RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264958
ทั้งหมด:13576241
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 247, 248, 249 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2022 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมรางฯลุยศึกษา 'M-MAP' ระยะที่ 2 เติมโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:38 น.


กรมรางลุย M-MAP 2 ปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า อัปเดตข้อมูล 14 สายเติมโครงข่ายเชื่อมรอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:48 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:48 น.

กรมรางลุย M-MAP ระยะที่ 2 ปรับปรุงแผนแม่บท รถไฟฟ้า 14 สาย ระยะทางกว่า 553 กม. อัปเดตข้อมูล เติมเต็มเส้นทางเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย รองรับการเดินทางในอนาคต เพิ่มฟีดเดอร์เพิ่มการเข้าถึง ศึกษา 18 เดือน เสร็จ ม.ค. 66

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดี กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หรือ M-MAP เปิดให้บริการแล้วกว่า 211.94 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 112.20 กิโลเมตรจากโครงข่ายทั้งหมด 553.41 กิโลเมตร จำนวน 14 เส้นทาง ซึ่งแผนแม่บทรถไฟฟ้า ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 จึงมีความจําเป็นที่จะต้องปรับปรุงแผนแม่บทรถไฟฟ้าให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารในอนาคต กระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางดําเนินการศึกษา “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจําลองการคาดการณ์ ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2)” เพื่อเป็นการต่อยอดแผนแม่บทรถไฟฟ้าเดิมให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของเมืองในอนาคต

สําหรับโครงการดังกล่าวมีกระบวนการศึกษาใช้ระยะเวลา 18 เดือน (15 ก.ค. 2564-14 ม.ค. 2566) โดยมีขอบเขตการดําเนินงานแบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่
1. การรวบรวม ศึกษาและทบทวนข้อมูล ปริมาณผู้โดยสาร รูปแบบโครงการ แนวเส้นทาง ตําแหน่งสถานีรถไฟฟ้า มูลค่าการลงทุน รวมทั้งสถานะของโครงการรถไฟฟ้าในปัจจุบัน และโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การวางแผนเพื่อพัฒนาแผนแม่บทโครงข่าย M-MAP2

3. การดําเนินการสนับสนุนทางวิชาการแก่กรมการขนส่งทางราง
4. การพัฒนาแบบจําลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast Model)
5. การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

โดยหัวใจสําคัญของโครงการนี้ คือแนวคิดการพัฒนา “แบบจําลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง” (Railway Demand Forecast Model) เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายในแต่ละเส้นทางสอดคล้องกับรูปแบบการขยายตัวและการพัฒนาของเมืองในปัจจุบัน และเพื่อให้ M-MAP 2 เป็นแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เกิดประโยชน์สูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ลดการลงทุนในโครงข่ายที่มีความจําเป็นในลําดับรองให้สอดคล้องความต้องการในการเดินทางของประชาชนและทิศทางการพัฒนาในอนาคต และเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่สะดวก ตรงตามความต้องการ รวดเร็ว ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาให้แก่ประชาชน

โดยข้อมูลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการเดินทางในปัจจุบันมีสัดส่วนของรถยนต์ส่วนตัวสูงสุดที่ 44.21% ขนส่งสาธารณะ 22.19% รถจักรยานยนต์ 21.82% เดิน 4.99% แท็กซี่ 4.51% รถรับส่ง 2.30% โดยในหมวดหมู่ของรถสาธารณะนั้นพบว่ามีการใช้รถโดยสารมากที่สุด 67.91% รถไฟฟ้า 29.70% รถตู้ 1.24% เรือโดยสาร 0.81% รถไฟชานเมือง 0.35%

ทั้งนี้ ในการวางแผนพัฒนาระบบรางเพื่อบรรเทาปัญหาจราจร เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบ มีการพัฒนาโครงข่ายและกระจายการเดินทางเป็นวงแหวนรัศมี /ผ่านเมืองแนวตะวันตก-ตะวันออก และเติมเต็มโครงข่ายในส่วนที่ขาดหายไปให้ครบสมบูรณ์ เชื่อมโยงสอดคล้องกับการเดินทางในขนส่งรูปแบบอื่น และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง หรือฟีดเดอร์ เชื่อมโยงกัน

นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้มีข้อตกลงร่วมกับประเทศไทยในการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อดําเนินโครงการ M-MAP 2 ที่ประเทศไทยกําลังเดินหน้าศึกษาอยู่ โดยประเทศญี่ปุ่นได้มอบหมายให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA เป็นหน่วยงานผู้แทนฝ่ายญี่ปุ่น ในการร่วมมือทางวิชาการกับฝ่ายไทย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การคาดการณ์ผู้โดยสารระบบรางในประเทศที่มีการพัฒนาระบบรางอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากรในแวดวงระบบรางของไทยได้นําไปปรับปรุงหรือพัฒนาแบบจําลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและนําไปพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความพร้อม และสามารถอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/254819353509201
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2022 12:50 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู กับรูปแบบสถานีที่ไม่คุ้นเคย
Render Thailand
วันพฤหัสบดี ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:50 น.

วันนี้จะมาเล่าเรื่องการใช้งานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองชมพู มีสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ ปรับพฤติกรรมการใช้งานกันยกใหญ่ จะใช้ความเคยชินไม่ได้
.
ปกติแล้วเวลาเราใช้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น BTS MRT สายสีม่วง สายสีแดง สายสีทอง เราซื้อตั๋วเสร็จหรือเรามีบัตรโดยสารอยู่แล้ว เราก็จะแตะเข้าระบบ แล้วเลือกไปชานชาลาตามทิศทางที่เราจะไป เช่นทางซ้ายไปคูคตทางขวาไปเคหะฯ
.
เวลาเราไปใช้รถไฟฟ้าสายไหน ๆ มันจะเป็นลักษณะนี้เหมือนกัน จะต่างกันก็แค่บางสายบางสถานีเป็นชานชาลากลาง บางสายเป็นชานชาลาด้านข้าง เราก็จะมองหาป้ายทิศทางเมื่อเราเข้าระบบไปแล้ว
.
แต่เมื่อสายสีเหลือง สายสีชมพูเปิด ทุกคนจะต้องปรับตัว เพราะว่าสถานีส่วนใหญ่ของ 2 สายนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ
.
สถานีส่วนใหญ่ของทั้ง 2 สาย พื้นที่ขายตั๋ว (unpaid area) จะอยู่ตรงกลางของสถานี ส่วนพื้นที่ที่ต้องแตะบัตรเข้าระบบ (paid area) จะอยู่ด้านข้างทั้งสองข้าง ลักษณะจะคล้าย ๆ สถานี BTS พญาไท และสถานี Airport Rail Link
.
ประเด็นคือลิฟต์และบันไดเลื่อนของทั้ง 2 ชานชาลา อยู่กันคนละฝั่ง หมายความว่าถ้าเราเป็นคนที่จำเป็นต้องใช้ลิฟต์แต่เราเข้าผิดฝั่ง ฝั่งนั้นจะไม่มีลิฟต์และบันไดเลื่อนให้ใช้ มีแต่บันไดเดินครับ
.
ผมสังเกตจากภาพความคืบหน้าสถานี และทำภาพนี้มาประมาณปีนึงได้แต่ไม่ได้เอามาโพสต์ เพราะไม่รู้จะอธิบายให้เข้าใจยังไง แล้วก็ยังไม่รู้ว่าผู้ให้บริการเขามีวิธีจัดการยังไง
.
จนเมื่อเร็ว ๆ นี้เพจ BKKTrains ได้ลงภาพสถานีกลันตัน เลยได้เห็นภาพป้ายภายในสถานีที่นับว่าเป็นการจัดการได้ดีทีเดียว ก็ถึงเวลาได้เอาภาพนี้มาลงซักทีครับ
.
สำหรับการใช้งาน เมื่อเรามีตั๋วโดยสารพร้อมแล้ว ให้เราเลือกแตะบัตรเข้าระบบฝั่งที่เราจะไปครับ เช่นเราจะไปทางสำโรงเราก็แตะบัตรเข้าระบบทางขวา จะไปลาดพร้าวก็แตะบัตรเข้าระบบทางซ้าย (ยึดจากตัวอย่างในภาพ)
.
เพียงเท่านี้เราก็จะไปเจอสิ่งอำนวยความสะดวก ลิฟต์ บันไดเลื่อน แน่นอน ไม่ต้องสับสนว่าจะไปซ้ายหรือขวา เพราะทางผู้ให้บริการทำป้ายบังคับให้เลือกทิศทางตั้งแต่ก่อนแตะบัตรเข้าระบบ พอเข้าไปแล้วก็จะเน้นแต่ป้ายที่ไปทิศทางนั้น
.
แต่สมมุติว่าเราแตะบัตรเข้าฝั่งไปสำโรง เราจะเปลี่ยนใจไปลาดพร้าวได้ไหม
ได้ครับ แต่จะมีแต่บันไดธรรมดาที่เราต้องเดินขึ้นเอง
.
แต่มีไม่กี่สถานีของทั้งสองสาย ที่มีผังเหมือนสถานีรถไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นสถานีที่มีแค่ 2 ชั้น และสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นครับ
.
สรุป สิ่งที่แตกต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ คือเราจะต้องเลือกทิศทางที่เราจะไปแล้วแตะบัตรเข้าระบบที่ฝั่งนั้น จะทำเหมือนสายปัจจุบันที่แตะบัตรเข้าไปก่อนค่อยไปหาดูป้ายว่าไปทางไหน ก็อาจจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการได้ครับ
.
และอยากฝากถึงผู้ให้บริการเดินรถ เท่าที่ดูจากภาพป้ายดีแล้วครับ แต่อยากให้เพิ่มป้ายที่อยู่ระดับสายตาและเห็นได้ชัดก่อนเข้า Gate เพื่อให้ผู้โดยสารแน่ใจก่อนแตะบัตรเข้าไปอีกทีครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2022 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

สรุปแล้วคนไทยจะได้ขึ้น "รถไฟฟ้า" ในราคาเท่าไหร่
หน้าธุรกิจ การตลาด
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:16 น.

ราคารถไฟฟ้า ซัดกันนัวปมเสนอราคาค่าโดยสารไม่เท่ากัน เริ่มต้น25-65 บาท “ ด้าน ขร.-สอบ.ชี้ไม่ควรต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว ถ้าอัตราค่าโดยสารยังหาข้อสรุปไม่ได้

กรุงเทพมหานคร (กทม.) พยายามผลักดันให้ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเสนออัตราค่าโดยสารที่ 65 บาท แต่หลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงคมนาคมก็เสนอว่าค่ารถไฟฟ้าไม่ควรเกิน 36 บาท กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เสนอราคาไม่เกิน 42 บาท สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เสนอที่ 25 บาท



เนื่องจาก กทม. ไม่เปิดที่มาที่ไปของราคา 65 บาท ขณะที่กระทรวงคมนาคม ขร. และสอบ. ก็มีชุดข้อมูลบางส่วนที่แตกต่างกัน นำไปสู่การเสนอราคาค่าโดยสารที่ไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่กระทรวงคมนาคม ขร. และสอบ.เห็นตรงกัน คือไม่ควรต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว เพราะนอกจากเรื่องอัตราค่าโดยสารที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ก็ยังมีประเด็นเรื่องรายละเอียดในสัญญาสัมปทานเดิม ที่ต้องปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีรถไฟฟ้าหลากสีหลายเส้นทาง รวมทั้งเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค


ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) หยิบยกรายละเอียดบางส่วนจากบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 ขึ้นมานำเสนอ โดยในบันทึกความร่วมมือฉบับดังกล่าวมีส่วนที่กำหนดว่า กทม. จะดำเนินการให้มีการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบหรือค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกัน หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม.



โดยระบบที่ผู้โดยสารขึ้นก่อนเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าระบบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้รับสัมปทานกลับมีการกำหนดเงื่อนไข คือ 1) หากการดำเนินการเรื่องตั๋วร่วมไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้แล้ว 2) ยกเว้นค่าแรกเข้าระบบที่เปลี่ยนถ่ายมาจากโครงการฯ ภายใต้ระบบตั๋วร่วมเท่านั้น ซึ่งแปลว่า กทม. ไม่ได้ทำตามข้อตกลงที่กำหนดไว้


ที่ผ่านมาไม่ได้มีการระบุเรื่องบัตรโดยสาร 30 วัน (ตั๋วเดือน) บัตรโดยสารใบเดียว (ตั๋วร่วม) และอีกหลายประเด็นลงในสัญญาสัมปทาน ทำให้เกิดกรณีที่กล่าวไปข้างต้น รวมไปถึงกรณีการยกเลิกตั๋วเดือนของบีทีเอสด้วย ซึ่งรัฐไม่สามารถบังคับเอกชนให้ดำเนินการนอกเหนือสัญญาฯ ได้ ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าเยียวยา หรืออาจถูกบริษัทเอกชนฟ้องร้องจนต้องเสีย ‘ค่าโง่’ เหมือนในอดีต ดังนั้น ขร. จึงไม่เห็นด้วยกับการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสาบสีเขียวออกไป แต่ควรมีประมูล และเขียนสัญญาสัมปทานฉบับใหม่ขึ้น



โดยกำหนดสิ่งที่เอกชนต้องทำ 4 เรื่อง ดังนี้ 1) ต้องมีระบบตั๋วร่วม โดยเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว 2) คำนวณอัตราค่าโดยสารตามมาตรฐานของ รฟม. (MRT Assessment Standardization) และกำหนดเพดานราคาไม่เกิน 42 บาท 3) ต้องมีบัตรโดยสารแบบ 30 วัน หรือตั๋วเดือน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นประจำ และ 4) ส่วนลดสำหรับผู้มีรายได้น้อย – ผู้ด้อยโอกาส



วิธีการคิดค่าโดยสารของ กทม. ใช้สูตร 15 + 3x คือ ค่าโดยสารแรกเข้า 15 และค่าโดยสารเพิ่มสถานีละ 3 บาท โดยกำหนดเพดานราคาสูงสุดที่ 65 บาท แต่หากคำนวณตามตามมาตรฐานของ รฟม. จะใช้สูตร 12 + 2x คือ คิดค่าโดยสารแรกเข้า 12 และค่าโดยสารเพิ่มสถานีละ 2 บาท และกำหนดเพดานราคาสูงสุดที่ 42 บาท ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารต่อคน – ต่อเที่ยว ลดลง 14 บาท และสามารถลดค่าครองชีพให้ประชาชนได้ปีละ 15,000 ล้านบาท

ด้าน คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการ อนุกรรมการด้านขนส่งและยานพาหนะ สอบ. แสดงความเห็นด้วยกับ รองอธิบดี ขร. ในหลายประเด็น โดยคงศักดิ์ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องคัดค้านการต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะหมดอายุในปี 2572 หรืออีก 7 ปี มีเวลามากพอที่จะจัดประมูลใหม่ 2) อัตราค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ไม่มีที่มาที่ไป และไม่สามารถชี้แจงต่อสาธารณะได้ 3) ต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า 30 ปี สร้างภาระในอนาคตให้กับทุกคน รวมไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และ 4) เราจะหมดโอกาสในการจัดการรถไฟฟ้าทั้งระบบ ทั้งเรื่องตั๋วร่วม การยกเว้นค่าแรกเข้า ค่าโดยสารสูงสุด ค่าโดยสารตารางเดียว ฯลฯ


อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นเรื่องราคาค่าโดยสารนั้น คงศักดิ์ยืนยันว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้า 25 บาทสามารถทำได้จริง โดยอ้างอิงข้อมูลต้นทุนค่าโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยว จาก รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ที่ระบุว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อเที่ยวอยู่ที่ประมาณ 15 -16 บาทเท่านั้น อีกทั้งเมื่อดูข้อมูลรายได้ของทีบีเอสและกลุ่มบริษัทย้อนหลังจากพบว่าในปี 2562 – 2563 บริษัทมีกำไรถึง 8,817 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลกำไรดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่บีทีเอส ควรได้รับ และบริษัทฯ ต้องได้ดำเนินกิจการต่อไปจนถึงปี 2572 ตามสัญญาสัมปทานเดิม แต่หลังจากนั้น กทม. ต้องเป็นผู้เข้าไปบริหารจัดการต่อ โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับ


“ตอนนี้สิ่งที่ประชาชนต้องการคืออยากได้ตัวเลขที่ชัดเจน ซึ่งราคา 25 บาทที่ทาง สอบ. เสนอ มาจากข้อมูลเรื่องต้นทุนค่าโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยว ข้อมูลเรื่องกำไรของบีทีเอส ประกอบกับเรื่องภาระหนี้ของกทม. โดยยึดหลักการสำคัญคือ ค่าเดินทางต่อวันไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจริงๆ ค่าโดยสารเที่ยวละ 25 บาทถ้าไปกลับก็เท่ากับ 50 บาท เกินร้อยละ 10 มานิดหน่อย แต่จากการสอบถามผู้ใช้บริการจริงก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่พอจะรับได้” คงศักดิ์กล่าว


นพปฎล รัตนพันธ์ รองเลขาธิการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อมูลเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในปัจจุบันอาจยังดูไม่ครบถ้วนนักเนื่องจากเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ส่งผลให้ไม่สามารถนำข่าวทุกสายและทุกช่องทางมานำเสนอได้อย่างครบถ้วน ทำให้สื่อต้องขวนขวายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึก แต่เมื่อเหตุการณ์เข้าไปสู่เกมการเมืองทำให้ยากในการเข้าถึงข้อมูลยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่หลายฝ่ายนำเสนอ โดยส่วนตัวค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อมูลที่ สอบ. ได้นำเสนอคือค่าเดินทางควรอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าครองชีพ เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้บริการรถสาธารณะคือผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัว คำถามคือ เราจะลดเงื่อนไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวพันกับหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนจริงๆ เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ประชาชนอยากทราบคือสรุปแล้วต้องขึ้นรถไฟฟ้าด้วยอัตราค่าโดยสารเท่าไร รูปแบบตั๋วจะเป็นอย่างไร ซึ่งอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้น


ด้าน สุปัน รักเชื้อ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ระบุว่า เนื่องจากโครงสร้างของระบบรถไฟฟ้าในไทยเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้ง กทม. มหาดไทย รัฐบาล พรรคการเมือง ซึ่งในอนาคตอาจขยายไปถึงจังหวัดและการรถไฟในบางสายที่ปัจจุบันได้ขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจาก กทม. เช่น สมุทรปราการ และปทุมธานี ดังนั้น โครงสร้างข่าวจึงไม่ได้อยู่แค่มิติด้านคมนาคมเพียงอย่างเดียว โดยสื่อเองก็ต้องนำเสนอให้ครบทุกมิติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจ สิ่งที่ตั้งข้อสังเกตคือทำไมถึงไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ พ.ศ. 2562 หรือหากทำไม่ได้เกิดจากเหตุผลใด และความน่าจะเป็นในการดำเนินการคืออะไร


"หากพิจารณาเรื่องต้นทุนซึ่งอาจจะมีข้อมูลที่แตกต่างระหว่าง ขร. และกระทรวงคมนาคมที่ได้ไปหยิบข้อมูลของ กทม. มาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอต่อสาธารณะ ซึ่งแตกต่างจาก สอบ. และสภา กทม. ที่ได้นำเสนอข้อมูลที่ใกล้คียงกันที่ 25 – 30 บาทโดยประมาณ ในฐานะสื่อก็ต้องนำข้อมูลของทุกฝ่ายมาเปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นว่าต้นทุนที่ กทม. นำเสนอนั้นถูกต้องหรือไม่ มีส่วนใดที่แตกต่างกันที่สำคัญเงื่อนไขใดจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หรือแม้แต่ฐานข้อมูลล่าสุดที่ กทม. เสนอให้ ครม. พิจารณาอยู่ที่ 36 บาท ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นปัญหากันอยู่ หรือเรื่องการเก็บค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อน ทำอย่างไรจะทำให้เหลือแค่ค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว"


“สิ่งที่สื่อตั้งข้อสังเกตคือ การให้สัมปทานนั้นประกอบด้วยเรื่องใดบ้าง สัมปทานการเดินรถนั้นรวมถึงการได้สิทธิในการบริหารการจัดการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างที่มีการผ่านทางหรือในสถานีด้วยหรือไม่ และรายได้ต่างๆ เหล่านี้คิดรวมไปเป็นต้นทุนในการประมูลหรือไม่ หรือหากไม่ได้คิดรวมเป็นต้นทุนในการประมูล ส่วนต่างดังกล่าวจะเป็นของใคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน เนื่องจากเป็นเรื่องผลประโยชน์แฝงที่อาจจะเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นในอนาคต โดยด้านประเด็นเรื่องค่าโดยสารนั้น โดยปกติแล้วราคาที่ต่ำสุดคือราคาที่ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด”


ส่วน ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าแต่ละหน่วยงานต้องนำเสนอข้อมูลที่ตนเองได้วิเคราะห์และทำขึ้น เพื่อส่งผ่านสู่กระบวนการวิเคราะห์ของสื่อส่งต่อสู่ประชาชน แต่เรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลา ทำให้แต่ละหน่วยงานสานต่อการทำงานร่วมกันได้ยาก เหมือนต่อจิ๊กซอว์คนละกระดาน โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อีกทั้งเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อสรุป เมื่อนำเสนอข้อมูลคนละชุดในช่วงเวลาที่ต่างกันจึงทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เชื่อว่าประชาชนอยากรู้เพียงว่าค่าโดยสารปัจจุบันนั้นแพงหรือถูก แต่สิ่งที่แต่ละหน่วยงานพยามยามนำเสนอเป็นเวลานานนั้นยังไม่ตอบคำถามดังกล่าว จึงเป็นโจทย์ว่าจะถึงวันที่ข้อมูลชัดเจนเมื่อไร

"ที่ผ่านมาภาครัฐดำเนินการโดยไม่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งซึ่งเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าเมื่อไรที่รัฐจะวางระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ปัจจุบันหากค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าจะพบว่าแต่ละหน่วยงานจะออกมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของตนเอง แต่ไม่มีข้อสรุปและทางออก ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะมีทางออกแบบนี้เกิดขึ้นจริงๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับภาษีที่ประชาชนได้จ่ายออกไป ไม่ใช้เกิดปัญหาระหว่างทางที่ผู้บริโภคไม่ได้ก่อขึ้น อยากฝากให้ สอบ.ช่วยเป็นหูเป็นตาให้แก่ประชาชนในเรื่องดังกล่าวด้วย"


ทางด้าน พีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ชุดข้อมูลเกี่ยวกับสัมปทานรถไฟฟ้านั้นมีเป็นจำนวนมาก แล้วชุดใดเป็นชุดที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชน สำหรับบริการสาธารณะนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ากำไรหรือผลประโยชน์ต่างๆ ไม่ได้มาจากค่าโดยสารโดยตรงเพราะหากจะให้เป็นเช่นนั้นรัฐต้องเข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนต่างดังกล่าวให้แก่ประชาชน รวมถึงต้องให้งบสนับสนุนด้านการก่อสร้าง แต่หากรัฐให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดอัตราค่าโดยสารต่างๆนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเพียงใด หากเป็นผลเสียต่อประชาชนรัฐก็ควรจะเข้ามาดำเนินการส่วนตัวมั่นใจว่ารัฐมีความสามารถในการลงทุนเพียงแค่สร้างความชัดเจนว่าการพัฒนาระบบรถไฟฟ้านั้นต้องการทำขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ใด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2022 1:22 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
กรมรางฯลุยศึกษา 'M-MAP' ระยะที่ 2 เติมโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:38 น.


กรมรางลุย M-MAP 2 ปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า อัปเดตข้อมูล 14 สายเติมโครงข่ายเชื่อมรอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:48 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:48 น.


วีดิทัศน์เดินหน้า M-MAP 2 แผนแม่บทรถไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาสู่อนาคต
ติดตาม Clip VDO ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางได้ที่
Website : www.drt.go.th
https://www.facebook.com/watch/?v=726495011843063
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2022 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม-ชมพู-เหลือง รฟม. อัพเดตความคืบหน้างานก่อสร้าง
ในประเทศ
วันที่ 8 มีนาคม 2565 - 15:20 น.

รฟม. เผยความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีส้ม เหลือง ชมพู ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565

วันที่ 8 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รายงานความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบ ของ รฟม. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีส้ม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความคืบหน้างานโยธา รวม 91.67% ซึ่งเร็วกว่าแผนงาน 0.10% ประกอบด้วย
งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 คืบหน้า 95.77%
งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก คืบหน้า 94.61%
งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า คืบหน้า 91.89%
งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ คืบหน้า 88.57% และ
งานก่อสร้างระบบราง คืบหน้า 79.97%

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม วางกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน) โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท และสูงสุดไม่เกิน 45 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.25 บาท

รถไฟฟ้าสายสีชมพู
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มี
ความคืบหน้าด้านงานโยธาแล้ว 87.23%
ความคืบหน้างานระบบรถไฟฟ้า 83.41%
สรุปความคืบหน้าภาพรวมอยู่ที่ 85.33%


โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

เฟสที่ 1 : ช่วง “มีนบุรี-ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ” ระยะทาง 21 กิโลเมตร วางแผนเปิดบริการเดือนมิถุนายน 2565
เฟสที่ 2 : ขยายเส้นทางไปถึง “กรมชลประทาน” รวมเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร กำหนดเปิดบริการเดือนสิงหาคม 2565
เฟสที่ 3 : เปิดบริการเต็มรูปแบบตลอดเส้นทางจนถึง “ศูนย์ราชการนนทบุรี-สี่แยกแคราย” เดือนกรกฎาคม 2566
ส่วนอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.22 บาท

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มี
ความคืบหน้าการก่อสร้างด้านงานโยธา 91.88%
ความคืบหน้างานระบบรถไฟฟ้า 89.55%
สรุปความคืบหน้าภาพรวมอยู่ที่ 90.87%

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในช่วงกลางปี 2565 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน) โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.38 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2022 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

จับตาชงครม.ต่อ "ภคพงศ์" นั่งผู้ว่ารฟม.อีก 2 ปี
หน้าเศรษฐกิจคมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 5:00 น.

เปิดสาเหตุชงครม.ต่อ "ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ นั่งผู้ว่ารฟม.อีก 2 ปี สานต่อประมูลเมกะโปรเจกต์สายสีส้ม-ม่วงใต้ กว่า 2 แสนล้าน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 มี.ค.นี้ จะมีการนำวาระพิจารณาให้นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ต่ออายุราชการเป็นผู้ว่ารฟม.อีก 2 ปีเท่านั้น เนื่องจากนายภคพงศ์ อายุ 58 ปี ทำให้จะอยู่ในวาระผู้ว่าฯรฟม.จนถึงอายุครบ60 ปี

ที่ผ่านมาคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม.ได้มีการพิจารณาวาระลับ เรื่อง การประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ว่าฯ รฟม. ผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกด้าน อีกทั้งจะครบวาระสัญญาจ้าง 4 ปี ในภายเดือน เม.ย. 2565

สำหรับการต่อวาระในครั้งนี้คาดว่าเป็นการสานต่อโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมอย่างการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมปัดฝุ่นโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงินลงทุน 1.427 แสนล้านบาทมาดำเนินการต่อ หลังจากประสบผลสำเร็จในการประกวดราคาก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงิน 82,000 ล้านบาทไปแล้วนั้น

แหล่งข่าวในวงการรับเหมา กล่าวว่า ผลการประมูลรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ก่อนหน้า ไม่ได้ผิดไปจากที่คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้า เพราะแม้ รฟม.จะอ้างว่า เป็นการประกวดราคานานาชาติ(International Competition Bidding : ICB) แต่เนื้อแท้ของการประมูลกลับมีการกำหนดเงื่อนไขบริษัทรับเหมาที่จะเข้าประมูล ต้องมีผลงานก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่เป็น Local content กับทางการไทย ทำให้มีเพียงผู้รับเหมาในประเทศเพียง 3-4 รายเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์เข้าประมูลเปิดทางให้ทุนการเมืองจัดฮั้วประมูลได้ในที่สุด ผลประกวดราคาที่ได้จึงต่ำกว่าราคากลางเพียง 157.94 ล้านบาท หรือ 0.19% เท่านั้น

ส่วนของการประกวดราคาก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม)ที่ รฟม.จะปัดฝุ่นมาดำเนินการต่อนั้น แหล่งข่าวเปิดเผยว่า มีความแตกต่างไปจากการประมูลรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ เพราะรฟม.ไม่ได้แยกเนื้องานก่อสร้างออกมาประมูล แต่จะดำเนินการประมูลแบบโปรเจ็กต์เป็นสัญญาเดียว โดยเอกชนที่ได้งานรับเหมาก่อสร้างส่วนตะวันตก จะได้งานจัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและสัมปทานเดินและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าทั้งโครงการ (O&M)ระยะเวลา 30 ปีไปด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม.มีความพยายามจะนำเกณฑ์ประมูลคัดเลือกใหม่โดยจะพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาประกอบหรือ Price Performance มาใช้ แต่ถูกบริษัทรับเหมาที่เข้าร่วมประมูลฟ้องร้องทำให้ต้องยกเลิกการประมูลไปในที่สุด ล่าสุดมีรายงานว่า รฟม.เตรียมปัดฝุ่นโครงการนี้กลับมาดำเนินการใหม่ในช่วงเดือน มี.ค.-ส.ค.65 นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างเงื่อนไขประมูลใหม่ที่จะมีขึ้น โดยรฟม.ยังไม่ได้กำหนดว่าจะใช้เกณฑ์ใดพิจารณาชี้ขาด แต่มีการคาดการณ์ว่า คงจะไม่ต่างจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ที่อ้างว่าเป็นเกณฑ์ประมูลปกติหรือ Price Only ชี้ขาดกันที่ข้อเสนอราคา และเป็นการประกวดราคานานาชาติ (ICB) แต่จะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิด โดยบริษัทรับเหมาที่จะเข้าประมูล ต้องมีผลงานก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน (Local Content) ที่เปิดให้บริการแล้ว และต้องผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคเกิน 85% จึงจะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันด้านราคา

ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวจึงทำให้ในเมืองไทยมี Operator ที่สามารถเข้ายื่นข้อเสนอได้เพียง 3 รายเท่านั้นคือ BEM ,BTS และบริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่บริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ก่อนหน้า รวมทั้งเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงในปัจจุบัน โดยได้มีการเดินเกมเจรจาที่จะให้บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จับมือกับ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งฯ(ST) แยกตัวออกมายื่นประมูลโดยตรงซึ่งจะทำให้กลุ่ม BSR ที่เดิมที่มี ST ร่วมเป็นพันธมิตรอยู่ด้วยต้องแสวงหาพันธมิตรใหม่เข้าร่วม ซึ่งไม่ว่าจะดึงบริษัทรับเหมาจากต่างประเทศรายใดเข้ามา ก็ยากจะผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิค ที่กำหนดให้ต้องมีผลงานก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินกับรัฐบาลไทย จึงทำให้สุดท้ายแล้ว โครงการนี้จะเหลือเพียงกลุ่ม CK-BEM และ ITD เข้าร่วมประมูลเท่านั้น ซึ่งหากพิจารณาเนื้องานโครงการที่ต้องรวมการจัดหาระบบรถไฟฟ้าและบริหารโครงการด้วยแล้ว กลุ่ม CK-BEM จึงน่าจะชนะประมูลตั้งแต่แรก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2022 11:53 pm    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมมาแล้ว 'สนข.' เตรียมใช้บัตร ’EMV’ ใบเดียวแตะใช้บริการรถไฟฟ้า3สาย เริ่ม มิ.ย.นี้
18 มีนาคม 2565 เวลา 14:44 น.

สนข.วางไทม์ไลน์ มิ.ย.นี้ เร่งใช้ระบบ EMV แตะบัตรใบเดียวใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง น้ำเงิน สายสีแดง พร้อมเปิดพิกัด 2 ท่าเรือใหม่ สร้าง แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง 2.5 แสนล้าน จ่อเสนอ 6 ทำเลให้ คมนาคมเลือกภายในสัปดาห์หน้า

18 มี.ค.2565-นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบการนำบัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) มาใช้ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟชานเมือง สายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปได้ภายในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานในรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และระบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า รวมถึงระบบทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ด้วย

“ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ระบบโครงข่ายของคมนาคมมีความพร้อมจะสามารถให้บริการระบบ EMVในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง น้ำเงิน และสายสีแดง ขณะที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC แจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาในส่วนของระบบ”นายปัญญา กล่าว

นายปัญญา กล่าวว่า ในปี 2565 ได้เร่งดำเนินการจัดทำร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมพ.ศ…. นั้น จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.-มิ.ย. นี้ โดยจะประชุมร่วมกับเสนอกรมบัญชีกลางและคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเพื่อขอจัดตั้งกองทุน ช่วง ก.ค.เสนอ และเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี( ครม.)ภายในปลายปีนี้ หลังจากนั้น เป็นขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประมาณปลายปีนำเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณารัฐสภา คาดว่าประกาศราชกิจจานุเบกษาได้ในต้นปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2022 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

กระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภา กระทู้ถามที่ ๐๑๔ (ร.) เรื่อง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) [ของ นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา]
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/124/T_0051.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/04/2022 7:56 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดทสร้างรถไฟฟ้าทั่วประเทศไทย สายไหนเสร็จเมื่อไหร่ เปิดใช้ปีไหนบ้าง
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 06 เม.ย. 2565 เวลา 5:05 น.

เปิดความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั่วประเทศไทย มีรถไฟฟ้าสายไหน สีไหนบ้าง เส้นทางไหนบ้างที่กำลังก่อสร้าง สายไหนเสร็จเมื่อไหร่ เปิดใช้ปีไหน เช็คเลยที่นี่

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอ ซึ่งมีความคืบหน้าแล้วหลายโครการ

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าในปีงบประมาณ 2564 มีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3 โครงการ ดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)
งานศึกษาและวิเคราะห์โครงการแล้วเสร็จ งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 89.70%
เร็วกว่าแผน 0.44%
คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2568

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ช่วงแคราย-มีนบุรี
งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 90.70%
เร็วกว่าแผน 1.74%
คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2565

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 84.90%
เร็วกว่าแผน 4.19%
คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2565

โครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา มี 2 โครงการ ดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก)
งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความก้าวหน้า 37.75% ซึ่งเป็นไปตามแผน
งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 9.10% ล่าช้ากว่าแผน 0.73% เนื่องจากรฟม.ได้มีประกาศยกเลิกประกวดราคางานโยธา เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น
คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2570

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความก้าวหน้า 17.80% ล่าช้ากว่าแผน 0.20%
งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 5% ซึ่งเป็นไปตามแผน
คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกันยายน 2570

โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการมี 4 โครงการ ดังนี้

รถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต

คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคม 2569

รถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่

คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2571

รถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา

คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2571

รถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก

คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกรกฎาคม 2571

ขณะที่โครงการและแผนงานด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รฟม.ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ระบบตั๋วร่วม โดยจะสามารถเปิดให้บริการระบบตั๋วร่วม EMV contactless ในรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและสายฉลองรัชธรรมอย่างเป็นทางการได้ภายในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2022 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อัพเดทสร้างรถไฟฟ้าทั่วประเทศไทย สายไหนเสร็จเมื่อไหร่ เปิดใช้ปีไหนบ้าง
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม




รฟม.เผยก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายเร็วกว่าแผน ปักธงโมโนเรล "เหลือง, ชมพู" เปิดบริการกลางปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:08 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:08 น.



รฟม.รายงาน ครม.ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย เร็วกว่าแผน "เหลือง, ชมพู" เปิดบริการ มิ.ย.และ ก.ย. 65 ตามลำดับ ส่วนสีส้มตะวันออกเปิด มี.ค. 68 พร้อมเร่งสร้างสีม่วงใต้หลังเซ็นผู้รับเหมา ตั้งเป้าเปิด ธ.ค. 70 ขณะที่สีส้มตะวันตกมั่นใจเปิดปี 70 ส่วนผลประกอบการปี 64 มีกำไรสุทธิ 1,927.83 ล้านบาท

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 5 เม.ย. 2565 ได้รับทราบผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีการดำเนินการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผน โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3 โครงการ ได้แก่

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 89.70% เร็วกว่าแผน 0.44% คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2568,

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 90.70% เร็วกว่าแผน 1.74% คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2565 และ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 84.90% เร็วกว่าแผน 4.19% คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2565

สำหรับโครงการประกวดราคาแล้วเสร็จเพิ่งเริ่มการก่อสร้าง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความก้าวหน้า 37.75% ซึ่งเป็นไปตามแผน และงานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 9.10% ล่าช้ากว่าแผน 0.73% เนื่องจาก รฟม.ได้มีประกาศยกเลิกประกวดราคางานโยธา เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2570

โครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความก้าวหน้า 17.80% ล่าช้ากว่าแผน 0.20% งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้า 5% ซึ่งเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกันยายน 2570

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการมี 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคม 2569, โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2571, โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2571 และโครงการรถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกรกฎาคม 2571

ขณะที่โครงการและแผนงานของ รฟม.ในอนาคต ในด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รฟม.ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ระบบตั๋วร่วม โดยจะสามารถเปิดให้บริการระบบตั๋วร่วม EMV contactless ในรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและสายฉลองรัชธรรมอย่างเป็นทางการได้ภายในปี 2565

สำหรับด้านการเงินของ รฟม.ในปี 2564 มีผลประกอบการกำไรสุทธิ 1,927.83 ล้านบาท โดยมีรายได้ 16,018.27 ล้านบาท เป็นเงินอุดหนุน 10,434.78 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายรวม 14,090.44 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ 99.99% สูงกว่าที่ ครม.กำหนดให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่า 95% ของวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน และยังมีรายได้จากธุรกิจต่อเนื่องจากรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล 104.16 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 33.48 ล้านบาท และสายฉลองรัชธรรม 24.26 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 6.73 ล้านบาท ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ร้อยละ 1.20 จากเป้าหมาย 0.85% รวมทั้งได้จัดทำรายงานการศึกษาโครงสร้างงบกำไรขาดทุนของ รฟม.เสร็จเรียบร้อยแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 247, 248, 249 ... 278, 279, 280  Next
Page 248 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©