Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179953
ทั้งหมด:13491185
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 172, 173, 174 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/01/2018 7:34 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเสนอสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
NewTV18 24 ม.ค. 2018 10:26 น.

คมนาคมรอเสนอ คจร.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี มี.ค.นี้

กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เตรียมแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ภายในเดือน มี.ค.นี้ โดยที่ประชุมเห็นชอบแนวทางเลือกที่ 4 พัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้า และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ที่ส่วนใหญ่ต้องการให้สร้างทั้งสองแบบ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ และเชื่อมต่อการเดินทาง ระหว่างทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ของกรุงเทพมหานครและการเชื่อมต่อทางด่วนศรีรัช-โทลล์เวย์-ฉลองรัช เข้าด้วยกันอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2018 8:40 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสีน้ำตาลเอื้อบิ๊กอสังหา
โพสต์ทูเดย์ 26 มกราคม 2561 เวลา 08:31 น.

นักวิจัยอสังหาฯ ชี้รัฐเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล หนุนกลุ่มทีซีซี ย่านเกษตรนวมินทร์ พลิกหน้าดิน 200 ไร่ แถมดันราคาพุ่ง

นายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลผลักดันให้เกิดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจากแครายถึงบริเวณแยกลำสาลีนั้นจะเอื้อให้เกิดการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะที่ดินแปลงให้ของกลุ่มทีซีซีของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มีอยู่กว่า 200 ไร่ บริเวณเกษตรนว มินทร์ รวมไปถึงที่ของกลุ่มบริษัท เค.อี.แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการซีดีซีจะได้ผลรับอานิสงส์ตามไปด้วย เนื่องจากจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสาย สีเทาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นกัน

"ราคาที่ดินในย่านเกษตรนวมินทร์ในปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 2-5 แสนบาท/ตร.ว. แต่หลังจากโครงการไฟฟ้าเส้นทางดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้นจะดันราคาที่ดินพุ่งเกิน 5 แสนบาท/ตร.ว. อย่างแน่นอน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีโครงการหมู่บ้านจัดสรร รวมไปถึงโครงการคอนโดมิเนียมหลายรายได้เข้าไปพัฒนาหลายโครงการ แต่เชื่อว่าจะเห็นความชัดเจนของที่ดินแปลงของกลุ่มทีซีซีจะถูกนำมาพัฒนา" นายสุรเชษฐ กล่าวแหล่งข่าวจากวงการอสังหาฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ อสังหาฯ โดยเฉพาะรายใหญ่อย่างกลุ่มทีซีซีต้องการผลักดันให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเกิดขึ้น เนื่องจากจะทำให้การคมนาคมในบริเวณดังกล่าวสะดวกขึ้นสามารถขึ้นโครงการโดยเฉพาะ คอนโดได้มากขึ้นด้วย"การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีแผนจะก่อสร้างทางด่วน โดยมีการก่อสร้างตอม่อไว้รอการก่อสร้างแต่ได้ถูกคัดค้านจากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ต้องมีการปรับแบบการก่อสร้างใหม่ที่จะต้องทำร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล" แหล่งข่าวเปิดเผยทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี ต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ภายในเดือน มี.ค.นี้ ภายหลังได้ประชุมคณะกรรมการร่วมกันหลายภาคส่วนรวมทั้งสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดยที่ประชุมเห็นชอบแนวทางพัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้าและระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการจราจรถนนเกษตร-นวมินทร์ และเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ และการเชื่อมต่อทางด่วนศรีรัช-โทลล์เวย์-ฉลองรัช เข้าด้วยกันด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2018 8:23 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายใหม่'สีน้ำตาล' แถมด่วนแคราย-ลำสาลี
เดลินิวส์ อังคารที่ 30 มกราคม 2561 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้มีรถไฟฟ้าสายใหม่ “สีน้ำตาล” ช่วงแคราย-ลำสำลี แล้วยังมีทางด่วนแถมพ่วงด้วย ถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของไทยที่จะใช้โครงสร้างเดียวกับทางด่วน ไปติดตามกัน

รัฐบาลเร่งก่อสร้าง “รถไฟฟ้าหลากสี” รวม 10 สาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลระยะทางรวมกว่า 400 กม. ให้แล้วเสร็จตามแผนในปี 65 หวังโกยผู้โดยสารทะลักกว่า 5 ล้านคนต่อวัน จากปัจจุบันที่มีประมาณล้านกว่าคน เพราะระบบรถไฟฟ้ายังไม่คลอบคลุม

ที่จะลงพื้นที่อีกเร็วๆ นี้ก็คือ 3 สีน้องใหม่ ทั้งสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงมีนบุรี-แคราย และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ล้วนใช้พื้นที่ถนนสายหลักก่อสร้างทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสายสีส้มตะวันออก ที่จะยึดถนนรามคำแหง และพระราม9 สายสีเหลืองใช้ถนนลาดพร้าวเป็นหลัก และสายสีชมพูถนนรามอินทราและถนนแจ้งวัฒนะ

เรียกว่า “ขุดกันพรุน” รถติดกันวุ่นหนักแน่ๆ เตรียมตัวเตรียมใจไว้ได้เลย พร้อมคาถาไว้ท่อง...เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า...

นอกจากนี้ยังมีข่าวดีเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายใหม่นั่นก็คือ “สายสีน้ำตาล” ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่ไม่ได้มีแค่รถไฟฟ้าอย่างเดียว แต่มีทางด่วนแถมพ่วงมาด้วย น่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของไทยที่จะใช้โครงสร้างเดียวกับทางด่วน



เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมหลายภาคส่วน มี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นแม่งาน ได้เห็นชอบแนวทางเลือกที่ 4 ในการพัฒนาโครงการด้วยระบบรถไฟฟ้าและระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน สอดคล้องกับเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนไม่นานมานี้...

ส่วนใหญ่ต้องการให้สร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนเพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนถนนเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ รวมทั้งเชื่อมทางด่วนศรีรัช ด่วนโทลล์เวย์และด่วนฉลองรัชด้วย เตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาเห็นชอบภายในต้นเดือน มี.ค.นี้

สำหรับปัญหาการคัดค้านจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ที่ไม่ต้องการให้ทางด่วนผ่านหน้ามหาวิทยาลัย เพราะบดบังทัศนียภาพรวมทั้งห่วงผลกระทบหลายด้านนั้น ได้ข้อยุติเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1.สร้างอุโมงค์ให้รถยนต์วิ่งลอดใต้ดิน แล้วรถไฟฟ้าและทางด่วนสร้างบนดินผ่านถนนงามวงศ์วาน ช่วงหน้า ม.เกษตร แต่ค่าก่อสร้างสูงลิบลิ่วและทำได้ยาก

2.สร้างรถไฟฟ้าและทางด่วนอ้อมหลัง ม.เกษตร ไปเชื่อมทางด่วนโทลเวย์ ทางด่วนศรีรัช- วงแหวนรอบนอกฯ โดยใช้แนวถนนเกษตร-นวมินทร์ที่มีเสาตอม่อทางด่วนสร้างทิ้งไว้แล้ว ไม่ผ่านถนนงามวงศ์วานหน้า ม.เกษตร เลี่ยงเข้าถนนพหลโยธิน เข้าซอยบางบัวทะลุถนนวิภาวดีเชื่อมทางด่วนโทลเวย์กับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ โดยแนวทางที่ 2 มีความเป็นไปได้ที่สุด จะส่งรายละเอียดโครงการให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไปออกแบบก่อสร้าง



สำหรับเรื่องการลงทุน หาก คจร. เห็นชอบจะส่งต่อให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปศึกษาความคุ้มค่าของโครงการอาจใช้รูปให้เอกชนร่วมลงทุน ถือว่าจูงใจได้เพราะมีความคุ้มค่าอย่างมาก ทั้งรายได้และปริมาณผู้โดยสาร หากเปรียบเทียบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 6 สาย

เริ่มจากแยกแคราย เชื่อมสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) และสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน เชื่อมสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่สถานีบางเขน ผ่านแยกเกษตร เชื่อมสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) ที่สถานี ม.เกษตรศาสตร์ แล้วไปตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ (ประเสริฐมนูกิจ) ถนนนวมินทร์และสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง เชื่อมสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) บริเวณแยกลำสาลี

ที่สำคัญยังเชื่อมทางด่วนถึง 3 สายทั้ง ด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ที่ต่อกับทางด่วนศรีรัชหรือทางด่วนขั้นที่ 2 ทางด่วนโทลล์เวย์ ด่วนฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) รวมทั้งถนนวงแหวนตะวันออก หรือมอเตอร์เวย์บางปะอิน-บางนา และมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรีได้ด้วย



สแกนแนวเส้นทาง “รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล” ระยะทางรวม 21.5 กม. มี 22 สถานี ประกอบด้วย 1.ศูนย์ราชการนนทบุรี ตรงข้ามไทยคม 2.งามวงศ์วานใกล้ ซ.งามวงศ์วาน 3 3.บัวขวัญ ตรงชุมชนวัดบัวขวัญ 4.แยกพงษ์เพชร 5.ชินเขต หน้า ซ.งามวงศ์วาน 43 6.บางเขน หน้าเรือนจำคลองเปรม 7.คุณหญิงอิศรา หน้า ม.เกษตรฯ 8.เกษตร ทางแยก 9.กรมยุทธโยธาทหารบก 10.ลาดปลาเค้า 39 11.ประเสริฐมนูกิจ 25 12.เสนานิเวศน์ 13.สตรีวิทยา 2

14.ประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณจุดตัดทางด่วน 15.คลองลำเจียก จุดตัด ถ.ลำเจียก16.รามอินทรา-นวมินทร์ จุดตัดนวมินทร์ 17.นวลจันทร์ แยกซอยนวลจันทร์ 11 18.โพธิ์แก้ว บน ถ.นวมินทร์ตัด ถ.โพธิ์แก้ว 19.นวมินทร์ 73 20.แฮปปี้แลนด์ จุดตัดนวมินทร์กับแฮปปี้แลนด์ 21.การเคหะแห่งชาติ และ 22.ลำสาลี บริเวณแยกลำสาลี

อย่างไรก็ตามแผนงานที่ กทพ. ประกาศสร้างทางด่วนสายใหม่ช่วงแยกเกษตรศาสตร์-แยกนวมินทร์ ยาว10 กม. ด้วยการปัดฝุ่นตอม่อที่ปักรอไว้แล้วรับคนใช้รถยนต์ ต้องชะลอออกไปก่อน อดใจรอปรับแบบใหม่รับ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล” ระบบขนส่งมวลชนด้วย
….........................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2018 8:33 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดตทุกโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ เมื่อไรจะมาหานะเธอ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 30 ม.ค. 2561 07:00

"ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีโครงการทั้งหมด 10 สาย รวมทั้งบนถนนสายหลักทั้ง พหลโยธิน ลาดพร้าว และรามคำแหง...

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ถนนสายสำคัญในกรุงเทพฯ บางสายอยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ รวมทั้งถนนพหลโยธิน ลาดพร้าว และรามคำแหง เป็นต้น ซึ่งย่อมส่งผลต่อการจราจร แต่เพื่ออนาคตเมื่อรถไฟฟ้ากำลังก่อสร้างเปิดให้บริการ คาดว่าสภาพการจราจรจะดีขึ้น และมีทางเลือกให้ประชาชน

ทั้งนี้ สามารถอัพเดตสถานะโครงการ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ 2 หน่วยงานหลัก คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. โดยนับเพียงโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. และเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมประมูลได้ดังนี้

1. โครงการกำลังก่อสร้าง จำนวน 6 โครงการ

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และเตาปูน-ท่าพระ ความก้าวหน้าการก่อสร้าง 97.52% ช่วงหัวลำโพง-บางแค กำหนดเปิดให้บริการปี 2562 ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เปิดให้บริการปี 2563 ทั้งนี้ หลังการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จจะดำเนินงานติดตั้งระบบงานรถไฟฟ้าในขั้นตอนต่อไป

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีความคืบหน้า 100% กำหนดเปิดให้บริการปี 2561 อยู่ระหว่างดำเนินงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้า โดยสถานีสำโรงเปิดให้บริการแล้ว

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีความคืบหน้า 53.31% โดยกำหนดเปิดให้บริการปี 2563 อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา

4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี คืบหน้า 4.66% ซึ่งกำหนดเปิดให้บริการปี 2566 อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา

5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยรวมมีความคืบหน้ามากกว่า 55% กำหนดเปิดให้บริการตามเดิมคือ ปี 2563

6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนติดตั้งระบบไฟฟ้า ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมกับช่วงบางซื่อ-รังสิต กำหนดเปิดบริการปี 2563

2. โครงการกำลังเตรียมก่อสร้าง โดยอยู่ระหว่างสำรวจและรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค จะเร่ิมก่อสร้างปี 2561 จำนวน 3 โครงการ

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-ตลิ่งชัน กำหนดเปิดให้บริการปี 2567

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

3. โครงการผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี เตรียมเปิดประมูลในปี 2561 จำนวน 1 โครงการ

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก).
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2018 11:30 am    Post subject: Reply with quote

ยกระบบแจ้งข่าว เตือนรถไฟฟ้าเสีย 5นาที ปชช.ต้องรู้
จันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.06 น.
คมนาคม กำชับ “บีทีเอส เอ็มอาร์ที แอร์พอร์ตลิ้งก์” รถไฟฟ้าเสีย ผู้โดยสารต้องรู้ภายใน5นาที อนาคตผุดแอพฯแจ้งเหตุระบบขนส่งมวลชนขัดข้อง ให้ปชช.สามารถร้องทุกข์ได้


นายสราวุธ  ทรงศิวิไล   ผู้ตรวจราชการประจำกระทรวงคมนาคม(คค.)    โฆษกกระทรวงคมนาคม  และผู้อำนวยการศูนย์ปลอดภัยคมนาคม   เปิดเผยว่า    เมื่อวันที่1ก.พ.ที่ผ่านมา   ได้เชิญการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)  บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)  หรือ บีอีเอ็ม  ผู้บริหารและเดินรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที    บริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด  ผู้เดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์   และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้เดินรถไฟฟ้าบีทีเอส   เข้าร่วมหารือเรื่องการรายงานสถานการณ์ การแก้ปัญหา แผนฉุกเฉิน เผชิญเหตุ ตลอดจนการแจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาขน สื่อมวลชน และผู้บริหารกระทรวงอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนชัดเจนกรณีรถไฟฟ้าขัดข้องซึ่งทำให้ผู้โดยสารตกค้างภายในสถานีจำนวนมาก
 
นายสราวุธ กล่าวต่อว่า    ที่ประชุม ได้วางมาตรการ แจ้งเหตุกรณีรถไฟฟ้าขัดข้องให้ผู้โดยสารและประชาชนทราบโดยใช้เวลาประเมินภายใน5นาที   จากนั้นนาทีที่ 6  ต้องประชาสัมพันธ์แจ้งผู้โดยสารและประชาชนทางสื่อโซเชียล เช่น  ทวิตเตอร์  (Twitter)  เฟซบุ๊ก(Facebook)   และ ไลน์  (Line)  รวมทั้งภายในสถานี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ    และแจ้งผู้โดยสารซ้ำภายในสถานี 1-2 นาที   ให้ผู้โดยสารวางแผนการเดินทาง    นอกจากนี้ยังให้ประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อมวลชนเพื่อแจ้งข่าวให้ผู้โดยสารที่กำลังเดินทางมายังสถานีเปลี่ยนเส้นทางได้ทันและต้องแจ้งความเคลื่อนไหวตลอดจนกว่าจะเปิดใช้บริการหรือแก้ไขได้  พร้อมรายงานศูนย์ปลอดภัยกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารทราบด้วย
 
นายสราวุธ  กล่าวต่อว่า   กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินถึงเหตุร้ายถึงขั้นต้องอพยพผู้โดยสารต้องประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)จัดรถชัตเติ้ลบัสรับส่งผู้โดยสารของรถไฟฟ้าทุกระบบรวม 77 สถานี   แยกเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอส 35 สถานี เอ็มอาร์ที   34 สถานี และแอร์พอร์ตลิ้งก์  8 สถานี   เบื้องต้นได้สั่งการให้ขสมก.สำรวจเส้นทางรถไฟฟ้า จุดขึ้นลง สถานีรถไฟฟ้าทุกสาย พร้อมประสานบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)  หรือทอท.จัดรถชัตเติ้ลบัสรับผู้โดยสารจากแอร์พอร์ตลิ้งก์    ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ให้จัดพื้นที่จอดรถแท็กซี่โอเคและหามาตรการป้องกันการฉวยโอกาสเรียกเก็บค่าโดยสารรถแท็กซี่และรถจักรยานยนต์(จยย.) สูงกว่าที่กำหนด  ทั้งนี้ในนอนาคตกระทรวงฯจะจัดทำแอพพลิเคชั่นแจ้งเตือนเหตุขัดข้องรถไฟฟ้าทุกสายให้ประชาชนตรวจสอบและร้องเรียนปัญหาการให้บริการได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2018 1:45 pm    Post subject: Reply with quote

ดัชนีราคาที่ดินปี'60 ขยับแรงแนวรถไฟฟ้า
06 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 06:13 น. https://www.posttoday.com/property/news/539216
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2018 1:52 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

โดย...โชคชัย สีนิลแท้

ความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (2555-2560) จะเห็นได้ว่ามีการปรับขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาโครงการ

วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า ได้จัดทำดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ณ ไตรมาส 4 ปี 2560 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม โดยกำหนดให้ปี 2555 เป็นปีฐานและจัดทำดัชนีเป็นรายไตรมาส

การศึกษาของศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ จะใช้ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ของกรมที่ดินโดยเลือกเฉพาะที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ที่มีขนาดที่ดินตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป และใช้ข้อมูลเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ผู้โอนหรือผู้รับโอนที่เป็น "นิติบุคคล" เท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นราคาซื้อขายจริง ซึ่งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายหรือรายได้ให้ถูกต้องเพื่อสามารถคำนวณภาษี และค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้อย่างถูกต้อง ส่วนข้อมูลที่ผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์เป็น "บุคคลธรรมดา" ไม่นำมาคำนวณค่าดัชนี เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นราคาที่ผู้โอนอาจแจ้งต่ำกว่าราคาที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ในการลดภาระค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำหรับการคำนวณค่าดัชนีใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Chain Laspeyres โดยราคาที่ดินเปล่าที่นำมาคำนวณคือ ราคาเฉลี่ยต่อตารางวา ซึ่งถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ตั้งแต่ปี 2555-2559 โดยปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ได้แก่ 1.ปัจจัยทำเลที่ตั้งของที่ดิน 2.ปัจจัยแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ 3.ปัจจัยเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนผ่าน โดยค่าดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา

ทั้งนี้ ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2560 มีค่าดัชนีเท่ากับ 165.6 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 65.6% เมื่อเทียบกับปีฐาน (ปี 2555 = 100) และปรับเพิ่มขึ้น 13.2% เมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 146.3 จุด ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา มีการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2556 คือ ปรับเพิ่มขึ้น 14.9% ส่วนในปี 2559 มีการปรับเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ปรับเพิ่มขึ้น 4.6%

สำหรับไตรมาส 4 ปี 2560 ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 168.3 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2560 ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 166.5 จุด และปรับเพิ่มขึ้น12.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2559 ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 149.6 จุด ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนามีการปรับเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในไตรมาสแรกปี 2559 คือ ปรับเพิ่มขึ้น 2.7% และช่วงเวลาที่มีการ ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือไตรมาสแรก ปี 2557 โดยปรับเพิ่มขึ้น 19%

ด้านดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2555 โดยผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมปัจจัยแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีผลต่อราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ประมาณ 22.8% ส่วนภาพรวมปัจจัยเส้นทางรถไฟฟ้า มีผลต่อราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ประมาณ 24.6% หากมีข่าวสารเกี่ยวกับแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเกิดขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/02/2018 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

ฟื้นตอม่อ “เกษตร-นวมินทร์” แสนล้าน สร้างทางด่วนพ่วงระบบโมโนเรลขนรถขนคน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 - 08:50 น.

ลุยแสนล้านสร้างทั้งระบบทางด่วนและรถไฟฟ้า ทะลวงวิกฤตจราจรย่านเกษตร-นวมินทร์ เพิ่มโครงข่ายใหม่เชื่อมการเดินทางตะวันออก-ตะวันตก เบี่ยงแนวหลบ ม.เกษตรศาสตร์ ยืด 7 กม.เชื่อมโทลล์เวย์-ศรีรัช-วงแหวนตะวันตก ลุยลงทุนตามความพร้อมโครงการ กทพ.เร่งประมูลปีนี้ ลงเข็มปีหน้า หลังค่าก่อสร้างพุ่ง 1.7 หมื่นล้าน สนข.ส่งต่อผลศึกษาสายสีน้ำตาลให้ รฟม.ออกแบบรายละเอียด เผยเวนคืนที่เอกชนพันล้านบริเวณจุดตัดทางด่วน ผุดเดโป้ 50 ไร่

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม.

เปรียบเทียบกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 และวงแหวนตะวันออก ระยะทาง 11.9 กม. เพื่อสรุปรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ตอม่อจำนวน 281 ต้น บนถนนเกษตร-นวมินทร์

ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก้ปัญหาจราจรภาพรวมและเชื่อมต่อการเดินทางโซนตะวันออกและตะวันตก เนื่องจากทางด่วนและรถไฟฟ้าจะมีระยะทางช่วงที่ร่วมกัน 7.5 กม.

ขนทั้งคนและรถยนต์

“มีข้อสรุปในเบื้องต้นจะสร้างทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบนแนวสายทางเดียวกัน จะช่วยรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด ทั้งด้วยระบบรถยนต์ส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก หรือ คจร.จะอนุมัติตามที่เสนอหรือไม่”

ทั้งนี้ จากการศึกษาด้านการจราจรพบว่า ประมาณจราจรบนถนนเกษตร-นวมินทร์อยู่ที่วันละ 154,265 เที่ยวคัน โดย 25% เป็นการเดินทางจากพื้นที่ชั้นนอกไปยังพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ และระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับตะวันออก 60% ซึ่งการสร้างทางด่วนจะช่วยลดประมาณการจราจรทางระดับพื้น และเพิ่มความจุของทางในการรองรับการจราจรได้อีกอย่างน้อย 50%

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในส่วนของทางด่วนจะก่อสร้างช่วงจากเกษตร-นวมินทร์ ถึงวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก พร้อมกับสร้างส่วนที่ทดแทนช่วง 1 (แยกเกษตร-บางใหญ่) ที่ถูกคัดค้าน โดยปรับแนวเส้นทางสร้างพาดผ่านพื้นที่ด้านหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างเป็นโครงสร้างยกระดับ

ยืดทางด่วนเชื่อมโทลล์เวย์

จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางเขน แนวถนนเกษตร-นวมินทร์ จะสร้างไปตามแนวคลองบางบัว ต่อขยายโครงข่ายจากเดิมถึงแยกเกษตรศาสตร์ออกไปอีกประมาณ 7 กม. ให้ไปเชื่อมโทลล์เวย์และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตกบริเวณแยกรัชวิภา ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะให้ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (โทลล์เวย์) ลงทุนก่อสร้างมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท

“การเปลี่ยนจุดสิ้นสุดโครงการทางด่วนจากแยกเกษตรไป จะมีผลกระทบการเวนคืนที่ดินและการก่อสร้างบ้าง แต่อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ คาดว่าค่าก่อสร้างอยู่ที่ 7,000-8,000 ล้านบาท”

Click on the image for full size

เคาะลงทุนโมโนเรลแสนล้าน

ส่วนแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เริ่มต้นจากแยกแคราย เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) บริเวณสถานีบางเขน ผ่านแยกเกษตร เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-คูคต) บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปตามแนวถนนเกษตร-นิวมินทร์ และไปสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) บริเวณแยกลำสาลี เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล)

ทั้งโครงการคาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน ประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ถ้ารวมการซ่อมบำรุงรักษา 30 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท มี 21 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดจุดที่ตั้งให้เหมาะสมลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน ส่วนใหญ่จะเวนคืนบริเวณที่เป็นจุดขึ้น-ลงสถานี จุดใหญ่อยู่บริเวณแยกฉลองรัช จะกำหนดเป็นพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ มีเวนคืน 45-50 ไร่ คาดว่าจะใช้เงินเวนคืนกว่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจากที่ดินราคาแพง

กทพ.เริ่มคิกออฟปลายปี

“การพัฒนาโครงการดูตามความพร้อมของโครงการ ซึ่งทางด่วนช่วง N2 ถึงวงแหวนรอบนอกตะวันออก การทางพิเศษฯพร้อมจะก่อสร้าง ใช้เงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ TFF ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล หากผลศึกษาจบในเดือน มิ.ย. 2561 จะส่งมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ และนำบรรจุในแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ต่อไป”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า แนวเส้นทางของทางด่วนมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ตรงอุโมงค์เกษตรศาสตร์ บริเวณเสาตอม่อที่ 10 ของถนนประเสริฐมนูกิจ ไปตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ ไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก

โดย กทพ.ได้ผนวกโครงการสะพานข้ามทางแยกบนถนนเกษตร-นวมินทร์ ของกรมทางหลวงจำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย แยกวังหิน เสนานิคม สุคนธสวัสดิ์ นวลจันทร์ และนวมินทร์ เป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรร่วมกันระหว่างระบบทางหลวงและระบบทางด่วน พร้อมกับปรับลดขนาดโครงการจาก 6 ช่องจราจร เหลือ 4 ช่องจราจร ทั้งโครงการคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 17,551 ล้านบาท รวมค่าบำรุง 30 ปีอยู่ที่ 19,488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 14,382 ล้านบาท เนื่องจากโครงการได้ศึกษาไว้นานหลายปีแล้วตามแผนของ กทพ.จะขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประมูลคู่ขนานไปกับการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม ตั้งเป้าปลายปี 2561 จะเริ่มประมูลและเริ่มก่อสร้างต้นปี 2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน มีกำหนดแล้วเสร็จอย่างเร็วปลายปี 2564 หรืออย่างช้าต้นปี 2565 ซึ่ง กทพ.จะบริหารโครงการเอง เก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย ในปีแรกเปิดใช้จะมีปริมาณการจราจร 80,000 เที่ยวคันต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2018 9:04 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เลือกรูปแบบที่ 4 สร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
ฐานเศรษฐกิจ 18 February 2018

สนข. สรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกงานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) เลือกรูปแบบที่ 4 เสนอคจร.เร่งผลักดันก่อนมอบหมายรฟม.และกทพ.เป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วน

แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่านายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกของโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ในวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

โดยการจัดสัมมนาในครั้งนี้ดำเนินการขึ้นตามที่รัฐบาล มีนโยบายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบคมนาคมในระยะยาว เพื่อดำเนินโครงการศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์เสาตอม่อ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ หรือถนนเกษตร - นวมินทร์ แต่เดิมได้กำหนดให้เป็นเส้นทางเชื่อมกับระบบทางพิเศษระหว่างเมืองด้านตะวันออก - ตะวันตก ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 กระทรวงคมนาคม มีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้เสาตอม่อโครงการระบบทางด่วนดังกล่าวให้เกิดประโยชน์

นอกจากนั้นในปี 2560 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) มอบหมายให้ สนข. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและเชื่อมต่อต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร รวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการออกแบบเบื้องต้นและประมาณราคาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาในการศึกษารวม 14เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2560- 9 มิถุนายน 2561

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ได้ดำเนินการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อดังกล่าว 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) 2.การพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor (โครงข่ายเชื่อมต่อจาก N2 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) 3.การพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน และ 4.การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน

ทั้งนี้จากผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า รูปแบบที่ 4 ซึ่งเป็นการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน และระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกัน มีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน
ในขณะที่ระบบทางด่วนจะเชื่อมโยงโครงข่ายทางด่วนระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วานและถนนประเสริฐมนูกิจ รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร จำนวนสถานีเบื้องต้น 21 สถานี

ในส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1.ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร และ 2.ช่วงทดแทน ตอน N1 แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

ทั้งนี้ สนข. จะได้นำเสนอคณะกรรมการคจร. เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนาโครงการ ก่อนมอบหมาย สนข. พิจารณาระยะเวลาการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่เหมาะสม และมอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายระบบทางด่วนทดแทน ตอน N1 ไปพร้อมกับการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบการจราจรบริเวณแยกเกษตร

“ตลอดระยะเวลาของการศึกษาความเหมาะสม สนข. ได้มีการลงพื้นที่เพื่อพบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.brownline-fs2560.com ทั้งนี้ การประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ ผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม รวมทั้งประเด็นปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดย สนข. จะได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับนำไปประกอบการศึกษาต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2018 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เล็งสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล มิ.ย.61
บ้านเมือง วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 12.48 น.

Click on the image for full size
สนข.เล็งสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล มิ.ย.61

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกของโครงการ) งานศึกษา ความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา ทั้งนี้ ในแนวทางการศึกษานั้น มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) /แนวทางการพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ ๓ สายเหนือ ตอน N2และ E-W Corridor (โครงข่ายเชื่อมต่อจาก N2 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข ๙) / แนวทางการพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน และแนวทางการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) ซึ่งแนวทางที่ 4 เป็นแนวทางที่การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน และระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกัน มีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง อย่างไรก็ตาม หากหลักการสามารถอนุมัติได้ภายในปี2561 จะเป็นแนวทางที่ดี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลถือเป็นเส้นทางที่ 11 แต่ยังไม่ได้อยู่ในกำหนดแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะ 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2553-2572 หรือ M-MAP1

Click on the image for full size

ทั้งนี้ หากแล้วเสร็จจะสามารถเชื่อมการเดินทางระหว่างด้านทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกได้ สำหรับมูลค่าก่อสร้างโครงการในส่วนของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายจะอยู่ที่ 50,000ล้านบาท ส่วนมูลค่าก่อสร้างทางด่วนอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการดังกล่าวจะสามารถสรุปได้ภายในเดือนมิถุนายน2561 อย่างไรก็ตาม หากผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลมีความเหมาะสมในผลการศึกษาจะระบุรายละเอียดของโครงการว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หน่วยงานใดเป็นผู้ออกแบบการก่อสร้าง หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อสร้าง และจะต้องเริ่มต้นโครงการเมื่อใด รวมถึงรูปแบบระบบควรเป็นประเภทใด แต่ระบบที่เหมาะสมคือระบบรางเบามากที่สุดเนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ซึ่งขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลยังอยู่นอกแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะ 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2553-2572 หรือ M-MAP1

Click on the image for full size

ทั้งนี้ หากสรุปผลการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อพิจารณาเห็นชอบเพื่อจะบรรจุแผนโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผน M-MAP1 และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง350 จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัด ถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22กิโลเมตร จำนวนสถานีเบื้องต้น 21สถานี

ทั้งนี้ ในส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยาย ไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1. ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12กิโลเมตร และ 2.ช่วงทดแทน ตอน N1แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

ทั้งนี้ สนข. จะได้นำเสนอ คจร. เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนาโครงการ ก่อนมอบหมาย สนข. พิจารณาระยะเวลาการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่เหมาะสม และมอบหมาย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายระบบทางด่วนทดแทน ตอน N1 ไปพร้อมกับการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบการจราจรบริเวณแยกเกษตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 172, 173, 174 ... 277, 278, 279  Next
Page 173 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©