View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 42723
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/03/2008 3:55 pm Post subject: |
|
|
นั่นน่ะสิครับ
ไหนล่ะครับ รถไฟทางคู่ รถไฟก้างปลา
ผมว่าเส้นทางที่เป็นไปได้ก่อนเพื่อนคือ แก่งคอย-คลองสิบเก้าน่ะแหละ
แล้วอุโมงค์พระพุทธฉายต้องขุดเพิ่มหรือเปล่า |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 12/03/2008 10:20 am Post subject: |
|
|
CENTENNIAL wrote: | จนกระทั่งบัดเดี๋ยวนี้ ก็คงยังไม่ปรากฎโครงการรถไฟซักโครงการเลยฮะ เฮียวิซซี่แบร์ |
รอเซ็นสัญญาเงินกู้ 18000 ล้านกะเจบิกปลายมีนาคม 2551 นี้หละหวา ไว้รอข่าวจากประชาชาติธุรกิจก่อนดีกว่านะ  |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 12/03/2008 10:59 am Post subject: |
|
|
สันติ ลุยขายซองรถไฟฟ้า 6 สาย คาดสายสีม่วงเริ่มทันที ปลายเดือนนี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 มีนาคม 2551 15:29 น.
ประชาชาติธุรกิจ 13-16 มีนาคม 2551
รมว.คมนาคม เอาใจคนกรุง กำหนดเวลาขายซองประกวดราคารถไฟฟ้า 6 สาย มูลค่า 2.7 แสนล้าน พร้อมมั่นใจเงินกู้ไม่มีปัญหา เตรียมประเดิมสายสีม่วงบางใหญ่-บางซื่อ ปลายเดือน มี.ค.นี้
วันนี้ (11 มี.ค.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการติดตามเร่งรัดการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สาย โดยระบุว่า ภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทั้งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการเปิดขายซองประกวดราคาได้ภายในปี 2551 ในเบื้องต้น 6 สาย คือ
1. สายสีม่วง เส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ ในช่วงปลายเดือน มี.ค. - 23 กม. 55,945 ล้านบาท
2. สายสีน้ำเงิน เส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ ในช่วงเดือน มิ.ย. -
(รวม 2 ส่วน 27 กม. 75,540 ล้านบาท)
3. สายสีเขียวอ่อน เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ 12 กม. มูลค่า 30700 ล้านบาท จะขายซองประกวดราคาในช่วงเดือน ก.ค.
4. สายสีเขียวเข้ม เส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กม. มูลค่า 24600 ล้านบาท จะขายซองประกวดราคา ในช่วงเดือน ก.ค.เช่นกัน
กรณี ข้อ 3-4 ต้องเป็นไปตามพรบ. ร่วมทุน และยังกัดกันว่าใครจะดูแลส่วนนี้ระหว่างกรีงเทพมหานคร กะ กระทรวงคมนาคม ข้อ 3 ไม่มีปัญหา กทม. ทำได้ แต่ มาหนักใจตรง ข้อ 4 เพราะพ้นเขต กทม. แล้ว ซึ่งรองนายก สหัส ท่านบอกว่า จะให้ รฟท. หรือ ไม่ก็ รฟม. ทำ เพราะ พ้นเขตรับผิดชอบของ กทม.
5. เส้นทางสายสีแดง ช่วงเส้นทางบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วงเดือน มิ.ย.หรือ ก.ค. หลังออกแบบเสร็จ เมษายน 2551 (36 กม. - 63,744 ล้านบาท รวมค่าสร้างสถานีบางซื่อใหม่เพื่อเปนสถานีกรุงเทพแห่งใหม่)
6. ส่วนสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. มูลค่า 8,748 ล้านบาท นั้น ได้ประกวดราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว และอยู่ในช่วงรอการเปิดซองประกวดราคาเพื่อคัดเลือกเอกชนผู้รับเหมาก่อสร้าง จะเซ็นสัญญากะผู้รับเหมาเดือนพฤษภาคม 2551
นายสันติ กล่าวว่า สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างเบื้องต้นได้มีการประเมินไว้ทั้ง 6 สาย คาดว่า จะใช้งบประมาณในภาพรวมประมาณ 270,000 ล้านบาท โดยทางกระทรวงการคลังจะทำหน้าที่ในการเจรจาเพื่อขอกู้เงินจากแหล่งเงินต่างๆ ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะทุกแหล่งเงินแสดงเจตนาที่ต้องการให้รัฐบาลไทยกู้เงินมา เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างดังกล่าวอยู่แล้ว
นายสันติ ยังกล่าวอีกว่า ตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการก่อสร้างให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะสายสีม่วง แดง และน้ำเงิน ที่ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด และต้องการให้เกิดขึ้นก่อนสายอื่นๆ ทั้งนี้ มั่นใจว่า รถไฟฟ้าสายอื่นๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับการก่อสร้างก็จะเร่งดำเนินการให้มีการก่อสร้างให้เร็วที่สุด
สำหรับการออกแบบก่อสร้างนั้น ตนได้เน้นให้ทุกหน่วยงานเน้นการออกแบบก่อสร้างที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนให้มากที่สุด เช่น การออกแบบให้มีสถานีในจุดที่เหมาะสม เพื่อรับส่งผู้โดยสาร มีช่องจอดรถประจำทางและรถเวียนเพื่อรับส่งผู้โดยสารที่ลงจากรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปยังจุดต่างๆ โดยให้ผู้โดยสารเดินในระยะที่ไม่เกิน 200 เมตร จากสถานี เป็นต้น |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 13/03/2008 10:08 am Post subject: |
|
|
สมัครนั่งหัวโต๊ะสั่งลุยรถไฟฟ้า7สาย ลั่นซื้อหนี้"บีทีเอส"ดึงพ้นมือ"กทม."
มติชน วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10960
"สมัคร" นั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ดระบบขนส่งมวลชน สั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า 7 สาย วงเงิน 7.7 แสนล้าน ลั่นซื้อหนี้ "บีทีเอส" 5 หมื่นล้าน พร้อมให้มหาดไทยเจรจาดึงสัมปทานพ้นมือ กทม.มาเป็นของรัฐบาล คาด 3 ปี ได้เห็นวิ่งแน่ 3 สาย เตรียมออกพันธบัตร 30 ปี ล็อตแรก 5 พันล้าน ดอกเบี้ย 5.1-5.2% เริ่มขาย เม.ย.นี้ ให้ "เลี้ยบ" คุยเจบิคปล่อยกู้ ติงอย่ามีพิธีรีตองมาก พร้อมลุยรถไฟชานเมือง 3 สาย ระยะทาง 80 กม.
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม โดยมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) และกระทรวงการคลัง เข้าร่วมว่า ที่ประชุมมีมติให้เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบรางใน 7 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวม 770,000 ล้านบาท โดยจะใช้เงินลงทุนจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) เงินออมภายในประเทศ และการออกพันธบัตรภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลจะรับผิดชอบการลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ขณะที่เอกชนจะรับสัมปทานจากสิ่งที่รัฐได้ลงทุนไว้
นายสมัครกล่าวว่า สำหรับเส้นทางเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ประกอบด้วย การเดินหน้าในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส 3 เส้นทาง ได้แก่
1.หมอชิต-สะพานใหม่-อนุสรณ์สถาน-คลองสี่
2.ตากสิน-บางหว้า-เพชรเกษม-อ้อมน้อย
3.อ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ-ปากน้ำ-บางปู
โดยทั้ง 3 เส้นทางคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยไปเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในการที่รัฐจะเข้าซื้อหนี้ 89% จากกลุ่มเจ้าหนี้ของบีทีเอส ในวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท หรือเรียกว่าการโอนสัมปทานจาก กทม.มาให้รัฐ
"ที่พวกคุณมาถามผมว่าจะเป็นการดึงอำนาจของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. มาหรือไม่ ผมคิดว่าไม่หรอก เพราะเราต้องการแค่ทำให้ชัด และในเรื่องของค่าโดยสารก็ไม่ต้องเป็นห่วงอะไร เพราะหากรัฐเป็นเจ้าของกิจการลงทุนให้รถวิ่งได้การจะกำหนดราคาเดียวเท่าใดก็เป็นไปได้" นายสมัครกล่าว
นายกฯยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังเห็นชอบรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 สาย ประกอบด้วย
1.บางซื่อ-อยุธยา
2.บางซื่อ-นครปฐม
3.บางซื่อ-หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา
โดยจะใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร (ส่วนต่อขยาย Airport Link ก็ว่าได้) ระยะทางรวม 80 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 42 เดือน โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบ และที่ประชุมยังเห็นชอบให้ดำเนินการสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่
นายสมัครกล่าวว่า คาดว่าทั้งหมดจะดำเนินการต่อจากสิ่งที่รัฐบาลที่แล้ววางเอาไว้ได้ทันที และจะทำให้ประเทศไทยมีรถไฟฟ้าภายใน 4 ปี โดยในที่ประชุมได้ฝากให้ นพ.สุรพงษ์ไปเจรจากับเจบิค เรื่องขั้นตอนการพิจารณาเงินกู้ จากที่ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือน ว่าอย่ามีพิธีรีตองมากนัก เพื่อทุกอย่างจะได้แล้วเสร็จทันตามกำหนด
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า วงเงินลงทุน 770,000 ล้านบาท รัฐบาลจะรับภาระในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน 553,000 ล้านบาท ขณะที่เอกชนจะร่วมลงทุนในส่วนของระบบรถไฟฟ้า 217,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนเฟสแรก 259,000 ล้านบาท ส่วนการลงทุนในเฟสสอง 500,000 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการศึกษาในรายละเอียด
"ในเฟสแรกเราจะใช้การกู้ในประเทศเป็นหลัก ด้วยการออกพันธบัตรระยะยาว 30 ปี อัตราดอกเบี้ยตอบแทน 5.1-5.2% คาดว่าจะเริ่มออกจำหน่ายครั้งแรก 5,000 ล้านบาท ภายในเดือนเมษายนนี้" นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวถึงกรณีนายกฯบอกว่าจะเทกโอเวอร์หนี้ในส่วนเจ้าหนี้ของบีทีเอสจำนวน 89% ว่า แนวคิดดังกล่าวไม่ใช่การเทกโอเวอร์ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนเจ้าหนี้ต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งกรรมการและผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าหลังการซื้อหนี้จะให้ใครเข้ามาบริหาร ขอยืนยันว่าจะไม่มีการแตะต้องหุ้นในอีก 10% แน่นอน
"ธนายง (ผู้ถือหุ้นใหญ่บีทีเอส) ก็ยังอยู่ สัญญาทุกอย่างยังเป็นไปเหมือนเดิม คือมี กทม.เป็นคู่สัญญา เพราะเราไม่ได้เทกโอเวอร์อะไร ซึ่งเงินที่จะนำไปใช้ในครั้งนี้ 50,000 ล้านบาท จะมาจากระทรวงการคลัง" นายประภัสร์กล่าว
//--------------------------------
เกเรเกะกะระรานกะ กทม. ไม่เลิกเลยเทียวนะ ออหมัก |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 13/03/2008 10:12 am Post subject: |
|
|
"ฝรั่งเศส"สนสร้างรถไฟฟ้า ประเดิมประมูลสายสีม่วง
มติชน วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10960
นายมาร์ค ชาเตอลาร์ด รองประธานอาวุโส ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค บริษัท อัลสตอม ผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่ของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมจะเข้าร่วมประมูลในส่วนของระบบอาณัติสัญญาณและระบบล้อเลื่อนในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
"อัลสตอมสนใจจะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าของไทยทั้ง 9 สาย แต่เบื้องต้นเห็นว่าสายสีม่วงมีความพร้อมมากที่สุด ขณะที่สายสีแดงช่วงบางซื่อ-บางบำหรุของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อาจจะไม่คุ้มกับการเข้าร่วมประมูล สำหรับหุ้นส่วนที่จะเข้าร่วมการประมูลนั้นกำลังพิจารณาอยู่โดยต้องพิจารณาจากการประมูลแต่ละสายทาง ส่วนจะได้หุ้นส่วนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการแข่งขัน ซึ่งมั่นใจว่ารัฐบาลไทยจะเปิดกว้างในการแข่งขัน และมั่นใจว่าอัลสตอมน่าจะชนะการประมูลในบางสายทาง" นายชาเตอลาร์ดกล่าว และว่า สิ่งที่อัลสตอมถนัดคือการจัดหาขบวนรถและการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ จะพยายามทำส่วนนี้ให้ดีที่สุดก่อน |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 42723
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/03/2008 10:46 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | มติชน วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10960
...
นายกฯยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังเห็นชอบรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 สาย ประกอบด้วย
1.บางซื่อ-อยุธยา
2.บางซื่อ-นครปฐม
3.บางซื่อ-หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา
โดยจะใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร (ส่วนต่อขยาย Airport Link ก็ว่าได้) ระยะทางรวม 80 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 42 เดือน โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบ |
ระหว่างนี้ก็หารถไฟแบบ KTM Komuter สัก 2-3 ขบวน ทดลองวิ่งเล่นๆ บนราง 1 เมตรเดิมดูก่อนสิครับ นครปฐม-อยุธยา-นครปฐม และ นครปฐม-ฉะเชิงเทรา-นครปฐม
ถ้าไม่มีตังค์ ก็ลองวิ่งรถธรรมดากลางวัน สุพรรณบุรี-นครปฐม-ฉะเชิงเทรา ดูสักตั้ง จะได้พิสูจน์ศักยภาพของรถไฟทางคู่ที่มีอยู่ครับ
ขอโทษนะครับ ผมแค่ฝันเล่นๆ ครับ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 14/03/2008 1:43 pm Post subject: |
|
|
เร่งเครื่องรถไฟฟ้า เสนอตั้งรง.ในไทย
โพสต์ทูเดย์ 14/03/2008
รฟม.พร้อมเดินหน้ารถไฟฟ้า 3 สาย เสนอรัฐพิจารณาตั้งโรงงานประกอบตัวรถไฟในไทย
ประภัสร์
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รฟม.) กล่าวว่า ในการสร้างรถไฟฟ้า 3 สายปีนี้ ในส่วนของสาย สีน้ำเงินและสีม่วง ได้วางแผนดำเนินการไว้หมดแล้ว และจะประสานกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อขอแบบเส้นทางสายสีเขียว รวมถึงการติดต่อกับกระทรวงการคลัง เพื่อเจรจาเรื่องเงิน
เรื่องตัวรถไฟฟ้านั้น ถ้ามีการสร้างเส้นทางหลายสาย น่าจะพิจารณาตั้งโรงงานประกอบขึ้นในไทย เพราะจะช่วยให้เกิดอุตสาห กรรมต่อเนื่อง มีองค์ความรู้เทคโน โลยีใหม่เกิดขึ้น หากมีปัญหาสามารถดูแลเองได้ ไม่ต้องเรียก ผู้ผลิตเข้ามาดู
นายประภัสร์ กล่าวว่า ประโยชน์ที่ประชาชนหรือผู้โดยสารจะได้รับจากการที่รัฐเจรจาซื้อหนี้จากกลุ่มเจ้าหนี้ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) แล้วให้ รฟม.บริหารนั้น รูปแบบการบริหารจัดการคงเป็นไปตามหลักการของสัญญาเดิมที่เคยทำไว้ แต่จะทำให้การก่อสร้างส่วนต่อขยายของบีทีเอส สายตากสิน ดำเนินการได้เร็วขึ้น รวมทั้งมี ระบบบัตรโดยสารบัตรเดียวใช้ได้ทุกระบบโดยสารสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง เรือ และกำหนดอัตราการใช้บริการร่วมที่เหมาะสม
ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวถึงแผนการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าว่า ได้ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ออกแบบก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าที่จะต่อเชื่อมกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ไว้ โดยในช่วงที่ยังไม่สามารถเจรจาทำข้อตกลงเพื่อต่อเชื่อมสถานีแต่ละจุดได้ ก็จะออกแบบเผื่อไว้ในอนาคต
ขณะเดียวกัน จะออกแบบ เพื่อทำทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีเอ็ม ซีแอล) ไว้อีกทางหนึ่ง
หากไม่ได้รับความร่วมมือ ก็ให้ออกแบบเผื่อไว้เพื่อป้องกันอุปสรรค เช่น สถานีหมอชิต ซึ่งจะมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมาเชื่อม หากยังตกลงไม่ได้ ก็จะให้ทำทางเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน บริเวณสถานีพหลโยธินปัจจุบัน นายสันติ กล่าว |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 17/03/2008 9:26 am Post subject: |
|
|
วันที่รอคอย รถไฟฟ้า "สมัคร 1" เปิดหวูดเฟสแรก 7 เส้นทาง 3 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3984 (3184)
ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชนครั้งแรก ที่ "สมัคร สุนทรเวช" นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธาน ใช้เวลา 2 ชั่วโมงเศษหมดไปกับการพิจารณาหารือ หลังจากนั้น "นายกฯสมัคร" ยังคุมเกมต่อ ลงจากตึกไทยคู่ฟ้าเดินลิ่วมานั่งแถลงข่าวด้วยตนเอง เปลี่ยนคิวที่จากเดิมวางตัวให้รองโฆษกเป็นผู้แถลง
รัฐบาลเดินเกมฮุบสายสีเขียว
"จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การต่อเส้นทางบีทีเอสออกไปไม่ใช่เรื่องยากเย็น สิ่งที่รัฐบาลจะทำคือจะเริ่มต้นเจรจากับ กทม. โดยโอนโครงการให้มาเป็นของรัฐ เพราะจะทำให้งานไม่ยาก ลงมือก่อสร้างได้ทันที" นายกฯสมัครเริ่มต้นการแถลงแบบปล่อยหมัดตรงไปที่ "กล่องดวงใจ" พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคุมพื้นที่การเมือง กทม.
จากนั้นเป็นช่วงเวลา "ลงลึกรายละเอียด" แต่ละเส้นทางให้ฟังว่า แผนปีนี้ที่จะทำทันทีคือ ระบบรถไฟฟ้า "สายสีเขียว" สร้างเป็นทางยกระดับต่อขยายบีทีเอส ออกไป 3 ทิศรวด เริ่มจาก "ทิศเหนือ" จากหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง 4 ระยะทาง 30 กิโลเมตร "ทิศใต้" สะพานตากสิน-บางหว้า-อ้อมน้อย และ "ทิศตะวันออกเฉียงใต้" จากแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู
ส่วน "สายสีม่วง" แนวเส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ จะเปิดประมูลทันที "สายสีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค จากนั้น "สายสีแดง" เป็นรถไฟชานเมืองที่มีโครงสร้างยกระดับเพื่อแก้ปัญหาจุดตัดต่อจากจุดศูนย์กลางที่สถานีบางซื่อลากออกไปชานเมือง ทิศเหนือบางซื่อ-รังสิต-อยุธยา ทิศตะวันออกไปบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา ทิศใต้บางซื่อ-ตลิ่งชัน-นครปฐม
ที่ดูเหมือนจะเป็น "วาระจร" ของเมกะโปรเจ็กต์นัดนี้และมาโผล่กลางที่ประชุมคือ เพิ่มอีก 1 สาย เป็น "opentrench" (ทางรถไฟฟ้าที่เจาะลงใต้ดินแต่ไม่ลึกมาก มองเห็นได้จากพื้นผิวดินแต่ไม่มีหลังคา) แนวเส้นทางเพียงสั้นๆ เลาะเลียบพระราชวังสวนจิตรลดา มีเส้นทางจากบางซื่อ-ยมราช-หัวหมาก
ส่วนรถไฟวงแหวนชั้นในหรือ "วงแหวนรถไฟฟ้า" ส่วนที่เพิ่มเติมจากสายสีน้ำเงินและวงแหวนรอบนอกอีกประมาณ 88 กิโลเมตร ที่บางคนเรียกว่าเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในฝันของ "สมัคร สุนทรเวช" เป็นเรื่องอนาคตที่จะต้องทำในเฟสต่อไป
รวม 2 เฟสลงทุน 7.7 แสนล้าน
แผนการใช้เงินของระบบรถไฟฟ้า รัฐบาลพรรคพลังประชาชนสรุปยอดตัวเลขวงเงินลงทุนรวม 7.7 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้จะเป็นวงเงินลงทุนเฟสแรก 7 เส้นทางประมาณ 3 แสนล้านบาท
แหล่งเงินใหญ่จะมาจาก "เจบิก" แห่งญี่ปุ่น และแหล่งที่ระดมมาจากหลายทิศทาง ทั้งงบประมาณ เงินกู้ในประเทศ ข้อมูลที่รัฐบาล "เอ็นจอย" ต่อไปไม่หยุดคือรูปแบบการลงทุนแบ่งให้รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า
"ผมฝากกระทรวงการคลังไปเจรจา ต่อรองเงินกู้เจบิก ช่วยร่นระยะเวลาพิจารณาที่จะต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนให้เร็วขึ้นได้ไหม เพราะใจผมอยากจะให้เห็น ตอกเสาเข็มในปีนี้" ประกาศิตจากนายกฯสมัครในวันแถลงข่าว
หากตัดฉากกลับมาดูขั้นตอนดำเนินงานประกวดราคาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำไว้ของเฟสแรก ตารางเวลาที่วางไว้คือคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับเหมา ในปี 2552 เพราะต้องเผื่อเวลาอยู่ที่เจบิก นาน 8 เดือนดังกล่าว
โดยสายสีม่วงคาดว่าจะลงนามสัญญาเดือนกุมภาพันธ์ สีน้ำเงินลงนามเดือนพฤษภาคม สีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่เดือนมิถุนายน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เดือนมิถุนายน และสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เดือนพฤษภาคม
"ฮอตอิสชูส์" อีกประเด็นที่คนสนใจกันมากจากข่าวหน้า 1 "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับวันที่ 13-16 มีนาคม 2551 พาดหัวข่าว "สันติเคลียร์สมัคร ตัดทิ้งสายชานเมือง" นั้น บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี "สมัคร" ยังคงดำรงจุดมุ่งหมายที่จะคงแนวเส้นทางลากยาวไปถึงชานเมืองตามที่เคยประกาศไว้ โดยมีจุดพบกันครึ่งทางก็คือ "ทำแน่" แต่เป็นเฟสต่อไป
ด้าน "พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์" ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เม็ดเงินลงทุนรถไฟฟ้า 7.7 แสนล้านบาทเป็นวงเงินเบื้องต้น ยังไม่รวมเงินที่จะซื้อหุ้นบีทีเอสอีกกว่า 5 หมื่นล้านบาท แนวทางที่เตรียมรองรับไว้คือ รัฐจะออกพันธบัตรระยะยาว 30 ปี วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท ดีเดย์เดือนเมษายนนี้ จะออก เป็นเชื้อก่อน 5 พันล้านบาท ดอกเบี้ย 5.1-5.2% เพื่อนำมาใช้สมทบในเฟสแรกก่อน 2.9-3 แสนล้านบาท
ส่วนเฟสที่ 2 ใช้เงินลงทุน 5.37 แสนล้านบาท มีเงินจากงบประมาณประจำปี ใช้เวนคืนที่ดินและจ้างที่ปรึกษา 3 หมื่นล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 40% เงินกู้ ต่างประเทศ 60%
ตั้งเป้าปีหน้าขายแบบเฟส 2
จนถึงนาทีนี้ ข้อยุติเบื้องต้นคือโครงการที่เปิดประกวดราคาได้แน่ๆ ในปี 2551 มี 7 สาย มูลค่า 3 แสนล้านบาทโดยประมาณ (ดูตารางประกอบ)
ส่วนเฟสที่ 2 วางแผนจะเริ่มดำเนินการประกวดราคาปี 2552 เนื่องจากเป็นนโยบายที่เพิ่มเติมเข้ามาของนายกฯ "สมัคร" job description สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปีนี้คือต้องจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้เสร็จ ประกอบด้วยสายสีเขียวช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา-รังสิต สายสีน้ำเงิน ช่วงรัชดาฯ-พระรามที่ 7 และช่วงท่าพระ-คลองเตย สายวงแหวนรอบนอก 88 กิโลเมตร
เส้นศาลายา-มีนบุรี เป็นการรวมกันระหว่างสายสีน้ำตาลบางกะปิ-มีนบุรี และสีส้มบางกะปิ-บางบำหรุ สายสีเขียว ตากสิน-บางหว้า-พุทธมณฑลสาย 4 สายสีม่วงส่วนใต้ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ-ป้อมพระจุล ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีช่วงตลิ่งชัน-นครปฐม 43 กิโลเมตร ช่วงมักกะสัน-ฉะเชิงเทรา 50 กิโลเมตร ช่วงธรรมศาสตร์-อยุธยา และช่วงหัวลำโพง-มหาชัย
งานนี้ประเดิมด้วยงบฯที่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทสำหรับศึกษาและออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม โดยมี "สนข." รับเป็นแม่งานเหมือนเดิม
หน้า 8 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 17/03/2008 10:50 am Post subject: |
|
|
ตกผลึกรถไฟฟ้า7เส้นทางอิงแผนแม่บทเดิม3สี
ยืดปลายทางเพิ่มรับคนชานเมืองเดินทางเข้ากรุง
Dailynews - 17 March 2008
ยังเป็นโครงการที่เนื้อหอมเหมือนเดิม สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลยุคใดสมัยใด จะต้องหยิบยกมาชูเป็นนโยบายหลักขายฝันให้กับประชาชน
ในรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ก็มีนโยบายในการพัฒนาส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน โดยมีการนำเสนอแนวความคิดก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 แฉก เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา สร้างความฮือฮาให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่าจะเริ่มก่อสร้างเส้นทางใดก่อน จนกระทั่งภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา จึงมีการตกผลึกโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบราง 7 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวม 770,000 ล้านบาท
ประกอบด้วย สายสีเขียวที่เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 เส้นทาง ได้แก่
1.หมอชิต-สะพานใหม่-อนุสรณ์สถาน-ลำลูกกาคลองสี่
2.ตากสิน-บางหว้า-เพชรเกษม-อ้อมน้อย
3.แบริ่ง-สมุทรปราการ-ปากน้ำ-บางปู
เป็นรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 เส้นทาง คือ
1.บางซื่อ- รังสิต-พระนครศรีอยุธยา
2.บางซื่อ-ตลิ่งชัน-นครปฐม
3.บางซื่อ-หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา และ
อีก 1 เส้นทาง คือ
สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่-ไทรน้อย ซึ่งทั้ง 7 เส้นทางเป็นเส้นทางที่มีอยู่ในแผนแม่บทเดิมทุกเส้นทาง แต่จะมีการต่อปลายทางไปยังชุมชนย่านชานเมืองมากขึ้น
จะเห็นว่านายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเขียวเป็นลำดับแรก และมีแนวคิดที่จะซื้อหุ้นคืนจากบีทีเอส พร้อมเปลี่ยนคู่สัญญาสัมปทานจาก กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นรัฐบาลกลาง โดยไม่มีการกล่าวถึงสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค ที่เป็นส่วนต่อขยายกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน ๆ ที่จะให้ความสำคัญกับสายสีแดง สีม่วง และสีน้ำเงินก่อน เพราะโครงการมีความพร้อมมากกว่า ส่วนสายสีเขียวจะให้ความสำคัญอยู่ในลำดับท้ายสุด
นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้า 7 เส้นทางของนายกรัฐมนตรี เป็นเส้นทางที่มีอยู่แล้วในแผนแม่บท แต่มีการขยายเพิ่มปลาย ทางออกไปนอกเมือง ซึ่งจะช่วยทำให้แผนแม่บทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเข้าถึงย่านชุมชนที่อยู่บริเวณชานเมือง ทำให้ประชาชนเดินทางเข้าออกเมืองได้สะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้เชื่อว่าโครงการรถไฟฟ้าจะเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะขั้นตอนการทำงานเดินหน้ามาไกลแล้ว โครงการส่วนใหญ่ศึกษาออกแบบรายละเอียดเกือบเสร็จเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญชูเป็นนโยบายแก้ปัญหาจราจร ซึ่งจะทำให้โครงการผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนเรื่องเงินลงทุนก็ไม่มีปัญหา เพราะกระทรวงการคลังจะสามารถหาแหล่งเงินกู้ได้จากทั้งภายในและนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ในการเดินหน้าโครงการจะเปิดประกวดราคาในส่วนที่มีความพร้อมตามแผนแม่บทไปก่อน ส่วนเส้นทางขยายออกนอกเมืองที่เพิ่มเติมนั้น จะต้องศึกษาออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติมไปก่อน แล้วค่อยทยอยเปิดประมูลก่อสร้างในภายหลัง โดยในปีนี้จะเปิดประมูลก่อสร้างได้ 6 เส้นทาง ใช้เงินลงทุนในระยะแรก 250,000 ล้านบาท
ประกอบด้วย สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. มูลค่า 8,748 ล้านบาท มีความก้าวหน้ามากที่สุด อยู่ในขั้นตอนประกวดราคา อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคา 2 ราย คาดว่าจะกำหนดวันเคาะราคาประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ในเร็ว ๆ นี้
รองลงมาคือสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กม. มูลค่า 55,945 ล้านบาท จะขายแบบได้ช่วงปลายเดือน มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) จะเซ็นสัญญาให้กู้จำนวน 18,000 ล้านบาท
สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 36 กม. มูลค่า 63,774 ล้านบาท ออกแบบแล้วเสร็จเดือน เม.ย. ขายแบบเดือน มิ.ย.นี้
สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ 12 กม. มูลค่า 30,700 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และการออกแบบรายละเอียด จะแล้วเสร็จเดือน เม.ย. ขายแบบเดือน ก.ค.นี้
ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กม. มูลค่า 24,600 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และการออกแบบรายละเอียด จะแล้วเสร็จเดือน เม.ย. ขายแบบเดือน ก.ค.นี้เช่นกัน และ
สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค 27 กม. มูลค่า 75,540 ล้านบาท ศึกษา พ.ร.บ.ร่วมทุนและออกแบบรายเสร็จแล้ว คาดว่าจะขายแบบเฉพาะช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ได้ในเดือน มิ.ย.นี้
ส่วนเส้นทางที่เหลือ อาทิ สายสีเขียว ช่วงตากสิน-บางหว้า-เพชรเกษม-อ้อมน้อย สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา จะมีการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ และจะเปิดประกวดราคาก่อสร้างในภายหลัง
หวังว่ารัฐบาลจะเดินหน้าโครงการได้ตามแผน ไม่มีอุบัติเหตุทางการเมืองอะไรมาทำให้ความฝันของคนกรุงต้องสะดุดอีก.
// --------------------------------------------------------
ตระเวนจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน 7 พื้นที่ สนข.ตีฆ้องรถไฟฟ้าใหม่ 3 สี
[Thairath 17 มี.ค. 51 - 05:21]
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง น้ำตาล และชมพู โดยมอบหมายให้บริษัทไทยเอ็มเอ็ม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษา และเพื่อให้ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้รับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการที่เหมาะสม จึงได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเชิญผู้แทน ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มแรก พื้นที่เป้าหมายจังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 8 มี.ค. ที่ศาลาประชาคม ศาลากลางสมุทรปราการ กลุ่มที่ 2 เขตจตุจักร ห้วยขวาง วังทองหลาง วันที่ 9 มี.ค. ที่ห้องประชุมโรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ ถนนลาดพร้าว กลุ่มที่ 3 เขตสวนหลวง ประเวศ บางนา วันที่ 15 มี.ค. เวลา 09.00-12.00 น. ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีเอี่ยม ถนนบางนา-ตราด กลุ่มที่ 4 เขตบางกะปิ คันนายาว บึงกุ่ม สะพานสูง วันที่ 16 มี.ค. เวลา 13.00-16.00 น. ที่ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ถนนรามคำแหง กลุ่มที่ 5 อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด วันที่ 22 มี.ค. เวลา 09.00-12.00 น. ที่โรงเรียนพุทธธรรม วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ถนนติวานนท์ กลุ่มที่ 6 เขตหลักสี่ บางเขน วันที่ 23 มี.ค. เวลา 13.00-16.000 น. ที่ตึกดิสสมหาเถระ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร เขตบางเขน และกลุ่มที่ 7 เขตบึงกุ่ม คันนายาว มีนบุรี วันที่ 29 มี.ค. เวลา 09.00-12.00 น. ที่หอประชุมหลังใหม่ โรงเรียนทักษิณาบริการธุรกิจ ถนนรามอินทรา เขตคันนายาว
รายงานข่าวแจ้งว่า การศึกษาโครงการดังกล่าว สนข. โดยบริษัทไทยเอ็มเอ็ม จำกัด ได้มีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งหลังจากประชุมกลุ่มย่อยแล้วเสร็จก็จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น เพื่อสรุปรายละเอียดความเหมาะสม โดยกำหนดจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 วันที่ 7 พ.ค. 2551 ที่เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ. |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 41911
Location: NECTEC
|
Posted: 19/03/2008 7:11 pm Post subject: |
|
|
'สันติ'มั่นใจวงเงินสร้างรถไฟฟ้าไม่บานปลาย
Logistic News - 19 March 2008
ก.คมนาคม 19 มี.ค.รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม มั่นใจปัญหาราคาน้ำมัน และราคาวัสดุก่อสร้าง จะไม่ทำให้วงเงินก่อสร้างรถไฟฟ้า บานปลายสูงกว่าวงเงินงบประมาณมาก
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีหลายฝ่ายได้แสดงความกังวลว่า ในปัจจุบันราคาน้ำมัน และ ราคาเหล็ก รวมถึงต้นทุนวัสดุต่าง ๆที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้า จำนวน 6 สายทาง วงเงินงบประมาณก่อสร้างกว่า 265,000 ล้านบาท อาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ กรอบวงเงินงบประมาณที่เคยมีการประมาณการณ์ไว้จะสูงกว่าที่กำหนดกว่า 10%นั้น ในเรื่องนี้ตนเชื่อมั่นว่า เมื่อมีการประกวดราคาก่อสร้างแล้ว ค่าก่อสร้างจะไม่เกินกว่ากรอบวงเงินที่เคยมีการประมาณการณ์ไว้ แต่หากจะกระทบก็จะเป็นส่วนน้อย เท่านั้น
ทั้งนี้ในต้นทุนค่าก่อสร้างที่จะเพิ่มขึ้นนั้น ในภาพรวมจะไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณที่จะนำมาใช้ในโครงการโดยรวม แต่เห็นว่า ค่าก่อสร้าง ในบางเส้นทางอาจจะลดลง แต่ในบางเส้นทางค่าก่อสร้างอาจจะเพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับขึ้น และลง ของค่าก่อสร้าง จะอยู่ในกรอบงบประมาณแน่นอน-LogisticNews |
|
Back to top |
|
 |
|