RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269609
ทั้งหมด:13580896
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 181, 182, 183 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2018 9:43 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เปิดงบปี 62 กว่า 2.09 แสนล้าน

25 มิถุนายน พ.ศ. 2561,

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้พิจารณากรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2562 วงเงิน 209,323.53 ล้านบาท ลดลง 1.91% จากปี 2561 ที่ได้รับการจัดสรร วงเงิน 213,389.80 ล้านบาท ทั้งนี้ แบ่งเป็นส่วนราชการ วงเงิน 183,732.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 8.87% และรัฐวิสาหกิจ วงเงิน 25,591 ล้านบาท ลดลงประมาณ 42.65% ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมชี้แจงคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ภายในสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ตั้งเป้าให้การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2562 ให้ได้ 90% ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2561 ของกระทรวงคมนาคมขณะนี้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 60% โดยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงฯ ใกล้เคียงเป้าหมายของรัฐบาลมากที่สุด

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากจำแนกงบประมาณประจำปี 2562 ในแต่ละหน่วยงาน แบ่งเป็นส่วนราชการ วงเงิน 183,732.54 ล้านบาท แบ่งเป็น
กรมทางหลวง (ทล.) ได้รับการจัดสรรวงเงิน 119,091.21 ล้านบาท,
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงิน 48,089.35 ล้านบาท,
กรมท่าอากาศยาน วงเงิน 6,614.43 ล้านบาท,
กรมเจ้าท่า (จท.) วงเงิน 4,788.01 ล้านบาท,
กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) วงเงิน 4,154.32 ล้านบาท,
สำนักงารปลัดกระทรวงคมนาคม วงเงิน 623.36 ล้านบาท และ
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วงเงิน 371.85 ล้านบาท

ขณะที่ รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 25,591 ล้านบาท แบ่งเป็น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 14,693.46 ล้านบาท,
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 9,271.16 ล้านบาท,
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงิน 1,132 ล้านบาท,
สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) วงเงิน 394.38 ล้านบาท และ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) วงเงิน 100 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 12:38 pm    Post subject: Reply with quote

ว้าวว!! บัตรแมงมุม..อัจฉริยะใบเดียวจบ
พุธที่ 27 มิถุนายน 2561 เวลา 12.00 น.


@Transport สัปดาห์นี้ เปิดวาร์ป"บัตรแมงมุม"อัจฉริยะยุคไทยแลนด์ 4.0 สู่สังคมที่ไร้เงินสด บัตรใบเดียวเดินทางได้หมด ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ รถไฟ ทางด่วน และมอเตอร์เวย์ แถมยังใช้ช้อปปิ้ง อนาคตยังพัฒนาเป็นบัตรใบเดียว ไม่ต้องพกหลายใบให้รกกระเป๋า



พบกับรายการ “@Transport” รายการที่จะพาคุณ ขึ้นรถ ลงเรือ ไปเหนือ ล่องใต้ โผล่ขึ้นรถไฟฟ้า มุดลงอุโมงค์ไปรถไฟใต้ดิน หรือบินฉิวไปกับเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ในแบบฉบับของเรา โดยทีมงานคนรุ่นใหม่ "โต๊ะข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์" ติดตามได้ทุกวันพุธ เวลา 11.30 น.-12.00 น. สามารถชมย้อนหลังได้ทุกเทป
https://www.youtube.com/watch?v=13G2b1DMtm4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

ขสมก.การันตีชาวกรุง ใช้'บัตรแมงมุม'ได้ชัวร์1ต.ค.นี้

จันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2561 เวลา 19.05 น.

จากกรณีโลกออนไลน์เกิดดราม่าเรื่องระบบตั๋วร่วมหรือ"บัตรแมงมุม" เนื่องจากมีกระแสข่าวทำนองว่า ขสมก.ยังไม่มีความพร้อมที่จะให้บริการประชาชนทันวันที่ 1 ต.ค.นี้ เพราะมีปัญหาด้านเทคนิค โดยเฉพาะเรื่องระบบซอฟต์แวร์ E-ticket ของบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบตั๋วร่วมของรัฐบาลได้ตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการนำระบบตั๋วร่วม มาใช้ในการเดินทาง ภายใต้ บัตรเดียว เชื่อมการเดินทาง ทุกโหมด และล่าสุดได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าว"เดลินิวส์ออนไลน์" ได้รับการเปิดเผยจาก นายประยูร ช่วยแก้ว รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ว่าเบื้องต้น ขสมก. อยู่ระหว่างประสานกับทาง บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริษัทฯ ดำเนินการปรับปรุงระบบให้สามารถรองรับบัตรแมงมุมได้ ตามมาตรฐานของ รฟม. ให้เสร็จใช้งานได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ แต่หากบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ขสมก. และ รฟม. ได้เตรียมแผนสำรองด้วยการนำระบบ E-ticket ที่ใช้เครื่องอ่านบัตรแบบมือถือ (Handheld) มาใช้บนรถเมลล์ร้อน และรถโดยสารปรับอากาศไปก่อน จนกว่าบริษัทฯ จะสามารถดำเนินการปรับปรุงระบบแล้วเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้บริการของประชาชน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 11:49 pm    Post subject: Reply with quote

กทพ.ชง “อาคม”เคาะสร้างทางด่วนขั้นที่3 ช่วงแยกเกษตร-วงแหวนรอบนอก

27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 08:45 น.


กทพ.เตรียม ชง “อาคม”เคาะแผนก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 1.5 หมื่นล้านบาท เร่งก่อสร้างN2 เฟสแรกควบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เตรียมประชุมร่วม สนข.สัปดาห์หน้าเพื่อเสนอแนวทางเลือกในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 เฟส 1 ช่วงแยกเกษตร-วงแหวนรอบนอก วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการทางด่วนที่ต้องเปิดระดมทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFF) หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)ได้มีมติเห็นชอบให้ชะลอโครงการทางด่วน N2 ออกไปก่อนตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดประกวดราคาไปจนถึงการก่อสร้าง เนื่องจากต้องการให้กระทรวงคมนาคมเสนอรายละเอียดการพัฒนาทางด่วนสายเหนือเป็นภาพรวมทั้งทางด่วนสายเหนือ ตอนN1 (N1) และ N2เพื่อแก้ปัญหาจราจรภายในเมืองหลวง

อย่างไรก็ตามขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้ดำเนินการศึกษาแผนภาพรวมไปได้มากแล้ว ดังนั้นในสัปดาห์หน้ากทพ.จะนัดประชุมร่วมกับสนข.และกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอแนวทางเลือกในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวให้ทันกับปัญหาจราจรในเส้นทางดังกล่าวที่ทวีความรุนแรงมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกทั้งยังต้องเร่งเดินหน้าโครงการเพื่อให้สอดรับกับช่วงเวลาการเปิดระดมทุนTFF

ทั้งนี้กทพ.ยืนยันว่าการก่อสร้างช่วงดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ทันทีในเฟส 1 โดยไม่ต้องรอผลการทบทวนความเหมาะสมภาพรวมของกระทรวงคมนาคม ขณะที่การก่อสร้างเฟส 2 ช่วงแยกเกษตร-ต่างระดับรัชวิภา นั้นขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดของโครงการควบคู่ไปกับจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมออกเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์)ในปี 2562

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าสำหรับแนวทางที่จะเสนอให้กระทรวงคมนาคมและนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเป็นผู้ตัดสินใจนั้นประกอบด้วย 1.การสร้างทางด่วนร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลใช้ตอหม้อเดิมตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ ส่วนทางด่วนต้องสร้างเสาตอหม้อใหม่สลับกับเสาตอหม้อเดิม ซึ่งจะออกมาในรูปแบบทางด่วนอยู่ข้างบนและรถไฟฟ้าอยู่ใต้ทางด่วน 2. การสร้างทางด่วนแยกกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้ตอหม้อเดิมตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ เพื่อก่อสร้างทางด่วน N2 ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะต้องวิ่งขนานตามแนวข้างถนนมิใช่บนเกาะกลางถนน

อย่างไรก็ตามหากกระทรวงคมนาคมตัดสินใจเลือกแนวทางที่ 1 จะต้องสั่งเริ่มการเปิดประมูลและการก่อสร้างไปพร้อมกันเพราะใช้พื้นที่หน้างานลักษณะเดียวกัน แต่ถ้าหากเลือกแนวทางที่ 2 ก็จะทำให้แยกย้ายกันไปก่อสร้างโครงการได้เลยเพราะพื้นที่หน้างานไม่ซ้ำซ้อนกัน ทั้งนี้กทพ.ต้องการให้ทุกฝ่ายเร่งสรุปแผนพัฒนาทางด่วนเส้นทางดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กทพ.ได้ตั้งไว้คือเริ่มเปิดประมูลโครงการต้นปีหน้าและก่อสร้างโครงการภายในปี 2562

นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังต้องเร่งเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)พิจารณาเห็นชอบก่อนเสนอแบบโครงการที่ปรับปรุงแล้วเสร็จเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อีกครั้งหนึ่งเพื่อเห็นชอบโครงการให้แล้วเสร็จทุกขั้นตอนเพื่อเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอและก่อสร้างต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/06/2018 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

ขสมก.จัดรถ รับผู้โดยสารแนวรถไฟฟ้า
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 29 มิ.ย. 2561 เวลา 08:59 น.

ขสมก.เสริมรถเมล์สองเส้นทางใหม่ รับก่อสร้างรถไฟฟ้าสองสี หวังเชื่อมระบบขนส่งรถไฟฟ้า-ท่าเรือ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการสรุปแผนการจัดรถเมล์รับ-ส่งประชาชน (Shuttle Bus) ตามแนวเส้นทาง การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งการดำเนินโครงการจะทำให้สูญเสียช่องจราจรบนถนนสายหลักจนเกิดปัญหาจราจรในเส้นทาง ดังกล่าว จึงควรเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งสาธารณะเพื่อจูงใจให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวแล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

สำหรับเส้นทางพิเศษที่รัฐบาลได้เสนอให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ดำเนินการจัดรถเมล์ชัตเทิลบัสเพิ่มเติมนั้น แบ่งเป็น 1.เส้นทางถนนลาดพร้าว ช่วงห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ระยะทางรวม 9 กม. 2.เส้นทางถนนรามคำแหง ช่วงตลาดมีนบุรี-มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ท่าเรือโดยสารคลองแสนแสบและสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ โดยใช้เส้นทางผ่านถนนสุขุมวิท 71 เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวที่สถานีพระโขนง ระยะทางรวม 23 กม.

อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ ขสมก.เข้มงวดเรื่องความพร้อมของรถเมล์ที่จะนำออกมาให้บริการโดยให้ตัวรถมีความสะอาดพร้อมใช้งานรับส่งผู้โดยสาร และต้องไม่มีปัญหารถเสียระหว่างทางเพราะจะทำให้ปัญหาจราจรตามแนวก่อสร้างทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2018 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ตั๋วร่วมแมงมุม” สะดุดตอ BTS นโยบายไม่นิ่งฤาเอกชนไม่พร้อม
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 19:13 น.

หลัง “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ใช้เวลา 5 ปีเซตระบบตั๋วร่วมเวอร์ชั่น “บัตรแมงมุม” แม้การเปิดใช้จะเลื่อนมาหลายครั้ง ในที่สุดรัฐบาลทหารก็คิกออฟบัตรแมงมุม 2 แสนใบที่ผลิตไปก่อนหน้านี้ให้ใช้งานได้จริง ถึงจะเป็นได้แค่ “ตั๋วต่อ” ยังไม่ใช้ “ตั๋วร่วม” อย่างที่ตั้งเป้าไว้ก็ตาม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ระบบตั๋วร่วมแมงมุม ที่เริ่มใช้ 23 มิ.ย. 2561 จะใช้กับรถไฟฟ้า 2 สาย คือ สีน้ำเงินกับสีม่วง จากนั้นเดือน ต.ค.จะใช้กับแอร์พอร์ต ลิงก์ และรถเมล์ขณะนี้กำลังประสานเรือด่วนเจ้าพระยา ทางด่วนและมอเตอร์เวย์ให้เข้าระบบแมงมุมด้วย รวมถึงร้านค้าพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อใช้บัตรได้ครอบคลุมมากขึ้น

“อนาคตจะเชื่อมบัตร Easy Pass ของทางด่วนและ M Pass ของมอเตอร์เวย์ รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ และเรือแสนแสบด้วย แต่เอกชนจะต้องเป็นผู้จัดการเอง”

ส่วนการจัดทำระบบตั๋วร่วมให้มีอัตราค่าโดยสารที่ถูกลง หรือ common fair ต้องรอ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ จากนั้นต้องเจรจากับเอกชนที่รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า กำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย



“บัตรแมงมุมที่ใช้เป็นเวอร์ชั่นแรก ยังเป็นระบบปิด กำลังจะอัพเกรดให้เป็นเวอร์ชั่น 2 เป็นระบบเปิดEMV ที่ใช้ได้บัตรเครดิต เดบิต และโทรศัพท์มือถือสแกนจ่ายค่าโดยสารแทนบัตรโดยสารได้ อีก 10-12 เดือนจะเสร็จจะสะดวกขึ้น ไม่ต้องพกบัตรหลายใบ”

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า บัตรแมงมุม 2 แสนใบที่ทยอยแจก สามารถเติมเงินได้สูงสุด 2,000 บาท ต่ำสุด 150 บาท มีค่ามัดจำบัตร 50 บาท ส่วนการใช้ร่วมกับรถเมล์นั้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) อยู่ระหว่างออกแบบระบบ อาจใช้วิธีเก็บค่าโดยสาร 2 รูปแบบ คือ ให้กระเป๋ารถเมล์มีเครื่องสแกนเก็บค่าโดยสารติดตัวไว้ และติดตั้งเครื่องอ่านบัตรไว้บนรถเมล์ จะใช้เวลาอ่านไม่เกินครึ่งวินาทีต่อ 1 ใบ จะชัดเจนในเดือน ต.ค.นี้

นอกจากนี้ รฟม.กำลังจะพัฒนาระบบตั๋วร่วมเป็นระบบเปิด EMV เป็นการอัพเกรดระบบตั๋วร่วมแมงมุมที่ สนข.ศึกษามาให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเร็วมาก ปัจจุบันมีการพิสูจน์แล้วว่าระบบ EMV มีความเสถียรและใช้แพร่หลายใน 127 ประเทศ โดย รฟม.จะเป็นผู้ลงทุนระบบ ใช้เวลา 18 เดือนจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2562

“ช่วงที่ สนข.ศึกษาระบบตั๋วร่วมเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ระบบ EMV ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จึงเสนอเป็นระบบตั๋วแมงมุม ข้อดีคือผู้ถือบัตรสมาร์ทการ์ดที่ติดระบบ EMV ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ใช้ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิตแทนบัตรโดยสารได้โดยไม่ต้องออกใหม่ แค่แตะบัตรก็เข้าไปในระบบได้ ส่วนค่าเดินทางจะเรียกเก็บภายหลัง ในปี 2563 ทางมาสเตอร์การ์ดและวีซ่าจะบังคับให้ใช้ระบบนี้ทั้งหมด”

ส่วนระบบตั๋วร่วมแมงมุมผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า จะแปลงสภาพเป็นระบบหลังบ้านเคลียร์ค่าโดยสารของแต่ละระบบ และส่งข้อมูลให้แต่ละธนาคารเพื่อหักบัญชีผู้ถือบัตร

ด้าน “ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย” ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.กล่าวว่า เร่งรฟม.ใช้ระบบตั๋วร่วมที่ใช้เทคโนโลยี EMV Contactless Smart Card เร็วขึ้นจากเดิมเดือนธ.ค. 2562 ซึ่งสามารถใช้บัตรเครดิตและเดบิตของทุกแบงก์มาชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าสินค้าและบริการ โดยไม่ต้องเติมเงินในบัตรล่วงหน้า เป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางให้ผู้โดยสาร

“กำลังเจรจาบีทีเอสให้เข้าร่วมระบบตั๋วร่วม EMV เพราะบัตรแรบบิทเป็นระบบปิด แต่ระบบ EMV เป็นระบบเปิด ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบกันได้ เรียกว่า common ticket ส่วน common fair ต้องมีเจ้ามือคือรัฐ ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นนั้น ส่วนการเคลียริ่งเฮ้าส์ จะเจรจากับแบงก์กรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการให้”

อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่ “ตั๋วร่วมแมงมุม” ใช้ไม่ได้กับบีทีเอส”ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อธิบายว่า บีทีเอสยังไม่เข้าร่วม เพราะอยู่ระหว่างการเจรจา ต้องให้เวลาบริษัทพิจารณาและเตรียมตัว ยังติดปัญหาเทคนิคบางอย่าง ยังไม่รู้ว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องนี้เมื่อใด

ฟาก “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า ที่ยังไม่ปรับระบบให้รองรับบัตรแมงมุม เพราะกำลังเจรจากับคมนาคม จะปรับเป็นระบบ EMV ตามที่มีนโยบาย จะนำมาใช้ในปี 2562

“เรากำลังศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งมีนโยบายเปลี่ยนแปลง และต้องดูค่าทรานเช็กชั่นฟีของแต่ละสถาบันการเงินด้วย หากเป็นระบบเดิม จะคล้ายกับบัตรแรบบิทของบีทีเอส” บิ๊กบีทีเอสย้ำ

ทั้งนี้การที่เอกชนยังไม่ตัดสินใจลงทุนในทันที อาจจะเป็นเพราะความไม่แน่ไม่นอนของนโยบายรัฐที่ปรับเปลี่ยนไว เพราะเมื่อปีที่แล้ว ยังมี “บัตรแมงมุม” เป็นไฮไลต์ แต่เพียงระยะไม่นาน ก็เปลี่ยนมาเป็นระบบ EMV พลันที่เปลี่ยนบอร์ด รฟม.ชุดใหม่

ส่วนจะผลักดันให้ฉลุยในปีหน้าตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ คงต้องจับตาดูกันต่อไป เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีมาก่อน กว่าจะหาจุดลงตัวที่ “วิน-วิน” คงจะใช้เวลานานพอสมควร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2018 8:46 am    Post subject: Reply with quote

“ซิโน-ไทยฯ” กัดฟันลุยรัฐสภาใหม่ บุกลงทุนไฮสปีด-รถไฟฟ้าสารพัดสี
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 July 2018 - 08:30 น.
สัมภาษณ์พิเศษ

เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เนื้อหอมไม่แพ้เบอร์ 1 และเบอร์ 2 ของวงการ สำหรับเบอร์ 3 “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน”ด้วยชื่อชั้นและประสบการณ์ที่คว้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายตุนไว้ในมือ จนงานในมือ (แบ็กล็อก) ทะลุ 1.2 แสนล้านบาท โดยเฉพาะสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ “ซิโน-ไทยฯ” ไม่ได้เป็นแค่ผู้รับเหมาก่อสร้าง ยังผันตัวเองเป็นผู้ลงทุนร่วมกับ “บีทีเอส-ราชบุรีโฮลดิ้ง” ในสัดส่วน 15% ไม่ใช่แค่รถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี ยังมองไกลไปถึงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ที่รัฐบาล คสช.กำลังจะสับเกียร์เปิดประมูล

“ภาคภูมิ ศรีชำนิ” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ฉายภาพงานบนหน้าตักและกระดานประมูลในครึ่งปี 2561 ที่เหลืออยู่อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

Q : การประมูลงานภาครัฐในครึ่งปีหลัง

งานใหญ่ ๆ เราก็ติดตามอยู่ ส่วนงานเล็ก ๆ เราก็ร่วมยื่นประมูลเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท แต่ตัวหลัก ๆ ที่จะออกมาในปีนี้ ที่กำลังตามอยู่มีรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) และสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แม้แต่การประมูลระบบเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราชและบางใหญ่-กาญจนุบรี ก็เป็นโครงการที่เราให้ความสนใจอยู่แล้ว เราคาดว่าน่าจะมีโอกาสได้งานอยู่ประมาณ 25%

Q : รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองเริ่มก่อสร้างเต็มรูปแบบได้เมื่อไหร่

ถ้ากรมทางหลวงส่งมอบพื้นที่ได้ตามที่แจ้งไว้ (วันที่ 29 มิ.ย. 2561) ก็ไม่น่าจะมีปัญหา พร้อมที่จะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ทันที ขณะนี้ก็เริ่มเข้าไปดำเนินการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคไปบ้างแล้ว

ตอนนี้เรื่องแผนการก่อสร้าง ยังวางแผนให้เสร็จตามกำหนดสัญญาภายในระยะเวลา 39 เดือน หรือ 3 ปี 3 เดือนนับจากวันที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน จะแล้วเสร็จในเดือน ต.ค. 2564

ส่วนเรื่องของอนาคตที่ว่าจะติดอะไรอีกหรือไม่ ต้องไปว่ากันอีกครั้ง แต่ตอนนี้ต้องคิดก่อนว่าไม่มีอุปสรรคอะไรแล้ว เราต้องทำให้เสร็จตามสัญญา

Q : มีปรับแแบบและตำแหน่งสถานีใหม่

ก็มีบ้างเพราะสายสีชมพูกับสีเหลืองเป็นระบบโมโนเรล จะต้องออกแบบและก่อสร้างไป หากติดพื้นที่ตรงไหนก็จะต้องปรับ ในเบื้องต้นต้องส่งรูปแบบตำแหน่งให้กรมทางหลวงและกรุงเทพมหานคร (กทม.) อนุมัติก่อน ที่ผ่านมาก็ได้ทยอยส่งไปแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร ผมว่าตำแหน่งสถานีคงไม่ขยับมากจนเป็นนัยสำคัญ

Q : ตั้งเป้าทั้งปีนี้จะได้งานใหม่ในมือเท่าไหร่

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้งานไปแล้วประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท จากที่ตั้งเป้าไว้ 3 หมื่นล้านบาท ก็น่าจะได้ตามเป้า ที่เหลือขึ้นอยู่กับความรวดเร็วของการประมูล คาดว่างานโครงการใหญ่ของรัฐน่าจะประมูลได้ทันภายในปีนี้ แต่คงเซ็นสัญญาได้ในปีหน้า

Q : จะเข้าร่วมประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน

แน่นอน ไปกับพันธมิตรเดิม คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วยบีทีเอส ซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้ง ส่วนจะมีใครมาเพิ่ม เช่น ปตท. บริษัทต่างชาติทั้งยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และเอเชีย มีจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตอนนี้ยังไม่สรุป ขณะที่สัดส่วนการลงทุนคงดูเป็นรายโปรเจ็กต์ ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับสีเหลืองเราลงไป 15%

แต่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินยังไม่แน่นอน ต้องดูเงื่อนไขทีโออาร์ด้วย เพราะจะต้องจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ จะทำให้ไม่มีผลงานเลย ก็หารือกันอยู่ ยังไม่จบ จะต้องจบก่อนที่จะยื่นประมูลวันที่ 12 พ.ย.นี้

Q : ประเมินคู่แข่งในสนาม

เราไม่กลัวคู่แข่งเพราะเราก็มีศักยภาพ นอกจากว่าจะมีใครบ้ามาตัดราคา เพราะรู้สึกว่าเราค่อนข้างจะครบ มีทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าและผู้ประกอบการด้านธุรกิจพลังงาน ส่วนเรื่องการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของบีทีเอส เรามั่นใจว่าด้านต้นทุนก่อสร้างเราจะได้เปรียบคู่แข่งต่างชาติ เพราะมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่จังหวัดชลบุรี และบริษัทต่างชาติยังไงก็ต้องมาจ้างรับเหมาก่อสร้างจากไทยอยู่แล้ว

ปัจจุบันมีเพียงประกาศเชิญชวนออกมา ซึ่งเป็นรายละเอียดคุณสมบัติเฉย ๆ ต้องมาดูรายละเอียดทีโออาร์ที่จะต้องซื้อมาศึกษาดูว่า จะต้องเลือกบริษัทซัพพลายเออร์ เลยหรือไม่ จะต้องบังคับให้จอยต์เลย ขึ้นอยู่กับทีโออาร์ว่ากำหนดหรือไม่ หรือทุกคนที่จะยื่นซองประมูลจะต้องซื้อเอกสารประกวดราคา ในราคา 1 ล้านบาทด้วยหรือเปล่า เราอยากให้ซื้อนะ จะได้รู้คู่แข่ง เราก็มีถามไปเหมือนกัน ความเห็นของเราคือ ให้ทุกรายมายื่นต้องซื้อซองด้วยนะ ไม่ใช่ไปเอาใครมาก็ได้

Q : งานในมือปีนี้

มีสายสีชมพูและสายสีเหลืองมูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ปีที่แล้วได้สายสีส้มมา 1.6 หมื่นล้านบาท ทำให้ปัจจุบันมีแบ็กล็อกอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วได้ 1.06 แสนล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ใน 3-4 ปี เฉลี่ยปีละ 2.5 หมื่นล้านบาท ในปีหน้าคาดว่าจะแตะ 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมคิดว่าปีนี้จะถึง แต่สายสีชมพูกับสีเหลืองกว่าจะเข้าพื้นที่ เริ่มทำงานได้จริงในอีก 1 เดือน เหลือเวลา 5 เดือนจะถึงสิ้นปี เลยทำให้รายได้จะรับรู้อาจจะไม่ถึง 3 หมื่นล้านบาท เพราะรับรู้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ คาดว่าปีนี้จะมีรับรู้รายได้อยู่ 2.5 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 25% จากปีที่แล้วที่ได้ 2 หมื่นล้านบาท

Q : ปัญหาขาดทุน

บริษัทไม่มีขาดทุนแล้ว เพราะเราดีแคร์ไปเมื่อปีที่แล้วไปหมดแล้ว ไม่ว่าโครงการรัฐสภาแห่งใหม่ที่เราตั้งสำรองขาดทุน 3,000 ล้านบาท ก็ดีแคร์ไปแล้ว

ขณะนี้กำลังจะยื่นฟ้องต่อศาลขอค่าชดเชยวงเงินประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างรวบรวมตัวเลข ซึ่งเราก็ทราบดีว่าการฟ้องรัฐกว่าจะรู้ผลใช้เวลา 10 ปี แต่เมื่อรายได้กลับมาปีไหนก็จะรับรู้ได้ทันที สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกที่ผ่านมามีกำไร

Q : เตรียมเทคโนโลยีก่อสร้าง

เนื่องจากชมพู เหลือง ต้องออกแบบและก่อสร้างไปด้วย รฟม.กำหนดรูปแบบมาเฉย ๆ เราจะผลิตชิ้นส่วนงานโครงสร้างจากข้างนอกแล้วมาประกอบที่ไซต์งาน แต่จะเสร็จเร็วกกว่า 39 เดือนได้หรือไม่ คาดว่าน่าจะยาก เพราะมีปัจจัยอื่น เช่น การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค สถานี เพราะขั้นตอนการก่อสร้างสถานีมีเยอะและจะใช้เวลานานกว่า

ปัจจุบันมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างที่จังหวัดชลบุรี อ.ไทรน้อย และบางนาเป็นศูนย์เครื่องกล ที่ผ่านมาเราลงทุนไปมากพอสมควร ปีที่แล้วลงทุน 700-800 ล้านบาทซื้อเครื่องจักร ปีนี้คงจะลงทุนใกล้เคียงของเดิม มีแผนจะขยายโรงงานผลิตชิ้นส่วน ป้อนสายสีชมพูกับเหลืองอีกหลาย 1,000 ท่อน

ขณะเดียวกันมีแลนด์แบงก์ตรงบางนา กม.4 เป็นที่ประกอบชิ้นงานเหล็กเก่า ตอนนี้ต้องปรับปรุงทำเป็นที่สต๊อก โรงหล่อเล็ก ที่ใหญ่ ๆอยู่ที่ไทรน้อย ที่ชลบุรีอยู่บ้านบึง ที่พร้อมจะหล่อเลยที่นนทบุรี ถ้าโชคดีได้ไฮสปีด จะรื้อฟื้นที่บ้านบึงมาเป็นโรงหล่อผลิต ส่วนที่ดินบางนาจะใช้ซัพพอร์ตงานก่อสร้างก่อน อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2018 7:54 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมแจกบัตรแมงมุมอีก5หมื่นใบ จ่อชง ครม.เพิ่มวงเงินค่ารถไฟ-บขส.
แนวหน้า วันพุธ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 19.22 น.

4 ก.ค.61 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาส ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการดำเนินการระบบตั๋วร่วม เพื่อรองรับการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ว่า ทาง รฟม. พร้อมที่จะดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือระหว่าง กรมบัญชีกลาง และธนาคารกรุงไทยเพื่อพัฒนาระบบตั๋วร่วมรองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ประชาชนจะใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยในปัจจุบันที่มีการเป็นการคิดค่าโดยสารทันทีที่แตะบัตรแต่ในส่วนของบัตร EMV จะรวบรวมทุกการเดินทางในทุกชนิดของประเภทการเดินทาง 1 วันและบันทึกเป็นรูปแบบระบบบัญชี

ทั้งนี้ เนื่องจากบัตร EMV ที่เป็นระบบบัตรเครดิต บัตรเดบิต ที่จะเรียกเก็บกับธนาคารที่ออกบัตรและธนาคารกรุงไทยก็จะทำการแจ้งไปยังธนาคารที่ออกบัตรเพื่อเรียกชำระเงินค่าโดยสารต่อไป ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามรอบบัตรเครดิตของแต่ละธนาคาร และระบบ Pre-Paid จึงสามารถรองรับทุกกลุ่มรายได้ที่จะใช้บริการ ในส่วนของบัตร MRT Plus จะมีการเปลี่ยนเป็นการใช้บัตรแมงมุมและบัตรที่จะมีการผลิตออกมาใหม่จะมีค่าธรรมเนียมออกบัตร 30 บาท โดย รฟม.จะมีการดำเนินการในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีม่วงโดยจะมีการจัดจ้าง BEM ดำเนินการในการปรับอ่านบัตร EMV ให้สามารถอ่านได้ทั้งบัตรแมงมุมและบัตร EMV ซึ่งจะใช้งบลงทุนในการดำเนินการประมาณ 500 ล้านบาท ในส่วนของธนาคารกรุงไทยก็จะต้องไปดำเนินการจัดทำระบบการชำระดุล

สำหรับขณะนี้มีการแจกบัตรแมงมุมไปแล้วจำนวน 140,000 ใบ ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 50,000 จะมีการนำไปแจกในช่วงเดือน ต.ค.นี้ ที่จะมีการเปิดตัวการใช้บริการบัตรแมงมุมร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ และรถเมล์ ขสมก. ส่วนของกรณีของรถไฟฟ้า BTS ที่ขณะนี้ยังไม่เข้าร่วมโครงการตั๋วร่วมนั้นก็เข้าใจว่าทาง BTS มองว่าน่าจะรอปรับปรุงหัวอ่านครั้งเดียวตอนปรับเป็นหัวอ่านบัตร EMV ที่จะสามารถใช้ได้ในช่วงปลายปี 2562 เพราะทาง BTS ก็มีผู้ถือบัตร Rabbit อยู่แล้วถ้าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นมีการเปลี่ยนระบบหลายครั้งเกรงว่าผู้ถือบัตรจะเกิดการสับสน

ด้าน น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่าปัจจุบันมีประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จำนวน 1.3 ล้านใบ ในเขต 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ซึ่งเป็นบัตรแบบ 2 ชิปการ์ด โดยจะมีสัญลักษณ์แมงมุมบริเวณมุมขวาล่างด้านหลังบัตร ทั้งนี้ ภายในบัตรดังกล่าวจะมีวงเงินที่สามารถใช้กับรถไฟฟ้า MRT และเป็นวงเงินเดียวกับใช้บริการรถเมล์ ขสมก. จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน

ทั้งนี้ภายหลังช่วงเดือน ต.ค.นี้ ทางกรมบัญชีกลางจะมีการพิจารณาประเมินนำวงเงินในการใช้โดยสารรถไฟจำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน และรถ บขส.จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มวงเงินในส่วนของการใช้กับรถไฟฟ้า MRT เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ขณะเดียวกันยังมีแผนที่จะให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้ร่วมกับเรือโดยสารได้ด้วยในอนาคต อย่างไรก็ตามจะต้องมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ก่อนนำเสนอไปให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาต่อไป

สำหรับการใช้บัตรกับรถไฟฟ้า MRT วงเงิน 500 บาทต่อคนต่อเดือนนั้น หากมีการใช้เกินจากวงเงินที่รัฐบาลให้ จะสามารถติดลบได้ 1 ครั้ง และจะถูกหักยอดติดลบในวงเงินของเดือนถัดไป ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการเดินทางโดยสารรถไฟเฉลี่ยวงเงิน 20 ล้านบาทต่อเดือน และรถ บขส. 5 ล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาผู้ใช้บัตรผู้มีรายได้น้อยจ่ายค่าเดินทางแล้ว 200 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ช่วงเดือน เม.ย. 2561 ที่ผ่านมามีผู้ใช้บัตรฯกับรถไฟ 30 ล้านบาท และรถ บขส. 6 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2018 10:38 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ทุ่มศึกษา 17 ล. ยกบริการรถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 6 ก.ค. 2561 05:01

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง สนข. กล่าวว่า สนข.ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยมหิดลศึกษาการวางแผนระบบการจัดการการเดินรถเพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน 6 ด้าน ได้แก่
1.ข้อมูลพื้นฐานรถไฟฟ้าทั้งระบบ
2.สำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการ
3.การตั้งชื่อสถานีเชื่อมต่อ
4.การประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดและแบบจำลองในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
5.แนวทางการใช้ Digital Platform แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ
6.จัดทำ Application เพื่อช่วยวางแผนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งระบบ

ใช้เวลาศึกษา 14 เดือน งบ 17 ล้านบาท เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

ผุดสร้างแอพฯ 'รถไฟฟ้า' ช่วยวางแผนการเดินทาง

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 13:14:00

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 ก.ค. ที่โรงแรมแบงค็อก มิดทาวน์ กรุงเทพฯ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการศึกษาการวางแผนเชิงระบบการจัดการเดินรถ เพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนว่า ปัจจุบันมีผู้เดินทางด้วยรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลวันละไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านคนต่อวัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกถึงปีละ 4-6% ดังนั้นระบบขนส่งมวลชนทางราง จึงจำเป็นต้องจัดการให้มีประสิทธิภาพ แต่ที่ผ่านมาการจัดการระบบขนส่งทางรางของประเทศมักขาดแผนงานหรือแนวทางที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การให้บริการประชาชนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การปฏิรูปเชิงดิจิทัลเพื่อรองรับด้านการจัดการระบบขนส่งทางราง เป็นแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนในระยะยาว โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เน้นการลดช่องว่างและอุปสรรคต่างๆ ในการเดินทางของประชาชน

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้บริการรถไฟฟ้า ทั้งความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ชื่อสถานีที่ก่อให้เกิดความสับสน ขาดข้อมูลสนับสนุนเพื่อช่วยตัดสินใจเลือกเส้นทางการเดินทางปัญหาการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ให้มีแนวความคิดเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับไทยแลนด์ 4.0 จึงมีโครงการดังกล่าว และจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเสนอรายละเอียดการศึกษาการวางแผนเชิงระบบการจัดการเดินรถ ยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้า รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาและใช้ในงานสำรวจความต้องการของประชาชน แนวทางการจัดทำตัวชี้วัด กำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้า และแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชัน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป



นายชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวจะมีการพัฒนาแอพฯ รถไฟฟ้าขึ้นมาใช้งาน โดยชื่อแอพฯ อยู่ระหว่างหาข้อสรุป คาดว่าพัฒนาแล้วเสร็จ ธ.ค. 61 จากนั้นทำการทดลองการใช้งานของแอพฯ เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของผู้โดยสารและระบบการใช้งาน นำมาปรับแอพฯ ให้มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากสุด และจะเปิดแอพฯ ให้ใช้งานได้ เม.ย. 62 ผู้โดยสารสามารถดาวน์โหลดใช้งานฟรี ได้ทั้งระบบไอโอเอสและแอนดรอยด์ ซึ่งแอพฯ นี้ต้องพัฒนาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าต่อยอดการใช้งานได้ รวมทั้งเมื่อกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ปฏิรูปเส้นทางรถเมล์แล้วเสร็จสามารถนำแอพฯ ไปประยุกต์ใช้กับรถเมล์ให้ผู้โดยสารตรวจสอบการใช้บริการรถเมล์ได้ด้วย สำหรับโครงการดังกล่าวใช้เวลาศึกษา 14 เดือน ตั้งแต่ ม.ค.61-มี.ค.62 งบประมาณ17 ล้านบาท ผลการศึกษาแล้วเสร็จจะเสนอกระทรวงคมนาคม และ คณะกรรมการ จัดระบบ การจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบและมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กทม. และท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์ในอนาคตที่จะสร้างรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน

ด้าน รศ.ดร.ภูมินท์ กิระวานิช หัวหน้าโครงการจัดตั้งกลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) และ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการรถไฟฟ้าของประชาชน เช่น การรอรถไฟฟ้า ความหนาแน่นในแต่ละสถานีและรอบสถานีที่มีการเชื่อมต่อ การตั้งชื่อสถานีและสถานีเชื่อมต่อที่ปัจจุบัน ได้สำรวจรถไฟฟ้าที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-แบริ่ง สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง สายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ

รศ.ดร.ภูมินท์ กล่าวต่อว่า จากนั้นนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อสรุปความถี่ในการเดินรถต่อขบวน จำนวนขบวนรถที่เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสาร การตั้งชื่อสถานีที่คาดหวังขณะเดียวกันจะมีการพัฒนาแอพฯ ในการใช้กับรถไฟฟ้าในระบบที่ให้บริการในปัจจุบันขึ้นมา โดยเป็นแอพฯ ที่ใช้นี้จะสามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถไฟฟ้าในแต่ละสายได้ ระยะเวลาที่รถไฟฟ้ามาถึงสถานี ระหว่างสถานีใช้เวลาเดินรถกี่นาที ระยะทาง จำนวนสถานี ชื่อสถานี อัตราค่าโดยสาร ตลอดจนใส่ข้อมูลสถานะโครงการสร้างรถไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบัน อาทิ ความคืบหน้าอยู่ในขั้นตอนไหน ดำเนินการอะไรบ้าง และสร้างแล้วเสร็จเมื่อไหร่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารในการใช้บริการ บริหารจัดการในการเดินทางได้ และลดอุปสรรคในการเดินทาง โดยแอพฯ ดังกล่าวเบื้องต้นจะมี 2 ภาษาคือภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อรองรับให้นักท่องเที่ยวนำมาใช้งานได้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 181, 182, 183 ... 278, 279, 280  Next
Page 182 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©