RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264529
ทั้งหมด:13575812
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 89, 90, 91 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2014 10:14 am    Post subject: Reply with quote

'ชัชชาติ' เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า แม้เป็น รบ.รักษาการ
Voice TV
4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 17:08 น.

แม้จะเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ และกลายเป็นขวัญใจของวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ ถึงขั้นมีตั้งแฟนเพจ "ชัชชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" กลายเป็น Net Idol ในยุคนี้ แต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังคงเดินหน้าทำงาน ติดตามการดำเนินงานของโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้ความดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.

โดยได้ติดตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งทั้งหมดมีความคืบหน้าร้อยละ 84.97 ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 1.47 โดยขอให้ผู้รับผิดชอบให้งานเสร็จตามเวลา และคาดว่า รถไฟฟ้าสีม่วงจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ต้นปี 2560 รวมถึงให้ดูแลงานก่อสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสีม่วงและสีน้ำเงินบริเวณเตาปูน เพื่อให้ประชาชนที่เดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและคล่องตัว

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ปัจจุบันงานโยธาคืบหน้าร้อยละ 53.19 ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 0.15 ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้มีปัญหาการคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินบางจุด เช่น บริเวณสามแยกไฟฉาย โดยสั่งการให้ รฟม.เร่งลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน และจ่ายเงินชดเชยกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เวนคืนอย่างเป็นธรรม เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนตามแนวเส้นทาง

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ขณะนี้คืบหน้าร้อยละ 22.58 เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.91 ถือว่าเป็นไปตามกรอบเวลา ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต - คูคต คาดว่า จะสามารถประกวดราคาได้ภายในปีนี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงรัฐบาลรักษาการณ์ จึงทำให้อาจเกิดปัญหาการหาแหล่งเงินกู้เพื่อก่อสร้างโครงการ และมีโครงการต้องใช้แหล่งเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า ซึ่งหากไม่ได้รับการอนุมัติตามสัญญาจะทำให้โครงการขาดสภาพคล่อง นายชัชชาติ ระบุว่า หากพบการขาดสภาพคล่องเป็นอุปสรรคก็พร้อมจะไปเจรจากับคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อให้การเดินหน้าโครงการทำได้ อย่างไรก็ตาม การขออนุมัติเงินกู้ก็ต้องไม่ดำเนินการมากเกินไปและเป็นไปตามกรอบของกฎหมายในช่วงการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าที่จะดำเนินการในอนาคต และขณะนี้ มีผลศึกษาการเตรียมความพร้อม เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีส้ม 2 ระยะ คือ เฟส 1 ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ-สุวินทวงศ์ ต่อไป

//-----------------------------

ชัชชาติเร่งรัดรฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้า3สาย (สายสีม่วง, น้ำเงิน, สีเขียว)
โพสต์ทูเดย์
4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 21:56 น.


Last edited by Wisarut on 05/02/2014 11:59 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2014 10:24 am    Post subject: Reply with quote

^^^
เวอร์ชั่นไทยรัฐครับ

"ชัชชาติ" ตะลุยเข็นรถไฟฟ้าให้คนกรุง
ไทยรัฐออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2557, 05:45 น.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เดินทางไปตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆ พบว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ คืบหน้า 53.19% ช้ากว่าแผน 0.15% รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ คืบหน้า 22.58% เร็วกว่าแผน 1.91% และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ คืบหน้า 84.97% ช้ากว่าแผน 1.47% ทั้งนี้ ในส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ก่อนสายอื่นยังเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยการจัดหาขบวนรถมาวิ่งให้บริการมีความคืบหน้า 4.07% คาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบได้ประมาณเดือน ก.ย. 2559 สามารถเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2560

“ตอนนี้การก่อสร้างไม่มีปัญหาอะไรก็พยายามให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดการดำเนินงานให้เร็วกว่าแผนที่กำหนด แต่ยังเป็นห่วงส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินอีก 1 สถานี คือ จากสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบันเชื่อมต่อกับสถานีเตาปูน รวมระยะทาง 1 กิโลเมตร โดยต้องการให้ รฟม.เร่งดำเนินการ ให้สามารถเปิดบริการได้พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าให้สะดวกมากขึ้น”

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ขณะนี้ยังพบปัญหาการก่อสร้างบริเวณสามแยกไฟฉาย จึงได้สั่งการให้ รฟม.ไปหารือกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่การก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า โดยยืนยันว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าในทุกเส้นทางจะยังเดินหน้าต่อไปตามแผนงานที่กำหนดถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แต่ในระหว่างนี้หากมีความจำเป็นต้องขอใช้เงินเพื่อจ่ายให้ผู้รับเหมาตามสัญญาการก่อสร้าง ก็จะต้องหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขออนุมัตินำเงินออกมาจ่ายให้กับผู้รับเหมาเป็นงวดๆไป

สำหรับการดำเนินโครงการต่างๆภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น นายชัชชาติ กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ดำเนินการมาหลายรัฐบาล หากรัฐบาลชุดไหนเข้ามาก็คงจะเดินหน้าต่อไป ส่วนจะอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณา หากไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องหาวิธีจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2014 12:46 am    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติชี้ลงทุนรถไฟฟ้า สายสีส้ม-ชมพูส่อสะดุด
ไทยโพสต์ Friday, 7 February, 2014

ชัชชาติยันโครงการลงทุนคมนาคมเดินหน้าตามปกติยกเว้นโครงการที่ยังไม่อนุมัติและลงทุนเกิน 1 พันล้าน โอดรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ชมพู ล่าช้าต้องรอรัฐบาลใหม่พิจารณา

"ชัชชาติ" เผย แผนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีส้ม ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ แต่สายเดิมก่อสร้างไปตามแผน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลัง การเข้าประชุมร่วมกับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ในวันที่ 6 ก.พ.57 ที่ผ่านมา ว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยราชการต่างๆ ขับเคลื่อนงานในความรับผิดชอบของตัวเองให้เป็นไปตามปกติ โดยเฉพาะการให้บริการประชาชนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด

ส่วนโครงการย่อยของกระทรวงคมนาคมจำนวน 3,000 โครงการ ก็สามารถเดินหน้าได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นการดำเนินงานตามกรอบงบประมาณปกติที่ได้อนุมัติไปแล้ว จะมีเฉพาะบางโครงการเท่านั้นที่มีงบประมาณหรือต้องทำสัญญามูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ รวมถึงโครงการเมกะโปรเจ็กต์ อาทิ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ที่ยังไม่สามารถ ดำเนินการได้ และต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นคนพิจารณา สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ และบางกะปิ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ซึ่งต้องล่าช้าออกไป จากเดิมที่คาดว่าภายในปี 2557 จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว แต่หลังรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาก็ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาพิจารณาแทน ส่วนสายอื่นๆ เช่น สายสีแดง สายสีม่วง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน ยังสามารถดำเนินการก่อสร้างตามแผนที่วางไว้ได้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2014 11:31 am    Post subject: Reply with quote

มึนรถไฟฟ้า3สีเงินลงทุนทยอยหมด จี้ก.คลังหางบฯ 1.7 หมื่นล้านโปะ"ม่วง-น้ำเงิน-เขียว"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 10 ก.พ. 2557 เวลา 10:45:02 น.

รัฐบาล ปูหาทางออกโครงการลงทุน ใช้งบฯปี"57 ผ่าทางตัน ศก.ระดมสภาพัฒน์ คลัง สำนักงบประมาณ กฤษฎีกา กรมบัญชีกลาง หาช่องผลักดันโครงการ ติดหล่มการเมือง ประเดิมโปรเจ็กต์คมนาคม ชี้มีโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท ติดล็อก 13 โครงการ จี้คลังหา 1.7 หมื่นล้านโปะค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย "ม่วง-น้ำเงิน-เขียว"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมติดตามงานกระทรวงต่าง ๆ ถึงปัญหาและอุปสรรคช่วงรัฐบาลรักษาการ และยังไม่มีกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้เมื่อไหร่ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยเชิญทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังปัญหาและชี้แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อ ให้โครงการเดินหน้าต่อไป ประกอบด้วยสภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานแรก จากนั้นจะเชิญกระทรวงอื่น ๆ เป็นลำดับถัดไป

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมได้หารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทาง ปฏิบัติของโครงการต่าง ๆ ในงบประมาณปี 2557 เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไป โดยพิจารณาว่ามีโครงการไหนบ้างที่เป็นอำนาจของรัฐบาลรักษาการจะอนุมัติได้ ที่มีปัญหาจะเป็นโครงการใหญ่เกิน 1,000 ล้านบาท

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้สิ่งที่จะทำได้คือโครงการที่ใช้เงินงบประมาณปี 2557 ที่จะเดินหน้าได้ตามปกติ แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่เพราะอำนาจให้แค่โครงการไม่เกิน 1,000 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้รัฐบาลต้องเร่งการเบิกจ่ายและลงทุนใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามสำนักงบประมาณมีข้อสรุป คือ 1.โครงการวงเงินต่ำกว่า 100 ล้านบาท เป็นอำนาจปลัดกระทรวงสามารถอนุมัติได้ 2.โครงการวงเงินเกิน 100 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท อยู่ในอำนาจรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมอนุมัติได้

และ 3.โครงการวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาอนุมัติ ในส่วนกระทรวงจะมีปัญหาคือ โครงการใหญ่มีประมาณ 13 โครงการที่ต้องชะลอออกไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กรมเจ้าท่า (จท.) เป็นต้น

"นอกจากนี้ ได้หารือถึงการใช้งบกลางในโครงการอุทกภัยที่มีปัญหา เพราะรัฐบาลรักษาการไม่สามารถอนุมัติได้ต้องขออนุญาต กกต. ในส่วนคมนาคมมีกว่า 10,000 ล้านบาทที่ต้องใช้เงินเพื่อซ่อมบูรณะถนนที่ได้ความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อ กลางปีที่แล้ว รวมถึงโครงการรถเมล์และรถไฟฟรีที่จะครบกำหนดวันที่ 31 มีนาคมนี้ ที่ประชุมให้กฤษฎีกาไปดูว่ารัฐบาลรักษาการอนุมัติได้หรือไม่ เพราะโครงการมีผลผูกพันไปถึงรัฐบาลหน้า"

นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวว่า กรมมีแผนงานทั้งหมด 27 โครงการใหม่ในปี 2557 มูลค่า 15,000 ล้านบาทที่จะต้องประมูลก่อสร้าง เป็นโครงการใหญ่รอ ครม.ใหม่อนุมัติ 3 โครงการ มูลค่าประมาณ 3,600 ล้านบาท ได้แก่ ถนนเลี่ยงเมืองสุรินทร์ วงเงิน 1,200 ล้านบาท ทางแยกต่างระดับที่สงขลา 1,200 ล้านบาท และทางลอดเชียงใหม่ 1,200 ล้านบาท

"ทั้ง 3 โครงการกรมอยู่ระหว่างคิดราคากลางเพื่อเปิดประมูลก่อสร้าง ซึ่งถึงจะก่อสร้างได้ตัวผู้รับเหมาแล้ว กรมจะต้องรอ ครม.ใหม่อนุมัติโครงการ ส่วนที่เหลืออีก 24 โครงการ วงเงินกว่า 11,400 ล้านบาท มูลค่างานเกิน 100 ล้านบาท แต่อยู่ในอำนาจที่รัฐมนตรีกระทรวงอนุมัติได้จึงไม่มีปัญหา ก็เดินหน้าต่อไป"

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบทกล่าวว่า กรมมี 1 โครงการที่มีปัญหาอุปสรรคต้องรอ ครม.ใหม่อนุมัติ คือ โครงการก่อสร้างถนนตามผังเมืองสาย ฉ ที่จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 1,700 ล้านบาท ส่วนที่เหลือก็เดินหน้าได้ตามปกติ ปัจจุบันกรมอยู่ระหว่างทยอยเปิดประมูล

นาย ศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่ากล่าวว่า กรมมี 3 โครงการรอ ครม.ใหม่อนุมัติ วงเงินกว่า 1,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่ประมูลล่าช้ามาจากปี 2556 จะต้องขอ ครม.เพื่อขยายเวลาผูกพันงบประมาณใหม่ ได้แก่ ขุดลอกแม่น้ำที่จังหวัดปัตตานี วงเงิน 180 ล้านบาท ถมทรายหาดพัทยา 430 ล้านบาท สร้างเขื่อนป้องกันคลื่นจังหวัดนครศรีธรรมราช 470 ล้านบาท

ด้านนาย ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.จะมีปัญหาเรื่องเงินกู้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) และสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) เพราะต้องหาแหล่งเงินกู้อื่นแทนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ชะลอไป

"ที่ต้องการด่วนคือเงินกู้งวดที่ 3 ของสายสีม่วง 11,000 ล้านบาท เพราะเงินมีเหลือพอจ่ายให้ผู้รับเหมาแค่เดือนกุมภาพันธ์นี้เท่านั้น ก้อนใหม่จะต้องขออนุญาตจาก กกต. นายกรัฐมนตรีให้กระทรวงการคลังไปดูแล้ว ถ้าหากไม่มีเงินจ่ายผู้รับเหมาจะขอเคลมค่าเสียหายมาที่ รฟม.ได้"

แหล่ง ข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้หารือร่วมกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ถึงการหาแหล่งเงินมาจ่ายผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายทาง วงเงินรวมประมาณ 17,000 ล้านบาท แยกเป็น 1.สายสีม่วง ครบกำหนดเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะขอให้หาเงินให้ก่อน 5,000 ล้านบาทเพื่อให้พอจ่ายถึงเดือนพฤษภาคมนี้ 2.สายสีเขียว ครบกำหนดเดือนพฤษภาคมนี้ จะขอเงินประมาณ 1,600 ล้านบาทเพื่อให้จ่ายถึงเดือนพฤศจิกายน 3.สายน้ำเงิน ครบกำหนดเดือนพฤษภาคมนี้ จะขอเงิน 4,500 ล้านบาทให้พอจ่ายถึงเดือนตุลาคมนี้

อนึ่ง งบประมาณปี 2557 ของกระทรวงคมนาคมอยู่ที่ 132,682.051 ล้านบาท แยกเป็นของส่วนราชการ 99,389.80 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ 33,292.251 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2014 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

อยากรู้ข้อมูลรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. หรือ - ดูได้ที่นี่ครับ

http://pr-cr-mrta.blogspot.com/

ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ของ รฟม.
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/09/blog-post.html

สายม่วงตอนเหนือที่กำลังก่อสร้าง
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

สายม่วงตอนใต้ที่ดำริจะทำ
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_9018.html

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่กำลังทำให้ครบวง
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_25.html

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตอนเหนื ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เพิ่งอนุมัติ
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_5939.html

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_28.html

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีซึ่งดำริจะทำจากมีนบุรีผ่านหน้าสนามกีฬาหัวหมากไปศูนย์วัฒนธรรมซะก่อน
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_1061.html

โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_1017.html

โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
http://pr-cr-mrta.blogspot.com/2013/08/blog-post_6539.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2014 2:02 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมหารือ "กกต." เร่ง 21 โครงการตกค้าง หลังยุบสภา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 ก.พ. 2557 เวลา 13:41:41 น.

คมนาคม เร่งสางงานค้าง หลัง ครม.ตีกลับ 21 เรื่องครบถ้วนทางบก น้ำ อากาศ และราง ทั้งแนวเวนคืนตัดถนนใหม่ รถไฟฟ้าสายใหม่สีม่วง-ชมพู-ส้ม ถนน 4 เลน พัฒนาท่าเรือ เงินบำนาญการรถไฟฯ บอร์ดการทางฯ ค่าลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน สร้างสนามบินเบตง เตรียมถก กกต.ขออนุมัติ

นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กระทรวงอยู่ระหว่างรวบรวมบัญชีเรื่องที่นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากรัฐบาลมีการประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ทำให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องคืนมายังกระทรวงอยู่หลายเรื่องด้วย กัน

"จะดูแต่ละเรื่องว่าเรื่องไหนจำเป็น จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีรักษาการพิจารณาได้บ้าง จะได้หารือกับ กกต. หรือเตรียมพร้อมสำหรับรัฐบาลใหม่เพื่อเริ่มต้นโครงการต่อไป"

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า จากการรวบรวมเรื่องที่ค้างอยู่ที่ ครม.ทั้งทางบก น้ำ ราง และอากาศ มีประมาณ 21 เรื่อง ประกอบด้วย

1.เรื่องของการขนส่งทางบก ได้แก่ การกำหนดอัตราค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวของกรมทางหลวงที่ปฏิบัติงานในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์, แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), ร่างประกาศเรื่องกำหนดให้การเวนคืนที่ดินในท้องที่ ต.โนนสะอาด จ.อุดรธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน

ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4057 สายตากใบ-บูเก๊ะตา ตอนทางเลี่ยงเมืองแว้ง พ.ศ. ..., ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ขออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ และขออนุมัติเงินงบประมาณค่าก่อสร้างใหม่ โครงการเร่งรัดทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง ขอ อนุมัติใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ พื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง และพื้นที่อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช สำหรับโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ทางหลวงหมายเลข 105 ตอนตาก-แม่สอด, ขอให้ปรับภารกิจด้านการจดทะเบียนรถของกรมการขนส่งทางบกออกจากแผนกระจายอำนาจ ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ ต.ในเมือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พ.ศ. ...

2.เรื่องของการขนส่งทางน้ำ ได้แก่ ขอทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2521 เรื่องการจัดตั้งองค์กรเพื่อการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบ ภัยแห่งชาติของกรมเจ้าท่า (จท.), ขออนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.), ขออนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง, ขอลดหย่อนค่ารายปีการประเมินภาษีโรงเรือน และ ที่ดินของการท่าเรือฯ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ประจำปีภาษี 2554 ของท่าเทียบเรือซี 3 และขอลดหย่อนค่ารายปีการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของการท่าเรือฯ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ประจำปี 2555 ของท่าเทียบเรือบี 1-บี 5

3.เรื่อง ของการขนส่งทางอากาศ มีโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง อ.เบตง จ.ยะลา และ

4.เรื่องของการขนส่งทางราง ได้แก่ การซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ขออนุมัติดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี, ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนที่ดินเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ และช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ในท้องที่ อ.บางบัวทอง อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพฯ พ.ศ. ...

การขออนุมัติกู้เงิน เพื่อจ่ายค่าบำเหน็จดำรงชีพให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟฯ, ขอรับความเห็นชอบโครงการความร่วมมือระหว่าง ร.ฟ.ท. และ ปตท. โครงการจัดหารถจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้รถลากจูงขบวนรถบรรทุกก๊าซ แอลพีจี, ขอลดหย่อนค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2554-2555 ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม.มีเรื่องที่ส่งคืนมาจาก ครม. จะมีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี), การแก้ไขให้อำนาจ รฟม.พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ ตามระเบียบข้อบังคับเกิน 10 ล้านบาท ต้องขออนุมัติ ครม. ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น สีม่วงต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ต้องรอ ครม.ชุดใหม่ รวมถึงการเจรจาเดินรถสายสีน้ำเงิน 1 กม. จากสถานีบางซื่อ-เตาปูน ที่จะต้องพิจารณาตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2014 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

กู้เงินใน ปท.แทน 2 ล้านล้าน รฟม.จ่ายค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง-มั่นใจ กกต.ไม่ค้าน
โดย: ทีมข่าว กทม.
หน้าข่าว กทม.
ไทยรัฐ
10 กุมภาพันธ์ 2557, 05:00 น.

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อมาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ขณะนี้ได้ส่งผลต่อการจ่ายค่าก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ในปี 2557 ซึ่งจะเริ่มจ่ายผู้รับเหมาในเดือนมีนาคมเป็นต้นไป รวมเป็นเงินประมาณ 11,000 ล้านบาท ดังนั้น รฟม.จึงเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.ให้พิจารณาเงินกู้ภายในประเทศโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่งเป็นการดำเนินการ ตามมติ ครม.เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ให้ รฟม.ยกเลิกเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) งวดที่ 3 สำหรับค่างานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วง มาเป็นแหล่งเงินกู้ในประเทศแทน เพื่อลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และประกอบกับรัฐบาลมี พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จึงนำโครงการไปผูกรวมกันไว้ด้วย ซึ่งขณะนี้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการ รมว.คมนาคม ได้เสนอเรื่องต่อ ครม.รักษาการแล้ว และมั่นใจว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินภายในประเทศให้ รฟม.เนื่องจากเป็นการกู้เงินตามมติ ครม.เดิม และเป็นโครงการผูกพัน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) และสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ที่รอใช้เงินจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จ่ายค่าก่อสร้างงานโยธาในปี 2557 สายสีน้ำเงินประมาณ 5,400 ล้านบาท สายสีเขียวใต้ ประมาณ 1,600 ล้านบาท แต่พบปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีมติ ครม.เมื่อปี 2554 อนุมัติให้ใช้เงินกู้ในประเทศรองรับ ดังนั้น คาดว่าไม่มีปัญหาเช่นกัน โดยจะเริ่มทยอยจ่ายในเดือนมิถุนายน-ธันวาคม ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแล้ว

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 มีความก้าวหน้ารวม 84.97% จากแผนงาน 86.44% ล่าช้ากว่าแผนงาน 1.47%, โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) มีความก้าวหน้ารวม 53.19% จากแผนงาน 53.34% ยังล่าช้ากว่าแผนประมาณ 0.15%, โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) มีความก้าวหน้ารวม 22.58% จากแผนงาน 20.67% เร็วกว่าแผน 1.91%.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2014 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดรถไฟฟ้าหลากสี "บางซื่อ-บางใหญ่" เลื่อนเปิดต้นปี"60
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 25557 เวลา 09:33:11 น.


ท่ามกลาง "รัฐบาลรักษาการ" แต่งานของ "คมนาคม" ไม่ได้หยุดนิ่ง ยังรันโครงการไปตามปกติ ล่าสุด "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รมว.กระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สายทาง ที่มีผลงานความก้าวหน้าดีเลย์ไปจากแผนงาน

"สีม่วง" ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2552 ผลงานคืบหน้า90% ช้าจากแผนอยู่กว่า 1-2% โดยเฉพาะ "สัญญาที่ 6" จัดหาผลิตและติดตั้งระบบที่เริ่มงานช้า ทำให้กำหนดการเปิดเดินรถเลื่อนไปเป็นต้นปี 2560 จากเดิมจะเร่งให้เปิดในเดือน ธ.ค. 2559


"สีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เริ่มงานเมื่อวันที่ 4 เม.ย.2554 ปัจจุบันผลงานคืบหน้ากว่า 53% ล่าช้าจากแผนประมาณ 0.15% จากสถิติเดิมเร็วกว่าแผนอยู่ 0.21%

ปัญหาของโครงการมาจากส่งมอบพื้นที่ล่าช้าหลายจุด เช่น วัดมังกร แยกบางพลัด แยกไฟฉาย และแยกท่าพระ ทำให้งานก่อสร้างโดยรวมล่าช้า รวมถึงสัมปทานเดินรถที่ยังไม่ได้เริ่มต้น คาดว่าจะกระทบการเปิดบริการเลื่อนเป็นเดือน ก.ค. 2560

"สีเขียว" ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 มี.ค. 2555 มีความคืบหน้ากว่า 22.58% เร็วกว่าแผนอยู่ 1.91% แต่มีอุปสรรคทำให้การก่อสร้างรุดหน้าไปไม่ได้เร็ว ด้านเทคนิคการติดตั้งระบบเซ็กเมนต์ แต่คาดว่าจะไม่กระทบการเปิดบริการในปี 2560

"สีแดง" ช่วงบางซื่อ-รังสิต เริ่มก่อสร้างต้นปี 2556 ผลงานก้าวหน้า 6% ยังล่าช้าจากแผนงานอยู่ 5-6 เดือน ติดเรื่องรื้อย้ายสาธารณูปโภค ทุบโครงสร้างโฮปเวลล์ และรอแบบก่อสร้างที่จะรื้อใหม่รับรถไฟขนาด 1.435 เมตร ยังลุ้นจากปัญหาดังกล่าว จะทำให้การเปิดใช้บริการในปี 2560 เลื่อนไปอีกหรือไม่

ส่วน "สายใหม่" ในปีนี้เปิดประมูลสายเดียว สายสีเขียว "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ในส่วนงานโยธา 29,140 ล้านบาท

สายที่รอลุ้น "รัฐบาลใหม่" มาสานต่อ มี "สีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี 34.6 กม. เงินลงทุน 56,691 ล้านบาท และ "สีส้ม" ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี 21.8 กม. เงินลงทุน 110,117 ล้านบาท "สีเหลือง" ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. เงินลงทุน 48,619 ล้าน และ "สีม่วงใต้" ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. เงินลงทุน 116,000 ล้านบาท

ส่วนสายสีแดงของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" มีหลายสายรอความหวังจากรัฐบาลใหม่ เงินลงทุนรวม 79,841 ล้านบาท ได้แก่ สีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง และสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 38,431 ล้านบาท สีแดงเข้มช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 10 กม. วงเงิน 5,447 ล้านบาท ต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ วงเงิน 28,440 ล้านบาท สีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14 กม. วงเงิน 7,523 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2014 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

ชงรื้อสะพานข้ามแยกบางกะปิ
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 13:55 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,922 วันที่ 13 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รฟม.มีลุ้นพิกัดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองบนถนนลาดพร้าวหลังประชาชนยังต่อต้าน 2-3 แห่ง เร่งเคลียร์ปัญหาโรงรับจำนำและจุดเปลี่ยนการเดินทางช่วงบางกะปิ กลุ่มที่ปรึกษาเจองานช้างรื้อสะพานยกระดับข้ามแยกแฮปปี้แลนด์- บางกะปิ และท่อประปาขนาดใหญ่ ส่วนการเดินรถใช้รูปแบบไรท์เรลไปบรรจบสายสีเขียวที่แบริ่ง-ลาซาล-สำโรง ด้านสวนลุมไนท์พลาซ่าเสนอขายยกแปลงให้รฟม.

แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้ยังมีลุ้นจุดก่อสร้างสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง เนื่องจากถูกประชาชนจำนวนหนึ่งต่อต้านโดยเฉพาะจุดก่อสร้างสถานีช่วงถนนลาดพร้าวจำนวนประมาณ 2-3 จุดที่ยังมีปัญหา เช่น จุดโรงรับจำนำและจุดที่จะต้องเปลี่ยนการเดินทางช่วงแยกบางกะปิ

สำหรับจุดก่อสร้างบนถนนศรีนครินทร์นั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้ว เหลือเพียงจุดก่อสร้างบนถนนลาดพร้าวเท่านั้น ประการสำคัญยังกังวลในจุดที่จะมีปัญหาอย่างมากคือ จุดแยกแฮปปี้แลนด์ที่จะต้องรื้อสะพานยกระดับข้ามแยกช่วงหน้าห้างเดอะมอลล์บางกะปิ และยังจะต้องเจองานช้างกับการรื้อท่อประปาขนาดใหญ่ใต้ดินในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งกีดขวางพื้นที่ก่อสร้างโครงการ

อย่างไรก็ดีปัญหาการรื้อย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าว ได้รายงานให้รฟม.รับทราบปัญหาต่างๆว่าจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรหรือไม่ มีทั้งลดขนาดและขยับซ้าย-ขวา โดยที่ปรึกษาได้ออกแบบไว้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะแยกเฟสก่อสร้างหรือไม่ วงเงินน่าจะยังอยู่ในกรอบที่ครม.อนุมัติไว้แล้ว ไม่ได้แตกต่างออกไปจากสายอื่นๆโดยเป็นการออกแบบครบทั้งแนวในคราวเดียวกัน จะแตกต่างเฉพาะในเรื่องขนาดของรถที่จะนำมาวิ่งให้บริการเท่านั้น โดยจะเล็กกว่าเฮฟวี่เรล แต่สามารถบริหารจัดการช่วงเวลาบริการให้ถี่ขึ้นได้

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับช่วงแยกถนนรัชดาฯตัดถนนลาดพร้าวที่จะมีการก่อสร้างสถานีเชื่อมโยงกับอาคารจอดรถนั้นยังมีพื้นที่ด้านหน้าเลี้ยวขวาตามแนวยาวไปด้านศาลอาญาที่จะก่อสร้างรองรับขบวนรถ ส่วนด้านตรงข้ามอยู่ระหว่างก่อสร้างโครงการลุมพินีไนท์บาซาร์ซึ่งมีแนวโน้มว่าต้องการขายพื้นที่ดังกล่าวทั้งโครงการให้รฟม.พัฒนาสอดคล้องกับอาคารจอดรถและจุดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟใต้ดิน MRT เป็นเมืองใหม่

อย่างไรก็ตาม หากสามารถก่อสร้างได้ทั้งเฟสให้ไปบรรจบสายสีเขียวช่วงอ่อนนุช-แบริ่งในพื้นที่แบริ่ง-ลาซาล-สำโรงเพื่อจะช่วยในการเชื่อมโยงการเดินทางศรีนครินทร์-สำโรง โดยล่าสุดทราบมาว่าพื้นที่สวนลุมไนท์พลาซ่าช่วงแยกรัชดาภิเษกตัดถนนลาดพร้าว สนใจจะขายที่ดินยกแปลงให้รฟม.นำไปพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวคิดของนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรฟม.ที่ต้องการนำไปพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้เป็นที่อยู่อาศัยหรือศูนย์การค้าอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าเพื่อหารายได้ปลดภาระหนี้รฟม.ที่มีอยู่กว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างอาคารสวนลุมไนท์พลาซ่ายังคืบหน้าไม่มาก หากรฟม.เห็นประโยชน์คงต้องเร่งจัดซื้อนำไปพัฒนาโดยเร็ว

ส่วนรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงนั้น มีระยะทางประมาณ 30.4 กิโลเมตรจำนวน 23 สถานี ดังนี้คือ
1. สถานีรัชดาฯ(เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน)
2. สถานีภาวนา
3. สถานีโชคชัย 4
4. สถานีลาดพร้าว 65
5. สถานีฉลองรัช
6. สถานีวังทองหลาง
7. สถานีลาดพร้าว 101
8. สถานีบางกะปิ
9. สถานีแยกลำสาลี(เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม)
10. สถานีศรีกรีฑา
11. สถานีพัฒนาการ(เชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตลิงค์)
12. สถานีคลองกลันตัน
13. สถานีศรีนุช
14. สถานีศรีนครินทร์ 38
15. สถานีสวนหลวง ร.9
16. สถานีศรีอุดม
17. สถานีศรีเอี่ยม และจุดซ่อมบำรุง(พาร์ก แอนด์ ไลต์)
18. สถานีศรีลาซาล
19. สถานีศรีแบริ่ง
20. สถานีศรีด่าน
21. สถานีศรีเทพา
22. สถานีทิพวัล และ
23. สถานีสำโรง(เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว)

โดยคาดว่าจะเปิดประมูลประกวดราคากลางปี 2557 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และเปิดให้บริการปลายปี 2561 โดยโครงการนี้จะใช้วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธาประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ค่าระบบและขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท และค่าเวนคืนประมาณ 9 พันล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2014 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-เทศชิงเดือดตั๋วร่วมระบบขนส่ง
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,922 วันที่ 13 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประมูลระบบตั๋วร่วมคมนาคมมูลค่า 409 ล้านบาทส่อเค้าแข่งเดือด รายใหญ่ไทย - เทศแห่ชิงเค้ก กลุ่มบีทีเอส ของเสี่ยคีรี ผนึกกลุ่มวิกซ์ ยักษ์ออสเตรเลีย กลุ่ม ช.การช่างจับคู่บีเอ็มซีแอล เข้าชิง วงในชี้จับตาล็อกสเปกกินรวบระบบตั๋วร่วม สนข.เผยล่าสุด 7 - 8 ประเทศให้ความสนใจ คาด 17 ก.พ.เข้าร่วมยื่นเอกสารเพียบ
แหล่งข่าวจากวงการที่ปรึกษาการจัดทำระบบตั๋วร่วมเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ให้จับตาการร่วมกลุ่มเพื่อเข้าร่วมพัฒนาระบบตั๋วร่วมคมนาคมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)จะเปิดให้ยื่นเอกสารแสดงความสนใจในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 นี้ ซึ่งมีบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศให้ความสนใจ โดยของไทยมี 2 บริษัทคือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทและสายสีลมด้วยระบบบัตรโดยสารแรบบิทการ์ดและสมาร์ทการ์ด และบมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ บีเอ็มซีแอล ที่มีบมจ. ช.การช่าง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามกระบวนการดำเนินงานจะเปิดให้มีการแข่งขันประมูลนานาชาติก็ตาม แต่มีแนวโน้มสูงมากที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบีทีเอสที่ถือว่ามีศักยภาพมากที่สุดในประเทศ เนื่องจากกลุ่มบีทีเอสลงทุนพัฒนาระบบตั๋วร่วมมานานแล้ว ช่วงหนึ่งได้เคยทำบันทึกความร่วมมือกับบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอลเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้จึงน่าจะใช้โอกาสนี้ผนึกกันเข้าแข่งประมูล
"ทั้งๆที่ตามศักยภาพในอนาคตแล้วบีเอ็มซีแอลน่าจะสามารถรองรับรถไฟฟ้าที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าของโครงการได้มากกว่าบีทีเอสที่ปัจจุบันให้บริการรถไฟฟ้าเพียง 2 สายเท่านั้น เพียงแต่มีประสบการณ์ระบบตั๋วร่วมและมีปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามากกว่าบีเอ็มซีแอลหลายเท่าตัวซึ่งถือว่างานนี้รฟม.นอกจากนั้นยังมีข้อพิรุธอีกหลายประการสำหรับการประมูลจัดทำระบบตั๋วร่วมของสนข.ในครั้งนี้"
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า สุดท้ายคาดหมายกันว่ากลุ่มบีทีเอสซี อาจจะร่วมมือกับกลุ่ม ช.การช่าง ซึ่งเป็นบริษัทหลักของรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าร่วมแข่งประมูลในครั้งนี้ หากเป็นเช่นนั้นถือเป็นการกินรวบระบบตั๋วร่วมด้านคมนาคมทั้งหมดก็ว่าได้ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อาจจะเสียโอกาสเนื่องจากรายได้ที่จะได้จากระบบตั๋วร่วมในแต่ละรายการคิดเป็นมูลค่าไม่ใช่น้อยหากเปิดให้บริการครบทั้งระบบ
ด้านนายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติการหน้าที่ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่า วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในกลุ่มเข้าแข่งขันจากประเทศต่างๆที่เข้าร่วมยื่นเอกสารแสดงความสนใจก่อนที่จะคัดเหลือ 6 รายเพื่อยื่นข้อเสนอภายใน 45 วันเบื้องต้นมีผู้แทนจากสเปน พิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ อเมริกา ฝรั่งเศส สอบถามรายละเอียดต่างๆดังนั้นจึงคาดว่าจะมีไม่เกิน 10 รายเข้าร่วมยื่นเอกสารแสดงความสนใจในครั้งนี้ เนื่องจากจะเป็นการประมูลแบบนานาชาติ(อินเตอร์เนชั่นแนล บิท) ส่วนการเปลี่ยนแปลงรายชื่อภายหลังที่คัดเลือกให้เหลือ 6 รายแล้วหากเพิ่มชื่อสามารถทำได้อีก ยกเว้นการปรับลดจำนวนจากที่ยื่นในครั้งแรกของแต่ละกลุ่มไม่สามารถจะทำได้
"คาดว่าในเดือนพฤษภาคมน่าจะเริ่มดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วมได้พร้อมกับการติดตั้งระบบโดยมีกรอบเวลา 30 เดือน จำแนกเป็น 6 เดือนแรกทำรายละเอียดทั้งหมด 6 เดือนต่อมาเป็นการจัดติดตั้งระบบ 6 เดือนที่ 3 ทำโครงการนำร่อง 6 เดือนที่ 4 เป็นการทดสอบระบบที่เหลือและติดตั้งระบบที่เหลือ ส่วน 6 เดือนสุดท้ายเป็นการบำรุงรักษาให้ระบบเสถียรมากขึ้น"
สำหรับงบประมาณการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเป็นวงเงินจากกระทรวงการคลังกำหนดไว้จำนวน 409 ล้านบาทจากงบประมาณโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ดีพีแอล) ไม่เกี่ยวกับเอดีบีที่เข้ามาวางนโยบายเอาไว้ เพื่อสนับสนุนสนข.ว่าจ้างที่ปรึกษาไปจัดทำร่างขอบเขตการศึกษาและทีโออาร์ในการจัดทำระบบในครั้งนี้ซึ่งเป็นการต่อยอดแนวคิดมาจากเอดีบีในการจัดทำระบบให้สามารถนำไปใช้งานได้ต่อไป
ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ/ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) บีทีเอสซี กล่าวว่า จะร่วมกับกลุ่ม Wix Technology จากประเทศออสเตรเลียที่ดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วมให้กับประเทศฮ่องกงและปักกิ่งเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ด้วย โดยพร้อมที่จะยื่นเอกสารแสดงความสนใจในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนประเด็นที่ว่าจะร่วมกับกลุ่ม ช.การช่างนั้น ยืนยันว่าการประมูลจัดทำระบบตั๋วร่วมในครั้งนี้แยกกันดำเนินงานชัดเจน
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล กล่าวว่าจะเข้าร่วมยื่นเอกสารแสดงความสนใจสำหรับการจัดทำระบบตั๋วร่วมในครั้งนี้อย่างแน่นอนโดยมีกลุ่มบริษัท ช.การช่างเป็นแกนหลัก ส่วนการจะร่วมกับเอกชนรายใดที่มีประสบการณ์นั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการบริษัท โดยอาจจะร่วมกับต่างประเทศก็เป็นได้ทั้งสิ้น
ด้านดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ ในฐานะที่ปรึกษาเรื่องระบบตั๋วร่วมของสนข. คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้คงจะชัดเจนสำหรับผู้ที่จะได้รับสิทธิ์เป็นผู้พัฒนาระบบตั๋วร่วมคมนาคมตามที่สนข.ต้องการ ส่วนการจะนำไปใช้งานได้เมื่อใดนั้นคงต้องพิจารณากันหลายฝ่ายอีกครั้ง ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะนำไปใช้กับระบบรางอย่างรถไฟฟ้า ระบบถนนของกรมทางหลวงอย่างมอเตอร์เวย์ หรือระบบทางด่วนซึ่งคงต้องนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลชุดใหม่จะเห็นชอบต่อไป
สำหรับคณะกรรมการบริหารระบบตั๋วร่วมกระทรวงคมนาคม มีนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการประกอบไปด้วยหัวหน้าหน่วยงานกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ ส่วนประธานคณะกรรมการที่จะพิจารณาให้เหลือ 6 รายนั้นมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองผู้อำนวยการสนข.เป็นประธานเพื่อคัดให้เหลือ 1 รายได้รับสิทธิ์เข้าไปพัฒนาระบบตั๋วให้สามารถใช้งานได้โดยเร็วต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 89, 90, 91 ... 278, 279, 280  Next
Page 90 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©