Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311292
ทั่วไป:13271559
ทั้งหมด:13582851
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 96, 97, 98 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2014 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งปิดจ๊อบหั่นราคาตั๋วร่วม สนข.บี้ "บีทีเอส" สรุปสิงหานี้ ชงตั้ง บ.ร่วมจัดการรัฐถือ 50%
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 19 สิงหาคม 2557 เวลา 13:40:29 น.


สนข.เร่งเจรจาบีทีเอสลดราคาตั๋วร่วม เตรียมขอมติคมนาคม จัดตั้งบริษัทร่วมรัฐกับเอกชน โดยรัฐถือหุ้น 50% ดูแลงานระบบและการตลาดตั๋วร่วม หลัง คสช.เห็นชอบ เดินหน้าดำเนินการภายใน 1 ปี ดีเดย์สิงหาคม 2558

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายละแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า กำลังต่อรองราคากับผู้ชนะโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับระบบตั๋วร่วม คือ กลุ่มบีเอสวี ที่มีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นแกนนำ ให้ปรับลดราคาลงมาอีกจากที่เสนอต่ำสุด 339,689,000 บาท จากราคากลางที่กำหนดไว้ 438 ล้านบาท โดยเป็นการต่อรองตามขั้นตอนประกวดราคาเพื่อให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนสิงหาคมนี้ จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.)พิจารณาก่อนลงนามในสัญญาเพื่อติดตั้งระบบต่อไป

นายพีระพลกล่าวว่าวันที่ 19 สิงหาคมนี้ สนข.จะประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม โดยนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณา เพื่อให้มีผู้เข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ทันทีที่การพัฒนาระบบแล้วเสร็จ เบื้องต้นอาจจะให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการในลักษณะของการตั้งหน่วยธุรกิจมาบริหารจัดการก่อนให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการต่อ ซึ่งหลังได้ข้อสรุปจะขออนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม จะมีการพิจารณาจัดตั้งบริษัทจำกัดเข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยรัฐถือหุ้นไม่เกิน 50% และคาดใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี หรือเสร็จปลายปี 2558 สอดคล้องกับศูนย์บริหารจัดการรายได้ ที่จะแล้วเสร็จในช่วงเดียวกัน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สนข.ได้กำหนดคุณสมบัติของบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คือ ต้องเป็นบริษัทเอกชนที่มีรัฐถือหุ้นด้วย เช่น บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี เป็นต้น เพื่อให้คล่องตัวในการทำงาน เพราะไม่ได้บริหารจัดการแค่ระบบตั๋วร่วม แต่ต้องทำการตลาดกระตุ้นใช้ตั๋วด้วยและต้องเปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปร่วมดำเนินงานด้วย โดยบริษัทที่จะเสนอตัวเข้ามาต้องเป็นไปตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท และจัดตั้งบริษัทลูก มาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโดยตรง โดยระหว่างไม่มีบริษัทเข้ามาบริหาร รฟม.จะตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาดูแลก่อน

//----------------------

สนข.ชงตั้งบริษัทบริหารตั๋วร่วมและรายได้กลาง ประมูลเอกชนร่วมทุน 40%

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2557 22:35 น.


สนข.เตรียมเสนอตั้งหน่วยงานบริหารตั๋วร่วมและรายได้กลาง (CTC) ภายใต้คมนาคมก่อนปรับเป็นบริษัทจำกัด รัฐถือหุ้น 40% ผู้ประกอบการระบบขนส่ง 20% และเปิดประมูลอีก 40% คาดทุนจดทะเบียน 700-800 ล้าน ส่วนระบบตั๋วร่วมเจรจากลุ่ม BTS สรุปแล้ว คาดเริ่มงานติดตั้งระบบ 1 ต.ค. 57

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.จะเสนอรูปแบบรายละเอียดการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมและศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CTC) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในวันที่ 19 สิงหาคม ซึ่งคณะทำงานฯ ได้สรุปรูปแบบจัดตั้งแล้วว่าจะเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงคมนาคมและปรับเป็นบริษัทจำกัดต่อไป โดยร่วมทุนกับเอกชนดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) คาดว่าจะมีทุนจดทะเบียนประมาณ 700-800 ล้านบาท โดยภาครัฐถือหุ้น 40% (ใช้ระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House หรือ CCH เป็นทุนส่วนนี้) เอกชน 40% (เปิดประกวดราคา) และผู้ประกอบการที่ให้บริการระบบขนส่งมวลชน เช่น BTS, BMCL เป็นต้น 20% โดยคาดว่าขั้นตอนจัดตั้งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

ทั้งนี้ ในการกำหนดเงื่อนไขคัดเลือก (TOR) เอกชนในสัดส่วน 40% นั้นจะกำหนดยื่นเอกสาร 3 ซอง คือ ด้านคุณสมบัติ ด้านเทคนิค และด้านราคา ซึ่งราคาจะแข่งขันที่ข้อเสนอค่าดำเนินงานเชื่อมระบบ (Transaction) ซึ่งระบบขนส่งโดยทั่วไป ค่า Transaction จะไม่เกิน 1% ส่วนร้านค้าที่ร่วมในบัตรระบบตั๋วร่วมนั้นค่า Transaction จะไม่เกิน 1.5% และใน TOR จะกำหนดด้วยว่า หากจำนวน Transaction เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งจะต้องลดค่า Transaction ลงด้วย

“รูปแบบของ CTC นั้นได้ผ่านการพิจารณามาหลายรอบและสรุปไว้แล้ว แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร จึงเสนอให้ปลัดคมนาคมคนใหม่รับทราบก่อนเดินหน้าจัดตั้ง ซึ่งตามแผนจะดำเนินการจัดตั้ง CTC คู่ขนานไปกับการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วม (Central Clearing House หรือ CCH) เพื่อให้ CTC ได้ทันที” นายเผด็จกล่าว

สำหรับความคืบหน้าโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วมนั้น เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม คณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้สรุปผลการเจรจาต่อรองรับกลุ่มบีเอสวี (BSV) ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพร่วม จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กับกลุ่มบริษัท สมาร์ท แทรฟิค จำกัด และบริษัท วิกซ์ โมบิลิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 339 ล้านบาทแล้ว โดยเอกชนยอมปรับลดราคาลงอีกเล็กน้อย และในขณะเดียวกันได้ขอให้เอกชนเพิ่มอุปกรณ์บางตัวให้ โดยจะนำผลเสนอกระทรวงคมนาคมและเพื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมทั้งส่งร่างสัญญาไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดแบบคู่ขนาน เพื่อเร่งลงนามในสัญญาจ้างและเริ่มงานได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2557

อย่างไรก็ตาม ข้อดีที่กลุ่ม BSV ซึ่งมี BTS ร่วมอยู่ด้วยจะทำให้การเชื่อมระบบรวดเร็วขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ BTS ได้ทำการพัฒนาระบบตั๋วร่วมกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้นจะเหลือการเชื่อมระบบกับทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งคงใช้เวลาไม่นาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2014 3:00 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2557 14:21น.

บอร์ด รฟม.อุ้ม BMCL เดินรถสีน้ำเงินต่อขยาย สั่งทำ TOR ประมูลต้องเดินรถต่อเชื่อมได้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2557 17:36 น.




บอร์ด รฟม.ยันเจรจา BMCL เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายดีกว่าประมูล บีบ กก.มาตรา 13 หากเลือกประมูลต้องกำหนด TOR ให้เดินรถเชื่อมต่อได้ อ้างเพื่อผู้โดยสารสะดวก จับตา กก.มาตรา13 ประชุมรับรองอาจพลิกกลับมติให้เจรจา นอกจากนี้บอร์ดได้สั่งเดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) โดยใช้ TOR เดิม ยันพิจารณารอบคอบแล้ว ให้ 31 รายยื่นซองประมูล 19 ก.ย.นี้ และมีมติให้ รฟม.เดินรถสีเขียวใต้ (สำโรง-สมุทรปราการ) เอง มีเวลา 2 ปีเตรียมบุคลากร





พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมวันนี้ (19 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้หารือการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กม. ซึ่งคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ได้มีมติเบื้องต้นให้เปิดประกวดเพื่อความโปร่งใสและแข่งขันเสรีนั้น บอร์ด รฟม.กก.มาตรา 13 ควรคำนึงถึงเรื่องความสะดวกของผู้โดยสารด้วย ดังนั้นหากจะเปิดประมูลจะต้องกำหนดเงื่อนไขTOR ว่าจะมีการเดินรถต่อเชื่อมเป็นวงกลมกับสายสีน้ำเงินเฉลิมรัชมงคลที่เปิดให้บริการแล้ว ซึ่งในส่วนของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL นั้นพร้อมให้ความร่วมมือกับผู้ที่เดินรถรายใหม่

“การประมูลเป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 13 แต่บอร์ด รฟม.เห็นว่าวิธีการเดินรถควรจะต่อเนื่องเพราะสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ระบบใต้ดินที่ทาง BMCLเดินรถอยู่แล้วจึงเห็นว่าถ้าสีน้ำเงินต่อขยาย BMCL เป็นผู้เดินรถก็จะเชื่อมต่อสะดวกมากขึ้น ถ้าเชื่อมต่อไม่ได้ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนรถที่ท่าพระและเตาปูนจะไม่สะดวก ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดประมูลหรือเจรจาตรงกับ BMCL ก็ต้องให้เดินรถเชื่อมต่อกัน บอร์ดเสนอแนวทาง ซึ่ง กก.มาตรา 13 ต้องมีการประชุมรับรองมติเรื่องประมูลอีกครั้ง หากเห็นว่าควรเจรจาก็ต้องนำเรื่องเสนอไปที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติเปลี่ยนจากประมูลแบบ PPP เป็นเจรจาตรง BMCL แต่เชื่อว่าวิธีการเจรจาจะเร็วกว่าการเปิดประมูลใหม่แน่นอนแม้ต้องขออนุมัติ ครม.ใหม่ ซึ่งขณะนี้งานเดินรถล่าช้าแล้วในขณะที่การก่อสร้างงานโยธาคืบหน้า 60% แล้วถ้ารางเสร็จไม่มีรถวิ่งประชาชนจะยิ่งเดือดร้อน” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว

ด้านนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า ที่ต้องการให้เดินรถต่อเชื่อมกันนั้นเพราะสถานีเชื่อมต่อที่เตาปูนมี 3 สายมาเจอกันอยู่คนละชั้น ผู้โดยสารต้องเสียเวลาลงจากสายหนึ่งไปต่อสายหนึ่ง ถ้าตารางเวลาเดินรถไม่ตรงกันก็จะยิ่งเสียเวลาในการรอขบวนใหม่มากขึ้น และเห็นว่าการเจรจากับ BMCL รับจ้างเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หรือ PPP Gross cost ซึ่งเป็นสัญญาคนละรูปแบบกับสัมปทานเดินรถสีน้ำเงินสายเฉลิมรัชมงคล (PPP-Net Cost ไม่ใช่ปัญหา รวมถึงการเจรจากับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ผู้รับเหมาสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสัญญา 4 งานก่อสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับจากช่วงท่าพระ-หลักสอง ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร รวมศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณถนนเพชรเกษม 47 กับถนนเพชรเกษม 80 วงเงิน 13,330 ล้านบาท เพื่อให้ปรับลดเนื้องานศูนย์ซ่อมบำรุงลง ในส่วนของการจัดซื้ออุปกรณ์ซึ่งมีวงเงินส่วนนี้ประมาณ 1,700 ล้านบาทท ซึ่งเชื่อว่า ซิโน-ไทยฯ จะไม่มีปัญหาในการปรับแก้สัญญาเพราะทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาถึงการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 29,225 ล้านบาท ซึ่งบอร์ดได้พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมแล้วเห็นว่าไม่ควรมีการปรับแก้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติ และการให้คะแนนการประกวดราคา (TOR) แต่อย่างใด เพราะ TOR เดิมที่ทำได้ตั้งเกณฑ์ไว้สูงเพื่อความมั่นใจว่าบริษัทที่เข้ามาจะไม่ทิ้งงาน ซึ่งหลังจากนี้จะให้ยื่นเอกสารประมูลได้ประมาณวันที่ 19 กันยายนนี้ และเริ่มเดินหน้าก่อสร้างได้ เดิมขายซองประมูลมีเอกชนมาซื้อถึง 31 ราย แต่มี 1 รายขอให้ปรับแก้ TOR ถ้าปรับให้แล้วอีก 30 รายร้องเรียนจะมีปัญหาอีก

“บอร์ดเห็นว่าเกณฑ์ที่ รฟม.กำหนดไว้มีความเหมาะสมแล้ว เพราะโครงการมีมูลค่าสูงเป็นหมื่นล้าน ผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอก็ต้องระดับ 5,000 ล้านบาท จะให้ผ่านงานแค่ 500 หรือ 1,000 ล้านบาทมารับงาน ก็อาจกลายเป็นความเสี่ยงว่าเขาจะทำงานไม่ได้ เราต้องตั้งเกณฑ์ให้สูงไว้ก่อน เพื่อให้ได้บริษัทที่มีมาตรฐาน และยืนยันว่าเราไม่ได้ล็อกสเปกให้รายใหญ่ เพราะรายเล็กกว่าจะมาก็ได้ โดยรวมตัวกันเป็นจอยต์เวนเจอร์เพื่อให้มีเงินทุนมั่นคงขึ้น ไม่มีการปิดกั้นใดๆ” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
ส่วนสายสีเขียวใต้ (สำโรง-สมุทรปราการ) บอร์ดเห็นชอบให้รฟม.เดินรถเอง ในรูปแบบ PSC (รัฐลงทุนจะซื้อระบบและตัวรถไฟฟ้าเอง) วงเงินประมาณ 9,000 ล้านบาท (รถไฟฟ้า 13 ขบวนๆละ 3 ตู้ รวมทั้งสิ้น 39 ตู้) โดยให้รฟม.เร่งเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรองรับในการเดินรถเอง ซึ่งยังมีเวลาประมาณ 2 ปี ทั้งนี้การเดินรถเองจะส่งผลดีต่อรฟม.และรองรับการเดินรถไฟฟ้าในอนาคตที่สัญญาสัมปทานหรือสัญญาจ้างเอกชนครบอายุ รฟม.จะต้องรับผิดชอบการเดินรถเอง โดยหลังจากนี้จะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมและครม.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2014 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมพัฒนาศูนย์ซ่อม สร้างรถไฟฟ้าได้
Voice TV
21 สิงหาคม 2557 เวลา 11:46 น.

รฟม. เตรียมพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงให้เป็น สถานที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อลดการนำเข้าหัวรถจักรและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. กล่าวว่า รฟม. มีแนวคิดพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุง ให้สามารถสร้างขบวนรถไฟฟ้าใหม่ได้ เนื่องจากศูนย์ซ่อมบำรุงปัจจุบันที่มี อยู่ 8 แห่ง มีวาระการซ่อมบำรุงรถจักร 5 ปี ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร

ดังนั้น รฟม. น่าจะใช้ประโยชน์จากศูนย์ซ่อมได้มากกว่านี้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาเตรียมการ 2-3 ปี และจะดำเนินการนำร่องในศูนย์ซ่อมบำรุง 2-3 แห่ง เพื่อลดการนำเข้ารถไฟฟ้า , ชิ้นส่วนรถจักรจากต่างประเทศได้ร้อยละ 20-25 และยังช่วยเพิ่มศักยภาพการหารายได้ให้กับ รฟม.ได้อีกทางหนึ่ง

รูปแบบการพัฒนาศูนย์ซ่อมรถจักร ดำเนินการแล้วในต่างประเทศ ทั้งสหรัฐ ตุรกี และมาเลเซีย โดยใช้ทีมงานเดียวกันทั้งซ่อมบำรุงและสร้างรถจักรใหม่ โดยผู้เดินรถรถในสหรัฐและไต้หวัน มีระเบียบบังคับให้ใช้ชิ้นส่วนรถจักรในประเทศไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 25-40

//--------------------------------



รฟม.ฝันประกอบรถไฟฟ้าเองนำร่องใช้เดินรถสายสีเขียวใต้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2557 19:05 น.

รฟม.ดันตั้งโรงงานประกอบและผลิตรถไฟฟ้าเอง ฝันนำร่องใช้ที่สายสีเขียวใต้ “ยงสิทธิ์”เผยเร่งเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าให้ครบ 220 กม. วงเงินลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท หวังพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) สร้างที่อยู่รวมศูนย์ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้รถไฟฟ้า เชื่อทำได้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและลงทุนสร้างเส้นทางเพิ่มได้โดยไม่ต้องกู้

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบ 22 ปีในวันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ถึงปัจจุบัน รฟม. ได้ดำเนินการให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงินด้านตะวันออก และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 3 สายทางประกอบด้วย สายสีม่วง(บางใหญ่-บางซื่อ) คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2559 สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ)และสายสีเขียวใต้ ต่อจากสถานี BTS แบริ่ง-สมุทรปราการ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2561 ทำให้รถไฟฟ้ามีระยะทางรวมประมาณ 83 กิโลเมตร และในปี 2557 รฟม. อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการประมูลเส้นทางสำคัญประกอบด้วยโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร

ส่วนเส้นทางที่มีการออกแบบและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ EIA แล้วพร้อมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติภายในปี 2557 ประกอบด้วย สายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) รวมระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร โดยหากเป็นไปตามแผนจะสามารถประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ภายในปี 2558 และจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2562-2563 และขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการออกแบบสายสีส้มด้านตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน) และสายสีม่วงด้านใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) หากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ รฟม. จะสามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ 220 กิโลเมตร ภายใต้งบลงทุนกว่า 700,000 ล้านบาท

โดยต่อจากนี้จะเป็นช่วงยุคที่ 2 ของรฟม. ซึ่ง รฟม. มีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการเดินรถไฟฟ้าให้บริการผู้โดยสารเองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแบบครบวงจรและเพิ่มรายได้ จากเดิมที่ให้สัมปทานบริษัทรถไฟฟ้า กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เป็นผู้ให้บริการเดินรถ เพราะรฟม.ยังไม่มีความพร้อม ซึ่งในสายสีเขียวใต้ และสีเขียวเนือ รฟม.จะจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าเอง ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมแผนที่จะเริ่มทำการผลิตรถเองโดยเริ่มจากการซ่อมและประกอบเองก่อน ซึ่งรฟม. นั้นมีศูนย์ซ่อมบำรุงถึง 8 แห่ง สามารถใช้พื้นที่เป็นโรงงานประกอบรถไฟฟ้าได้ เป็นการใช้ประโยชน์ในศูนย์ซ่อมที่คุ้มค่าที่สุด โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายใน 2-3 ปีนี้

“จากนี้รฟม.จะเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคที่ 2 ซึ่งจะให้บริการรถไฟฟ้าครบวงจรมากขึ้น เป้าหมายเพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบ โดยเน้นเรื่องการผลิตรถไฟฟ้าเองและพัฒนาพื้นที่และอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณสถานีต่างๆ (TOD) เพื่อให้คนมาอยู่รอบๆ สถานี ลดการใช้รถยนต์ซึ่งจะทำให้มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากหลักแสนคนต่อวันเป็นล้านต่อวันและทำให้รฟม.มีรายได้เพิ่มสามารถเลี้ยงตัวเองได้และในอนาคตจะสามารถนำรายได้มาลงทุนก่อสร้างเส้นทางใหม่ๆ โดยไม่ต้องกู้เงินพื่อให้เป็นภาระหนี้สาธารณะอีกด้วย”นายยงสิทธิ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2014 2:54 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยันพัฒนาศูนย์ซ่อมห้วยขวางได้ไม่ผิดกม. ผุดคอมเพล็กซ์-ศูนย์ประชุมเพิ่มผู้โดยสารรถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2557 20:46 น.

ผู้ว่าฯรฟม.เตรียมชงบอร์ด เห็นชอบแผนพัฒนาที่ดินศูนย์ซ่อมห้วยขวาง 1,000 ไร่ ยันไม่ขัดกฎหมายเวนคืน หลังกฤษฏีกาตีความทำได้หากใช้ประโยชน์สมประโยชน์แล้ว เตรียมผุดคอมเพล็กซ์เหนือศูนย์ซ่อมสีส้ม เนรมิตเป็นศูนย์ประชุมกลางเมือง ช้อปปิ้งโรงแรม และนิคมแนวดิ่ง ฟุังสร้างรายได้แสนล้าน ใช้หนี้ค่าก่อสร้างได้

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนพัฒนาที่ดินย่านพระราม 9 (ห้วยขวาง) จำนวน 1,000 ไร่ ว่า ล่าสุดกฤษฎีกาได้ตีความข้อกฎหมายว่า หากพื้นที่เวนคืนเพื่อระบบขนส่งมวลชนใช้สมประโยชน์แล้ว สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ ซึ่งตามแผนรฟม.ได้ใช้พื้นที่ประมาณ500 ไร่ ในการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เฉลิมรัชมงคล และสำนักงานใหญ่ของรฟม.ไปแล้ว และในอนาคตจะก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีอีก 1 แห่งบนที่ดินส่วนที่เหลือประมาณ 500ไร่ ซึ่งถือว่าได้ใช้ที่ดินสมประโยชน์แล้ว ดังนั้นการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่สามารถทำได้โดยตามแผนใช้พื้นที่ด้านบนเหนือศูนย์ซ่อมบำรุงของสายสีส้มมาพัฒนา

ทั้งนี้ รฟม.ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาทบทวนแผนการพัฒนาที่ดินศูนย์ซ่อมห้วยขวางเพื่อให้สอดล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 57 และจะสรุปผลการศึกษาเบื้องต้นในเดือนกันยายนนี้ โดยหลังจากนั้นจะนำเสนอแผนดังกล่าวต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการเป็นประธานพิจารณาและขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป ในขณะเดียวกัน รฟม.จะเร่งตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ

สำหรับที่ดินบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวาง ถนนพระราม 9 จำนวน 1,000 ไร่ มูลค่าประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม.เคยประเมินว่าจะสร้างรายได้ได้มากกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีแนวคิดจัดสรรพื้นที่เหนือศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งจะก่อสร้างฐานรากไว้เผื่อการพัฒนาด้านบน เปิดให้ให้เอกชนมาร่วมพัฒนาได้แก่ 1. ศูนย์ประชุมระดับชาติ 2. โรงแรม 3. สำนักงานให้เช่า 4.ศูนย์การค้า 5. ศูนย์แสดงสินค้า หรือ นิคมไฮเทคในแนวดิ่ง เป็นต้น

"กฎหมายไม่ได้เขียนว่าห้ามพัฒนา ดังนั้นอยู่ที่การตีความซึ่งล่าสุดกฤษฎีกายืนยันแล้วและต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่ง รฟม.เห็นว่า เมื่อนำมาก่อสร้างในส่วนที่รองรับกับการให้บริการรถไฟฟ้าแล้ว ส่วนที่หลือสามารถนำมาพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ให้รฟม.ได้ซึ่งสอดคล้องกับรัฐบาลที่มีนโยบายสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้มีมติให้ให้รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ทำแผนการพัฒนาพื้นที่"นายยงสิทธิ์กล่าว

นายยงสิทธิ์ กล่าวว่า. รฟม.มีแผนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) ซึ่งต้องยอมรับว่าการพัฒนาในส่วนที่ต้องร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ อาจจะมีปัญหาล่าช้า ในขณะที่การพัฒนาศูนย์ซ่อมห้วยขวางนั้น รฟม.จะดำเนินการเอง ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556 เพื่อวามรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยืนยันว่า การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรถไฟฟ้าแน่นอน เนื่องจากจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารจากกิจกรรมในพื้นที่เข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้ ทำให้มีรายได้จากค่าโดยสารและกิจกรรมภายในสถานีเพิ่มขึ้น ในขณะที่จะมีรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ TOD อีกจำนวนมากสามารถนำมาใช้หนี้หลายแสนล้านบาทได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2014 9:31 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.ยันพัฒนาศูนย์ซ่อมห้วยขวางได้ไม่ผิดกม. ผุดคอมเพล็กซ์-ศูนย์ประชุมเพิ่มผู้โดยสารรถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2557 20:46 น.


งานนี้ สยามธุรกิจ คงกัด รฟม. ไม่ปล่อยแน่ๆ เพราะ ตั้งข้อรังเกียจ การพัฒนาที่ดินบนย่านโรงรถไฟฟ้าห้วยขวางแบบหัวชนฝาอย่างไม่ต้องสงสัย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2014 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เล็งพัฒนาอสังหาฯพื้นที่ศูนย์ซ่อม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 25 สิงหาคม 2557 11:21

รฟม.จ้างออกแบบโครงสร้างรากฐานศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สีส้ม หวังเอกชนประมูลพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แนวดิ่ง

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.มีนโยบายให้ รฟม. พัฒนากิจการเชิงพาณิชย์หรืออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าของ รฟม. หรือสถานีขนส่งรถไฟฟ้า (Transit Oriented Development : TOD) เพื่อเพิ่มรายได้จากอสังหาริมทรัพย์และจำนวนผู้โดยสารให้มากขึ้น ลดการพึ่งพางบประมาณในการก่อหนี้ แล้วนำกำไรไปลงทุนโครงการรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าใช้งบประมาณและก่อให้เกิดหนี้สาธารณะจำนวนมาก กลายเป็นภาระหนี้สินที่สำนักงบประมาณ ต้องจัดงบประมาณมาอุดหนุนและ รฟม. ก็มีหนี้สินเป็นแสนล้านบาท แต่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีรายได้จากค่าโดยสารเพียง 1 หมื่นล้านบาท เหลือหนี้สินอีก 9 หมื่นล้านบาท รฟม. จึงควรสร้างรายได้ด้านอื่นนอกจากค่าโดยสารด้วย

ปัจจุบันจึงอยู่ระหว่างจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่บนศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เฉลิมราชมงคลและสายสีส้ม ซึ่งตั้งในบริเวณสำนักงานใหญ่ รฟม. ที่ห้วยขวาง ให้รองรับการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแนวดิ่ง โดยสร้างเผื่อรากฐานที่จะต่อยอดขึ้นไป จากศูนย์ซ่อมฯ คาดว่าจะเปิดพื้นที่ดังกล่าวให้เอกชนเข้ามาประมูลและพัฒนาเป็นกิจการเชิงพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงแรม ศูนย์ประชุม สำนักงาน ร้านค้า นอกจากนี้ ได้หารือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อให้สามารถประกอบอุตสาหกรรมเบา เช่น จิวเวอรี่ เป็นต้น

ทั้งนี้ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมาศึกษารายละเอียดเรื่องดังกล่าว คาดว่าผลการศึกษาเบื้องต้นจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. นี้ และจะรายงานให้บอร์ดรับทราบ ซึ่งครั้งนี้เป็นการต่อยอดผลการศึกษาจากปี 2544 และปี 2553 ที่จ้างเอกชนศึกษาแนวทางพัฒนากิจการเชิงพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รฟม. มีข้อตกลงในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กับการเคหะแห่งชาติ แต่ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก ประกอบกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้าเกิดขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพียง 3 แสนคน/วัน น้อยกว่าที่คาดการณ์ถึง 5 แสนคน/วัน โดยสถานีที่มีผู้โดยสารน้อยที่สุดคือสถานีคลองเตยจำนวน 3,000คน/วัน ส่วนสถานีที่มีผู้โดยสารมากที่สุดเป็นแสนคนต่อวัน เช่น สถานีสุขุมวิท ศูนย์สิริกิติ์ สีลม พระราม9 เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน

รฟม. จึงต้องผลักดันให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตด้วยตัวเอง ด้วยการด้วยการออกแบบฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ เผื่อการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทำได้เร็วกว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าและจึงถือเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ รฟม. จะทำเอง

นอกจากนี้ บอร์ด รฟม. ยังเห็นว่า ควรขยายการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าไปยังจังหวัดต่างจังหวัดที่มีการจราจรหนาแน่นด้วย เช่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา เป็นต้น ซึ่งรฟม.อยู่ระหว่างศึกษาแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว และคาดว่าในอนาคตจะมีรูปแบบการลงทุนที่เกิดได้เร็วและมีกำไร จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางสถานีรถไฟฟ้าด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/08/2014 11:59 am    Post subject: Reply with quote

การเคหะฯ จับมือ รฟม.ผุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าสีเขียว-ม่วง
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 29 ส.ค. 2557 10:54

การเคหะฯ จับมือ รฟม.ผลักดันโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว-สีม่วง มอบหมาย ม.ธรรมศาสตร์ศึกษา ก่อนชง ครม.ไฟเขียว และเดินหน้าทันที...

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. นายกฤษดา รักษากุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณสถานีบางปิ้ง (สายสีเขียว จ.สมุทรปราการ) และสถานีคลองบางไผ่ (สายสีม่วง จ.นนทบุรี) ว่า การเคหะแห่งชาติได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณทั้งสองสถานี ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการออกแบบ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการตลาด การเงิน 
การลงทุน และการบริหารจัดการ ซึ่งคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบตามกรอบแนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ เรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานรายละเอียดของโครงการฯ เพิ่มเติม กับ รฟม. เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป หากได้รับความเห็นชอบแล้วโครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ด้าน นายรณชิต แย้มสะอาด รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมผลักดันให้โครงการดังกล่าวสำเร็จได้ในไม่ช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการสายสีม่วงที่จะเปิดเดินรถไฟฟ้าในช่วงปลายปี 2559 ซึ่งกำลังประสานงานว่า รฟม.จะต้องเตรียมผลักดันเรื่องใดบ้าง ขณะนี้กำลังดำเนินการขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายการเวนคืนที่ดิน และ พ.ร.บ.จัดตั้ง รฟม. เพื่อให้มีอำนาจเต็มในทางกฎหมายอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและการพัฒนาโครงการของ รฟม.และการเคหะแห่งชาติในอนาคตต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2014 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 7 สายเข้าคิวรอครม.อนุมัติ
NOW26 3 ก.ย. 57

โอกาสเป็นไปได้ที่ปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2% นั้นหมายถึงครึ่งปีหลังต้องทำให้เศรษฐกิจโตถึง 3-4% และปีหน้ามีเป้าหมายให้โตถึง 4%

นั้นหมายถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีแรงกดดันต้องเร่งหามาตรการมากระตุ้นเศรษฐกิจ แน่นอนว่าวิธีการที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบได้เร็วที่สุดคือการลงทุนจากภาครัฐ และเรื่องนี้รัฐบาลได้เตรียมไว้แล้ว ต่อเนื่องจากการบริหารงานช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของคสช. คือการผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แม้จะไม่ทันปีนี้ แต่อย่างน้อยปีหน้าจะเห็นเม็ดเงินเข้าสู้ระบบเศรษฐกิจจากการเริ่มก่อสร้างได้บ้าง

เมื่อมีรัฐบาลใหม่โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าในกทม.ที่เชื่อมต่อกับชานเมือง โดยกระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมเสนอให้ครม.อนุมัติ และเมือครม.อนุมัติแล้วจะสามารถเปิดประมูลได้ทันที รวม 7 เส้นทาง มูลค่าประมาณ 362,000 ล้านบาท ดังนี้
1.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
3.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี
4.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
5.สายสีแดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์
6.ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เชื่อมสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง
7.สายสีแดง Missing Link ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก

โดยโครงการเร่งด่วนที่เตรียมเสนอทันทีเมื่อมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าปฎิบัติหน้าที่ 4 สาย คือ 3 สาย ภายใต้การบริหารจัดการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. ดังนี้
รถไฟฟ้าสาย สีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม- มีนบุรี 1.1 แสนล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 5.8 หมื่นล้านบาท
รถไฟฟ้าสายเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 5.6 หมื่นล้านบาท

ส่วนอีก 1 เส้นทาง คือสายสีแดง Missing Link ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก บริหารจัดการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือร.ฟ.ท. 2.8 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2014 3:44 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.กับแนวทางจัดการพื้นที่รอบระบบขนส่ง
มติชน
วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 12:53:27 น.

การโดยสารด้วยระบบรางแบบต่างๆได้รับการยอมรับว่าเป็นการโดยสารสาธารณะที่มีประสิทธิภาพช่วยแก้ปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการคมนาคมได้เป็นอย่างดีถ้ามีการพัฒนาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การสร้างรถไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆมีส่วนทำให้เกิดปัญหาหลายรูปแบบรวมถึงปัญหาการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่หรือพื้นที่ที่ใกล้เคียงสถานีรถไฟฟ้า

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือรฟม. ให้สัมภาษณ์ระหว่างการร่วมประชุมการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนว่า รฟม.มีภาวะหนี้และขาดทุนสะสมแต่ขณะเดียวกันรถไฟฟ้าสามารถแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพอย่างเต็มกำลัง ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญสูง

ที่ผ่านมาพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยให้อำนาจในหารายได้ต่ำ จึงน่าจะต้องปรับอำนาจเดิมเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดใหม่ของการบริหารพื้นที่รอบสถานีซึ่งกิจการรถไฟฟ้าต้องแก้ปัญหาการจราจรและตอบโจทย์ภารกิจของหน่วยงานโดยลงทุนอย่างมีกำไร ไม่เป็นภาระของรัฐ และที่สำคัญคือแนวทางการวางผังซึ่งที่ผ่านมาในต่างประเทศเมื่อมีสถานีเกิดขึ้นก็จะมีการพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆใกล้กับรถไฟฟ้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิถีชีวิตรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงธุรกิจ

แต่ในอีกด้าน นายยงสิทธิ์ ยอมรับว่า การพัฒนาพื้นที่ต้องมีการเวนคืนที่ซึ่งย่อมทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่บางกลุ่มได้ประโยชน์ ขณะที่บางกลุ่มเสียประโยชน์จนกลายเป็นปัญหาน่าปวดหัวหรือออกมาเป็นภาพของความขัดแย้ง ทำให้ต้องมีการเยียวยา สำหรับแนวทางการเยียวยาที่น่าสนใจเพื่อแก้ปัญหานี้มีทั้งการแลกที่แบบที่ฮ่องกงทำ

โดยรถไฟฟ้าจะขอแลกพื้นที่ของผู้อยู่อาศัยเพื่อก่อสร้างสถานีจากนั้นจะเสนอพื้นที่การค้าหรือพื้นที่ลักษณะอื่นๆซึ่งจะสร้างในพื้นที่ในภายหลังให้ นายยงสิทธิ์ เปิดเผยว่า แนวทางนี้ประสบความสำเร็จในฮ่องกง เชื่อว่าสำหรับประเทศไทยน่าจะนำมาใช้พิจารณาประกอบในอนาคตได้เช่นเดียวกับการบริหารพื้นที่ร่วมกับการเคหะและเอกชนซึ่งรฟม. มีแผนจัดตั้งบริษัทลูกอีก 5 บริษัทเพื่อทำหน้าที่เฉพาะตัวอย่างเช่นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลการศึกษาเบื้องต้น เชื่อว่า ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม ในอนาคตข้างหน้ารถไฟฟ้าน่าจะอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2014 12:05 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน-รถไฟฟ้าสีชมพูเสนอ “ประจิน” อนุมัติ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2557 07:02 น.


“ปลัดคมนาคม” สั่ง สนข.เตรียมข้อมูลแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งแผนเร่งด่วนปี 57-58 และแผน 8 ปีเสนอ “ประจิน” พร้อมชงอนุมัติรถไฟฟ้าสีชมพู และงานปรับแบบสถานีกลางบางซื่อก่อนเสนอ ครม.เห็นชอบเดินหน้า ยันรถไฟทางคู่ 2 สายเปิดประมูลได้ในปีนี้ เผยเจ้าหน้าที่เตรียมห้องทำงานรับ รมว.คมนาคมคนใหม่ คาด “ประจิน” เข้ากระทรวงเป็นทางการ 4 ก.ย.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดโครงการต่างๆ ที่สำคัญเพื่อเตรียมเสนอ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในแผนดำเนินงานเร่งด่วนปี 2557-2558 และแผนการจัดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติในหลักการแล้ว รวมทั้งแผนฟื้นฟูกิจการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ขาดทุน 3 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการก่อสร้างและจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้นได้เตรียมเสนอให้ พล.อ.อ.ประจินพิจารณาลงนาม ประกอบด้วย

1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 58,642 ล้านบาท
2. การปรับแบบสถานีกลางบางซื่อของรถไฟสายสีแดงมูลค่า 8,140 ล้านบาท
3. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร วงเงิน 55,986 ล้านบาท และ
4. สายสีส้ม เฟสแรก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี วงเงินประมาณ 90,000 ล้านบาท

“จะต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน โดยต้องระบุรายละเอียดวงเงินลงทุน แหล่งเงินทุน เช่น จะใช้เงินกู้สัดส่วนเท่าไร ซึ่งตอนนี้มี 2 โครงการที่พร้อมเสนอ ครม.แล้ว เหลือเพียงให้ รมว.คมนาคมอนุมัติเท่านั้น คือ สายสีชมพู กับการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ” นางสร้อยทิพย์กล่าว

สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางของ ร.ฟ.ท.นั้น นางสร้อยทิพย์กล่าวยืนยันว่า ภายในปลายปีนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาได้ 2 เส้นทางแน่นอน คือ

1. สายชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาท และ
2. สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท โดยขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างรวบรวมรายละเอียดเรื่องสิ่งแวดล่อม (EIA) หลังจากได้รับการอนุมัติมาแล้ว ส่วนเส้นทางที่ 2 กำลังรอเข้าที่ประชุม EIA รอบสุดท้ายซึ่งมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่นอน

ส่วนอีก 3 สายทางที่เหลือจะสามารถดำเนินการได้ประมาณต้นปี 2558 ประกอบด้วย

สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบาท
สายมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท และ
สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 96, 97, 98 ... 278, 279, 280  Next
Page 97 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©