Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270710
ทั้งหมด:13581999
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 95, 96, 97 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2014 11:33 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าขยับหลายสาย สีเขียวคืบหน้าเร็วกว่าแผน / ตีกลับล้างหนี้ร.ฟ.ท.

โดยกอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อวันอังคารที่ 29 กรกฏาคม 2014 เวลา 13:51 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,970 วันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โครงการรถไฟฟ้า 10 สายขยับหลายเส้นทาง รฟม.ชงสายใหม่ สีส้ม/สีชมพูและสีเหลือง ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เผยสายสีเขียวเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ ก่อสร้างเร็วกว่าแผน ส่วนสายสีม่วงเปิดบริการตามกำหนดปี 2559 ด้านแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. ถูกปลัดตีกลับ ให้ทำรายละเอียดกรอบปฏิบัติและระยะเวลาให้ชัดเจนเพื่อนำเสนอบอร์ดเห็นชอบ 2 ส.ค.นี้
altนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้นำเสนอความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ ได้แก่ สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง-สุวินทวงศ์ สายสีชมพู ช่วงติวานนท์-ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา-มีนบุรี และ สายสีเหลือง ช่วงรัชดาฯ/ลาดพร้าว-สำโรง มายังกระทรวงแล้ว เพื่อพิจารณาและนำส่งต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป พร้อมทั้งรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆโดยในช่วงสายสีม่วงเส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ การก่อสร้างดำเนินการไปแล้วประมาณ 94% คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2558 และน่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงต้นปี 2559 จึงกำชับให้ดำเนินการตามแผน

ส่วนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ ล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม 2 ปีเนื่องจากต้องดำเนินการไปพร้อมกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์ของกรุงเทพมหานคร(กทม.)ในบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ ส่วนสัญญาการเดินรถและระบบไฟฟ้าอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 13 ขณะที่สายสีเขียวเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ ความคืบหน้าการก่อสร้างเร็วกว่าแผน ถึง 31.87% ซึ่งได้เร่งเรื่องการเดินรถ นำเสนอกระทรวงควบคู่กันไป ส่วนของสายเขียวเส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา ซึ่งขณะนี้ล่าช้ากว่ากำหนดการมา 2 เดือนแล้ว
ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดงเส้นทางบางซื่อ-รังสิตที่อยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการนำเสนอครม.เพื่อขอปรับแบบก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และจะเปิดซองสัญญา 3(ข้อเสนอด้านราคาของงานระบบรถไฟฟ้า) หากราคาไม่เกินกรอบวงเงินที่กำหนดก็สามารถดำเนินการต่อได้ คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปีครึ่งนับจากวันลงนามในสัญญาจะสามารถเปิดให้บริการได้ และตามมติครม.เดิมหากงบประมาณเหลือจากการก่อสร้างให้นำไปใช้ก่อสร้างส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้ผ่านการรับรองผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอแล้ว และขณะนี้ได้ยื่นเรื่องมาที่กระทรวงเพื่อเร่งเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ต่อไป
"สายสีแดงช่วงที่เชื่อมโยงระหว่างสถานีกลางบางซื่อถึงหัวลำโพงและต่อเนื่องไปยังฉะเชิงเทราหรือมิสซิ่งลิงก์ โดยส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ก็อยู่ในช่วงนี้ด้วย ซึ่งจะมีการสร้างอุโมงค์ผ่านพื้นที่ด้านหน้าวังสวนจิตรลดา จะต้องสร้างไปพร้อมกัน ขณะนี้ผ่านการรับรองอีไอเอแล้วพร้อมเสนอครม.ต่อไป"
ปลัดกระทรวงคมนาคมยังกล่าวถึงแผนฟื้นฟูองค์กร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ว่า ทางฝ่ายบริหารได้เสนอโครงสร้างการแก้ปัญหา แต่ยังขาดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ทางร.ฟ.ท.กลับไปจัดหมวดหมู่การแก้ปัญหาใหม่ให้ชัดเจนและนำกลับมาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ในวัน 2 สิงหาคมนี้ ก่อนที่จะนำเสนอกระทรวงในสัปดาห์หน้า
"ปัจจุบันหนี้สะสมของร.ฟ.ท.ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.09 แสนล้านบาท(ณ กันยายน 2556) แบ่งเป็นหนี้สะสมของร.ฟ.ท. ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท หนี้สะสมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ประมาณ 3.3 หมื่นพันล้านบาท และหนี้บำนาญสะสมในปัจจุบันอีกประมาณ 6.6 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการบริหารทรัพย์สินของร.ฟ.ท.เช่นที่ดินสถานีมักกะสัน ที่ดินสถานีแม่น้ำและที่ดินบริเวณกม.11 ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ต้องให้ทางร.ฟ.ท.นำกลับมาพิจารณาว่าจะบริหารจัดการเพื่อสร้างรายได้เอง หรือจะนำที่ดินให้กระทรวงการคลังบริหารจัดการ เช่นเดียวกับที่ดินอีก 11 แห่งในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่น หัวหิน อยุธยา เชียงใหม่ ที่ทางร.ฟ.ท.ต้องดำเนินการให้มีมูลค่าเพิ่ม พร้อมบริหารจัดการสัญญาไม่ให้รั่วไหล"
ด้านนายประเสริญ อัตตะนันทน์ รักษาการผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้นำเสนอที่ประชุมในวันนี้ให้มีการปรับปรุงระบบบัญชีและขอให้เร่งรัดการลงทุน เช่น การก่อสร้างรถไฟทางคู่ การจัดซื้อหัวรถจักร และการแก้ปัญหาหนี้สินจากการพัฒนาที่ดินทั้ง 3 แห่ง ซึ่งร.ฟ.ท.ยืนยันว่าพร้อมที่จะบริหารจัดการเอง แต่คงต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2014 10:37 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เตรียมประมูลรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงินกว่า 2 แสนล้าน
เรื่องโดย Nation TV
วันที่ 5 สิงหาคม 2557 11:09 น.

กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าปลายปีนี้ ประมูลสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง วงเงินรวมกว่า 2 แสนล้านบาท เร่งวางแผนแก้วิกฤตจราจรระหว่างก่อสร้าง

ปลัดกระทรวงคมนาคม สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแผนยุทธศาสตร์ 8 ปี ที่จะเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช.อนุมัติภายในปีนี้ มี 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 86.4 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมระบบรถไฟฟ้ากว่า 2 แสนล้านบาทประกอบด้วย

รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 58,624 ล้านบาท
สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 95,108 ล้านบาท และ
สายสีเหลือง ลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 48,619.38 ล้านบาท

คาดว่าจะเปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2558

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร วงเงินรวม 3.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเปิดประมูลไปแล้ว มีผู้รับเหมาซื้อซองรวม 31 ราย ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการปรับเงื่อนไขทีโออาร์เรื่องคุณสมบัติและการให้คะแนนผู้รับเหมา คาดว่าจะเปิดให้ยื่นซองประมูลเร็วๆ นี้

เมื่อการก่อสร้างทั้ง 4 โครงการ รวมกับที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในปัจจุบันอีก 4 เส้นทาง จะทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 299 กิโลเมตรภายใน 5 ปี จากที่ให้บริการในปัจจุบัน 100 กิโลเมตร และสัดส่วนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะจะเพิ่มเป็น 60% ขณะที่การเดินทางโดยรถส่วนตัวจะลดเหลือ 40%การก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จะต้องทำควบคู่กับโครงการจัดหารถโดยสารใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เพราะในอนาคตรถโดยสาร ขสมก.จะทำหน้าที่สนับสนุนการเดินทางหรือเป็นฟีดเดอร์กระจายผู้โดยสารจากรถไฟฟ้า ขณะเดียวกันต้องวางแผนการจัดระบบการจราจรเพื่อลดความแออัด เพราะระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจะเกิดผลกระทบต่อปัญหาจราจรอย่างมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2014 5:51 am    Post subject: Reply with quote

ก่อนเร่งประมูลรถไฟฟ้า ทบทวนสายสีชมพูก่อนดีไหม
ไทยรัฐออนไลน์ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 7 ส.ค. 2557 05:01

คุณรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้าว่า ปีงบประมาณ 2558 ได้บรรจุงบลงทุนไว้ประมาณ 400,000 ล้านบาท และ มีงบลงทุนเหลื่อมงบประมาณอีก 400,000 ล้านบาท เมื่อรวมกันแล้วจะมีเม็ดเงินลงทุนประมาณ 800,000 ล้านบาท เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปลายปี 2557 และปี 2558

ก็ถือเป็น “ข่าวดี” สำหรับ เศรษฐกิจไทย ถ้าเม็ดเงิน 800,000 ล้านบาท สามารถลงทุนได้จริงในปลายปีนี้ เศรษฐกิจไทยกระดี๊กระด๊าหักปากกาเซียนแน่นอน

แต่เม็ดเงินลงทุนก้อนใหญ่นี้ ส่วนใหญ่ไปลงทุนในโครงการ “รถไฟฟ้า” สายต่างๆ ที่กำลังรอการเปิดประมูล ซึ่งจะมีการสรุปเสนอ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ เพื่ออนุมัติภายในวันที่ 29 สิงหาคมนี้

คุณสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม บอกว่า จะเร่งรัดโครงการทั้งหมดให้เกิดขึ้นโดยเร็ว จะมีการประกวดราคาโครงการล่วงหน้า เมื่อได้รับงบประมาณแล้วค่อยไปลงนามในสัญญา ทุกโครงการจะต้องลงนามสัญญาก่อสร้างในไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2558 อย่างช้าภายในเดือนมกราคม 2558 มิฉะนั้นจะถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่

คุณสร้อยทิพย์ บอกว่า งบลงทุนเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท เช่น เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า 4 สาย วงเงิน 279,000 ล้านบาท คือ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม–บางกะปิ–มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย–ปากเกร็ด–มีนบุรี และ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–พัฒนาการ–สำโรง และรถไฟรางคู่อีก 6 เส้นทาง เป็นต้น

การเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ 10 สาย ที่ล่าช้ามานาน เพราะนักการเมืองในอดีตขัดขากันเอง เนื่องจากผลประโยชน์ไม่ลงตัว ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก รถไฟฟ้าหลายสายควรจะเปิดใช้ได้นานแล้ว แต่ถูกดึงมาจนถึงบัดนี้ยังไม่ได้ประมูลเลย

แต่มีอยู่สายหนึ่งที่ผมคิดว่า ท่านปลัดสร้อยทิพย์ และ พล.อ.อ.ประจิน น่าจะมีการทบทวนโครงการ มิฉะนั้นจะสร้างปัญหาและภาระให้กับลูกหลานไทยไปอีกนานแสนนาน นั่นคือ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ใช้ระบบโมโนเรล หรือ รางเดี่ยว อยู่สายเดียว เป็นโครงการที่ทะแม่งผิดปกติมาตั้งแต่เริ่มแล้ว ยื้อกันมานานมาก เพราะนักการเมืองตกลงกันไม่ได้จะใช้ที่ดินของใครสร้างที่จอดรถ

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นนี้มีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 58,600 ล้านบาท วิ่งจาก ปากเกร็ด ไปตาม ถนนรามอินทรา ไปสิ้นสุดที่ ถนนสุวินทวงศ์ มีนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางที่รถราติดขัดทุกวัน เพราะ มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นมาก
เส้นทางแบบนี้ปกติจะต้องใช้ รถไฟฟ้าเฮฟวี่เรล เพื่อให้ขนผู้โดยสารได้ทีละมากๆ แต่ รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นรถไฟฟ้าไลต์เรล ขนผู้โดยสารได้น้อยกว่ามาก แต่สามารถเลี้ยวไปตามเส้นทางขนาดเล็กหรือในตัวตึกได้ เหมาะสำหรับใช้ในตัวเมืองและเส้นทางที่มีผู้โดยสารไม่มาก แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ขนผู้โดยสารทีละมากๆ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน

รถไฟฟ้าโมโนเรล สอดแทรกเข้ามาได้ยังไงผมไม่ทราบ แต่คำถามคือ เหมาะสมหรือไม่ ผมเชื่อว่า พล.อ.อ.ประจิน ซึ่ง จบด็อกเตอร์ทางพลังงาน คงจะดูออกแน่นอน บริษัทที่ผลิตรถไฟฟ้าโมโนเรลในโลกมีอยู่เพียง 2 บริษัทเท่านั้น คือ บอมบาร์ดิเอร์ ของแคนาดา และ ฮิตาชิ ของญี่ปุ่น ดูสเปกรถที่ รฟม.พูดถึงแล้วก็พอจะรู้ว่าใครจะเข้าวิน แต่ซื้อมาแล้วจะต้องใช้ระบบนี้ตลอดไป เปลี่ยนเป็นระบบอื่นไม่ได้เลย

ที่สำคัญ ค่าดูแลรักษาระบบแพงมากๆ ยิ่งไม่มีคู่แข่ง ก็ยิ่งแพงมาก

พล.อ.อ.ประจิน ประธานบอร์ดการบินไทย เคยเห็นตัวอย่าง การบินไทย มาแล้ว สมัยก่อนซื้อเครื่องบินหลายแบบ เครื่องยนต์ก็หลายแบบ เลยต้องมีอะไหล่เยอะมาก ผลคือขาดทุนบาน สู้โลว์คอสต์ไม่ได้ ใช้เครื่องบินแบบเดียว เครื่องยนต์แบบเดียว ต้นทุนเลยถูกมาก ลองทบทวนก่อนประมูลก็ยังไม่สายเกินไปนะครับ.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/08/2014 7:23 am    Post subject: Reply with quote

ชงสร้างรถไฟฟ้า7สาย 3.6 แสนล้าน
ไทยโพสต์ Tuesday, 12 August, 2014

“คมนาคม” เตรียงชง คสช.อนุมัติเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 7 สายทางวงเงินรวม 3.6 แสนล้านบาท มั่นใจเปิดซองประมูลได้ภายในต้นปี 58 คาดเร็วๆ นี้หารือกระทรวงการคลังสรุปความชัดเจนแหล่งเงินทุน

เร่งหารือกระทรวงการคลังหาแหล่งเงินลงทุน นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทางว่า ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้ามีความคืบหน้าไปมาก และมีโครงการที่พร้อมเปิดประมูลได้ทันทีจำนวน 7 สายทาง ซึ่งที่ผ่านมาทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรืออีไอเอ แล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการเปิดประมูล หลังจากนี้กระทรวงคมนาคมนำเรื่องเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เห็นชอบ หรือหากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาก็จะนำเรื่องเสนอทันที เพราะหากได้รับอนุมัติเร็ว จะสามารถเปิดซองประมูลได้ภายในปี 57 หรือต้นปี 58

“แหล่งเงินทุนที่จะนำมาก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ในเบื้องต้นจะพิจารณาจาก 5 แหล่ง คือ
1.เงินงบประมาณ
2.รายได้จากรัฐวิสาหกิจ
3.เงินกู้ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ
4.จากการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน (พีพีพี) และ
5.แหล่งอื่นๆ เช่น กองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ เป็นต้น
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงการคลังว่าจะนำมาจากไหน คาดว่าในเร็วนี้จะสรุปความชัดเจนได้“ นางสร้อยทิพย์ กล่าว

สำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 7 สายทาง ประกอบด้วย
1.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงินลงทุน 58,878 ล้านบาท
2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินลงทุน 58,303 ล้านบาท
3.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี วงเงินลงทุน 110,325 ล้านบาท
4.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินลงทุน 56,110 ล้านบาท
5.สายสีแดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงินลงทุน 5,447 ล้านบาท
6.ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงค์ เชื่อมสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินลงทุน 28,440 ล้านบาท และ
7.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก วงเงินลงทุนรวม 44,712 ล้านบาท

รวมเป็นวงเงินก่อสร้างทั้ง 7 สายทาง ประมาณ 362,215 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/08/2014 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะกลาง - Springnews

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ย­วกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะกลาง&quo­t; ไปติดตามแผนแม่บทของระบบขนส่งมวลชนระยะกลา­งที่ผ่านมาของการรถไฟแห่งประเทศไทย จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในรายงานพิเศษ

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2014 3:39 am    Post subject: Reply with quote

ต้านเวนคืนแลกคอนโดฯชุมชนฯเล็งร้องคสช./รฟม.เดินหน้าTOD
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,974 วันที่ 14 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แผนพัฒนา TOD บนที่ดิน 1,000 ไร่ของรฟม.ย่านพระราม 9 ส่อเค้าล้ม ชุมชนประชาสงเคราะห์ ห้วยขวาง-ดินแดง ผนึกผู้ได้รับผลกระทบสถานีราชปรารภ-รางน้ำ ประตูน้ำ เพชรบุรีต่อต้านหนักร้องอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนที่รฟม.จะเวนคืนผ่านชุมชนที่มีกว่า 1 พันหลังคาเรือน ปัดไม่เอาข้อเสนอแลกคอนโดฯแนวสูง ด้านรฟม.เดินหน้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เล็งรวบเดโปศูนย์วัฒนธรรมร่วมกับสายสีส้มหวังสร้างมูลค่าเพิ่มโครงการและที่ดินโดยรอบ

นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนประชาสงเคราะห์(แม่เนี้ยว แยก 3) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ในจุดผ่านพื้นที่สถานีเพชรบุรี ราชเทวี ประตูน้ำ รางน้ำ และราชปรารภ ยื่นเรื่องต่อคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ยกเลิกการเวนคืนใช้พื้นที่ของชุมชนประชาสงเคราะห์ก่อสร้างแนวเส้นทาง เนื่องจากทราบว่านายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรฟม.มีความพยายามที่จะเวนคืนที่ดินของชุมชนประมาณ 25 ไร่ เพื่อก่อสร้างแนวเส้นทางจากถนนวิภาวดีรังสิตไปบรรจบกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมให้ได้ โดยยื่นข้อเสนอแลกกับการก่อสร้างคอนโดมิเนียมบนพื้นที่โรงเรียนดรุณวิทยาให้อยู่อาศัยแนวสูงแทนแนวราบนั้น

ทั้งนี้ทางกลุ่มได้ยื่นเรื่องไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนอยู่ระหว่างเร่งสรุปข้อมูลเพื่อยื่นเรื่องต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ทั้งนี้กรณีดังกล่าวนั้นชุมชนได้เคยหารือร่วมกับผู้ว่าการรฟม.มาแล้วพร้อมกับยื่นข้อเสนอให้ปรับแนวไปใช้ถนนดินแดง-พระราม 9 แทนเพราะแนวเส้นทางจะตรงมากกว่า

"ประการสำคัญรฟม.จะใช้พื้นที่วางรางกว้าง 15 เมตร และพื้นที่ 2 แนวเส้นทางทั้ง 2 ฝั่งอีกด้านละประมาณ 200 เมตรเพื่อก่อสร้างถนน 4 เลนทะลุจากวิภาวดีรังสิตไปจดถนนรัชดาภิเษกที่ใกล้ห้างเอสพลานาด ซึ่งในการชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการสิทธิ์ในครั้งนี้ผู้แทนของรฟม.บอกเพียงว่าอยู่ระหว่างการตั้งงบประมาณเพื่อศึกษาแนวทางใหม่เท่านั้น ซึ่งคณะอนุกรรมการสิทธิ์จะรวบรวมข้อมูลนำเสนอคสช.พิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อไป"

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงรฟม.กล่าวว่าขณะนี้ยังคงเดินหน้าตามแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ Transit Oriented Development (TOD) ในพื้นที่สถานีและตามเดโป้หรือศูนย์ซ่อมบำรุงต่างๆ โดยวันที่ 29 สิงหาคมนี้จะดึงมืออาชีพด้านการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้าเพื่อบูม TOD ในประเทศไทย พร้อมกับเชิญนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด เพื่อจะขอใช้พื้นที่ใต้ดินแทนการเวนคืนเพื่อเลี่ยงผลกระทบตามมานั่นเอง

"แนวคิดของผู้ว่าการรฟม.ได้เล็งรวบเดโป้สายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี กับสายสีน้ำเงิน (MRT) ปัจจุบันมาใช้งานร่วมกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ที่คาดว่าจะช่วยประหยัดงบประมาณได้กว่า 1,000 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีแนวคิดรวมเอาสายสีชมพู-สีส้มไปไว้พื้นที่มีนบุรี ตลอดจนสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ไปไว้ที่สำโรงหรือสมุทรปราการ ส่วนสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) ร่วมกับสายสีเทาของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

ที่ในอนาคตมีแผนเชื่อมโยงจากวัชรพลไปยังพื้นที่จุดวงแหวนรอบนอกสามารถเชื่อมไปยังพื้นที่ลำลูกกาได้อีกด้วย

นอกจากนี้ได้เร่งปรับสถานีศูนย์วัฒนธรรม โดยขอใช้พื้นที่ใต้ดินแทนการเวนคืน ซึ่งเจ้าของที่ดินคือบริษัท กรุงเทพค้าสัตว์ฯและบริษัท โชคชัยปัญจ- ทรัพย์ จำกัด ก็เห็นชอบด้วยแล้ว เหลือเพียงรายย่อยเท่านั้น ซึ่งได้ออกแบบคร่าวๆ เอาไว้แล้วแต่ยังคุยรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆไม่ลงตัว สำหรับสถานีประชาสงเคราะห์นั้นคุยกับชุมชนแม่เนี้ยวแล้ว ส่วนใหญ่ต้องการอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม

"ผู้ว่าการรฟม.เสนอให้สร้างอาคารรูปแบบคอนโดมิเนียมให้อยู่อาศัยแนวดิ่งแทน โดยคืนให้ตามจำนวนพื้นที่ที่รฟม.เอามาใช้งาน ส่วนจะแยกบริหารหรือให้รฟม.บริหารก็ได้ เพียงแต่ห้ามซื้อขายภายใน 5 ปี ส่วนการสร้างที่อยู่อาศัยบนอาคารพาร์กแอนด์ไรด์ให้อยู่อาศัย ถือว่าเป็นการคิดเร็วเคลมเร็ว โดยอาจแบ่งโซนสีให้เห็นชัดเจน ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าพื้นที่สำนักงานของรฟม.ปัจจุบันมีขนาดประมาณ 1 พันไร่ โดยมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้ประมาณ 562 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตใกล้ศูนย์กลางธุรกิจ แวดล้อมไปด้วยชุมชนหนาแน่นเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดินและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงมีแนวคิดก่อสร้างทั้งอาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าโดยนำต้นแบบที่ฮ่องกงที่นำโรงซ่อมมาสร้างโอกาสพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยและศูนย์การค้า

"กรณีดังกล่าวนี้พบว่าได้รับการตอบรับจากภาคเอกชนมาแล้ว คือบริษัท สัมมากร จำกัด(มหาชน) ได้ยกที่ดินราว 200 ไร่ คิดเป็นมูลค่าราว 40 ล้านบาทให้ก่อสร้างสถานีสัมมากร เพื่อรองรับชุมชนใหญ่กว่า 3 พันหลังคาเรือน ปรากฏว่าส่งผลดีต่อราคาที่ดินทั้งในพื้นที่และโดยรอบเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


Last edited by Wisarut on 18/08/2014 2:33 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2014 2:21 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2557 14:21น.

รฟม. เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว คาด สิ้นปีลงนามสัญญาก่อสร้างได้ ชี้ สายสีส้ม ชมพู และเหลือง อาจล่าช้ากว่าแผน ไร้กระทบโครงการ
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายด้านตะวันตก และสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ทั้ง 3 โครงการนี้มีการก่อสร้างที่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ประมาณร้อยละ 50 ของโครงการ ด้านสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ อยู่ระหว่างการประมูล ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จะสามารถเซ็นสัญญาและเร่งมือการก่อสร้างได้

ทั้งนี้ สำหรับโครงการสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง อยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อนุมัติ แต่ รฟม. ได้มีการเสนอเรื่องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว ซึ่งคาดว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม รฟม. ยอมรับว่า โครงการที่มีการอนุมัติในภายหลัง เช่น สายสีส้ม สายสีชมพู และ สายสีเหลือง อาจจะมีความล่าช้าไปจากแผนแม่บท เนื่องจากมีช่วงรอยต่อในการยุบสภา ทำให้ล่าช้าในการอนุมัติโครงการ แต่ยืนยันไม่มีผลกระทบต่อโครงการมากนัก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2014 2:36 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมวิ่งสู้ฟัดดันรถไฟฟ้า 7 สายรอรัฐบาลใหม่เคาะ
เรื่องเด่นวันนี้
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1499
9-15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

“คมนาคม” ดันสุดตัวโครงการรถไฟฟ้า 7 สายทางวงเงินรวม 3.6 แสนล้านบาท เสนอ คสช. หรือรัฐบาลใหม่ ไฟเขียว คาดเปิดซองประมูลได้ภายในปี 2557 หรือต้นปี 2558

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนว่า ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าคืบหน้าไปมาก และมีโครงการที่พร้อมเปิดประมูลได้ทันทีจำนวน 7 สายทาง ประกอบด้วย

1.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงินลงทุน 58,878 ล้านบาท

2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินลงทุน 58,303 ล้านบาท

3.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี วงเงินลงทุน 110,325 ล้านบาท
4.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินลงทุน 56,110 ล้านบาท
5.สายสีแดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงินลงทุน 5,447 ล้านบาท
6.ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เชื่อมสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินลงทุน 28,440 ล้านบาท และ
7.สายสีแดง Missing Link ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก วงเงินลงทุนรวม 44,712 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินก่อสร้างทั้ง 7 สายทาง ประมาณ 362,215 ล้านบาท

“ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรืออีไอเอ แล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการเปิดประมูล หลังจากนี้กระทรวงคมนาคมนำเรื่องเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เห็นชอบ หรือหากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาก็จะนำเรื่องเสนอทันที เพราะหากได้รับอนุมัติเร็ว จะสามารถเปิดซองประมูลได้ภายในปี 2557 หรือต้นปี 2558”

สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น เบื้องต้นจะพิจารณาจาก 5 แหล่ง คือ
1.เงินงบประมาณ
2.รายได้จากรัฐวิสาหกิจ
3.เงินกู้ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ
4.จากการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน (พีพีพี) และ
5.แหล่งอื่นๆ เช่น กองทุน อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ เป็นต้น

ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้น สายสีม่วงก่อสร้างงานโยธาได้แล้ว 94% คาดว่าปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 จะเริ่มบริการทดสอบระบบวิ่ง ซึ่งระหว่างนั้นประชาชนจะได้ใช้บริการฟรี ขณะที่สีน้ำเงินบางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ ตอนนี้ก่อสร้างล่าช้าไปกว่าแผน 2 ปี จึงคาดจะแล้วเสร็จได้ในปี 2562 จากเป้าหมายเดิมปี 2560 เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ก่อสร้างทับซ้อนกับกทม. ส่วนสายสีเขียวใต้แบริ่ง-สมุทรปราการ ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 31.87% เร็วกว่าแผน 3%

ในส่วนของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น ขณะนี้สัญญา 1 และสัญญา 2 อยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนสัญญาที่ 3 ด้านงานระบบ ได้เปิดซองประมูลไปแล้วเมื่อวันที่ 29 ก.ค.2557 ที่ผ่านมา หากไม่ติดขัดอะไรภายในปลายปี 2559 โครงการทั้งระบบจะแล้วเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2014 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

BMCL ย่ำเท้าตามรอย BTS
หน้าแรก การเงิน-ลงทุน
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1498 ประจำวันที่ 2-8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ในปี 57 ราคาหุ้นของ BMCL ที่เคยเป็นเหมือนตัวหนอน จากการรับรู้ผลขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจริงๆ แล้วถือเป็นเรื่องปกติของโครงการที่ลงทุนสูง ซึ่งตามประมาณการจริงนั้น จะมีกำไรให้เห็นจริงๆ ได้ประมาณปี 2560 จนนักลงทุนหันเอาไปเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้ามาหานะเธอ หรือ BTS ที่วิ่งฉิวไปให้ผู้ถือหุ้นพุงปลิ้นกันไปตามๆ กัน

แต่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังตัวเลขกำไร Q1/57 โผล่มา ทำให้รายใหญ่หลายรายที่ขอเข้าไป company visit แบบส่วนตัว ได้ขอมูลที่น่าสนใจ พร้อมๆ กับการปั้น story ขึ้นมาดันราคาหุ้น BMCL แทนที่ BTS ที่เริ่มอืดหลังราคาเริ่ม fully value จนไม่มีส่วนต่างที่จะให้ไล่ทำกำไรกันอีกแล้ว สังเกตจากราคาหุ้น BTS วิ่งอยู่แถวๆ 8 บาทมาตลอดตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่ SET Index วิ่งขึ้นไปเกือบๆ 200 จุด ต่างจาก BMCL ที่วิ่งจาก 0.90 บาท มา 1.80 บาท หรือ วิ่งขึ้น 100%

Story ที่ทำให้ BMCL วิ่งขึ้นยาวหลักๆ มีอยู่ 4 อย่างคือ 1)จำนวน Ridership หรือ ผู้โดยสารปรับขึ้นมากกว่าคาด โดยเฉลี่ยปี 57 นี้คาดจะอยู่ที่ 2.7 แสนคน/วัน ซึ่งคาดว่าหลังเปิดสายสีม่วง และ สีน้ำเงินส่วนต่อ ในปี 3 ปีข้างหน้า จำนวนผู้โดยสารจะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ราวๆ 7.5 แสนคน หรือ เพิ่มขึ้นกว่า 300% ซึ่งไม่ใช่ตัวที่ประเมินเกินเลยไปหากดูจาก Population ของคนย่านชานเมือง เช่น แถวๆ นนทบุรี ที่มีไม่ต่ำกว่า 1-1.2 ล้านคน

2) โอกาสในการเข้า bidding รถไฟฟ้าในเส้นทางอื่น เช่น ส่วนต่อขยายเส้นสีน้ำเงิน ที่จะเปิด bid ในปี 57 นี้ ซึ่งมีโอกาสสูงที่ BMCL จะชนะมีสูง (มากๆ) อีกทั้งจะ share cost จากสายสีน้ำเงินเดิม ทำให้เกิด economy of scale ในการบริหารต้นทุน ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบในการที่จะ bidding โครงการรถไฟฟ้าอื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 2 เส้นทางจาก 4 เส้นทางที่จะเปิด TOR ในอนาคตรวมกว่า 315 กม.

3) บริษัทลูกคือ BMN ที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับ VGI น่าจะเข้า IPO ได้ในปี 58 ซึ่งหากดูจาก Growth Rate เฉลี่ยปีละเกือบ 30% แถมยังมีโอกาสที่จะเข้าพัฒนาในพื้นที่รถไฟฟ้าสีม่วง และ สีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งเป็นรถไฟลอยฟ้าที่มี cost ต่ำกว่า แต่ Margin ดีกว่า ขณะที่โอกาสที่จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่มีอีก 6 แห่ง จากที่พัฒนาไปแล้ว 5 แห่ง (Occupancy rate มากกว่า 80%) นั่นจะเป็นโอกาสที่จะสร้าง upside gain จากราคาหุ้น BMN ได้เหมือน VGI (ที่เฉลี่ยปรับขึ้น 400% จาก IPO)

4)หลังการเพิ่มทุน ทำให้ D/E ลงเหลือ 1.0 เท่า ซึ่งช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่ายลงได้มากกว่า 30% แถม BMCL อยู่ระหว่างเจรจาปรับลดดอกเบี้ยลงอีก ซึ่งคาดว่าจะลดลงได้อีกอย่างน้อยก็ 50bps จากผลประกอบการที่ดี รวมถึงโอกาสในการเข้า bidding ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นร่วมกับแม่คือ CK ทำให้ตอนนี้ BMCL หัวกะไดไม่แห้ง ที่ธนาคารจะเข้ามา offer วงเงินกับเรตดอกเบี้ยถูกๆ ให้

จริงๆ แล้วยังมีประเด็นข่าวบวกให้เห็นอีกเพียบ จนเล่าไม่หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ridership ที่จะคาดจะพุ่งแบบก้าวกระโดด หากระบบขนส่งเปิดครบวงจริงๆ ในอีก 3-5 ข้างหน้า ตัวอย่างคือญี่ปุ่น, เกาหลี, ฮ่องกง นั่นจะทำให้มูลค่าของ BMCL วิ่งขึ้นไปเท่าไหร่ ก็กำลังเป็นโจทก์ที่นักลงทุนรายใหญ่ปั้น Story กันได้อีกบาน

ดังนั้น หากใครคิดจะซื้อหุ้นดีๆ มีอนาคตไกลติดพอร์ตไว้ลงทุนล่ะกัน หุ้นโครงสร้างพื้นฐานดีๆ อย่าง BMCL จึงเป็นตัวหนึ่งที่น่าจับตาไม่น้อย หรือ ถ้าใครเคยถือ BTS อยู่แล้วเบื่อๆ ที่ราคาเริ่มไม่วิ่ง จะ switch มาแทนก็น่าสน ส่วนราคาแถวๆ 1.6-1.7 อาจดูเหมือนวิ่งมาไกลกว่าเท่าตัวแล้ว ก็อาจจะเบรกได้ระยะหนึ่ง ซึ่งก็เป็นจังหวะน่าซื้อเก็บไม่น้อย ซึ่งหากดูทางเทคนิคแล้วโอกาสที่จะลงมาให้ซื้อแถวๆ 1.50 ก็มีอยู่ ซึ่งถ้าเห็นจริงล่ะก็ ใครไม่คว้าไว้เสียดายแย่เลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2014 9:56 am    Post subject: Reply with quote

ถกบีทีเอสปรับลดราคาตั๋วร่วม
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 06:01

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างต่อรองราคากับผู้ชนะโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง สำหรับระบบตั๋วร่วม คือ กลุ่มบีเอสวีที่มีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสเป็นแกนนำให้ปรับลดราคาลงมาอีก จากที่เสนอต่ำสุด 339,689,000 บาท จากราคากลางที่กำหนดไว้ 438 ล้านบาท เป็นการต่อรองตามขั้นตอนประกวดราคาเพื่อให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนสิงหาคมนี้ จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) พิจารณาก่อนลงนามในสัญญาเพื่อติดตั้งระบบต่อไป

นายพีระพลกล่าวว่า ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ สนข.จะประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม โดยนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อให้มีผู้เข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ทันทีที่การพัฒนาระบบแล้วเสร็จ โดยระหว่างที่ยังไม่มีบริษัทเข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมนั้น อาจให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการในลักษณะของการตั้งหน่วยธุรกิจมาบริหารจัดการก่อน จากนั้นจึงให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการ หากได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวจะนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)อนุมัติต่อไป

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่าในการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมจะมีการพิจารณาจัดตั้งบริษัทจำกัดเข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยรัฐถือหุ้นไม่เกิน 50% ส่วนกระบวนการจัดการตั้งบริษัทดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี หรือแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2558 สอดคล้องกับศูนย์บริหารจัดการรายได้ที่จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2558.

//-----------------

เร่งดันตั๋วร่วมรถโดยสาร
เดลินิวส์
วันอังคาร 19 สิงหาคม 2557 เวลา 07:00 น.

สนข.เร่งเจรจาบีทีเอสลดราคา ระบบตั๋วร่วม พร้อมเร่งถก คมนาคม เปิดทางให้ รฟม.ทดลองเข้ามาบริหารชั่วคราวคาดเปิดใช้ปี 58

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายละแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า การจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับระบบตั๋วร่วมว่า ขณะนี้กำลังเร่งเจรจาต่อรองราคากับผู้ชนะโครงการ กลุ่มบีเอสวี ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอส ให้ลดจากราคาที่เสนอมาต่ำสุด 339 ล้านบาทอยู่ ซึ่งเป็นการต่อรองตามขั้นตอนประกวดราคาเพื่อให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด คาดจะได้ข้อสรุปในเดือนส.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.)พิจารณาก่อนลงนามในสัญญาติดตั้งระบบเพื่อให้เปิดใช้ทันในปี 58

นอกจากนี้ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ สนข.จะประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อให้ได้ผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ทันที เมื่อการพัฒนาระบบเสร็จ ซึ่งเบื้องต้นอาจให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เป็นผู้ดำเนินการในลักษณะของการตั้งหน่วยธุรกิจมาบริหารจัดการก่อน จากนั้นจึงให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่หากได้ข้อสรุปจะต้องเสนอเรื่องมาให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณาอีกครั้ง

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาจัดตั้งบริษัท จำกัด เข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยรัฐถือหุ้นไม่เกิน 50% ส่วนกระบวนการจัดการตั้งบริษัท คาดจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี หรือเสร็จในปลายปี 58 สอดคล้องกับศูนย์บริหารจัดการรายได้ที่จะแล้วเสร็จในเดือนส.ค.58
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 95, 96, 97 ... 278, 279, 280  Next
Page 96 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©