Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262272
ทั้งหมด:13573552
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 237, 238, 239 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ลุยปรับแผนก่อสร้างหลังรัฐสั่งปิดแคมป์คนงาน
จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 16.09 น.


รฟม.เตรียมปรับแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย หลังต้องปิดไซต์งาน 30 วัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17:17 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17:17 น.

รฟม.เตรียมปรับแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ปิดไซต์งานชั่วคราว 30 วันให้กระทบภาพรวมน้อยที่สุด เผยโยธาสายสีส้ม, สายสีชมพู, สายสีเหลือง คืบหน้าเกือบ 80% ปัจจุบันเป็นงานตกแต่ง งานสถาปัตย์ และติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกล มั่นใจยังไม่กระทบภาพรวม

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ข้อ 2 การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2564 ข้อ 2 ปิดสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร หรือพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 จนถึง 27 กรกฎาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น

รฟม.ได้มีหนังสือถึงผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ทุกสัญญา หยุดการก่อสร้าง พร้อมกับปิดพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน ส่วนแคมป์ที่พักคนงาน ซึ่งจะอยู่คนละจุดกับไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า ผู้รับจ้างจะต้องปิดตามประกาศ เช่นกัน

ทั้งนี้ ช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาผู้รับเหมาได้เร่งเก็บงาน เพื่อเตรียมพร้อมหยุดก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นรูปแบบเดียวกับการหยุดก่อสร้างช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ ซึ่งคนงานจะหยุดงานเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่จะมีคนงานส่วนหนึ่งที่จะต้องประจำไซต์ก่อสร้างเพื่อดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ไซต์ก่อสร้างจะอยู่บนถนนที่มีรถยนต์สัญจรตลอดเวลา จึงอาจจะเกิดเหตุฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

นายภคพงศ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้งานก่อสร้างคืบหน้าเร็วกว่าแผนระดับหนึ่ง แต่เมื่อมีปัญหาโควิดในแคมป์ที่พักคนงานทำให้มีผลกระทบบ้าง ขณะที่การหยุดก่อสร้างชั่วคราวเป็นเวลา 30 วันอาจจะทำให้งานล่าช้าไปได้อีก ซึ่งผู้รับเหมาจะตรวจสอบแผนงานเสนอให้ รฟม.ภายใน 1-2 สัปดาห์เพื่อพิจารณาปรับแผนก่อสร้าง เร่งรัดบางกิจกรรม เพื่อให้มีผลกระทบต่อภาพรวมและระยะเวลาโครงการน้อยที่สุด

ด้านนายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ เปิดเผยว่า ในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม, สายสีชมพู, สายสีเหลือง กล่าวว่า ขณะนี้มีความคืบหน้างานโยธาเกือบ 80% ปัจจุบันอยู่ในช่วงงานตกแต่ง งานสถาปัตย์ และงานติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกล
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากภาครัฐมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างเป็นการชั่วคราวนั้น ทาง รฟม.ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาฯ กำชับผู้รับจ้างก่อสร้างทุกโครงการให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและประกาศของภาครัฐในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเร่งประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในภาพรวม รวมถึงดำเนินการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีผลกระทบต่อระยะเวลาตามสัญญาให้น้อยที่สุด



ทั้งนี้ รฟม.และทุกโครงการจะยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ ให้มีความเข้มข้นและรัดกุมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตลอดจนเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะกลับสู่ภาวะปกติ


รฟม. ปรับแผนหลังประกาศปิดแคมป์คนงาน-สถานที่ก่อสร้าง
หน้า covid-19 /
จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17:22 น.

รฟม.ปรับแผนหลังมีคำสั่งปิดแคมป์คนงานและสถานที่ก่อสร้าง พร้อมกำชับผู้รับจ้างทุกโครงการปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด

วันที่ 28 มิถุนายน 2564 นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ข้อ 2 การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล


และประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2564 ข้อ 2 ปิดสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร หรือพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 จนถึง 27 กรกฎาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น
นายกิตติกร กล่าวว่า ในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วง แคราย - มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรงขณะนี้มีความคืบหน้างานโยธาเกือบร้อยละ 80 ปัจจุบันอยู่ในช่วงงานตกแต่ง งานสถาปัตย์และงานติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกล





อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากภาครัฐมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างและพื้นที่ก่อสร้างเป็นการชั่วคราวนั้น
ทาง รฟม. ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาฯ กำชับผู้รับจ้างก่อสร้างทุกโครงการ ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและประกาศของภาครัฐในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเร่งประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในภาพรวม รวมถึงดำเนินการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีผลกระทบต่อระยะเวลาตามสัญญาให้น้อยที่สุด
ทั้งนี้ รฟม. และทุกโครงการจะยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ ให้มีความเข้มข้นและรัดกุม อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตลอดจนเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะกลับสู่ภาวะปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2021 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

"กรมฯราง"เปิดหลักการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.46 น.

“กรมราง” วางหลักตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า ต้องง่าย-กระชับ-ตำแหน่งชัดเจน
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:46 น.


“กรมราง” ล้อมคอกวางหลัก 6 ประการ ตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า “เข้าใจง่าย-กระชับ-ชัดเจน-ยั่งยืน-เจาะจง-เชื่อมโยงกัน”
ชื่อ (สถานีรถไฟฟ้า) นั้น...สำคัญไฉน ???
*กรมรางเปิดหลักการตั้งnext station
*กำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้าสายใหม่
* ง่าย-กระชับ-ยั่งยืน-ชัดเจน-เจาะจง
*ยึดหลักสากลทั้งภาษาไทย&อังกฤษ

“กรมฯราง” เปิดหลักการตั้งชื่อ-กำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้าสายใหม่ สั้น/ง่าย/ยั่งยืน/ชัดเจน/ไม่ซ้ำ/เชื่อมโยงกัน ยึดหลักสากล ใช้ทั้งไทยและอังกฤษ หวังลดความสับสนผู้ใช้บริการ     

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 1 เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อมูลการให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการที่แตกต่างกันว่า ขร. เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อยกระดับการขนส่งทางรางให้เป็นการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการใช้บริการของคนทุกคนอย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียม รวมทั้งมีความเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งหลากรูปแบบได้ จึงมีแนวคิดกำหนดมาตรฐาน มาตรการ การเสนอแนะแนวทาง รวมถึงการกำกับและติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง และประสานการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

             

นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาข้อมูลการให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการที่แตกต่างกัน ในเรื่องของการกำหนดการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยแนวทางสำหรับการกำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะจากการศึกษาลักษณะเฉพาะของการตั้งชื่อสถานีขนส่งสาธารณะสากล ข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนและตัวแทนของผู้ประกอบการเดินรถในปัจจุบัน รวมถึงการวิเคราะห์หลักการและปัจจัยที่เหมาะสมในการตั้งชื่อ สามารถสรุปหลักการตั้งชื่อ และกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ ดังนี้
             

1.ง่าย ชื่อสถานีรถไฟฟ้าจะต้องเป็นชื่อที่ง่าย และสามารถจดจำได้ง่าย 2.กระชับ ชื่อสถานีรถไฟฟ้าควรเป็นชื่อที่สั้น ได้ใจความโดยชื่อภาษาไทยควรมีความยาวไม่เกิน 5 พยางค์ และชื่อภาษาอังกฤษควรใช้ตัวอักษรไม่เกิน 15 ตัวอักษร 3.มีความยั่งยืน ชื่อสถานีควรใช้ได้อย่างตลอดระยะเวลาที่สถานียังคงเปิดให้บริการอยู่ 4.สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ชื่อสถานีจะต้องเอื้อให้ผู้เดินทางสามารถระบุตำแหน่ง หรือบริเวณที่ตั้งของสถานีได้อย่างชัดเจน และควรมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ตั้งสถานี

             

5.เฉพาะเจาะจง ชื่อสถานีจะต้องไม่ซ้ำกัน หรือสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ และ 6.มีความเชื่อมโยงกัน ชื่อสถานีจะต้องสามารถสร้างความเชื่อมโยงไปใช้ในการวางแผนการเดินทางได้ โดยเฉพาะชื่อสถานีที่เป็นสถานีเชื่อมต่อ ควรใช้ชื่อเดียวกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีการระบุความแตกต่างของเส้นทางโดยรหัสสถานี ซึ่งการกำหนดสถานีในประเทศไทย ก็จะยึดหลักการเดียวกับหลักการของสากล โดยจะมีทั้งชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
             
รวมทั้งคำประกาศภายในขบวนรถเพื่อแจ้งจุดเชื่อมต่อสถานี รูปแบบป้ายสัญลักษณ์ รหัสสีกำหนดเส้นทางรถไฟฟ้า ให้มีความเป็นมาตรฐานกลาง ลดความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ และเพื่อให้หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยไม่ล่าช้า รวมทั้งเป็นกรอบในการดำเนินการกรณีงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นในอนาคตต่อไป...
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/957348541708757
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2941670969387735


Last edited by Wisarut on 02/07/2021 5:59 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2021 12:24 am    Post subject: Reply with quote

ภารกิจพลิกโฉมเมือง‘ปทุมธานี’ เนรมิตรถไฟฟ้า4สายใหม่ แก้รถติด เชื่อม‘กรุงเทพฯ’ไร้รอยต่อ
คอลัมนิสต์
โดย ประเสริฐ จารึก
วันที่ 30 มิถุนายน 2564 - 13:59 น.

Click on the image for full size



โมเดลรถไฟฟ้าของจีนที่เอกชนเสนอให้ อบจ.ปทุมธานี เป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีรังสิต


“บิ๊กแจ๊ส” กำลังเดินหน้าแก้ปัญหาการจราจร ซึ่งวิกฤตไม่แพ้มหานคร “กรุงเทพฯ”

เตรียมเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา หรือโมโนเรล เชื่อมกับรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี ที่รัฐบาลทุ่มเม็ดเงินกว่าแสนล้าน สร้างจากกรุงเทพมหานครมาถึงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อเชื่อมการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ

สายแรกรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เปิดบริการตลอดสายเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา

ล่าสุดถึงคิวรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเปิดหวูดวิ่งปลายเดือนกรกฎาคมนี้

“ปัญหาจราจรในพื้นที่ปทุมธานี ยังไม่ได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะถนนรังสิต-องครักษ์ ถนนลำลูกกา-คูคต และคลองหลวง จึงให้บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด ทำการสำรวจว่ารถไฟฟ้าโมโนเรลจะสร้างเส้นทางไหนได้บ้างเพื่อแก้ปัญหารถติด ต้องเร่งคือรังสิต-องครักษ์ (ทางหลวง 305) ที่รถติดมากสุด”

นี่คือสิ่งที่ “บิ๊กแจ๊ส” คิด ซึ่งรถไฟฟ้าโมโนเรลเป็นหนึ่งใน 11 นโยบายหาเสียง และกำลังผลักดันให้เป็นจริง

เมื่อศักยภาพของจังหวัดปทุมธานีในวันนี้ เป็น “เกตเวย์” ของกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ เป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน เมืองการศึกษา มีคนอยู่อาศัยมากกว่า 1 ล้านคน จึงทำให้การจราจรวิกฤตไม่ต่างจากใจกลางเมือง

ดังนั้น การมีรถไฟฟ้าโมโนเรลเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายหลัก ให้สามารถเดินทางยิงตรงเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ จูงใจคนมาใช้ระบบขนสาธารณะแทนรถส่วนตัว ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรไปได้บ้าง

ดึงเอกชนลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรล 4 เส้นทาง
“เสวก ประเสริฐสุข” รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า นโยบายของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ที่จะพัฒนาจังหวัดปทุมธานีมีหลายโครงการจะเดินหน้าควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19

ปัญหาการจราจรก็เป็นนโยบายสำคัญ อยู่ระหว่างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล จะเป็นโมเดลคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน) ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว ขีดแนวไว้ 4 เส้นทาง


#แนวเส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล ที่ อบจ.ปทุมธานี กำลังศึกษา ‼️
#เส้นทางที่1 จาก สถานีรถไฟฟ้ารังสิต ผ่านหน้าเทศบาลนครรังสิต ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค จากนั้นเลาะไปตามคลองด้านข้างถนนรังสิต-องครักษ์ ไปสิ้นสุดที่คลอง 6 หรือคลอง 7 จะให้แนวเข้าไปเชื่อมกับสวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย
#เส้นทางที่2 แนวจะฉีกจากเส้นทางแรกเลียบไปกับถนนรังสิตคลอง 3 วิ่งไปตามถนนคลองหลวง ผ่านวัดพระธรรมกาย ยกข้ามถนนพหลโยธิน ไปสิ้นสุดที่สถานีธรรมศาสตร์รังสิตของสายสีแดง
#เส้นทางที่3 จากศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค วิ่งตัดตรงไปทางสนามกีฬาธูปะเตมีย์ และสิ้นสุดที่แยก คปอ. เชื่อมกับสายสีเขียว
#เส้นทางที่4 จากสถานีรถไฟฟ้ารังสิต ไปตามถนนรังสิต-ปทุมธานี มุ่งหน้าบางพูน ผ่านโรงพยาบาลเซนต์คาร์ลอส ข้ามแม่น้ำ ไปสิ้นสุดถนนราชพฤกษ์ ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่ทำการใหม่ของ อบจ.ปทุมธานี กำลังจะเริ่มถมดินปลายปีนี้ และก่อสร้างภายในปี 65 วงเงินกว่า 500 ล้านบาท



“เสวก” เปิดโมเดลรูปแบบการลงทุน จะเป็นรูปแบบรัฐและเอกชนร่วมลงทุน หรือพีพีพี ขณะนี้มีเอกชน 3 รายสนใจจะร่วมลงทุน ประเดิมเส้นทางแรกจากสถานีรังสิต-เทศบาลนครรังสิต-ฟิวเจอร์พาร์ค-รังสิตคลอง 6 และคลอง 7 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร อีก 3 เดือนจะสรุปแบบก่อสร้าง เงินลงทุน แต่การดำเนินการยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน เช่น การขออนุญาตกรมทางหลวงขอใช้พื้นที่ถนนรังสิต-องครักษ์เพื่อก่อสร้างทางวิ่งยกระดับจะเลาะไปตามคลองรังสิต เนื่องจากพื้นที่เกาะกลางถนนในอนาคตกรมทางหลวงมีแผนจะสร้างถนนสองชั้น จึงไม่สามารถใช้พื้นที่ได้ นอกจากนี้ยังต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการอีกด้วย

“จะเร่งให้เริ่มงานก่อสร้างภายในปลายปี 2566 ใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปี เมื่อแล้วเสร็จช่วยแก้ปัญหารถติดบนถนนรังสิต-องครักษ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด เพราะอยู่ใกล้กับสวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่ เนื้อที่ 300 กว่าไร่ กำลังก่อสร้างจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปี ยังมีสวนสนุกดรีมเวิลด์อีกด้วย”

“เสวก” บอกว่า การที่จังหวัดเลือกรถไฟฟ้าโมโนเรลมาแก้ปัญหารถติด เนื่องจากพื้นที่ถนนด้านล่าง ไม่สามารถจะขยายได้อีก ถ้าทำต้องเวนคืนที่ดินและใช้งบประมาณก่อสร้างสูง ขณะที่รถไฟฟ้าเป็นทางยกระดับ สร้างเป็นเสาเดี่ยว ต้นทุนต่ำกว่า ตอบโจทย์การเดินทางได้มากกว่า ซึ่งย่านรังสิตตั้งแต่คลอง 1 ถึง
คลอง 6 มีคนอยู่อาศัยมากถึง 200,000 คน


ถนนรังสิต-องครักษ์อัพเกรดถนนปรับ‘ภูมิทัศน์เมือง’รับนักท่องเที่ยว
นอกจากรถไฟฟ้าที่กำลังเร่งรัด “เสวก” เล่าว่า อบจ.ยังมีแผนปรับปรุงถนนลาดยางให้เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด โดยจะเสริมความหนาผิวถนนเพิ่มอีก 20 เซนติเมตร เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัว

“ปัจจุบันปทุมธานีมีถนนลาดยางอยู่ 50% ต่อไปจะไม่มีแล้ว เราจะปรับเป็นคอนกรีตให้หมด ในปี 2564 ได้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทปรับปรุง เริ่มประมูลก่อสร้างแล้ว 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่างาน 200 ล้านบาท และจะจัดสรรงบประมาณเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆ ไป”

นอกจากนี้จะปรับภูมิทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ไม่ให้มีผักตบชวา โดยได้ซื้อเรือใหญ่ 2 ลำเก็บผักตบชวา ซื้อแบ๊กโฮวิ่งในแม่น้ำได้เพื่อตกแต่งริมแม่น้ำให้สวยงาม และมีแผนจะติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างตลอดแนวสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมระยะทาง 40 กิโลเมตร ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ

“แบบก่อสร้างจะตอกเสาเข็มลงไปในแม่น้ำและทำเสาไฟฟ้าติดดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปทุมธานีอยู่บนผิวน้ำ จะติดตั้งหลาย 1,000 ต้น ใช้เงินลงทุนต้นละ 30,000-40,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณด้วยว่าจะได้รับหรือไม่ ยังเป็นเพียงแนวคิดว่าเราจะทำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวริมแม่น้ำของจังหวัด”

จากแม่น้ำเจ้าพระยา “เสวก” บอกอีกว่า จะตกแต่งคลองรังสิตให้มีความสวยงามเช่นกัน แต่จะไม่มีการสร้างท่าเรือเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือเหมือนคลองแสนแสบ เนื่องจากคลองรังสิตแนวจะคู่ขนานไปกับถนน ซึ่งประชาชนจะใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถโดยสารสาธารณะ จะไม่นิยมนั่งเรือโดยสารและ คลองรังสิตมีปัญหาการควบคุมระดับน้ำใให้คงที่ตลอดปี ไม่ได้ เนื่องจากภัยแล้ง เพราะโลกร้อน

อีกทั้งยังมีแผนจะพัฒนาบึงพระราม 9 อยู่บริเวณรังสิตคลอง 5 หลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เนื้อที่ประมาณ 1,700 ไร่ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อน ออกกำลังกาย เป็นปอดของคนปทุมธานี

“ต่อไปปทุมธานีจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุด และมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุด เพื่อดึงคนไทยและต่างชาติมาท่องเที่ยวหลังโควิดคลี่คลาย บรรยากาศต่างๆ คงจะกลับมาคึกคักมากขึ้น” เสวกกล่าวย้ำ


แนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ อบจ.กำลังศึกษาลงทุน‘รถไฟฟ้า-รถแทรม’เชื่อมสายสีแดง-สีเขียว
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของภาคเอกชน มีหลายรายสนใจจะพัฒนาระบบฟีดเดอร์ “มารุต ศิริโก” กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (AMR) ผู้ออกแบบติดตั้งระบบรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า บริษัทสนใจจะร่วมลงทุนรถไฟฟ้ากับ อบจ.ปทุมธานี เป็นระบบ Sky Shuttle (รถไฟฟ้ารางเดี่ยว) เหมือนรถไฟฟ้าสายสีทอง

จึงเสนอแนวคิดโครงการให้ อบจ.ปทุมธานีพิจารณา เพื่อเป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมกับสาย
สีแดง โดยเส้นทางที่บริษัทสนใจ คือ สร้างจากสถานีรังสิตของสายสีแดง ผ่านเทศบาลนครรังสิตมายังฟิวเจอร์พาร์ค ระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ต่อมาทางนายก อบจ.ให้คิดเป็นภาพรวมทั้งจังหวัด จึงได้เสนอเพิ่มอีกเส้นทางคือจากฟิวเจอร์พาร์คลงมาทางสนาม
กีฬาธูปะเตมีย์ไปถึงแยก คปอ.เพื่อเชื่อมกับสายสีเขียว ขณะที่ อบจ.ก็มีแนวคิดจะต่อขยายไปถึงรังสิต-องครักษ์คลอง 6 และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


“สิ่งที่เราคิด คือ คนปทุมธานีสามารถนั่งรถไฟฟ้าเข้ากรุงเทพฯได้สองทางทั้งสายสีแดงและสายสีเขียว จึงเสนอ 2 เส้นทางดังกล่าว ในช่วงแรกสร้างจากสถานีรังสิตของสายสีแดงมาถึงฟิวเจอร์พาร์คก่อน จากนั้นถึงขยายเส้นทางไปถึงรังสิตคลอง 6”

“มารุต” อธิบายว่า เนื่องจากการขยายเส้นทางออกไปถึงรังสิต-องครักษ์ ต้องศึกษารายละเอียด ดูพฤติกรรมการเดินทางของคนด้วย เพื่อให้การลงทุนรถไฟฟ้าตอบโจทย์คนใช้บริการจริงๆ รวมถึงมูลค่าเม็ดเงินที่จะใช้ลงทุน ซึ่งต้นทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบนี้อยู่ที่กิโลเมตรละ 500 ล้านบาท รวม 15 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 7,500 ล้านบาท ถ้ารวมงานระบบอีก 2,000 ล้านบาท จะเฉียด 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ต้องรอดูผลการศึกษารายละเอียดที่ อบจ.ปทุมธานีให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาด้วยเช่นกัน

“เราเห็นความสำเร็จของสายสีทอง เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่เราทำระบบให้ คิดว่าถ้าทำแล้วน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางกับจังหวัดปทุมธานี เพราะใช้เงินลงทุนไม่สูง เรามีพันธมิตรจีนที่สนใจร่วมลงทุน พร้อมจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้สามารถนำบางส่วนมาผลิตที่ไทยได้ ทำให้ต้นทุนถูกลง โดยจะให้
รังสิตเป็นโมเดลนำร่อง” เป็นไอเดียของภาคเอกชนที่สนใจนำเสนอต่อรัฐ


ถนนรังสิต-ปทุมธานี
อีกรายที่ไม่ยอมตกขบวนบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานโทลล์เวย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ได้เข้าหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำเสนอแนวคิดระบบการเชื่อมต่อกับสถานีรังสิต เพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่จะเปิดใช้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้

โดยจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษารายละเอียด สนใจจะลงทุนใน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.สถานีรังสิตผ่านฟิวเจอร์พาร์คไปถึงรังสิตคลอง 7 2.สถานีรังสิตผ่านฟิวเจอร์พาร์ควิ่งไปตามถนนพหลโยธินไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3.สถานีรังสิตผ่านฟิวเจอร์พาร์คไปทางสนามกีฬาธูปะเตมีย์ สิ้นสุดที่แยก คปอ. เชื่อมกับสายสีเขียว

“ธานินทร์ พานิชชีวะ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลัง สนข.มีแผนจะทำระบบฟีดเดอร์ในรัศมี 3 กิโลเมตรของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง เพื่อให้เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก บริษัทมีความสนใจจะลงทุน อยู่ระหว่างศึกษาเลือกระบบเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่ มี 3 ระบบคือ ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (ART) รถไฟฟ้าล้อเหล็ก (รถแทรม) และรถโดยสารใช้พลังงานไฟฟ้า (EV Bus)

ภายในปีนี้ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ รอผลสำรวจรายละเอียดเส้นทางว่าเส้นทางไหนดีที่สุด มีคนใช้บริการมากน้อยแค่ไหน จากนั้นถึงจะเป็นขั้นตอนการเดินหน้าโครงการ เช่น เงินลงทุน ผู้ร่วมลงทุน การขออนุญาตหน่วยงานต่างๆ คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง

ยกระดับถนนรังสิต-องครักษ์จาก‘ทางลอยฟ้า’สู่‘ทางด่วนสายใหม่’
ในอนาคต จังหวัดปทุมธานียังมีถนนลอยฟ้าสายใหม่ที่สร้างจากปทุมธานี-รังสิต-องครักษ์ ซึ่งโครงการนี้ “สราวุธ ทรงศิวิไล” อธิบดีกรมทางหลวง บอกว่า กรมทางหลวงได้ศึกษาและออกแบบโครงการเสร็จแล้ว มีระยะทาง 20.3 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับอีกชั้นสร้างบนถนนสาย 305 (รังสิต-องครักษ์) ใช้เงินเวนคืนและก่อสร้างประมาณ 11,000 ล้านบาท

แนวเริ่มต้นบริเวณจุดบรรจบทางหลวงหมายเลข 3100 (ถนนเลียบคลองรังสิต) บริเวณโค้งเมืองเอก จากนั้นแนวเส้นทางโครงการจะไปทางทิศตะวันออกขนานกับแนวคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ไปบรรจบกับถนนรังสิต-องครักษ์ โดยแนวจะเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งเหนือโดยตลอด ไปสิ้นสุดบริเวณกิโลเมตรที่ 16+700 ช่วงคลอง 7 เป็นถนนตัดใหม่ขนาด 4-6 ช่องจราจร

“จะสร้างตอม่อบนคันคลอง ผิวจราจรจะลอยอยู่เหนือคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และแนวที่มาบรรจบกับถนนรังสิต-องครักษ์ แนวจะวางตัวอยู่เกาะกลางถนน จนสิ้นสุดโครงการ”

ถามว่าโครงการจะเดินหน้าได้เมื่อไหร่ “สราวุธ” บอกว่า หลังกรมทางหลวงได้บูรณาการร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศ ไทย (กทพ.) จะมอบโครงการให้ กทพ.เป็นผู้ก่อสร้างเป็นทางด่วน โดยขยายเส้นทางไปเชื่อมกับทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด กับวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก เชื่อมโยงการเดินทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะผลักดันโครงการ คาดว่าจะเริ่มเดินหน้าได้ภายในปี 2565 เนื่องจากผลการศึกษาทำไว้หลายปีแล้ว กทพ.ต้องทำการทบทวนเงินลงทุนโครงการใหม่ให้เป็นปัจจุบัน

เป็นภาพการพัฒนาเมือง มาพร้อมการลงทุนโครงข่ายคมนาคมสายใหม่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ส่วนจะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน ยังต้องติดตาม

https://www.matichon.co.th/columnists/news_2802502
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2021 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ลุยปรับแผนก่อสร้างหลังรัฐสั่งปิดแคมป์คนงาน
จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 16.09 น.

รฟม.เตรียมปรับแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย หลังต้องปิดไซต์งาน 30 วัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17:17 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17:17 น. v

รฟม. ปรับแผนหลังประกาศปิดแคมป์คนงาน-สถานที่ก่อสร้าง
หน้า covid-19 /
จันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 17:22 น.


พิษปิดแคมป์คนงานสะเทือนรถไฟฟ้า วอนนายกฯขยายสัญญา
หน้าเศรษฐกิจมหภาค อุตสาหกรรม
ออนไลน์เมื่อ 30 มิถุนายน 2564 เวลา 20:55 น.
ตีพิมพ์ใน : ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,692 วันที่ 1 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง โอด ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง กระทบบิ๊กโปรเจกต์รัฐ มูลค่า 1.68 แสนล้านชะงัก ด้านสมาคมผู้รับเหมาก่อสร้าง จ่อยื่นหนังสือนายก เยียวยาแรงงานผู้ประกอบการ-ต่อสัญญาโครงการฯ
การประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือศบค. ให้ล็อกดาวน์กรุงเทพฯและปริมณฑลพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ นนทบุรี นครปฐมปทุมธานีและสมุทรปราการ

รวมถึงพื้นที่ใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา โดยเน้นเป็นบางพื้นที่ และบางประเภทกิจการ ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกประกาสสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ระยะเวลา 1 เดือน ห้ามเข้า-ออกและเคลื่อนย้ายคนแบบ 100% เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เพื่อยับยั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น กำลังสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย 3 สาย มูลค่ากว่า 1.6 8 แสนล้านบาท ต้องหยุดชะงักลงและส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงรายได้จากการดำเนินงาน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผย ทางบีทีเอสยอมรับว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีและโครงการรถไฟฟ้าสายเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ได้รับผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างในช่วงนี้ได้ ซึ่งทางบริษัทหวังว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะจบโดยเร็ว



สำหรับการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในครั้งนี้ ได้ส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหาย เพราะต้องหยุดการก่อสร้างรวมทั้งหมด กระทบต่อการก่อสร้างเกิดความล่าช้าออกไป ซึ่งจะต้องเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อให้ทันต่อการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

ก่อสร้างชะงักขาดรายได้

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC กล่าวว่า การสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างเป็นเวลา 1 เดือนนั้น ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบโดยตรง ต่อระยะเวลาของโครงการที่ต้องล่าช้าออกไป ซึ่งผลกระทบจริงก็คงมากกว่า 1 เดือน เนื่องจากต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เข้า-ออก เพื่อเริ่มงานใหม่ โดยหลังการปิดแคมป์คนงานก่อสร้างจะต้องมีการเคลื่อนย้ายเก็บเครื่องมือเครื่องจักรไปไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัยระหว่างการหยุดทำงาน

พิษปิดแคมป์คนงานสะเทือนรถไฟฟ้า วอนนายกฯขยายสัญญา

ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินความเสียหายได้ เพราะคงต้องลงในรายละเอียด ของประกาศแนวทางปฏิบัติของรัฐ ที่ชัดเจนมากกว่านี้ เพราะยังมีหลายข้อที่ยังคงเป็นข้อสงสัยในทางปฏิบัติ ซึ่งทางสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังพยายามหาความชัดเจนในเรื่องนี้อยู่ รวมถึงการเยียวยาผู้ประกอบการของภาครัฐด้วย แน่นอนว่าการตัดสินใจประกาศหยุดงานและปิดแคมป์คนก่อสร้าง มีผลกระทบกับค่าใช้จ่ายที่บริษัทยังต้องมีและขาดรายได้ จากการทำงานตามสัญญา ซึ่งคงต้องหารือในรายละเอียดต่อไป

“ในส่วนนักลงทุน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า อาจมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าประมาณการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้อาจไม่เป็นเป็นตามเป้าหมาย 100% แต่นโยบายคือ จะดูแลทุก stakeholder ในทุกภาคส่วนให้ดีที่สุดในสถานการที่อาจถือว่าอยู่ในช่วงไม่ปกติ”



รฟม.ยอมรับเสียหายหนัก

นายกิตติกร ตัณเปาว์ รองผู้ว่าวิศวกรรมและการก่อสร้างการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของรฟม.นั้น ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาฯ กำชับผู้รับจ้างก่อสร้างทุกโครงการ ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและประกาศของภาครัฐในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเร่งประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในภาพรวม รวมถึงดำเนินการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีผลกระทบต่อระยะเวลาตามสัญญาให้น้อยที่สุด

เบื้องต้นประเมินว่าจะได้รับผลกระทบในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าฯ เนื่องจากรฟม.มีแคมป์คนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ซึ่งจะหารือกับผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอีกครั้ง

อุตก่อสร้างร้องนายกฯขอขยายสัญญา

นางสาวลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เมื่อปลายปี 2563 จากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางสมาคมฯได้ทำหนังสือขอเยียวยากับภาครัฐไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ทางภาครัฐเห็นว่าผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างไม่ได้รับผล
กระทบ จึงไม่ได้รับการอนุมัติขยายสัญญาโครงการฯ รวมทั้งติดปัญหาด้านการตีความพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี 2560

เมื่อมีการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างครั้งนี้ ทำให้กระทบต่อการก่อสร้างที่ล่าช้าออกไป ทางสมาคมฯจะมีการหารือกับภาครัฐ เพื่อทำหนังสือการขอขยายสัญญาการก่อสร้างโครงการของภาครัฐต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งการขอเยียวยาแรงงาน ผู้ประกอบการให้ครอบคลุมถึงการขยายสัญญาโครงการก่อสร้างด้วย

วิศวกรห่วงความปลอดภัย

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์สาขาวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การประกาศปิดไซต์งานก่อสร้างในโครงการที่มีงานขุดระดับลึกในกรุงเทพฯ อย่างกะทันหัน อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ต่อเเรงดันดินเเละเเรงดันน้ำสามารถดันทะลุก้นบ่อขุดขึ้นมาเเล้วทำลายสิ่งค้ำยันต่าง ๆ พังลง เเล้วทำให้บ่อขุดยุบพัง ส่งผลให้บ้านข้างเคียงได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีวิศวกรดูแล เหมือนกับภาวะปกติ โดยเฉพาอย่างยิ่งไซต์ที่กำลังขุดในระดับลึกสุดเเละยังไม่ได้เท base slab ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก

ดังนั้น อยากขอเสนอให้ ศบค. ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหยุดไซต์งาน ให้มีข้อยกเว้นด้านเวลาสำหรับไซต์ที่ต้องการเวลาในการจัดการด้านความปลอดภัยต่างๆก่อนจะปิดไซต์ยาว ๆ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดเหตุขึ้น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ผู้ประกอบการเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2021 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

จี้คมนาคม เคลียร์ปมสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ประมูลสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
ศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 11:18 น.

วอนคมนาคม แก้ปัญหาสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-สายสีส้ม หลังกรุงเทพธนาคมซัดประมูลสายสีส้มส่อฮั้วประมูล เหตุขึ้นศาลฯ เพียบ กระทบโครงการฯ ล่าช้า หวั่นเสียค่าโง่
ยังเป็นประเด็นร้อนกับเรื่องของสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียว ที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) และกระทรวงมหาดไทย ที่นำเสนอแนวทางสางปัญหาต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้ต่อขยายสัมปทาน 30 ปีให้แก่ บมจ.บีทีเอส (BTS) เพื่อแลกกับหนี้ค้างร่วมแสนล้านที่ กทม.ไม่สามารถจะแบกรับภาระเองได้ แต่แนวทางดังกล่าวต้องค้างติ่งคาราคาซังมากว่าขวบปี เพราะถูกกระทรวงคมนาคมคัดค้าน โดยระบุว่า อัตราค่าโดยสารที่กำหนดเอาไว้ตามร่างสัญญาใหม่ที่ 65 บาทตลอดสายนั้นสูงเกินไป ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนกรุงผู้ใช้บริการ พร้อมตั้งคำถามถึงความถูกต้องตามครรลองแห่งกฎหมาย และวินัยการเงินการคลัง




ล่าสุดรมว.กระทรวงคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์ หลังมีข่าวว่านายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณาร่วมกับ กทม.เพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็วว่า จะมีการหารือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานครในเร็วๆ นี้ ซึ่งได้มอบหมายให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมกับระบุว่า จุดยืนของกระทรวงคมนาคมนั้น ยังคงยืนยันว่า ต้องทำแล้วถูกกฎหมาย และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน




ส่วนจะหารือเมื่อใดนั้น คงต้องรอข้อมูลข้อทักท้วง 4 ข้อที่กระทรวงคมนาคมตั้งข้อสังเกตไปก่อนหน้าส่งมาถึงกระทรวงก่อน เมื่อได้รับข้อมูลแล้วจะรีบดำเนินการหารือร่วมกันต่อไป ถ้ายึดระเบียบกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เชื่อว่าทุกอย่างจะเดินหน้าได้

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงใน บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจของ กทม.ที่ทำหน้าที่บริหารส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ได้เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า น่าแปลกใจที่ กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ยึดหลักกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เป็นหลักในการพิจารณา เพราะหากกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ยึดหลักกฎหมายและมติ ครม.เป็นหลักในการดำเนินโครงการแล้ว เหตุใดในส่วนของการประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เงินลงทุน 1.427 แสนล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กระทรวงคมนาคมถึงปล่อยให้ รฟม. แหกกดบัตรกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่วางไว้ จนทำเอาเส้นทางการประมูลโครงการต้องล้มลุกคลุกคลานมากว่าขวบปี





แหล่งข่าว กล่าวว่า การที่บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูลร้อง ถึงการประมูลที่ไม่โปร่งใส และยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง จนกระทั่งศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และสั่งให้ รฟม.ชะลอการนำเอาหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกเจ้าปัญหามาบังคับใช้ แต่ รฟม.ก็ยังคงจะเดินหน้าจัดประมูลต่อไป จนกระทั่งถูกฟ้องต่อศาลทุจริตและประพฤติมิชอบอีกคดี และยังถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) มีมติให้ส่งรายงานผลการสอบสวนโครงการนี้ไปยังคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อดำเนินการไต่สวนเอาผิดผู้บริหารรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกกราวรูดนั้น สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะสะท้อนให้เห็นว่า มีการดำเนินการที่ขัดบทบัญญัติแห่งกฎหมายและ มติ ครม.อีกหรือ


สิ่งที่ฝ่ายบริหารรฟม.ดำเนินการไปโดยที่กระทรวงคมนาคมต้นสังกัดไม่ได้มีการท้วงติง หรือระงับดำเนินการใดๆ จนกระทั่งทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเผชิญทางตันอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศชาติต้องเสียหาย ประชาชนผู้ใช้บริการต้องสูญเสียโอกาสในการใช้บริการรถไฟฟ้าที่ต้องล่าช้าออกไป




ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้เห็นชอบให้ทุกโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานรัฐ รวมไปถึงโครงการที่ต้องร่วมลงทุนกับเอกชนตามกฎหมายอื่น ต้องทำข้อตกลงคุณธรรม เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบป้องกันการทุจริตและเพื่อสร้างความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ โดยที่ผ่านมามีโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ถือเป็นโครงการแรกที่ถูก คสช.กำหนดให้ต้องดำเนินการลงนามในข้อตกลงคุณธรรมมาตั้งแต่แรก จึงไม่มีปัญหา แต่ในสัดส่วนของโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มนั้น หากกระทรวงคมนาคมยืนยันจะยึดมั่นในหลักกฎหมายและมติ ครม.ก็ต้องนำเอาโครงการนี้เข้าลงนามสัญญาข้อตกลงคุณธรรมเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันตรวจสอบกระบวนการคัดเลือกด้วย



คงได้แต่ฝากความหวังไว้ที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะลงมาผ่าทางตันโครงการนี้ให้ได้ข้อยุติอย่างไร ก่อนที่จะทำให้โครงการดีๆ ต้องลงเอยด้วยค่าโง่ไปอีกโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

อืมม!! ผลประชุมยาวมากแต่สรุปว่า"นับหนึ่งใหม่ตั๋วร่วม"
*รฟม.ออกแบบอีกใช้บัญชีระบุตัวตนผู้โดยสาร
*กำหนดแผนงานให้ประชาชนใช้ได้ภายในปีนี้
*เก่งทฤษฎีแต่ปฎิบัติศูนย์(ตั้งกรรมการอีก2ชุด)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2946362168918615

เล็งคิกออฟระบบตั๋วร่วมใหม่ ABT “สายสีแดง-โทลล์เวย์” ประเดิมสิ้นปี64

อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:54 น.


“บอร์ดตั๋วร่วม” ผุดระบบตั๋วร่วมใหม่ “ABT” รองรับบัตรเครดิต-เดรบิตที่ออกโดยสถาบันการเงิน ประเดิมแล้วบนทางด่วนทุกสายของ “การทาง” “สายสีแดง-โทลล์เวย์” จ่อตามหลังสิ้นปี 64 นี้ คิวถัดไป “สายสีน้ำเงิน” มาต้นปี 2565 เผยตั้งอนุ 2 ชุดดู “มาตรฐานระบบ-โครงสร้างราคา” คาดปี 66 ผุดระบบเต็มรูปแบบ

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ว่าที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการของ 2 หน่วยงานสำคัญคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีสาระสำคัญดังนี้

รฟม. เล็งถอยระบบตั๋วร่วมใหม่ต้นปี 65
1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานต่อที่ประชุมว่ากำลังดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมโดยใช้เทคโนโลยีบัญชีระบุตัวตนผู้โดยสาร (Account Based Ticketing: ABT) โดยเป็นระบบที่รองรับบัตรเครดิตและเดรบิตที่ออกโดยสถาบันการเงินทั้ง Bank และ Non Bank ในปัจจุบันการออกแบบระบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟแวร์ และติดตั้งระบบ

โดยได้ทำการทดสอบระบบครั้งแรกที่สถานีหัวลำโพง และสถานีสนามไชยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าระบบใช้งานได้ถูกต้อง ตามแผนงานจะดำเนินการทุกอย่างแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2564 และสามารถเปิดให้ประชาชนใช้งานระบบได้ในต้นปี 2565

การทาง เริ่มต้นที่ทางด่วนในกำกับแล้ว
2) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รายงานที่ประชุมว่ามีการเริ่มใช้บัตรจ่ายเงิน ที่ใช้เทคโนโลยี ABT คล้ายกับที่ รฟม. กำลังพัฒนา โดยเริ่มใช้กับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปแล้ว

สายสีแดง-โทลล์เวย์ มาแน่สิ้นปี 64
นอกจากนี้ระบบตั๋วร่วมแบบ ABT ดังกล่าว กำลังทำการติดตั้งเพื่อใช้งานกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และทางพิเศษดอนเมืองโทลเวย์ โดยคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้

ตั้งอนุ 2 ชุดดูมาตรฐานระบบ-โครงสร้างราคา
ถัดมา ที่ประชุมยังรายงานการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ คนต. จำนวน 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร และคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ โดยความคืบหน้าในการดำเนินการของอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ มีดังต่อไปนี้


คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร เนื่องจากผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะมีความพร้อม คณะอนุกรรมการจึงวางแนวการออกแบบมาตรฐานทางเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมให้เป็นแบบการ ABT และบัตรที่ใช้เป็นแบบระบบเปิด (Open Loop)

กรอบแนวนโยบายการบริหารจัดการตั๋วร่วม มีการแบ่งเป็นส่วนของผู้ใช้บริการ ส่วนของผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ศูนย์กลางจัดการค่าโดยสาร (Central Clearing House) และส่วนผู้ให้บริการชำระเงิน

วางศูนย์จัดการรายได้กลางเกิดปี 66
มีการกำหนดแผนการดำเนินการเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในระยะสั้น (ภายในปี 2564) จะสามารถนำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) มาใช้ได้ สำหรับในระยะกลาง (ภายในปี 2565) จะมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) เพื่อรองรับการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และในระยะยาว (ภายในปี 2566) จะมีการจัดตั้งสำนักงานกลางเพื่อมาทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องตั๋วร่วม พร้อมประกาศใช้ พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อสามารถบังคับใช้ระบบตั๋วร่วมกับผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะทั้งที่เป็นของรัฐ และของเอกชน

คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ สรุปปัญหาเรื่องมาตรฐานอัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน ได้แก่ การเก็บค่าแรกเข้าในแต่ละสายไม่เท่ากัน การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารในแต่ละสายไม่เท่ากัน มีการเก็บค่าแรกเข้าทุกครั้ง เมื่อมีการเดินทางข้ามระบบ และโครงสร้างอัตราค่าโดยสารไม่สะท้อนกับระยะทาง

ศึกษาโครงสร้างราคาทุกสาย-ชดเชยสัมปทานเดิม
แนวทางในการแก้ปัญหาสำหรับสายรถไฟฟ้าที่สัญญาสัมปทานได้ลงนามในสัญญาไปแล้ว คณะอนุกรรมการฯ จะทำการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขสัญญาพร้อมแนวทางการชดเชย กรณีที่มีความจำเป็น แต่สำหรับสายรถไฟฟ้าที่จะมีการลงนามในอนาคต คณะอนุกรรมการฯ จะทำการศึกษาเพื่อกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสมเพื่อกำหนดในสัญญาสัมปทานก่อนทำการลงนาม




สรุปผลศึกษาปลายปี 64
ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทย และในต่างประเทศ พร้อมทำการวิเคราะห์อัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แล้วเสร็จ ขั้นตอนต่อไปที่ต้องดำเนินการคือการสรุปการกำกับดูแล การจัดสรรรายได้ เมื่อมีการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม โดยจะสามารถสรุปผลได้ภายในเดือนกันยายน 2564

ศักดิ์สยาม เพิ่มโจทย์ 3 ข้อ
ทั้งนี้ นายศักดิ์สยามฯ ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ ดังนี้

1) มอบคณะอนุกรรมการฯ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง เพื่อร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการด้านสิทธิในทรัพย์สินของระบบบริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) เพื่อรองรับการดำเนินการภายหลังจากมีการจัดตั้งสำนักงานกลางตั๋วร่วมในอนาคต

2) มอบคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแนวทางการกำหนดมาตรฐานในการวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนต่าง ๆ รวมถึงพิจารณาทบทวนแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

3) มอบคณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย พิจารณาแนวทางการลงทุนในระบบ EMV ที่ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบ M-Flow ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด

มีลุ้น คมนาคม ลุย “ระบบตั๋วร่วม” ตั้งเป้าสิ้นปี 64 ได้ใช้แน่
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:08 น.
“คมนาคม” สั่งตั้งคณะทำงาน 2 คณะ เร่งแก้ปัญหาระบบตั๋วร่วม คาดได้ข้อสรุป ก.ย.64 เตรียมปรับแผน 3 ระยะ เล็งกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสาร-จัดสรรรายได้ เชื่อดำเนินการแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2564

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 2/2564 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ คนต. จำนวน 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร และคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ โดยความคืบหน้าในการดำเนินการของอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ ดังต่อไปนี้ 1.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กรโดยที่ผ่านมาผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะมีความพร้อม คณะอนุกรรมการฯ จึงวางแนวการออกแบบมาตรฐานทางเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมให้เป็นแบบการใช้บัญชีระบุตัวตนผู้โดยสาร (Account Based Ticketing: ABT) และบัตรที่ใช้เป็นแบบระบบเปิด (Open Loop) โดยกรอบแนวนโยบายการบริหารจัดการตั๋วร่วม มีการแบ่งเป็นส่วนของผู้ใช้บริการ ส่วนของผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ศูนย์กลางจัดการค่าโดยสาร (Central Clearing House) และส่วนผู้ให้บริการชำระเงิน

มีลุ้น คมนาคม ลุย “ระบบตั๋วร่วม” ตั้งเป้าสิ้นปี 64 ได้ใช้แน่


สำหรับการกำหนดแผนการดำเนินการเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในระยะสั้น (ภายในปี 2564) จะสามารถนำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) มาใช้ได้ ส่วนในระยะกลาง (ภายในปี 2565) จะมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) เพื่อรองรับการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และในระยะยาว (ภายในปี 2566) จะมีการจัดตั้งสำนักงานกลางเพื่อมาทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องตั๋วร่วม พร้อมประกาศใช้พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมฯ เพื่อสามารถบังคับใช้ระบบตั๋วร่วมกับผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะทั้งที่เป็นของรัฐ และของเอกชน




นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ ได้สรุปปัญหาเรื่องมาตรฐานอัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน ได้แก่ การเก็บค่าแรกเข้าในแต่ละสายไม่เท่ากัน การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารในแต่ละสายไม่เท่ากัน มีการเก็บค่าแรกเข้าทุกครั้งเมื่อมีการเดินทางข้ามระบบ และโครงสร้างอัตราค่าโดยสารไม่สะท้อนกับระยะทาง




ทั้งนี้แนวทางในการแก้ปัญหาสำหรับสายรถไฟฟ้าที่สัญญาสัมปทานได้ลงนามในสัญญาไปแล้ว คณะอนุกรรมการฯ จะทำการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขสัญญาพร้อมแนวทางการชดเชยกรณีที่มีความจำเป็น แต่สำหรับสายรถไฟฟ้าที่จะมีการลงนามในอนาคต คณะอนุกรรมการฯ จะทำการศึกษาเพื่อกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสมเพื่อกำหนดในสัญญาสัมปทานก่อนทำการลงนาม โดยปัจจุบัน คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทย และในต่างประเทศ พร้อมทำการวิเคราะห์อัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แล้วเสร็จ ขั้นตอนต่อไปที่ต้องดำเนินการคือการสรุปการกำกับดูแล การจัดสรรรายได้ เมื่อมีการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม โดยจะสามารถสรุปผลได้ภายในเดือนกันยายน 2564

“ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ โดยมอบคณะอนุกรรมการฯ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง เพื่อร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับ แนวทางการดำเนินการด้านสิทธิในทรัพย์สินของระบบบริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) เพื่อรองรับการดำเนินการภายหลังจากมีการจัดตั้งสำนักงานกลางตั๋วร่วมในอนาคต และพิจารณาแนวทางการกำหนดมาตรฐานในการวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนต่าง ๆ รวมถึงพิจารณาทบทวนแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการลงทุนในระบบ EMV ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ที่ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบ M-Flow ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด”


นอกจากนี้ในที่ประชุมหน่วยงานที่เป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ได้มีการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบตั๋วร่วม โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานต่อที่ประชุมว่ากำลังดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมโดยใช้เทคโนโลยี Account Based Ticketing (ABT) โดยในปัจจุบันการออกแบบระบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟแวร์ และติดตั้งระบบ โดยได้ทำการทดสอบระบบครั้งแรกที่สถานีหัวลำโพง และสถานีสนามไชยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าระบบใช้งานได้ถูกต้อง ตามแผนงานจะดำเนินการทุกอย่างแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2564และสามารถเปิดให้ประชาชนใช้งานระบบได้ในต้นปี 2565


ด้านการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รายงานที่ประชุมว่ามีการเริ่มใช้บัตรจ่ายเงินที่ใช้เทคโนโลยี Account Based Ticketing (ABT) คล้ายกับที่ รฟม. กำลังพัฒนา โดยเริ่มใช้กับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปแล้วนอกจากนี้ระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) ดังกล่าว กำลังทำการติดตั้งเพื่อใช้งานกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และทางพิเศษดอนเมืองโทลเวย์ โดยคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้


“ศักดิ์สยาม” เข็นตั๋วร่วมใช้ต้นปี 65 “เครดิต-เดบิต” แตะขึ้น “MRT-สีแดง-แอร์พอร์ตลิงก์-โทลล์เวย์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:59 น.
ปรับปรุง:วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:59 น.

“ศักดิ์สยาม” เร่งเครื่องตั๋วร่วม ต้นปี 65 ใช้บัตรเครดิต-เดบิต (เทคโนโลยี ABT) กับรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน สีม่วง สีแดง แอร์พอร์ตลิงก์ โทลล์เวย์ พร้อมให้เร่งศึกษาตั้งเคลียริ่งเฮาส์ ลดค่าแรกเข้าเดินทางข้ามสาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 7 ก.ค. ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings ว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วมของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยใช้เทคโนโลยี Account Based Ticketing (ABT) ซึ่งออกแบบระบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ และติดตั้งระบบ ซึ่งเมื่อต้นเดือน ก.ค.ได้ทำการทดสอบระบบครั้งแรกที่สถานีหัวลำโพง และสถานีสนามไชย พบว่าระบบใช้งานได้ถูกต้อง ตามแผนงานจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2564 และสามารถเปิดให้ประชาชนใช้งานระบบได้ในต้นปี 2565

นอกจากนี้ ตามแผนจะให้ใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง และทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ รวมถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้เช่นกัน ซึ่งระบบตั๋วร่วมแบบ ABT ที่จะนำมาชำระค่าผ่านทางด่วนค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นจะเป็นบัตรที่ออกโดยธนาคาร และมีบัญชีผูก ได้แก่ บัตรเครดิต บัตรเดบิต ฯลฯ ทำให้ประชาชนมีความสะดวกในการชำระค่าเดินทาง

ส่วนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นั้น ได้มีการเริ่มใช้บัตรจ่ายเงินที่ใช้เทคโนโลยี ABT จ่ายค่าผ่านทางทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษเฉลิมมหานครไปแล้ว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร ซึ่งได้วางแนวการออกแบบมาตรฐานทางเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมให้เป็นแบบการใช้บัญชีระบุตัวตนผู้โดยสาร (ABT) และบัตรที่ใช้เป็นแบบระบบเปิด (Open Loop) ส่วนการบริหารจัดการตั๋วร่วม จะมีการแบ่งเป็นส่วนของผู้ใช้บริการ ส่วนของผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ศูนย์กลางจัดการค่าโดยสาร (Central Clearing House : CCH) และส่วนผู้ให้บริการชำระเงิน
ซึ่งมีการกำหนดแผนการดำเนินการเป็นระยะสั้น (ภายในปี 2564) จะสามารถนำระบบตั๋วร่วมแบบ ABT มาใช้ได้, ระยะกลาง (ภายในปี 2565) จะมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางเพื่อรองรับการใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และในระยะยาว (ภายในปี 2566) จะมีการจัดตั้งสำนักงานกลางเพื่อมาทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องตั๋วร่วม พร้อมประกาศใช้พระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมฯ เพื่อบังคับใช้ระบบตั๋วร่วมกับผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะทั้งที่เป็นของรัฐ และของเอกชน
ส่วนคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้นั้น ได้สรุปปัญหาที่พบ ได้แก่ การเก็บค่าแรกเข้าในแต่ละสายไม่เท่ากัน การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารในแต่ละสายไม่เท่ากัน มีการเก็บค่าแรกเข้าทุกครั้งเมื่อมีการเดินทางข้ามระบบ และโครงสร้างอัตราค่าโดยสารไม่สะท้อนกับระยะทาง

สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหา แบ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่มีการลงนามสัญญาสัมปทานไปแล้ว คณะอนุกรรมการฯ จะทำการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขสัญญาพร้อมแนวทางการชดเชยกรณีที่มีความจำเป็น

ส่วนรถไฟฟ้าสายที่จะมีการลงนามในอนาคต คณะอนุกรรมการฯ จะทำการศึกษาเพื่อกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสมเพื่อกำหนดในสัญญาสัมปทานก่อนทำการลงนาม

ปัจจุบันคณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทย และในต่างประเทศ ทำการวิเคราะห์อัตราค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ เสร็จแล้ว และคาดว่าจะมีการกำกับดูแล การจัดสรรรายได้ เมื่อมีการใช้อัตราค่าโดยสารร่วมได้ภายในเดือน ก.ย. 2564

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้มอบคณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับธนาคารกรุงไทยพิจารณาแนวทางการลงทุนในระบบ EMV ที่ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบ M-flow ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด


Last edited by Wisarut on 09/07/2021 3:18 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2021 1:19 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดทความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความคืบหน้างานโยธารวม 84.13 % เร็วกว่าแผน 0.33 %
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
ความก้าวหน้าโดยรวม 80.71% แบ่งเป็น
⚙️งานโยธา ร้อยละ 85.46%
🚝งานระบบรถไฟฟ้า ร้อยละ 74.53%
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
ความก้าวหน้าโดยรวม 77.89% แบ่งเป็น
⚙️งานโยธา ร้อยละ 80.48%
🚝งานระบบรถไฟฟ้า ร้อยละ 74.47%
Cr : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2823627604520622

รฟม.โชว์คืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ทะลุ 80% ลุยหาเอกชนขยายสีม่วง 23.6 กม.
วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 - 12:35 น.


เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ดังนี้

1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความก้าวหน้างานโยธา 84.13% แบ่งเป็น 1.1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 คืบหน้า 89.64% 1.2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก คืบหน้า 85.82% 1.3 งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า คืบหน้า 81.94% 1.4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียะระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ คืบหน้า 76.03% 1.5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร คืบหน้า 84.85% และงานก่อสร้างระบบราง คืบหน้า 75.42%





2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ความก้าวหน้างานโยธา 85.46% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 74.53% ความก้าวหน้าโดยรวม 80.71%



3.โครงกาถรรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. มีความก้าวหน้างานโยธา 80.48% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 74.47% ความก้าวหน้าโดยรวม 77.89%






สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) รฟม.ได้เผยแพร่ร่างประกาศและเอกสารประกวดราคา ผ่านทางเว็บไซต์ของ รฟม. และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้สาธารณชนเสนอแนะ วิจารณ์ เมื่อวันที่ 11-15 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาแล้ว

และ รฟม.ได้เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และแนวทางการประกวดราคานานาชาติ (International Competitive Bidding – ICB) ซึ่งมีรายละเอียดของงาน ดังนี้

สัญญาที่ 1 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงเตาปูน – หอสมุดแห่งชาติ ประกอบด้วย งานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 4.8 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 16 – 35 เมตร สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 3 สถานี ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 2 ปล่อง งานโยธา งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบของสถานี และงานอื่นๆ

สัญญาที่ 2 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า ประกอบด้วย งานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า ระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 23 – 46 เมตร สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 3 สถานี ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 1 ปล่อง งานโยธา งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบของสถานี และงานอื่นๆ

สัญญาที่ 3 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพระพุทธยอดฟ้า ประกอบด้วยงานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า-ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ระยะทางประมาณ 3.1 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 22 – 41 เมตร สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 2 สถานี ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 3 ปล่อง งานโยธา งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบของสถานี และงานอื่นๆ


สัญญาที่ 4 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ประกอบด้วยงานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทางประมาณ 4.1 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 17-28 เมตร สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 2 สถานี ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 5 ปล่อง งานโยธา งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบของสถานี และงานอื่นๆ

สัญญาที่ 5 งานโยธา โครงการยกระดับ ช่วงดาวคะนอง – ครุใน ประกอบด้วยงานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้ายกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน ระยะทางประมาณ 9.0 กิโลเมตร สถานีรถไฟฟ้ายกระดับจำนวน 7 สถานี งานโยธา งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบของสถานี และงานอื่นๆ อาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 แห่ง บริเวณบางปะกอก และราษฎร์บูรณะ จอดรถได้ประมาณ 1,920 คัน โรงจอดรถไฟฟ้าบริเวณวงแหวนกาญจนาภิเษก

สัญญาที่ 6 งานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างระบบราง ประกอบด้วยงานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างงานระบบราง ช่วงเตาปูน-ครุใน ซึ่งเป็นระบบรางของทางวิ่งรถไฟฟ้าและระบบรางภายในโรงจอดรถไฟฟ้า งานติดตั้งรางทางวิ่ง รางจ่ายกระแสไฟฟ้าและงานอื่น ๆ

โดยเปิดให้ผู้สนใจสามารถติดต่อขอซื้อเอกสารประกวดราคาได้ ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2564

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2021 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องความคืบหน้า ประมูล “ทางด่วนขั้น3 สายเหนือ” 1.4 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 14:00 น.

กทพ.เตรียมประมูลทางด่วนขั้น 3 ช่วง N2 วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท พร้อมฐานรากสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลของรฟม. เล็งชงครม.ไฟเขียว คาดก่อสร้างภายในปีนี้ ขณะที่ช่วง N1 อยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทางทดแทน 3 แนวทาง หลังม.เกษตรฯ ค้าน

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 และ N2 เชื่อมเกษตร – นวมินทร์ - ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนรอบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่ง กทพ.มีเป้าหมายที่จะเร่งผลักดันการประกวดราคาโครงการดังกล่าว และเริ่มงานก่อสร้างให้เกิดขึ้นภายในปีนี้ เนื่องจากเป็นโครงการทางด่วนสายนี้ เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (TFF) วงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท มีจัดสรรวงเงินมาแล้วราว 2 ปี แต่เนื่องจากยังไม่มีการประกวดราคา และเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณเริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้ กทพ.ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยราว 1.3 พันล้านต่อปี ดังนั้นมีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ




“ช่วง N2 ที่เราจะประมูลก่อนนี้ แนวเส้นทางคร่อมไปกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย - ลำสาลี) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน การจราจรต่างๆ กระทรวงฯ จึงมีนโยบายให้สร้างฐานรากไปพร้อมกันทั้งสองโครงการ ดังนั้นจะมีการประกวดราคาหาผู้รับเหมาสร้างงานฐานรากทั้งสองโครงการพร้อมกัน โดยการทางฯ จะเป็นผู้ประกวดราคารวมในโครงการ N2”



นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า กทพ.จะประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างทางด่วน N2 รวมสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ประเมินวงเงินส่วนของรถไฟฟ้าราว 1.7 พันล้านบาท โดย รฟม.จะดำเนินการกู้เงินจากสำนักงบประมาณมาชำระค่างานก่อสร้างดังกล่าว และหลังเปิดประกวดราคาจัดหาเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแล้ว เอกชนผู้ชนะการประมูลจะเป็นผู้ชำระค่างานฐานรากภายหลัง




ขณะเดียวกันโครงการดังกล่าวแบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วง N2 และ E-W Corridor ถนนเกษตร – นวมินทร์ - วงแหวนตะวันออก ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีความพร้อมดำเนินการก่อน ตามแผนคาดว่าจะเปิดประมูลและเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2564 ส่วนระยะที่ 2 ช่วง N1 ผ่าน ม.เกษตรศาสตร์ ยังอยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทางทดแทน


รายงานข่าวจาก กทพ. เผยว่า โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วง N2 จะมีจุดเริ่มต้นโครงการ ทางขึ้น – ลงแห่งที่ 1 อยู่บริเวณถนนเกษตร – นวมินทร์ เลยทางลอดอุโมงค์เกษตรปัจจุบันมาราว 200 เมตร หรืออยู่ช่วงก่อนถึงตึก RS หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะคร่อมไปตามถนนเกษตร - นวมินทร์ ก่อนจะเป็นทางแยกเชื่อมไปยังทางต่างระดับฉลองรัช และไปสิ้นสุดโครงการเชื่อมเข้าสู่มอเตอร์เวย์ สาย 9




สำหรับการศึกษาแนวเส้นทางทดแทนทางด่วนช่วง N1 เบื้องต้นออกแบบไว้ 3 แนวทาง คือ 1. ทางยกระดับผ่านหน้า ม.เกษตรฯ แบบเดิม โดยใช้แนวถนนงามวงศ์วาน มาทางคลองเปรมประชากร-ทางด่วนศรีรัช ระยะทาง 7.1 กม. วงเงินลงทุนราว 2 หมื่นล้านบาท จะใช้พื้นที่ใน ม.เกษตรฯ ประมาณ 180 ตารางเมตร 2. อุโมงค์ทางด่วน ระยะทาง 4.8 กม. จากแยกรัชวิภาผ่านหลังเมเจอร์รัชโยธินเชื่อมต่อโครงการ Missing Link สิ้นสุดที่แยกเกษตร วงเงินลงทุนราว 3.1 หมื่นล้านบาท และ 3. อุโมงค์ทางด่วนผ่านหน้า ม.เกษตรฯ บริเวณแยกบางเขน สิ้นสุดแยกประชาชื่น ระยะทาง 11.3 กม. จัดใช้วงเงินราว 1 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 70 นั่งรถไฟฟ้าหลากสี 554 กม.ทั่วกทม.-ปริมณฑล
*กรมฯราง-ไจก้า เขย่าแผนแม่บท 12 เส้น
*เร่งเคาะ M-MAP 2 เน้นจำเป็นลดซ้ำซ้อน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2971147336440098
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2021 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

ได้เวลาเปิดแคมป์! รฟม.ลุยต่อรถไฟฟ้า 3 สี
*ส้ม-ชมพู-เหลือง งานพุ่ง 80%
*โควิด-19 ไม่จบดีเลย์เล็กน้อย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2973578432863655
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 237, 238, 239 ... 278, 279, 280  Next
Page 238 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©