RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181343
ทั้งหมด:13492578
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 254, 255, 256 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2022 8:13 am    Post subject: Reply with quote

ส่องความคืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี ค่าโดยสารเท่าไร-เปิดให้บริการช่วงไหน
หน้าแรก เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 17 ต.ค. 2565 เวลา 17:51 น.

อัพเดทความคืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี 10 เส้นทางที่เปิดให้บริการ-อยู่ระหว่างก่อสร้าง พร้อมเปิดค่าโดยสารเท่าไร เตรียมให้บริการประชาชนช่วงไหนบ้าง

ปัจจุบันภาครัฐพยายามเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติมเต็มโครงข่ายระบบขนส่งทางรางในกรุงเทพฯและปริมณฑลให้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้รวบรวมความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าแต่ละสายที่เปิดให้บริการ-การจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร รวมทั้งโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเตรียมพร้อมที่จะเปิดให้บริการได้เร็วๆนี้

Click on the image for full size

ที่ผ่านมามีโครงการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 6 เส้นทาง ประกอบด้วย
1. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ระยะทาง 48 จำนวน 38 สถานี กิโลเมตร แบ่งเป็น 3 เส้นทาง ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 18 สถานี ,ช่วงหัวลำโพง - บางแค ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร 11 สถานี เป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับ ,ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร 9 สถานี เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย โดยมีค่าโดยสารอยู่ที่ 17-42 บาท

2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร มีสถานียกระดับทั้งหมด 16 สถานี ค่าโดยสาร 14-42 บาท หากผู้โดยสารเปลี่ยนระบบระหว่างสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วงจะยกเว้นค่าแรกเข้า

3.รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีระยะทางรวม 67.45 กิโลเมตร จำนวน 59 สถานี ที่เชื่อมการเดินทางถึง 3 จังหวัด ปทุมธานี กรุงเทพฯ สมุทรปราการ แบ่งเป็น 3 เส้นทาง เส้นทางหลักสายสุขุมวิทช่วงหมอชิต-อ่อนนุชและสายสีลมช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ค่าโดยสารเริ่มต้น 16-44 บาท ,ส่วนต่อขยายที่1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทางรวม 12.75 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย และส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทางรวม 31.20 กิโลเมตร ปัจจุบันยังเปิดให้บริการฟรีทั้ง 2 ช่วง จากเดิมกำหนดเก็บค่าโดยสารของแต่ละช่วงอยู่ที่ 15-45 บาท

4. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.70 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท

5.รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 1.88 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย ทั้งนี้เมื่อเข้าระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่กรุงธนบุรีจะเสียค่าแรกเข้าอีก 16 บาท

6.รถไฟชานเมืองสายสีแดง ระยะทางรวม 41 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี มีค่าโดยสารอยู่ที่ 12-42 บาท หากเปลี่ยนระบบระหว่างสายสีแดงกับสีม่วงและสีน้ำเงิน จะยกเว้นค่าแรกเข้า

ล่าสุดยังพบว่ามีโครงการรถไฟฟ้าหลายสายที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและมีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้

1. รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี โดยปัจจุบันมีความก้าวหน้างานโยธา 96.96% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 96.56% และความก้าวหน้าโดยรวม 96.79%

ทั้งนี้รฟม.มีแผนกำหนดการทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ภายในเดือน ต.ค.2565 ก่อนจะเปิดประชาชนทดลองใช้บริการฟรี 3 เดือน ระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค.2566 ในระยะแรกช่วงสถานีภาวนา - สถานีสำโรง ก่อนเปิดให้บริการเดินรถอย่างเต็มรูปแบบในปี 2566

2.รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.50 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 92.28% กำหนดค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาท ทั้งนี้ตามแผนจะเปิดบริการบางช่วงจากสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ-มีนบุรีและช่วงสถานีกรมชลประทาน-มีนบุรี ก่อนเปิดตลอดสายในปี 2566

ส่วนรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 4.86% มีแผนเปิดบริการในปี 2568 ค่าโดยสารคิดอัตราค่าแรกเข้า 14 บาท หลังจากนั้นคิดค่าโดยสารเพิ่ม 3 บาทต่อสถานี

3.รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี และทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร จำนวน 7 สถานี ปัจจุบันเอกชนผู้รับเหมาได้เข้าพื้นที่เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว โดยมีความก้าวหน้างานโยธาแล้ว 3.42% ตามแผนมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2570 ส่วนอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาท ทั้งนี้จะต้องรอการพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งก่อนเปิดให้บริการ

4.รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี ความก้าวหน้างานโยธา 97.74% กำหนดค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท ตามแผนงานมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2568

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ล่าสุดหลังจาก รฟม.ได้เปิดประมูลโครงการฯนั้น เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาผลการประเมินซองข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ผลปรากฏว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะดำเนินการเชิญผู้ผ่านการประเมินสูงสุดดังกล่าวมาเจรจาต่อรองของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก ตามขั้นตอนที่ระบุในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป โดยจัดเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท ตามแผนงานมีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2022 6:59 am    Post subject: Reply with quote

สนข.โยนรฟม.ทบทวนพิกัดสถานี
Source - เดลินิวส์
Wednesday, October 19, 2022 04:23

รถไฟฟ้าสีน้ำตาลยึดที่

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ชี้แจงกรณีข้อร้องเรียนของนายอรรฌ นามอรรถ เจ้าของร่วมโครงการคอนโดมิติ ชีวา เกษตร สเตชั่น ว่าได้รับผล กระทบจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ที่ สนข.ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบเบื้องต้นก่อสร้างสถานีแยกเกษตรซึ่งเป็นสถานียกระดับปิดพื้นที่หน้าคอนโด ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวของแนวร่นอาคารลึกประมาณ 5 เมตร ยาว 20-25 เมตร จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของชาวคอนโด 200 ยูนิตประมาณ 800 คนโดยมีข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงไม่เลือกแนวทางที่มีผลกระทบต่อชุมชนน้อยกว่านั้น

สนข. พร้อมรับฟังทุกความเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมออกแบบโครงการ จึงยังไม่ได้มีข้อสรุปและอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบและที่ตั้งสถานีให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียรับผลกระทบน้อยที่สุด สนข. ให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาชี้แจงเหตุผลความจำเป็นของตำแหน่งที่ตั้งสถานีแยกเกษตรของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวในระยะประมาณ 350 เมตร ซึ่งเป็นระยะการเดินที่ไม่ไกลสามารถให้บริการต่อชุมชนบริเวณแยกเกษตรได้ ตำแหน่งสถานีแยกเกษตรจึงเหมาะสม

ส่วนกรณีการเวนคืนที่ดินทางหน่วยงานรัฐจะชดเชยค่าเวนคืนในราคาที่เหมาะสมอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากมองอีกมุมจะทำให้คอนโดมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อก่อสร้างสถานีแล้วเสร็จ แนวสถานีที่รุกล้ำเข้าไปในแนวที่ดินของคอนโดก็สามารถปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จได้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 ต.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2022 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

ีปี'66 ได้เพิ่มอีก2สี 2เส้นทาง อัปเดตรถไฟฟ้าหลากสีพร้อมค่าโดยสาร
Oct 19, 2022
Nimda Variety


https://www.youtube.com/watch?v=BnhQy4BEO6c
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2022 10:57 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดท 10 เส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล อยู่ในมือใคร เปิดเมื่อไหร่
หน้าแรก เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 22 ต.ค. 2565 เวลา 9:40 น.

อัพเดท 10 เส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑลล่าสุด อยู่ในมือใคร หน่วยงานรัฐ-เอกชน รายใดได้รับสัมปทานบ้าง พร้อมเปิดแผนให้บริการได้เมื่อไร

ปัจจุบันการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนกทม.และปริมลฑลไปแล้ว เนื่องจากเป็นระบบขนส่งสาธารณะทางรางที่สามารถให้ความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งกำหนดเวลาเดินทางได้ง่ายกว่าเดิม

ล่าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมข้อมูลระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล สายไหน-เส้นทางใด มีใครได้รับสัมปทานบ้าง

การบริหารงานในการให้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ผู้ที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้าเป็นผู้ให้บริการการเดินรถด้วยตนเอง
ผู้ที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้าว่าจ้างให้บริษัทอื่นดำเนินการให้บริการแทน
ปัจจุบันรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมลฑลมีทั้งหมด 9 สาย

1. “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่กรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2542 ปัจจุบันได้เปิดให้บริการ 60 สถานี ระยะทางรวม 68.25 กิโลเมตร

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส แบ่งผู้รับสัมปทานแต่ละเส้นทาง ดังนี้

1. สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สำโรง มีกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของโครงการฯและมอบสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลระบบให้บริการการเดินรถทั้งหมด ระยะทางรวมประมาณ 23.7 กิโลเมตร สถานีเป็นแบบยกระดับหรือแบบลอยฟ้าทั้งหมด 23 สถานี

2. สายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า มีกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของโครงการฯและมอบสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลระบบการเดินรถทั้งหมด ระยะทางรวมประมาณ 14.2 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่สถานีสยาม ปัจจุบันมี 13 สถานี

3. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยเปิดให้บริการครั้งแรกในส่วนของสถานีห้าแยกลาดพร้าวเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และเปิดต่อไปยังสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 และไปจนถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 16 ธันวาคม 2563

ในช่วงแรกเป็นการทดลองเดินรถและยังไม่ได้จัดเก็บค่าโดยสาร โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการ และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ให้บริการเดินรถ มีระยะทางรวม 19 กิโลเมตร เป็นรูปแบบยกระดับทั้งหมด เชื่อมต่อกับ BTS สายสีเขียวที่สถานีหมอชิต มี 16 สถานี

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 ครม.มีมติเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (ไม่รวมอาคารจอดแล้วจร) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมถึงเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มอบหมายงานให้กรุงเทพธนาคมเป็นผู้บริหารและจัดการการเดินรถ โดยกรุงเทพธนาคมได้ว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ให้บริการเดินรถ ทำให้ยังไม่มีการจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนนี้

2. รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงกรุงธนบุรี – คลองสาน เริ่มทดลองเดินรถในปี 2563 และเปิดให้บริการจริงในปี 2564 มีกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของและ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ให้บริการเดินรถ ในระยะที่ 1 มีระยะทางรวม 1.74 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร (เชื่อม ICONSIAM), สถานีคลองสาน

ส่วนระยะที่ 2 มีระยะทาง 0.88 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1 สถานี คือ สถานีประชาธิปก ปัจจุบันทางกลุ่มสยามพิวรรธน์ เจ้าของศูนย์การค้าไอคอนสยาม ยังไม่ได้สนับสนุนงบลงทุนดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 2 คาดว่าติดปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มากลดลงอยู่ที่ 846-1,547 เที่ยว-คนต่อวัน ทำให้ไม่ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อลงทุนโครงการฯ ระยะที่ 2

3. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง เปิดให้บริการเมื่อปี ปี 2547 ซึ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ดูแล มีระยะทางตลอดสายประมาณ 21 กิโลเมตร สำหรับจำนวนสถานี แบ่งเป็น สถานีใต้ดิน 18 สถานี และยกระดับอีก 1 สถานี

4. รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เตาปูน - คลองบางไผ่ รถไฟฟ้าช่วงดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายจาก MRT สีน้ำเงิน ซึ่งรถไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากวิ่งใต้ดินขึ้นมาวิ่งบนดินที่สถานี บางซื่อ ไปยังสถานีสถานีเตาปูน เปิดให้บริการ เมื่อปี 2559 โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มีระยะทางรวม 23 กิโลเมตร มีจำนวน 16 สถานี

5. รถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศตัวผู้ชนะการประมูล มีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BEM เป็นผู้รับสัมปทานตลอดเส้นทางทั้งด้านตะวันตกและด้านตะวันออกของโครงการฯ โดยจะอยู่ภายใต้การร่วมลงทุนกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก – ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.เส้นทางตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี โดยจะเป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด ปัจจุบัน BEM เตรียมลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างงานโยธาและการจัดหาระบบรถไฟฟ้า คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2570

2.เส้นทางตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2568

6. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท - สุวรรณภูมิ เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2553 เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมี บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือชื่อเดิมบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เป็นผู้ให้บริการการเดินรถ โดยสัญญาสัมปทานโครงการจะหมดในปี 2612 โดยเป็นรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟเชื่อม3สนามบิน

สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 20 เมตร ตลอดทั้งโครงการ ยกเว้นช่วงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะลดลงเป็นระดับดินหลังข้ามถนนสุวรรณภูมิ 2 แล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน ระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร มีทั้งหมด 8 สถานี

7. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (รถไฟฟ้าสายชานเมือง) ช่วงสถานีกลางบางซื่อ – รังสิต เปิดให้บริการเมื่อปี 2564 เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการเดินรถโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในรูปแบบการจ้างเดินรถชั่วคราวจาก เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) ยกระดับ และใต้ดิน ผสมกันตลอดเส้นทาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสาย “ธานีรัถยา” ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 สถานี

8. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (รถไฟฟ้าชานเมือง) ช่วงนครปฐม – บางซื่อ – ฉะเชิงเทรา เปิดให้บริการในปี 2564 เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการเดินรถโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในรูปแบบการจ้างเดินรถชั่วคราว เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม เรียกอีกชื่อว่าสายนครวิถี ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 สถานี และ 1 สถานีร่วม

9. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM เป็นผู้รับสัมปทาน ซึ่งบริษัทร่วมค้าของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์โดยมี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งมีรูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับรางเดี่ยว ระบบโมโนเรลแบบอัตโนมัติไร้คนขับที่ผลิตโดยบอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี โดยจะเปิดให้บริการเดินรถอย่างเต็มรูปแบบในปี 2566

10. รถไฟฟ้า สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งเหนือ ตลอดจนถึงพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการ ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM เป็นผู้รับสัมปทาน ซึ่งบริษัทร่วมค้าของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์โดยมี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยทั้ง 2 สาย ถือเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลแห่งแรกในไทย

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี มีโครงสร้างสถานีเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ซึ่งมีรูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับรางเดี่ยว ระบบโมโนเรลแบบอัตโนมัติไร้คนขับที่ผลิตโดยบอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตลอดสายครบทุกสถานีประมาณเดือน ก.ค.2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 9:02 am    Post subject: Reply with quote

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Accelerating Thailand (เร่งเครื่องประเทศไทย)”
Oct 27, 2022
ไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Accelerating Thailand (เร่งเครื่องประเทศไทย)” ณ ห้อง A1 บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2565


https://www.youtube.com/watch?v=qlK2qkZcsQQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 9:03 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เร่งพัฒนาระบบราง กทม. - ปริมณฑล เทียบกรุงโตเกียว และกรุงลอนดอน
Oct 27, 2022
CH7HD News


https://www.youtube.com/watch?v=pKW4G98sp8U

ข่าวภาคค่ำ - นายกรัฐมนตรี ยืนยัน เร่งพัฒนาระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทียบเท่าเมืองหลวงของกรุงโตเกียว และ กรุงลอนดอน และด้วยบุคลิกการทำงานเพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลปนความแข็งกร้าวนี้ ทำให้เสียเพื่อนที่ตัวเองก็ยอมแลก

นายกรัฐมนตรี เร่งพัฒนาระบบราง กทม. - ปริมณฑล เทียบเท่ากรุงโตเกียว
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวในระหว่างปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Accelerating Thailand เร่งเครื่องประเทศไทย” ถึงการทำงานพัฒนาระบบการขนส่งในประเทศที่พยายามผลักดันโครงการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์ เช่น โครงการระบบราง ที่เชื่อว่า จะทำให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระบบเหมือนกันกับกรุงโตเกียวและลอนดอน

นายกรัฐมนตรี ยอมรับเสียเพื่อนจากบุคลิกการทำงาน
นายกรัฐมนตรี ยอมรับ การทำงานบางครั้งหลายคนอาจอึดอัดใจ แต่ก็เป็นวิธีการบริหาร ที่เชื่อว่า สังคมจะเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าหลายครั้งอาจจะไม่ได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ จึงต้องเรียงลำดับความสำคัญ และบางครั้งทำให้ต้องเสียเพื่อน

นายกรัฐมนตรี กำชับดูแลผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุมเอเปก
และในช่วงบ่าย ได้เดินทางเป็นประธานประชุมคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ ได้สั่งการให้เข้มงวด มาตรการแก้ปัญหายาเสพติด อาวุธปืน พร้อมทั้งช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการดูแลรักษาความปลอดภัย คณะผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุมเอเปก ในเดือนพฤศจิกายนนี้

นายกรัฐมนตรี วางศิลาฤกษ์ สะพานมิตรภาพ ไทย-สปป.ลาว จ.บึงกาฬ
และพรุ่งนี้ จะเป็นประธานร่วมกับ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในพิธีวางศิลาฤกษ์ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ - บอลิคำไซ ซึ่งสะพานแห่งนี้ จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการคมนาคมขนส่งระหว่างไทยกับ สปป.ลาว และส่งเสริมความเชื่อมโยง ในอนุภูมิภาคระหว่าง ไทย - ลาว - เวียดนาม บนเส้นทางหมายเลข 8 R8 เชื่อมต่อกับมณฑลกว่างสีของจีนได้สะดวกยิ่งขึ้น คาดว่า สะพานแห่งนี้จะสร้างเสร็จในเดือนเมษายน 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 9:05 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เร่งเครื่องประเทศไทยสู่ความรุ่งเรือง ข่าวค่ำ วันที่ 27 ตุลาคม 2565 #NBT2HD
Oct 27, 2022
NewsNBT THAILAND

นายกรัฐมนตรี ชูวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศผ่านกลยุทธ์ 3 แกนสำคัญ ขอเวลาไม่เกิน 12 เดือน นำประเทศสู่ยุคเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง


https://www.youtube.com/watch?v=US_PltoLnBA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2022 6:45 am    Post subject: Reply with quote

"รถไฟฟ้าสายสีแดง" มธ.รังสิต - ศาลายา
PPTV HD 36
Nov 4, 2022
มาแน่! แต่รออีก 5 ปี "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ถึง ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต - ศาลายา


https://www.youtube.com/watch?v=iqK3Bvktt98

เลิกทั้งหมดรถไฟฟ้า5จังหวัด
Source - เดลินิวส์
Tuesday, November 01, 2022 04:47

รื้อศึกษารื้อศึกษาเปลืองงบ

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมาย รฟม. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาฯ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายสาโรจน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการซึ่งแต่เดิมเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) พบว่า มูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M) ประกอบกับกระทรวงคมนาคมมี นโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้า ล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมาย ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่เป็นไปได้มากที่สุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้านนายวุฒิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การทบทวนครั้งนี้เป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเบื้องต้นในส่วนที่จำเป็น อาทิ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร, แผนการเดินรถเบื้องต้น, รูปแบบแนวเส้นทางโครงการ, ประมาณการวงเงินลงทุน, รายได้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ในส่วนของแนวเส้นทางโครงการเพื่อลดต้นทุนได้ปรับรูปแบบจากเดิมผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน (จากแยกกองกำลังผาเมืองถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่) ระยะทาง 15.7 กม.16 สถานี เป็นระดับดินตลอดเส้นทาง 16.7 กม. 16 สถานี

เดิมเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ประเภท Tram วิ่งบนราง การทบทวนครั้งนี้มีรูปแบบที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) พบว่ารถไฟฟ้าล้อยางระดับดินตลอดแนวเส้นทางเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่น ๆ

นายวุฒิชัย กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าล้อยางระดับดินมีวงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท รถไฟฟ้าล้อเหล็กทั้งระดับดินและใต้ดินวงเงิน 26,595 ล้านบาท คาดว่าจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานอีไอเอและรายงาน PPP แล้วเสร็จเดือน ธ.ค. 65 พิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถเดือน ม.ค.66-ม.ค. 67 เสนอ ครม. อนุมัติ ม.ค. 67 คัดเลือกเอกชน PPP ส.ค. 67-ส.ค. 68 เริ่มงานก่อสร้าง ก.ย. 68 และเปิดบริการเดือน ธ.ค. 71

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ไม่นานผลการศึกษาของรฟม.ระบุถึงการไม่คุ้มทุนของโครงการแทรมนครราชสีมา (โคราช) เสนอเปลี่ยนเป็น BRT ขณะที่แทรมภูเก็ตให้เปลี่ยนเป็น ART (รถเมล์ไฟฟ้าล้อยาง) เช่นกัน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ส่วนแทรมขอนแก่นและโมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา ครม. มอบท้องถิ่นดำเนินการ แต่ทั้ง 2 จังหวัดยัง ไม่มีเงินลงทุน มีแนวโน้มที่จะสรุปได้ว่าต้องล้มโครงการรถไฟฟ้าใน 5 จังหวัดไปก่อน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2565 (กรอบบ่าย)

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 13:28 น.
ลาก่อน!!! ความฝันรถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ล้มทั้งหมด
*ยกเลิก “แทรมเชียงใหม่”เปลี่ยนเหล็กเป็นล้อยาง
*รฟม.รื้อศึกษารื้อศึกษาสนองนโยบาย”ศักดิ์สยาม”
*ปรับเส้นทาง ”อุโมงค์เป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย”
*เหตุผลหลักลดต้นทุนเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669157191328185


“ศักดิ์สยาม” เช็กความพร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้า “ชมพู-เหลือง”
เดลินิวส์ 3 พฤศจิกายน 2565 18:28 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“ศักดิ์สยาม” เช็กความพร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชมพู-เหลือง ลุยประเมินงานโยธา ออกหนังสือรับรองความปลอดภัย สั่งทดลองเดินรถเสมือนจริงแบบไม่เก็บค่าโดยสาร ถกระบบฟีดเดอร์ รถเมล์เชื่อมเหลือง 81 เส้นทาง ชมพู 82 เส้นทาง เตรียมขอพระราชทานนาม พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ประดิษฐานสถานีรถไฟฟ้า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการ โดยปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) มีความคืบหน้าการก่อสร้าง 96.79% ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 29 ขบวน จากทั้งหมด 30 ขบวน ส่วนสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) มีความคืบหน้า 92.28% ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 34 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน โดยทั้งสองเส้นทางมีแผนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 66

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างจัดทำ Proof of Safety เพื่อตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธาและงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการ ก่อนที่วิศวกรอิสระ (ICE) จะออกหนังสือรับรองความปลอดภัย เพื่อเปิดให้บริการให้แก่ประชาชนต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการรื้อย้ายสาธารณูปโภคซึ่งมีงานทับซ้อนกัน ณ ตำแหน่งทางขึ้นลงของสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (สถานี PK11-PK13) ประกอบด้วย การรื้อย้าย Duct Bank และแนวสายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการก่อสร้างทางระบายน้ำ (Flood Way) ของกรมทางหลวง (ทล.) ซึ่งตามแผนงานจะรื้อย้ายแล้วเสร็จประมาณเดือน มี.ค. 66

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้หารือถึงแนวทางการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู กับระบบขนส่งอื่น เช่น การก่อสร้าง Skywalk เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีหัวหมาก กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก ตลอดจนได้หารือแนวทางการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยก่อนการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 59 เส้นทาง ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 81 เส้นทาง และสายสีชมพูเดิมมีรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อ 50 เส้นทาง ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 82 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกการเชื่อมต่อการเดินทางให้แก่ประชาชน

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้สั่งการให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ดำเนินการดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการด้านการเดินรถ การเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง และการประเมินคุณภาพ 1.1 ให้คณะอนุกรรมการฯ ประสานผู้รับสัมปทานก่อสร้างเพื่อกำกับและติดตามการดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด และการจัดการจราจรให้มีผลกระทบต่อการเดินทางประชาชนน้อยที่สุด เช่น การคืนพื้นที่ผิวจราจรจากการก่อสร้าง 1.2 ให้มีการทดลองเดินรถเสมือนจริงโดยไม่เก็บค่าโดยสาร โดยศึกษารูปแบบจากรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

1.3 ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสาย และการเดินทางสาธารณะรูปแบบอื่น ให้มีความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ เช่น ทางเดินที่มีหลังคา, 2. คณะอนุกรรมการด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร ให้คณะอนุกรรมการพิจารณารูปแบบการคิดคำนวณค่าโดยสารโดยเปรียบเทียบกับวิธีการของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และการใช้บัตรโดยสารร่วม และประสานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ เพื่อเร่งประชาสัมพันธ์บัตรโดยสารแก่ประชาชน,

3.คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ ให้ประสานข้อมูลจากคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในทุกช่องทาง เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการ
เช่น การ Count down วันเปิดให้บริการ แนวทางการเชื่อมต่อขนส่งมวลชนระบบอื่น ๆ การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และ 4.คณะอนุกรรมการด้านการเตรียมการขอพระราชทานนามแนวเส้นทางโครงการ ให้ดำเนินการขอพระราชทานนามสำหรับทั้ง 2 โครงการ และพิจารณาขอพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์สำหรับประดิษฐานบริเวณอาคาร หรือสถานีของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยปฏิบัติตามขั้นตอน และระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเตรียมความพร้อมในการติดตั้งป้ายชื่อสถานีเมื่อได้รับพระราชทานชื่อแนวเส้นทาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ให้สัมภาษณ์ว่า เบื้องต้นในเดือน ธ.ค. 65 มีแผนเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู อย่างไม่เป็นทางการ ในลักษณะเดียวกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่ช่วงแรกจะเปิดให้ทดลองใช้บริการเป็นกรุ๊ปก่อน ซึ่งสถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ สามารถติดต่อขอทดลองใช้บริการได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ ก่อนเปิดบริการเดินรถบางส่วน (Partial) แบบเก็บค่าโดยสารประมาณเดือน ก.พ. 66

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
3 พ.ย. 65 17:21 น.
ขอพระราชทานชื่อ”โมโนเรล2สายแรกชมพู&เหลือง”
*ศักดิ์สยาม”เช็กความพร้อมออกหนังสือรับรอง
*ให้ประชาชนได้ทดลองบริการฟรีเดือนธ.ค.นี้
*มีรถเมล์เชื่อมสายสีเหลือง81เส้นทางชมพู82
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/671303864446851
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2022 11:40 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”พร้อมรับโอนรถไฟฟ้าสีเขียวถูกกฎหมาย
*สงวนท่าที”สร้างสีเทา-เงิน”แทนกทม.รอครม.มอบ
*สายสีส้มช้าประชาชนเสียโอกาสได้นั่งรถไฟฟ้าช้า
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/671275821116322
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2022 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า ประจำเดือนตุลาคม 2565

🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 98.31%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 97.36% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.38% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.37%
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 93.29% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 92.66% ความก้าวหน้าโดยรวม 92.98%
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 8.08% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 3.62% ความก้าวหน้าโดยรวม 6.59%
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 3.75% *ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจโบราณคดีและสาธารณูปโภค

Click on the image for full size

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/674631097447461
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/440437574941141
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 254, 255, 256 ... 277, 278, 279  Next
Page 255 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©