเนินการเองได้ ให้เปิดร่วมทุนกับเอกชน (PPP) แต่หากไม่มีกำลังรัฐบาลจะเข้าไปทำเอง

สำหรับผลการศึกษารายละเอียดโครงการที่จังหวัดภูเก็ตจะได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ.2560 โดยจะใช้งบประมาณลงทุนก่อสร้าง 28,000 ล้านบาท ในระยะทาง 43 กิโลเมตร 20 สถานี โดยจะเริ่มจากต้นสายในเมืองภูเก็ต-สนามบินภูเก็ต ซึ่งที่ผ่านมาในการลงพื้นที่ประชาชนบางส่วนยังมีความกังวลเรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากการให้บริการใช้นั้น เป็นลักษณะวิ่งร่วมบนถนน โดยหากมีจุดกลับหรือจุดทางแยก ซึ่งผลการศึกษาก็ได้ระบุรายละเอียดชัดว่ามีความปลอดภัย

0 MOU เชื่อม 1 สถานีเตาปูน-บางซื่อ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รฟม.และ BEM ได้ร่วมลงนามสัญญาว่าจ้างติดตั้งระบบรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ช่วงสถานีเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กิโลเมตร วงเงิน 918 ล้านบาท หลังจากที่ ครม.ได้เห็นชอบการดำเนินการจัดจ้าง ซึ่ง รฟม.จะเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถเชื่อมต่อให้บริการประชาชนให้ได้ในเดือนสิงหาคม 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2017 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม'เดินหน้าลงทุนปีนี้กว่า 8 แสนล้านบาท
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560, 16:18

"รมว.คมนาคม" เตรียมเดินหน้าลงทุนปีนี้กว่า 800,000 ล้านบาท คาด "บัตรแมงมุม" พร้อมใช้เป็นกลางปีนี้ ชี้ถือใบเดียวใช้รถไฟฟ้าได้ 4 สาย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในปีนี้กระทรวงคมนาคมจะเดินหน้าแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2560 (Action Plan) จำนวน 36 โครงการ วงเงินลงทุน 895,757.55 ล้านบาท ประกอบด้วยรถไฟทางคู่ 10 เส้นทาง เช่น หัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร – สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี – สงขลา หาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ ชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี บ้านไผ่ – นครพนม เป็นต้น วงเงิน 408,616 ล้านบาท รถไฟชานเมือง 2 เส้นทาง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มธ.รังสิต และสายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราชและ ตลิ่งชัน – ศาลายา วงเงิน 26,639 ล้านบาท รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 6 เส้นทาง วงเงิน 221,148 ล้านบาท ทางหลวงพิเศษ และทางพิเศษ 5 เส้นทาง เช่น สายนครปฐม – ชะอำ สายหาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลเซีย สายพระราม 3 – ดาวคะนอง เป็นต้น วงเงินรวม 167,222 ล้านบาท สิ่งอำนวยความสะดวกทางถนน 5 โครงการ วงเงิน 21,473 ล้านบาท ระบบบริหารจัดการการขนส่งสาธารณะ 2 โครงการ คือ การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 200 คัน พร้อมสถานีประจุไฟฟ้า วงเงินรวม 3,627 ล้านบาท การขนส่งทางน้ำ 3 โครงการ วงเงินรวม 36,081 ล้านบาท และการขนส่งทางอากาศ 3 โครงการ วงเงินรวม 10,949 ล้านบาท

ขณะที่ความคืบหน้าการใช้ระบบตั๋วร่วม หรือ “บัตรแมงมุม” กับระบบขนส่งมวลชนขณะนี้อยู่ระหว่างจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company : CTC) ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน ( PPP) โดยต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พร้อมกับเจรจาระบบการบริหารจัดการรายได้ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย MRT BTS และรถไฟฟ้าแอร์ พอร์ตเรียลลิ้ง รวมถึงงบประมาณในการดำเนินการติดตั้งระบบ รูปแบบการลงทุนและการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม ซึ่งจะให้เอกชนเข้ามาลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่าภาครัฐ

ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนมีนาคมนี้ โดย “บัตรแมงมุม” จะเริ่มใช้รูปแบบ Common Ticket กับรถไฟฟ้า 4 สาย คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ได้ภายในกลางปี 2560 ขณะที่ตั๋วร่วม รูปแบบ Common Fair ซึ่งจะมีค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวจะต้องมีกฎหมายกลางดูแลในเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสารและอัตราค่าแรกเข้าในแต่ละสาย ซึ่งอยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. … ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ดังนั้นในกลางปี 2560 จะเป็นการเชื่อมตั๋วให้เป็นใบเดียวกันก่อน ซึ่งขณะนี้ระบบมีความสมบูรณ์มากกว่าร้อยละ 90 แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2017 7:23 am    Post subject: Reply with quote

"ตั๋วร่วม" รถไฟฟ้า-รถเมล์ใกล้ถึงฝั่งฝัน ขสมก.ได้ฤกษ์ประมูลอี-อ็อกชั่น เม.ย.นี้
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 27 ก.พ. 2560 05:45

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ขสมก.เตรียมเดินหน้าการเชื่อมต่อระบบโดยสารเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ซึ่งขณะนี้เตรียมเปิดประมูลโครงการเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์บนรถโดยสารประจำทาง 2,600 คัน สัมปทาน 5 ปี วงเงิน 1,786.59 ล้านบาท โดยจะเปิดประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-อ็อกชั่น ภายในเดือน เม.ย.นี้

ทั้งนี้ในเบื้องต้นมีผู้สนใจซื้อแบบเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์จำนวน 37 ราย และคาดว่าจะได้ตัวผู้ดำเนินการและลงนามสัญญาได้ในเดือน พ.ค.2560 จากนั้นเอกชนจะใช้เวลาติดตั้งประมาณ 3-4 เดือนเพื่อให้สามารถใช้ตั๋วร่วมในรถเมล์โดยสารได้ภายในเดือน ก.ย.ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม อย่างไรก็ตาม จะติดตั้งในรถโดยสารลอตแรกจำนวน 700-800 คันเพื่อนำมาใช้ก่อน โดยเน้นรถเมล์ไม่ปรับอากาศเป็นหลัก (รถร้อน)

"ตั๋วร่วมจะผลิตลอตแรกประมาณ 7 ล้านใบ เพื่อเริ่มเปิดให้บริการในเดือน มิ.ย. เชื่อมต่อระบบรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-แบริ่ง) และแอร์พอร์ตลิงค์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) จากนั้นในเดือน ก.ย. จะสามารถใช้กับรถโดยสารสาธารณะของ ขสมก. ก่อนเริ่มใช้กับทางด่วนของการทางพิเศษและมอเตอร์เวย์สาย 7 กรุงเทพฯ-ชลบุรี ในปี 2561"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2017 7:56 am    Post subject: Reply with quote

จะเอาแบบ เครือข่ายบรถไฟฟ้า กรุงปารีส หรือเครือข่ายโตเกียสดี
http://www.citymetric.com/transport/paris-vs-tokyo-two-different-models-express-commuter-rail-stopping-patterns-2834
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 147, 148, 149 ... 277, 278, 279  Next
Page 148 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©