RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311281
ทั่วไป:13263059
ทั้งหมด:13574340
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 256, 257, 258 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2022 6:38 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ทบทวนรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, November 17, 2022 05:03

รื้อแบบ "ภูเก็ต" โละ "แทรม" ล้อเหล็กเซฟค่าลงทุน ชูโมเดล ART หรือ E-BRT ชง "คมนาคม" ชี้ชะตา

แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Trams) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักที่มีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยว หนาแน่น ทำให้มีปัญหาจราจรติดขัด รถไฟฟ้าจึงเป็นขนส่งสาธารณะแห่งความหวังที่จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น เหมือนในกรุงเทพฯ แต่นับจากปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษา "รถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค" ต้องหยุดชะงัก พร้อมกับด้านนโยบายมีแนวคิดปรับรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าลงทุนและหวังให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด...

จุดเปลี่ยน! รื้อแบบแปลงร่าง "แทรม" ภูเก็ตจาก "ล้อเหล็ก" เป็น "ล้อยาง"

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรมากว่า 10 ปีแล้ว "แทรมล้อเหล็ก" เป็นระบบขนส่งมวลชนที่คนภูเก็ตให้การสนับสนุน และหวังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งเดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไว้ จากนั้นได้มอบหมายให้ รฟม.รับผิดชอบโครงการโดยดำเนินการ ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยจะดำเนินการระยะที่ 1 ช่วง ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. เริ่มก่อสร้างปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2567

แต่!!!แผนต้องมาสะดุด และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโครงการเมื่อ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษาปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง ซึ่งกระทรวงคมนาคม รายงานว่า ยังมีเทคโนโลยีอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแทรมล้อเหล็ก เช่น ระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) หรือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)โดยใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นต้น

"ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนในพื้นที่ ที่ยังต้องการ แทรมป์ล้อเหล็ก และเกรงว่าโครงการจะยิ่งล่าช้าออกไป"
รฟม.ควักงบ 55 ล้านบาท จ้างรีวิว-ปรับแบบ ชี้ชะตา "ระบบขนส่งภูเก็ต" อีกรอบ

"ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า รฟม.ตั้งงบประมาณ 55.8 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย

โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้าง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นที่ปรึกษาวงเงิน 55 ล้านบาท เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study Review) โดยเปรียบเทียบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่ เหมาะสม คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร เทคนิค ราคา สิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน แผนการเดินรถ ฯลฯใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน

"ศักดิ์สยาม" ให้โจทย์เพิ่ม ศึกษารูปแบบ EV-BRT เปรียบเทียบต้นทุน

ล่าสุด "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ว่า รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและปรับลดวงเงินการลงทุนให้ได้มากที่สุด และทำให้โครงการเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาเดิมจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก หรือ แทรม ต่อมาปรับเป็นระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) ปัจจุบันตนได้มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษารูปแบบที่ 3 เพิ่มเติม คือระบบรถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ EV-BRT เปรียบเทียบด้วย ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ทั้งนี้หากเป็นรถเมล์ไฟฟ้า รูปแบบการให้บริการจะเป็นการจัดช่องทางเดินรถเฉพาะ บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) โดยมีรั้วหรือแบริเออร์กั้นช่องจราจรจากรถยนต์อื่นๆ รวมถึงมีระบบเครื่องกั้นอัตโนมัติในการบริหารความปลอดภัย โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบดังกล่าว

การลงทุน EV-BRT ไม่สูงมาก ดังนั้นจะส่งผลไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะไม่แพงไปด้วย อีกทั้งยังสามารถ ผลักดันเพื่อเริ่มให้บริการเฟสแรกได้เร็ว โดยเห็นว่าการลงทุน น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับ รถโดยสารใน กทม. ที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถกับกรมการขนส่งทางบก โดยเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) โดยกรมการขนส่งทางบก ให้สัมปทานและกำกับดูแล ส่วนเอกชนจะลงทุนทั้งการจัดหารถการบริหารจัดการ รวมไปถึงควบคุมระบบเครื่องกั้นและสัญญาณจราจร

ขีดเส้น รฟม.สรุป ในพ.ย. เตรียมลง "ภูเก็ต"

ศักดิ์สยามระบุว่า "ขณะนี้รูปแบบยังไม่สรุป ดังนั้นยังเป็นไปได้ทั้งรถ EV-BRT หรือ ระบบ ART ซึ่ง ART ก็เป็นไปได้ทั้งแบบ วิ่งบนถนนโดยแบ่งช่องจราจร และมีการควบคุมจราจร หรือ เป็น ART เต็มรูปแบบ คือมีทางยกระดับหรืออุโมงค์ บริเวณจุดตัด/ทางแยก ตรงนี้ต้องมาดูค่าลงทุนและค่าโดยสารที่เหมาะสมในแต่ละรูปแบบ ซึ่งผมให้เวลาสรุปเรื่องนี้ภายในสิ้นเดือน พ.ย. นี้ เพราะผมต้องการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันเป็นโครงการนำร่อง และจะทำให้ระบบขนส่งมวลชนในอีกหลายจังหวัดใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาได้"

แต่หากจะมีการพัฒนาเป็นระบบ ART เต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องก่อสร้างทางยกระดับหรืออุโมงค์ ในช่วงที่เส้นทางตัดกับถนน เห็นว่าควรให้การพัฒนาโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่- เกาะแก้ว-กระทู้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางเพราะในช่วงที่มีการก่อสร้างจะมีปัญหาจราจรอย่างแน่นอน

"ผลศึกษาระบบ ART แม้ค่าลงทุนจะลดลงจากแทรมล้อเหล็ก แต่ก็ยังมีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะเก็บค่าโดยสาร 50 บาท เปรียบเทียบกับ EV Bus ในกทม. ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท และราคาเหมา 40 บาท นั่งได้ไม่จำกัดตลอดวัน ผมเห็นว่า ที่ภูเก็ตหากสามารถปรับเป็น EV Bus ได้ก็น่าจะเหมาะสม"
ตามผลศึกษา รฟม.ก่อนหน้านี้ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองระยะทาง 42 กม. เปรียบเทียบกรอบวงเงินลงทุนของ 3 รูปแบบได้แก่

1. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อเหล็ก วงเงินรวม 35,201 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น2,921 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่า ที่ปรึกษา 1,065 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,428 ล้านบาท คาดจำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คนต่อวัน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุน EIRR ต่ำมาก

2. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อยาง วงเงินรวม 33,600 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 22,339 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 3,955 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 990 ล้านบาทค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,363 ล้านบาท

3. รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะ (ART) วงเงินรวม 17,754 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,447 ล้านบาท ค่างานโยธา 10,861 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,000 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น1,236 ล้านบาท (มี 44 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 518 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 692 ล้านบาท

เชียงใหม่ สายสีแดง ศึกษาใหม่ พบรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งระดับดินคุ้มค่า

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. และ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กม. อยู่ระหว่างที่ปรึกษาศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานและทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการสรุปผลการศึกษา รายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมภายปลายปี 2565

สำหรับรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษาประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยาง

การศึกษา 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3. ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

เปรียบเทียบด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณ ผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

พบว่ารูปแบบที่ 3 ระบบรถไฟฟ้าล้อยางที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากลดต้นทุนโครงการ ลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน และผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน

โคราช สายสีเขียวฯ เหมาะกับรูปแบบ E-BRT หรือ รถโดยสารไฟฟ้า

สำหรับจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ การศึกษาเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1. Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) 2. Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3. E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบ ในมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความ เหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและในระยะดำเนินการ พบว่าระบบ E-BRT เหมาะสมที่สุด รองลงมาคือระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ

ขณะที่อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 10 บาท และคิดอัตราตามจำนวนสถานีแบบขั้นบันได สถานที่ 1-8 (14 บาท) สถานีที่ 9-16 (18 บาท ), มากกว่า 18 สถานี (22 บาท)

"พิษณุโลก" ครม.เห็นชอบเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ยังนิ่งสนิท

ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดพิษณุโลก นั้นหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ซึ่งตามผลศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่สนข.ทำไว้ ระยะที่ 1 สายสีแดง (ม.พิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) ระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานีโดยเป็นระบบขนส่งรูปแบบ "รถรางล้อยาง" หรือ Auto Tram

ลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ3,440 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 13.01%

แผนเดิม จะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2574

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหลักในภูมิภาค เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาจราจร สร้างงาน สร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แต่เพราะรถไฟฟ้าลงทุนสูง มีผลตอบแทนต่ำ เอกชนอาจไม่สนใจลงทุน ท้ายสุดรัฐบาลต้องเข้าไปอุดหนุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมไปถึงต้องมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มทั้งผลตอบแทนการลงทุนและปริมาณ ผู้โดยสารได้อีกทาง...แต่โจทย์ใหญ่ของ รฟม.ตอนนี้ คือต้องหาโมเดลระบบเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสม ตามนโยบาย "รมว.คมนาคม" ให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นคงต้องเสียเวลา...รื้อ รีวิว ทบทวนการศึกษากันอีก!!!.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2022 7:21 am    Post subject: Reply with quote

อัปเดตข่าว โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพ 8 สาย หลากสี ปลายปี 2565
KritInfra
Nov 13, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=nHAOrltHlEM



อัพเดทรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม)
JB Railfan
Nov 16, 2022

อัพเดทโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) โดยโครงการนี้จะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือ ppp ตอนนี้โครงการอยู่ในขั้นตอนการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อจะประกอบการพิจารณาจะทำรายงาน ppp ให้สอดคล้องกับความคิดเห็นที่ได้รับ โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล โครงการนี้จะยกระดับตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวม 22.1 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 20 สถานี มีวงเงินลงทุน 49,865 ล้านบาท เบื้องต้นทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติในเดือนธันวาคม 2566 คัดเลือกเอกชนช่วงมกราคม 2567 ก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2568 เปิดบริการเดือนสิงหาคม 2571


https://www.youtube.com/watch?v=H6J8-JvzRDw


PPP4.9หมื่นล. รถไฟสีน้ำตาล เคาะปลายปี66
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, November 18, 2022 05:19

PPP4.9หมื่นล.รถไฟสีน้ำตาลเคาะปลายปี66

วานนี้ (17 พ.ย.) รายงานข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.65 เว็บไซต์ รฟม.ได้ประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยรับฟังความเห็นตั้งแต่วันที่ 8-22 พ.ย.65 และผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ brownline@mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 23-25 พ.ย.65

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีระยะทางรวม 22.1 กม. มีสถานีทั้งสิ้น 20 สถานี เป็นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ยกระดับตลอดเส้นทางตลอดเส้นทางจะเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู บริเวณแยกแคราย ไปตามแนว ถ.งามวงศ์วาน จนถึงแยกบางเขน เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วข้าม ถ.วิภาวดีรังสิต โดยลอดใต้รถไฟฟ้าสายสีแดง และทางยกระดับอุตราภิมุขจนถึงแยกเกษตรเพื่อยกข้ามรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ต่อเนื่องไปตามแนว ถ.ประเสริฐมนูกิจ ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเทาที่แยกฉลองรัช ไปจนถึงแยกนวมินทร์ แล้วจึงเลี้ยวลงไปทางทิศใต้ตามแนว ถ.นวมินทร์จนถึงแยกสวนสน ที่จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสายสีเหลืองได้ โดยในช่วง ถ.ประเสริฐมนูกิจ จะมีการใช้พื้นที่เกาะกลางร่วมกันระหว่างระบบทางพิเศษที่จะก่อสร้างโดยใช้เสาตอม่อเดิม

โดยมีมูลค่าลงทุน 49,865 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท, ค่างานก่อสร้าง 18,544 ล้านบาท, ค่างานระบบ16,351 ล้านบาท, ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,396 ล้านบาท และค่า Provisional Sum 6,320 ล้านบาท ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) 20.82%, NPV 50,656.69 ล้านบาท และ B/C Ratio 2.45 เท่า

ทั้งนี้ รฟม.จะดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและก่อสร้างงานโยธา ส่วนเอกชนผู้ร่วมลงทุนดำเนินการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้าการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา รวมไปถึงระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาโครงการ 30 ปี

ซึ่งตามแผนการดำเนินงานที่คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 21 เม.ย.65 คาดว่าจะสรุปรูปแบบการลงทุนโครงการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือน ธ.ค.66 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการสำรวจอสังหาริมทรัพย์/จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ช่วงเดือน ม.ค.68 -ก.พ.71, คัดเลือกเอกชน (PPP) เดือน ม.ค.67-ก.ค.68, ก่อสร้าง ผลิต ติดตั้ง และทดลองเดินรถ ประมาณเดือน ส.ค.68-ก.ค.71 (ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ) และเปิดให้บริการในเดือน ส.ค.71.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 18 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2022 2:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.ทบทวนรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, November 17, 2022 05:03

รื้อแบบ "ภูเก็ต" โละ "แทรม" ล้อเหล็กเซฟค่าลงทุน ชูโมเดล ART หรือ E-BRT ชง "คมนาคม" ชี้ชะตา


ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 พ.ย. 2565


ลิงก์มาแล้วครับ


รฟม.รื้อ 4 โปรเจกต์รถไฟฟ้าภูมิภาค โละ 'แทรม' ล้อเหล็ก เซฟค่าลงทุน ชู ART หรือ E-BRT ชง 'คมนาคม' ชี้ชะตา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 17 พ.ย. 2565 06:58
ปรับปรุง: 17 พ.ย. 2565 06:58
https://mgronline.com/business/detail/9650000109665
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2022 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:



PPP4.9หมื่นล. รถไฟสีน้ำตาล เคาะปลายปี66
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, November 18, 2022 05:19

PPP4.9หมื่นล.รถไฟสีน้ำตาลเคาะปลายปี66


ลิงก์มาแล้วครับ

รฟม.เดินหน้า PPP รถไฟฟ้า "สีน้ำตาล" 4.98 หมื่นล้านบาท ฟังความเห็นเอกชน คาดชง ครม.เคาะลงทุนปลายปี 66
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 พ.ย. 2565 08:42 ปรับปรุง: 18 พ.ย. 2565 08:42

รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้า "สีน้ำตาล" 4.98 หมื่นล้านบาท เปิดฟังความคิดเห็นเอกชนประกอบรายงาน PPP ตั้งเป้าสรุปรูปแบบเสนอ ครม.อนุมัติ ธ.ค. 66 ประมูลต้นปี 67 สร้าง 4 ปี เปิดบริการ ส.ค. 71 คาดผู้โดยสารกว่า 1.1 แสนคน-เที่ยว/วัน ค่าโดยสาร 14-42 บาท สัมปทาน 30 ปี
https://mgronline.com/business/detail/9650000110061
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2022 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดกล่องของขวัญปีใหม่”คมนาคม66”ไม่เซอร์ไพร้ส์
*วิ่งฟรีหยุดยาวทางด่วน-มอเตอร์เวย์เหมือนทุกปี
*บริการรถเมล์อีวี1,250 คัน (เอกชนไม่ใช่ขสมก.)
*ได้นั่งแน่โมโรเรล2สายแรก”ชมพู&เหลือง”ต้นปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/683935793183658
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2022 7:29 am    Post subject: Reply with quote

"เดอะมอลล์"ทุ่ม4หมื่นล.ปีหน้า รีโนเวตใหญ่-เร่งสร้างเอ็มสเฟียร์
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Wednesday, November 23, 2022 05:29

ผู้จัดการรายวัน360 - เดอะมอลล์กรุ๊ป ลุยหนักปีหน้า ทุ่มงบก้อนโต 4 หมื่นล้านบาท รีโนเวตใหญ่บางกะปิกับบางแค สู่ไลฟ์สโตร์ พร้อมสร้างต่อเนื่องดิเอ็มสเฟียร์ และปรับใหญ่สยามพารากอน

นางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ในปีหน้า (2566) เดอะมอลล์มีแผนที่จะใช้งบประมาณมากกว่า 40,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการใช้งบที่มากอีกปีหนึ่งในการพัฒนาโครงการเก่าด้วยการรีโนเวตและการสร้างโครงการใหม่ต่อเนื่อง

โดยงบ 20,000 ล้านบาท จะใช้ในการรีโนเวตครั้งใหญ่เป็นโฉมใหม่ทั้ง 2 สาขาคือ เดอะมอลล์บางกะปิ และเดอะมอลล์บางแค ให้เป็นเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์เช่นเดียวกับที่เปิดไปแล้วที่เดอะมอลล์งามวงศ์วาน ส่วนงบอีก 15,000 ล้านบาท จะใช้ในการสร้างต่อกับโครงการดิเอ็มสเฟียร์ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2566 และที่เหลืออีก 5,000 ล้านบาทจะใช้ในการรีโนเวตครั้งใหญ่กับสยาม พารากอน ซึ่งคาดว่าจะปรับต่อเนื่องแล้วเสร็จงปลายปี 2567

สำหรับการรีโนเวตสาขาบางกะปินั้น บริษัทฯยังมีแผนที่จะพัฒนาย่านนั้นให้เป็นย่านการค้าแห่งใหม่ที่สมบูรณ์แบบทั้งศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โดยจะเจรจากับทางแม็คโครซึ่งเป็นของกลุ่มซีพี และ ตะวันนา ที่เป็นของกลุ่มไทยเบฟ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาและเชื่อมโยงพื้นที่เข้าด้วยกัน

ส่วนเดอะมอลล์บางแคนั้น นอกจากรีโนเวตใหญ่แล้ว บริษัทฯยังมีที่ดินเหลืออีกประมาณ 5-6ไร่ จะขยายที่จอดรถเพิ่ม และมีโครงการจะสร้างที่อยู่อาศัยด้วยคาดว่าหากโครงการทั้ง 2 แล้วเสร็จ จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 30%

"ตามแผนยุทธศาสตร์โรดแมปของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาย่านธุรกิจการค้าและย่านที่พักอาศัยที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ตอบรับกับแผนการพัฒนาสร้างความเจริญของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะแผนการสร้างระบบรถไฟฟ้า

ขนส่งมวลชนและเส้นทางคมนาคม โดยศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเดอะมอลล์ทุกสาขาตั้งอยู่ใน Key Strategic Location ทำเลทองที่มีศักยภาพสูงและเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทางคมนาคมหลักของกรุงเทพมหานคร และจากความสำเร็จในการพลิกโฉมของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วานและท่าพระ บริษัทได้เร่งเดินหน้าปรับโฉมภาพลักษณ์ใหม่ อีกของ 2 สาขาที่สำคัญ คือ "เดอะมอลล์ บางกะปิ" และ "เดอะมอลล์ บางแค" สู่ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ" และ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค" นางสาวศุภลักษณ์ กล่าว

โดยทั้ง 2 สาขา จะเป็นแฟลกชิปสโตร์ ของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ที่สมบูรณ์แบบและยิ่งใหญ่ที่สุด ย่านบางกะปิ และย่านบางแค ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพการเติบโตดีที่สุดของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ทุกกลุ่ม ภายใต้คอนเซ็ปต์ "A Happy Place To Live Life : ชีวิตที่มีความสุขทุกครอบครัว" ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์หลักของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ รีเทลมิติใหม่ 2 ย่าน 2 มุมเมือง ที่ร่วมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนขยายการเติบโตและความเจริญของกรุงเทพมหานคร ดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนไทยและต่างชาติ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง ทำย่านการค้าให้เป็น Urban Life ที่มีความสุข ตอบสนองทุกความต้องการของทุก เจเนอเรชัน

ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ บนถนนลาดพร้าว-บางกะปิ แยกบางกะปิ และลำสาลี โดยสถานีลำสาลีจะเป็นศูนย์รวมการเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าหลัก 3 สาย คือ โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ) ซึ่งจะเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2566 และอีก 2 สายคือ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและ สีส้ม

สำหรับศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแค ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม-กาญจนาภิเษก โดยมีสถานีหลักสอง โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเครือข่ายคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันตก

นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวว่า โครงการ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ" และ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค" ตั้งอยู่บนยุทธศาสตร์ทำเลที่มีศักยภาพการเติบโตที่สำคัญ เป็นศูนย์การค้าครบวงจร MEGA ALL-IN-ONE RETAIL & ENTERTAINMENT PROJECT บนพื้นที่ทั้ง 2 ศูนย์การค้ารวมกว่า 700,000 ตารางเมตร (บางกะปิ 350,000 ตารางเมตร, บางแค 350,000 ตารางเมตร) ที่จะสร้างปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศูนย์การค้าที่ยิ่งใหญ่ ครบวงจร เพียบพร้อมและสมบูรณ์แบบ ภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะสร้างความโดดเด่น ภายใต้ 3 องค์ประกอบหลัก

1. URBAN ได้ยกระดับความครบครันทันสมัย เสมือนยกห้างพารากอนมาไว้ที่นี่ ด้วยปรับโฉมใหม่ทุกพื้นที่ ทุกมิติ มี Platform เชื่อมตรงจากสถานีรถไฟฟ้า MRT เข้าสู่ตัวตึกทั้ง 2 สาขา ในส่วนห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าจะถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกันแบบลงตัวไร้รอยต่อ เป็น Seamless Shopping Experience

2. LIFE ได้รวบรวมรูปแบบของความสุขในการใช้ชีวิตที่หลากหลาย แบรนด์ใหม่ๆ มีเพิ่มขึ้น รวมถึง Concept ใหม่ๆ ของแต่ละร้านค้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลาย อีกทั้งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ มอบความสุข ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ และ บางแค จะเป็นแฟลกชิปสโตร์ของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ทุกสาขา ที่สมบูรณ์แบบและยิ่งใหญ่ที่สุด"

3. NATURE มีการออกแบบ ด้วยการรังสรรค์สุนทรียภาพแห่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้งดงาม เปรียบเสมือนเป็นบ้านที่ 2 เพื่อการพักผ่อนและสันทนาการ

นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด กล่าวว่า ปัจจุบัน พื้นที่รอบ 10 กิโลเมตรของ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ" มีประชากรกว่า 2 ล้านคน และมีประชากรดิจิทัลสูงถึง 5 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่พัก คอนโดมิเนียม มากกว่า 1.2 ล้านยูนิต ส่วน "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค"

มีประชากรกว่า 1.5 ล้านคน และมีประชากรดิจิทัล 3.5 ล้านคน มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่พัก คอนโดมิเนียม มากกว่า 700,000 ยูนิต ถือเป็นหนึ่งในทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดของฝั่งธนฯ โดยคาดว่าหากโครงการทั้ง 2 แล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มทราฟฟิกให้กับศูนย์การค้ามากกว่า 30%".


ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 23 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2022 10:28 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เปิดแผนพัฒนาระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้า-สนามบิน ผุด 8 สถานีต้นแบบเข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:21 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:21 น.

สนข.เปิดแผนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรถไฟฟ้า 14 สาย 212 สถานี งบกว่า 4,373 ล้านบาท แบ่ง 4 ระยะ (ปี 66-80) ผุดนำร่องเร่งด่วน 8 สถานี ชูสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 3 สาย “สีม่วง ชมพู น้ำตาล” ฮับต้นแบบ เชื่อมต่อเดินทางรถไฟฟ้าและสนามบินไร้รอยต่อ

วันที่ (22 พ.ย. 65) นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร (กพข.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการประชุมกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group) ครั้งที่ 2 ภายใต้การศึกษาโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยที่ปรึกษาได้นำเสนอสรุปแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) สนามบิน และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น โดยมีคณะผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา

นายเริงศักดิ์ ทองสม กล่าวว่า การศึกษาพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อมุ่งเน้นปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ตลอดจนแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ Feeder เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าและสนามบินอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยระบบรถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑล จำนวน 14 สาย มี 381 สถานี เปิดให้บริการแล้วและกำลังก่อสร้าง จำนวน 212 สถานี (เปิดให้บริการแล้ว 140 สถานี กำลังก่อสร้าง 72 สถานี) นำมาวิเคราะห์ความสมบูรณ์และความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง โดยพบว่ามีโครงการย่อยจำนวนถึง 20 โครงการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2580

แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน จำนวน 35 สถานี ระยะสั้น จำนวน 54 สถานี ระยะกลาง จำนวน 84 สถานี และระยะยาว จำนวน 39 สถานี คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 4,373 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ยังได้เสนอแผนปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าอีกจำนวน 81 เส้นทาง โดยเป็นระบบบริการแบบประจำเส้นทาง (Fixed Route) จำนวน 36 เส้นทาง และเป็นแบบแล้วแต่เรียก หรือ On Demand จำนวน 45 เส้นทาง โดยระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้จะปรับปรุงให้เป็นระบบ EV ทั้งหมด


สำหรับโครงการนำร่องที่ สนข.เสนอปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณสถานีเพื่อเป็นต้นแบบจำนวน 8 สถานี (Preliminary Design) ได้แก่ 1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 3 สาย (สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีน้ำตาล) เพิ่ม Public Skywalk Bridge และเพิ่มลานกิจกรรมยกระดับ บริเวณรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีน้ำตาลสร้างหลังคาคลุม (Covered walkway) ให้ร่มเงาแก่ผู้เดินเท้า 300 เมตร หน้าอุทยานมกุฎรมยสราญ ทั้งนี้ สนข.อยู่ระหว่างหารือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรื่องจุดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเพื่อวางตำแหน่งสถานีให้สามารถเชื่อมต่อกับสถานีของรถไฟฟ้าสีชมพูได้สะดวกมากที่สุด อีกด้วย

2. สถานีเตาปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน) ปรับปรุงพื้นที่โถงทางเดินบางส่วนให้เป็นจุดจอดรถโดยสาร รถแท็กซี่และพื้นที่พักคอย เพิ่มร่มเงาทางเดินที่ทางลาดบริเวณทางขึ้น-ลงที่ 2 เปลี่ยนตำแหน่งทางม้าลายให้เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทางให้ดูสะอาดและสวยงาม และปรับปรุงทางลาดให้สอดคล้องกับ Universal Design


3. สถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางไปยังสถานีกลางบางซื่อที่มีการเชื่อมต่อการเดินทางของระบบรางที่สำคัญ (สายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน และสาย ARL รวมไปถึงรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต) ปรับปรุงช่องทางจราจรเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงสถานี เพิ่มจุดจอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถแท็กซี่บริเวณริมถนนฝั่งสถานีรถไฟบางซื่อ และพิจารณาเปลี่ยนตำแหน่งของทางม้าลาย เพื่อส่งเสริมให้คนที่มาจากสถานีรถไฟบางซื่อมาใช้ทางลอดใต้ดินที่ทางออกหมายเลข 2

4. สถานีท่าพระ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ปรับเปลี่ยนบริเวณโถงทางออกที่ 1 มาใช้เป็นจุดจอดรับ-ส่งรถโดยสารประจำทางร่วมด้วยปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนบริเวณโถงทางออกที่ 3 (ฝั่งถนนเพชรเกษมขาเข้า กทม.) ให้เป็นจุดจอดรับ-ส่ง และป้ายรถโดยสารประจำทาง ขยายทางเท้าถนนฝั่งถนนเพชรเกษมบริเวณก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์


5. สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับศูนย์การประชุมระดับนานาชาติที่มีผู้สัญจรมากเป็นพิเศษ ปรับปรุงพื้นที่ริมถนนบริเวณทางออกที่ 2 ให้เป็นจุดจอดรถโดยสาร และร่มเงาทางเดินปรับปรุงพื้นที่รถแท็กซี่บริเวณริมถนนฝั่งถนนรัชดาภิเษกขาเข้า กทม.ปรับปรุงพื้นที่ด้านหน้าทางออกที่ 1 ให้เป็นพื้นที่พักคอยผู้โดยสารเชื่อมต่อกับป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง และเพิ่มทางเท้ามีหลังคาคลุมไปยังลิฟต์

6. สถานีบางแค ซึ่งเป็นสถานีสำคัญในย่านกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก ที่มีความต้องการในการเดินทางสูง ปรับปรุงพื้นที่ริมถนนบริเวณทางออกที่ 2 ให้เป็นจุดจอดรถโดยสาร และร่มเงาทางเดินพิจารณาย้ายป้ายรถประจำทางไปอยู่บริเวณก่อนสะพานลอย

7. สถานีศรีรัช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นและมีปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนของการเดินทาง ปรับตำแหน่งที่จอดรถโดยสารประจำทางเพิ่มทางลาดให้สอดคล้องกับ Universal Design

8. สถานีตลิ่งชัน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนกับรถไฟทางไกลสายใต้ ปรับตำแหน่งที่จอดรถโดยสารประจำทางเพิ่มทางลาดให้สอดคล้องกับ Universal Design

โดยหลังสัมมนา ที่ปรึกษาโครงการฯ จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาพิจารณาประกอบการศึกษาในการปรับปรุงการจัดทำแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) รวมทั้งรูปแบบการลงทุน และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และจะได้นำไปจัดทำกรอบแบบรายละเอียด (Definitive Design) ในขั้นต่อไป และสรุปการศึกษาในเดือนก.พ.2566 เพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2022 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประชุมกลุ่มย่อยโครงการศึกษาการเชื่อมโยงการเดินทางเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน l สนข.
Daoreuk Channel
Nov 25, 2022

วีดิทัศน์ประชุมกลุ่มย่อยโครงการศึกษาการเชื่อมโยงการเดินทางเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
โดย สำนักงานนโยบายและเเผน การขนส่งและจราจร (สนข.)


https://www.youtube.com/watch?v=Ia4wyVEQ1XM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2022 8:20 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ตั้งกรอบงบปี 67 กว่า 4.9 หมื่นล้านบาท ลุยสร้าง”สีม่วงใต้”จ่ายคืนโยธา”ชมพู-เหลือง”
เผยแพร่: 2 ธ.ค. 2565 07:12
ปรับปรุง: 2 ธ.ค. 2565 07:12
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บอร์ดรฟม.เห็นชอบตั้งกรอบงบ ปี 2567 กว่า 4.96 หมื่นล้านบาท ลุยเปิดไซด์ก่อสร้าง”สีม่วงใต้”และปิดจ๊อบสีส้มด้านตะวันออก และจ่ายคืนค่าก่อสร้าง”ชมพู ,เหลือง”

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน วันที่ 30 พ.ย. 2565 มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปี 2567 วงเงินรวมทั้งสิ้น 49,628.34 ล้านบาท แบ่งเป็นงบทำการ จำนวน 28,589 ล้านบาท งบลงทุน 21,038 ล้านบาท โดยหลังจากนี้ รฟม.จะเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดส่งรายละเอียด ไปยังสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำกรอบงบประมาณประจำปี 2567 ต่อ ไป

โดยงบลงทุนโครงการสำคัญ ที่ดำเนินการในปี 2567 ได้แก่ การก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 23.6 กม. ประมาณ 16,719 ล้านบาท

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.57 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา ประมาณ 1,307.79 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2566 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งกรอบไว้ประมาณ 2,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ จะมีงบลงทุนสำหรับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง- บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ส่วนของค่าเวนคืน , รถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ จะมีค่าจ้างเดินรถ และวงเงินใช้คืนค่าลงทุนงานระบบบางส่วน

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่- คูคต และสายสีเขียวช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ เป็น ค่าเวนคืนสำหรับความกว้างทางเท้า 1.50 เมตร

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว- สำโรง จะเป็นค่าเวนคืน และ ชำระคืนค่าก่อสร้างตามสัญญาร่วมลงทุน โดยปี 2566 จะเริ่มใช้คืนค่าก่อสร้างสายสีเหลืองงวดแรก ประมาณ 2,500 ล้านบาท ส่วนปี 2567 จะตั้งกรอบสำหรับใช้คืนค่าก่อสร้างสายสีเหลืองวดที่ 2 (ประมาณ 2,500 ล้านบาท) และสายสีชมพู งวดแรก 2,200 ล้านบาท

โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เงินสนับสนุนค่างานโยธาที่รัฐต้องจ่ายตามสัญญาร่วมทุน ที่ 25,050 ล้านบาท แบ่งจ่าย10 ปีเฉลี่ยปีละ 2,500 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีชมพู เงินสนับสนุนค่างานโยธาที่รัฐต้องจ่ายตามสัญญาร่วมทุน ที่ 22,500 ล้านบาท แบ่งจ่าย 10 ปี เฉลี่ยปีละ 2,250 ล้านบาท

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

@“สีม่วงใต้”เร็วกว่าแผน ชงขอเพิ่มงบลงทุนปี 66 ประมาณ 1,972 ล้านบาท

นอกจากนี้บอร์ดรฟม.ยังได้เห็นชอบการปรับกรอบวงเงินลงทุนในปีงบประมาณ 2566 เพิ่มประมาณ 1,972 ล้านบาท จากกรอบที่ได้รับ 14,254 ล้านบาท รวมเป็น 16,226 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฎิบัติงานจริง ที่มีบางงาน สามารถดำเนินการได้เร็ว ทำให้เร่งรัดการเบิกจ่าย บางงานล่าช้า จึงต้องมีการปรับปรุงกรอบวงเงินให้ตรงกับความเป็นจริงโดยจะเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาอนุมัติ เสนอครม.ต่อไป

เช่น กรณีรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ประมูลกลางปี 2565 ซึ่งเร็วกว่าแผน ที่คาดว่าประมูลก่อสร้างปลายปีงบประมาณ 2565 ส่งผลทำให้จะเบิกจ่ายได้เต็มงบปี 2566 วงเงินงบลงทุนสายสีม่วงของปี 65 จึงเพิ่มขึ้น เป็นต้น ซึ่งในการจัดทำงบลงทุนปี 2566 จะมีการเสนอล่วงหน้า 1 ปี ซึ่งในขณะที่ระหว่างจะมีการทำงานคู่ขนาน ไปด้วย จึงต้องมีการปรับปรุงงบในปีนั้นๆ ช่วงไตรมาส แรก ของปีงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม ปี 2565 รฟม.ได้รับงบประมาณ 32,141.04 ล้านบาท โดยสามารถเบิกจ่ายงบได้ ถึง 99.76% ซึ่งรฟม.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนสูงสุดใน 5 อันดับแรก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 7:07 am    Post subject: Reply with quote

3 ธ.ค. รู้จัก "วันคนพิการสากล" สิทธิที่คนพิการควรรู้
03 ธ.ค. 2565 | 05:00 น.
เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

องค์การสหประชาชาติ UN ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี คือ "วันคนพิการสากล" พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ขับเคลื่อนปฏิบัติการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่อง

องค์การสหประชาชาติ UN ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี คือ "วันคนพิการสากล" (International Day of People with Disability) ตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา โดย สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ รับรองแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ เฉลิมฉลองวันคนพิการสากลทุกปี เพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่องทั่วโลก

องค์การสหประชาชาติ UN ต้องการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ "วันคนพิการสากล" ให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยอยู่บนฐานของสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม และได้มาตรฐานในระดับสากล อนึ่ง ตั้งแต่ปี 2530 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อวันคนพิการในแต่ละปีด้วย เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ศักด์ศรีและความยุติธรรมเพื่อคนทั้งมวล ทุกเรื่องคนพิการต้องมีคนพิการ

ทั้งนี้ จากการสำรวจทางสถิติขององค์การสหประชาชาติ พบว่า กลุ่มประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิกนี้มีจำนวนประชากรที่เป็นบุคคลพิการมากที่สุดในโลก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากปัญหาของความยากจน นอกเหนือจากนั้นก็เป็นเพราะสาเหตุของความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุและผลของสงคราม และด้วยความพิการทุพพลภาพนี้เองที่เริ่มแพร่มากขึ้นทุกขณะ ทางองค์การสหประชาชาติจึงเร่งตระหนักที่หาหนทางวิธีการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว เพื่อที่จะลดจำนวนของผู้พิการลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ด้วยคำนิยาม "วันคนพิการสากล" ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้ไว้ว่า ผู้พิการ คือ บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น ได้ยิน เคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา หรือ การเรียนรู้ ทำให้มีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เหมือนคนอื่นทั่วไป ซึ่งสิทธิที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ได้กำหนดสิทธิคนพิการที่ได้รับไว้ ดังนี้

สิทธิทางการแพทย์

ผู้พิการสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทองคนพิการ ท.74 ได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง โดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ และเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยมีสิทธิได้รับบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์
สิทธิประโยชน์หลัก : บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การคลอดบุตร ทันตกรรม การตรวจวินิจฉัย และการรักษาพยาบาล
สิทธิเฉพาะผู้พิการ : การได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกหน่วยบริการ ได้แก่ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน การฟื้นฟูการเห็น การกระตุ้นพัฒนาการ การได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ และการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่นๆ เป็นต้น

สิทธิทางการศึกษา

ผู้พิการสามารถเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อพบความพิการ และได้รับบริการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มเรียนไปจนถึงปริญญาตรี สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย

สำหรับรายการเงินอุดหนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นในทุกหลักสูตร ไม่เกินอัตราบาท/ราย/ปี ดังนี้
1.) สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อัตรา 60,000 บาท

2.) ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ อัตรา 60,000 บาท

3.) วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อัตรา 70,000 บาท

4.) เกษตรศาสตร์ อัตรา 70,000 บาท

5.) สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ อัตรา 90,000 บาทล

6.) แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ อัตรา 200,000 บาท

สิทธิด้านอาชีพ

ผู้พิการสามารถ เข้ารับการฝึกอาชีพจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ ทั้งหมด 9 แห่ง, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ, สำนักงานประกันสังคม โดยศุนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน

นอกจากนี้ใน การจ้างงานคนพิการ นั้น กฎหมายได้กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 คน (อัตราส่วน 100 : 1) เศษของ 100 คน ถ้าเกิน 50 คนรับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน หากสถานประกอบการไหนมารับลูกจ้างคนพิการ มี 2 ทางเลือก 2 ทาง คือ 1.) ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ 2.) จ้างงานคนพิการ

ในส่วนของ การกู้ยืมเงิน เพื่อประกอบอาชีพ หากเป็นการกู้ยืมแบบรายบุคคล ผู้พิการที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปและผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินได้รายละไม่เกิน 60,000 บาท กรณีต้องการกู้ยืมเงินเกินกว่าวงเงินกำหนด จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยไม่เกิน 120,000 บาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย และกรณีกู้ยืมเงินแบบรายกลุ่ม จะได้ไม่เกิน 1,000,0000 บาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย

สวัสดิการเบี้ยผู้พิการ

ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถลงทะเบียนขอรับสวัสดิการเบี้ยความพิการได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเมืองพัทยา โดยมีเกณฑ์การจ่ายสวัสดิการเบี้ยความพิการ รายเดือนๆ ละ 800 – 1,000 บาท

บริการล่ามภาษามือไทย

การให้บริการล่ามภาษามือสำหรับคนพิการทางการได้ยิน หรือการสื่อความหมาย โดยล่ามภาษามือได้ค่าตอบแทนในอัตราไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 300 บาท และไม่เกินชั่วโมงละ 500 บาท และอัตราชั่วโมงละ 600 บาท กรณีให้บริการในการประชุมสัมมนา ฝึกอบรม และกรณีความจำเป็นต่างๆ

สวัสดิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

การปรับสภาพที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ เพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ปรับปรุงห้องน้ำ ติดตั้งราวจับ ปรับพื้นผิวทางเดิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้ในอัตราเหมาจ่ายรายละไม่เกิน 40,000 บาท

บริการผู้ช่วยผู้พิการ

ผู้พิการที่มีสภาพความพิการมากจนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ สามารถขอความช่วยเหลือจาก “ผู้ช่วยคนพิการ” (Personal Assistant : PA) เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตได้

การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

หน่วยงานราชการ สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ อย่างน้อย 5 ประเภท ได้แก่ ทางลาด ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายและสัญลักษณ์ และบริการข้อมูลข่าวสาร

การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้พิการ

คนพิการสามารถขอความช่วยเหลือทางกฎหมายและจัดหาทนายความว่าต่างทางคดีให้ได้รับความเป็นธรรมตามข้อกำหนดดังนี้
การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย
การให้ความรู้ทางกฎหมาย
การจัดทำนิติกรรมสัญญา
การไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอมยอมความ
การจัดหาทนายความ
การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ในทางคดี

การลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ
    รถไฟฟ้าลอยฟ้า BTS ให้ขึ้นฟรีทุกสถานี
    รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ให้ขึ้นฟรีสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) และ สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง)
    แอร์พอร์ต ลิงค์ ให้ขึ้นฟรีทุกสถานี
    ขสมก. และรถร่วม ขสมก. ลดค่าโดยสาร 50% (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)
    บขส. ลดค่าโดยสาร 50% (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)
    เรือโดยสารประจำทางแม่น้ำเจ้าพระยา เรือในคลองแสนแสบ และเรือข้ามฟาก ให้ขึ้นฟรี
    รถไฟ ลดค่าโดยสาร 50% (ไม่รวมค่าธรรมเนียม) และลด 25% สำหรับผู้ติดตาม ทุกชั้นตลอดทุกสายทาง ตลอดทั้งปี

การคุ้มครองสวัสดิภาพ

ผู้พิการที่ประสบปัญหาทางสังคม ไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู สามารถเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการได้

มาตรการภาษีสำหรับผู้พิการ

ผู้พิการจะได้รับการ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผู้พิการที่มีเงินได้ ที่ต้องเลี้ยงดูบิดา มารดา สามีภรรยา และบุตร สามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพได้คนละ 60,000 บาท
นอกจากนี้นายจ้างที่รับผู้พิการเข้าทำงาน สามารถนำรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่พนักงานผู้พิการไปลดหย่อนภาษีได้ 100%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 256, 257, 258 ... 278, 279, 280  Next
Page 257 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©