Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179869
ทั้งหมด:13491101
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2014 11:44 am    Post subject: Reply with quote

"บีเอ็มซีแอล" กินรวบรถไฟฟ้า สบช่องสุญญากาศรัฐบี้ รฟม.ปิดเกมประมูล
ไทยรัฐออนไลน์ 19 กุมภาพันธ์ 2557, 05:15 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลัง ว่า ขณะที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังคงเผชิญวิกฤติทางการเมืองรอบด้านจนก่อให้เกิดสุญญากาศการเมืองนั้น ในส่วนของกลุ่มทุนทางการเมืองยังคงเดินเกมอย่างสุดลิ่มเพื่อหวังเร่งรัดการตักตวงผลประโยชน์ของตน โดยล่าสุด ผู้บริหารรถไฟฟ้าใต้ดินภายใต้สัมปทานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังหาทางเจรจากับฝ่ายการเมืองในรัฐบาลรักษาการผ่านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รมว.คลัง เพื่อให้ผลักดันแนวทางการให้สัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) แก่บริษัท โดยอ้างว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินเฉลิมรัชมงคลและรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่บริษัทรับสัมปทานอยู่

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้ารายดังกล่าวได้มีการเจรจาให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม. อนุมัติสัมปทานการลงทุนให้แก่บริษัทโดยตรงโดยไม่ต้องประมูล แต่หลังจากรัฐบาลได้ยุบสภาไป จึงทำให้แนวโน้มการเจรจาเพื่อหาทางกินรวบสัมปทานโดยตรงทำได้ยากขึ้น จึงหันมาผลักดันให้ รฟม.เร่งรัดการเปิดการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามมติ ครม.เดิม แต่มีการล็อบบี้ให้ฝ่ายการเมืองกำหนดเงื่อนไขการประมูลในรูปแบบสัมปทานร่วมทุนในลักษณะที่เป็น PPP Gross Cost เช่นเดียวกับสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ที่บริษัทเพิ่งรับสัมปทานไป

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบบขนส่งตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการให้สัมปทานรถไฟฟ้าไม่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใด ก็ล้วนเปิดช่องให้เอกชนบางรายผูกขาด อย่างกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มีการเซ็นสัญญาก่อนยุบสภานั้น เห็นได้ชัดเจนว่าแม้จะมีการประมูลตามโครงการ PPP แต่กลับเต็มไปด้วยความล่าช้าและมีราคาแพงกว่าราคาที่ รฟม. และเอดีบีศึกษาไว้ร่วม 27,000 ล้านบาท “ที่สำคัญหากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ยึดทรัพย์นอดีตปลัดกระทรวงคมนาคมจำนวน 46 ล้านบาทข้อหาร่ำรวยผิดปกตินั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงมาถึงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงนี้ด้วย เพราะเป็นการประมูลที่มีขึ้นในช่วงที่นายสุพจน์ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด รฟม.โดยตรง”.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2014 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

ชิงตั๋วร่วมไร้เงาCK-บีเอ็มซีแอล
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 16:01 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,924 วันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

6 รายยื่นแสดงความสนใจจัดทำระบบตั๋วร่วม ไร้เงากลุ่มช.การช่าง-บีเอ็มซีแอล แต่มีสเปนโผล่เบียดชิง ส่วนบีทีเอสยังเต็งหรา สนข.เผยได้หัวกะทิด้านศึกษาออกแบบระบบตั๋วร่วมจริงๆ เร่งพิจารณาคุณสมบัติก่อนแจ้งให้แต่ละกลุ่มรับทีโออาร์ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติการหน้าที่ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการที่ได้เปิดให้ผู้สนใจยื่นเอกสารแสดงความสนใจเข้าร่วมพัฒนาระบบตั๋วร่วมคมนาคมไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 นั้นพบว่ามีผู้สนใจทั้งสิ้นจำนวน 6 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งผิดคาดไปบ้างจากที่คาดว่าจะมีผู้สนใจเกือบ 10 ราย โดยทั้ง 6 รายนั้นถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและออกแบบระบบตั๋วร่วมมาเป็นอย่างดี สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องเร่งพิจารณาคุณสมบัติให้เสร็จสิ้นโดยเร็วต่อไป

สำหรับผู้แสดงความสนใจทั้ง 6 กลุ่มนั้น ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มลอตเต้ จากประเทศเกาหลีใต้ รวมกับกลุ่มบริษัทปัญญาคอนซัลแตนส์ จำกัด
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม อินดา INDRA จากสเปน รวมกับกลุ่มบริษัทไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง จำกัด
กลุ่มที่ 3 กลุ่มซีล็อกซ์(SEROX) ที่รวมกันระหว่างอเมริกากับออสเตรเลีย
กลุ่มที่ 4 บีเอสวี โดยมีกลุ่มบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอสซีของไทยเป็นแกนนำ โดยมีบริษัทสมาร์ทแทรฟฟิค จำกัด และกลุ่มวิกซ์จากออสเตรเลียร่วมด้วย
กลุ่มที่ 5 กลุ่มเอที ประกอบด้วยบริษัทไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี้ฯ ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ และ
กลุ่มที่ 6 กลุ่มเอ็มเอส ประกอบด้วย กลุ่มเอ็มเอสไอจากสิงคโปร์ ร่วมกับบริษัทสามารถ คอมเทค จำกัด ของไทย
นายเผด็จกล่าวอีกว่าในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 คณะกรรมการจะประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆอาทิ เรื่องคุณสมบัติหรือระบบฮั้วต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์ด้านระบบตั๋วร่วมและเคลียริ่งเฮาส์ หรือระบบเชื่อมต่ออื่นๆมานำเสนอ เมื่อฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจะประชุมอีกครั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ก่อนที่จะเร่งสรุปเพื่อนำเสนอนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสนข.หลังจากนั้นคาดว่าจะแจ้งให้แต่ละรายเข้ามารับเอกสารทีโออาร์ได้ประมาณวันที่ 3 มีนาคมนี้ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันตามที่กำหนดในเงื่อนไข ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีไม่ผ่านการพิจารณาหรืออาจจะผ่านหมดทั้ง 6 รายก็ได้ ดังนั้นรายใดมีข้อเสนอที่ดีกว่าก็จะได้สิทธิ์การพัฒนาและติดตั้งระบบให้แล้วเสร็จภายใน 30 เดือน

"สำหรับงบประมาณการพัฒนาระบบตั๋วร่วมคมนาคมในครั้งนี้ได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 409 ล้านบาทจากงบประมาณโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(ดีพีแอล)ของ กระทรวงการคลัง แต่เนื่องจากจะเป็นการประมูลแบบนานาชาติ(อินเตอร์เนชั่นแนลบิต) จึงคาดว่าจะมีผู้ผ่านการพิจารณาในครั้งนี้มากกว่า 1 ราย แต่ก็ปรากฏว่ากลุ่มธนาคารกรุงไทยยังไม่ปรากฏรายชื่อเข้าร่วม และบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอลที่มีกลุ่มรับเหมาชั้นนำอย่างบริษัทช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือCK เป็นแกนนำไม่ได้เข้ามาร่วมยื่นเอกสารด้วยเช่นกัน"

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ/ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) บีทีเอสซี กล่าวว่า เมื่อดูจากรายชื่อทั้งหมดไม่รู้สึกหนักใจโดยได้ดึงเอากลุ่มบริษัท สมาร์ทแทรฟฟิคฯ ที่เชี่ยวชาญระบบทางด่วนเข้าร่วมด้วย นอกเหนือจากกลุ่ม Wix Technology ที่มีประสบการณ์จัดทำตั๋วออโตบุชให้กับฮ่องกงและปักกิ่งประสบความสำเร็จมาแล้วอีกทั้งยังถือว่าเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่และมีประสบการณ์เข้าตามเงื่อนไขคุณสมบัติที่สนข.กำหนดไว้ เช่นเดียวกับประสบการณ์ที่ปัจจุบันบีทีเอสมีผู้โดยสารประมาณ 6-7 แสนคนต่อวัน โดยมีผู้ใช้แรบบิทประมาณ และระบบสมาร์ทพาส จำนวนมากซึ่งระบบตั๋วที่ใช้อยู่ยังในปัจจุบันไม่พบปัญหาใดๆ จึงมีโอกาสใช้ระบบตั๋วของบีทีเอสได้มากขึ้นตามไปด้วยหากสามารถชนะการคัดเลือกในครั้งนี้"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2014 2:13 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ดันแก้กฎหมายปั้นแนวคิด TOD พัฒนารอบสถานีผุดห้าง-คอนโดฯ สร้างรายได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2557 23:22 น.

รฟม.ยึดโมเดลฮ่องกง ต้นแบบพัฒนาพื้นที่เดโปรถไฟฟ้าสีส้ม-สีชมพู
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 28 มกราคม 2014 เวลา 14:52 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,918
วันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557




Want to use Hongkong MTR as the model for mass transit development
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2014 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ฝากความหวัง ครม.ใหม่สร้างรถไฟฟ้า 3 สาย
ไทยรัฐออนไลน์ 24 กุมภาพันธ์ 2557, 13:02 น.

บอร์ด รฟม. เตรียมความพร้อมโครงการ รอเสนอ ครม.ใหม่ อนุมัติงบลงทุนปี 58 กว่า 1.12 แสนล้านบาท รองรับรถไฟฟ้าใหม่ 3 สาย...

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาเตรียมความพร้อมของโครงการต่างๆ ก่อนที่จะไปนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่

โดยประกอบไปด้วยการขออนุมัติก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงปากเกร็ด-แคราย-มีนบุรี และสายสีส้ม เฟสแรกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เสนอแก้ไข พ.ร.บ.รฟม.เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการปรับเพิ่ม วงเงินการอนุมัติโครงการที่ต้องให้ ครม.เห็นชอบจากเดิมโครงการที่วงเงินเกิน 10 ล้านเป็น 100 ล้านบาทเพื่อให้เกิดความคล่องตัว และบอร์ดได้อนุมัติงบรายจ่ายประจำปี 58 ซึ่งเป็นงบดำเนินการ 111,273 ล้านบาท งบเบิกจ่าย 57,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 57 ที่ใช้งบดำเนินการอยู่ที่ 63,401 ล้านบาท และงบเบิกจ่าย 35,557 ล้านบาท

ทั้งนี้ จะเป็นงบที่สูง เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการรถไฟฟ้า หลายสายโดยจะเน้นสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่อยู่ในขั้นตอนประกวดราคาและได้อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยธุรกิจซึ่งจะเป็นบริษัทลูกของ รฟม.ขึ้น 2 หน่วยคือหน่วยธุรกิจตั๋วร่วมและหน่วยธุรกิจรถไฟฟ้ารวมถึงอนุมัติ การปรับโครงสร้างองค์กรให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2014 9:31 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ชงรัฐตั้งงบกลาง ลงทุนพัฒนาระบบราง
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
อังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557

สนข.เตรียมเสนอรัฐบาลตั้งงบกลาง ลงทุนระบบราง หากร่าง พ.ร.บ.ลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ พร้อมเดินหน้าไฟฟ้าทุกสาย บอร์ด รฟม.อนุมัติงบลงทุนปี 58 กว่า 1.12 แสนล้านบาท รองรับโครงการรถไฟฟ้า

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายเเละแผนการขนส่งเเละจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทขัดกฎหมาย สนข.จะเสนอให้รัฐบาลตั้งงบกลางมาลงทุน ระบบราง อาทิ โครงการรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางคู่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความจำเป็น เพราะเป็นการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

“เตรียมสรุปโครงการสำคัญๆ ให้รัฐบาลพิจารณาเพื่อจัดสรรงบประมาณมาลงทุน โดยอาจให้เป็นงบประมาณผูกพัน แต่หากรัฐบาลไม่มีเงิน อาจใช้เป็นเงินกู้ทั้งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ หรือให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน โดยจะพิจารณาเป็นตามลำดับความสำคัญของโครงการยอมรับว่าหาก พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อกฎหมายจริง ก็อาจทำให้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เวลามากกว่า 7 ปี” นายจุฬากล่าว

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ยังคงเดินหน้าทำการศึกษาตามขั้นตอน คาดว่าผลการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะแล้วเสร็จปลายเดือน มี.ค.57 ส่วนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน จะแล้วเสร็จปลายเดือน เม.ย.2557

น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่าบอร์ดได้พิจารณาเตรียมความพร้อมของโครงการต่างๆ ก่อนที่จะไปนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ประกอบด้วย

การขออนุมัติก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงปากเกร็ด-แคราย-มีนบุรี และ
สายสีส้ม เฟสแรกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

เสนอแก้ไข พ.ร.บ.รฟม.เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการปรับเพิ่ม วงเงินการอนุมัติโครงการที่ต้องให้ ครม.เห็นชอบจากเดิมโครงการที่วงเงินเกิน 10 ล้าน เป็น 100 ล้านบาทเพื่อให้เกิดความคล่องตัว และบอร์ดได้อนุมัติงบรายจ่ายประจำปี 58 ซึ่งเป็นงบดำเนินการ 111,273 ล้านบาท งบเบิกจ่าย 57,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 57 ที่ใช้งบดำเนินการอยู่ที่ 63,401 ล้านบาท และงบเบิกจ่าย 35,557 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2014 11:39 am    Post subject: Reply with quote

ซีคอนรับรถไฟฟ้า-ผังเมืองใหม่ ปัดฝุ่นคอมเพล็กซ์กว่า1.5หมื่นล.
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 25 กุมภาพันธ์ 2557 00:00 น.
ซีคอนรับรถไฟฟ้า-ผังเมืองใหม่ ปัดฝุ่นคอมเพล็กซ์กว่า 1.5 หมื่นล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กุมภาพันธ์ 2557 16:05 น.

อานิสงส์ผังเมือง-รถไฟฟ้า 'ซีคอน'ทุ่มสร้างอาณาจักรใหม่
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
อังคาร 25 กุมภาพันธ์ 2557 - 00:00


ASTVผู้จัดการรายวัน-ผังเมืองปลดล็อก รถไฟฟ้าสายสีเหลืองตัดผ่าน “ซีคอน” สบโอกาสทอง ทุ่ม 15,000 ล้านบาท ปัดฝุ่นโปรเจกต์ “ซีคอน ซิตี้” เตรียมผงาดใน 5ปี พร้อมเพิ่มพื้นที่ซีคอนสแควร์อีก 30,000 ตารางเมตร ภายใต้เงินลงทุนรวมกว่า 1,800 ล้านบาทของปี57 สู้ศึกรีเทลย่านศรีนครินทร์ มั่นใจช่วยเร่งการเติบโตใน3ธุรกิจ ได้อีก 5.5-8.9% ในสิ้นปี จากปีก่อนมีรายได้จาก3ธุรกิจรวมกันกว่ามีมูลค่า 2,278 ล้านบาท

นายตะติยะ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีคอน บางแค จำกัด เปิดเผยว่า จากการปรับผังเมืองใหม่ครั้งที่ 3 ได้ประกาศใช้เมื่อ พ.ค. 2556 ที่ผ่านมา ที่ระบุให้ย่านศรีนครินทร์เป็นโซนสีส้ม ย.6 ที่สามารถสร้างอาคารได้เกิน 10,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่พิเศษ บวกกับข้อมูลจากทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ที่จะเริ่มโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2561 โดยมีสถานีสวนหลวง ร.9 ที่ใกล้กับศูนย์การค้าอีกด้วย ถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำโครงการ “ซีคอน ซิตี้” บนพื้นที่กว่า 120 ไร่ที่เคยระงับไว้ กลับมาพิจารณาการลงทุนใหม่อีกครั้ง

สำหรับโครงการซีคอน ซิตี้ ครั้งนี้ ได้วางงบลงทุนไว้ที่ 15,000 ล้านบาท แหล่งทุนมาจากกระแสเงินสด 50% และเป็นการยื่นขอกู้อีก 50% ล่าสุดยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นเท่านั้น โดยจะต้องมีการปรับปรุงดีไซน์ใหม่ เพราะโครงการนี้เดิมวางไว้ตั้ง 10 ปีก่อน รวมถึงต้องปรับโมเดลใหม่และคอนเซปต์ใหม่ ต้องมีจุดเด่นและจุดขายที่แตกต่าง เบื้องต้นจะเป็นโครงการคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่และมีความเป็นพรีเมี่ยมกว่าซีคอนสแควร์

เบื้องต้นภายในโครงการจะประกอบด้วย คอนโดมิเนียม, เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์, ศูนย์การศึกษา,อาคารสำนักงาน, สปอร์ตคอมเพล็กซ์ เป็นต้น จับกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง และกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับการแข่งขันของธุรกิจศูนย์การค้าที่รุนแรงขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆเกิดขึ้นอีกมาก จากการเกิดของแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ หลังจากรถไฟฟ้าตัดผ่าน เชื่อว่าหลังจากศึกษาความเป็นไปได้ในปีนี้แล้ว จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปีหน้าและคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการในระยะเวลา 5 ปี

นายตะติยะ กล่าวต่อว่า ส่วนภาพรวมการลงทุนปกติของปีนี้ คาดว่าจะใช้งบไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท สำหรับ 3 ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ คือ

1.ศูนย์การค้า ซีคอน สแควร์ ปีนี้จะมีการขยายพื้นที่รีเทลและที่จอดรถเพิ่มเติม รวมพื้นที่กว่า 30,000 ตารางเมตร ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาท จากเดิมที่มีพื้นที่กว่า 470,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังจะมีการปรับปรุงพื้นที่ใหม่อีก 2-3 โซน ด้วยงบอีกกว่า 200 ล้านบาท เช่น แบงกิ้งโซน, ฟู้ดคอร์ทใหม่ เป็นต้น และงบการตลาดอีก 70 ล้านบาท

2.ศูนย์การค้า ซีคอน บางแค ปีนี้จะเพิ่มโซนเอ็ดดูเคชั่น และไอซ์สเก็ต ด้วยงบ 100 ล้านบาท พร้อมงบการตลาดอีก 120 ล้านบาท สร้างกิจกรรมตลอดปีอีก 10 กว่างาน เพื่อเพิ่มทราฟฟิก และ3.โรงแรม เรเนซองส์ ภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์ สปา กับงบปรับปรุงเพิ่มเติมอีก15 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา มีรายได้รวมจาก 3 ธุรกิจกว่า 2,278 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ซีคอนสแควร์มีรายได้ 1,386 ล้านบาท โต 5% ในสิ้นปีนี้คาดโตขึ้นอีก 5.5%

3. ส่วนซีคอน บางแค ปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกที่เปิดให้บริการและมีรายได้ถึง 530 ล้านบาท ในสิ้นปีนี้มองว่าจะเติบโตได้กว่า 8.9% และในส่วนของโรงแรมนั้นจากปีก่อนมีรายได้ 362 ล้านบาทโต 11% ปีนี้น่าจะโตอีกอย่างน้อย 8.5% โดยคาดหวังว่าปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นจะจบลงได้เร็ววัน และเชื่อว่าปัญหาการเมืองในระยะสั้น อาจจะกระทบกับธุรกิจรายเล็กบ้างและจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดรเร็ว ซึ่งซีคอนยังโชคดี เพราะทั้ง2ศูนย์อยู่นอกพื้นที่การชุมนุม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/02/2014 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เล็งผุดรถราง"โคราช-พิษณุโลก-ภูเก็ต" เชื่อมรถไฟความเร็วสูงแก้จราจรเขตเมือง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กุมภาพันธ์ 2557 11:56 น.

สนข.นำร่องผุดรถรางโคราช ,พิษณุโลก ,ภูเก็ต เพื่อเชื่อมสถานีรถไฟความเร็วสูงทั้งเข้าเมืองและไปจังหวัดใกล้เคียง และแก้ปัญหาจราจรในเขตเมือง ลงทุนน้อย ค่าซ่อมบำรุงต่ำ เตรียมจ้างที่ปรึกษาศึกษาละเอียดรูปแบบลงทุนรถรางโคราช คาดรบ.ลงทุน ให้ท้องถิ่นบริหาร ส่วนกทม.ปัจจุบันกทม.ยังไม่เหมาะจนกว่าจะมีรถเมล์ใหม่และจัดเส้นทางใหม่ เล็งยุบสายที่วิ่งซ้ำซ้อนปรับเป็นรถรางวิ่งแทน ชูเมืองซิดนีย์ ต้นแบบเชื่อมรถราง-รถไฟฟ้าเพิ่มผู้โดยสาร

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนข.ได้ทำการศึกษาและวางแผนการเชื่อมการเดินทางเข้าสถานีรถไฟความเร็วสูงในแต่ละสถานีในจังหวัดต่างๆ เช่น โคราช พิษณุโลก รวมถึงการแก้ปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ เช่นภูเก็ต ซึ่งจะกำหนดระบบขนส่งที่เหมาะสมและสอดคล้องในการเดินทางของแต่ละจังหวัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูงได้สะดวกรวดเร็วรวมถึงสามารถเชื่อมต่อการเดินทางเข้าไปในพื้นที่สำคัญของจังหวัดนั้นๆและจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกที่สุด โดยในเดือนเมษายนนี้ สนข.จะว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อให้ศึกษารายละเอียดการก่อสร้างโครงการรถรางเมืองโคราช หรือ Tram Line วงเงินประมาณ 70 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 1 ปี

ทั้งนี้จะเป็นการนำผลการศึกษาเดิมของเทศบาลเมืองโคราชที่มีมาพัฒนาและศึกษยละเอียดมากขึ้นทั้งรูปแบบการก่อสร้าง การลงทุน การเดินรถที่มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งหลักๆ คาดว่าโคราชอาจจะมีรถรางประมาณ 2-3 สาย ทั้งวิ่งภายในเมืองไปยังสถานที่สำคัญ สนามกีฒา มหาวิทยาลัย และเชื่อมไปยังจังหวัดข้างเคียงเช่น ขอนแก่น โดยจะก่อสร้างไปบนเกาะกลางถนนมิตรภาพซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นถนนในเมืองไปแล้ว มีเป้าหมายรองรับการเดินทางของคนในจังหวัดนครราขสีมาเองเพื่อช่วยลดปริมาณรถยนต์และทำให้รถที่วิ่งมากจากจังหวัดอื่นผ่านเมืองโคราชได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยต้องพิจารณาหน่วยงานมี่จะทำหน้าที่ก่อสร้างงานโยธา ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่า ควรเป็นกรมทางหลวงเพราะการก่อสร้างจะอยู่บนเกาะกลางถนนของกรมทางหลวง

"แนวคิดเบื้องต้น รัฐบาลกลางจะเป็นผู้ลงทุนงานโยธา และให้ท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารการเดินรถ ทำให้มีโอกาสอยู่ได้ด้วยตัวเองและเป็นการกระจายอำนาจในส่วนของขนส่งมวลชนลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวของประเทศ โดยสนข.ทำหน้าที่ช่วยเหลือทางด้านเทคนิค ระยะทาง ประมาณ 11-12 กม. วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ลงทุนไม่มาก ค่าบำรุงรักษาต่ำ รองรับการเดินทางได้มากกว่า 300 คนต่อขบวนหรือเที่ยว ความเร็วเฉลี่ย 25 กม.ต่อชม.ขณะที่รถเมล์รับได้เพียง 60 คนต่อคันหรือเที่ยว"นายจุฬากล่าว

ส่วนกรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น ยอมรับว่า การนำรถรางมาวิ่งค่อนข้างยากเพราะพื้นที่มีจำกัด มีปริมาณการเดินทางสูง จึงเหมาะกับระบบรถไฟฟ้าที่ขนส่งได้ถึง1,200 คนต่อขบวน แต่ในอนาคต หากมีการปฏิรูปรถเมล์ มีรถใหม่ จัดเส้นทางใหม่ จะสามารถนำรถรางมาวิ่งแทนรถเมล๋ได้ในบางเส้นทางที่มีการวิ่งซ้ำซ้อนกันหลายสาย เพื่อลดปริมาณรถบนถนน โดยจะต้องมีระบบตั๋วร่วมแล้ว ซึ่งภายใน3 ปีระบบตั๋วร่วมจะสมบูรณ์

สำหรับระบบรถราง ถือเป็นระบบสำคัญของของขนส่งมวลชนเมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย ซึ่งนอกจากระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟชานเมืองและรถไฟระหว่างเมืองรวม 10 สายแล้ว พบว่ายังมี รถราง หรือ Tram Line ด้วย โดยรัฐบาลเมืองซิดนีย์ ออสเตรเลียมีการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะและขนส่งมวลชนของเมือง โดยมีCentral Station เป็นสถานีกลาง เหมือนสถานีกลางบางซื่อ เชื่อต่อระบบขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าวิ่งระหว่างเมือง รถราง รถเมล์ แท็กซี่ โดยมีระบบตั๋วร่วม โอปอล (Opal) ซึ่งจะพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้การเชื่อมต่อมีความสมบูรณ์ทั้งรถไฟฟ้า รถราง รถเมล์ เรือ ภายในปี 2557

อย่างไรก็ตาม ระบบรถไฟของซิดนีย์ในภาพรวม รัฐลงทุน100% โดยมีรายได้จากค่าโดยสารเพียง 30% จ้างเอกชนเดินรถรัฐอุดหนุนส่วนต่าง โดยใช้หลักคิดที่ใช้งบประมาณสำหรับระบบรางมากกว่าถนน เพราะถือว่าจะได้คืนในเรื่องความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทุกหน่วยงานต้องปฎิบัติตามแผนแม่บทกลาง โดยปัจจุบัน มีปริมาณการเดินทาง 1.27 ล้านเที่ยว แบ่งเป็น รถยนต์ 2% รถไฟ 2% รถราง 2% รถแท็กซี่ 1%เดิน 92% ส่วนกทม.มีการเดินทางสูงกว่ามากถึง 17 ล้านเที่ยวต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2014 9:37 am    Post subject: Reply with quote

อวสานเงินกู้ 2 ล้านล.'คมนาคม'งัด4ทางเลือกลุยโครงการ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คมนาคมลุ้นระทึกอวสานเงินกู้ 2 ล้านล้าน งัด 4 ทางเลือกลงทุนโปรเจ็กต์ "งบฯกลางปี'57-งบประมาณปี'58-เงินกู้-ดึงเอกชนลงทุนรูปแบบ PPP" ตั้งแท่นสกรีน รายโครงการทั้งถนน รถไฟฟ้า ทางคู่ ไฮสปีดเทรน เตรียมรายละเอียดโครงการชงรอรัฐบาลใหม่ไฟเขียว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 ก.พ.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ให้ผู้ที่ร้องและผู้ที่ถูกร้องยื่นคำแถลงปิดคดีเงินกู้ 2 ล้านล้าน บาท หลังออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยาน ผู้เชี่ยวชาญตามคำร้องขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรค 1 (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

คมนาคมลุ้นศาล รธน.

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะไม่ผ่านการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องมาจากเหตุอื่น เช่น การเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส., การกู้เงิน ลักษณะนี้ถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการตีความที่ไม่เกี่ยวกับ ข้อกฎหมายโดยตรง ดังนั้น หากไม่มีเงินกู้จาก 2 ล้านล้านบาท แต่โครงการยังจำเป็นต้องลงทุน โดยจะใช้แหล่งเงินลงทุนจากแหล่งอื่น ๆ ต่อไป

"หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงินไม่ผ่าน ถือเป็นการอวสานเฉพาะแผนกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ตัวโครงการยังไม่ล้ม ต้องหาทางแก้ไขด้วยการกลับไปใช้วิธีปกติที่เคยทำมาก่อนหน้านี้" แหล่งข่าวกล่าว

สนข.เตรียม 4 แผนสำรอง

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า หากโครงการ 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านศาล รธน. สนข.จะปรับเปลี่ยนแผนด้านเงินลงทุนใหม่ โดยวิธีการใช้เงินก่อสร้างจาก 4 แหล่ง ประกอบด้วย
Quote:
1.งบประมาณกลางปี 2557
2.งบประมาณปี 2558
3.เงินกู้ในประเทศหรือต่างประเทศ และ
4.ให้เอกชนร่วมทุนรูปแบบ PPP


"สาระสำคัญของ พ.ร.บ.เป็นการหาเงินมาลงทุนให้เสร็จใน 7 ปี แต่เมื่อแนวโน้มกฎหมายนี้จะไม่ผ่าน โครงการยังต้องลงทุนอยู่เพียงแต่อาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนกับขั้นตอนการทำงาน เพราะแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านทำเป็นแพ็กเกจ พร้อมกัน แต่วิธีปกติจะต้องขออนุมัติเป็นรายโครงการ"

ล่าสุด กระทรวงเตรียมรวบรวมโครงการรอเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา โดยจัดลำดับความสำคัญโครงการเร่งด่วนก่อนเพื่อขอใช้งบประมาณกลางปี 2557 ในสัดส่วน 20% ของวงเงินลงทุนทั้งโครงการมาดำเนินการ ส่วนใหญ่เป็นงบฯศึกษาและก่อสร้าง

โครงการระบบราง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่สำหรับสายที่ผ่านการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) นอกจากนี้ มีโครงการซ่อมบูรณะถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เป็นต้น

จัดลำดับโครงการเร่งด่วน

ส่วนแผนการใช้เงินลงทุนภายใต้งบประมาณปี 2558 อยู่ที่หน่วยงานนำเสนอ ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท, ศึกษารถไฟทางคู่ใหม่ 6 สายทาง เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อรัฐบาลต้องการลงทุน รวมทั้งจัดสรรเป็นงบฯเวนคืนที่ดินโครงการที่พร้อม เช่น รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ ฯลฯ

สำหรับโครงการที่วางแผนใช้เงินกู้ เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่คูคต) สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) และสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิมีนบุรี) รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ถนน 4 ช่องจราจร ขณะที่โครงการให้เอกชนมาร่วมลงทุน เช่น การเดินรถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง เพื่อลดภาระการใช้เงินของภาครัฐบาล ส่วนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธาทางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนให้ รวมทั้งโครงการมอเตอร์เวย์

"สนข.เชื่อว่าโครงการเหล่านี้จะได้รับการเดินหน้าต่อ เพราะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศที่สำคัญ"

จ้างที่ปรึกษาไฮสปีดเทรน

ในส่วนรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง สนข.จะศึกษาโครงการให้จบก่อน จากนั้นถึงจะประมวลโครงการเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา เนื่องจากเสียเงินจ้างที่ปรึกษาแล้ว ในส่วนของ สนข.มี 3 สายทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน ใช้เงินร่วม 500 ล้านบาท ยังไม่รวมสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้เงินจ้างที่ปรึกษาไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท

"เม็ดเงินค่าจ้างศึกษาโครงการต้องใช้ให้คุ้ม เมื่อผลศึกษาแล้วเสร็จจะนำเสนอต่อรัฐบาลประกอบการตัดสินใจลงทุนทั้งรายละเอียด รูปแบบ ความเป็นไปได้โครงการ รวมข้อเสนอแนะแหล่งเงินลงทุนด้วย ถ้ารัฐบาลเห็นด้วยก็เดินหน้าต่อ ถ้าไม่เห็นด้วย ก็จบ แต่ผมก็ยังเชื่อว่าเป็นโครงการที่ดี เหมาะสมกับประเทศไทยที่เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโต" ผอ.สนข.กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2014 10:12 am    Post subject: Reply with quote

สนข.โอ่ 57 ได้บริษัททำระบบตั๋วร่วม
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
พุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


สนข.เตรียมประมูลบริษัทบริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วม เเละบริษัทที่จะติดตั้งระบบตั๋วร่วมให้เเล้วเสร็จภายในปี 57 นี้ โดยคาดว่าระบบตั๋วร่วมในประเทศไทยจะเริ่มทดลองใช้ได้ภายใน 3 ปีนี้
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายขนส่งเเละจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการนำระบบตั๋วร่วมว่า คณะกรรมการบริหารจัดการตั๋วร่วมอยู่ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกผู้สนใจจะเข้าร่วมประกวดราคาในการทำระบบตั๋วร่วม ซึ่งมีบริษัทผู้ที่สนใจยื่นความจำนงแล้ว 6 บริษัท เป็นบริษัทจากออสเตรเลีย 2 บริษัท, เกาหลีใต้, สเปน, ไต้หวันและสิงคโปร์ ซึ่งขั้นตอนต่อจากนั้น สนข.จะให้บริษัทที่สนใจเข้าร่วมประมูล ทั้งบริษัทที่จะเป็นศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วม เเละ บริษัทที่สนใจด้านเทคนิคเข้าประกวดราคา ซึ่งคาดว่ากลางเดือน พ.ค.2557 นี้ จะได้ผู้ชนะการประมูล เเละปี 2558 จะพัฒนาระบบพร้อมติดตั้งและทดลองใช้ระบบตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
“ช่วงแรกจะเริ่มนำร่องระบบตั๋วร่วมในเดือน เม.ย.2558 คาดว่าภายในระยะเวลา 3 ปี หรือปี 2560 ระบบตั๋วร่วมในประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบทั้งระบบ ซึ่งสามารถใช้บริการได้กับรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่จะเปิดให้บริการในปลายปี 2559 ซึ่งเส้นทางดังกล่าวจะนำระบบตั๋วร่วมมาให้บริการด้วย” นายจุฬา กล่าว
สำหรับระบบตั๋วร่วมที่จะดำเนินการในประเทศไทยจะสามารถใช้บริการได้กับระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ผู้ใช้บริการทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และจะขยายไปยังผู้โดยสารที่ใช้บริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รวมถึงความร่วมมือจากร้านสะดวกซื้อ มีการใช้ระบบตั๋วร่วมในการซื้อสินค้า ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสประมาณ 700,000 เที่ยวคนต่อวัน และรถโดยสาร ขสมก.กว่า 1 ล้านคนต่อวัน ตั้งเป้าว่าช่วงแรกจะมีผู้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมประมาณร้อยละ 10 ต่อจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมด.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2014 11:46 am    Post subject: Reply with quote

กลุ่ม อปท.ร่วมระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาการเตรียมความพร้อม“การจัดทำระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเมืองพิษณุโลก” รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
วันที่ 26 ก.พ. 2557
IOC สปข.4 /สุวัฒนา พันธ์ภูมิ

เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือและร่วมระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความพร้อมในการจัดทำระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเมืองพิษณุโลก โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โครงการจำนวน 8 แห่ง เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อพิจารณารายละเอียด และความเหมาะสมของการจัดทำระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเมืองพิษณุโลกดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินโครงการมีความชัดเจน และเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุดในอนาคตต่อไป

นายบุญทรง แทนธานี นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เป็นเมืองบริการสี่แยกอินโดจีน มีแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เป็นถิ่นกำเนิดสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นที่ประดิษฐานขององค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมากมาย เป็นที่ตั้งของหน่วยงานความมั่นคงของภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 เป็นศูนย์ราชการ เขต 6 เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือตอนล่าง โดยมีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย และเป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง จากความเจริญในทุก ๆ ด้านที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้พิษณุโลกมีปัญหาต่างๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะปัญหาการจราจรแออัด เนื่องจากประชาชนใช้รถส่วนตัวในการเดินทางไปทำงาน ไปเรียน ไปทำธุรกิจ ไปงานสังคม ไปสันทนาการ ไปช้อปปิ้ง และเพื่อสุขภาพมากขึ้น

ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนรองรับการเจริญเติบโตของเมืองพิษณุโลกอย่างยั่งยืนในอนาคตจึงได้จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเมืองพิษณุโลกขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 10 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกเทศบาลเมืองอรัญญิก เทศบาลตำบลหัวรอ เทศบาลตำบลพลายชุมพล เทศบาลตำบลบ้านคลองเทศบาลตำบลท่าทอง องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ โดยดำเนินการร่วมกับวิทยาลัยโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อศึกษารายละเอียดและความเหมาะสมในการจัดทำระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเมือง เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และความสำคัญของการเป็นเมืองสี่แยกอินโดจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเขตภูมิภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกในอนาคต

ในการประชุมครั้งนี้ทางคณะผู้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าวได้นำเสนอเส้นทางการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 14 โครงการ คือ
1.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก สายวัดจุฬามณี-สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ถนนบรมไตรโลกนารถ)
2.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็กสายพลายชุมพล-สถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ถนนสิงหวัฒน์-ถนนมิตรภาพ)
3.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็กสายหัวรอ-สถานีรถไฟความเร็วสูง (ถนนธรรมบูชา)
4.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็กสายสถานีรถไฟความเร็วสูง-สนามบินนานาชาติ

5.โครงการจัดตั้งรถบัสขนส่งมวลชน สายมหาวิทยาลัยนเรศวร –แยกบ้านคลอง (ถนนสีหราชเดโชชัย-ทางหลวง 117)
6.โครงการจัดตั้งรถบัสขนส่งมวลชน สายสวนเฉลิมพระเกียรติ –สถานีรถไฟความเร็วสูง (ถนนพิชัยสงคราม)
7.โครงการจัดตั้งรถบัสขนส่งมวลชน แยกต้นหว้า-แยกแมคโคร (ทางหลวง 1058)
8.โครงการจัดตั้งรถบัสขนส่งมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว สายริมแม่น้ำน่าน (ถนนพุทธบูชา-ถนนวังจันทน์)
9.โครงการก่อสร้างสถานีขนส่ง จุดจอดรถไฟฟ้า อู่ซ่อมบำรุง
10.โครงการก่อสร้างปรับปรุงจุดจอดรถสาธารณะ
11.โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพรถขนส่งสาธารณะเดิม
12.โครงการจัดระเบียบรถรับจ้างและรถเช่า
13.โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือ เป็นสถานีเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
14.โครงการยกระดับมาตรฐานเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ในการพิจารณารายละเอียด และความเหมาะสมของการจัดทำระบบขนส่งมวลชนภายในเขตเมืองพิษณุโลกดังกล่าวและจะนำมาปรับใช้ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

ส.ปชส.พิษณุโลก/ข่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 277, 278, 279  Next
Page 91 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©