Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13260424
ทั้งหมด:13571703
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 92, 93, 94 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2014 9:38 am    Post subject: Reply with quote

รับเหมาฝ่าวิกฤตตลาดประมูลฝืด "ITD-ช.การช่าง-ซิโนไทย"งานล้นหน้าตัก5ปีฮัมเพลงรอเค้กรถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

9 พฤษภาคม 2557 เวลา 13:50:15 น.


สำรวจ หน้าตัก 3 เสือรับเหมาก่อสร้าง ใต้ปีกตระกูลดัง "กรรณสูต-ตรีวิศวเวทย์-ชาญวีรกูล" ท่ามกลางการเมืองและเศรษฐกิจผันผวน ทุบตลาดประมูลวูบ 70% "อิตาเลียนไทย" งานทะลัก 2 แสนล้าน กินยาว 5 ปี ลุ้นเซ็นสัญญาโปรเจ็กต์น้ำและทวายแสนล้าน "ช.การช่าง" ธุรกิจสัมปทานหนุนส่งรายได้พุ่ง 4.2 หมื่นล้าน แบ็กล็อกล้น 3-4 ปีกว่า 1.1 แสนล้าน "ซิโน-ไทยฯ" ไม่หวั่นงานเก่าเพียบ ลุยสร้างถนนในลาวเสริมทัพ

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจแบ็กล็อกหรืองานในมือของบริษัทรับเหมาบิ๊กทรีในวงการก่อสร้าง ภายใต้การดูแลของ 3 ตระกูลดัง พบว่า บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ของตระกูลกรรณสูต ยังครองแชมป์สูงสุดกว่า 2 แสนล้านบาท รองลงมา บมจ. ช.การช่าง ของตระกูลตรีวิศวเวทย์ อยู่ที่กว่า 1.1 แสนล้านบาท และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ของตระกูลชาญวีรกูล อยู่ที่ 58,000 ล้านบาท ทั้ง 3 บริษัทจะสามารถรับรู้รายได้ไปอีก 3-4 ปีข้างหน้า โดยที่ไม่ต้องมีงานใหม่เข้ามา



ช.การช่างตุนแบ็กล็อกแสนล้าน

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้ตลาดรวมงานประมูลก่อสร้างจะหายไป 70% เหลืออยู่ไม่เกิน 2 แสนล้านบาท จากเดิมประมาณการไว้อยู่ที่ 5-6 แสนล้านบาท มาจากสถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อการประมูลงานของภาครัฐล่าช้า ขณะที่งานภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

"สัดส่วนการรับงานปัจจุบันระหว่างรัฐและเอกชนอยู่ที่ 50 : 50 ขึ้นอยู่กับการเมือง จบเร็วและมีงานโครงการรัฐเปิดประมูลมากขึ้น สัดส่วนงานเอกชนจะปรับลดสัดส่วนลง" นายปลิวกล่าวและว่าปัจจุบันบริษัทยังมีงานในมือ 112,473 ล้านบาท รับรู้รายได้อีก 3-4 ปี มาจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตก เป็นต้น



"ปีนี้มีงานรอเซ็นสัญญา 21,750 ล้านบาท คาดว่าจะมีรายได้กว่า 3-4 หมื่นล้านบาท มีกำไร 10% ในไตรมาสแรกจะมีรายได้จากการส่งมอบงานก่อสร้าง 8,000 ล้านบาท จึงไม่ได้รับผลกระทบถ้าหากไม่มีงานใหม่เข้ามา แต่ไม่ประมาท ยังเดินหน้าประมูลงานใหม่ มี 3 โครงการที่บริษัทจะเข้าร่วม มูลค่า 85,968 ล้านบาท มีสายสีเขียวช่วงหมอชิต-คูคต ทางคู่คลอง 19-แก่งคอยและสุวรรณภูมิเฟส 2 คาดว่าจะได้งาน 20%" นายปลิวกล่าวและว่า ในอนาคตจะมีงานเปิดประมูลกว่า 239,831 ล้านบาท อาทิ รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะงานมีน้อย

สำหรับผลประกอบการปี 2556 มีรายได้รวม 42,009 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,673 ล้านบาท มาจากธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจสัมปทานโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ร่วมลงทุนในบริษัทย่อย เช่น ทางด่วน รถไฟฟ้า โรงไฟฟ้า ทำให้รายได้บริษัทมีความแน่นอนมากขึ้น

นอกจากนี้ ในปีนี้จะออกหุ้นกู้อีก 8,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาทมาลงทุนขยายธุรกิจในอนาคต จากปัจจุบันบริษัทมีกระแสเงินสดอยู่ที่ 9,681 ล้านบาท และเริ่มศึกษาหาช่องทางจะเข้าไปรับงานในประเทศเพื่อนบ้านควบคู่ไปด้วย เช่น ประเทศเมียนมาร์

ITD ลุ้นเมกะโปรเจ็กต์น้ำและทวาย

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2556 บริษัทมีรายได้รวม 44,902 ล้านบาท เทียบกับปี 2555 ลดลง 2,068 ล้านบาท ที่รับรู้รายได้อยู่ที่ 46,970 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากงานในประเทศ 75.83% อีก 24.17% เป็นงานต่างประเทศ แยกเป็นงานราชการ 60.65% และเอกชน 39.35% ซึ่งรายได้จากงานราชการลดลงจากปีที่ผ่านมากว่า 6% ส่วนงานเอกชนเพิ่มขึ้นประมาณ 6% มาจากบริษัทได้งานก่อสร้างศูนย์การค้าของเซ็นทรัลอยู่หลายแห่ง เช่น จังหวัดระยอง สุราษฎร์ฯ หาดใหญ่ เป็นต้น ขณะที่สภาพคล่องบริษัท มีภาระหนี้สิน 52,767 ล้านบาท กระแสเงินสด 1,586 ล้านบาท และกำไรสุทธิอยู่ที่ 992 ล้านบาท

สำหรับงานในมือปีนี้มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท จะทำให้บริษัทรับรู้รายได้ไปอีก 5 ปีหากไม่มีงานใหม่ ซึ่งปีนี้คาดว่าจะรับรู้รายได้กว่า 4.4 หมื่นล้านบาท โตขึ้นจากปีที่แล้ว 10% เนื่องจากมีงานที่บริษัทรอเข้าร่วมประมูลกว่า 5 หมื่นล้านบาท เช่น สายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) ทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 รวมถึงมีงานพัฒนาระบบน้ำที่รอเซ็นสัญญาอีกกว่า 1 แสนล้านบาท

"การแข่งขันประมูลงานในประเทศสูง เพราะงานน้อย เราก็ปรับตัวหันไปรับงานต่างประเทศมากขึ้นเพื่อบาลานซ์รายได้ ตอนนี้ทุกอย่างต้องรอการเมืองจบ ยิ่งจบเร็วจะทำให้งานประมูลออกมามากขึ้น และบริษัทจะรับรู้รายได้และล้างขาดทุนสะสม 500 ล้านบาทได้เร็วขึ้น" นายเปรมชัยกล่าวและว่า

ส่วนโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย จะไม่สูญเปล่า เนื่องจากโครงการเกิดขึ้นแล้วและจะเดินหน้าต่อไป แม้ว่าจะตกเป็นของรัฐบาลไทยและเมียนมาร์แล้ว ล่าสุดรัฐบาลกำลังประเมินมูลค่าการลงทุนคืนกลับมาให้บริษัทที่ใช้ลงทุนไป 6,031 ล้านบาท เช่น ถนน ท่าเรือ ระบบน้ำ อ่างเก็บน้ำ ที่พักอาศัย จะพิจารณาว่าจะชำระคืนรูปแบบเงินสดหรือแปลงเป็นทุนคืนให้บริษัท

นอกจากนี้ยังให้บริษัทเข้าประมูลงานในเฟสแรกที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ โดยบริษัทพร้อมเข้าประมูลทุกโครงการ จะร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จะใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในจะมีการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งผู้ชนะประมูลจะได้สิทธิ์พัฒนาและขายพื้นที่นิคมให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2014 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

4 กลุ่มเข้าชิงเค้กระบบตั๋วร่วม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 09 พฤษภาคม 2014 เวลา 13:41 น.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,947 วันที่ 11 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประมูลระบบตั๋วร่วมคมนาคมเข้มข้น เหลือ 4 กลุ่มชิงดำ หลัง ล๊อตเต้ จากแดนกิมจิ ขอยกธง สนข.เดินเครื่องพิจารณาด้านเทคนิคต่อเนื่องทันที เร่งสรุปให้ทัน 28 พ.ค.นี้ ส่วนการพิจารณาข้อเสนอด้านราคานั้นยังต้องลุ้นวันเวลาอีกครั้ง คาดเป็น มิ.ย.ศกนี้ "เผด็จ" เผยมีลุ้นผู้ยื่นข้อเสนอที่ดีกว่าก็จะได้สิทธิ์การพัฒนาและติดตั้งระบบให้แล้วเสร็จภายใน 30 เดือน
เผด็จ ประดิษฐ์เพชรเผด็จ ประดิษฐ์เพชร นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าโครงการระบบตั๋วร่วมคมนาคมว่า ได้สรุปผลการพิจารณาซองคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ล่าสุดมีเหลือเพียง 4 รายเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มล๊อตเต้ จากประเทศเกาหลีใต้ที่ร่วมกับกลุ่มบริษัทปัญญาคอนซัลแตนส์ จำกัดขอถอนตัวออกไป ผลปรากฏว่าผ่านคุณสมบัติครบหมดทั้ง 4 ราย ซึ่งหลังจากนี้คณะกรรมการพิจารณาจะดำเนินการเปิดซองเทคนิคเพื่อพิจารณาต่อเนื่องกันไปทันที
ส่วนกลุ่มบริษัททั้ง 4 รายประกอบด้วย

1.กลุ่มอินดรา (INDRA) จากสเปน รวมกับกลุ่มบริษัทไทยบิทิสคิวตี้ปริ้นติ้ง จำกัด
2.กลุ่มบีเอสวี มีกลุ่มบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอสซีของไทยเป็นแกนนำ โดยมีบริษัทสมาร์ทแทรฟฟิค จำกัดและกลุ่มวิกซ์จากออสเตรเลียร่วมด้วย
3.กลุ่มเอที มีบริษัทไทยทรานสมิทชั่นอินดัสตรี้ ร่วมกับกลุ่มเอเซอร์ และ
4.กลุ่มเอ็มเอส มีกลุ่มเอ็มเอสไอจากสิงคโปร์ ร่วมกับบริษัทสามารถ คอมเทค จำกัด ของไทย

นายเผด็จกล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไปเป็นการพิจารณาด้านเทคนิคซึ่งจะสรุปในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ดังนั้นหากรายใดผ่านคุณสมบัติและเทคนิคจึงจะเปิดซองข้อเสนอด้านราคาซึ่งยังไม่ได้กำหนดวันสำหรับการเปิดซองด้านราคาในขณะนี้ คาดว่าจะเป็นภายในมิถุนายน 2557 ดังนั้นรายใดมีข้อเสนอที่ดีกว่าก็จะได้สิทธิ์การพัฒนาและติดตั้งระบบให้แล้วเสร็จภายใน 30 เดือน ทั้งนี้ในการพิจารณาคุณสมบัติของทั้ง 4 กลุ่มยังไม่พบว่ามีการฮั้วกันแต่อย่างใด

สำหรับงบประมาณการพัฒนาระบบตั๋วร่วมคมนาคมนั้นได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 409 ล้านบาทจากงบประมาณโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน(ดีพีแอล)ของ กระทรวงการคลัง แต่เนื่องจากจะเป็นการประมูลแบบนานาชาติ(อินเตอร์เนชั่นแนลบิต) จึงคาดว่าจะมีผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติหรือด้านเทคนิคในครั้งนี้มากกว่า 1 รายแต่ทุกกลุ่มที่เข้ามาแข่งขันในครั้งนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ผ่านการทำระบบตั๋วร่วมระดับชั้นนำ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำระบบตั๋วร่วมและระบบคอมม่อนติ๊กเกตที่สามารถนำไปใช้งานได้มากกว่า 2 ราย

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารระบบตั๋วร่วม มีนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการประกอบไปด้วยหัวหน้าหน่วยงานกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กรมทางหลวง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ ส่วนประธานคณะกรรมการที่จะพิจารณาให้เหลือ 6 รายนั้นมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองผู้อำนวยการสนข.เป็นประธานเพื่อคัดให้เหลือ 1 รายได้รับสิทธิ์เข้าไปพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้สามารถใช้งานได้โดยเร็วต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2014 10:07 am    Post subject: Reply with quote

สศช.เร่ง รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้า! ทำแผนระยะยาวจูงใจคนมาใช้ระบบราง

โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
13 พฤษภาคม 2557 05:30


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงาน ครม. เมื่อเร็วๆนี้ เสนอความเห็นแนวทางการบริหารจัดการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่สำคัญดังนี้คือ ให้ รฟม.เร่งรัดหาแนวทางการบริหารจัดการและการให้บริการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และสายใหม่ในความรับผิดชอบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เปิดบริการรถไฟฟ้าได้ทันกับแผนก่อสร้างงานโยธา ทั้งนี้ในขั้นตอนการพิจารณาควรกำหนดรูปแบบการลงทุนและการจัดหาระบบรถไฟฟ้า และเครื่องกลที่เหมาะสมและไม่เกิดผลกระทบต่อฐานะการเงินของ รฟม.ระยะยาว

รวมทั้งไม่เป็นอุปสรรคต่อมาตรการที่จะส่งเสริมประชาชนให้หันมาเดินทางโดยระบบขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นในอนาคต และในการก่อสร้างส่วนต่อขยาย รฟม.ต้องให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรของ รฟม.อย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องของประเทศในระยะยาว และ รฟม.ควรกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยจากการใช้บริการระบบรถไฟฟ้า เพื่อให้สถานีรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยปลอดจากอาชญากรรม 100% ให้ประชาชนมั่นใจในการใช้บริการมากขึ้น

นอกจากนี้ยังเสนอให้ รฟม.กำหนดแนวคิดการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ให้เป็นศูนย์กลางมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับและกระตุ้นให้เกิดการเดินทางของประชาชน รวมทั้งเกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่โดยรอบสถานี รองรับการพัฒนาเมืองให้มีประสิทธิภาพต่อไป ส่วนผลดำเนินงาน รฟม.ปี 56 มีกำไรสุทธิ 15,122.58 ล้านบาท มีรายได้ 18,504.87 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 2,574.54 ล้านบาท มีผู้โดยสารเฉลี่ย 231,000 คน-เที่ยว/วันและพบว่าผู้โดยสารกว่า 95.30%พึงพอใจการให้บริการและมีการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่รถไฟฟ้า 0.0201 ครั้งต่อผู้โดยสาร 100,000 คน-เที่ยว/วัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2014 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

'ชัชชาติ'หวั่นสร้างรถไฟฟ้าช้ากว่ากำหนด
หน้าการเงิน - การลงทุน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 16:57



"ชัชชาติ" กังวลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สีน้ำเงินล่าช้ากว่าแผน ชี้สายสีชมพูต้องรอรัฐบาลใหม่พิจารณา


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า ในภาพรวมถือว่ามีความกังวล เช่น

1. การก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง หรือ Depot ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีความล่าช้ากว่าแผน 20%
2. ส่วนสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ภาพรวมความคืบหน้า 49.93% ล่าช้ากว่าแผนประมาณ 1.28%

โดยมีปัญหาหลักเป็นเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน บริเวณแยกไฟฉายและแยกบางพลัดซึ่งเป็นจุดตัดการก่อสร้างอุโมงค์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจากกทม.บริเวณพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม.การดำเนินงานมีความคืบหน้า 28.30% เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ 2.41%
4. ส่วนสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.7 กม.อยู่ระหว่างจัดทำ TOR ซึ่งเน้นให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส แม้จะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการก็ตาม

5. สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม. นั้น แบ่งเป็นการดำเนินงาน ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ซึ่งการศึกษาออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังติดปัญหาช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ที่มีแนวโน้มอาจจะมีการยุบรวมสถานีราชปรารภ กับสถานีรางน้ำ ส่วนช่วงประชาสงเคราะห์ ได้มอบหมายให้ รฟม. พิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือเปลี่ยนเส้นทางการก่อสร้างเพื่อไม่ให้กระทบต่อที่อยู่อาศัยของประชาชน

6. ส่วนการก่อสร้างสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2014 11:22 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงคสช.เร่งสร้างระบบราง .
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
อังคารที่ 27 พฤษภาคม 2557 - 00:00

คมนาคมสั่งหัวหน้าหน่วยเตรียมแผนเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อรวบรวมนำเสนอให้ คสช.พิจารณาแผนลงทุนสำหรับโครงการเร่งด่วน เช่น โครงการรถไฟทางคู่, รถเมล์เอ็นจีวี
นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานในสังกัด เตรียมแผนงานของกระทรวงคมนาคมเสนอให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ที่กำกับดูแลงานเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแผนการลงทุนที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้โครงการเหล่านี้มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเตรียมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
สำหรับแผนการลงทุนจะนำไปเสนอนั้นจะเน้นตามลำดับความสำคัญก่อนหน้า โดยเริ่มจากระบบราง อาทิ รถไฟทางคู่ 5 สายทาง ซึ่งศึกษารายละเอียดและมีความพร้อมที่จะลงทุนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและขับเคลื่อนโลจิสติกส์ของประเทศ, โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,000 คัน เพื่อปรับปรุงการให้บริการของ ขสมก.
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในวันที่ 28 พ.ค.2557 นั้น จะมีการประชุมและเสนอโครงการเร่งด่วนของหน่วยงานในสังกัด โดยมี พล.อ.อ.ประจินจะเป็นประธานในการประชุม พร้อมทั้งรับทราบนโยบาย รวมถึงผลักดันโครงการสำคัญให้เดินหน้าต่อ

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนของ ร.ฟ.ท.ที่เสนอกระทรวงคมนาคม คือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยจะขอให้พิจารณา 2 สัญญาว่าค

1. ควรปรับแบบก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตหรือไม่ รวมถึง
2. จะขยายรางเพิ่มจาก 3 ราง เป็น 4 ราง เพื่อแบ่งการเดินรถของรถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟชานเมือง และรถไฟฟ้าหรือเปล่า

หากเห็นชอบจะของบประมาณสำหรับก่อสร้างวางรากฐานเพิ่ม 4,000 ล้านบาท

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนของ รฟม.ยังเป็นโครงการเดิมที่เคยส่งให้กระทรวงคมนาคมไปนานแล้ว และจะยืนยันโครงการเดิมกลับไปอีกครั้ง เช่น

1. การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.และ
2. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 21.8 กม.เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2014 9:29 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจัดทัพ"เมกะโปรเจ็กต์"หารือคสช. ดัน"รถไฟฟ้า-ทางคู่" ถนน4เลนทั่วประเทศ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 31 พฤษภาคม 2557 เวลา 11:01:46 น.

คมนาคมเร่งจัดโผงานด่วน ถก คสช.อนุมัติ เผยมีงานตกค้างจากรัฐบาลชุดที่แล้วเพียบ ร.ฟ.ท.เร่งไฟเขียวแบบก่อสร้างสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" หลังโครงการดีเลย์มาก ด้านทางคู่ 5 สายรออีไอเอ รฟม.ขอเพิ่มค่าแวตสายสีม่วง ปรับค่าโดยสารใต้ดินอีก 1-2 บาท ดีเดย์ 3 ก.ค.นี้ เลื่อนยื่นซองประมูลสายสีเขียว 3 เดือน "สีชมพู-ส้ม" รอฟังนโยบาย ขสมก.ลุยซื้อรถเมล์ใหม่ 3,183 คัน วงเงินกว่า 1.3 หมื่นล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีงานเร่งด่วนตกค้างอยู่มาก จะต้องขออนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่วนใหญ่เป็นงานที่สำนักเลขาฯคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่งกลับคืนมาหลังยุบสภา ส่วนการลงทุนโครงการใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า ทางคู่ อาจจะชะลอไปก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ เนื่องจาก คสช.จะปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อนมีเลือกตั้ง คาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป หรือหาก คสช.มีนโยบายให้ดำเนินการได้ก็สามารถเดินหน้าได้ทันที

"ส่วนงบประมาณปี 2558 กระทรวงยังยืนคำขอเดิมอยู่ที่ 388,765 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับสำนักงบประมาณและ คสช.จะจัดสรรให้เท่าไหร่"
....

สนามบิน-รถไฟฟ้าติดหล่ม

ส่วนทางอากาศ มีก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง อ.เบตง จ.ยะลา และด้านระบบราง ได้แก่ การซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอล, ขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี), ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนที่ดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ท้องที่ อ.บางบัวทอง อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ขออนุมัติกู้เงินจ่ายค่าบำเหน็จดำรงชีพให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟฯ, ขอรับความเห็นชอบโครงการความร่วมมือระหว่าง ร.ฟ.ท.และ ปตท. จัดหารถจักรใช้รถลากจูงขบวนรถบรรทุกก๊าซแอลพีจี, ขอลดหย่อนค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2554-2555 ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

รฟม.ชงแวต-ขึ้นค่าโดยสารใต้ดิน

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า งานเร่งด่วนที่จะขออนุมัติ ได้แก่

1.ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มของสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) วงเงิน 639 ล้านบาท หลังเปลี่ยนแหล่งเงินกู้จากไจก้ามาเป็นเงินกู้ในประเทศ
2.สัมปทานเดินรถ 1 สถานีสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-เตาปูน) จะเจรจากับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพหรือบีเอ็มซีแอล ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
3.การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท

4.ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบ รฟม.ฉบับใหม่
5.โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ใน 2 สถานี คือ สถานีบางใหญ่ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสถานีบางปิ้งของรถไฟฟ้าสายสีเขียว
6.ปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินอีก 1-2 บาท จากเดิม 16-40 บาท เป็น 16-42 บาท จะครบกำหนดวันที่ 3 กรกฎาคมนี้

ด้านโครงการใหม่จะขออนุมัติจากรัฐบาลใหม่ เช่น สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี 56,725 ล้านบาท และสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี 110,326 ล้านบาท

เลื่อนยาวประมูลสายสีเขียว

นายยงสิทธิ์กล่าวอีกว่า สำหรับสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงินกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท จะเลื่อนการยื่นซองประมูลออกไปอีก 3 เดือน เพราะประกาศซื้อเอกสารใหม่ตามทีโออาร์ที่ปรับแก้ใหม่ หลังมีผู้รับเหมาร้องเรียนการกำหนดรายได้รวมย้อนหลัง 3 ปี ทำให้บางบริษัทเข้ายื่นประมูลไม่ได้ โดยจะปรับแก้ในส่วนสัญญาที่ 1 จาก 1 หมื่นล้านบาท เหลือ 9,100 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 จาก 5,000 ล้านบาท เหลือ 4,000 ล้านบาท

"สายสีเขียวเปิดประมูลช้าไม่มีปัญหา ถึงได้ผู้รับเหมาต้องขออนุมัติแหล่งเงินกู้และเซ็นสัญญาก่อสร้างจาก ครม.ใหม่ คาดว่าสิ้นปีนี้จะส่งเรื่องขออนุมัติได้"

จี้แก้ปัญหาสายสีแดง

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า งานเร่งด่วนขอให้ คสช.อนุมัติคือ รถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่ตั้งแบบก่อสร้างใหม่ และมีกรอบวงเงินเพิ่มกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยจะให้ คสช.อนุมัติแบบใหม่ ส่วนงานโครงสร้างสถานีกลางบางซื่อและทางรถไฟจะเพิ่ม 1 ราง

"จะขอให้เดินหน้าเฉพาะส่วนที่เป็นฐานรากสถานีกลางบางซื่อก่อน ส่วนโครงสร้างด้านบนสามารถก่อสร้างภายหลัง เพราะปัจจุบันผู้รับเหมารอความชัดเจนเรื่องแบบ ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า"

ทางคู่รออีไอเอ-รัฐบาลใหม่

ส่วนโครงการใหม่นายประภัสร์กล่าวว่า จะต้องรอรัฐบาลใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะรถไฟทางคู่เร่งด่วน 5 สาย ระยะทาง 797 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 118,034 ล้านบาท ต้องรอให้ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน จากนั้นถึงจะเสนอ ครม. ได้แก่

สายลพบุรี-ปากน้ำโพ
สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และ
สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

อีก 6 สาย เงินลงทุนรวม 144,110 ล้านบาท จะของบประมาณปี 2558 มาศึกษารายละเอียดโครงการ ได้แก่

สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์
สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี
สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์
สายขอนแก่น-หนองคาย และ
สายชุมทางจิระ-อุบลราชธานี

เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดงสายต่าง ๆ ที่พร้อมประมูล เช่น
สายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์จากสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง 21.8 กิโลเมตร วงเงิน 28,440 ล้านบาท
สายสีแดง บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง25.9 กิโลเมตร วงเงิน 39,196 ล้านบาท

ส่วนที่เหลือรออีไอเอ มี
สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 10 กิโลเมตร วงเงิน 6,028 ล้านบาท และ
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงิน 10,295 ล้านบาท

ลุยซื้อรถเมล์ใหม่ 1.3 หมื่นล้าน

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างประมูลคือ รถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท นายประภัสร์ย้ำว่ายังเดินหน้าเคาะราคาวันที่ 9 มิถุนายนนี้เหมือนเดิม เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนงานจะมีกำหนดเซ็นสัญญาวันที่ 14 กรกฎาคมนี้

นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการองคการขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) กล่าวว่า จะเสนอเร่งจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2014 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เสนอ คสช.พิจารณาโครงการรถไฟฟ้าหลากสี


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2557 12:49 น.


นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.ขอรอดูการประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อนว่าจะเป็นไปในแนวทางไหน จากนั้นจึงเสนอโครงการเร่งด่วนให้พิจารณา คือ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินประมาณ 5.8 หมื่นล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงินประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาท รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงินประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประกวดราคาก็จะต้องเสนอขออนุมัติในขั้นตอนต่อไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44480
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/06/2014 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้บริหารเอเจนซี่ ฟอร์ฯ เสนอทบทวนรถไฟฟ้า 10 สายบางเส้นทาง
สำนักข่าวไทย TNA News 2 มิ.ย. 2557 16:18

กรุงเทพฯ 2 มิ.ย.-ผู้บริหารเอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตทฯ เสนอทบทวนโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย พร้อมชูรถไฟรางคู่และรถไฟมวลเบา เชื่อมการเดินทางชานเมืองสู่กรุงเทพฯ

นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด กล่าวถึงกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะปัดฝุ่นการลงทุนโครงการ 2 ล้านล้านบาทว่า อยากเสนอให้ทบทวนบางโครงการ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า 10 สายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

สำหรับโครงการที่ควรดำเนินการมากที่สุด ได้แก่ โครงการ Airport Rail Link (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร เชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 สนามบิน รวมทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ, บางซื่อ-พุทธมณฑล สาย4) ซึ่งเชื่อมต่อกับสายเฉลิมรัชมงคล ในลักษณะวงแหวนเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน

ทั้งนี้ เห็นว่ารถไฟฟ้าหลายเส้นทางไม่ควรทำ เพราะประชากรอาจมีน้อยเกินไป และที่สำคัญทำให้เมืองขยายออกไปข้างนอกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ส่งผลสาธารณูปโภคต้องขยายตัวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และสิ้นเปลืองงบประมาณ โดยรถไฟฟ้าสายที่ไม่ควรสร้าง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-คูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี โดยเฉพาะช่วงจากบางกะปิไปมีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เชื่อมทิศเหนือ-ตะวันออก และศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ เพราะมีประชากรน้อย

ส่วนบริเวณชานเมือง หากมีรถไฟรางคู่ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การขนส่งสินค้าและคนทำงานเดินทางเข้าเมืองได้อย่างสะดวก ไม่ต้องใช้รถไฟฟ้าแต่อย่างใด เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย) 80.8 กิโลเมตร เชื่อมการเดินทางพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพมหานคร แนวเหนือ-ใต้ และสิ่งที่กรุงเทพมหานครควรมีที่สุดขณะนี้คือ รถไฟฟ้ามวลเบา โดยพื้นที่ที่ควรดำเนินการ ได้แก่ บริเวณถนนเจริญกรุง (ถนนตก) ถนนจันทน์ ถนนเซ็นต์หลุยส์ ถนนนราธิวาส ถนนนางลิ้นจี่ ถนนงามดูพลี ออกถนนพระรามที่ 4 ซึ่งเป็นการเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าหลักสาทร สุรศักดิ์ และสถานีลุมพินีของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT), บริเวณถนนอุดมสุข ออกสวนหลวง ร.9 วกออกสถานีอ่อนนุช, ประดิพัทธ์-ซอยอารีย์ ประดิพัทธ์-วิภาวดีรังสิต, อินทามระ-ห้วยขวาง, พระรามที่ 1-บรรทัดทอง-พระรามที่ 1, คลองเตย-พระรามที่ 4-พระโขนง โดยการทำรถไฟฟ้ามวลเบาจะทำให้เปิดทำเลใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง

นอกจากนี้ควรสร้างรถไฟฟ้าแบบ BTS บนเกาะกลางถนนของถนนอีกหลายสายในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนลาดพร้าว ถนนสามเสน และอื่นๆ เป็นต้น แต่ไม่ควรสร้างรถ BRT เพราะกีดขวางการจราจร โครงการ BRT บนถนนนราธิวาส-พระรามที่ 3 ควรเปลี่ยนใหม่เป็นรถไฟฟ้า

นายโสภณกล่าวอีกว่า การพัฒนารถไฟฟ้าควรดำเนินการใจกลางเมือง และอนุญาตให้ใจกลางเมืองสร้างอาคารสูงๆ โดยกำหนดอัตราส่วนพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดินเป็น 20 เท่าต่อ 1 แต่ให้คิดภาษีการก่อสร้างเพิ่ม เพื่อนำเงินมาพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ทุกวันนี้อาคารต่างๆ จำเป็นต้องมีที่จอดรถประมาณร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อาคารเพื่อการจอดรถ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท รัฐบาลน่าจะจัดการประมูลให้เอกชนดำเนินการ เช่น กรณี BTS แต่ต้องทำสัญญาให้รัดกุมและให้แต่ละระบบสามารถประสานงานร่วมกันได้.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2014 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
หาเรื่องปากพาจนโดยแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-คูคต --- คงเพราะ เอาที่ทหาร อากาศมาพัฒนาไม่ได้ เลย พาลพาโล แบบนี้ ลงถ้าได้ข่าวการย้ายโรงเรียนเรียนนายเรืออากาศและ ฤทธยวรรณาลัย ไปไว้ที่ สระบุรี เพราะ มีคนหมายใจจะเอาที่ไว้แล้ว กระเดี๋ยวก็ต้องเปลี่ยนท่าที จนได้ - ส่วนจากหมอชิตไปสะพานใหม่คนยิ่งกว่ามด เลย เลิกไม่ได้

ส่วนกรณีสายส้ม ชะรอย จะได้ประกาศสงครามกะคนย่านมีนบุรีกันก็คราวนี้เอง เพราะ ตอนนี้ ส่วนต่อขยาย เรือ คลองแสนแสบ ยัง เดินไม่เต็มที่ - กระท่อนกระแท่นอยู่ - นี่ก็อีกกรณี พอเป็น Flood Way ก็ พาลพาโล แนะให้งด ทำรถไฟฟ้าเสีย แต่ ส่วนบางกะปิ ต้องคงไว้ไม่งั้นโดนแจกกล้วยแน่ๆ

สายแดงไปมหาชัย และ ก็ว่าไปอย่าง และ สายที่ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ ไป สนามหลวง และ บางหว้า ตามความคิดแต่เดิมของ กทม. ก็น่าสนับสนุนอยู่ Airport Link ไปดอนเมือง คงพอไปได้

เวอร์ชันเต็มดูที่นี่ ตีพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์วันนี้ด้วย ทบทวนรถไฟฟ้า 10 สาย

ผู้แถลง:ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42694
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2014 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโรดแมป "รถไฟฟ้า" สารพัดสี จัดคิวรอ "บิ๊กจิน" กดปุ่มประมูล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 มิถุนายน 2557 เวลา 13:31:12 น.

ปัจจุบันประเทศไทยมีรถไฟฟ้าเปิดบริการแล้ว 4 สายทาง ระยะทาง 100 กม. มีบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตลิงก์ และรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ตามแผนแม่บทจะมีสายใหม่เพิ่ม 10 สายทางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะทาง 464 กม.



ปี"58-60 สร้างเสร็จ 3 สาย

กำลังเข้ามาเติมในปี2558 มี "สีม่วง"ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ 23 กม. ที่ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เร่งผู้รับสัมปทานเดินรถ "บีเอ็มซีแอล-บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" นำรถไฟฟ้ามาทดสอบเร็วขึ้น 12 เดือน เป็นต้นเดือน ธ.ค. 2558 เปิดหวูดบริการกลางปี 2559 ปัจจุบันคืบหน้า 89.27% ช้าอยู่ 0.56%

จากนั้นปี 2560 เป็นคิว "สีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 27 กม. จะต่อโครงข่ายสายสีน้ำเงินเดิมเป็นวงกลมสมบูรณ์ ผลงานคืบหน้า 49.93% ยังติดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับอุโมงค์แยกไฟฉายและบางพลัดของ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ทำให้ผลงานจึงยังไม่รุดหน้าเท่าที่ควร

ต่อด้วย "สายสีแดง" ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กม.ของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ที่ล่าช้าอยู่มาก มีผลงานคืบหน้าไม่ถึง 10% ทั้งที่เริ่มก่อสร้างมี.ค.2556 ติดแก้แบบสถานีกลางบางซื่อจะให้รับกับรถไฟความเร็วสูงและเพิ่มรางวิ่งอีก 1 ราง รองรับกับรถไฟฟ้าได้ ทำให้เงินลงทุนเพิ่มกว่า 1 หมื่นล้านบาท ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายกรอบวงเงิน หลังยุบสภาจึงต้องรอ "รัฐบาลใหม่" ชี้ชะตา ล่าสุดลุ้นให้ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ไฟเขียว เพื่อให้ทุกอย่างยุติในสิ้นปี 2557 นี้ ถ้าหลุดจากกรอบเวลานี้ มีเสียงเตือนจาก "ประภัสร์ จงสงวน" ผู้ว่าการการรถไฟฯ อาจจะต้องหยุดก่อสร้าง

"งานช้ามาก เพราะเรื่องแก้ไขแบบ อย่างน้อยจะต้องเร่งอนุมัติงานที่เป็นฐานรากสถานีกลางบางซื่อก่อน ผู้รับเหมาจะได้เพิ่มเสาเข็มให้รับกับน้ำหนักได้ ส่วนการเปิดบริการ ดูแล้วไม่ทันปี 2560 แน่นอน" ผู้ว่าการการรถไฟฯกล่าวย้ำถัดมา "สายสีเขียว" ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 กม. เริ่มงานเดือนมี.ค. 2555 ผลงานก้าวหน้า 28.30% เร็วอยู่ที่ 2.41% ว่ากันว่ารถไฟฟ้าสายนี้ งานก่อสร้างไม่น่าห่วง

จับตาสัมปทานเดินรถสายสีเขียว

แต่ที่กำลังหวั่นวิตก คือสัมปทานเดินรถจะเชื่อมกับบีทีเอสที่อยู่ในมือ "กทม." หลังการเมืองเปลี่ยนทิศ ไม่รู้งานนี้จะมีแผนลับ-เกมใต้ดินให้พลิกผันหรือไม่ ถ้าไม่จบ อาจจะมีผลกระทบต่อการเปิดบริการจากปี 2560 ได้เช่นกัน

"รฟม.ยังไม่สรุปรูปแบบการเดินรถ กำลังพิจารณาเพื่อเสนอให้รัฐบาลใหม่อนุมัติ แนวโน้มจะเหมือนกับสายสีม่วง ถ้าเป็นบีทีเอสเจ้าเดียวกัน ก็ไม่มีปัญหา ผู้โดยสารไม่ต้องมาต่อรถที่แบริ่ง ถ้าคนละเจ้า ต้องเจรจากับ กทม.ใจจริง รฟม.อยากจะทำเอง อาจจะจ้างบีทีเอสเดินรถให้เหมือน กทม.เคยจ้างมาแล้ว" แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

เช่นเดียวกับ "สายสีเขียว" ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 18.7 กม. ถึงจะยังไม่ตอกเสาเข็มก่อสร้าง มีข่าวแพลม ๆ มาว่า บิ๊ก "กทม." กำลังจะขอรัฐบาลใหม่เดินสายนี้เอง หลัง "รฟม." ก่อสร้างเสร็จ

หากการเจรจากันไม่สำเร็จ แม้โครงสร้างด้านกายภาพจะเชื่อมกันที่สถานีหมอชิต แต่ว่ากันว่าการบริการคงจะจอดสถานีพหลโยธินเป็นป้ายสุดท้าย หากท้ายที่สุดไม่ใช่ "บีทีเอส" เป็นผู้รับสัมปทานสายนี้ ยกเว้น "รฟม." จะเจรจากับ "กทม.-บีทีเอส" จนได้ข้อยุติ

เลื่อน 3 เดือน "หมอชิต-คูคต"

สำหรับสถานะล่าสุดของรถไฟฟ้าสายนี้ "รฟม." ยังไม่มีกำหนดยื่นประมูลใหม่ หลังเลื่อนออกไปอีก 3 เดือน เพื่อเคลียร์ข้อข้องใจของ "บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ" ให้ปรับเงื่อนไขทีโออาร์เรื่องรายได้รวมย้อนหลัง 3 ปี เพื่อเปิดทางให้ผู้รับเหมารายกลางเข้าร่วมประมูลได้ในสัญญาที่ 1 และ 2

เมื่อพลิกดูผลงาน-รายได้ในบัญชีแล้ว คงรับรู้ไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาท ตามสเป็กที่ รฟม.วางไว้ เพราะงานนี้ ผู้รับเหมาค่ายนี้อยากจะขอฉายเดี่ยวรับงานแบบเนื้อ ๆ เน้น ๆ ไม่ต้องแบ่งจ่ายให้ผู้ร่วมทุนเหมือนสายสีน้ำเงินและสีแดง

ทั้งนี้ ตามแผนเดิม "รฟม." จะประมูลเดือนเม.ย. เริ่มตอกเสาเข็มปลายปีนี้ แต่เพราะเกิดกรณีนี้ขึ้นมา ผสมโรงกับรัฐบาลเพื่อไทยประกาศยุบสภา ทำให้ต้องรอรัฐบาลใหม่อนุมัติและหาแหล่งเงินให้ กระทบถึงโครงการนี้ แทนที่จะเร็วขึ้น จึงล่าช้าออกไป คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2558 เปิดบริการได้ปี 2561 หรือปี 2562

สายใหม่คิวรวนเพียบ

ส่วนสายใหม่สารพัดสี ที่เข้าคิวรอการอนุมัติโครงการก่อสร้าง คงต้องรอโรดแมปของ "คสช." หรือรัฐบาลใหม่มารันโครงการ เพราะหลังยุบสภา ทำให้คิวแผนงานรวนไป จากเดิมจะเริ่มประมูลได้ตั้งแต่ปี 2557 ต้องเลื่อนไปเป็นปี 2558 เป็นต้นไปไม่ว่าจะเป็นสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) สายสีแดง (ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์) เป็นต้น คิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 4-5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ฟังจากน้ำเสียง "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" หัวหน้าคณะ คสช.ให้ความสำคัญโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าอยู่มาก อยู่ที่กระทรวงการคลังจะบริหารสถานะการเงิน-การคลังของประเทศยังไงให้สมดุลกับการลงทุนของประเทศ และจัดเซตโครงการสายไหนมาก่อนและยังรอได้

เพราะ ณ เวลานี้ ทุกอย่างพร้อม รอแค่เงินทุน ยังไม่รู้จะเร็วหรือช้า รอดูกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 92, 93, 94 ... 277, 278, 279  Next
Page 93 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©