Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270992
ทั้งหมด:13582281
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 173, 174, 175 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2018 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เล็งสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล มิ.ย.61
บ้านเมือง วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 12.48 น.

Click on the image for full size
สนข.เล็งสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล มิ.ย.61

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกของโครงการ) งานศึกษา ความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา ทั้งนี้ ในแนวทางการศึกษานั้น มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) /แนวทางการพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ ๓ สายเหนือ ตอน N2และ E-W Corridor (โครงข่ายเชื่อมต่อจาก N2 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข ๙) / แนวทางการพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน และแนวทางการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) ซึ่งแนวทางที่ 4 เป็นแนวทางที่การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน และระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกัน มีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง อย่างไรก็ตาม หากหลักการสามารถอนุมัติได้ภายในปี2561 จะเป็นแนวทางที่ดี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลถือเป็นเส้นทางที่ 11 แต่ยังไม่ได้อยู่ในกำหนดแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะ 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2553-2572 หรือ M-MAP1

Click on the image for full size

ทั้งนี้ หากแล้วเสร็จจะสามารถเชื่อมการเดินทางระหว่างด้านทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกได้ สำหรับมูลค่าก่อสร้างโครงการในส่วนของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายจะอยู่ที่ 50,000ล้านบาท ส่วนมูลค่าก่อสร้างทางด่วนอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการดังกล่าวจะสามารถสรุปได้ภายในเดือนมิถุนายน2561 อย่างไรก็ตาม หากผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลมีความเหมาะสมในผลการศึกษาจะระบุรายละเอียดของโครงการว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หน่วยงานใดเป็นผู้ออกแบบการก่อสร้าง หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อสร้าง และจะต้องเริ่มต้นโครงการเมื่อใด รวมถึงรูปแบบระบบควรเป็นประเภทใด แต่ระบบที่เหมาะสมคือระบบรางเบามากที่สุดเนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ซึ่งขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลยังอยู่นอกแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะ 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2553-2572 หรือ M-MAP1

Click on the image for full size

ทั้งนี้ หากสรุปผลการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อพิจารณาเห็นชอบเพื่อจะบรรจุแผนโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผน M-MAP1 และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง350 จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัด ถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22กิโลเมตร จำนวนสถานีเบื้องต้น 21สถานี

ทั้งนี้ ในส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยาย ไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1. ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12กิโลเมตร และ 2.ช่วงทดแทน ตอน N1แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

ทั้งนี้ สนข. จะได้นำเสนอ คจร. เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนาโครงการ ก่อนมอบหมาย สนข. พิจารณาระยะเวลาการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่เหมาะสม และมอบหมาย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายระบบทางด่วนทดแทน ตอน N1 ไปพร้อมกับการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบการจราจรบริเวณแยกเกษตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2018 2:50 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.เล็งสรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล มิ.ย.61
บ้านเมือง วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 12.48 น.

สนข.เลือกรูปแบบที่4สร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


สนข. สรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกงานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) เลือกรูปแบบที่ 4 เสนอคจร.เร่งผลักดันก่อนมอบหมายรฟม.และกทพ.เป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วน

brown1


แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่านายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกของโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ในวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร



โดยการจัดสัมมนาในครั้งนี้ดำเนินการขึ้นตามที่รัฐบาล มีนโยบายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบคมนาคมในระยะยาว เพื่อดำเนินโครงการศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์เสาตอม่อ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ หรือถนนเกษตร - นวมินทร์ แต่เดิมได้กำหนดให้เป็นเส้นทางเชื่อมกับระบบทางพิเศษระหว่างเมืองด้านตะวันออก - ตะวันตก ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 กระทรวงคมนาคม มีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้เสาตอม่อโครงการระบบทางด่วนดังกล่าวให้เกิดประโยชน์



นอกจากนั้นในปี 2560 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) มอบหมายให้ สนข. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและเชื่อมต่อต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร รวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการออกแบบเบื้องต้นและประมาณราคาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาในการศึกษารวม 14เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2560- 9 มิถุนายน 2561



ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ได้ดำเนินการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อดังกล่าว 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) 2.การพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor (โครงข่ายเชื่อมต่อจาก N2 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) 3.การพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน และ 4.การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน


ทั้งนี้จากผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า รูปแบบที่ 4 ซึ่งเป็นการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน และระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกัน มีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน
ในขณะที่ระบบทางด่วนจะเชื่อมโยงโครงข่ายทางด่วนระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วานและถนนประเสริฐมนูกิจ รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร จำนวนสถานีเบื้องต้น 21 สถานี

brown4

ในส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1.ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร และ 2.ช่วงทดแทน ตอน N1 แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

ทั้งนี้ สนข. จะได้นำเสนอคณะกรรมการคจร. เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนาโครงการ ก่อนมอบหมาย สนข. พิจารณาระยะเวลาการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่เหมาะสม และมอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายระบบทางด่วนทดแทน ตอน N1 ไปพร้อมกับการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบการจราจรบริเวณแยกเกษตร

brown5

“ตลอดระยะเวลาของการศึกษาความเหมาะสม สนข. ได้มีการลงพื้นที่เพื่อพบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.brownline-fs2560.com ทั้งนี้ การประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ ผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม รวมทั้งประเด็นปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดย สนข. จะได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับนำไปประกอบการศึกษาต่อไป”

สรุปแล้ว!!!! ตอม่อเกษตร-นวมินทร์ สร้างทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้านะคะ
วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561,

*****(19/2/61)วันนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้สรุปผลการพิจารณาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ พื้นที่ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ซึ่งที่ผ่านมามีรูปแบบพิจารณา 4 รูปแบบ คือ

1. การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า)

2. การพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W corridor (โครงข่ายเชื่อมต่อจาก N2 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)

3. การพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน

4. การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และระบบทางด่วนบนแนวเส้นทางเดียวกัน

*****จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่า รูปแบบที่ 4 ที่มีรถไฟฟ้าและทางด่วนอยู่ในเส้นทางเดียวกันมีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบขนส่งมวลชนทางราง เพิ่มความสะดวก ปลอดภัยและประหยัดเวลา

*****สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแครายมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรจำนวนสถานีเบื้องต้น 18 สถานี

*****ส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น2 ช่วงคือ
1. ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตรและ
2. ช่วงทดแทนตอน N1 แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเรียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

Timeline งานก่อสร้างเบื้องต้นจะเสนอให้ครม. อนุมัติในหลักการภายในสิ้นปีนี้ หลังจากนั้นจะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการต่อ อาจจะไม่จำเป็นต้องสร้างพร้อมกัน แต่จะมีการวางแผนงานก่อสร้างร่วมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2018 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมผลักดันรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เชื่อมโยงการเดินทางกรุงเทพฯ ฝั่ง ตต.-ตอ.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 11:53:00

เท 8 หมื่นล้านฟื้นตอม่อเกษตร-นวมินทร์ ยืดด่วน N2 แก้จราจร-ผุด “โมโนเรล”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 15:00:00
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 16:56:00

สรุปผลพิจารณารูปแบบทางเลือก ศึกษาโครงการรถไฟฟ้า ช่วงแคราย-ลำสาลี

19 กุมภาพันธ์ 2561
สรุปผุดทางด่วน-โมโนเรลบนตอม่อถนนเกษตร-นวมินทร์
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 - 15:00 น.


สนข.สรุปฟื้นตอม่อเกษตร-นวมินทร์ สร้างทางด่วน N2 ซ้อนรถไฟฟ้าสีน้ำตาล แก้จราจร แนวตะวันออก-ตะวันตก สรุปการศึกษา มิ.ย.นี้ “ไพรินทร์” เร่งเสนอ ครม.ในปีนี้ คาดวงเงินลงทุนรวม 8 หมื่นล้าน ด้าน ม.เกษตรฯ หนุนรถไฟฟ้า ยังค้านทางด่วน เชื่อไม่คุ้มค่า แม้เบี่ยงแนวไปคลองบางบัว ชี้ยังแก้จราจรไม่ได้ แนะสร้างสะพานข้ามแยกแทน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (การสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกของโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ว่า จากที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและเชื่อมต่อต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์เสาตอม่อทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ให้มากที่สุด ซึ่งได้สรุปแนวทางที่ 4 คือ การพัฒนารถไฟฟ้าและทางด่วนบนสายทางเดียวกัน จะมีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง

ทั้งนี้ รูปแบบการมีทั้งระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและทางด่วนค่อนข้างชัดเจนและได้รับการยอมรับมากขึ้น จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา ซึ่งสีน้ำตาลจะเป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11 คาดวงเงินลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเศษ ส่วนทางด่วน N2 และต่อขยายเชื่อมมอเตอร์เวย์ และปรับแนว N1 มาทางลาดปลาเค้า ผ่านคลองบางบัว คลองบางเขน ขนานวิภาวดีรังสิตและเชื่อมกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ได้ วงเงินลงทุนประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้เชื่อมการเดินทางของกรุงเทพฯ ด้านตะวันออกและตะวันตกสมบูรณ์ ขณะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องการรถไฟฟ้า

ซึ่งจะต้องสรุปหลักการและเสนอขออนุมัติภายในปีนี้ ขณะที่ส่วนต่อขยายของทางด่วนไปทางลาดปลาเค้านั้นจะมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติม รวมถึงกรณีจะมีการระดมเงินจากกองทุน TFF สำหรับก่อสร้างทางด่วนเชื่อว่าไม่มีผลกระทบใด สามารถดำเนินการคู่ขนานไปได้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เบื้องต้นผลการศึกษาชี้ว่าบนแนวทางนี้ควรมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้า ซึ่งกรณีรถไฟฟ้าสีน้ำตาลนั้น เมื่อสรุปผลการศึกษาจะมีรายละเอียดว่าจะใช้ระบบใด เป็นโมโนเรลหรือไลต์เรล เริ่มก่อสร้างเมื่อใด รูปแบบลงทุนเป็นอย่างไร โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสายสีน้ำตาลจะฟีดเดอร์เชื่อมกับรถไฟฟ้าสีแดง, สีเขียว, สีม่วง, สีชมพู ส่วนทางด่วนนั้น เมื่อปรับแนวมาทางลาดปลาเค้าเชื่อมด้านตะวันตก ซึ่งปริมาณจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจวันละ 154,265 คัน โดยประมาณ 60% เป็นการเดินทางแนวตะวันออก-ตะวันตก

ทั้งนี้ สนข.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์เสาตอม่อ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตั้งแต่ 10 เม.ย. 60-9 มิ.ย. 61 รวม 14 เดือน ใน 4 รูปแบบ คือ 1. การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) 2. การพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor (เชื่อมทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) 3. การพัฒนาด้วยระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน และ 4. การพัฒนารถไฟฟ้า และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน

***ม.เกษตรฯ หนุนรถไฟฟ้า ค้านทางด่วนยืด 7 กม.เบี่ยงแนวเชื่อไม่คุ้ม แนะสร้างสะพานข้ามแยกก็พอ

รายงานข่าวแจ้งว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลมีระยะทาง 22 กม. มีประมาณ 18-20 สถานี โดยจะซ้อนทับไปกับแนวทางด่วน N2 ประมาณ 7.4 กม. จะต้องมีการเวนคืนที่ดินบางส่วน รวมถึงบริเวณทางพิเศษฉลองรัฐ ประมาณ 71,000 ไร่ หรือ 44.3 ไร่เพื่อก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนทางด่วน N2 ประมาณ 12 กม.คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเดิมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะระดมทุนจาก RFF ดำเนินการ แต่เมื่อรวมกับส่วนทดแทน N1 มาทางคลองบางบัว คลองบางเขน อีก 7 กม. เงินลงทุนเพิ่มเป็น 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่ง กทพ.จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม

ด้านผู้แทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า ม.เกษตรฯ สนับสนุนรถไฟฟ้าสีน้ำตาล เต็มที่ ส่วนทางด่วนนั้น ก่อนตัดสินใจขอให้ สนข.คิดให้มากกว่านี้เพราะอาจไม่คุ้มค่าและไม่ได้แก้จราจรได้จริง แนวเส้นทางนี้รถติดในเวลาเร่งด่วน ปัญหาอยู่ที่ไฟแดงซึ่งทำสะพานข้ามแยกน่าจะเพียงพอ การมีทางด่วนจะทำให้เกิดปัญหาทางลงไม่ได้ เพราะข้างล่างติด ม.เกษตรฯ ค้านทางด่วนในเชิงคุณภาพชีวิต ทางด่วนอยู่ด้านบนก่อปัญหา ขนรถข้ามเมืองแต่คนที่อยู่ระหว่างทางรับภาระฝุ่นละอองอย่างหนัก

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง

ในส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยาย ไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1. ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร และ 2. ช่วงทดแทน ตอน N1 แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
//--------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2018 10:06 am    Post subject: Reply with quote

สศค.ชงขุนคลังเดือนหน้า ส่งครม.เก็บภาษีลาภลอย5%

วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561,

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา สศค.ได้ประชุมร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีจากผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ หรือที่เรียกกันว่าภาษีลาภลอย ที่เก็บส่วนต่างของมูลค่าที่ดิน หรือโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ตามแนวโครงการทางด่วน และแนวรถไฟฟ้าแล้ว และเตรียมเสนอให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง พิจารณาภายในเดือนมี.ค.นี้ และหลังจากนั้นจะเสนอให้ ครม.พิจารณาโดยเร็วที่สุด

“ปัจจุบันมีหลายประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐ ฮ่องกง มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว แต่ในไทยยังไม่เคยมีการจัดเก็บ ซึ่งยืนยันว่าจัดเก็บภาษีลาภลอยนี้จะเก็บเฉพาะทรัพย์สินบริเวณโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่มีผลย้อนหลังไปยังโครงการลงทุนที่ผ่านมา รวมถึงที่อยู่อาศัยเดิมก็จะไม่มีการเก็บภาษี ยกเว้นหากมีการขายเปลี่ยนมือและเกิดกำไรขึ้น ก็จะเก็บภาษีจากส่วนต่างกำไรที่เกิดขึ้น”


รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า สำหรับประเภทโครงการพัฒนาของรัฐที่อยู่ในข่ายต้องเก็บภาษีลาภลอย คือ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟรางคู่ และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งกำหนดพื้นที่จัดเก็บภาษีในรัศมี 2.5 กม. รอบสถานี โครงการท่าเรือ พื้นที่จัดเก็บรัศมี 5 กม.จากแนวเขตที่ดินของท่าเรือ ทางด่วนพิเศษ รัศมี 2.5 กม.รอบทางขึ้นและทางลง และสนามบิน รัศมี 5 กม.จากแนวเขตห้ามก่อสร้างของสนามบิน

ทั้งนี้ในร่าง พ.ร.บ.จะกำหนดเพดานอัตราภาษีสูงสุดเอาไว้ที่ไม่เกิน 5% ของฐานภาษี ซึ่งฐานภาษี คือส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดที่เพิ่มขึ้น ระหว่างมูลค่าก่อสร้างวันที่รัฐเริ่มดำเนินโครงการพัฒนา กับมูลค่าในวันที่โครงการพัฒนาแล้วเสร็จ แล้วแต่กรณี สำหรับอัตราจัดเก็บภาษีจะมีการกำหนดอัตราที่เหมาะสมอีกครั้ง โดยเสนอให้ ครม.เห็นชอบแล้วออกเป็นพระราชกฤษฎีกาอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2018 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวเกษตรศาสตร์ต่อต่านทางด่วนขั้นที่ 3 ได้แรงพอๆ กะ พวกบ้านครัวแฮะ แม้จะยอมให้สร้างโมโนเรลได้ ตามข่าวต่อไปนี้

อาจารย์นิสิตเกษตรฯ ร้อง “บิ๊กตู่” คว่ำโครงการทางด่วนใกล้ ม. ชี้สร้างรถไฟฟ้ามีประโยชน์กว่า
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 15:25:00
ปรับปรุง: 21 กุมภาพันธ์ 2561 18:10:00




ตัวแทนอาจารย์-นิสิต ม.เกษตรศาสตร์ ยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” ยกเลิกโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่สร้างใกล้มหาวิทยาลัย ชี้กระทบคุณภาพชีวิต-สิ่งแวดล้อม ชี้สร้างรถไฟฟ้ารางมีประโยชน์กว่า

วันนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ. กลุ่มตัวแทนอาจารย์และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กว่า 10 คน นำโดยนายจงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้พิจารณายกเลิกโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่จะมีการก่อสร้างในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย โดยกล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆ ได้ศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการ พบว่าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก และที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาถึงผลกระทบจากการก่อสร้างดังกล่าว อาทิ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 ที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนของมหาวิทยาลัยฯ เป็นคณะกรรมการ เมื่อปี 2556

รวมถึงการจัดเวทีการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนถึงความเหมาะสมของโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ซึ่งจัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 2 คณะกรรมการมีความเห็นพ้องว่าให้ยกเลิกการก่อสร่างทางด่วน และให้ดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบาซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน และแก้ปัญหารถติดในถนนสายหลัก

นายจงรักกล่าวว่า จึงขอเสนอให้มีการพิจารณาโครงการก่อสร้างทางพิเศษในสายอื่นๆ นอกเขตพื้นที่ชุมชน เช่น การสร้างแนววงแหวนรอบนอก ทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น แต่ในระยะยาวเชื่อว่าจะคุ้มค่าและมีประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า

https://www.youtube.com/watch?v=sHbN_10qTDc


Last edited by Wisarut on 22/02/2018 10:07 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 7:17 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟ5เมืองหลักหนุนเศรษฐกิจภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ 22 ก.พ. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

คจร.สั่งการทางพิเศษเดินหน้าศึกษาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ รองรับการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แก้ปัญหาจราจรแยกเกษตร รับทราบความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 สาย ในกทม.เปิดบริการได้ทั้งหมดปี68 สมคิด สั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ สร้างความเจริญให้ภูมิภาค

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วานนี้ (21 ก.พ.) ว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เดินหน้าศึกษาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่3ตอนN2เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก และให้รองรับกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11ของ กทม.โดยโครงการทางด่วนเส้นทางนี้เป็นโครงการที่จำเป็นเพื่อเชื่อมให้เส้นทางคมนาคมจากวงแหวนตะวันตก-วงแหวนตะวันออก เชื่อมถึงกันและลดปัญหาจราจรแออัดบริเวณแยกเกษตรได้

ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการก่อสร้างตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟฟ้าซึ่งจากทั้งหมด10สาย ที่เปิดการเดินรถไปแล้ว 3 สายรวม 170กิโลเมตร (กม.) และระหว่างนี้อยู่ระหว่างทยอยเปิดประมูลและก่อสร้าง ซึ่งเมื่อครบทั้ง 10 เส้นทางตามแผนแม่บทจะทำให้ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุม 460 กม. และหากรวมกับสายสีน้ำตาล(แคราย-บึงกุ่ม) ที่ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาเป็นสายที่ 11 โครงข่ายรถไฟฟ้าจะมีระยะทางรวม 480 กม.

โครงข่ายรถไฟฟ้าทั้ง11สาย ที่จะทยอยเปิดใช้แต่ละช่วงหลังจากนี้ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้บริการของประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีระบุว่า งานก่อสร้างต้องดูแลให้เกิดความสอดคล้องเพราะทั้งหมดเป็นโครงข่ายหากเกิดปัญหาจุดไหนต้องรีบแก้ไข และเมื่อกรุงเทพฯ เพียงพอแล้วหลังจากนี้ต้องเร่งการลงทุนระบบขนส่งในภูมิภาคอย่างเร่งด่วน นายไพรินทร์ กล่าว
สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดขนาดใหญ่รวม 5 จังหวัดได้แก่

1.จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพบว่าระบบที่เหมาะสมกับเมืองขอนแก่น ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT)ที่รูปแบบการลงทุนนั้นรัฐจะเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งงานระบบและจัดหาตัวรถตลอดจนงานดำเนินการและบำรุงรักษา เส้นทางที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการนำร่อง ได้แก่ เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญต.สำราญ-ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทางประมาณ22.8กม.

2.โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (โครงการรถไฟฟ้า รางเบาจังหวัดภูเก็ต) ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว ซึ่งระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือTramway) เป็นระบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับจังหวัดภูเก็ตคาดว่าจะแล้วเสร็จและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในปี 2561

3.แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจ.เชียงใหม่ โดยที่ประชุมอนุมัติ และเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการในขั้นตอนการลงทุนและการก่อสร้างโครงการ เป็นไปได้ 3รูปแบบคือ รัฐลงทุน 100% เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน(พีพีพี)โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และเปิดพีพีพีรัฐร่วมเอกชนจัดตั้งบริษัท และระดมทุน

4.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว โดยเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสม กับแนวเส้นทาง และมีความเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram)

5.โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณาผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit, LRT)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 7:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า11สายพลิกโฉมกรุงเทพ-ดันอสังหาฯโต
กรุงเทพธุรกิจ 22 ก.พ. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

คาดรถไฟฟ้า 11 เส้นทาง ครอบคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 500 กม. พลิกโฉมมหานครกรุงเทพฯ ดันตลาดที่อยู่อาศัยเกาะแนวรถไฟฟ้า-รอบเมืองโต ออมสินชี้สินเชื่อบ้านมีโอกาสขยายตัว หลังดีเวลลอปเปอร์พัฒนาโปรดักท์หลากหลาย

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และสปริงนิวส์ กรุ๊ป จัดสัมมนา ทิศทางอสังหาริมทรัพย์ ปี 2561 เมกะ มูฟ พลิกโฉม มหานครกรุงเทพฯวานนี้ (21 ก.พ.)

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าแนวทางการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงกรุงเทพฯ และปริมณฑล 11 สาย โดยเส้นทางล่าสุดคือสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ระยะทางกว่า 20 กม. ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติเส้นทางใหม่ ที่อยู่ระหว่างเตรียมเปิดประมูล เมื่อทุกเส้นทางก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีเส้นทางรวม 480 กม. ทำให้กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในมหานครติดอันดับ ท็อป5 ของโลกที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงพื้นที่กลางเมืองสู่นอกเมืองยาวที่สุด รวมทั้งมีการเชื่อมโยงการเดินทางระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งระบบราง ถนน อากาศ และน้ำ เป็นระบบขนส่งเดียวแบบไร้รอยต่อ

การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เชื่อมโยงพื้นที่นอกเมือง เป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ ตามเส้นทางรถไฟฟ้าประเภทคอนโด รวมทั้งที่อยู่อาศัยนอกเมือง โดยใช้ระบบขนส่งรถไฟฟ้าในการเดินทาง นอกจากนี้จะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รูปแบบต่างๆ ในพื้นที่สถานีกลางเชื่อมโยงรถไฟฟ้าเส้นต่างๆ

ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีคนอาศัยอยู่กว่า 10 ล้านคน หลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้ดำเนินการครบทุกเส้นทาง จะทำให้มีคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น หรือระดับ 15-17 ล้านคน ทั้งกลุ่มทำงาน นักศึกษา ถือเป็นโอกาสของผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั้งแนวรถไฟฟ้าและรอบเมือง

ที่ดินเกาะแนวรถไฟฟ้าพุ่งแรง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการ 4 เส้นทาง ระยะทางกว่า 100 กม. คิดเป็นสัดส่วน 6% ของจำนวนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และเมื่อเปิดให้บริการครบทุกเส้นทางภาครัฐวางเป้าหมายสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 20%

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ให้บริการมากว่า 17-18 ปี ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 9% ปัจจุบันยอดผู้ใช้วันธรรมดา 7-8 แสนคน คาดว่าหลังจากสายสีชมพูและสายสีเหลืองเปิด ทั้ง 3 สายจะมียอด 1.5 ล้านคน/วัน

ดังนั้นโครงข่ายรถไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเมือง รวมทั้งที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในอนาคต โดยจะมีคอนโดเกิดตาแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น และกระจายรอบนอกในเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ และพบว่ามช่วงปี 2553-561 ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าปรับขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ย 10% โดย่ใจกลางเมืองปรับขึ้นสูงกว่า ขณะที่ราคาที่ดินทั่วไปปรับขึ้นเฉลี่ยปีละ 3%
กรุงเทพฯ กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อรถไฟฟ้าเสร็จทั้งหมด คนจะเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น และเป็นมืองสมัยใหม่ รอบสถานีมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์มากขึ้น เป็นปัจจัยส่งเสริมตลาดอสังหาฯเติบโต

รถไฟฟ้าหนุนคอนโดเติบโต

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาฯ ยังเติบโตด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ จีดีพีขยายตัว รวมทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคม ทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน ถนนตัดใหม่ โดยรถไฟฟ้าสายแรกสีเขียว อยู่ในใจกลางเมือง แต่การขยายเส้นทางสายอื่นๆ กระจายออกจากย่านธุรกิจสู่พื้นที่รอบนอก ปัจจุบันยังไม่เป็นเครือข่ายเชื่อมทุกเส้นทาง แต่อีก 6-7 ปี จะเห็นการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ และเป็นใยแมงมุมเมื่อครบทุกเส้นทางใน 10 ปีข้างหน้าถือเป็นโอกาสของคอนโด ที่เป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ๆ จากเดิมกระจุกตัวในเส้นทางรถไฟฟ้าสายเดิม ซึ่งการเริ่มก่อสร้างเส้นทางใหม่ ส่งผลให้มีจำนวนยูนิตคอนโดเปิดในปีที่ผ่านมากว่า 5.6 หมื่นยูนิต แต่กระจายตัวมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยตลาดใหญ่ยังอยู่ที่ราคา 2-4 ล้านบาทต่อยูนิต

ปีที่ผ่านมาคอนโดใหม่มียอดขายสูงถึง 60-70% จาก 2-3 ปีก่อนอยู่ที่ 40-50% จากปัจจัยการเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ คาดว่าปีนี้จำนวนยูนิตเปิดใหม่ในตลาดคอนโดใกล้เคียงปีก่อน แต่พบว่ามีบางทำเลยังอยู่ในภาวะยังอยู่ในภาวะโอเวอร์ซัพพลาย เช่น เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ในอีก 5 ปีหลังจากนี้ การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายใหม่อย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ ทุกอย่าง อยู่ที่ดีเวลลอปเปอร์แต่ละราย ว่าจะเลือกโปรดักท์ ประเภทใดมาพัฒนา เพื่อเจาะกำลังซื้อแต่ละพื้นที่ และเป็นปัจจัยผลักดันตลาดที่อยู่อาศัยขยายตัว
นายธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ตลาดคอนโดแนวรถไฟฟ้า และพื้นที่ใกล้เคียงเส้นทางรถไฟฟ้า ยังมีโอกาสพัฒนาได้หลายเซ็กเมนต์ ทั้งกลุ่มที่อยู่ติดรถไฟฟ้า สำหรับตลาดบน และต่างชาติ ซื้อลงทุน รวมทั้งทำเลเข้าซอยที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า ยังมีโอกาสสำหรับตลาดระดับกลาง

สินเชื่อที่อยู่อาศัยโอกาสโต

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่า แนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ยังมีโอกาสขยายตัว จากการเติบโตของโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ ซึ่งปีที่ผ่านมาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนยูนิตเพิ่มขึ้น 3.5% โดยยอดขายโต 5.5% ขณะที่มูลค่าเพิ่ม 11% สะท้อนราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะคอนโดติดแนวรถไฟฟ้า จากราคาที่ดินปรับตัวสูง

ปัจจุบันพบว่าข้อจำกัดด้านที่ดิน ซีบีดี สำหรับพัฒนาที่อยู่อาศัยมีน้อยลง แม้ราคาอสังหาฯ ย่านธุรกิจไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แต่ถือว่ายังถูกกว่า ฮ่องกง สิงคโปร์ ทำให้มีดีมานด์จากกลุ่มต่างชาติ เข้ามาสนับสนุน จึงยังเห็นการลงทุนพัฒนาโครงการของดีเวลลอปเปอร์ ในพื้นที่เมืองเกาะแนวรถไฟฟ้า

อย่างไรก็ตามจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายประเภท และเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย ดังนั้นมองว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโต ทุกสถาบันการเงินยังคงให้ความสำคัญกับการขยายพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นการปล่อยกู้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ปัจจุบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วน 22.8% ต่อจีดีพี ยังมีโอกาสเพิ่มได้อีก เมื่อเทียบกับ มาเลเซีย อยู่ที่ 30-40% และยุโรป 60-70%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2018 9:54 am    Post subject: Reply with quote

ประมูล PPP โมโนเรล 3 จังหวัด ฟื้นตอม่อเกษตรฯ ปักหมุดสายสีน้ำตาล

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:00 น.

ชง คจร.อนุมัติ รฟม.เปิดเอกชนประมูล PPP 1.78 แสนล้าน ผุดรถไฟฟ้ารางเบา 3 เมืองหลัก “ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช” ประเดิมไลต์เรลภูเก็ตปลายปีนี้ ฟื้นตอม่อเกษตร-นวมินทร์ สร้างทางด่วน-โมโนเรลสายสีน้ำตาล

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 21 ก.พ. 2561 ได้ขออนุมัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้จัดหาเอกชนลงทุนรูปแบบ PPP ระบบรถไฟฟ้ารางเบาแก้ปัญหาการจราจร 3 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา มูลค่ารวม 178,901 ล้านบาท

แยกเป็นโครงการไลต์เรล จ.ภูเก็ต จากสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต 58.25 กม. ลงทุน 39,406.06 ล้านบาท เริ่มที่่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมรถไฟสายใหม่ จ.สุราษฎร์ธานี ถึง จ.พังงา สิ้นสุดที่ ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ห่างห้าแยกฉลอง 200 เมตร มี 24 สถานี ยกระดับ 1 สถานี ที่สนามบินภูเก็ต ใต้ดิน 1 สถานีที่สถานีถลาง ศูนย์ซ่อมบริเวณ อ.ถลาง มี 2 เฟส ระยะแรกท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต ระยะที่ 2 สนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ได้เอกชนลงทุนสิ้นปี 2561

โครงการรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่ 106,895 ล้านบาท ในเมืองเป็นอุโมงค์ใต้ดิน นอกเมืองยกระดับ 3 เส้นทาง 1.สายสีแดง รพ.พิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-ม.ราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-รพ.เชียงใหม่ราม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-ขนส่งทางบก-บิ๊กซีหางดง

2.สายสีเขียว แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้-เซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-รพ.แมคคอร์มิคเชียงใหม่-ร.ร.ดาราวิทยาลัย-ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย-ตลาดวโรรส-เทศบาลนครเชียงใหม่-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย-ร.ร.พระหฤทัย-ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย-เชียงใหม่แลนด์-เซ็นทรัลพลาซา-เชียงใหม่แอร์พอร์ท-ม.ฟาร์อีสเทอร์น-สนามบินเชียงใหม่ 3.สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-ม.เทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา-ม.เชียงใหม่-แยกตลาดต้นพยอม-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่-วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ตลาดสันป่าข่อย-สถานีรถไฟเชียงใหม่-แยกหนองประทีป-บิ๊กซีดอนจั่น-ห้างพรอมเมนาดา

รถไฟฟ้ารางเบา จ.นครราชสีมา 32,600 ล้านบาท 3 เฟส ระยะแรก 14,000 ล้านบาท มีสายสีส้มเข้ม แยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม. 17 สถานี สีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี ระยะที่ 2 ลงทุน 4,900 ล้านบาท สายสีม่วงเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.92 กม. 9 สถานี ระยะที่ 3 ลงทุน 13,600 ล้านบาท สายสีส้มอ่อน ร.ร.เทศบาล 1-หัวทะเล-ดูโฮม 5.37 กม. 4 สถานี สายสีเขียวอ่อน

สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง)-ตลาดเซฟวัน และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-สำนักงานขนส่ง จ.นครราชสีมาสาขา 2 ระยะทาง 12.12 กม. 13 สถานี สายสีม่วงอ่อน ม.วงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48 กม. 3 สถานี

และจะรายงานผลศึกษาใช้ประโยชน์ตอม่อบนถนนเกษตร-นวมินทร์ จะลงทุนก่อสร้างทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้า เชื่อมโยงการเดินทางกรุงเทพฯโซนตะวันออกและตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) 22 กม. 18-21 สถานี เงินลงทุน 50,000 ล้านบาท จะบรรจุไว้ในแผนแม่บทเป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11

ส่วนระบบทางด่วนจะสร้าง 2 ช่วง คือ ช่วง N2-วงแหวนรอบนอกตะวันออก และส่วนต่อขยายใหม่จากแยกเกษตร-นวมินทร์ อ้อมไปทางด้านหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เชื่อมทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตก รวม 18 กม. เงินลงทุน 25,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2018 10:15 am    Post subject: Reply with quote

คจร.ไฟเขียว “ด่วน N2 พ่วงโมโนเรลสีน้ำตาล” เคาะจอดแล้วจร 46 แห่งดึงใช้รถไฟฟ้าเพิ่ม
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 - 17:15:00
ปรับปรุง: 21 กุมภาพันธ์ 2561 - 18:59:00




คจร.เห็นชอบผลศึกษาพัฒนาทางด่วน N2 และส่วนทดแทน N1 แก้จราจรแยกเกษตร พร้อมมอบ กทพ.ออกแบบโครงสร้างรองรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบนแนวเกษตร-นวมินทร์ และเห็นชอบพัฒนาจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) 46 แห่ง รองรับรถได้ 4 หมื่นคัน หวังจูงใจใช้รถไฟฟ้าเข้าเมือง เร่งนำร่อง 3 แห่งที่สถานีกาญจนาภิเษกของสายสีแดงอ่อน, คลองบางไผ่ของสีม่วง และตลาดพลูของสีเขียว

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2561 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันที่ 21 ก.พ. ได้เห็นชอบรูปแบบการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก โดยใช้ประโยชน์เสาตอม่อบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจที่ก่อสร้างไว้แล้วพร้อมกับการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปบนสายทางเดียวกัน โดยได้มอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาระยะเวลาการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนแม่บทระบบรางใน กทม. และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พัฒนาทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 และ E-W Corridor และทางด่วนทดแทนตอน N1 เพื่อลดผลกระทบการจราจรบริเวณแยกเกษตร และให้ออกแบบโครงสร้างรองรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลในอนาคตด้วย

นอกจากนี้ คจร.ยังได้พิจารณาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาค โดยรับทราบผลการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือTramway) มี 24 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง เริ่มต้นบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จังหวัดพังงา สิ้นสุดที่ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 58.525 กม. ได้บรรจุไว้ใน PPP Fast Track ปี 2560 โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษารายงานวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ภายในปี 2561

ส่วนแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่และนครราชสีมาได้ศึกษาเสร็จเมื่อ ต.ค. 2560 ซึ่งได้มอบให้ รฟม.รับผิดชอบในขั้นตอนการลงทุนและการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยอาจหารือท้องถิ่นถึงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันต่อไป สำหรับแนวทางการลงทุนเสนอให้เป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบที่ 1 รัฐลงทุน 100% รูปแบบที่ 2 PPP รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า (M&E) และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และรูปแบบที่ 3 PPP รัฐร่วมเอกชนจัดตั้งบริษัท และระดมทุน (กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน)

โครงข่ายแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเหมาะสม จำนวน 2 โครงข่าย คือ โครงข่าย A ประกอบด้วย 1) ระบบหลัก เป็นรถไฟฟ้าแบบรางเบา (Light Rail Transit: LRT) 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว รวมระยะทาง 34.93 กิโลเมตร 2) ระบบรอง เป็นรถโดยสารประจำทาง จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 89 กิโลเมตร แต่ละเส้นทางสามารถวิ่งร่วมกับการจราจรปกติ หรือมีเขตทางพิเศษบางส่วน (Bus Lane) และ 3) ระบบเสริม เป็นรถโดยสารประจำทางในเมือง จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 85 กิโลเมตร วิ่งร่วมกับการจราจรปกติในเขตเมือง

และโครงข่าย B ประกอบด้วย 1) ระบบหลัก เป็น LRT 3 เส้นทาง และมีแนวเส้นทางเช่นเดียวกับโครงข่าย A แต่โครงสร้างทางวิ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งระดับดินทั้งหมด รวมระยะทาง 41.49 กิโลเมตร 2) ระบบรอง เป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 เส้นทาง มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับโครงข่าย A และ 3) ระบบเสริม เป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 เส้นทาง มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับโครงข่าย A

ส่วนระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดขอนแก่น ผลศึกษาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit, LRT) โดยรัฐเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานระบบและจัดหาตัวรถ ดำเนินการและบำรุงรักษา กำหนดเส้นทางนำร่อง ได้แก่ แนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญตำบลสำราญ-ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น) ระยะทาง 22.8 กม., ระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก การศึกษามี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram)

***เคาะจุดจอดแล้วจร 3 ระยะ รวม 46 จุด เร่งนำร่องก่อน 3 จุด

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า คจร.เห็นชอบแผนแม่บทจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) จำนวน 46 จุดตามแนวรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1. ระยะเร่งด่วน โครงการที่เปิดให้บริการแล้วและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2562 จำนวน 17 สถานี 2. ระยะกลาง ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2563-2565 จำนวน 24 สถานี และ 3. ระยะยาว ก่อสร้างในปี 2566-2572 จำนวน 5 สถานี โดยกำหนดโครงการนำร่อง 3 แห่ง คือ บริเวณสถานีกาญจนาภิเษก (รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน), สถานีคลองบางไผ่ (สายสีม่วง) และสถานีตลาดพลู (สายสีเขียว) เพื่อจูงใจให้ประชาชนจอดรถไว้นอกเมือง และเดินทางเข้าเมืองด้วยรถไฟฟ้า การพัฒนาจุดจอดแล้วจรบางแห่งยังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแผนพัฒนาดังกล่าวจะรองรับรถได้ประมาณ 4 หมื่นคัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชาวเกษตรศาสตร์ต่อต่านทางด่วนขั้นที่ 3 ได้แรงพอๆ กะ พวกบ้านครัวแฮะ แม้จะยอมให้สร้างโมโนเรลได้ ตามข่าวต่อไปนี้

อาจารย์นิสิตเกษตรฯ ร้อง “บิ๊กตู่” คว่ำโครงการทางด่วนใกล้ ม. ชี้สร้างรถไฟฟ้ามีประโยชน์กว่า
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 15:25:00
ปรับปรุง: 21 กุมภาพันธ์ 2561 18:10:00


Click on the image for full size

Click on the image for full size

Arrow https://goo.gl/Mu8rZA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 173, 174, 175 ... 278, 279, 280  Next
Page 174 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©