RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268978
ทั้งหมด:13580265
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 234, 235, 236 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2021 5:42 am    Post subject: Reply with quote

รื้อโมเดลรถไฟฟ้า 7 จังหวัด ดึงเอกชนลงทุนแสนล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 เมษายน 2564 - 16:36 น.

คมนาคมเร่งปูพรม “ขนส่งมวลชน” ในภูมิภาค เปิดแผนอัพเดตรถไฟฟ้า 7 จังหวัด ดึงเอกชนลงทุนในรูปแบบ PPP มูลค่า 1.1 แสนล้าน รื้อโมเดลระบบใหม่ เป็นรถไฟฟ้าล้อยาง ลดต้นทุน 30% ประหยัดงบประมาณ นำร่อง “ภูเก็ต” จาก 3.5 หมื่นล้าน หั่นเหลือ 2 หมื่นล้าน รฟม.เร่งทบทวน “เชียงใหม่-โคราช” ส่วน “ขอนแก่น-หาดใหญ่” ฉลุย จังหวัดขอลุยเอง

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่รับผิดชอบต่างเร่งงานก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน หรือโครงการรถไฟฟ้าสารพัดสีทั้งระบบบนดินและใต้ดินทั่วทุกพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ แม้จะมีปัญหาทำให้การจราจรติดขัด เนื่องจากมีการลดพื้นผิวจราจร เพื่อเปิดพื้นที่ในการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน

ล่าสุดกระทรวงคมนาคมประกาศนโยบายจะลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ต่างจังหวัดตามแผนแม่บท

ลุย 7 จังหวัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กำลังเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาค ในพื้นที่ 7 จังหวัด ซึ่งมีแผนจะเปิดกว้างให้เอกชนร่วมลงทุน PPP วงเงินรวม 116,027 ล้านบาท ซึ่งแต่ละจังหวัดเริ่มมีความคืบหน้าบ้างแล้ว และกระทรวงคมนาคมจะเร่งผลักดันตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้โครงการได้รับอนุมัติภายในปี 2564

รถไฟฟ้าในภูมิภาค ประกอบด้วย 1.จ.ภูเก็ต ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 35,294 ล้านบาท อยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสม คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน ต.ค. 2564 เริ่มสร้างในเดือน เม.ย. 2566 แล้วเสร็จในปี 2569

2.จ.เชียงใหม่ สายสีแดงช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 23,736 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษา ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะเสนอ ครม.ในเดือน เม.ย. 2566 เริ่มสร้างในเดือน พ.ย. 2567 แล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 2571

3.จ.นครราชสีมา สายสีเขียวช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กม. วงเงิน 7,201 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา รายงาน EIA และรายงราน PPP คาดว่าเสนอ ครม.อนุมัติในเดือน พ.ค. 2566 เริ่มสร้างในเดือน พ.ย. 2567 แล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 2571

4.จ.ขอนแก่น สายสีแดงช่วงสำราญ-ท่าพระ ระยะทาง 22.8 กม. วงเงิน 26,963.06 ล้านบาท ดำเนินโครงการโดย บจ.ขอนแก่น ทรานซิทซิสเต็ม (KKTS) และ 5 เทศบาลในจังหวัดรวมตัวกันลงทุน อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด ขอใช้พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าว และหาพื้นที่ทดแทนแห่งใหม่ให้ ทบทวน EIA และขอใช้พื้นที่เกาะกลางและไหล่ทางถนนกรมทางหลวง คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 ใช้เวลาสร้าง 3 ปี 5.จ.พิษณุโลก รูปแบบรถรางล้อยาง เฟสแรกสายสีแดง จากมหาวิทยาลัยนเรศวร-เซ็นทรัล ระยะทาง 12.6 กม. วงเงิน 1,666.78 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะเสนอ ครม.ปี 2566 เริ่มสร้างปี 2567 เสร็จปี 2571


6.จ.อุดรธานี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังศึกษาเป็นรูปแบบรถโดยสารไฟฟ้า ระยะทาง 20.6 กม. วงเงิน 1,360 ล้านบาท นำร่อง 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายสีแดง ยูดีทาวน์-สถานีรถไฟ-เซ็นเตอร์พ้อยท์-เซ็นทรัลพลาซา-โรงเรียนอุดรวิทยา-แยกหอนาฬิกา-ทุ่งศรีเมือง-ศาลหลักเมือง-เทศบาลนคร-ศาลจังหวัด-ศาลากลางจังหวัด-พิพิธภัณฑ์-วัดโพธิสมภรณ์-ตลาดสดโพศรีวิลเลจ-สถานีขนส่ง 2-โรงเรียนไทยสมุทร-วิทยาลัยพลศึกษา-โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา-สนามบิน และ 2.สายสีส้ม สถานีรถไฟ-เซ็นเตอร์พ้อยท์-รพ.กรุงเทพ-วิทยาลัยเทคนิค-ศาลากลาง-โรงเรียนเทศบาล 2-รพ.นอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา-หนองประจักษ์-รพ.อุดรธานี-วัดโพธิสมภรณ์-โรงเรียนเทศบาล 5-ม.ราชภัฏ-อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม-เจริญโฮเต็ล-ยูดีทาวน์

และ 7.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รูปแบบโมโนเรลจากคลองหวะ-สถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กม. วงเงิน 17,586 ล้านบาท รายงาน PPP และ EIA ได้รับอนุมัติแล้ว คาดว่าเริ่มสร้างปี 2565 แล้วเสร็จในปี 2568

รฟม.ทบทวนผลศึกษา
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. รับผิดชอบ จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก อยู่ระหว่างทบทวนผลศึกษาให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงคมนาคม ให้พิจารณานำระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (ART) มาดำเนินการแทนรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (รถแทรม/ไรต์เรล) เพื่อประหยัดเงินลงทุน ส่วนรถไฟฟ้าขอนแก่น และสงขลา ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จะเป็นผู้ดำเนินการเอง


“ผลศึกษาเดิมมี 3 จังหวัดที่กำหนดเป็นระบบรถแทรม คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ และโคราช ทาง รฟม.ต้องปรับรายละเอียดใหม่ เริ่มจากภูเก็ตเป็นโมเดลนำร่อง เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแล้ว”

สั่งรื้อทุกเส้นทาง
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การพัฒนารถไฟฟ้าในต่างจังหวัดยังเดินหน้าต่อ แต่ให้ รฟม.ทบทวนความเป็นไปได้ของทุกโครงการอีกครั้งว่าระบบรถไฟฟ้ามีความคุ้มค่าการลงทุน แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริงหรือไม่ โดยให้เร่งรัดรถไฟฟ้าภูเก็ตก่อนเป็นลำดับแรก

“ต้องยอมรับความจริง ประเทศเราไม่ได้มีเงินเยอะ ถ้าทำแล้วมีผลการศึกษายืนยันว่าคุ้มค่าการลงทุน ไม่เป็นภาระประชาชน และแก้ปัญหาการจราจรได้ก็ทำไป แต่ถ้าทำแล้วไม่คุ้มค่าทางการลงทุน ไม่มีคนมาใช้บริการ เพราะถ้าเป็นโมโนเรลต้องมีคนมาใช้บริการ 40,000 เที่ยวคน/วัน เมื่อคนไม่มีจะไปใช้วิธีการขึ้นราคาแพง ๆ มันก็ไม่ตอบโจทย์”

ภูเก็ตเคาะ 2 หมื่นล้าน
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า สาเหตุให้ทบทวนรูปแบบ จ.ภูเก็ตใหม่ เนื่องจากพื้นที่ จ.ภูเก็ต มีแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทั้งรถไฟรางเบาและทางด่วน ทั้ง 2 โครงการมีจุดเริ่มต้นที่สนามบินภูเก็ต เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาให้ละเอียดว่า ประชาชนที่จะเดินทางจากสนามบิน จะใช้บริการระบบไหนมากกว่าหรือน้อยกว่ากัน จากเดิมที่ศึกษาว่าจะมีผู้โดยสารจากสนามบินมาใช้บริการรถไฟฟ้าประมาณ 10,000 คน/วันนั้นถูกต้องหรือไม่ ให้เวลา 1 เดือน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า ได้ข้อสรุปรถไฟฟ้าภูเก็ต จะเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อเหล็ก (แทรม) เป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (ART) เป็นรถโดยสารใช้พลังงานไฟฟ้า จะทำให้ลดต้นทุนลงได้จาก 35,294 ล้านบาท อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท จะทำรายงาน PPP ใหม่ เนื่องจากมูลค่าการลงทุนลดลง ต้องวิเคราะห์และจัดรับฟังความสนใจเอกชน และทำรายงาน EIA ใหม่ ส่วนการลงทุนยังคงให้เอกชนร่วม PPP ทั้งก่อสร้างและเดินรถ และ รฟม.จะเป็นผู้เวนคืนที่ดินให้ 1,499 ล้านบาท โดยวางไทม์ไลน์โครงการจะประมูลต้นปี 2566 สร้างเดือน มิ.ย. 2567 เปิดบริการปลายปี 2569 หรือปี 2570 มีผู้โดยสารอยู่ที่ 39,000 เที่ยวคน/วัน
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3964438500269732


Last edited by Wisarut on 15/04/2021 8:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2021 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

พลิกที่ดิน “ท่าเรือคลองเตย” สร้าง “เมืองใหม่” ติดเจ้าพระยา
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 20:18 น.

ภารกิจใหญ่ของ “กทท.-การท่าเรือแห่งประเทศไทย” ไม่ใช่แค่การขยายการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือที่มีอยู่ในมือ เสริมแกร่งโลจิสติกส์ทางน้ำของประเทศให้เชื่อมโลกแล้ว

ยังต้องหารายได้การพัฒนาเชิงพาณิชย์จากที่ดินที่มีอยู่ในมือ โดยเฉพาะ “ท่าเรือกรุงเทพ” ทำเลกลางเมือง มีพื้นที่ 2,353 ไร่ ให้เป็น “สมาร์ทพอร์ต”

ในนี้มีประมาณ 400 ไร่ที่ “กทท.” จะนำมาเปิดให้เอกชนพัฒนารูปแบบ PPP สร้างรายได้ให้องค์กรในระยะยาว โดยจะลงทุนสร้างโครงการทางด่วนสายใหม่เชื่อมจากอาจณรงค์-รามอินทรา เข้ามายังโครงการ

และมีรถไฟฟ้าโมโนเรลวิ่งภายในโครงการ จากโครงการชุมชนใหม่ที่ถนนโรงฟอกหนัง ไปตามแนวถนนกล้วยน้ำไท ถนนพระราม 4 เชื่อมกับสถานีคลองเตยของรถไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทางประมาณ 3 กม. ล่าสุดอยู่ระหว่างนำผลการศึกษาเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) กทท.พิจารณาอนุมัติ

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า รูปแบบการพัฒนาที่ดินในเชิงธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่ม บนพื้นที่ 400 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการพัฒนาโครงการ “สมาร์ทซิตี้” แบบมิกซ์ยูส ประกอบด้วย ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม ศูนย์กลางการแพทย์ โรงแรม สปอร์ตคอมเพล็กซ์ และท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ โดยเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ระยะเวลา 30-35 ปี

“แบ่งเป็น 3 โซน คือ โซน A พื้นที่พาณิชยกรรม โซน B พื้นที่ธุรกิจหลักที่ให้บริการเรือและสินค้าของท่าเรือกรุงเทพ และโซน C พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม โรงแรม และดิวตี้ฟรี”




สำหรับการเดินหน้าโครงการ “ผู้อำนวยการ กทท.” กล่าวว่า จะเริ่มจากที่ดิน 17 ไร่ ติดอาคารสำนักงานของ กทท.เป็นลำดับแรก จะเปิด PPP ให้เอกชนที่สนใจลงทุน 30-35 ปี เนื่องจากปัจจุบันเป็นพื้นที่ว่าง มีความพร้อมที่จะพัฒนา โดยมีมูลค่าโครงการ 5,400 ล้านบาท

“การพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส เช่น สำนักงาน ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์แสดงสินค้า นิทรรศการ ศูนย์การประชุม พื้นที่ค้าปลีก”

พร้อมกับย้ำว่า ด้วยศักยภาพที่ดินอยู่ติดแม่น้ำ มีเนื้อที่กว่า 2,335 ไร่ ราคาประเมินปัจจุบัน 200,000 บาท/ตารางวา ทำให้การพัฒนาให้เกิดความคุ้มค่า ต้องเป็นรูปแบบโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ และทำให้เป็นแลนด์มาร์กใหม่ของกรุงเทพฯ คล้ายกับโครงการไอคอนสยาม


ปัจจุบันกำลังดำเนินการย้ายชุมชนคลองเตยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 197 ไร่ จำนวน 26 ชุมชน ประมาณ 12,000 ครัวเรือนออกจากพื้นที่ เพื่อนำที่ดินมาพัฒนาท่าเทียบเรือแห่งใหม่ ทั้งเพื่อการท่องเที่ยวและขนส่ง

ล่าสุดอยู่ระหว่างทำสำรวจสำมะโนประชากร เพื่อสำรวจจำนวนประชากรและสอบถามความต้องการของแต่ละครัวเรือน เร่งพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตยหรือสมาร์ทคอมมิวนิตี้ บริเวณซอยทวีมิตร พื้นที่ 58 ไร่ (องค์การฟอกหนังเดิม) สร้างเป็นอาคารสูง 25 ชั้น 4 อาคาร ขนาดพื้นที่ใช้สอย 33 ตร.ม. ใน 1 อาคาร มี 1,536 ยูนิต รวมทั้งหมด 6,144 ยูนิต มูลค่าการลงทุน 7,500 ล้านบาท

ภายในบริเวณนี้นอกจากมีที่อยู่อาศัยแล้วยังมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สำนักงานเขตคลองเตย, สน.คลองเตย, โรงเรียน, มูลนิธิ รวมถึงจัดพื้นที่ค้าขายให้คนในชุมชนด้วย และในอนาคตมีแผนที่จะทำรถไฟโมโนเรลจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เชื่อมต่อเข้ามาในบริเวณนี้ด้วย

ถ้าทำได้จริง น่าจะเป็นการพลิกโฉม “ทำเลคลองเตย” เป็นเมืองที่ทันสมัย ไม่แพ้ทำเลใจกลางเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2021 9:56 am    Post subject: Reply with quote

เร่ง 'ตั๋วร่วม' รื้อสัมปทาน เว้นค่าแรกเข้าแก้ปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

เมื่อพูดถึงราคาค่ารถไฟฟ้าในบ้านเรายังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันร้อนแรง ยกตัวอย่างเช่น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศอัตราค่าโดยสารสูงสุด 104 บาท และมีแผนที่จะจัดเก็บในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ แต่ต้องชะลอออกไปหลังจากมีเสียงคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าประเทศไทยเท่านั้น แต่ในภายภาคหน้าหากรัฐบาลไม่หาหนทางแก้ไข อนาคตอันใกล้นี้มีรถไฟฟ้ากำลังทยอยแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ก็จะหนีไม่พ้นต้องเผชิญกับปัญหาค่ารถไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน

ขณะที่ นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา

ประเทศไทย (TDRI) ได้แสดงความคิดเห็นกรณีการให้สัมปทานรถไฟฟ้าในปัจจุบันว่า โดยส่วนตัวมองว่าสัมปทานรถไฟฟ้าถือเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตามในการกำหนดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานต้องมีเงื่อนไขที่เหมาะสม เรื่องสัมปทานถือเป็นปกติอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการให้สัมปทานในส่วนของโทรศัพท์มือถือ โทรคมนาคม เป็นต้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของรัฐ แต่ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้าของเราคือรูปแบบการให้สัมปทานเดิม

และปัญหาที่พบคือ การกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นรายเส้นทางตามสัญญาสัมปทานแยกกัน จึงทำให้ราคาในแต่ละสายสีต่างๆ แตกต่างกัน เมื่อมีการเชื่อมต่อระหว่างระบบ ทำให้ผู้โดยสารจำเป็นต้องจ่ายค่าแรกเข้าให้กับรถไฟฟ้าอีก ดังนั้นควรยกเว้นค่าแรกเข้าทุกโครงการ และคิดคำนวณค่าโดยสารสูงสุดของระบบรถไฟฟ้าทั้งระบบ โดยแยกการกำหนดอัตราค่าโดยสารออกจากสัญญาสัมปทานเดิม ระหว่าง BTS หรือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ได้สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวและ BEM หรือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้กุมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

แนะถกสัญญาสัมปทานใหม่

นายสุเมธ กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ ภาครัฐ กำลังจัดทำ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง เพื่อกำกับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า เหมือนที่รถเมล์หรือรถทัวร์ถูกกำกับค่าโดยสารตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก แต่ปัญหาคือมีหลายเส้นทางที่ทำสัญญาสัมปทานไปแล้ว กฎหมายยังไม่ออกมา ดังนั้นในอนาคตก็ต้องใช้เวลาเจรจาและปรับเพื่อสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งด้านการเชื่อมต่อและการบริหารจัดการ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบรถไฟฟ้าในต่างประเทศที่มีหลายเส้นทาง แต่ในด้านการเชื่อมต่อและอัตราค่าโดยสารสามารถเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด ไม่ใช่แยกเป็นเส้นๆ

"ปัจจุบันเรามีข้อจำกัดในเรื่องสัญญาสัมปทานเดิม แต่สัญญาใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็ควรต้องออกแบบสัญญาให้มีการเชื่อมต่อทั้งในเรื่องการเดินทาง และค่าโดยสารที่ต้องไม่แพงเกินไป และรัฐอาจเข้ามาสนับสนุน เพราะสัญญาเดิมนั้นปล่อยให้สัญญาสัมปทานเป็นตัวกำหนดค่าโดยสาร ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ภาครัฐและเอกชนต้องคุยกัน และนำรายละเอียดมากางดูว่าค่าเฉลี่ยราคารถไฟฟ้าที่มีราคาแพงเกือบทุกระบบ และในอนาคตก็จะแพงมากขึ้น หากมีการเชื่อมต่อกันโดยใช้สัญญาสัมปทานแบบเดิมจะต้องดำเนินการอย่างไร" นายสุเมธ กล่าวอย่างไรก็ตาม อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าของประเทศไทยที่บอกว่าแพงหรือไม่แพงนั้น ต้องดูว่าเปรียบเทียบกับอะไร ถ้าเปรียบเทียบกับค่าครองชีพถือว่าแพง และหากเปรียบเทียบกับฐานรถไฟฟ้าจากต่างประเทศ ก็ถือว่าแพงเช่นกัน เพราะเมื่อเปรียบเทียบทั้งค่าครองชีพและฐานต่างประเทศแล้ว เป็นประเทศติดอันดับค่ารถไฟฟ้าราคาแพง

นายสุเมธ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมเริ่มคิดได้ ทั้งที่ควรจะคิดได้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เริ่มคิดได้ก็ยังดีกว่าไม่ได้คิดเลย เพราะฉะนั้นตอนนี้อัตราค่าโดยสารจึงเริ่มเห็นภาพว่ามีแนวโน้มที่จะกำหนดเพดานในแต่ละระบบของรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่มีกำหนดจะเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเชิงพาณิชย์ปลายเดือน พ.ย.2564 จะเริ่มเก็บค่าโดยสารอัตราเริ่มต้น 12-42 บาท ซึ่งลดลงจากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เสนออัตรา 14-42 บาท

อย่างไรก็ตาม อัตราค่าโดยสารดังกล่าวนั้นเป็นผลมาจากที่ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. หารือร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารตามหลักสากล ซึ่งอัตราแรกเข้าใช้ตามสูตรที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี กำหนดไว้เมื่อปี 2544 เริ่มต้น 10 บาท ปัจจุบันดัชนีผู้บริโภค (CPI) ปี 2564 พบว่าอัตราแรกเข้าปรับเป็น 11.88 บาท ซึ่งจะปัดขึ้นเป็น 12 บาท และคิดค่าโดยสารตามระยะทาง เฉลี่ย 1.01 บาท/กม. ถือว่ามีราคาค่าโดยสารที่ไม่แพงมากนัก ซึ่งก็เป็นแนวทางที่ดีในระดับหนึ่ง

เร่งคลอดตั๋วร่วม

ด้าน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีข้อร้องเรียนว่าราคาค่าบริการขนส่งในระบบราง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่ให้บริการในปัจจุบันมีราคาที่สูงเกินไป และส่งผลต่อค่าครองชีพประชาชน เรื่องนี้ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ยังไม่สามารถเข้าไปควบคุมราคาค่าโดยสารได้ ทั้งๆ ที่เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการคมนาคมขนส่งทุกระบบเนื่องจากยังมีปัญหาด้านกฎหมาย แต่ก็มีความตั้งใจเข้าไปคุมราคาค่า โดยสารรถไฟฟ้าที่ให้บริการในปัจจุบัน รวมถึงโครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้โดยสาร บนพื้นฐานราคาที่ใช้บริการจริงตามระยะทาง หรือที่ 14-45 บาทต่อคนต่อเที่ยว แนวทางที่สามารถคุมราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกระบบได้

โดยการนำระบบตั๋วร่วมเข้ามาใช้กับการบริการขนส่งสาธารณะในทุกประเภท ซึ่งตามกรอบเวลาการใช้ตั๋วร่วมจะเริ่มขึ้นจริงในสิ้นปี 2564 นี้ ในระยะแรกตั๋วร่วมจะใช้กับระบบรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้การกำกับของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ก่อน และในอนาคตจะใช้ในระบบขนส่ง โลจิสติกส์ทั้งหมด

"กรณีที่มีคนร้องเรียนผ่านองค์กรผู้บริโภคต่างๆ ว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีราคาแพง ผมจะเข้าไปมีบทบาทอย่างไร ต้องเข้าใจว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าที่ให้บริการมีหลายระบบ หลายสัมปทานผู้ให้บริการ เมื่อผู้โดยสารเดินทาง และมีการต่อรถไฟฟ้าระหว่างระบบผู้โดยสารจะเสียค่าแรกเข้าระบบที่ 14-16 บาท แต่หากเมื่อนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ ปัญหาเรื่องค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้าจะหมดไปทันที การเชื่อมต่อระหว่างระบบก็จะไม่คิด ค่าโดยสารระบบรางจะถูกลงทันทีกว่า 30%" นายศักดิ์สยามกล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ในอนาคตหากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง พ.ศ. ... ของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ออกมามีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ในสิ้นปี 2564 นี้ ขร.จะมีอำนาจโดยตรงที่จะเข้าไปกำกับดูแลการบริการคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมด เช่น การกำหนดและวางหลักเกณฑ์ กำหนดการคำนวณ ราคาค่าโดยสาร ความถี่เที่ยววิ่งที่ให้บริการ และจำนวนตู้ที่ให้บริการเหมาะกับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ ทำให้ ขร.สามารถกำกับดูแลค่าโดยสารให้ประชาชนที่ใช้บริการได้ประโยชน์มากที่สุดแบบเบ็ดเสร็จ

ไม่รีบต่อสัมปทาน

สำหรับประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวคิดที่จะขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นทางอ่อนนุช-หมอชิต ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส หลังสัญญาสัมปทานเดิมสิ้นสุดลงในปี 2572 ต่อไปอีก 30 ปีเพื่อแลกกับการจัดเก็บค่าโดยสารเฉลี่ยรวมส่วนต่อขยายจากช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ, หมอชิต-คูคต ในราคาเฉลี่ยที่ 65 บาท นั้น นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เส้นทางอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ถือว่าไม่ได้เป็นสัญญาสัมปทานเดิม และไม่ได้เป็นสัญญาเดียวกัน หากจะมาบอกว่าเป็นส่วนต่อขยายจากสัญญาเดิมตามความเป็นจริงก็ไม่ใช่ เพราะเป็นคนละสัญญา กรุงเทพมหานครและกระทรวงมหาดไทยต้องดูข้อกฎหมายให้ดี จะมารวมเป็นส่วนต่อขยายจากสัมปทานเดิมไม่ได้

ดังนั้น เมื่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงอ่อนนุช-หมอชิต จะหมดสัญญาสัมปทานทรัพย์สินจะต้องตกเป็นของรัฐทันที จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเร่งต่อสัญญาสัมปทาน ในเมื่อเส้นทางช่วงดังกล่าวถือเป็นไข่แดง หากภาครัฐเปิดประกาศเชิญชวนเอกชนให้มาลงทุน ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มั่นใจว่าจะมีเอกชนเข้ามาลงทุนและทำรายได้ให้กับรัฐจำนวนมหาศาล

"นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นอย่างมาก ก็ได้อธิบายว่า การคำนวณหากในส่วนของกระทรวง ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการ จะคำนวณราคาที่ 1.45 บาทต่อกิโลเมตร (กม.) ขณะที่กรุงเทพมหานครคำนวณที่ 3 บาทต่อสถานี ทำให้ในส่วนของ รฟม.คำนวณต่ำกว่าก็ยังอยู่ได้ เพียงแต่ต้องทำตามกฎหมายเท่านั้น" นายศักดิ์สยาม กล่าว

เร่งแก้ค่าโดยสารแพง

ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยสิ่งที่คำนึงมากที่สุดคือ ความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน และรัฐบาลจะเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป ขอให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องช่วยกันแก้ปัญหา เพราะหลายเรื่องปัญหามีความซับซ้อน แต่รัฐบาลก็ต้องแก้ไข เมื่อแก้แล้วก็มีปัญหาอื่นตามมา ซึ่งต้องแก้ให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อรัฐบาลในอนาคตด้วย นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคธุรกิจต่างๆ ด้วย จะทำอย่างไรให้สามารถเดินได้โดยเร็ว และบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน เพื่อให้ราคาต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป

"ถ้าทุกคนจะเอาคนละอย่างสองอย่าง มันก็เดินไม่ได้ ทั้งๆ ที่เรามีความพร้อมอยู่แล้ว มีการเปิดเดินรถไปแล้วด้วย มีการให้บริการไปแล้วบางระยะ นั่นคือสิ่งที่ประชาชนได้รับประโยชน์ส่วนหนึ่งไปแล้ว ต้องหาวิธีการที่เหมาะสม แต่ถ้ามัวแต่ทะเลาะกัน ขัดแย้ง จับผิดจับถูกกันอยู่แบบนี้มันก็ไปไม่ได้สักอย่าง ขอฝากไว้ด้วย รัฐบาลจะทำให้ดีที่สุด คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนในทุกเรื่อง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว.

"ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมเริ่มคิดได้ ทั้งที่ควรจะคิดได้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เริ่มคิดได้ก็ยังดีกว่าไม่ได้คิดเลย เพราะฉะนั้นตอนนี้อัตราค่าโดยสารจึงเริ่มเห็นภาพว่ามีแนวโน้มที่จะกำหนดเพดานในแต่ละระบบของรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่มีกำหนดจะเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเชิงพาณิชย์ ปลายเดือน พ.ย.2564 จะเริ่มเก็บค่าโดยสารอัตราเริ่มต้น 12-42 บาท ซึ่งลดลงจากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เสนออัตรา 14-42 บาท"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2021 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
เร่ง "ตั๋วร่วม" รื้อสัมปทาน เว้นค่าแรกเข้าแก้ปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง

18 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:54 น.

ลิงก์มาแล้ว
ttps://www.thaipost.net/main/detail/99858


Last edited by Wisarut on 20/04/2021 11:39 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2021 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยสร้างทางด่วน N2 - รถไฟฟ้าสีน้ำตาล 6 หมื่นล้าน
*”คมนาคม”ชงครม.เคาะไม่เกิน พ.ค.นี้
*ปักฐานรากพร้อมกันที่ทับซ้อนกัน 6 กม.
*ก.คลังห่วงซ้ำรอยตอม่อที่สร้างรอ 20 ปี



https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2886322018255964

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ได้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสร็จแล้ว ส่วนงานก่อสร้างงานโยธามีความคืบหน้า 69.82% เร็วกว่าแผน 2.77% คาดว่าจะเปิดบริการเดือน ต.ค.ปี 67

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และส่งมอบพื้นที่โครงการแล้วเสร็จ งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ คืบหน้า 62.23% เร็วกว่าแผน 3.08% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.65

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคามี 1 โครงการ คือโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน คืบหน้า 19.20% และงานศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ คืบหน้า 48.80% คาดว่าจะเปิดบริการเดือน มี.ค.70

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2886494334905399
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2021 9:10 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดตรถไฟฟ้า4สายใหม่เชื่อม3จว. สีแดง-เหลืองเปิดปีนี้'ชมพู'รอปีหน้า'ส้ม'เลื่อนยาว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

อัพเดตไทม์ไลน์การก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สี 4 สาย ดีเดย์ ก.ค.นี้ได้นั่ง สายสีแดง "ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต" ค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 42 บาท ปลาย ธ.ค.ลุ้นตีตั๋วสายสีเหลือง เปิดหวูด "สำโรง-ภาวนา" ต้นปี'65 สายสีชมพูมาแน่ "สถานีมีนบุรี-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ" จับตาสายสีส้มติดหล่มปมประมูล ส่อเลื่อนยาว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกระทรวงคมนาคมเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าในแผนแม่บทมาอย่างต่อเนื่อง และทยอยเปิดให้บริการไปแล้วหลายสาย ภายในปี 2564 มีสร้างเสร็จพร้อมเปิดให้บริการคือ รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเปิดทดลองใช้ปลายเดือน ก.ค.ให้ประชาชนใช้ฟรี 3 เดือน และเปิดบริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบวันที่ 1 พ.ย. 2564 เก็บค่าโดยสารเริ่มต้น 12-42 บาท

นอกจากนี้ยังมีสายสีเหลือง (ลาดพร้าวสำโรง) ระยะทาง 30.40 กม. ปัจจุบันงานโยธาสร้างคืบหน้าแล้ว 80.45% งานระบบคืบหน้า 70.63% และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.50 กม. งานโยธาสร้างคืบหน้าแล้ว 76.13% งานระบบคืบหน้า 68.73% กำลังลุ้นกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส- ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานก่อสร้างและเดินรถจะเปิดบริการบางช่วง ได้ทันปลายปี 2564 ตามที่กำหนดไว้ได้หรือไม่

ธ.ค.ลุ้นสีเหลือง "สำโรง-ภาวนา"

ก่อนหน้านี้ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองอาจจะเปิดให้บริการบางช่วงไม่ทันภายในเดือน ต.ค.นี้ตามแผนเดิม จะเลื่อนเป็นเดือน ธ.ค. หรือต้นปี 2565

เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าระบบอุปกรณ์ และเครื่องกลจากต่างประเทศที่ผลิต และที่ผ่านมาติดเรื่องการส่งมอบพื้นที่ และย้ายตำแหน่งสถานี จึงทำให้เอกชนเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ช้า

"เดิมจะให้เอกชนผู้รับสัมปทานเปิดให้บริการสายสีชมพู จากสถานีมีนบุรี-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และสายสีเหลืองจากสถานีสำโรง-พัฒนาการ ในเดือน ต.ค.นี้ เมื่อเกิดโควิดระลอกใหม่ต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งนี้ ตามแผนทั้ง 2 สายจะเปิดได้ตลอดสายในปี 2565"

ล่าสุด นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เปิดเผยว่า จะเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและ สายสีเหลืองแบ่งเป็นเฟส โดยสายสีเหลือง แบ่งเป็น 2 เฟส ในเฟสแรกจะเริ่มนำรถวิ่งทดสอบระบบกลางปีนี้ และเปิดบริการปลายเดือน ธ.ค.นี้ ช่วงสถานีสำโรง- ช่วงถนนลาดพร้าว อยู่ระหว่างพิจารณาจะเปิดถึงสถานีไหน เช่น สถานีภาวนา ส่วนที่เหลือจะเปิดครบตลอดเส้นทางภายในปี 2565 เนื่องจากช่วงสถานี ต้นทางบริเวณแยกลาดพร้าว ยังเคลียร์ ผู้เช่าที่ดินของการรถไฟฯไม่เสร็จ และเป็นพื้นที่ที่สร้างยาก อาจจะใช้เวลานาน

"ปลายปีนี้สายสีเหลืองจะเปิดบางช่วงได้ก่อน ส่วนจะเก็บค่าโดยสารทันที 14-42 บาทเลยหรือไม่ รอหารือกับ รฟม. แต่ตามสัญญาสามารถเก็บได้เลย"

สีชมพูทยอยเปิดปี'65

นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า ส่วนสายสีชมพูคงเปิดบริการไม่ทันปลายปีนี้ เนื่องจากเพิ่งได้รับส่งมอบพื้นที่ มีการปรับแบบและตำแหน่งสถานีใหม่ รวมถึงยังมีการก่อสร้างที่ทับซ้อนกับโครงการป้องกันน้ำท่วมของกรมทางหลวงบนถนนแจ้งวัฒนะ ที่อาจจะทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป

อย่างไรก็ตาม การเปิดให้บริการจะแบ่งเป็น 3 เฟส ในเฟสแรกเปิดจากสถานีปลายทางมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ประมาณเดือน มี.ค. 2565 เฟสที่ 2 เปิดจากสถานีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ-สถานีปากเกร็ด และเฟสสุดท้ายเปิดจากสถานีปากเกร็ด-สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งยังเป็นกำหนดการในเบื้องต้นที่บริษัทพยายามจะเร่งการเปิดบริการให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการก่อสร้างด้วย

เร่งสร้างรถไฟฟ้าเข้าเมืองทองฯ

สำหรับความคืบหน้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทางประมาณ 3 กม. ที่กลุ่มบริษัทเสนอลงทุนเพิ่มเติม 4,230 ล้านบาท และผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา รอ รฟม.ออก พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน และออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มได้ภายในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ โดยบริษัทจะเร่งงานก่อสร้างให้เสร็จภายใน 30 เดือน ให้เปิดต้นปี 2567 จากสัญญากำหนดใช้เวลาสร้าง 37 เดือน และแล้วเสร็จเปิดบริการในเดือน ก.ย. 2567

ส่วนสายสีเหลืองต่อขยายจากรัชดาลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ที่เสนอการลงทุนเพิ่ม 4,100 ล้านบาท ถึงขณะนี้บริษัทยังยืนยันจะไม่รับภาระค่าใช้จ่าย การชดเชยรายได้ให้กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน เป็นคู่สัญญากับ รฟม. ซึ่งการเจรจาที่จบไประบุไว้ชัดเจนว่า บริษัทจะรับภาระค่าศึกษาโครงการ ค่าก่อสร้าง และค่าเวนคืนเท่านั้น

สีเหลืองต่อขยายติดบ่วงสีน้ำเงิน

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า สายสีเหลืองส่วนต่อขยายอยู่ระหว่างเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมให้ข้อเสนอแนะ เนื่องจากยังมีเรื่องค่าชดเชยรายได้ให้กับ BEM ที่ทำหนังสือถึง รฟม. จะได้รับผลกระทบผู้โดยสารจะลดไปเมื่อเปิดสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ซึ่งผลศึกษาของ BEM ระบุว่า ผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินจะหายไป 4,800 เที่ยวคน/วัน ในปี 2567 เป็นปีแรกที่สายสีเหลืองต่อขยายเปิดบริการ และในปีที่ 30 อยู่ที่ 17,500 เที่ยวคน/วัน คิดเป็นรายได้ที่หายไปตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี กว่า 2,700 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 988 ล้านบาท

"รฟม.พยายามเจรจากับบีทีเอสให้ยอมรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นแล้ว แต่เอกชนไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว จึงทำให้โครงการยังไม่ได้ข้อยุติจะได้สร้างหรือไม่ เพราะบอร์ดก็ไม่พิจารณา แต่ให้ รฟม.เสนอเรื่องไปคมนาคมเพื่อชี้แนะทางออก"

สีส้มส่อเลื่อนยาวประมูล-เปิดหวูด

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วง "ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี" ระยะทาง 22.5 กม. ขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 79.44% เร็วกว่าแผน 0.79% ทั้ง 6 สัญญาจะสร้างเสร็จปลายปี 2565

ความคืบหน้าสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 กิจการร่วมค้า CKST (บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ซิโนไทยฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 20,633 ล้านบาท คืบหน้า 87.04%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก กลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ก่อสร้าง วงเงิน 21,057 ล้านบาท คืบหน้า 80.06%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้าง โยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้ก่อสร้าง 18,570 ล้านบาท คืบหน้า 77.24%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโยธาทาง ยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-มีนบุรี มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็น ผู้ก่อสร้าง 9,990 ล้านบาท คืบหน้า 67.97% สัญญาที่ 5 ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร ของกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST วงเงิน 4,831 ล้านบาท คืบหน้า 81.30% และสัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง บมจ.ยูนิคฯเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,690 ล้านบาท คืบหน้า 72.90%

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตามแผนจะเปิดบริการภายในปี 2567 ยังลุ้นว่าจะสามารถเปิดได้หรือไม่ รอความชัดเจนงานติดตั้งระบบและการเดินรถไปรวมอยู่กับสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่ให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ก่อสร้างและรับสัมปทานเดินรถ 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท จะได้ เอกชนเมื่อไหร่ หลังการประมูลได้ยกเลิกไปและเตรียมจะเปิดประมูลใหม่ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันประมูล

เนื่องจากร่างทีโออาร์ใหม่ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว โดยจะใช้เกณฑ์ใหม่พิจารณาคือ พิจารณาซองเทคนิคและซองราคาพร้อมกัน ต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการมาตรา 36 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีกำหนดประชุม เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ มีเปลี่ยนกรรมการ

"เดิม รฟม.วางไทม์ไลน์จะเสนอคณะกรรมการพิจารณาทีโออาร์ปลายเดือน มี.ค. เปิดประมูลเดือน เม.ย.นี้ ทราบว่ารอศาล อาญาฯจะรับคำฟ้องบีทีเอสหรือไม่ วันที่ 5 พ.ค.นี้ และเปลี่ยนตัวกรรมการมาตรา 36 จึงทำให้ชะลอการเปิดประมูลใหม่ออกไปก่อน จากความล่าช้านี้อาจจะทำให้ไทม์ไลน์การเปิดช่วงตะวันออกต้องเลื่อนจากปี 2567" แหล่งข่าวกล่าว

บรรยายใต้ภาพ
ชุมทางมีนบุรี - ภาพความคืบหน้าการก่อสร้าง "สถานีมีนบุรี" เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี คือ สายสีชมพูแคราย-มีนบุรีและสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ตามแผนจะเปิดบริการสายสีชมพูในปี 2565 ส่วนสายสีส้มเปิดปี 2567 จะทำให้การเดินทางจากชานเมืองเข้าไปยังในเมืองสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2021 3:54 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อัพเดตรถไฟฟ้า4สายใหม่เชื่อม3จว. สีแดง-เหลืองเปิดปีนี้'ชมพู'รอปีหน้า'ส้ม'เลื่อนยาว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

ลิงก์มาแล้วครับ : อสังหาริมทรัพย์
อัพเดตรถไฟฟ้า 4 สายใหม่ “สีแดง-เหลือง-ชมพู” เปิดปีนี้ปีหน้า “ส้ม” เลื่อนยาว
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:09 น.
https://www.prachachat.net/property/news-651298
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2021 8:41 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊ก สนข.ปั้นเมกะโปรเจ็กต์ ทะลวงแก้รถติดกรุงเทพฯ
สัมภาษณ์พิเศษ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 เมษายน 2564 - 08:00 น.


ปัญหารถติดขัดในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย เป็นปัญหาคลาสสิกที่พูดถึงได้ทุกเมื่อเชื่อวัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้มีอำนาจหลายคนไม่ว่าระดับผู้ว่าเมืองกรุง และรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา ต่างหยิบเป็นวาระผุดสารพัดนโยบายที่จะแก้ปัญหานี้ แต่สุดท้ายยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน

แม้ว่ารัฐบาลจะโหมสร้างรถไฟฟ้าและเปิดบริการไปหลายสายแล้วก็ตาม แต่ด้วยการเชื่อมต่อการเดินทางที่ยังขาด ๆ เกิน ๆ เข้าถึงได้ยาก จึงทำให้คนยังไม่ทิ้งรถส่วนตัว หันมาใช้ขนส่งสาธารณะอย่างที่รัฐบาลต้องการ

นอกจากรถไฟฟ้าสารพัดสีที่รัฐผลักดันสร้างให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว ยังมีโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ในแผนงานที่เตรียมจะเดินหน้า โดยมี “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” สังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นเจ้าภาพเดินหน้า

“ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “ปัญญา ชูพานิช” ผู้อำนวยการ สนข.คนใหม่ วัย 47 ปี ถึงแนวคิดโครงการใหม่ ๆ ที่จะนำมาเป็นตัวช่วยบรรเทาการจราจรในอนาคต นอกจากมาตรการสลับเวลา ปรับสัญญาณไฟการจราจร ปาดเกาะกลางถนนเหมือนที่ผ่านมาแล้ว

Q : ไอเดียแก้ปัญหารถติด กทม.
เตรียมการไว้มี 3 แผนงานสำคัญ แผนงานแรกเป็นแผนใหญ่ที่ สนข.กำลังศึกษาและผลักดัน คือ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดจากถนนนราธิวาสฯ-สำโรง ระยะทาง 8.7 กม. เป็นอุโมงค์ทางด่วน ซึ่งศึกษาร่วมกับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (MLIT) การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. 2564 ทาง MLIT ขอปรับจุดขึ้น-ลงฝั่งสำโรงใหม่ จากเดิมอยู่บริเวณหน้าไบเทค บางนา ขยับไปอยู่บริเวณแยกสรรพาวุธแทน

หากยังอยู่ที่จุดเดิมจะต้องทำทางเชื่อมลักษณะเหมือนบันไดวนจากใต้ดินไปเชื่อมกับทางด่วนบูรพาวิถี ซึ่งทางญี่ปุ่นมองว่าการออกแบบและการก่อสร้างยากเกินไป และการให้มาโผล่บริเวณแยกสรรพาวุธจะไม่ต้องทำทางยกระดับอีก แต่จะโผล่บนทางราบ ถ.บางนา-ตราดแทน แล้วค่อยไปเลือกขึ้นทางด่วนในด่านถัดไปแทน

สนข.ให้โจทย์กับ MLIT ไปดูว่าถ้าจะให้โผล่ตรงแยกสรรพาวุธจะมีปัญหาอุปสรรคด้านการจราจรหรือไม่ และการให้รถจากทางลอดขึ้นมาบนทางราบจะออกแบบทางเบี่ยงหรือทางขึ้นจากใต้ดินอย่างไรด้วย เพราะเมื่อมีการก่อสร้างจะต้องทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด โดยให้เทียบกับจุดเดิมคือบริเวณหน้าไบเทค บางนาด้วย

ล่าสุดทาง MLIT ทำหนังสือตอบมาที่ สนข.แล้วว่าจะขอส่งที่ปรึกษาลงพื้นที่จริง เพื่อสำรวจสภาพปัญหาในวันที่ 28 เม.ย. 2564 ส่วนทางฝั่ง ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ ยังไม่มีการเสนอเปลี่ยนจุดขึ้น-ลงแต่อย่างใด ยังอยู่ที่บริเวณใกล้กับทางด่วนเฉลิมมหานครสายท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วง ถ.พระราม 3 จะต้องประสานกับ กทม. เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีที่อยู่ตรงกลาง ถ.นราธิวาสฯต่อไป

นอกจากนี้ MLIT จะเสนอให้อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำมีความตื้นขึ้น เพราะแต่เดิมวางไว้ให้อยู่ลึกลงไป 1 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของอุโมงค์ ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน่าจะไม่มีปัญหา เพราะแม้ว่าแนวเส้นทางของทางด่วนจะผ่านคุ้งบางกะเจ้า แต่ลักษณะของโครงการอยู่ใต้ดิน และพื้นที่บางกะเจ้าห้ามเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่บนระดับดินขึ้นไปเท่านั้น


Q : งบประมาณก่อสร้างและการลงทุน
จากการประเมินมูลค่าโครงการและรูปแบบการลงทุน ทาง MLIT ประเมินคร่าว ๆ ไว้ที่ 84,000 ล้านเยน หรือ 24,093.69 ล้านบาท ยังต้องรอผลคำนวณที่จะออกมาอีกครั้ง ส่วนรูปแบบลงทุนกำลังศึกษาอยู่ 2 แบบ แบบที่ 1 ทำเป็น PPP ทั้งงานโยธาและงานระบบ O&M แต่ยังไม่สรุปว่าจะใช้ net cost หรือ gross cost และ 2.แยกงานโยธาออกมาให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนงานระบบ O&M ยกให้เป็น PPP รูปแบบเหมือนมอเตอร์เวย์ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ตอนนี้เราเอาแนวเส้นทางที่ชัด ๆ ให้ได้ก่อน ส่วนงานระบบ O&M อะไรยังไม่ได้ศึกษากันชัดเจน และยังไม่ได้กำหนดว่าใครจะมาเป็นเจ้าของโครงการ เพราะ สนข.เองก็ศึกษาเป็นแผนงานเบื้องต้นเอาไว้ แต่เท่าที่ท่านรัฐมนตรี (ศักดิ์สยาม ชิดชอบ) มีนโยบายไว้ น่าจะให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้ดำเนินการ และ กทพ.ก็รับทราบข้อมูลอยู่แล้ว เพราะร่วมเป็นคณะทำงานศึกษากับ สนข.ด้วย

Q : จะมีสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่เพิ่ม
การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าจะเป็นแผนงานที่ 2 โดยเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) ตอนนี้ สนข.และคมนาคมกำลังเร่งรัดสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 22.1 กม. ซึ่งโครงการนี้จะสร้างไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือของ กทพ.ด้วย เพราะมีการใช้ตอม่อก่อสร้างร่วมกัน


กทพ.จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้สร้างช่วง N2 แยกเกษตรเชื่อมถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพด้านตะวันออก ระยะทาง 11.3 กม. วงเงิน 17,000 ล้านบาทก่อนเป็นลำดับแรก เพราะยังติดปัญหารูปแบบก่อสร้างช่วงที่ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คาดว่าจะเสนอ ครม.ในปีนี้ และเริ่มก่อสร้างในปี 2565 หากทางด่วน N2 ได้รับการอนุมัติก็เชื่อว่า สายสีน้ำตาลน่าจะดำเนินการตามมาได้

ยังจะเร่งสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาทก่อน อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ส่วนการประมูลก่อสร้างน่าจะแยกคนละโครงการ

สนข.กำลังศึกษาทำระบบฟีดเดอร์เชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าให้เกิดความสะดวกและดึงคนใช้บริการ นำร่อง
สายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะเปิดบริการในเดือน พ.ย.นี้ ที่สถานีตลิ่งชันและสถานีรังสิตที่จะเป็นสถานีชุมทางของการเดินทางของรถไฟฟ้าสายนี้ โดยจะเป็นรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้ารับส่งคนที่สถานี เป็นต้น

Q : ความคืบหน้าการทำบัสเลน
การจัดทำช่องทางพิเศษสำหรับรถโดยสารประจำทาง หรือ bus lane เป็นแผนงานที่เราจะผลักดันเช่นกัน จะเริ่มนำร่องที่ ถ.พระราม 4 ช่วงศาลาแดง-พระโขนง ระยะทาง 9.2 กม. โดยออกแบบให้อยู่เลนขวาสุดใกล้กับเกาะกลางถนน และจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารจะให้อยู่ใกล้บริเวณสี่แยกที่มีสัญญาณไฟจราจรมากที่สุด เพื่อให้เดินบนทางม้าลาย แต่หากจอดบริเวณจุดที่ไม่มีสัญญาณไฟก็จะต้องมีสะพานลอยคนข้าม

สถานะของโครงการตอนนี้การออกแบบเบื้องต้นจะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. 2564 นี้ แต่ กทม.ยังมีคำถามเรื่องรูปแบบการรับ-ส่งประชาชนอยู่ คาดว่าแบบที่จะเสร็จน่าจะตอบโจทย์ของ กทม.ได้ หาก กทม.ไม่มีข้อสงสัยอะไรอีก จะเสนอให้ คจร.(คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก) พิจารณาต่อไปภายในเดือน มิ.ย. 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42727
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2021 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส" แฉเหตุใด? "ตั๋วร่วม" ไม่เกิดสักที ยันวันนี้ระบบแมงมุมพร้อมแล้ว
จันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 เวลา 13.56 น.

“บีทีเอส” แฉเหตุใด? “ตั๋วร่วม” ไม่เกิดสักที ยันวันนี้ระบบแมงมุมพร้อมแล้ว เชื่อมบีทีเอส-เอ็มอาร์ทีได้สบาย ชี้ถ้าดันเต็มที่ได้ใช้แน่ งงทำไมเรื่องเงียบ “คมนาคม” เมินบัตรแรบบิท-แมงมุม หันไปซบบัตรอีเอ็มวี เผยช่วงโควิด 3 ผู้โดยสารหายเกือบ 70% เร่งพิจารณาคืนเที่ยวผู้โดยสารช่วง WFH

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยถึงการจัดทำระบบตั๋วร่วม เพื่อลดค่าแรกเข้าให้กับประชาชนว่า เรื่องนี้ขอย้อนไปในอดีตสมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมีแนวคิดจะจัดทำระบบตั๋วร่วม โดยให้บีทีเอสซี และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ทำบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงคมนาคม เพื่อดำเนินการนำร่องเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะให้เป็นตั๋วร่วมระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีก่อน จึงได้เกิดเป็นบัตรแรบบิทขึ้นมา โดยเมื่อทำแล้วเสร็จกลับไม่มีคนมาร่วมด้วย ก็ไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมถึงไม่มาร่วม
               
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ในเมื่อบีทีเอสทำบัตรแรบบิทมาแล้ว ก็เลยใช้เอง จึงไปร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นแทน อาทิ รถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) และรถประจำทางบางสาย เป็นต้น นอกจากนี้บัตรแรบบิทยังสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าต่างๆ ได้ด้วย ขณะเดียวกันบีทีเอสก็ได้ออกโปรโมชั่นต่างๆ จึงทำให้บัตรแรบบิทอยู่ต่อได้จนมาถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นในรัฐบาลต่อมา มีแนวคิดทำระบบตั๋วร่วมเช่นกัน แต่ไม่ใช่แรบบิท กลับเป็นบัตรแมงมุม ซึ่งครั้งนั้นบริษัทฯ ได้เป็นผู้ชนะประมูล มีกระทรวงคมนาคมเป็นคู่สัญญา จนกระทั่งทำเป็นบัตรแมงมุมออกมา เป็นเวอร์ชั่นที่ทันสมัยกว่าบัตรแรบบิท แต่สุดท้ายเมื่อทำเสร็จแล้วก็ไม่ใช้อีก โดยในการประชุมล่าสุดทราบว่าจะใช้เป็นบัตรอีเอ็มวี (Europay Mastercard and Visa) แทนแล้ว

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมระบุว่า บัตรอีเอ็มวี เป็นระบบเปิด พัฒนาโดยวีซ่าและมาสเตอร์ ซึ่งอ้างว่าค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าระบบเดิม และก็ยังไม่แน่ใจว่าถูกจริงหรือไม่ เชื่อว่าคงต้องใช้เวลาอีก อย่างไรก็ตามยืนยันว่าวันนี้ระบบแมงมุมพร้อมใช้งานแล้ว และล่าสุดรัฐบาลปัจจุบันพยายามจะให้ใช้กับรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ การดำเนินการนั้นก็ทำได้ไม่ยากแค่ปรับปรุงหัวอ่าน และซอฟต์แวร์เล็กน้อย ถ้าเดินหน้าเต็มที่ก็สามารถใช้บัตรแมงมุมได้แล้ว แต่ก็ไม่ทราบว่าทำไมทุกวันนี้ยังใช้ไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้บีทีเอสผลักดันมาตลอด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารได้ใช้บัตรใบเดียว ส่วนเรื่องการเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวนั้น เป็นเรื่องอนาคตที่ต้องหารือกันต่อไป
 
              

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ในการเจรจากับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการพูดถึงเรื่องตั๋วร่วมด้วย และได้มีการบรรจุในไว้ร่างสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวแล้วว่า บีทีเอสจะร่วมมือในการทำตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าทุกสาย และพิจารณายกเว้นค่าแรกเข้าด้วย แต่เรื่องดังกล่าวคงทำฝั่งเดียวไม่ได้ ต้องทำด้วยกันทั้งสองฝั่ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบที่ 3 ผู้โดยสารหายไปถึงเกือบ 70% จะใกล้เคียงกับการเกิดโควิด-19 รอบแรก ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาเรื่องการคืนเที่ยวในบัตรแรบบิทให้ผู้โดยสาร เพราะมีหลายคนเติมเที่ยวเข้าบัตรแล้ว แต่เนื่องจากต้องปฏิบัติงานที่บ้าน จึงไม่ได้ใช้เดินทาง ซึ่งบัตรจะหมดอายุภายใน 30 วัน น่าจะมีคำตอบให้ผู้โดยสารในเร็วๆ นี้.

“บีทีเอส”แฉ!!! "15 ปีตั๋วร่วมรัฐบาลไทย" เหตุใดไม่แจ้งเกิด
*บริษัทช่วยทำตั้งแต่ต้นจนมี ”บัตรแรบบิท”15 ล้านใบ
*ยันวันนี้ระบบแมงมุมพร้อมถ้าตั้งใจดันเต็มที่ได้ใช้แล้ว
*กระทรวงคมนาคมประชุม”กว่า35ครั้ง”ยังย่ำอยู่กับที่
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2890788661142633
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2021 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโรดแมป รถไฟ EV “ศักดิ์สยาม” ดันให้เกิดปี68
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 - 19:49 น.

“ศักดิ์สยาม” จี้ “กรมราง-รถไฟ” เร่งคลอด “รถไฟ EV” เผยโรดแมปการผลักดัน คาดรถต้นแบบวิ่งทดลองปี 68

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการในที่ประชุมเรื่องการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ใน 2 ประเด็นกับ ได้แก่

1. ให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) พิจารณาเร่งรัดแผนงานการนำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้เร็วขึ้น จากแผนเดิมปี 2568

2. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำแผนการดำเนินงาน (Timeline) นำรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train มาใช้ในประเทศไทย โดยร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อบังเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

เปิดโรดแมปรถไฟ EV เกิดปี 68
สำหรับขั้นตอนในการผลักดันมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ปี 2564 การศึกษาความเหมาะสม ด้านความคุ้มค่าและรูปแบบของรถไฟแบบ EV , ระยะที่ 2 ปี 2565-2566 เป็นการออกแบบรถไฟ EVที่เหมาะสมกับประเทศไทยและเตรียมการจัดสร้างรถไฟ EV ต้นแบบ และระยะที่ 3 ปี 2567-2568 เป็นการดำเนินการจัดสร้างรถไฟ EV ตัวต้นแบบและนำรถไฟ EV ต้นแบบทดสอบวิ่งในเส้นทาง คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 234, 235, 236 ... 278, 279, 280  Next
Page 235 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©