Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311288
ทั่วไป:13270462
ทั้งหมด:13581750
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 91, 92, 93 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2014 12:01 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ชี้คนเมินใช้รถสาธารณะ เร่งรถไฟฟ้าหวังแก้รถติด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 ก.พ. 2557 เวลา 11:45:06 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 โครงการศึกษาพัฒนาปรับปรุง บำรุงรักษาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลองเพื่อบูรณาการพัฒนาการขนส่งและจราจรการขนส่งต่อเนื่อง หลายรูปแบบและระบบโลจิสติกส์ (ทีดีแอล) ว่า ปัจจุบันสัดส่วนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะจะอยู่ที่ประมาณ 33% ขณะที่การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่ที่ 67% ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจะต้องปรับสัดส่วนให้คนหันมาใช้บริการระบบสาธารณะเพิ่ม ขึ้น โดยลดสัดส่วนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด

ทั้งนี้ คาดการณ์ไว้ในปี 2560-2563 เมื่อโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่เริ่มทยอยแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการ จะมีผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถไฟฟ้าประมาณ 5% จากปัจจุบันที่มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสประมาณ 8 แสนคนต่อวัน รถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 3 แสนคนต่อวัน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ประมาณ 50,000 คนต่อวัน

นายจุฬากล่าวว่า เบื้องต้นพบว่ามีผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะประมาณ 24 ล้านคนต่อวัน ส่วนการขนส่งสินค้าของประเทศซึ่งสำรวจจากรายการสินค้า 180 สินค้า ปริมาณการขนส่งรวมทั้งสิ้น 805 ล้านตันต่อปี ทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก และสินค้าที่ใช้ในประเทศพบว่ามีการขนส่งสินค้าทางถนนมากสุดประมาณ 88.3% เฉลี่ยต้นทุนการขนส่งสินค้า 2.12 บาทต่อตันต่อกิโลเมตร (กม.) ทางราง 1.5% เฉลี่ยต้นทุนการขนส่งสินค้า 0.95 บาทต่อตันต่อ กม. ทางน้ำ 10.2% เฉลี่ยต้นทุนการขนส่งสินค้า 0.65 บาทต่อตันต่อ กม. และทางอากาศ 0.02% เฉลี่ยต้นทุนการขนส่งสินค้า 10 บาทต่อตันต่อ กม.

ทั้งนี้ จะนำผลการศึกษาไปปรับปรุงพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวงคมนาคม โดยจะเสนอสำนักงานพัฒนาระบบราชการ (กพร.) พิจารณาใช้แทนตัวชี้วัดเดิม ที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานของกระทรวงคมนาคม เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดในปี 2558 ด้วย

"ที่ผ่านมาใช้ข้อมูลปี 2543 มาคิดคำนวณ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เก่ามาก เมื่อมีการอัพเดตข้อมูลจะทำให้ทราบถึงปริมาณต้นทุนค่าขนส่ง และปริมาณผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น" นายจุฬากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2014 8:13 am    Post subject: Reply with quote

เผยปลายปี′58 คนไทยจะได้ใช้ตั๋วร่วมระหว่างรถไฟฟ้า-ใต้ดิน-แอร์พอร์ตลิงก์
มติชนออนไลน์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 19:32:39 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ตามที่ สนข.เปิดให้ผู้สนใจยื่นเอกสารเข้าร่วมพัฒนาระบบตั๋วร่วมคมนาคมไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้สนใจทั้งสิ้นจำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มล๊อตเต้ จากประเทศเกาหลีใต้ รวมกับกลุ่มบริษัทปัญญาคอนซัลแตนส์ จำกัด
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม อินดา INDRA จากสเปน รวมกับกลุ่มบริษัทไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง จำกัด
กลุ่มที่ 3 กลุ่มซีล็อกซ์(SEROX) ที่รวมกันระหว่างอเมริกากับออสเตรเลีย
กลุ่มที่ 4 บีเอสวี โดยมีกลุ่มบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอสซีของไทยเป็นแกนนำ โดยมีบริษัทสมาร์ทแทรฟฟิค จำกัดและกลุ่มวิกซ์จากออสเตรเลียร่วมด้วย
กลุ่มที่ 5 กลุ่มเอที ประกอบด้วยบริษัทไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี้ ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ และ]
กลุ่มที่ 6 กลุ่มเอ็มเอส ประกอบด้วย กลุ่มเอ็มเอสไอจากสิงคโปร์ ร่วมกับบริษัทสามารถ คอมเทค จำกัด ของไทย

หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ และคัดเลือกรายที่มีข้อเสนอดีราคาถูกที่สุดมาจัดทำระบบตั๋วร่วม คาดว่าช่วงปลายเดือน เม.ย.-ต้นเดือน พ.ค.นี้ จะได้ตัวผู้ชนะการประกวดราคา ซึ่งจะใช้เวลาจัดทำระบบอีก 1 ปี ซึ่งเป็นระบบกลางที่จะให้ทุกโหมดการขนส่งมาใช้ รวมถึงระบบเคลียร์บัญชี

นายจุฬา กล่าวต่อว่า เบื้องต้นจะให้บริษัทลูกของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาดูแลส่วนนี้ ก่อน และให้เอกชนเข้ามาถือหุ้น ทั้งนี้เมื่อมีการทดสอบระบบเรียบร้อยดีแล้ว จะเปิดให้ใช้ระบบตั๋วร่วมได้ โดยจะเริ่มจากระบบรถไฟฟ้าทั้งบีทีเอส เอ็มอาร์ที และแอร์พอร์ตลิ้งค์ รวมถึงระบบทางด่วนในช่องทางเงินสด ที่จะมีเครื่องอ่านบัตรให้สามารถนำตั๋วร่วมไปแตะเพื่อจ่ายค่าผ่านทางได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเติมเงิน ซึ่งเป็นคนละช่องกับอีซี่พาส คาดว่าจะใช้ระบบตั๋วร่วมได้ช่วงปลายปี 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/03/2014 8:03 am    Post subject: Reply with quote

รถรางวิ่งเชื่อมต่อรถไฟฟ้า "รายงานวันจันทร์"-สัมผัสขนส่งมวลชนสาธารณะซิดนีย์
ไทยรัฐออนไลน์ 3 มีนาคม 2557, 05:00 น.

Click on the image for full size

ระหว่างวันที่ 19–23 ก.พ.57 “รายงานวันจันทร์” ได้ร่วมคณะไปกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำโดยนายจุฬา สุขมานพ ผอ.สนข. เหินฟ้าไปดูงานด้านการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่เมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย ซึ่งการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่นี่ ก้าวหน้าไปไกลกว่าเรามาก รายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตาม

เริ่มจากการรถไฟระหว่างเมืองจากเมือง Katoomba มายังสถานี Central Station เมือง ซิดนีย์ ซึ่งเป็นสถานีกลางระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ และเป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมและสั่งการระบบขนส่งมวลชนภายใน เมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ทั้งหมด เจ้าหน้าที่รถไฟ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ให้ข้อมูลว่าประชากรที่ซิดนีย์ มีกว่า 4 ล้านคน โหมดการเดินทางมีหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่ระบบขนส่งมวลชน เฉลี่ยมีการเดินทางประมาณ 1 ล้านคน/วัน
ทั้งนี้ ระบบขนส่งมวลชนจะเป็นรถไฟฟ้าแบบไลท์เรล มีทั้งหมด

10 เส้นทาง แยกเป็นเส้นทางในเมือง 7 เส้นทาง ส่วนอีก 3 เส้นทางวิ่งเชื่อมระหว่างเมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองเมลเบิร์น เพิร์ท และ บริสเบน ขบวนรถไฟฟ้าที่นี่ ออกแบบเป็นรถ 2 ชั้น เพื่อลดความยาวแต่จุผู้โดยสารได้มาก เฉลี่ยประมาณ 1,200 คน/เที่ยว/ทิศทาง

Click on the image for full size

นอกจากนี้ ยังมี TRAM หรือรถรางอีก 1 สาย ทำหน้าที่เป็นฟีดเดอร์รับส่งผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ย่านชุมชนภายในเมือง ขณะนี้มีโครงการจะขยายเส้นทางรถรางเพิ่มอีก 1 สาย นำมาวิ่งทดแทนในเส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรลที่ยกเลิกไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากให้บริการมานานกว่า 20 ปี มีปัญหาเรื่องต้นทุนการบำรุงรักษา และคนไม่ค่อยนิยม เพราะวิ่งเป็นวงกลมผ่านเฉพาะจุดท่องเที่ยว

อีกเหตุผลที่นำรถรางมาวิ่ง เพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนเส้นทางรถเมล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้การจราจรช่วงเร่งด่วนคับคั่ง อีกทั้งประสิทธิภาพการขนส่งผู้โดยสารรถเมล์ต่ำกว่ารถราง โดยรถเมล์รับผู้โดยสาร 60 คน/เที่ยว/ทิศทาง เทียบกับรถราง รับได้ 300 คน/เที่ยว/ทิศทาง และเวลาเดินทางแน่นอนกว่า

สำหรับการลงทุนระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ภาครัฐจะลงทุนก่อสร้างเองทั้งหมด โดยจ้างเอกชนจัดหาระบบและเดินรถ ระยะเวลา 15-20 ปี แทนการให้สัมปทาน เพื่อลดปัญหาการขาดทุน โดยมีเงื่อนไขหากเอกชนรายใดสามารถทำรายได้ให้กับรัฐได้มากกว่าที่กำหนดจะได้รับโบนัสพิเศษนอกเหนือจากค่าจ้างเดินรถ ทั้งนี้ ในการพิจารณาลงทุนก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน จะพิจารณาทิศทางการพัฒนาเมืองควบคู่กันไปด้วย

Click on the image for full size

นอกจากจัดระบบการเดินทางให้สามารถเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายแล้ว ยังมีการนำระบบตั๋วร่วม เรียกว่าบัตร “opal” มาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเชื่อมต่อระบบระหว่างรถไฟฟ้า รถราง รถเมล์ รวมถึงเรือโดยสาร ขณะนี้อยู่ระหว่างทยอยติดตั้งระบบ คาดว่าภายในปี 57 จะแล้วเสร็จสมบูรณ์

สรุปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมืองซิดนีย์มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง ต่างจากประเทศของเราที่ยังย่ำอยู่กับที่ เพราะมีแต่แผน แต่ขาดการผลักดันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง!!!!!
โดย: ทีมข่าวกทม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/03/2014 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม1.7แสนล.บูมสถานีบางซื่อ-ย่านพหลฯ ดึงเอกชนลงทุน ผุดบีอาร์ที-อุโมงค์เชื่อมห้างเซ็นทรัล-ปตท.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 มี.ค. 2557 เวลา 12:12:03 น.

Click on the image for full size

เปิดพิมพ์เขียวแสนล้านโครงข่ายคมนาคม บูมย่านพหลโยธิน-บางซื่อ ผุดบีอาร์ที-รถรางระยะทาง 10 กม. มูลค่ากว่า 7 พันล้าน เชื่อมห้างเซ็นทรัล เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ สวนจตุจักร สถานีรถไฟฟ้า 3 สาย "สีแดง-ใต้ดิน-บีทีเอส" พ่วงขุดอุโมงค์ทางเดินยาว 1.5 กม. เนรมิตพื้นที่ค้าปลีกใต้ดินกว่า 1.6 แสนล้าน เล็งดึงเอกชนร่วมลงทุนแลกสิทธิ์เช่าที่ดิน 127 ไร่ ยาว 30 ปี

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.ได้ข้อสรุปผลการศึกษาระบบเชื่อมต่อบริเวณศูนย์คมนาคมย่านพหลโยธิน พื้นที่ 2,325 ไร่ เพื่อรองรับการเดินทางเชื่อมโยงภายในและรอบนอกสถานีกลางบางซื่อให้มีความ สะดวกมากขึ้นตามแผนโครงการจะเปิดใช้ในปี 2560 โดยมี 2 รูปแบบ คือ 1.ระบบขนส่งขนาดรอง มีให้เลือกระหว่างรถราง (Tram) หรือบีอาร์ที ซึ่งเป็นรถเมล์ด่วน และ 2.สร้างอุโมงค์ทางเดินเชื่อมใต้ดิน

ผุดบีอาร์ที-รถราง-อุโมงค์

โดย รถรางและบีอาร์ทีโครงสร้างมีทั้งยกระดับและระดับดิน แนวเส้นทางวิ่งเป็นวงกลมจากสถานีกลางบางซื่อผ่านรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีจตุจักร ห้างเซ็นทรัล อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ โครงการพัฒนาย่าน กม.11 สิ้นสุดที่สถานีจตุจักรของรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

ส่วนอุโมงค์รูปแบบเป็นทางเดินใต้ดิน3 ชั้น ระยะทาง 1.5 กม. บนพื้นที่ 127 ไร่ เชื่อมพื้นที่ 3 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีกำแพงเพชร สถานีจตุจักร และรถไฟฟ้าบีทีเอสจตุจักร จะพัฒนาเป็นแหล่งช็อปปิ้ง เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จอดรถใต้ดินเหมือนในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น

"กำลังดูรายละเอียด ความเป็นไปได้ในการลงทุนและพัฒนาพื้นที่ บางส่วนให้เอกชนมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น อุโมงค์ทางเดิน จะทำสถานีให้เป็นหลายชั้น เปิดให้ทำเป็นร้านขายของเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงโปรเจ็กต์ได้ เพราะสถานีกลางบางซื่อคาดว่าจะมีคนมาใช้บริการมากในแต่ละวัน รวมทั้งมีพื้นที่ให้ร้านค้าบางส่วนที่ตลาดนัดจตุจักรมาขายด้วย" นายจุฬากล่าวและว่า

ในอนาคตสถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางด้าน ระบบราง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟธรรมดา และรถไฟความเร็วสูง รูปแบบเหมือนกับสถานีเซ็นทรัลที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย แต่จะมีพื้นที่ใหญ่กว่าหลายเท่า ดังนั้นถ้าจะปล่อยไม่มีการพัฒนาเลยคงเป็นไปไม่ได้ วิธีการคือเคลียร์การพัฒนาบริเวณนี้ใหม่โดยไม่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต่อสัญญาเช่าที่ดินอีก

เฟสแรกลงทุน 3 พันล้าน

"จำ เป็นต้องจัดระเบียบการใช้ประโยชน์แปลงที่ดินทั้งย่านใหม่ โดยเจรจากับผู้เช่าเดิมให้มาเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้ดินแทน แลกกับให้สัญญาเช่านานขึ้น ต่อไปสถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางทั้งรถเมล์ รถ บขส. รถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง คนจะเยอะมากเมื่อมีกิจกรรมในอุโมงค์ตลอดสองข้างทาง มู้ดจะแตกต่างกับไม่มีอะไรเลย"

นายวิจิตร นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร (สพร.) สนข.กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบที่บริษัทที่ปรึกษานำเสนอ เบื้องต้นให้เป็นระบบบีอาร์ที เพราะ ค่าก่อสร้างถูกและมีความคุ้มค่าการลงทุนมากที่สุดอยู่ที่ 19.25% เมื่อเทียบกับรถราง แต่ทั้งนี้ระบบรถรางเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่จะอนุมัติลงทุนรูปแบบไหน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2558-2560 เพื่อให้ทันเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อปี 2560

สำหรับแนวเส้นทางออกแบบ ให้มีระยะทาง 10.3 กม. แยกเป็นโครงสร้างยกระดับ 3.14 กม. มีจุดเริ่มต้นวิ่งวนรอบสถานีกลางบางซื่อ เป็นที่ตั้งสถานีที่ 1-2 แล้วตัดเลาะเส้นทางไปตามแนวรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ยกข้ามทางด่วนและสวนจตุจักรมาถึงบีทีเอสหมอชิตที่จะเป็นจุดที่ตั้งของสถานี ที่ 3-4 จากนั้นสถานีที่ 5-13 จะเป็นระดับดินระยะทาง 7.16 กม. ใช้เงินลงทุนทั้งโครงการ 7,359.9 ล้านบาท

เชื่อมบางซื่อ-เซ็นทรัล

"ที่ปรึกษาเสนอให้แบ่งก่อสร้าง 2 เฟส คือ ระยะแรกพัฒนาจากสถานีกลางบางซื่อ-ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว (สถานีที่ 1-6) ตามแผนจะเริ่มปี 2560 มูลค่าลงทุน 3,793.6 ล้านบาท ส่วนสถานีที่ 7-13 หรือเส้นทางจากเซ็นทรัลลาดพร้าว-สถานีกลางบางซื่อ ให้พัฒนาเป็นระยะที่ 2 เพราะพื้นที่ยังไม่ค่อยมีเหลือพัฒนามากนัก มูลค่าลงทุน 4,504.8 ล้านบาท โดยเป็นแผนลงทุนในปี 2565"

นายวิจิตรกล่าวและว่า ส่วน อุโมงค์ใต้ดิน สนข.จะของบประมาณปี 2558 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงเพราะรวมการลงทุนพัฒนา ส่วนพลาซ่าด้วย คาดว่าใช้เงินลงทุน 169,378 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างอุโมงค์ 1.5 กม. วงเงิน 55,180 ล้านบาท ค่าดำเนินการส่วนพลาซ่า 114,198 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

นาย วิจิตรกล่าวว่า ในส่วนพลาซ่าออกแบบพัฒนาบนพื้นที่ 127.5 ไร่ประกอบด้วย 1.พื้นที่สวนสาธารณะ มีอาคารพาณิชยกรรมขนาดเล็กกระจายอยู่รอบนอก 204,000 ตร.ม. 2.พื้นที่พัฒนาใต้ดิน เป็นทางเดินเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ-รถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสที่หมอชิต 63.6 ไร่ พื้นที่เช่า 118,102.5 ตร.ม.รายละเอียดเชิงลึกมีการแบ่งพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ 9 โซน (เอถึงเอช) ได้แก่ โซนเอ 23 ไร่ พื้นที่เช่า 21,204 ตร.ม., โซนบี 2 ไร่ พื้นที่เช่า 1,080 ตร.ม., โซนซี 3.6 ไร่ พื้นที่เช่า 1,260 ตร.ม., โซนดี 2.7 ไร่ พื้นที่เช่า 2,263 ตร.ม., โซนอี 2.5 ไร่ พื้นที่เช่า 2,263 ตร.ม., โซนเอฟ 9.2 ไร่ พื้นที่เช่า 3.609 ตร.ม., โซนจี 4.6 ไร่ พื้นที่เช่า 3,496 ตร.ม. และโซนเอช 11 ไร่ พื้นที่เช่า 13,950 ตร.ม.

ดึงเอกชนบูมค้าปลีกใต้ดิน

"การลงทุนอุโมงค์ทางเดิน เบื้องต้นจะให้เอกชนที่สนใจมาลงทุนทั้งหมดรวมถึงระบบบีอาร์ทีด้วย คิดเป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 176,737 ล้านบาท โดยแลกสิทธิ์การเช่าพื้นที่พลาซ่าระยะยาว 30 ปี แบ่งรายได้บางส่วนให้การรถไฟฯเพราะเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่จะตัดสินใจ แต่ถือว่าคุ้มเพราะคนจากรอบนอกที่ใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าจะป้อนเข้ามาในย่านนี้ วันละกว่า 2 แสนคน" นายวิจิตรกล่าวและว่าในปี 2560 การเดินทางเข้า-ออกย่านนี้จะเพิ่มเป็น 297,844 เที่ยวคน/วัน จากปัจจุบัน 2 แสนเที่ยวคน/วัน หลังเปิดรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สีแดง (บางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชัน) สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ, หัวลำโพง-บางแค) สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2014 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เผยปลายปี′58 คนไทยจะได้ใช้ตั๋วร่วมระหว่างรถไฟฟ้า-ใต้ดิน-แอร์พอร์ตลิงก์
มติชนออนไลน์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 19:32:39 น.


สนข.เคาะ2ทางเลือก พ.ค.รู้ผลชิงประมูล
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 11:43 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,926 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สนข. เคาะ 2 ทางเลือกจัดทำระบบตั๋วร่วม 1.รถเมล์/ทางด่วน 2.ระบบรถไฟฟ้า วางเกณฑ์ 2 ปีต้องแล้วเสร็จจากเงินลงทุนโครงการนำร่อง 409 ล้านบาท ตั้งเป้าพร้อมพัฒนาเชื่อมได้ทั้งระบบภายใน 4 ปี เผยล่าสุด alt คกก.ตัดสิทธิ์ผู้เสนอจากกลุ่มซีล็อกซ์ ออสเตรเลีย เหตุไม่ส่งเอกสารแสดงผลประโยชน์ได้/เสียของก.ก.-ผู้ถือหุ้น และไม่ส่งฐานะการเงิน เหลือ 5 กลุ่มชิงดำ เกาหลี-ไต้หวัน-สเปน-สิงคโปร์-ออสเตรเลีย " คาดได้รายชื่อกลุ่มชนะประมูลกลางพ.ค.นี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สนข. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการพัฒนาจัดทำระบบตั๋วร่วมว่า จากที่มีผู้สนใจยื่นเอกสารแสดงความสนใจเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เข้ามาเพียง 6 กลุ่ม ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่คาด ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สนข.จึงได้พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติจากเอกสารของผู้เสนอ ( Shortlist)ก่อนจะตัดออก 1 ราย คือกลุ่มจากออสเตรเลีย เนื่องจากเอกสารไม่พร้อม ส่งผลให้มีเพียง 5 กลุ่มที่ผ่าน Shortlist

ทั้งนี้ 6 กลุ่มที่ยื่นเสนอความสนใจมาก่อนหน้านี้ประกอบด้วย

1.กลุ่มล๊อตเต้ จากประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับกลุ่มบริษัทปัญญาคอนซัลแตนส์ จำกัด (บจก.)
2.กลุ่มเอเซอร์จากประเทศไต้หวัน ร่วมกับกลุ่มเอทีประกอบด้วย บจก.ไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี
3.กลุ่มเอ็มเอสไอจากสิงคโปร์ ร่วมกับบจก.สามารถ คอมเทคของไทย
4.กลุ่มอินดรา ( INDRA) จากประเทศสเปน ร่วมกับกลุ่มบจก.ไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง
5 .กลุ่มออสเตรเลีย ยื่นเสนอมา 2 กลุ่ม คือกลุ่มบีเอสวี มีกลุ่มบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีของไทยเป็นแกนนำ โดยมีบจก.สมาร์ทแทรฟฟิค และกลุ่มวิกซ์จากประเทศออสเตรเลียร่วม และ
6.กลุ่มซีล็อกซ์ ( SEROX)กลุ่มร่วมระหว่างอเมริกากับออสเตรเลีย และกลุ่ม D2 (บริษัทไทยที่ดำเนินธุรกิจด้านไอที) - ไม่ผ่าน
"สาเหตุที่กลุ่มออสเตรเลีย 1 รายไม่ผ่าน Shortlist เนื่องจากเอกสารไม่สมบูรณ์ จนไม่สามารถที่จะพิจารณาได้ " นายพีระพล กล่าว
ต่อเรื่องนี้ "ฐานเศรษฐกิจ " ได้สอบถามนายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติการหน้าที่ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. ยอมรับว่าจริงที่ว่ากลุ่มที่ไม่ผ่านการพิจารณาคือ "ซีล็อกซ์ "จากออสเตรเลีย เนื่องจากเอกสารสำคัญทั้ง 3 ส่วนไม่ครบ คือ

1. เอกสารแสดงผลประโยชน์การมีส่วนได้/เสียระหว่างกรรมการบริษัท /ผู้ถือหุ้น ไม่มี,
2.ไม่ส่งงบการเงินปี 2554-2556 และ
3.ไม่มีเอกสารรับรองประสบการณ์ของบริษัท

ทั้งนี้ขั้นตอนหลังได้ 5 กลุ่มเข้าชิง จากนี้ในต้นเดือนมีนาคมนี้ สนข.จะมีหนังสือเชิญทั้ง 5 กลุ่มที่ผ่าน Shortlist ให้ทำข้อเสนอทางด้านเทคนิคและราคา โดยให้ยื่นภายในเดือนเมษายนนี้ และจะทำการคัดเลือกบริษัทที่ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิคผ่าน และเปิดซองราคา ซึ่งกลุ่มที่เสนอมาให้ราคาต่ำสุดก็จะได้รับการคัดเลือกให้มาเจรจาสัญญา คาดจะทราบผลได้กลางเดือนพฤษภาคมนี้ โดยคณะกรรมการที่พิจารณาตัดสินจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิตัวแทน จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช. ),ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน. ) ,สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ,อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"อย่างไรก็ดีในระหว่างนี้ทั้ง 5 กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์พิจารณา ยังสามารถที่จะหากลุ่มใหม่ที่ไม่อยู่ใน Shortlist มาร่วมได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งในการทำข้อเสนอทางเทคนิค แต่ห้ามเป็นการรวมกันระหว่าง 5 กลุ่มที่ผ่านการ Shortlist หรือเกิดจากการแตกบริษัทย่อยในระหว่าง 5 กลุ่มกันเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการฮั้วประมูล " รองผู้อำนวยการสนข. กล่าวและว่า

จากมูลค่าลงทุนเริ่มแรกเพียง 409 ล้านบาท สนข.จึงวางแนวทางเลือกพัฒนาทำตั๋วร่วมไว้ 2 ระบบคือ
1. ระบบตั๋วร่วมรถเมล์ หรือ ทางด่วน ( เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ) หรือ
ทางเลือกระบบที่ 2 ตั๋วร่วมกลุ่มรถไฟฟ้า ( บีทีเอส , บีเอ็มซีแอล, แอร์พอร์ตลิงค์ ) ซึ่ง 5 กลุ่มที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ต้องเสนอแผนโดยเลือกเพียงระบบใดระบบหนึ่งเป็นโครงการนำร่อง และจะต้องเชื่อมตามระบบที่เลือกให้ได้ใน 2 ปี ก่อนที่จะพัฒนาเป็นตั๋วร่วมเชื่อมทั้งระบบภายใน 4 ปี โดยอย่างน้อยในเฟสแรกต้องพัฒนาให้ระบบสามารถรองรับการซื้อตั๋วให้ได้ไม่น้อยกว่า 5 ล้านทรานแซกชัน ( transaction)และเมื่อพัฒนาเต็มระบบต้องได้ถึง 10 ล้านทรานแซกชัน

"เมื่อได้กลุ่มผู้ชนะประมูล ขั้นตอนจากนี้ 6 เดือนแรกจะเป็นเรื่องการเขียนระบบ/โปรแกรม , 6 เดือนที่ 2 ติดตั้งวางโปรแกรมซอฟต์แวร์ ส่วน 6 เดือนที่ 3 เป็นการเชื่อมระบบกับโครงการทดลองนำร่อง และในระหว่างนี้ สนข.ยังต้องดำเนินการหาหน่วยงานกลาง ที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการตั๋วร่วมในอนาคตไปด้วย จากช่วงแรกที่มีสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมของสนข. ผู้ดูแลชั่วคราว เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันกาล โดยจะตั้งคณะกรรมการที่มีรองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการพิจารณาความเหมาะสม โดยหน่วยงานที่จะบริหารโครงการก็อาจเป็น "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( รฟม.) " หรือตั้งบริษัทขึ้นใหม่ก็เป็นได้ "

ส่วนปัญหาที่สถานการณ์ที่การบริหารประเทศยังเป็นรัฐบาลรักษาการ รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวยอมรับว่าส่งผลกระทบเนื่องจากระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ หากเป็นโครงการที่เกินกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสนอรัฐมนตรี ขณะที่มูลค่าโครงการนี้อยู่ที่ 409 ล้านบาท จึงต้องรอให้มีรัฐบาลใหม่ก่อน.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2014 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม.อนุมัติสร้างรถไฟฟ้าสีเหลือง รอครม.ใหม่เคาะพร้อมสีชมพู-สีส้ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 มีนาคม 2557 21:06 น.

บอร์ดรฟม.อนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) วงเงิน 5.5 หมื่นล้าน เสนอคมนาคม รอชงครม.ใหม่เห็นชอบพร้อมอีก 2 สายคือสีชมพูและสีส้มที่เสนอไปก่อนหน้าแล้ว พร้อมเห็นชอบขยายเวลาก่อสร้างสายสีม่วง(บางใหญ่-บางซื่อ) อีก150วันเยียวยาผู้รับเหมา เหตุขึ้นค่าแรง 300 บาท

นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม. เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 29.1 กิโลเมตรจำนวน 23 สถานี วงเงิน 55,986 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนจากนี้ต้องรอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เพื่อขออนุมัติโครงการโดยหลังจากนี้ รฟม.ต้องนำเรื่องเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการต่อไป ทำให้จะมีโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม.รอเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.รวม 3 โครงการ ได้แก่ สายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-แคราย-มีนบุรี ,สายสีส้มเฟสแรก ช่วงมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะเป็นรถไฟฟ้ารางเดียว (Mono Rail) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000-40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เส้นทางเริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้เข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดมสุข ศรีเอี่ยม แยกศรีเทพาเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการที่สถานีสำโรง โดยรัฐลงทุนงานโยธา และเอกชนลงทุนระบบรถ

นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้เพิ่มวงเงินค่าสาธารณูปโภคโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้(แบริ่ง-สมุทราปราการ) อีก 20 ล้านบาท เนื่องจากมีการก่อสร้างเพิ่ม 2 สถานี คือ สถานีโรงเรียนนายเรือ และสถานีสายลวด พร้อมทั้งอนุมัติขยายเวลาก่อสร้างสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) สัญญาที่ 2-3 เพื่ออีก 150 วัน ตามมติ
ครม.เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนเดิม

โดยสัญญาที่ 2 คือ การก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ส่วนตะวันตก มีบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เป็นผู้รับเหมา ส่วนสัญญาที่ 3 การก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มีกิจการร่วมค้า PAR (บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE บริษัท แอสคอนคอนสตรัคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือ ASCON บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย))
เป็นผู้รับเหมา

นางสาวรัชนี กล่าวว่า บอร์ดได้มีมติเห็นชอบให้การเคหะแห่งชาติเข้ามาดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวตั้ง บนที่ดินบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของ 2 รฟม. 2 พื้นที่ คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงสถานีคลองบางไผ่ (สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ) และศูนย์ซ่อมบำรุงบางปิ้ง (สายสีเขียวใต้) ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม.ได้ลงนามเอ็มโอยูร่วมกับการเคหะฯ ไปแล้ว
โดยรูปแบบของที่อยู่อาศัยนั้นการเคหะฯ จะต้องทำรายละเอียดโครงการเข้ามาเสนอ รฟม.อีกครั้งว่าจะสร้างเป็นลักษณะโครงการเอื้ออาทรหรือไม่อย่างไร

"จากการติดตามการดำเนินงานของ รฟม.พบว่า ผลประกอบการดีขึ้นมาก ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าตามแนวรถไฟฟ้าเห็นความสำคัญในการทำทางเชื่อมต่อมายังสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าทั้ง 2 ฝ่าย และ รฟม.มีการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น"นางสาวรับนีกล่าว

อย่่างไรก็ตาม ล่าสุดบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ปรึกษาด้านการประเมินผลงาน ยังประเมินการทำงานปี 2556 ของ รฟม.ในระดับดีขึ้น โดยให้คะแนน 4.013 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ส่วนปี 2555 ได้ 3.7978 คะแนน ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือในการทำงานอย่างหนักของ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รฟม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2014 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวให้รฟม.กู้เงินผุดรถไฟฟ้า
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันอังคาร 1 เมษายน 2557 เวลา 15:21 น.

เบิกเงินทำรถไฟฟ้า! ครม.ให้รฟม.กู้เงินต่อจากคลัง สางงานรถไฟฟ้า 3 โครงการที่กำลังสร้างอยู่ทั้งสีม่วง น้ำเงิน และเขียว

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 1เม.ย.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง ตามพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ และตามรายงานและกรอบวงเงินตามแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 57 โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรวงเงินให้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อวงเงิน 10,918 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ วงเงิน 4,545 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 1,654 ล้านบาท

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม รายงานว่า โครงการก่อสร้างทั้ง 3 โครงการนั้น ได้ผ่านการอนุมัติ และเริ่มสัญญาการก่อสร้างแล้ว โดยสายสีม่วง มีกรอบวงเงินและค่าก่อสร้าง 37,733 ล้านบาท เบิกจ่ายค่างานแล้ว ณ สิ้นเดือนก.ย.56 จำนวน 23,241 ล้านบาท จะเบิกหมดในเดือนก.พ.57 นี้ ส่วนสายสีน้ำเงิน มีกรอบวงเงินและค่าก่อสร้าง 55,078 ล้านบาท เบิกจ่ายค่างานแล้ว ณ สิ้นเดือนก.ย.56 จำนวน 24,632 ล้านบาท จะเบิกหมดในเดือนพ.ค.57 นี้ขณะที่สายสีเขียว มีกรอบวงเงินและค่าก่อสร้าง 17,838 ล้านบาท เบิกจ่ายค่างานแล้ว ณ สิ้นเดือนก.ย.56 จำนวน 3,411 ล้านบาท จะเบิกหมดในเดือนพ.ค.57 นี้

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้เสนอว่า รฟม.ควรเร่งพิจารณารูปแบบการบริหารจัดการเดินรถที่เหมาะสม และคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในระบบไฟฟ้าและรถไฟฟ้า ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรฟม. เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ทันกับแผนการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในกทม.ฯ และปริมณฑล รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางของประชาชนด้วย

//------------------------------------------

ครม.อนุมัติให้ รฟม.กู้เงินในประเทศสร้างรถไฟฟ้า 3 สายแทนกู้จากไจก้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันอังคาร 1 เมษายน 2557 เวลา 15:40:29 น.


นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติใหัการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้เงินในปีงบประมาณ 57 ตาม พ.ร.บ. รฟม. 2543 แทนการกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ปี 57 เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ที่มีวงเงินก่อสร้าง 10,918 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค วงเงินก่อสร้าง 4,545 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 1,564 ล้านบาท เนื่องจาก ครม.เห็นว่าควรจะหันมากู้เงินในประเทศแทนการกู้จากต่างประเทศ โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาการจัดสรรเงินกู้อย่างเหมาะสม

ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้วงเงินกู้จากไจก้ามาแล้ว 2 ระยะ ซึ่งตามปกติแลัวมีแผนจะกู้ 3 ระยะด้วยกัน

//-------------------------

ครม.คลายล็อก ไฟเขียว รฟม.กู้เงินจ่ายค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 เมษายน 2557 01:14 น.


ครม.ไฟเขียวกู้เงินจ่ายค่างวดงานสร้างรถไฟฟ้า 3 สายทาง วงเงินกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะปี 57 หลังครบกำหนดจ่ายค่างานหลายสัญญา แต่ รฟม.อยู่ในสภาพเงินขาดมือเหตุ พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ด้าน สศช.แนะให้เร่งพิจารณารูปแบบริหารงานเดินรถไฟฟ้าในความดูแลเพื่อสามารถเปิดบริการได้ทันตามแผน

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมามีมติเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ และตามรายงานและกรอบวงเงินตามแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 2557 โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรวงเงินให้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงิน 10,918 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ วงเงิน 4,545 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 1,654 ล้านบาท

โดยกระทรวงคมนาคมรายงานว่า โครงการก่อสร้างทั้ง 3 โครงการนั้นได้ผ่านการอนุมัติและเริ่มสัญญาการก่อสร้างแล้ว โดยสายสีม่วงมีกรอบวงเงินและค่าก่อสร้าง 37,733 ล้านบาท เบิกจ่ายค่างานแล้ว ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 จำนวน 23,241 ล้านบาท จะเบิกหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นี้ ส่วนสายสีน้ำเงินมีกรอบวงเงินและค่าก่อสร้าง 55,078 ล้านบาท เบิกจ่ายค่างานแล้ว ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 จำนวน 24,632 ล้านบาท จะเบิกหมดในเดือนพฤษภาคม 2557 ขณะที่สายสีเขียวมีกรอบวงเงินและค่าก่อสร้าง 17,838 ล้านบาท เบิกจ่ายค่างานแล้ว ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 จำนวน 3,411 ล้านบาท จะเบิกหมดในเดือนพฤษภาคม 2557พ.ค. 57 นี้

อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอว่า รฟม.ควรเร่งพิจารณารูปแบบการบริหารจัดการเดินรถที่เหมาะสม และคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในระบบไฟฟ้าและรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟม.เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ทันกับแผนการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางของประชาชนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2014 3:46 pm    Post subject: Reply with quote

เค้กเมกะโปรเจ็กต์ 5 แสนล้าน ตั้งแท่นรอท่า "รัฐบาลใหม่" กดปุ่ม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
22 เมษายน 2557 เวลา 10:25:29 น.


จากสถานการณ์ "การเมือง" ที่อึมครึม และว่างเว้น "รัฐบาลตัวจริง" มาเกือบ 5 เดือน ส่งผลให้การลงทุนทุกโครงการถูกชะลอไว้ให้ "รัฐบาลใหม่" มาประทับตรา ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นได้สิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า

แต่ไม่ว่าโฉมหน้า "รัฐบาลชุดใหม่" จะทำคลอดสำเร็จวันไหน พลิกดูโครงการใหญ่ที่ตั้งแท่นรอให้เลือกประมูลและเดินหน้ามีอยู่สารพัดโครงการ แต่ที่เป็นไฮไลต์ไม่ว่าพรรคไหนจะนั่งบริหารประเทศก็คงต้องเดินหน้า มีอยู่แค่ไม่กี่โปรเจ็กต์ โดยเฉพาะ "เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าหลากสี" ไม่ว่ารัฐบาลกี่ยุคสมัยก็ต้องผลักดันเต็มสูบ ถือเป็นเค้กก้อนใหญ่และเป็นนโยบายที่จับต้องได้จริง


รถไฟฟ้า 3 สายรอเคาะกว่า 2.2 แสนล้าน

"ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รฟม.มีรถไฟฟ้าสายใหม่เร่งด่วนรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ 3 สายทาง วงเงินลงทุนรวม 225,398 ล้านบาท

ในส่วนของสายสีเขียวช่วง "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร เงินลงทุน 58,590 ล้านบาท ปัจจุบันเปิดประมูลงานก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 29,224 ล้านบาทแล้ว ล่าสุดอยู่ระหว่างกำหนดวันยื่นซองราคา เนื่องจากมีการร้องให้ปรับเงื่อนไขทีโออาร์ใหม่ เบื้องต้นจะเปิดให้ยื่นซองใหม่ 24 พ.ค.นี้ จากเดิม 11 เม.ย. 2557 ที่ผ่านมา คาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาเดือน ต.ค. จากนั้นจะนำเสนอรัฐบาลใหม่อนุมัติผลการประกวดราคาและจัดหาแหล่งเงินกู้

อีก 2 สายทางที่พร้อมประมูลทันทีหลังจัดตั้งรัฐบาล มีสายสีชมพู ช่วง "แคราย-มีนบุรี" ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เงินลงทุน 56,691 ล้านบาท และสายสีส้ม ช่วง "ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี" 21.8 กิโลเมตร เงินลงทุน 110,117 ล้านบาท

"ทุกโครงการพร้อมรอรัฐบาลใหม่อนุมัติ สายสีส้มและชมพูจ่ออยู่ที่ ครม.แล้ว แต่มีการยุบสภาจึงต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล โครงการรถไฟฟ้าจะได้รับการผลักดันเพราะจำเป็นและช่วยแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ แต่ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อทำให้แผนงานล่าช้า 1-2 ปี จากเดิมจะประมูลก่อสร้างปี 2558 แล้วเสร็จปี 2561"

นอกจากนี้มีงานสัญญาเดินรถไฟฟ้า 1 สถานี ส่วนต่อเชื่อมสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วง จากสถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูน ระยะทาง 1 กิโลเมตร ที่จะให้ ครม.อนุมัติ เพื่อให้ รฟม.เจรจากับรายเดิมคือ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เนื่องจากใช้เงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท

รถไฟรอเซ็นสัญญาร่วม 3.6 หมื่นล้าน

ด้าน "ประภัสร์ จงสงวน" ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนของ ร.ฟ.ท.ที่ต้องขออนุมัติ ครม.ใหม่ คิดเป็นวงเงิน 36,484 ล้านบาท จะขอปรับแบบก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วง "บางซื่อ-รังสิต" ระยะทาง 26 กิโลเมตรให้รับรถไฟความเร็วสูงที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต

หากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าออกไป จะกระทบทำให้โครงการล่าช้าไปด้วย เพราะปัจจุบันงานก่อสร้างดีเลย์จากแผนงานมากอยู่แล้ว เนื่องจากผู้รับเหมาก่อสร้างเฉพาะที่จำเป็นในแบบเดิมที่ออกไว้ จนกว่าจะมีแบบใหม่

"ที่ต้องเสนอให้ ครม.พิจารณา เพราะแบบใหม่มีค่าก่อสร้างเกินจากกรอบวงเงินเดิมประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มให้ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง 2 สัญญา คือ ยูนิคฯ และอิตาเลียนไทย"

สำหรับโครงการอื่น มีส่วนที่ต้องรอขออนุมัติเซ็นสัญญากับเอกชนที่ชนะประมูลจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,981 ล้านบาท และการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 308 คัน วงเงิน 770 ล้านบาท

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.กำลังเปิดประมูลงานใหญ่อีก 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 15,933 ล้านบาท แยกเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่สายตะวันออก ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กิโลเมตร วงเงิน 10,183 ล้านบาท เปิดให้ยื่นซองราคาไปเมื่อ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา จะเคาะราคาเดือน พ.ค.นี้ แล้วเสนอ ครม.อนุมัติปลายปีนี้ มี 6 บริษัทเข้าร่วมประมูล ได้แก่

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์,
บมจ.ช.การช่าง ร่วมกับ ช.ทวีก่อสร้าง,
บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น,
บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น,
บจ.ทิพากร ร่วมกับ บ.ไชน่าฮาร์เบอร์ จากประเทศจีน และ
บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964)

อีกโครงการคือ การจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คันพร้อมเครื่องอะไหล่ 5,750 ล้านบาท จะเปิดประมูลเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ขบวนใหม่ 7 ขบวน วงเงิน 4,800 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างตรวจร่างทีโออาร์ คาดว่าจะประกาศเชิญชวนเร็ว ๆ นี้เช่นกัน

...

รวมเบ็ดเสร็จแล้วมีเค้กก้อนใหญ่เฉียด 5 แสนล้านบาท ตั้งแท่นรอให้ "รัฐบาลใหม่" กดปุ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2014 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง 55,000 ล้านบาท
by Phakaphong
Voice TV
25 เมษายน 2557 เวลา 17:13 น.


ผู้ที่อยู่ในย่านลาดพร้าวถึงสำโรง มีข่าวดี เมื่อ รฟม.จะทำหน้าที่เดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแบบโมโนเรล มูลค่า 5 หมื่น 5 พันล้านบาท แต่ต้องรอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาต่อไป

คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. มีมติอนุมัติในหลักการให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30 กิโลเมตร งบลงทุน 5 หมื่น 5 พันล้านบาท เพื่อเป็นการนำร่องให้รฟม. เดินรถในโครงการอื่น และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หากในอนาคตหาก รฟม.จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อระดมทุนนั้น การทำหน้าที่เดินรถ จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยหลังจากนี้รฟม.จะต้องศึกษาแนวทางการเดินรถ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาอนุมัติต่อไป

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเป็นระบบไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail มีข้อดีคือโครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อสร้างต่ำ และเวนคืนที่ดินน้อยกว่า สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แนวเส้นทางเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนลาดพร้าว ถึงแยกบางกะปิ ถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่แยกลำสาลี และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 ผ่านแยกพัฒนาการจนถึงแยกศรีเทพา ถนนเทพารักษ์ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสำโรง มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี และตามแผนจะก่อสร้างในปี 2558 เปิดบริการในปี 2562

//------------------

บอร์ดไฟเขียวรฟม. เดินรถสายสีเหลือง รอครม.ชุดใหม่เคาะ
ข่าว เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
เสาร์ที่ 26 April, 2014 - 00:00

บอร์ดไฟเขียว รฟม.นำร่อง เดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มูลค่า 5.5 หมื่นล้านบาท แต่ต้องรอ ครม.ชุดใหม่อนุมัติโครงการ
น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.มีมติอนุมัติในหลักการให้ รฟม.ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท โดยต้องรอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่เพื่ออนุมัติโครงการ
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ระบุว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญของ รฟม.คือ การให้บริการเดินรถไฟฟ้า

นอกจากนี้ เห็นว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จึงเป็นโอกาสดีที่ รฟม.จะทำหน้าที่เดินรถในเส้นทางดังกล่าว เพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การเดินรถในโครงการอื่นต่อไป และในอนาคตหาก รฟม.จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อระดมทุน จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้

“รฟม.ควรให้บริการเดินรถอย่างน้อย 1 เส้นทาง เพื่อให้บุคลากรมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การเดินรถสายสีเหลือง จึงเป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งหลังจากนี้ รฟม.จะต้องศึกษารายละเอียดแนวทางการเดินรถเพื่อเสนอ ครม.ชุดใหม่พิจารณาอนุมัติต่อไป” นางรัชนีกล่าว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นระบบไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีข้อดีคือ โครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อสร้างต่ำ และเวนคืนที่ดินน้อยกว่า สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-40,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

เส้นทางเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตาม ถ.ลาดพร้าว จนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ.ศรีนครินทร์ โดยมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน 2 สาย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 จากนั้นจะตรงไปตาม ถ.ศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการจนถึงแยกศรีเทพา ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่ ถ.เทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2014 5:59 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯ รฟม.โอดการเมืองไม่ชัดเจนทำให้สร้างรถไฟฟ้า 10 เส้นล่าช้า


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2557 13:07 น.


นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่ าเนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่ชัดเจน และต้องรอกระบวนการ เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม ทำให้โครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทางต้องล่าช้ากว่ากำหนดเดิม แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ประเมินว่า หากล่าช้าไม่เกิน 2 ปี จะกระทบต้นทุนก่อสร้างไม่มากนัก ซึ่งการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง โดยขณะนี้กำลังก่อสร้าง 4 เส้นทาง ได้แก่

สายสีน้ำเงิน สีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เส้นทางหัวลำโพงถึงสนามไชย
สายสีม่วง เส้นทางบางซื่อถึงบางใหญ่
สายสีเขียวทิศใต้ เส้นทางแบริ่งถึงสมุทรปราการ อาจจะล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม ไม่น้อยกว่า 2-3 ปี และเหตุที่ล่าช้าเนื่องจากรฟม.ต้องใช้แหล่งเงินดำเนินโครงการจากการระดมเงินกู้ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ขณะนี้ต้องรอรัฐบาลใหม่ และกระบวนการต่างๆ มักติดขัดขั้นตอนทางราชการ ซึ่งกระทบต่อความคล่องตัวในการเบิกจ่ายและดำเนินโครงการ
แต่ทั้งนี้เชื่อว่า จะไม่กระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างมากนัก แม้ไทยมีความเสี่ยงจากการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งกระทบต้นทุนระดมเงินทุน
สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง อาจเลื่อนการเปิดให้บริการออกไปจากเดิมปีหน้า เป็นกลางปี 2560 ส่วนสายสีเขียว ทิศเหนือ เส้นทางหมอชิตถึงสะพานใหม่ เลื่อนการเริ่มโครงการ จากปลายปีนี้ เป็นต้นปีหน้า เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 91, 92, 93 ... 278, 279, 280  Next
Page 92 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©