Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263952
ทั้งหมด:13575235
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 245, 246, 247 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2022 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

แผนผังระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ภาษาญี่ปุ่น-อังกฤษครับ
https://twitter.com/AsiaThailand208
https://runbkk.net/bangkok-route-map/

Click on the image for full size
https://runbkk.net/wp-content/uploads/2019/08/bangkok-train-map-ver.3.2.2.jpg

PDF Arrow https://runbkk.net/wp-content/uploads/2019/08/bangkok-train-map-ver.3.2.2.pdf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2022 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

แผนที่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ล่าสุด มกราคม 2565

https://www.livingpop.com/wp-content/uploads/2020/06/LVP-Map2020-B-20200622.jpg

Click on the image for full size

PDF Arrow https://www.livingpop.com/wp-content/uploads/2020/06/LVP-Map2020-B-20200622.pdf

ที่มา : https://www.livingpop.com/bangkok-mrt-map/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2022 12:58 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ดีเดย์ 29 ม.ค. 65! ทดลองใช้บัตร EMV แตะจ่ายค่าโดยสาร MRT “น้ำเงิน-ม่วง” ทั้ง 53 สถานี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:50 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:50 น.

รฟม.จับมือ BEM และกรุงไทยเซตอัพระบบ “EMV Contactless” เตรียมเปิดทดลองให้บริการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน 29 มกราคมนี้ รวมทั้งสิ้น 53 สถานี แตะ-จ่าย ด้วยบัตรใบเดียว ไร้การสัมผัส สะดวก

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตามที่ รฟม.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ซึ่ง รฟม. ได้ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในการนำเทคโนโลยีแบบไร้การสัมผัส หรือ EMV Contactless มาใช้กับระบบตั๋วร่วม ในรูปแบบการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน โดยธนาคารกรุงไทยดำเนินการพัฒนาระบบชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า และ BEM ดำเนินการปรับปรุงและติดตั้งระบบที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติภายในสถานีรถไฟฟ้า MRT ทั้งสองสาย

จากที่ รฟม.ได้ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานดังกล่าวให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมีความพร้อมในการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการระบบในวันที่ 29 มกราคม 2565 นี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ทำให้ประชาชนสามารถเชื่อมต่อการเดินทางสาธารณะหรือบริการอื่นๆ ได้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการไปสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society / Smart City) และการเตรียมความพร้อมประเทศด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมดิจิทัลในอนาคต ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายและทั่วถึง เพื่อให้ใช้บริการต่างๆ ของภาครัฐได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการรองรับสถานการณ์และการปรับตัวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในรูปแบบ New Normal ช่วยลดการสัมผัสในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักถึงความสำคัญของระบบคมนาคมขนส่งของประเทศที่เป็นกิจกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงทุกวิถีการใช้ชีวิต นำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ธนาคารจึงได้วางยุทธศาสตร์โดยกำหนดให้การคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งมวลชนเป็น 1 ใน 5 ระบบนิเวศหลัก (Ecosystems) ที่ธนาคารมุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาพัฒนายกระดับการบริการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ประชาชน และในอนาคตมีแผนเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งมวลชนอื่น เพื่อการบูรณาการตั๋วร่วมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กล่าวว่า เพื่อขานรับนโยบายรัฐบาล BEM จึงได้เร่งดำเนินการปรับปรุงและติดตั้งระบบที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติภายในสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเพื่อรองรับการชำระค่าโดยสารผ่านบัตร EMV Contactless ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก รวดเร็วให้แก่ผู้โดยสาร
โดย BEM ได้มีการจัดหาระบบและติดตั้งหัวอ่านบริเวณประตูอัตโนมัติ พร้อมทั้งปรับปรุงอุปกรณ์ และระบบ network เพื่อให้รองรับการใช้บัตร EMV Contactless รวมทั้งสิ้น 53 สถานี และจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบบพร้อมเปิดให้ทดลองใช้ EMV Contactless ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2565 ซึ่งผู้โดยสารสามารถเดินทางโดยใช้บัตรเครดิต วีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ดของธนาคารทุกธนาคาร โดยไม่ต้องลงทะเบียน และสามารถตรวจสอบรายการเดินทางผ่านทางเว็บไซต์ www.mangmoomemv.com หรือ เว็บไซต์ www.bemplc.com

และภายในปลายปี 2565 นี้ BEM จะขยายการบริการให้ครอบคลุมโดยสามารถรองรับการใช้บัตรเดบิตและบัตรประเภทอื่นๆ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้โดยสาร ให้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารกว่า 2 แสนคนต่อวัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีผู้โดยสารกว่า 3.7 หมื่นคนต่อวัน

ทั้งนี้ Europay Mastercard and Visa หรือ EMV คือมาตรฐานทางการชำระเงินที่ปลอดภัยและใช้กันทั่วโลกมากกว่า 80 ประเทศ บัตร EMV เป็นบัตรชำระเงินอัจฉริยะ (บัตรชิป หรือบัตร IC) ที่เก็บรักษาข้อมูลไว้ในแผงวงจร (Integrated Circuits - IC) แทนแถบแม่เหล็ก ซึ่งจะสร้างข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่ทำธุรกรรม การคัดลอกหรือปลอมแปลงบัตร จึงเป็นไปได้ยาก การทำธุรกรรมด้วยระบบชิปจึงมีความปลอดภัยสูงสุด พร้อมลดความเสี่ยงด้านการทุจริตปลอมแปลงบัตร
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4876271072419799
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2022 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ดีเดย์ 29 ม.ค. 65! ทดลองใช้บัตร EMV แตะจ่ายค่าโดยสาร MRT “น้ำเงิน-ม่วง” ทั้ง 53 สถานี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:50 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:50 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4876271072419799


ไขข้อข้องใจ EMV Contactless 29 ม.ค.นี้ แตะบัตรเครดิตขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:00 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:00 น.



ไขข้อข้องใจ กรณี รฟม. ธนาคารกรุงไทย และ BEM เตรียมเปิดให้ทดลองใช้บริการ EMV Contactless บนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเสาร์นี้ (29 ม.ค.) พบช่วงแรกใช้ได้เฉพาะบัตรเครดิตไปก่อน ส่วนบัตรเดบิตและบัตรอื่นๆ จะขยายภายในปลายปี 2565

จากกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เตรียมที่จะให้ประชาชนทดลองใช้บริการชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงินด้วยระบบ EMV Contactless ในวันเสาร์ที่ 29 ม.ค. 2565

โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารกรุงไทยได้พัฒนาระบบชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า ส่วน BEM ดำเนินการปรับปรุงและติดตั้งหัวอ่านบริเวณประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติภายในสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง รวมทั้งสิ้น 53 สถานี รองรับการใช้บัตร EMV Contactless พร้อมทั้งปรับปรุงอุปกรณ์ และระบบเน็ตเวิร์ก และจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านประกอบ : รฟม.ดีเดย์ 29 ม.ค. 65! ทดลองใช้บัตร EMV แตะจ่ายค่าโดยสาร MRT “น้ำเงิน-ม่วง” ทั้ง 53 สถานี

ทีมข่าว MGR Online พยายามหาคำตอบเบื้องต้น เพื่อไขข้อข้องใจถึงการใช้ระบบ EMV Contactless เพื่อใช้งานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ม.ค. 2565 อาจมีการเปลี่ยนแปลง)



- ข้อดีของการใช้ระบบ EMV Contactless คืออะไร?

1. ไม่ต้องเสียเวลาแลกเหรียญโดยสารหรือสอดธนบัตรเพื่อซื้อเหรียญโดยสาร

2. ไม่ต้องออกบัตรโดยสาร ที่ต้องเสียค่าออกบัตรครั้งแรก 180 บาท (มูลค่าในการเดินทาง 100 บาท ค่ามัดจำบัตร 50 บาท และค่าธรรมเนียมการออกบัตร 30 บาท) ใช้บัตรเครดิต (หรือบัตรเดบิตในอนาคต) แตะขึ้นรถไฟฟ้าได้เลย

3. ประชาชนสามารถเชื่อมต่อการเดินทางสาธารณะหรือบริการอื่นๆ รถเมล์ ขสมก. หรือเรือไฟฟ้า Mine Smart Ferry ได้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว

4. ตอบสนองนโยบายรัฐบาลสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society และ Smart City)



- บัตรที่ใช้ได้คือบัตรอะไรบ้าง?

เบื้องต้น ในวันเสาร์ที่ 29 ม.ค. 2565 ทาง BEM จะเปิดให้ผู้โดยสารใช้ บัตรเครดิตวีซ่า (VISA) หรือมาสเตอร์การ์ด (MasterCard) ของทุกธนาคารที่มีสัญลักษณ์ Contactless (รูปใบพัด) แตะเข้าและแตะออกที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ แทนบัตรโดยสารและเหรียญโดยสารได้

ส่วนบัตรเดบิตและบัตรประเภทอื่นๆ เช่น บัตรเติมเงินหรือพรีเพดการ์ด BEM จะขยายบริการภายในปลายปี 2565



- ต้องลงทะเบียนบัตรเครดิตก่อนหรือไม่?

ไม่ต้องลงทะเบียน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 29 ม.ค. 2565 สามารถใช้บัตรเครดิตชำระค่าโดยสาร โดยแตะเข้าและแตะออกที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติได้เลย

ส่วนการลงทะเบียน มีไว้สำหรับดูข้อมูลการเดินทาง สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://www.mangmoomemv.com โดยใช้อีเมลและหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการสมัคร แล้วเข้าสู่ระบบโดยอีเมลและรหัสผ่านที่ตั้งไว้ แล้วเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อดูข้อมูลการเดินทางย้อนหลังได้ (ปัจจุบันยังไม่สามารถเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตได้ ต้องรอหลังเปิดทดลองให้บริการ)



- ถ้าบัตรเครดิตไม่มีสัญลักษณ์ Contactless ต้องทำอย่างไร?

ปัจจุบันบัตรเครดิตทุกธนาคารได้ติดตั้งระบบ Contactless มาตั้งแต่ปี 2558 เช่น VISA Paywave หรือ MasterCard PayPass โดยมีสัญลักษณ์รูปใบพัด แต่สำหรับบัตรเครดิตรุ่นเก่าที่ไม่มีระบบ Contactless และยังไม่หมดอายุ สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์ของผู้ออกบัตรเครดิตเพื่อขอออกบัตรทดแทนได้ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่ผู้ออกบัตรเครดิตกำหนด

- อัตราค่าโดยสารเป็นอย่างไร?

(เบื้องต้น) คิดอัตราค่าโดยสารปกติตามระยะทาง เช่นเดียวกับบัตรบุคคลทั่วไป (Adult Card) โดยอัตราค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท สำหรับสายสีน้ำเงิน และสูงสุด 70 บาท สำหรับสายสีน้ำเงินเชื่อมต่อสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน



- ดูข้อมูลการเดินทางได้หรือไม่?

สามารถตรวจสอบข้อมูลการเดินทางได้ทางเว็บไซต์ https://www.mangmoomemv.com เลือกเมนู "ตรวจสอบข้อมูลการเดินทาง" เลือกประเภทบัตร VISA หรือ MasterCard กรอกเลขที่บัตรเครดิต 16 หลัก เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร และรหัส CVV 3 หลัก (ปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการเดินทางได้ ต้องรอหลังเปิดทดลองให้บริการ)

หรือสามารถลงทะเบียนสมาชิก เข้าสู่ระบบ แล้วเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิต เพื่อดูข้อมูลการเดินทางย้อนหลังได้อย่างสะดวก (ปัจจุบันยังไม่สามารถเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตได้ ต้องรอหลังเปิดทดลองให้บริการ)


- สามารถใช้บัตรเครดิตแตะขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสได้หรือไม่?


ณ ปัจจุบันไม่สามารถทำได้

ยกเว้น บัตรเครดิตอิออน แรบบิท แพลทินัม สามารถแตะขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ โดยใช้วงเงินในบัตรแรบบิท ส่วนการแตะขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รวมทั้งรถเมล์ ขสมก. และระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ที่รับบัตรเครดิต จะใช้วงเงินบัตรเครดิต



- การแตะบัตรขึ้นรถไฟฟ้า จะได้รับคะแนนสะสมหรือไม่?

ณ ปัจจุบันขึ้นอยู่กับผู้ออกบัตรเครดิตกำหนด เช่น ใช้จ่ายทุก 25 บาทได้ 1 คะแนนสะสม จะต้องเดินทางมากกว่า 5 สถานีขึ้นไป จึงจะได้คะแนนสะสม 1 คะแนน

ยกเว้นบัตรเครดิตของผู้ให้บริการบางแห่ง เช่น บัตรเครดิต KTC, บัตรเครดิตกรุงศรี จะยกเว้นคะแนนสะสมในหมวดขนส่งสาธารณะ เช่น รหัสหมวด MCC 4111 หมวดการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารระหว่างตัวเมืองและชานเมือง รวมถึงเรือข้ามฟาก



- ข้อควรระวังในการใช้บัตรเครดิตขึ้นรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ

1. ผู้ถือบัตรเครดิต ควรลงลายมือชื่อหลังบัตรทันทีที่ได้รับบัตรจากผู้ออกบัตร

2. เก็บรักษาบัตรเครดิตไว้กับตัวอย่างมิดชิด ไม่ควรให้บัตรเครดิตแก่บุคคลอื่น

3. เมื่อแตะบัตรเครดิตเสร็จแล้ว ให้เก็บใส่กระเป๋าสตางค์ เก็บไว้มิดชิดเหมือนเดิมเพื่อป้องกันการสูญหาย

4. โปรดดูแลกระเป๋าสตางค์ สัมภาระ และสิ่งของมีค่าขณะเดินทาง โดยเฉพาะช่วงที่ผู้โดยสารหนาแน่น

5. ระวังอย่าเผยแพร่ข้อมูลหน้าบัตรเครดิต โดยเฉพาะเลขที่บัตรเครดิต 16 หลัก เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร และรหัส CVV 3 หลัก

6. เมื่อบัตรเครดิตสูญหายหรือถูกขโมย ให้ โทร.แจ้งอายัดแก่ผู้ออกบัตรทันที

https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2966366083580106


Last edited by Wisarut on 28/01/2022 12:41 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2022 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

เพื่อไทย อัด‘สิระ’ขัดขวางผลประโยชน์ปชช. ยันค่ารถไฟฟ้า20บาททำได้จริง
วันพฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565, 16.01 น.

‘เพื่อไทย’ ยันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทำได้จริง อัด ‘สิระ’แจ้งกกต.สอบขัดขวางผลประโยชน์ประชาชน วอนอยากเห็นการเมืองสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ที่รัฐสภา น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ยื่นหนังสือต่อ กกต.เอาผิดนายสุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 9 หลักสี่ จตุจักร เบอร์ 3 พรรคเพื่อไทย ให้ตรวจสอบการหาเสียงค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่า เข้าข่ายผิด พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ส.มาตรา 73(5) หรือไม่ เพราะเห็นว่า การนำเอาเรื่องนี้ไปหาเสียงจะทำไม่ได้แน่นอน แม้เป็น ส.ส. ก็ไม่สามารถยกเลิกสัมปทานหรือเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาที่ทำไว้กับเอกชนได้และรัฐยังต้องชดเชยส่วนต่างว่า ในเรื่องนี้อยากให้นายสิระเข้าใจว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทยได้สื่อสารกับพี่น้องประชาชนในเรื่องดังกล่าว เป็นนโยบายที่ได้ประกาศหาเสียงตั้งแต่ปี 2544 สมัยพรรคไทยรักไทย รวมทั้งการเลือกตั้งปี 2550 โดยพรรคพลังประชาชน จนมาถึงการเลือกตั้งในปี 2562 ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้ประกาศหาเสียง




น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า ยืนยันว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทำได้จริง เนื่องจากก่อนการประกาศหาเสียงด้วยนโยบายนี้ พรรคได้หารือแนวทางและวิธีการร่วมกันกับหลายหน่วยงานมาอย่างรอบด้าน ทั้งสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ในการเตรียมความพร้อมทางด้านการคลัง รวมทั้งบริหารและการจัดเก็บรายได้ โดยได้แนวทางร่วมกันว่า หากมีการเพิ่มเส้นทางการเดินรถไปยังเส้นทางอื่นๆ ให้ครอบคลุมประชากรในหลากหลายพื้นที่มากขึ้น โดยผู้ลงทุนระบบรางคือ รัฐ เพื่อให้รัฐเป็นเจ้าของและสามารถบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานได้ ส่วนเอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้าโดยรัฐให้สัมปทานซึ่งต้องมีการกำหนดระยะเวลาสัมปทาน และราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ชัดเจน รวมกับการซ่อมบำรุงระบบ ส่วนที่เป็นค่าจ่ายจะอยู่ที่ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) และค่าบุคลากรเท่านั้น เมื่อมีการขยายเส้นทางการเดินรถมากขึ้น ผู้โดยสารจะเข้ามาใช้บริการมากขึ้น จากนั้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะถูกลง หากเทียบกับต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 24 บาท ฮ่องกงอยู่ที่ 27 บาท แต่ของประเทศไทยค่าโดยสารอยู่ที่ 16-45 บาท ซึ่งทำให้ประชาชนเข้าถึงรถไฟฟ้าได้ในจำนวนจำกัด



“พรรคเพื่อไทยมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ทุกเรื่องที่ประกาศเป็นนโยบายได้ผ่านการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้าของไทยตอนนี้มีคู่สัญญาจำนวนมาก ทั้งวิธีการบริหารและการจัดการค่าแรกเข้า เป็นเพราะการทำงานหลายส่วนไม่เชื่อมโยงกัน สิ่งที่นายสิระทำ คือการขัดขวางสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน อยากเรียนนายสิระให้เข้าใจบทบาทของ ส.ส. เราอยากเห็นการเมืองสร้างสรรค์ การเมืองที่ต้องทำเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อจะได้เปิดทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์ในอนาคต นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท เป็นนโยบายที่ไม่ยาก แต่นายสิระคิดไม่ออก นโยบายหลายอย่างที่ว่ายาก เราทำมาแล้วเพราะเราหาเงินเป็น รู้ว่า จะหารายได้ด้วยวิธีการใด ยืนยันว่า นายสุรชาติ ไม่ได้หาเสียงเกินจริง ทุกเรื่องผ่านมติของกรรมการบริหารของพรรคเพื่อไทย และยืนอยู่บนหลักการที่อยากจะทำให้พี่น้องประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด ” นางสาวธีรรัตน์ กล่าว

‘สิระ’ขู่จัดหนัก!‘เพื่อไทย’หยุดแถแหกตา ดื้อแพ่งฟ้องยุบพรรคแน่
วันพฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565, 19.05 น.

“สิระ”ซัดกลับ “โฆษก พท.” เป็นฝ่ายค้านมา 3 ปี ไม่เคยพูดค่ารถไฟฟ้า 20 บาท ชี้ หยุดแถเป็นนโยบายพรรค สุดท้ายแค่หวังหลอกชาวบ้านช่วงเลือกตั้งซ่อม

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น.นายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณี นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหาว่าตนขัดขวางผลประโยชน์ประชาชน และอยากเห็นการเมืองสร้างสรรค์ จากกรณียื่นหนังสือต่อ กกต.เอาผิดนายสุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 9 หลักสี่ จตุจักร เบอร์ 3 พรรคเพื่อไทย ให้ตรวจสอบการหาเสียงค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ส.มาตรา 73(5) หรือไม่ ตนขอเตือนพรรคเพื่อไทยให้หยุดโกหกประชาชน การเลือกตั้งในปี 2562 นโยบายชองพรรคเพื่อไทยทั้ง 15 ข้อ ไม่มีข้อไหนเลยที่พูดถึงค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้านมา 3 ปี ก็ไม่เคยอภิปรายหรือพูดถึงเรื่องนี้ในที่ประชุมสภา




“ผมบอกแล้วว่า นโยบายดังกล่าวไม่สามารถทำได้จริง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง เพราะการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้จะเข้าไปเป็นผู้แทนราษฎรไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจไปยกเลิกสัมปทานรถไฟฟ้าหรือเปลี่ยนแปลงข้อสัญญา ส่วนที่บอกว่า พรรคเพื่อไทยได้หารือแนวทางและวิธีการร่วมกันกับหลายหน่วยงานมาอย่างรอบด้าน ทั้งสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลังนั้น ขอให้ระบุว่า ได้หารือกับใคร ได้ข้อสรุปว่าอย่างไร ผมไม่เคยขัดขวางสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าคุณทำได้จริงผมสนับสนุนเต็มที่แต่นี่มันไม่ใช่ นี่คือ โฆษณาชวนเชื่อ หลอกลวงประชาชน และนโยบายนี้คือนโยบายขอผู้สมัครเพื่อไทย ไม่ใช่นโยบายของพรรคเพื่อไทย เนื่องจากไม่ได้ถูกประกาศจากกรรมการบริหาร ถ้าจะกล่าวอ้างว่า เป็นนโยบายพรรค ผมจะไปยื่นยุบพรรคเพื่อไทยด้วย” นายสิระ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2022 10:51 pm    Post subject: Reply with quote

มีนานแล้ว! กรมรางโชว์บ้าง แผนที่รถไฟฟ้าภาษาไทยดูเข้าใจง่ายครบทุกเส้นทาง
เผยแพร่: 27 ม.ค. 2565 18:28 ปรับปรุง: 27 ม.ค. 2565 18:28 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
ภาพที่1

กรมรางเปิดแผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งเวอร์ชันเฉพาะเส้นทางที่เปิดบริการแล้ว และเวอร์ชันล่าสุดครบ 14 เส้นทาง ภาษาไทยดูเข้าใจง่าย ชวนเซฟเก็บไว้

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ชี้แจงข้อมูลกรณีที่มีกระแสการจัดทำแผนที่รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เปิดให้บริการแล้วในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษ ซึ่งเป็นที่สนใจอย่างมากในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ที่จริงแล้วแผนที่รถไฟฟ้าดังกล่าวมีเวอร์ชันภาษาไทยอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยกรมการขนส่งทางราง ได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำภาพแผนที่ทั้งในส่วนที่เป็นแผนที่รถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน (11 เส้นทาง ระยะทางรวม 211.94 กม. 141 สถานี) (ภาพที่ 1)

ซึ่งมีการแบ่งสีเส้นทาง ระบุชื่อสถานีอย่างชัดเจนและครบถ้วนตามที่ใช้บริการในปัจจุบัน รายละเอียดดังนี้

1. หมอชิต-สมุทรปราการ (สีเขียวอ่อน) (37.10 กม.) 2. หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (สีเขียวอ่อน) (18.70 กม.) 3. สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า (สีเขียวเข้ม) (14 กม.) 4. บางซื่อ-หัวลำโพง (สีน้ำเงิน) (20 กม.) 5. บางซื่อ-ท่าพระ (สีน้ำเงิน) (13 กม.) 6. หัวลำโพง-บางแค (สีน้ำเงิน) (14 กม.) 7. บางใหญ่-เตาปูน (สีม่วง) (23 กม.) 8. บางซื่อ-รังสิต (สีแดงเข้ม) (26.30 กม.) 9. บางซื่อ-ตลิ่งชัน (สีแดงอ่อน) (15.26 กม.) 10. กรุงธนบุรี-คลองสาน (สีทอง) (1.88 กม.) และ 11. ARL พญาไท-สุวรรณภูมิ (สายท่าอากาศยาน) (28.70 กม.)

รวมทั้งมีแผนที่รถไฟฟ้าฉบับสมบูรณ์ครบทุกเส้นทาง (14 เส้นทาง ระยะทางรวม 553.41 กม 367 สถานี) (ภาพที่ 2)

ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการเปิดใช้งานแอปพลิเคชัน “Bkk Rail” ซึ่งเป็นแอปฯ สำหรับการสืบค้นข้อมูลเส้นทางสถานีรถไฟฟ้า มีการแสดงแผนที่รถไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งที่เปิดให้บริการแล้ว และยังไม่เปิดให้บริการ แสดงความคืบหน้าแผนงานรถไฟฟ้า แสดงข้อมูลสถานี ตารางเวลา สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานี

โดยหากต้องการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าแอปพลิเคชันสามารถคำนวณการค้นหาเส้นทาง โดยจะคำนวณมาให้ด้วยเงื่อนไข 3 แบบ คือ ราคาถูกที่สุด ระยะทางเร็วที่สุด และจำนวนสถานีที่น้อยที่สุด ซึ่งมีการรองรับรูปแบบการใช้ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และสามารถแสดงความคิดเห็นส่งมาถึงผู้พัฒนาได้ด้วย ในการนี้ กรมการขนส่งทางรางขอเชิญชวนประชาชนดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Bkk Rail” ผ่าน App stores หรือ Play store เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลต่อไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2022 1:39 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
มีนานแล้ว! กรมรางโชว์บ้าง แผนที่รถไฟฟ้าภาษาไทยดูเข้าใจง่ายครบทุกเส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 18:28 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 18:28 น.



อัพเดตแผนที่รถไฟฟ้า กทม.-ปริมณฑล ทุกสาย รวม 33 โครงการ
ในประเทศ
วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 10:41 น.

กรมขนส่งทางราง อัพเดตแผนที่โครงการรถไฟฟ้า 33 โครงการ ตั้งแต่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม – เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน


วันที่ 28 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เฟซบุ๊ก กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม เผยแพร่แผนที่โครงการรถไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (Bangkok Mass Transit) อัพเดตล่าสุด โดยมีทั้งโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้าง อยู่ระหว่างการดำเนินการ และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมโครงการ

ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสายสีเขียวอ่อน สายสีเขียวเข้ม สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีส้ม สายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน สายท่าอากาศยาน สายสายสีทอง สายสีน้ำตาล และสายสีเทา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. รถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 11 เส้นทาง 211.94 กม. 141 สถานี

หมอชิต – สมุทรปราการ (สีเขียวอ่อน) (37.10 กม.)
หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (สีเขียวอ่อน) (18.70 กม.)
สนามกีฬาแห่งชาติ – บางหว้า (สีเขียวเข้ม) (14 กม.)
บางซื่อ – หัวลำโพง (สีน้ำเงิน) (20 กม.)
บางซื่อ – ท่าพระ (สีน้ำเงิน) (13 กม.)
หัวลำโพง – บางแค (สีน้ำเงิน) (14 กม.)
บางใหญ่ – เตาปูน (สีม่วง) (23 กม.)
บางซื่อ – รังสิต (สีแดงเข้ม) (26.30 กม.)
บางซื่อ – ตลิ่งชัน (สีแดงอ่อน) (15.26 กม.)
กรุงธนบุรี – คลองสาน (สีทอง) (1.88 กม.)
ARL พญาไท – สุวรรณภูมิ (สายท่าอากาศยาน) (28.70 กม.)
2. รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 โครงการ 112.20 กม. 74 สถานี


ลาดพร้าว – สำโรง (สีเหลือง) (30.40 กม.)
แคราย – มีนบุรี (สีชมพู) (34.50 กม.)
ส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรรัช – เมืองทองธานี (สีชมพู) (3 กม.)
ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สีส้ม) (22.50 กม.)
ARL พญาไท – ดอนเมือง (สายท่าอากาศยาน) (21.80 กม.)
3. รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 โครงการ 37 กม. 28 สถานี






ศูนย์วัฒนธรรมฯ – บางขุนนนท์ (สีส้ม) (13.40 กม.)
เตาปูน – ราษฏร์บูรณะ (สีม่วง) (23.60 กม.)
4. รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการ PPP 6 โครงการ 71.49 กม. 38 สถานี

รังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (สีแดงเข้ม) (8.84 กม.)
บางซื่อ – หัวลำโพง (สีแดงเข้ม) (5.76 กม.)
ตลิ่งชัน – ศาลายา (สีแดงอ่อน) (14.80 กม.)
ตลิ่งชัน – ศิริราช (สีแดงอ่อน) (5.70 กม.)
บางซื่อ – มักกะสัน – หัวหมาก (สีแดงอ่อน) (20.14 กม.)
วัชรพล – ทองหล่อ (สีเทา) (16.25 กม.)
5. รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมโครงการ 9 โครงการ 120.78 กม. 81 สถานี

สมุทรปราการ – บางปู (สีเขียวอ่อน) (9.50 กม.)
คูคต – ลำลูกกา (สีเขียวอ่อน) (6.50 กม.)
บางแค – พุทธมณฑลสาย 4 (สีน้ำเงิน) (8 กม.)
หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ – มหาชัย (สีแดงเข้ม) (38 กม.)
ส่วนต่อขยายช่วงแยกรัชดา – ลาดพร้าว – แยกรัชโยธิน (สีเหลือง) (2.60 กม.)
คลองสาน – ประชาธิปก (สีทอง) (0.92 กม.)
พระโขนง – ท่าพระ (สีเทา) (23.66 กม.)
ดินแดง – สาทร (สีฟ้า) (9.50 กม.)
แคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) (สีน้ำตาล) (22.10 กม.)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2022 7:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อัพเดตแผนที่รถไฟฟ้า กทม.-ปริมณฑล ทุกสาย รวม 33 โครงการ
ในประเทศ
วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 10:41 น.

กรมขนส่งทางราง อัพเดตแผนที่โครงการรถไฟฟ้า 33 โครงการ ตั้งแต่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม – เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน


Render Thailand
28 ม.ค. 65 19:06 น.

Arrow https://www.facebook.com/RenderThailand/posts/494676055345277

Quote:
แผนที่รถไฟฟ้า ในความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ที่บอกว่าดีกว่าของไทยนั้น เทียบกับแผนที่ตัวไหนของไทย

ผมตามอ่านคอมเมนต์มาตั้งแต่มีการแชร์แผนที่ที่คนญี่ปุ่นทำ ในทุก ๆ ช่องทาง เพื่อหาข้อสรุปว่าที่ว่าดีกว่านั้นเทียบกับแผนที่อะไร ด้วยความสงสัยส่วนตัวว่า"ดูง่ายกว่าตรงไหน" 555

จากการนั่งดูคอมเมนต์มาก็เลยคิดว่าขอเขียนถึงหน่อยดีกว่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2022 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
รฟม.ดีเดย์ 29 ม.ค. 65! ทดลองใช้บัตร EMV แตะจ่ายค่าโดยสาร MRT “น้ำเงิน-ม่วง” ทั้ง 53 สถานี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:50 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:50 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4876271072419799


ไขข้อข้องใจ EMV Contactless 29 ม.ค.นี้ แตะบัตรเครดิตขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:00 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:00 น.

https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2966366083580106


ครั้งแรกในไทย แตะบัตรเครดิตขึ้นรถไฟฟ้า MRT
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:09 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:09 น.

กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

วันนี้ 29 มกราคม 2565 เป็นวันแรกที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ธนาคารกรุงไทย และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดให้ทดลองชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ด้วยบัตรเครดิต

โดยบัตรเครดิตที่สามารถแตะจ่ายรถไฟฟ้า MRT ได้ เรียกว่า บัตร EMV Contactless โดยมีสัญลักษณ์รูปใบพัด 4 ขีดแนวนอน ปัจจุบันผู้ออกบัตรเครดิตในประเทศไทยส่วนใหญ่ติดตั้งระบบนี้มานานกว่า 6-7 ปีแล้ว

เบื้องต้นใช้ บัตรเครดิต แตะเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้า MRT แทนบัตรและเหรียญโดยสารได้เฉพาะ VISA PayWave และ MasterCard PayPass ทั้งสายสีน้ำเงิน (หลักสอง-บางซื่อ-ท่าพระ) และสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) รวม 53 สถานี

ส่วนบัตรเดบิตและบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) ที่ออกในประเทศไทย อยู่ระหว่างการพัฒนา รวมทั้งบัตรเครดิตรายอื่น เช่น JCB (J/Speedy) และ UnionPay (Quickpass) ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนี้เช่นกัน



วิธีการใช้งาน เมื่อมาถึงสถานี นำบัตรเครดิตของท่านแตะที่สัญลักษณ์ Contactless และคำว่า “TAP HERE” ด้านล่างจอ แยกกับจุดที่แตะเหรียญหรือบัตรโดยสารต่างหาก หน้าจอจะขึ้นข้อความ “ยินดีต้อนรับ” และประตูเปิดขึ้นมา

ระหว่างนั้น ระบบจะตัดวงเงินบัตรเครดิตเป็นจำนวน 1.00 บาทเพื่อทดสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ โดยจะแสดงชื่อร้านค้าว่า “MRT-BEM Bangkok THA” เหมือนกับเวลานำบัตรเครดิตไปผูกกับอี-วอลเล็ตหรือแอปพลิเคชันต่างๆ

เมื่อถึงสถานีปลายทาง ให้แตะบัตรที่ที่สัญลักษณ์ Contactless และคำว่า “TAP HERE” ด้านล่างจอเหมือนเข้าสถานี หน้าจอจะขึ้นข้อความ “ขอบคุณที่ใช้บริการ” และประตูเปิดขึ้นมาเช่นกัน



แต่การตัดวงเงินในบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าโดยสาร ระบบจะไม่ได้ตัดวงเงินทันที แต่จะตัดภายในวันที่เดินทาง หรือวันถัดไป ยกเว้นกรณีรายการไม่ปกติ เช่น มีข้อมูลขาเข้าหรือขาออกรายการเดียว จะเรียกเก็บเงินภายใน 4 วัน

ต่างจากการแตะจ่ายค่ารถเมล์ ระบบจะตัดวงเงินในบัตรเครดิตทันที เมื่อแตะบัตรผ่านเครื่อง EDC แบบพกพา หลังจากนั้นก็จะบันทึกรายการและเรียกเก็บเงินหลังวันสรุปยอดบัญชี เช่นเดียวกับการรูดบัตรซื้อสินค้าและบริการ

เท่าที่เคยคุยกับเพื่อนที่เคยใช้บัตรเครดิตแตะขึ้นรถไฟฟ้า ก็บอกว่า ระบบจะไม่ได้ตัดวงเงินในบัตรเครดิตทันที แต่จะเรียกเก็บในวันถัดไป อย่างที่อังกฤษจะเรียกเก็บเวลา 04.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

สำหรับค่าโดยสารเมื่อใช้บัตรเครดิต จะคิดตามอัตราค่าโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป สายสีน้ำเงินเริ่มต้นที่ 17-42 บาท สายสีม่วง เริ่มต้นที่ 14-42 บาท หรือหากเดินทางข้ามระบบระหว่างสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วง จะคิดค่าโดยสารสูงสุดที่ 70 บาท

แม้การใช้บัตรเครดิตขึ้นรถไฟฟ้า ไม่ต้องลงทะเบียน สามารถควักบัตรขึ้นมา แตะเข้า-ออกสถานีได้เลย แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้ลงทะเบียนสำหรับดูข้อมูลการเดินทาง ที่เว็บไซต์ www.mangmoomemv.com โดยใช้อีเมลและเบอร์มือถือ

คนที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถเพิ่มหมายเลขบัตรที่ผ่านการแตะเข้าสถานีเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับเดือน/ปีที่หมดอายุ และรหัส 3 หลัก เพื่อดูข้อมูลการเดินทาง โดยสามารถดูรายการย้อนหลังได้สูงสุด 60 วัน

แต่ถ้าคนที่ไม่ได้ลงทะเบียน เมื่อแตะบัตรไปแล้ว สามารถเข้าไปที่เมนู “ตรวจสอบข้อมูลการเดินทาง” แล้วกรอกข้อมูลบัตร ระบบจะแสดงผลข้อมูลการเดินทาง โดยสามารถดูรายการย้อนหลังได้เพียง 7 วัน

อย่างไรก็ตาม บัตรเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เดินทาง ไม่สามารถเพิ่มหมายเลขบัตรนเว็บไซต์ MANGMOOM EMV ได้ เพราะระบบจะตรวจสอบและรับลงทะเบียนเฉพาะบัตรที่นำมาใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT แล้วเท่านั้น

หากเคยนำบัตรเครดิตใบนั้นแตะเข้าระบบรถไฟฟ้า MRT เรียบร้อยแล้ว สามารถเพิ่มหมายเลขบัตรเครดิตได้สูงสุดไม่จำกัดจำนวน แต่สามารถดูรายการย้อนหลังได้สูงสุด 60 วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2022 8:57 am    Post subject: Reply with quote

TOD การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน สร้างสรรค์พื้นที่ดีเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, February 08, 2022 05:22

จากการเติบโตของสังคมเมืองที่รวดเร็ว ทำให้เมืองใหญ่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ ความแออัดและสภาพการจราจรติดขัด ส่งผลให้สภาพแวดล้อมของเมือง โดยเฉพาะพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนเกือบทุกที่ ดูแออัดทรุดโทรมอย่างที่ไม่ควรจะเป็น จนกระทั่งปี ค.ศ.1993 ปีเตอร์ คาลธอร์ป สถาปนิกนักออกแบบและวางผังเมือง ชาวอเมริกัน ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาในรูปแบบ TOD (Transit-Oriented Development) หรือการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ข้อมูลจาก บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ระบุว่า การพัฒนาในรูปแบบ TOD ไม่เพียงแต่พัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยและพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางการพัฒนาที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการขยะ การบำบัดและปล่อยน้ำเสีย ชักจูงให้ประชาชนหันมาใช้การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน พร้อมกับการสร้างบรรยากาศของเมืองในย่านนั้นให้น่าอยู่ขึ้น

ดังนั้นพื้นฐานแรกที่เราจะได้เห็นจากการพัฒนาในรูปแบบ TOD คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยกับการเดินเท้า ด้วยการสร้างโครงข่ายทางเดินเท้า จากย่านที่พักอาศัยให้มีทางเดินกว้างขวาง สะอาดตา

นอกจากนี้การมีร้านค้าหรือศูนย์การค้าในบริเวณสถานีก็เป็นสิ่งจำเป็น ผู้ใช้บริการสามารถเดินเลือกซื้อสินค้าที่จำเป็นก่อนเดินทางไปทำงาน หรือแวะซื้ออาหารก่อนกลับบ้านภายในบริเวณสถานีรถไฟอย่างสะดวกสบาย และสุดท้ายจุดสำคัญที่ขาดไปไม่ได้เลยในการพัฒนาในรูปแบบ TOD คือการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรม ออกกำลังกาย แหล่งนั่งพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้เป็นจุดนัดพบของผู้คน

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาในรูปแบบ TOD คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีโดยรอบสถานีรถไฟ ให้เป็นสถานที่ซึ่งหลอมรวมความต้องการผู้คนที่ใช้ชีวิตใกล้เส้นทางคมนาคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีความสุขและความสะดวกสบาย จากการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 8 ก.พ. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 245, 246, 247 ... 278, 279, 280  Next
Page 246 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©