RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263989
ทั้งหมด:13575272
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 263, 264, 265 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/05/2023 5:06 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.สรุปแผนปรับปรุงเชื่อม"สถานีรถไฟฟ้า-สนามบิน" ชู8สถานีต้นแบบปักธงผุดฟีดเดอร์60เส้นทางในปี68
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, June 01, 2023 05:08

ผู้จัดการรายวัน360 - สนข.เตรียมสรุปการศึกษาพัฒนาเชื่อมต่อ 212 สถานี รถไฟฟ้าและสนามบิน ชงคมนาคมและ คจร. เห็นชอบ ส่งต่อหน่วยงานเร่งปรับปรุง นำร่อง 8 สถานีต้นแบบ พร้อมหารือ ขบ.ผุดฟีดเดอร์ 81 เส้นทาง วิ่งเชื่อมซอย-สถานีรถไฟฟ้า ปักธง ปี 68 เริ่มวิ่ง 60 เส้นทางวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการ ครั้งที่ 2 การนำเสนอผลการศึกษาและแถลงผลงานโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน เข้าร่วมงานรับฟังและแสดงความคิดเห็น โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะสรุปผลการศึกษาภายใน 2-3 เดือน นำเสนอกระทรวงคมนาคม และเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณามอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบนำไปดำเนินการ

นายชาครีย์ กล่าวว่า แนวคิดการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยมุ่งเน้นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การขนส่งที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (M-MAP) มี 14 สาย รวมระยะทาง 554 กม. ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 7 สี 11 เส้นทาง ระยะทาง 211.94 กม. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 สาย ระยะทาง 138.80 กม. และจะดำเนินการในอนาคตอีก 205.67 กม. นั้น เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด ซึ่งการใช้บริการและเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าจะต้องมีความสะดวกมากที่สุด เพื่อจูงให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นและลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

การศึกษาการพัฒนาระบบสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนทุกกลุ่ม กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก รวมถึงการจัดเส้นทางระบบขนส่งมวลรอง (Feeder) เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่อยู่ห่างจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเข้ามาส่งยังสถานีรถไฟฟ้าสะดวกมากขึ้น

"การรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อนำข้อมูลมาบูรณาการ ประกอบการออกแบบการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ให้มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการของประชาชน และเป็นไปตามาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องหน่วยงานต่างๆ ยอมรับและร่วมกันนำไปสู่การปฏิบัติ"
นายสุรพงษ์ เมี้ยนมิตร รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ในการศึกษาฯ จะจัดทำเป็นร่างแผนพัฒนาการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า ตามแผนแม่บท M-MAP เพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น เชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน (Intermodal Transfer Facility : ITF) ตามาตรฐานสากล โดยมีรถไฟฟ้ารวม 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กม. มีสถานีรวม 381 สถานี โดยพิจารณาคัดเลือกสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว 140 สถานี และสถานีที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 72 สถานี มาประเมินและวิเคราะห์ปัญหาความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมเป็นแผนการพัฒนา ITF 212 สถานี โดยมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น จัดพื้นที่สำหรับ Drop-off/Kiss & Ride จุดจอดรถแท็กซี่ จุดจอดรถจักรยาน ติดตั้งราวจับที่ทางลาด ปรับปรุงทางเท้า ติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับป้ายรถประจำทาง ติดตั้งป้ายแสดงจุดจอดรถโดยสารและข้อมูลสายรถโดยสาร ติดตั้งหลังคาคลุมทางเดินเชื่อมต่อ (Covered Walkway) ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการ

มีการออกแบบกรอบแบบรายละเอียด (Definitive Design) สถานีต้นแบบ จำนวน 8 สถานี ซึ่งคัดเลือกจากสถานีที่มีความสำคัญ สถานีที่มีผู้ใช้บริการมาก และสถานีทั่วไป เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถนำแบบไปดำเนินการต่อไปได้ เช่น สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 3 สาย (สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีน้ำตาล) เพิ่ม Public Skywalk Bridge และเพิ่มลานกิจกรรมยกระดับ บริเวณรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีน้ำตาลสร้างหลังคาคลุม (Covered walkway) ให้ร่มเงาแก่ผู้เดินเท้า 300 เมตร ล่าสุดหารือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมแผนพัฒนางบประมาณ 103.5 ล้านบาท

สถานีเตาปูน จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน) ปรับปรุงพื้นจุดจอดรถโดยสารและที่พักคอย, สถานีบางซื่อ MRT ปรับปรุงการจราจรบริเวณ จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์, สถานีท่าพระ ปรับปรุง ทางเท้าและจุดจอดรถโดยสารบริเวณ, สถานีศรีรัช, สถานีบางแค สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ปรับปรุงทางเดินเชื่อมต่อป้ายรถโดยสารประจำทาง, สถานีชุมทางตลิ่งชัน เพิ่มจุดจอดรถจักยาน เป็นต้น

@ตั้งเปาปี 68 จัดฟีดเดอร์ 60 เสนทาง รับผูโดยสารจากซอยเชื่อมสถานีรถไฟฟา

ในการศึกษา มีแนวคิดพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder system) เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า จำนวน 81 เส้นทาง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. ฟีดเดอร์ รองรับการเดินรถที่มีตารางเดินรถแน่นอน (Fixed Route) มีจุดจอด มีเส้นทางเดินรถและตารางเวลาที่แน่นอน จำนวน 36 เส้นทาง ระยะทางรวม 507.7 กม.

2. ฟีดเดอร์ ที่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน (On Demand) จำนวน 45 เส้นทาง ระยะทางรวม 238.7 กม. ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ซึ่งผู้ใช้บริการที่ เดินทางในเส้นทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน สามารถโดยสารร่วมทางกันได้ เพื่อจูงใจให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นรถใช้พลังงานไฟฟ้า (EV)

โดยฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าจะเป็นเส้นทางใหม่ วิ่งจากในซอยที่มีชุมชนแหล่งที่อยู่อาศัยโดยรอบ เพื่อส่งผู้โดยสารเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้สะดวก เป็นรถหมวด 4 โดยจะหารือ กับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เพื่อกำหนดเงื่อนไขทั้งคุณภาพรถ คุณภาพบริการ เส้นทางในการคัดเลือกผู้ประกอบการ ตั้งเป้าในปี 2568 จะเปิดบริการจำนวน 60 เส้นทาง เน้นเส้นทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว เช่น สายสีแดง สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ฟีดเดอร์ สถานีละ 1-2 เส้นทาง

เช่น ฟีดเดอร์ เชื่อมสายสีเขียวเส้นทาง สถานีวัดพระศรีฯ-ถ.เทพารักษ์ 7.85 กม., สถานีสะพานใหม่-ถ.เทพารักษ์ 5.27 กม., สถานีสะพานใหม่-ถ.เพิ่มสิน 5.83 กม., สถานีแยก คปอ.ถ.ลำลูกกา 10.21 กม., สถานีคูคต-ถ.สายไหม 7.06 กม., เส้นทางตลาดสามเสนใน-ซอยพร้อมพรรณ 8.28 กม., ตลาดคลองเตย-ตลาดสำโรง 32.16 กม. เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงการเชื่อมต่อบริเวณสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น เช่น ทำทางลาดเชื่อมกับสถานีดอนเมือง รถไฟสีแดง และปรับย้ายและเพิ่มป้ายรถโดยสารให้เหมาะสม เป็นต้น.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 1 มิ.ย. 2566


วีดิทัศน์สัมมนาครั้งที่ 2 โครงการศึกษาการเชื่อมโยงการเดินทางเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน l สนข.
Daoreuk Channel
May 31, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=_fbp5wtQ-aU

วีดิทัศน์รสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการ ครั้งที่ 2
การนำเสนอผลการศึกษา แถลงผลงานโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 – 12.00 น.
ณ ห้องพญาไท 4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท
(Eastin Grand Hotel Phayathai) กรุงเทพมหานคร
โดย สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2023 7:49 am    Post subject: Reply with quote

ปธ.กกต.ยันรับรองผลก่อน 60 วัน ว่าที่ 20 สส.ระทึก มีลุ้นถูกเชือด/จ่อจัดเลือกตั้งใหม่
Source - แนวหน้า
Sunday, June 04, 2023 06:34

แจงคดี'พิธา'อย่าโยงการเมือง ชี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง 'ประยุทธ์' ย้ำเป็นห่วงบ้านเมือง อยากเห็นประเทศชาติเข้มแข็ง

ประธาน กกต.ระบุรับรองผลเลือกตั้งได้ก่อน 60 วันแน่ เผยมีเรื่องร้องเรียน 280 เรื่อง ว่าที่ 20 สส.มีหนาว ได้ลุ้นเลือกตั้งใหม่ ส่วนคดีหุ้นสื่อ "พิธา" กำลังรวบรวมหลักฐาน ย้ำทำตามระเบียบก.ม. ไม่มีเกมการเมือง ทุกคดีอยู่ที่ข้อเท็จจริง-หลักฐาน ด้านก้าวไกล พร้อมชี้แจงแค่รอให้ กกต. เชิญไป ด้าน "บิ๊กตู่" บอกเป็นห่วงบ้านเมืองพร้อมทำให้ประเทศและประชาชนเข้มแข็ง

เมื่อเช้าวันที่ 3 มิถุนายน ที่ท้องสนามหลวง นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการรับรองผลการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) คาดว่าจะรับรองร้อยละ 95 ได้เมื่อไหร่เพราะพรรคการเมืองคาดหวังว่ากกต.จะรับรองได้ไวเพื่อพรรคการเมืองจะได้จัดตั้งรัฐบาล

โดยนายอิทธิพรกล่าวว่าก็เร็วกว่าครั้งที่แล้วและเร็วกว่า 60 วัน แน่ๆ ยังมีขั้นตอนทางกฎหมายบางประการที่ กกต.มีหน้าที่ดำเนินการก็คือ การตรวจสอบก่อนว่า 95,000 กว่าหน่วยเลือกตั้ง มีหน่วยไหนที่จะต้องมีเหตุ สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ออกเสียงลงคะแนนใหม่ หรือนับคะแนนใหม่ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของกกต.ในเร็วๆ นี้หลังจากนั้นกระบวนการจะใช้เวลาไม่มากก็จะมีความชัดเจนว่าจะประกาศผลการ เลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้เมื่อไหร่

เมื่อถามว่าเบื้องต้นคาดว่าปลายเดือนมิถุนายนนี้น่าจะประกาศได้หรือไม่เพราะครบรอบ 30 วัน ในวันที่ 13 มิถุนายน นายอิทธิพรกล่าวว่า ก็จะพยายาม อันนี้ขึ้นกับข้อเท็จจริงอย่างที่ได้กล่าวไป ทั้งนี้ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า จะมีความชัดเจน กกต.ตระหนักดี ถึงความจำเป็นของการประกาศผลการเลือกตั้งจะต้องไม่ช้าแต่มีขั้นตอนทางกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติอย่างที่ได้เรียนไปแล้ว ขอย้ำว่าจะพยายามทำให้เร็วที่สุด

ร้องเรียนเพียบว่าที่20สส.มีหนาว

เมื่อถามว่า มาจนถึงขณะนี้กกต.มีคำร้องที่เกี่ยวกับว่าที่สส.ที่ชนะการเลือกตั้ง ที่จะทำให้ไม่ได้ประกาศรับรองเยอะหรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ตัวเลขคำร้องมีกว่า 280 เรื่อง ส่วนผู้ที่เลือกตั้งชนะ ถ้าจำไม่ผิดมีประมาณ 20 กว่าคน ซึ่งตอนนี้จะต้องขอตรวจสอบ ก่อนว่ามีหลักฐานชัดเจนหรือไม่ โดยจะต้องมีการสั่ง 3 อย่าง คือ 1.สั่งเลือกตั้งใหม่ 2.สั่งนับคะแนนใหม่ และ 3.สั่งออกเสียงลงคะแนนใหม่

เมื่อถามว่าตามกฎหมายที่ให้ประกาศรับรองร้อยละ 95 เบื้องต้นจะมีการรับรอง 475 คนใช่หรือไม่ นายอิทธิพรกล่าวว่า "ใช่ ตัวเลขเป็นเช่นนั้น แต่เราคิดว่า ถ้าเผื่อประกาศได้ 100% ได้ เราก็ประกาศ เพราะกฎหมายระบุว่า ประกาศร้อยละ 95 เป็นอย่างต่ำ"

หุ้นสื่อ'พิธา'เริ่มพิจารณาเร็วๆนี้

เมื่อถามว่ากรณีหุ้นสื่อของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตอนนี้คำร้องอยู่ในขั้นตอนไหน แล้ว นายอิทธิพร กล่าวว่าอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจากกกต.ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของ กกต.ในไม่ช้านี้ เมื่อถามว่าคาดว่าจะมีการส่งศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเพื่อให้สิ้นข้อสงสัยหรือไม่ นายอิทธิพรกล่าวว่ายังตอบไม่ได้เพราะเรายังไม่เห็นข้อเท็จจริงพยานหลักฐาน ตอบไปก่อน คงไม่ได้

เมื่อถามว่าคดีของนายพิธาต่างจากคดีถือหุ้นสื่อของคนอื่นหรือไม่อย่างเช่นนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายอิทธิพร กล่าวว่า คดีหุ้นทุกคดี จะขึ้นอยู่กับ ข้อเท็จจริง พยานหลักฐานที่นำเสนอต่อเรา เราจะพิจารณาตัดสินไปตามหลักฐานที่มี ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอ ก็ขอให้สอบเพิ่ม หรือศึกษาเพิ่มได้ ตอนนี้เรายังไม่เห็นพยานหลักฐานที่เป็นทางการที่เป็นการทำงานของกกต.ฉะนั้นตนจึงไม่สามารถที่จะพูดอะไรไปได้มากกว่านี้

เมื่อถามว่าพยานหลักฐาน ตอนนี้มีเพียงพอ หรือยังต้องเพิ่มอะไรหรือไม่ นายอิทธิพรกล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เพราะสำนักงานกกต.ยังไม่เสนอเรื่องขึ้นมา อยู่ในระหว่างการดำเนินการของสำนักงานฯ เมื่อถามว่าอย่างกรณี ผู้ที่ถูกร้อง คือนายพิธาจะต้องมีการเรียกมาชี้แจงหรือไม่ นายอิทธิพรกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับกระบวนการ ถ้าจะเรียกก็คงไม่ใช่ กกต.เรียกจะต้องเป็นสำนักงานฯเรียก

ทำอย่างเต็มที่/ไม่มีใครกดดัน

เมื่อถามว่ามีคนมองว่ากรณี คำร้องนายพิธาเหมือนเป็นการเล่นงานทางการเมืองของฝ่ายการเมือง นายอิทธิพลกล่าวว่าเราไม่เคยดูเรื่องนั้น ทุกคำร้อง เราต้องใช้พื้นฐานของระเบียบว่าด้วยการสืบสวนและไต่สวนของกกต.เป็นหลักในการพิจารณา ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรก

เมื่อถามว่าโซเชียลมีการกดดันการตรวจสอบคดีหุ้นของนายพิธา นายอิทธิพร กล่าวว่า"ไม่มี กกต.และสำนักงานฯ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่มาโดยตลอด"

'ก.ก.พร้อมชี้แจงหุ้นสื่อ'พิธา'

นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล(ก.ก.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ออกระบุว่าขณะนี้ทางกกต.อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานกรณีหุ้นสื่อไอทีวีของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายก รัฐมนตรีซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของ กกต.ในไม่ช้านั้น ได้มีการประสานมายังพรรคให้ไปชี้แจงข้อมูลหรือยังว่า ขณะนี้ทางพรรค ยังรอหนังสือจากทาง กกต.อยู่ ซึ่งทางพรรคได้เตรียมความพร้อมในการชี้แจงไว้หมดแล้ว พร้อม มั่นใจว่าโต้แย้งได้ทุกประเด็น แต่ในส่วนรายละเอียด ต้องรอทาง กกต.

นายกฯเป็นห่วงบ้านเมืองทุกวัน

วันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ห่วงอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ว่า เป็นห่วงทุกวัน บ้านเมือง น่าเป็นห่วง น่าเป็นห่วงทุกวันไหมเล่า นายกฯต้องเป็นห่วงบ้านเมือง ทุกวัน ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องห่วงทุกวัน ต้องมีความพร้อมให้ประเทศ และประชาชนปลอดภัยแข็งแรง ก็เท่านั้นแหละ ชีวิตนายกฯ

เมื่อถามว่ามองอย่างไรมีคนกดดันให้นายกฯเก็บของออกจากทำเนียบรัฐบาล นายกฯตอบว่า "ไม่ได้มอง มองว่าเขาไม่ได้คิด ไม่เข้าใจ อะไรมั้ง"เมื่อถามว่า การกดดันแบบนี้ ทำได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า "คิดเอาเอง"

รทสช.ให้เกียรติพรรคอันดับ1ตั้งรบ.

นายธนกร วังบุญคงชนะ รมต.ประจำสำนักนายรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่าตนยังยืนยันการจัดตั้งรัฐบาลให้เกียรติพรรคอันดับ 1 และ 2 จะเห็น ได้ว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค และแคนดิเดต นายกฯพรรครวมไทยสร้างชาติ และตนไม่เคยไปก้าวล่วง พาดพิงหรือให้ความเห็นในการจัดตั้งรัฐบาล เราเข้าใจระบอบประชาธิปไตย

"แต่ข่าวที่ออกมาก็ต้องยอมรับว่า ว่าที่รัฐบาลเองนั้นแหละเปิดประเด็น บางครั้งพูดในทำนองไม่ค่อยดีกับฝ่ายตนเท่าไหร่ ก็ทำให้ผมต้องชี้แจงเพราะอาจจะทำให้ประชาชนสับสนได้เท่านั้นเอง"นายธนกร ย้ำ
ทุกฝ่ายห่วงปท.มีเคลื่อนไหวขู่ชุมนุม

ส่วนที่นายกฯระบุว่าเวลานี้อยากให้บ้านเมืองสงบนายธนกรกล่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ มีความเป็นห่วง เพราะอยากให้บ้านเมืองเดินหน้าไปสู่สิ่งที่ประชาชนคาดหวังเพราะตลอดระยะเวลา 7-8 ปี ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ได้สร้างคุณูปการให้กับประเทศมากมาย มีการพัฒนาในทุกๆ ด้านทั้งเศรษฐกิจ คมนาคม การท่องเที่ยว

"ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ ตนเข้าใจว่า ทุกฝ่ายก็ห่วงใยประเทศ เพราะมีการเคลื่อนไหวขู่ชุมนุมคิดว่า ตรงนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งอีกซึ่ง นายกฯ ก็ห่วงในเรื่องเหล่านี้ ไม่อยากให้มีความขัดแย้งแบบเดิม เราเดินมาไกลแล้ว ช่วงนี้ต้องปล่อยให้กลไกเดินหน้าไปและทุกฝ่ายต้องยอมรับกติกาบ้านเมือง เราอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย พรรคที่ได้อันดับ 1 อันดับ 2 ก็จัดตั้งรัฐบาลไป แล้วเราก็มีรัฐบาลมาบริหารประเทศ ส่วนใคร จะเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลก็ว่ากันไป"นายธนกร ระบุ
ไม่ควรกดดันกกต./เชื่อรับรองรอบคอบ

ส่วนที่ดูเหมือนขณะนี้มีกระแสกดดันไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ในการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง สส.นายธนกรกล่าวว่า ทุกอย่าง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย เพราะมีระยะเวลาอยู่ซึ่งกกต.ก็เร่งพิจารณาอยู่ แต่จะไปเร่งให้ได้ดั่งใจตามที่เราต้องการ ตนคิด ว่าก็ไม่น่าจะใช่ ซึ่งต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบเรื่องต่างๆ ก็ต้องเห็นใจกกต.เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างรอบคอบ เราไม่ควรไปกดดัน กกต.

ส่วนกระแสข่าวพรรครวมไทยสร้างชาติ จะมีการรวมกับพรรคพลังประชารัฐ นายธนกร กล่าวว่า การไปรวมพรรคตนไม่เคยได้ยิน และไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้พรรครวมไทยสร้างชาติกับพรรคพลังประชารัฐ มีความคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะผู้ใหญ่ทั้ง 2 พรรคทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐก็คุ้นเคยกันมานาน

ยันร่วมมือกันทำงาน-ไม่มีปัญหา

เมื่อถามว่าการร่วมกันเพื่อทำงานทางการเมือง มีโอกาสเป็นไปได้ มากกว่าการรวมพรรคในเวลานี้ นายธนกรกล่าวว่า ในการทำงานร่วมกันทำได้อยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาเราเป็นรัฐบาลมาด้วยกัน อย่าว่าแต่พรรคพลัง ประชารัฐเลย แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนาที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเก่า เราก็ทำงานด้วยกันมายาวนาน หัวหน้าพรรคทุกพรรคก็ให้เกียรติ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งการทำงานร่วมกันในอนาคต ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนความชัดเจนในการปรับกลยุทธ์พรรครวมไทยสร้างชาติ นายธนกรกล่าวว่าเลขาธิการพรรคกำลังหารืออย่างไม่เป็นทางการกับทีมงานอยู่ซึ่งต้องรอการรับรองสส.ของพรรคก่อนถ้าเราเป็นฝ่ายค้านก็ต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น และมีทีมงานซัพพอร์ต ยืนยันว่าพรรคมีอยู่แล้วด้วยความที่พรรคเกิดใหม่อะไรที่ที่จะทำให้ดีที่สุดหรือดีกว่าเดิมให้เป็นที่ยอมรับของพี่น้องประชาชนมากขึ้นก็ต้องทำคู่ขนานกันไป

'สุชาติ'ยันอยู่กับ'บิ๊กตู่'ไม่ซบพปชร.

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ในฐานะรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดของ นายจเด็จ อินสว่าง สว. เสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า เป็นความคิดของแต่ละบุคคล แต่อันดับแรก ขอตอบกรณีที่มีเรื่องกระแสข่าวลือของตนว่าจะออกจากพรรครทสช.กลับไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ

"ขอยืนยันว่าไม่มี และจะอยู่กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค รทสช. ขอย้ำว่า อยู่กับลุงตู่จะไปไหนได้"นายสุชาติ ย้ำ
ทางด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ตอบโจทย์การเมืองในเวลานี้ ว่า ยังไม่ใช่เวลา เพราะประเทศไทยยังไม่มีอะไรที่วิกฤต ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลกำลังดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่ามั่นใจว่าทุกอย่างจะดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย นายสันติกล่าวว่าไปตามขบวนการลักษณะวิธีการ ส่วนใครจะเป็นอะไรอย่างไรเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นไปตามปกติที่จะมีข้อจำกัดอะไรต่างๆ

ปัดพปชร.รอส้มหล่น/ย้ำผู้นำทำให้ถูกต้อง

เมื่อถามว่ามีข้อสังเกตเช่นเดียวกันว่าพรรคพปชร.อาจรอส้มหล่น นายสันติกล่าวว่า "ไม่มีเรื่องของรัฐบาล ไม่มีส้มหล่น มีแต่เหตุผล ยืนยันไม่มีเรื่องส้มหล่นแน่นอน"

เมื่อถามกรณีที่มีความเป็นห่วง เรื่องคุณสมบัติของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อาจส่งผลให้การเลือกตั้ง เป็นโมฆะเกิดขึ้น นายสันติกล่าวว่า"อยู่ที่คนที่จะมาเป็นผู้นำของประเทศต้องมีความถูกต้องอันดับแรกในขั้นตอน คนเป็นนายกฯ คงไม่สามารถเอาแบบอย่างที่มีปัญหาอะไรก็แล้วแต่มาเป็นได้"

'พิธา-32ว่าที่สส.กทม.ถกผู้ว่าฯกทม.6มิ.ย.

ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดต นายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกลพร้อมว่าที่สส.กทม.32 คน เตรียมจะเข้าพบใน วันที่ 6 มิ.ย.นี้ว่า เป็นการพูดคุยแบบเปิดเผย ไม่มีความลับ โดยพรรค ก้าวไกล ได้ผู้แทนกรุงเทพฯ เยอะ เลยจะมาคุยกันว่าจะช่วยกันได้อย่างไรบ้าง

เมื่อถามว่าได้คุยกันเบื้องต้นแล้วหรือไม่ นายชัชชาติกล่าวว่า เจ้าหน้าที่คงมีการเตรียมกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ดูรายละเอียด นายชัชชาติกล่าวด้วยว่า ไม่มีอะไร คุยกันสนุกๆ

ปชช.อยากให้รบ.ใหม่แก้ปัญหาปากท้อง

ขณะที่ กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,120 คน เรื่อง "นโยบายที่คนไทยคาดหวัง หากได้รัฐบาลชุดใหม่" พบว่า เรื่องที่ประชาชนอยากขอให้ว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ แก้ปัญหามากที่สุด คือ ปัญหาปากท้องค่าครองชีพสูง ข้าวของราคาแพง ร้อยละ 75.9 ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 57.2 ปัญหา ยาเสพติด อาชญากรรม ร้อยละ 50.1 ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ร้อยละ 40.1 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 34.4 ปัญหาการศึกษาการเรียนรู้ ร้อยละ 26.8 ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 24 ปัญหาภัยธรรมชาติและโรคระบาด ร้อยละ 15.5 และอื่นๆ อาทิ แก้รัฐธรรมนูญ การศึกษา น้ำมันแพง ร้อยละ 2.3

คาดหวังลดค่าครองชีพ-ลดค่าไฟ-ค่ารถ

สำหรับนโยบายที่เฝ้ารอ และคาดหวัง จากว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ คือ ลดค่าครองชีพ เช่น ลดค่าไฟฟ้า รถไฟฟ้าราคาถูก ร้อยละ 67.1 ปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 45.9 สร้างงาน สร้างรายได้ ร้อยละ 44.3 สวัสดิการการรักษาฟรีทั่วไทย ร้อยละ 40.2 และสวัสดิการเด็กเล็ก ผู้สูงวัย ร้อยละ 39.8 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ/เงินเดือนปริญญาตรี ร้อยละ 37.5 ปฏิรูปการศึกษา ร้อยละ 33.8 แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือ SMEs ร้อยละ 32.3 ต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 30.4 ปฏิรูปที่ดินทำกิน ร้อยละ 26.2 นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 25.2 การปฏิรูปกองทัพ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ร้อยละ 21.1 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร้อยละ 20.8 เลือกตั้งผู้ว่าราชการ ทุกจังหวัด ร้อยละ 15.7 และอื่นๆ อาทิ ไม่คาดหวัง หนี้นอกระบบ ประกันราคาสินค้าเกษตร ร้อยละ 2

พท.เดินหน้าสมรสเท่าเทียม

น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะรักษาการโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทย ขอย้ำจุดยืนต่อ LGBTQ+ ไทยด้วยการยืนยันสนับสนุนและร่วมเป็นแรงส่งในการผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ ด้วยหลักของสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เรายึดถือแนวทางนี้ สอดคล้องกับการผลักดันความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ ที่พรรคเพื่อไทยได้รับมอบการส่ง ต่อเจตนารมณ์นี้มาจากพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ปี 2544 รัฐบาลที่นำโดย นายทักษิณ ชินวัตร มีการเสนอแนวคิดให้คนรักเพศเดียวกัน สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย แต่ต้องยุติลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเกิดกระแสต่อต้านรุนแรง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความพยายามให้มีกฎหมายรับรองคู่รักเพศเดียวกันอีกครั้ง ตามข้อเสนอของประชาชน นำไปสู่รูปแบบของ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต (Civil Partnership Bill) ใน พ.ศ.2556 ตามบริบทสากลขณะนั้น และใน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เพื่อให้ผ่านการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่สำเร็จ

พรรคเพื่อไทยมีความมุ่งมั่น ที่จะแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อคุ้มครอง สวัสดิภาพคนทำงานที่หลากหลาย รวมทั้งก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ หอสมุด หอศิลป์ เป็นพื้นที่แห่ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความหลากหลายทางเพศ เราเชื่อว่าเสรีภาพและความหลากหลาย คือพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศได้อีกด้วย

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 4 มิ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2023 7:52 am    Post subject: Reply with quote

สนข.สรุปแผนปรับปรุงระบบเดินทางเชื่อม "สถานีรถไฟฟ้า-สนามบิน" ปี 68 ผุดฟีดเดอร์ 60 เส้นทางใหม่
ผู้จัดการออนไลน์ 31 พ.ค. 2566 16:42

Click on the image for full size

สนข.เตรียมสรุปการศึกษาพัฒนาเชื่อมต่อ 212 สถานีรถไฟฟ้า และสนามบิน ชงคมนาคมและ คจร.เห็นชอบ ส่งต่อหน่วยงานเร่งปรับปรุง นำร่อง 8 สถานีต้นแบบ หารือ ขบ.ผุดฟีดเดอร์ 81 เส้นทาง เชื่อมซอยสู่สถานีรถไฟฟ้า เริ่มวิ่ง 60 เส้นทางในปี 68

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการ ครั้งที่ 2 การนำเสนอผลการศึกษาและแถลงผลงานโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนเข้าร่วมงานรับฟังและแสดงความคิดเห็น โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะสรุปผลการศึกษาภายใน 2-3 เดือน นำเสนอกระทรวงคมนาคม และเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณามอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบนำไปดำเนินการ

นายชาครีย์กล่าวว่า แนวคิดการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยมุ่งเน้นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การขนส่งที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (M-MAP) มี 14 สาย รวมระยะทาง 554 กม. ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 7 สี 11 เส้นทาง ระยะทาง 211.94 กม. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 สาย ระยะทาง 138.80 กม. และจะดำเนินการในอนาคตอีก 205.67 กม.นั้นเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด ซึ่งการใช้บริการและเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าจะต้องมีความสะดวกมากที่สุด เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นและลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

การศึกษาการพัฒนาระบบสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนทุกกลุ่ม กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก รวมถึงการจัดเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่อยู่ห่างจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเข้ามาส่งยังสถานีรถไฟฟ้าสะดวกมากขึ้น

“การรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อนำข้อมูลมาบูรณาการ ประกอบการออกแบบการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ให้มีความเหมาะสมตรงความต้องการของประชาชน และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องหน่วยงานต่างๆ ยอมรับและร่วมกันนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม”

นายสุรพงษ์ เมี้ยนมิตร รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ในการศึกษาฯ จะจัดทำเป็นร่างแผนพัฒนาการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า ตามแผนแม่บท M-MAP เพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น เชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน (Intermodal Transfer Facility : ITF) ตามมาตรฐานสากล โดยมีรถไฟฟ้ารวม 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กม. มีสถานีรวม 381 สถานี โดยพิจารณาคัดเลือกสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว 140 สถานี และสถานีที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 72 สถานี มาประเมินและวิเคราะห์ปัญหาความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมเป็นแผนการพัฒนา ITF 212 สถานี โดยมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น จัดพื้นที่สำหรับ Drop-off / Kiss & Ride จุดจอดรถแท็กซี่ จุดจอดรถจักรยาน ติดตั้งราวจับที่ทางลาด ปรับปรุงทางเท้า ติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับป้ายรถประจำทาง ติดตั้งป้ายแสดงจุดจอดรถโดยสารและข้อมูลสายรถโดยสาร ติดตั้งหลังคาคลุมทางเดินเชื่อมต่อ (Covered Walkway) ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการ

มีการออกแบบกรอบแบบรายละเอียด (Definitive Design) สถานีต้นแบบ จำนวน 8 สถานี ซึ่งคัดเลือกจากสถานีที่มีความสำคัญ สถานีที่มีผู้ใช้บริการมาก และสถานีทั่วไป เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถนำแบบไปดำเนินการต่อไปได้ เช่น สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 3 สาย (สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีน้ำตาล) เพิ่ม Public Skywalk Bridge และเพิ่มลานกิจกรรมยกระดับ บริเวณรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีน้ำตาลสร้างหลังคาคลุม (Covered walkway) ให้ร่มเงาแก่ผู้เดินเท้า 300 เมตร ล่าสุดหารือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมแผนพัฒนางบประมาณ 103.5 ล้านบาท

สถานีเตาปูน จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน) ปรับปรุงพื้นจุดจอดรถโดยสารและที่พักคอย, สถานีบางซื่อ MRT ปรับปรุงการจราจรบริเวณ จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์, สถานีท่าพระ ปรับปรุง ทางเท้าและจุดจอดรถโดยสาร, สถานีศรีรัช, สถานีบางแค, สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ปรับปรุงทางเดินเชื่อมต่อป้ายรถโดยสารประจำทาง, สถานีชุมทางตลิ่งชัน เพิ่มจุดจอดรถจักรยาน เป็นต้น

@ตั้งเป้าปี 68 จัดฟีดเดอร์ 60 เส้นทาง รับผู้โดยสารจากซอยเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า

ในการศึกษามีแนวคิดพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder system) เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า จำนวน 81 เส้นทาง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. ฟีดเดอร์ รองรับการเดินรถที่มีตารางเดินรถแน่นอน (Fixed Route) มีจุดจอด มีเส้นทางเดินรถและตารางเวลาที่แน่นอน จำนวน 36 เส้นทาง ระยะทางรวม 507.7 กม. 2. ฟีดเดอร์ ที่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน (On Demand) จำนวน 45 เส้นทาง ระยะทางรวม 238.7 กม. ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ซึ่งผู้ใช้บริการที่เดินทางในเส้นทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน สามารถโดยสารร่วมทางกันได้ เพื่อจูงใจให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นรถใช้พลังงานไฟฟ้า (EV)

โดยฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าจะเป็นเส้นทางใหม่ วิ่งจากในซอยที่มีชุมชนแหล่งที่อยู่อาศัยโดยรอบ เพื่อส่งผู้โดยสารเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้สะดวก เป็นรถหมวด 4 โดยจะหารือกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เพื่อกำหนดเงื่อนไขทั้งคุณภาพรถ คุณภาพบริการ เส้นทางในการคัดเลือกผู้ประกอบการ ตั้งเป้าในปี 2568 จะเปิดบริการจำนวน 60 เส้นทาง เน้นเส้นทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว เช่น สายสีแดง สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ฟีดเดอร์ สถานีละ 1-2 เส้นทาง

เช่น ฟีดเดอร์ เชื่อมสายสีเขียวเส้นทาง สถานีวัดพระศรีฯ-ถ.เทพารักษ์ 7.85 กม., สถานีสะพานใหม่-ถ.เทพรักษ์ 5.27 กม., สถานีสะพานใหม่-ถ.เพิ่มสิน 5.83 กม., สถานีแยก คปอ.-ถ.ลำลูกกา 10.21 กม., สถานีคูคต-ถ.สายไหม 7.06 กม., เส้นทางตลาดสามเสนใน-ซอยพร้อมพรรณ 8.28 กม., ตลาดคลองเตย-ตลาดสำโรง 32.16 กม. เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงการเชื่อมต่อบริเวณสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น เช่น ทำทางลาดเชื่อมกับสถานีดอนเมือง รถไฟสีแดง และปรับย้ายและเพิ่มป้ายรถโดยสารให้เหมาะสม เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/06/2023 7:25 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ขอบคุณข้อมูลและภาพ เฟซบุ๊ก Warat Karuchit 10 พ.ค. 65
https://siamrath.co.th/n/347029
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2023 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

แผนแม่บทรถไฟฟ้าสายใหม่ "M-MAP 2" ขยายเข้า 5 จังหวัดปริมณฑล
โดย PPTV Online

เผยแพร่ วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08:10น.



กรมการขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้ครอบคลุมไปถึง 5 จังหวัดปริมณฑล สอดคล้องการเติบโตของเมืองในอนาคต เผยอยู่ระหว่างจำลองคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง เพื่อวางแผนและพัฒนาโครงข่าย


จับปลาดุกยักษ์ในแม่น้ำอิตาลี คาดตัวใหญ่ที่สุดในโลก

พลิกข้อกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 151 โทษอาญาหนัก! ตัดสิทธิ 20 ปี

เปิดใจอดีตแพทย์ แฉ"Toxic staff" ปมตัดสินใจลาออก
เมื่อวานนี้ 6 มิ.ย.2566 กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม จัดการประชุมสัมมนาและสนทนากลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2

โดยในการประชุมสัมมนาดังกล่าว เพื่อนำเสนอแนวเส้นทางโครงการที่ศึกษาเพิ่มเติม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)


ต่อยอดเพื่อการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูง แต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนในอนาคต พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานและภาคประชาชน


ขณะที่ครั้งนี้เป็นการจัดการประชุมกลุ่มย่อยครั้งแรก แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 กลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมพื้นที่หลักในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มที่ 2 จังหวัดปทุมธานี กลุ่มที่ 3 จังหวัดนนทบุรี กลุ่มที่ 4 จังหวัดนครปฐม และกลุ่มที่ 5 จังหวัดสมุทรสาคร



สำหรับปัจจุบันรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้เปิดให้บริการแล้ว 211 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 135 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 553.41 กิโลเมตร เป็นผลจากการพัฒนา “แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายหลักและสายรองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP)” ในปี 2552

อย่างไรก็ตาม จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากการศึกษาแผน M-MAP เดิม จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้มีความครอบคลุม สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของเมืองในอนาคต และตอบสนองความต้องการในการเดินทางของประชาชนอย่างแท้จริง



ทั้งนี้กรมการขนส่งทางราง อยู่ระหว่างการจัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง หรือ Railway Demand Forecast Model ขึ้น เพื่อให้เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการคาดการณ์การเดินทางของระบบรางโดยเฉพาะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า การกำหนดมาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับอัตราค่าโดยสาร การปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี และการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด




เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาบริการด้านระบบรางแก่ประชาชนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบราง การกำหนดขนาดสถานี การเข้าถึงสถานี อัตราค่าโดยสาร และเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทาง ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน รวมไปถึงโครงการนำร่องในการพัฒนาแบบจำลองเชิงกิจกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/06/2023 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
8 มิ.ย. 66 14:22 น.

https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/573552644962966

🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2566🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 99.96%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 99.20% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 99.39% ความก้าวหน้าโดยรวม 99.29%
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 96.57% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 96.88% ความก้าวหน้าโดยรวม 96.73%
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 27.77% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 13.23% ความก้าวหน้าโดยรวม 22.89%
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 11.55%

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2023 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วน! “บีทีเอส” รับสมัคร เจ้าหน้าที่งานรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง และสายสีชมพู จำนวนมาก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 8 มิ.ย. 2566 10:34
ปรับปรุง: 8 มิ.ย. 2566 10:34


ฝ่ายสื่อสารองค์กรบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า ขณะนี้บริษัทฯ กำลังเปิดรับสมัคร “เจ้าหน้าที่งานรถไฟฟ้า” สำหรับเข้าปฏิบัติงาน ในโครงการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) และ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง และ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู
โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสรรหาว่าจ้าง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โทรศัพท์ 0-2617-7300 ต่อ 1925, 1927, 1931, 1939 -1944, 1946-1947 และ 1965 หรือ Line official : @btsskytrain, Application ‘BTS SkyTrain’
และ Facebook Page : รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือสแกน QR Code เพื่อสมัครงาน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/06/2023 7:57 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าลงทุน 1 ล้านล้านบาท ทำไมคนใช้น้อย? | BUSINESS WATCH | 08-06-66
TNN Online
Jun 8, 2023

การลงทุนโครงการรถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑลที่มีมายาวนานล่าสุดคนในเมืองก็ได้ทดลองนั่งสายสีเหลืองช่วงนี้มีการเปิดให้ใช้บริการฟรี ส่วนจะเริ่มเก็บค่าโดยสารเมื่อไหร่อัตราใด และไปดูว่าหลังจากจากนี้จะมีสายไหนอะไรเปิดให้บริการเพิ่มเติมตามมา ขณะที่ผู้ให้บริการอย่างบีทีเอสเริ่มมีความหวังที่จะได้รับการแก้ไขปัญหานี้สินคงค้างจากรัฐบาลใหม่

“ปัญหาน้ำท่วม - รถติด - ฝุ่นควัน” โจทย์ใหญ่รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไข ร่วมกับผู้ว่ากทม. จับตาค่ารถไฟฟ้าปรับลดลงได้จริงหรือไม่ ทางออกแก้ปัญหาหนี้สินอยู่ตรงไหน ทำไมลงทุน 11 เส้นทางกว่า 1 ล้านล้านบาทแต่ประชาชนยังใช้ไม่คุ้มค่า


https://www.youtube.com/watch?v=R5RUnME9HzA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2023 11:32 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวดี บัตร EMV ขึ้นรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ใต้ดิน ไม่เสียค่าแรกเข้า

มีข่าวดีออกมาต่อเนื่อง สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ล่าสุด ผู้โดยสารสามารถเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยใช้บัตร EMV แตะเข้าระบบได้ โดยไม่เสียค่าแรกเข้าเพิ่ม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล ผู้ได้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (9 มิ.ย.) จะหารือกับ รฟม. เพื่อยืนยันความพร้อมในการขยายเส้นทางและเวลาในการเปิดให้บริการเดินรถไปจนถึงสถานีภาวนา ในวันที่ 12 มิถุนายนนี้ ส่วนสถานีลาดพร้าวคาดว่า จะเปิดได้หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์

และสำหรับผู้โดยสารสายสีเหลือง ที่จะเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน สามารถใช้บัตร EMV หรือ บัตรเครดิตที่ใช้เทคโนโลยี EMV Contactless ทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด แตะเข้าระบบได้เลย โดยไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 16 บาทต่อครั้ง แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนดไม่เกิน 90 นาที ต่อการเดินทาง 1 ครั้ง อย่างไรก็ดี วันนี้ยังให้ขึ้นฟรีอยู่ ตามกำหนดจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป
https://www.youtube.com/watch?v=FWLT4imSrss
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2023 10:23 am    Post subject: Reply with quote

มีบัตรเครดิต-บัตรเดบิต แตะขึ้นรถไฟฟ้า-ขนส่งสาธารณะได้ สายไหนบ้าง ?
ไลฟ์สไตล์
วันที่ 14 มิถุนายน 2566 เวลา 12:49 น.


แค่มีบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ใช้แตะเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้า และใช้ระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้ทันที รถไฟฟ้าสายไหนรองรับ แล้วรองรับบัตรประเภทใดบ้าง ?

รถไฟฟ้า หนึ่งในการเดินทางที่เชื่อมคนจากทั่วทุกมุมเมือง สู่จุดหมายต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ทั้งศูนย์การค้า ออฟฟิศ ตลาด ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ปริมณฑล


ยิ่งในยุคสังคมไร้เงินสด ที่เราสามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าหรือขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบันก็สะดวกสบายไม่แพ้กัน เพราะเพียงแค่มีบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ก็สามารถแตะแล้วเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้า หรือแตะเพื่อจ่ายค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะได้ในทันที ไม่ต้องซื้อตั๋วโดยสารหรือบัตรเติมเงินก่อน

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมข้อมูล ระบบขนส่งสาธารณะ-บัตรแบบไหน รองรับบ้าง

Advertisement
arrow_forward_iosคลิก
Pause



รถไฟฟ้า BTS
รถไฟฟ้า BTS ทั้งสายสีเขียวอ่อน (สายสุขุมวิท สถานีคูคต-สถานีเคหะฯ) สายสีเขียวเข้ม (สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีบางหว้า) และสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน) ไม่รองรับการแตะเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้า ด้วยบัตรเดบิต-บัครเครดิตโดยตรง

แต่สามารถใช้วิธีการผูกบัตรแรบบิท (Rabbit Card) เข้ากับกระเป๋า Rabbit Line Pay และผูกบัตรเดบิต-บัตรเครดิต เพื่อหักเงินค่าโดยสารได้ทันที ซึ่งกระเป๋า Rabbit Line Pay รองรับบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ทั้ง วีซ่า (Visa), มาสเตอร์การ์ด (Mastercard), เจซีบี (JCB) และบัตรเดบิต Thai Payment Network (TPN) ของธนาคารกรุงเทพ

รถไฟฟ้า MRT
รถไฟฟ้า MRT ทั้งสายสีน้ำเงิน (สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ และส่วนต่อขยาย สถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง) สายสีม่วง (สถานีเตาปูน-สถานีคลองบางไผ่) และสายสีเหลือง (สถานีลาดพร้าว-สถานีสำโรง) รองรับการใช้งานทั้งบัตรเครดิต วีซ่า (Visa) และมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) ของทุกธนาคารผู้ออกบัตร และรองรับบัตรเดบิต ซึ่งขณะนี้รองรับเฉพาะบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทย และธนาคารยูโอบี (รวมบัตรเดบิต UOB TMRW)

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้บัตรพรีเพด (Prepaid Card) หรือบัตรทราเวลการ์ด (Travel Card) ที่คุ้นเคยกัน เพื่อเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้า MRT ได้เช่นเดียวกัน โดยสามารถใช้ได้ทุกธนาคาร เช่นเดียวกับบัตรเครดิต

นอกจากนี้ รถไฟฟ้า MRT สายอื่น ๆ ที่กำลังจะเปิดในอนาคต ทั้งสีชมพู และสีอื่น ๆ จะรองรับการใช้งานบัตรเดบิต และบัตรเครดิต สำหรับการแตะเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ทั้งสายสีแดงเข้ม (สถานีบางซื่อ-สถานีรังสิต) และสายสีแดงอ่อน (สถานีบางซื่อ-สถานีตลิ่งชัน) รองรับการแตะบัตร ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรพรีเพด ในการเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงได้ทันที

โดยการใช้งานบัตรทั้ง 3 ประเภท เพื่อเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้าจะต้องเป็นบัตร วีซ่า (Visa), มาสเตอร์การ์ด (Mastercard) เจซีบี (JCB) และยูเนี่ยนเพย์ (UnionPay) ซึ่งสามารถใช้งานได้ทุกธนาคาร

ระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ที่รองรับ
นอกจากรถไฟฟ้าทั้ง 3 ระบบที่กล่าวมาแล้ว บัตรเครดิตและบัตรเดบิต ยังสามารถแตะเพื่อใช้งานระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ได้ ทั้งรถเมล์ของ ขสมก. รถ บขส. (ไม่รวมรถร่วมเอกชน) และรถเมล์โดยสารในพื้นที่ต่างจังหวัดที่เปิดให้บริการชำระเงินแบบ Cashless (เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา) โดยรถเมล์ ขสมก. และรถเมล์อื่น ๆ ที่รับชำระ สามารถแตะเพื่อจ่ายค่าโดยสารได้ทันที ส่วนรถ บขส.สามารถใช้บัตรเพื่อจ่ายค่าโดยสารได้ที่จุดจำหน่ายตั๋ว

รวมถึงผู้ที่เดินทางด้วยรถยนต์และใช้ทางด่วนเป็นประจำ สามารถใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตจ่ายค่าผ่านทางได้ทันที โดยรองรับทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บริษัท ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ (BEM) และบริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ดังนี้

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษศรีรัช
ทางพิเศษบูรพาวิถี
ทางพิเศษอุดรรัถยา
ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์
ทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์
ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์)
สำหรับการหักค่าใช้จ่าย เมื่อจ่ายค่าโดยสาร/่ค่าผ่านทางด้วยบัตรต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่จะหักเงินในทันทีที่แตะออกจากระบบรถไฟฟ้า หรือหักทันทีที่แตะ ณ ด่านผ่านทางพิเศษ ยกเว้นกรณีรถไฟฟ้า MRT ที่จะหักในช่วงประมาณ 02.00 น. วันถัดไป โดยเป็นการหักค่าโดยสารแบบรวมยอดค่าโดยสารที่เกิดขึ้นในวันนั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 263, 264, 265 ... 278, 279, 280  Next
Page 264 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©