Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262938
ทั้งหมด:13574218
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2014 7:32 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมเตรียมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน-รถไฟฟ้าสีชมพูเสนอ “ประจิน” อนุมัติ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2557 07:02 น.
...
...
สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางของ ร.ฟ.ท.นั้น นางสร้อยทิพย์กล่าวยืนยันว่า ภายในปลายปีนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาได้ 2 เส้นทางแน่นอน คือ

1. สายชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาท และ
2. สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท โดยขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างรวบรวมรายละเอียดเรื่องสิ่งแวดล่อม (EIA) หลังจากได้รับการอนุมัติมาแล้ว ส่วนเส้นทางที่ 2 กำลังรอเข้าที่ประชุม EIA รอบสุดท้ายซึ่งมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่นอน

ส่วนอีก 3 สายทางที่เหลือจะสามารถดำเนินการได้ประมาณต้นปี 2558 ประกอบด้วย

สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบาท
สายมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท และ
สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท

โครงการรถไฟทางคู่ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ที่เพิ่มเข้ามาในระยะเร่งด่วนก่อนหน้านี้
หายไปอีกแล้วครับ Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2014 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

อนาคตรถไฟฟ้าไทย...ยุคคสช.ไปทางไหน?

Future is ours ประจำวันที่ 5 กันยายน 2557
Voice TV
5 กันยายน 2557 เวลา 17:07 น.
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วง Future is ours. เรานำเสนอความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสำคัญที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในปัจจุบัน แต่ว่าโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ของคสช. มีความคืบหน้าอย่างไร และยังมีโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล ของกทม.อีกด้วย ทั้งหมดนี้กำลังจะเป็นความจริง หรือ ยังคงเป็นอนาคตในยุค คสช.

สิ่งที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ให้ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ประการหนึ่ง ก็คือ การลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทำให้คสช.มีการอนุมัติยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558 - 2565 ระยะเวลา 8 ปี ซึ่งรวมทั้งโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ทั้งนี้ตามแผนยุทธศาสตร์ของคสช. ได้เตรียมดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมด 10 เส้นทาง ระยะทาง 464 กิโลเมตร

โดยปัจจุบันมีโครงการรถไฟฟ้าดำเนินการแล้ว ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ รถไฟฟ้า MRT รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รวมระยะทาง 100 กิโลเมตร

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดเปิดบริการในปี 2559 -2560 ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ-บางแค รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และรถไฟฟ้าชายเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างประกวดราคา คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือ ช่วงลาดพร้าว - สำโรง รวมทั้ง การปรับแบบสถานีกลางบางซื่อของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

นอกจากนี้ ตามแผนยุทธศาสตร์ของคสช. ยังเตรียมโครงการระยะต่อไปที่จะเปิดบริการในปี 2562 รวมอีก 116 กิโลเมตร โดยมีหลายโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และบางโครงการ พร้อมประกวดราคาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่คือส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าเพิ่มเติม และจะทำให้ในปี 2562 กรุงเทพฯมีรถไฟฟ้ารวม 410 กิโลเมตร

และหลังปี 2562 ยังมีการขยายโครงการรถไฟฟ้า อีก 5 โครงการ เพื่อขยายไปยังปริมณฑลทั้งทางเหนือ และทางใต้ และหากเป็นไปตามแผนทั้งหมด กรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีรถไฟฟ้ารวมกัน 464 กิโลเมตร

ปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หลังจากนี้ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จะเสนอให้เร่งดำเนินโครงการรถไฟฟ้าตามแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งการประกวดราคาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ไปจนถึงการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าของไทยในอนาคต

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร หรือ กทม.มีโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล ที่เตรียมดำเนินการ ส่วนใหญ่เป็นระบบขนส่งภายในกทม. โดยเฉพาะ รถไฟฟ้าสายสีเทา และ รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ซึ่งบริษัท กรุงเทพธนาคม เตรียมนำเสนอให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร พิจารณาดำเนินโครงการในอนาคตต่อไป

โครงการรถไฟฟ้า ถือเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางแล้ว ยังช่วยสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ประหยัดเวลา และลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ การทำให้โครงการเหล่านี้ไม่ใช่เป็นโครงการในอนาคต หรือ บนแผ่นกระดาษ แต่คือโครงการที่มีการลงทุนและก่อสร้างจริง มีการเปิดใช้งาน รวมทั้งมีความคุ้มค่าการลงทุน พร้อม ความโปร่งใส และ ตรวจสอบได้ อนาคตของโครงการรถไฟฟ้า จะได้ไม่เป็นอนาคต แต่คือความจริงที่สัมผัสได้นั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2014 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เล็งพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์
โดยกอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 02 กันยายน 2014 เวลา 13:26 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,980 วันที่ 4 - 6 กันยายน พ.ศ. 2557

รฟม.เตรียมเสนอแก้ผังเมืองใหม่เฉพาะพื้นที่ เน้นรอบสถานีรถไฟฟ้าและศูนย์ซ่อม หวังเปิดทางให้อปท.พัฒนาเชิงพาณิชย์ ครึ่งปีหลังลุ้นเปิดประมูลสายสีชมพู-สีส้ม- แอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง และสายสีแดง เชื่อมโยงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก-หัวลำโพง ส่วนสายคาดลาดยาวข้ามปี

alt นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า หลังจากรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าบริหารประเทศ กระทรวงคมนาคม ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของระบบรถไฟฟ้า รฟม.มีแนวคิดนำเสนอกระทรวงคมนาคมทำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขอปรับปรุงผังเมืองใหม่ เน้นเฉพาะพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า อาคารจอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุงให้เป็นผังเฉพาะกิจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)นั้นๆหรือรฟม.สามารถพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทางได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันรฟม. ยังจะเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 เพื่อเพิ่มอำนาจให้ รฟม. สามารถหารายได้จากแหล่งอื่นๆ เพราะ พ.ร.บ. ปัจจุบันมีข้อจำกัดมากมาย เช่น การให้เช่าที่ดินของ รฟม. ที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทต้องเสนอเรื่องให้ ครม. อนุมัติ ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรฟม. ก็ต้องการเป็นผู้ออกแบบแผนแม่บทของรถไฟฟ้าเองเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ จากปัจจุบันที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นผู้ทำแผนแม่บท ซึ่งทำให้การพัฒนาเชิงพาณิชย์ทำได้ยาก

"รฟม. ต้องการนำโมเดลพัฒนาเชิงพาณิชย์ในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมาใช้ เช่น ฮ่องกงที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบจนถึงเปิดให้บริการ ทำให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้นและได้รับค่าโฆษณา ส่งผลให้การรถไฟฟ้าของฮ่องกงในปัจจุบันมีรายได้ถึง 3 แสนล้านบาท/ปี กำไร 1 แสนล้านบาท/ปี และมีมูลค่าการตลาดถึง 1 ล้านล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นรายได้ที่เพียงพอจะนำมาอุดหนุนราคาค่าโดยสารให้ลดลงเหลือเฉลี่ย 20 บาท/เที่ยว"ผู้ว่าการร.ฟ.ม.กล่าวและว่า

ปัจจุบันรายได้ของ รฟม. มี 2 ส่วนหลักคือ รายได้จากค่าโดยสาร และกิจการเชิงพาณิชย์จากส่วนแบ่งค่าสัมปทานบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(บีเอ็มซีแอล) ในปี 2556 ประมาณ 70 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนการแบ่งค่าโดยสาร 10 ปีแรก ที่บีเอ็มซีแอลจะแบ่งให้ รฟม. 1% ส่วนในปี 2558 ทาง รฟม. จะได้ส่วนแบ่งค่าโดยสารเพิ่มเป็น 5% หรือประมาณ 80 ล้านบาท/เดือน เมื่อรวมกับกิจการเชิงพาณิชย์ที่มีอัตราคงที่ปีละ 50 ล้านบาท จะทำให้รฟม.มีรายได้จากบีเอ็มซีแอลปีหน้าประมาณ 1,000 ล้านบาท/เดือน ขณะที่มีรายได้จากค่าโดยสารเทียบกับที่ไม่ใช่ค่าโดยสารเป็นสัดส่วน 80% ต่อ 20% แต่ในอนาคตวางแผนให้รายได้ที่ไม่ใช่ค่าโดยสารเพิ่มสัดส่วนมากกว่า 50% ของรายได้รวม

ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ระบุว่า หาก รฟม. ตั้ง 5 บริษัทลูกเพื่อรูปแบบหน่วยธุรกิจ คือ หน่วยธุรกิจเดินรถ หน่วยธุรกิจบริหารสถานี หน่วยธุรกิจโฆษณา หน่วยธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยธุรกิจระบบตั๋วร่วมและขนส่ง เพื่อรองรับเครือข่ายรถไฟฟ้าครบ 10 สายในปี 2562 จะส่งผลให้รายได้อื่นๆ ไม่ใช่ค่าโดยสารของ รฟม. ค่อยๆ ทยอยเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีถัดไปจนถึง 20,000 ล้านบาทในปี 2567

"ในระหว่างนี้ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อเสนอแผนการจัดตั้งบริษัทลูกเสนอครม.อนุมัติการจัดตั้งได้ภายในสิ้นปีนี้ ช่วงเริ่มต้นอาจจะใช้ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ตามผลการศึกษาของ มธ. อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ยังไม่ได้ตั้งบริษัทลูก รฟม. ได้มีการแยกธุรกิจออกเป็น 2 หน่วยธุรกิจก่อนเพื่อเตรียมความพร้อม ได้แก่ 1. หน่วยธุรกิจตั๋วร่วม และ 2. หน่วยธุรกิจเดินรถ "

ด้านพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมบอร์ด รฟม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของรฟม.ว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มูลค่ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท กำหนดให้ผู้ซื้อเอกสารทีโออาร์ทั้ง 31 รายยื่นซองเอกสารประกวดราคาวันที่ 30 กันยายนนี้ และคาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 ส่วนสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี(ที่ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีจะเปิดประมูลในช่วงแรกก่อนนั้น) อยู่ระหว่างรอการอนุมัติของ ครม.ใหม่ ซึ่งรฟม. ก็พร้อมดำเนินการทันที ส่วนสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่อยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดก็จะเร่งดำเนินการนำเสนอกระทรวงคมนาคมนำเข้าครม.ต่อเนื่องกันไป ส่วนช่วงอื่นๆนั้นอยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลการศึกษาออกแบบ อาทิ สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่คาดว่าจะเลื่อนไปประมูลในปี 2558
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2014 8:13 pm    Post subject: Reply with quote

กคช.เสนอ ครม.ผุดคอนโดฯ แนวรถไฟฟ้าตามจุดดีโป้ 4 สาย 7 โครงการ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2557 09:38 น.

กคช.เตรียมเสนอ ครม. สร้างบ้านผู้มีรายได้น้อย 7 โครงการ บริเวณดีโป้รถไฟฟ้า 4 สาย ช่วงปลายปี พร้อมผุดโครงการที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ปี 57-60 รวม 96 โครงการ 4.97 หมื่นหน่วย เงินลงทุน 3.4 หมื่นล้าน ใช้มาตรการขายก่อนลงทุนป้องกันสินค้าเหลือขาย ตั้งเป้ากำไรเกิน 600 ล้านบาท รายได้กว่า 1.3 หมื่นล้าน เผยเลิกใช้ชื่อ “บ้านเอื้ออาทร”

นายกฤษดา รักษากุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยว่า การเคหะฯ เตรียมเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศค.) พิจารณาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยใกล้กับแนวรถไฟฟ้า โดยจะใช้บริเวณจุดจอดรถไฟฟ้า (ดีโป้) เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารชุด คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลชุดใหม่ในช่วงปลายปีนี้

สำหรับแผนแม่บทที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่จะก่อสร้างเป็นอาคารชุดนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในหลายด้าน เช่น ความต้องการที่อยู่อาศัยว่าจะต้องก่อสร้างกี่ยูนิต ราคาเริ่มต้นเท่าใด เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยราคาจึงต้องมีการคำนวณให้ชัดเจน เพราะมีการใช้ที่ดินของการรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) เรื่องการแบ่งผลตอบแทน รวมไปถึงทุกโครงการจะต้องมีการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ด้วย เช่น คอมมูนิตีมอลล์ขนาดเล็กภายในโครงการ

ในเบื้องต้นจะก่อสร้าง 4 ทำเล คือ จุดจอดรถไฟฟ้า 1.สายสีม่วงบริเวณคลองบางไผ่ 2.สีเขียว บริเวณบางปิ้ง สีชมพู และสีส้ม ซึ่งเป็นจุดจอดเดียวกันบริเวณมีนบุรี จำนวน 7 โครงการ แบ่งเป็นโครงการอยู่บนที่ดินของการรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) 3 โครงการ และของการเคหะแห่งชาติ 4 โครงการ ซึ่งเป็นรูปแบบการเช่าระยะเวลา 30 ปี

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบในหลักการกรอบแผนการลงทุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ปี 2557-2560 รวม 96 โครงการ จำนวน 49,700 หน่วย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค วงเงินลงทุนรวม 34,100 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดจะเปลี่ยนชื่อใหม่ไม่ใช้ชื่อโครงการบ้านเอื้ออาทรอีกต่อไป ซึ่งจะมีการตั้งชื่อโครงการตามทำเล สำหรับโครงการที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ปี 2557 จะเริ่มก่อสร้าง จำนวน 38 โครงการ รวมกว่า 16,000 หน่วย เงินลงทุนกว่า 9,500 ล้านบาท

ส่วนการทำการตลาดนั้นจะใช้วิธีขายก่อนก่อสร้างโครงการ โดยจะสำรวจความต้องการแท้จริงของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องมียอดขายไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะดำเนินการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอาคารคงเหลือ โดยกำหนดระยะเวลาการขายออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงแรกจะเปิดการขาย 16 โครงการ รวม 6,103 หน่วย ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย.-6 ต.ค. 2557 ช่วงที่ 2 จะเปิดขาย 17 โครงการ รวม 6,515 หน่วยตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.-2 พ.ย.2557 และช่วงที่ 3 จะเปิดขาย 5 โครงการ รวม 3,528 หน่วย ตั้งแต่ 21 พ.ย.-30 พ.ย.2557

“โครงการที่อยู่อาศัยล็อตใหม่นี้จะมีการปรับราคาขึ้นเฉลี่ย 10% จากเดิมที่ราคาค่าก่อสร้างนั้นอยู่ที่ 5.9 แสนบาท เป็นบ้านเดี่ยวขนาด 50 ตร.ม. บนเนื้อที่ 20 ตร.ว. และอาคารชุดขนาด 33 ตร.ม. ซึ่งขณะนี้ทาง กคช.มีการเตรียมความพร้อมในกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาการก่อสร้างจากแรงงานขาดแคลน” นายกฤษดา กล่าว

ส่วนปัญหาการปฏิเสธสินเชื่อของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งที่ผ่านมา มีประมาณ 20% นั้น กคช.ได้แก้ปัญหาโดยการนำรูปแบบเช่าเพื่อซื้อมาใช้ คือ ให้มีการเช่าไปก่อนที่จะซื้อเป็นเจ้าของในภายหลัง โดยได้เริ่มดำเนินการแล้วในโครงการที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย แต่ทั้งนี้ กคช.จะไม่สนับสนุนรูปแบบดังกล่าว เนื่องจากต้องการให้ผู้มีรายได้น้อยผ่อนซื้อบ้านตั้งแต่แรก โดยปีที่ผ่านมา กคช. มีกำไร 600 ล้านบาท มีรายได้ 12,000 -13,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าปีนี้กำไร และรายได้จะไม่ต่ำกว่าปีก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2014 11:46 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีชมพู จากแครายแจ้งวัฒนะรามอินทราไปมีนบุรี รอครม.ไฟเขียวเปิดประกวดราคาปลายปีนี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
10 กันยายน 2557
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้เตรียมเสนอแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อดำเนินการในเส้นทางที่มีความพร้อม

ทั้งนี้สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีชมพูซึ่งเป็น 1 ในเส้นทางที่จะเสนอให้ดำเนินการนั้นเป็นเส้นทางจากแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตรวงเงินลงทุนประมาณ 58,303 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นระบบการเดินรถแบบรางเดี่ยวหรือโมโนเรล

ขณะนี้อยู่ระหว่างรอนำเข้าสู่การพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ประมาณปลายปี 2557 นี้

โดยในการเปิดประกวดราคาของสายสีชมพูนั้นจะต้องเปิดประกวดราคาระบบเดินรถก่อนที่จะมีการออกแบบโครงสร้าง

เนื่องจากว่าขนาดรางของรถไฟฟ้าแบบโมโนเรลของบริษัทเอกชนจะแตกต่างกันหากมีการกำหนดขนาดไว้จะเป็นการล็อกสเปกจนเกินไป

ดังนั้นหากผ่านความเห็นชอบจาก ครม.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะต้องเร่งดำเนินการออกแบบรายละเอียดในการก่อสร้างและการวางระบบราง

ทั้งนี้หากทุกอย่างสามารถดำเนินไปตามแผนการที่กำหนดไว้ได้การดำเนินการก่อสร้างและทดสอบระบบจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการประชาชนได้ประมาณต้นปี 2562 นี้

นายพีระพล กล่าวต่อว่า สำหรับการเลือกรูปแบบของรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทางนั้นจะต้องพิจารณาจากปริมาณผู้โดยสาร และการรองรับประชาชนในอนาคตโดยรถไฟฟ้าระบบโมโนเรลจะสามารถรองรับประชาชนได้ประมาณวันละ 80,000-200,000 คนต่อวัน และระบบ โมโนเรลจะมีการก่อสร้างที่ง่ายกว่าระบบรางคู่ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน

เนื่องจากจะใช้พื้นที่สำหรับวางรางน้อยกว่าและในรัศมีการเข้าโค้งก็จะไม่กินพื้นที่มากและมีความคล่องตัวมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30 กิโลเมตรและสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตรจะต้องคัดกรองรายละเอียดที่ รฟม.ส่งมายัง สนข.และเสนอต่อกระทรวงคมนาคมอีกครั้งเพื่อขอการอนุมัติก่อสร้าง

//-----------------------


สนข.คาดรถไฟฟ้าสีชมพูแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ประกวดราคาได้ปีนี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2557 09:25 น.


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) กล่าวว่าตามที่กระทรวงคมนาคมได้เตรียมเสนอแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อดำเนินการในเส้นทางที่มีความพร้อม สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งเป็น 1 ในเส้นทางที่จะเสนอให้ดำเนินการนั้นเป็นเส้นทางจากแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ58,303 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นระบบการเดินรถแบบรางเดี่ยวหรือโมโนเรลขณะนี้อยู่ระหว่างรอนำเข้าสู่การพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี คาดว่า จะสามารถเปิดประมูลได้ประมาณปลายปี 2557 นี้

โดยในการเปิดประกวดราคาของสายสีชมพูนั้นจะต้องเปิดประกวดราคาระบบเดินรถก่อนที่จะมีการออกแบบโครงสร้างเนื่องจากว่าขนาดรางของรถไฟฟ้าแบบโมโนเรลของบริษัทเอกชนจะแตกต่างกันหากมีการกำหนดขนาดไว้จะเป็นการล็อคสเป็คจนเกินไปดังนั้นหากผ่านความเห็นชอบจากครม.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)จะต้องเร่งดำเนินการออกแบบรายละเอียดในการก่อสร้างและการวางระบบรางทั้งนี้หากทุกอย่างสามารถดำเนินไปตามแผนการที่กำหนดไว้ได้การดำเนินการก่อสร้างและทดสอบระบบจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการประชาชนได้ประมาณต้นปี 2562

สำหรับการเลือกรูปแบบของรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทางนั้นจะต้องพิจารณาจากปริมาณผู้โดยสาร และการรองรับประชาชนในอนาคตโดยรถไฟฟ้าระบบโมโนเรลจะสามารถรองรับประชาชนได้ประมาณวันละ80,000- 200,000คนต่อวัน และระบบโมโนเรลจะมีการก่อสร้างที่ง่ายกว่าระบบรางคู่ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันเนื่องจากจะใช้พื้นที่สำหรับวางรางน้อยกว่าและในรัศมีการเข้าโค้งก็จะไม่กินพื้นที่มากและมีความคล่องตัวมากกว่าอย่างไรก็ตามสำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงระยะทาง30กิโลเมตรและสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีระยะทาง 20 กิโลเมตรจะต้องคัดกรองรายละเอียดที่รฟม.ส่งมายังสนข.และเสนอต่อกระทรวงคมนาคมอีกครั้งเพื่อขอการอนุมัติก่อสร้าง


Last edited by Wisarut on 11/09/2014 5:28 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2014 8:54 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจ่อชง 'บิ๊กจิน' เคาะปรับแบบรถไฟฟ้าสีชมพู-ชานเมืองสีแดง
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 10 ก.ย. 2557 19:54

ปลัดคมนาคม เตรียมเสนอปรับแบบสร้างรถไฟฟ้าสีชมพู-ชานเมืองสีแดง รองรับไฮสปีดเทรน-แอร์พอร์ตลิงค์ ขยายท่าเรือแหลมฉบัง ชง "บิ๊กจิน" เร่งพิจารณา...

เมื่อวันที่ 10 ก.ย. นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เตรียมเสนอ 3 โครงการเร่งด่วนให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณา หลังจาก พล.อ.อ.ประจิน กำหนดเข้ามาเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ภายหลังรัฐบาลเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดย 2 โครงการแรก ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 35 กม.ที่ได้เสนอการปรับแบบโครงการ เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง และแอร์พอร์ตลิงค์ที่จะเชื่อมโยงกัน รวมทั้งงานขยายท่าเรือแหลมฉบังของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งล่าช้ามากว่า 8 ปี

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการวิเคราะห์โครงการ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ปรับยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย 4 ด้าน 5 แผนงาน ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) เป็นระยะ 10 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2014 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ความคิดที่จะเอาแม่น้ำลำคลองในกรุงเป็นเครือข่าย Feeder และ connector ให้บรรดารถไฟฟ้า และรถไฟชานเมืองนั้นนับว่าเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมจริงๆ แต่สิ่งที่จะต้องทำต่อจากนี้นอกเหนือจากการติดระบบ ตั๋วร่วมก็คือ
1. ปรับปรุงหรือก่อสร้างทางเรือใหม่ให้ทันสมัยจริงๆ โดยได้รับความร่วมมือจากบรรดาชุมชนริมคลองและบรรดาผู้ที่ช้เรือโดยสารให้ช่วยกันออกแบบให้ได้ท่าเรือที่ดีจริงๆ ที่ ชุมชนสามารถดูแลเองได้
2. นำเรือที่ก่อมลพิษต่ำ และ เป็นปิดกระจกไม่ให้น้ำคลองกระเซ็นใส่ผู้โดยสารมาให้บริการ

http://thaipublica.org/2014/09/venice-bangkok-of-the-west/
https://www.facebook.com/ThaiPublica/posts/706954419359277
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/09/2014 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบขนส่งมวลชนทางน้ำ ไปตามแม่น้ำ ลำคลอง มีเหลืออยู่ไม่กี่แห่งแล้วในโลก สมควรพัฒนาให้ดีครับ Very Happy
----

คมนาคมเตรียมชงครม.อนุมัติประมูลรถไฟสีแดง,ทางคู่,รถไฟฟ้ารวมกว่า 2 แสนล.ในปีนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2557 15:37 น.

“ปลัดคมนาคม”เผยเตรียมสรุป 5 โครงการระบบรางชง”ประจิน”เห็นชอบ เพื่อเสนอครม.ขออนุมัติประกวดราคาภายในปีนี้ วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.06 แสนล. ทั้งรถไฟฟ้าสีชมพู,สีเหลืองและรถไฟสายสีแดง Missing Link ,และแอร์พอร์ตลิ้งค์เชื่อมดอนเมือง ส่วนรถไฟทางคู่ จิระ-ขอนแก่นผ่านEIA พร้อมประมูล จี้ร.ฟ.ท.เร่งทำแผนรายละเอียดและกรอบเวลาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมชงคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานและ Work Shop ร่วม รมว.คมนาคม

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วันนี้ (16 ก.ย.) ว่า ได้ทำความเข้าใจถึงแนวทางการปฎิบัติงานและเตรียมพร้อมใช้ข้อมูลสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ร่วมกับพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งในส่วนของ ร.ฟ.ท.จะต้องรับผิดชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ในการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ 6 สายทาง ขนาดราง 1 เมตร ระยะทาง 887 กิโลเมตร ซึ่ง ร.ฟ.ท.รวบรวมรายละเอียดการทำงานทั้งหมดรวมถึงกรอบเวลา ต้องมีกรอบเวลาในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานที่คสช.ตั้งไว้

โดยขณะนี้ โครงการระบบรางที่มีความพร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติประกวดราคาแล้วรวม 5 โครงการ วงเงินรวมประมาณ 2.06 แสนล้านบาท โดยในส่วนของร.ฟ.ท.ประกอบด้วย
1.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทาง จิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาท โดยร.ฟ.ท.ได้เสนอมาที่กระทรวงคมนาคมเพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติประกวดราคาต่อไป
2. รถไฟสายสีแดง Missing Link ขนาดรางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงระยะทาง 6.5 กิโลเมตรและช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร วงเงินรวม 3.9 หมื่นล้านบาท
3. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง)- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง (แอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย) ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท

ส่วนรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น ทางสนข.ได้สรุปเสนอมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว 2 สายคือ
รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท และ
สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท


สำหรับรถไฟทางคู่ที่เหลือ อีก 4 เส้นทาง คือ มาบกะเบา-จิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท, ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท , นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบา อยู่ในขั้นตอนของผู้ชำนาญการ เตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (สผ.) ชุดใหญ่ ,ประจวบ-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท รออนุมัติ สิ่งแวดล้อม ส่วน หัวหัน-ประจวบ ระยะทาง 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,437 ล้านบาท ได้รับงบประมาณสำหรับการศออกแบบรายละเอียดเพื่อเติมเต็มโครงข่ายทั้ง 6 เส้นทางให้ต่อเชื่อมกัน

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า นอกจากโครงการก่อสร้างต่างๆแล้ว ร.ฟ.ท.ยังต้องเร่งสรุปแผนฟื้นฟู ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ให้ร.ฟ.ท.ไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้ชัดเจน ในแต่ละเรื่อง เช่น หนี้สิน บุคลากร แผนงานโครงการ แผนงานภายใน และการแยกอำนาจบริหารและการแบ่งทรัพย์สิน ระหว่าง ร.ฟ.ท.กับแอร์พอร์ตลิ้งค์ ซึ่งต้องเร่งนำเสนอกลับมาเพื่อเสนอต่อซุปเปอร์บอร์ดต่อไป รวมถึงเรื่อง บำเหน็จดำรงชีพ ที่รัฐบาลมีมติให้ผู้ที่เกษียณอายุได้รับแต่ไม่เกิน 2 แสนบาทในสัดส่วน 50% จากที่เป็นบำเหน็จตกทอด ซึ่งในส่วนของร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างออกข้อบังคับและรอกนร.เห็นชอบ เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องไปดูว่ามีงบประมาณพร้อมแค่ไหน

“ร.ฟ.ท.มีการบ้านที่ต้องทำมาก ซึ่งเรื่องสำคัญที่ให้ไปวางแผนคือ การสร้างบุคลากรโดยเฉพาะด้านวิชาชีพ หรือวิศวกร เพื่อรองรับการเติบโตและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางตามนโยบายซึ่งต้องการบุคลากรเฉพาะทางจำนวนมาก ที่ผ่านมาอัตรากำลังรถไฟลดลงเพราะติดมติครม.ปี 2543 ที่ห้ามรับพนักงานเพิ่มทำให้ต้องจ้างแรงงานภายนอก (Outrsource) จำนวนมาก”นางสร้อยทิพย์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2014 1:48 am    Post subject: Reply with quote

"MRT-โทลล์เวย์-BTS" ขึ้นราคา เผือกร้อน...เมื่อค่าครองชีพคนกรุงพุ่ง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 กันยายน 2557 เวลา 09:31:18 น.


นับจากเดือนกันยายนนี้เป็นต้นไปเป็นช่วงที่ 2 บิ๊กคมนาคม "รัฐบาลประยุทธ์ 1" ทั้ง "บิ๊กจิน-พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง" รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ รมว.คมนาคม กับ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รมช.คมนาคม จะทำงานอย่างเต็มตัว

MRT ขึ้นค่าโดยสาร 1-2 บาท

โดย มีภารกิจด่วนเร่งผลักดันโครงการในบัญชีงบประมาณประจำปี 2558 ที่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น 144,606 ล้านบาท เปิดประมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป อีกทั้งมีโปรเจ็กต์ในแผนงาน "ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย" เตรียมออกสตาร์ตต้นปี

เช็กสต๊อก "เผือกร้อน" ในมือที่รอให้ตัดสินใจนับจากนี้จนถึงสิ้นปี"57 ปฏิบัติการปรับขึ้นค่าโดยสาร "รถไฟฟ้าใต้ดิน" หลังบีเอ็มซีแอล-บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ ธุรกิจตระกูลตรีวิศวเวทย์ ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟใต้ดิน คืนความสุขให้กับผู้โดยสารด้วยการขยายเวลาปรับค่าโดยสารใหม่ 16-42 บาท ออกไป 3 เดือน จาก 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะสิ้นสุด 2 ตุลาคมนี้ ตามสัญญาเปิดช่องให้ปรับขึ้นทุก 2 ปี

โทลล์เวยขึ้นค่าผ่านทาง 15 บาท

ถัด มาเป็นค่าผ่านทาง "โทลล์เวย์" ที่ "บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง" ธุรกิจตระกูลพานิชชีวะ เตรียมพร้อมปรับค่าผ่านทางเพิ่ม 15 บาท ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ เป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ "ทล.-กรมทางหลวง" ให้ปรับราคาขึ้นได้ทุก5ปีโดย "โทลล์เวย์" จะปรับเพิ่ม 15 บาท ตลอดสายทาง จากปัจจุบัน 85 บาท เพิ่มเป็น 100 บาท

รถเมล์-รถไฟฟรีถึงต้นปีหน้า

หลัง จากนี้ ก่อนครบอายุสัญญาสัมปทานในปี 2577 บริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์จะปรับค่าผ่านทางอีก 3 ครั้ง ครั้งละ 15 บาท ภายในปี 2562-2567-2572 ตามลำดับ ซึ่งอัตราค่าผ่านทางในปี 2572 ค่าผ่านทางจะเก็บที่ 145 บาท แยกเป็นช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ จาก 90 บาท เป็น 100 บาท, รถ 6 ล้อ จาก 120 บาท เป็น 130 บาท, ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ จาก 40 บาท เป็น 45 บาท และรถ 6 ล้อ จาก 50 บาท เป็น 55 บาท

ขณะที่ "รถเมล์-รถไฟฟรี" ทาง คสช.มีมติต่ออายุ 6 เดือน ถึง 31 มกราคม 2558 หลังจากนั้นคาดว่าจะได้รับการต่ออายุออกไปอีกเหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา

สิ้นปี BTS ปรับราคายกแผง

ภารกิจ ส่วนที่จะต้องลุ้นว่าจะปรับราคาขึ้นหรือไม่ พบว่ามี "รถไฟฟ้าบีทีเอส" โดยมี "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ธุรกิจของเสี่ยคีรี กาญจนพาสน์ ผู้รับสัมปทานจาก "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ตามสัญญาเปิดทางให้ปรับได้ทุก 18 เดือน ตามดัชนีผู้บริโภค หรือ CPI เพิ่มขึ้น 5% หรือตามต้นทุนที่สูงขึ้น โดย จะครบกำหนดอีกครั้งเดือนธันวาคมนี้ จากที่ปรับล่าสุด 1 มิถุนายน 2556 อัตรา 15-42 บาท ปัจจุบัน "บีทีเอส" ยังไม่มีคำตอบจะปรับขึ้นอีกเท่าไหร่ โดยเพดานราคาบริษัทสามารถปรับขึ้นได้สูงสุดถึง 56 บาท


ส่วนเส้นทาง ต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสอีก 2 สาย จาก "อ่อนนุช-แบริ่ง" และ "ตากสิน-บางหว้า" กทม.รับผิดชอบดูแลเอง โดยจ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถให้นั้น ที่ผ่านมา "คุณชายหมู-ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าฯ กทม. มีนโยบายหาเสียงจัดเก็บ 10 บาทตลอดสาย ถึงคิวครบกำหนดสิ้นปีนี้เช่นกัน เท่ากับว่าบีทีเอสจะปรับขึ้นค่าโดยสารทั้งระบบได้เมื่อถึงเวลานั้น

ลุ้น "สุขุมพันธุ์" คืนความสุข

ยัง ไม่รู้ว่า "คุณชายหมู" จะขยายเวลาคืนความสุขคนกรุงอีกรอบหรือไม่ เพื่อให้การทำงานกับ "รัฐบาลเฉพาะกาล" ราบรื่นขึ้น อย่างไรก็ตาม หาก "กทม." ขยับราคาขึ้นจะมี 2 แนวทาง 1.เก็บอัตราเดียวที่ 15 บาทตลอดสาย หรือ 2.เก็บตามระยะทาง ปัจจุบัน กทม.เก็บค่าโดยสารรูปแบบนี้จากผู้ใช้บริการบีทีเอสช่วง "วงเวียนใหญ่-ตากสิน" ในราคาเริ่มต้น 15 บาท เมื่อเข้าระบบสัมปทานบีทีเอสเดิมจะเก็บตามระยะทาง แต่สูงสุดไม่เกิน 42 บาท หากได้ข้อสรุปค่าโดยสารอัตราใหม่จะเริ่มใช้ในเดือนมกราคม 2558เช่นเดียว "รถเมล์บีอาร์ที" ทาง กทม.ลดราคาลงจากเดิม 10 บาท เหลือ 5 บาทตลอดสาย มีกำหนดสิ้นสุดสิ้นปีนี้ คาดว่าจะกลับมาเก็บ 10 บาทตลอดสายในเดือนมกราคม 2558

จับตารอยต่อคมนาคม-กทม.

แม้ว่า พื้นที่ "กทม." จะมีพ่อเมืองบริหารอยู่แล้ว แต่ในฐานะผู้คุมนโยบายด้านคมนาคมขนส่งระดับชาติ "บิ๊กจิน" จะกำหนดจุดยืนและแนวทางยังไงต่อไปเพราะไม่ใช่แค่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เท่านั้น หากแต่กระทรวงคมนาคมยังต้องทำงานแบบไร้รอยต่อ ขอใช้พื้นที่ "กทม." เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ โดยเฉพาะสายสีเขียว "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ที่เตรียมลงเข็มเร็ว ๆ นี้ แต่มีตอม่อ 2 สะพานข้าม 2 แยก "รัชโยธิน-เกษตร" ขวางทางอยู่ รวมถึงการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อขยายจาก "แบริ่ง-สมุทรปราการ" ที่เป็นสายต่อเชื่อมกับ กทม.ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจด่วนรอให้ "บิ๊กคมนาคม" ทุบโต๊ะว่า...จะจ้างบีทีเอสมาเดินรถให้ หรือเปิดประมูลรายใหม่เข้ามาบริหารจัดการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2014 4:06 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง หยุดรถติดลาดพร้าว

Future is ours ประจำวันที่ 4 กันยายน 2557
Voice TV
4 กันยายน 2557 เวลา 17:17 น.

ย่านลาดพร้าวในอดีต เคยเป็นพื้นที่ที่ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า เข้าถึงได้ยาก แต่ตอนนี้ กระทรวงคมนาคม หันมาเอาจริงกับการปรับระบบการเดินทางของคนในย่านนั้น ด้วยการเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมาดำเนินการให้เร็วขึ้น หวังอำนวยความสะดวกประชาชน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. รับผิดชอบ เป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงคมนาคม เร่งรัดแผนงานให้เร็วขึ้น โดยก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2562 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อแก้ปัญหาจราจรลาดพร้าว มูลค่าโครงการ อยู่ที่ 4 หมื่น 8 พันล้านบาท

โครงการนี้ ถือเป็นความหวัง และเป็นอนาคตของลาดพร้าว ที่มีปัญหาจราจรติดสะสมตลอดทั้งวัน ไม่ต่างจากในเมืองอย่างถนนสุขุมวิท เนื่องจากถนนลาดพร้าว มีเพียง 3 เลน , มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และยังเป็นทางลัดไปยังหลายโซนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นระบบยกระดับ โครงสร้างอยู่บนเกาะกลางถนน มี 23 สถานี ไปตามเส้นทางถนนลาดพร้าว จนถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นโครงการในอนาคต จากนั้นผ่านทางแยกต่างระดับพระราม 9 ไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ จนถึงแยกศรีเทพา ไปตามถนนเทพารักษ์ และสิ้นสุดที่ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ย่านที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นที่สุดย่านหนึ่งในสมุทรปราการ

และนี่คือ ภาพการออกแบบ สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรัชดา สังเกตุว่า ตัวสถานีจะอยู่ตรงด้านหน้า ของอาคารจอดรถของ รฟม. ซึ่งมันสามารถเชื่อมต่อการเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดินของ รฟม. ได้ด้วย
ปัจจุบัน การศึกษาโครงการ และออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว และทยอยจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ในช่วงแรก คนในพื้นที่คัดค้านไม่ให้มีรถไฟฟ้าขนาดหนัก บนเกาะกลางถนนลาดพร้าว ซึ่ง รฟม.ได้ปรับแบบก่อสร้าง เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแทนแล้ว

ข้อดี คือ โครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อสร้างต่ำ ก่อสร้างได้รวดเร็ว เพราะใช้โครงสร้างสำเร็จ ใช้พื้นที่น้อย ทำให้เวนคืนน้อยกว่า ใช้ความเร็วสูงสุดได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ 30,000-40,000 คน ต่อชั่วโมง ต่อทิศทาง

ส่วนการเลือกใช้ระบบรางเดี่ยว ตอนนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการเลือกแบบจากอินเดีย บราซิล และเกาหลี ว่าแบบใดเหมาะกับไทยมากที่สุด

คนในพื้นที่ย่านลาดพร้าว เคยผ่านการรอคอยระบบขนส่งสาธารณะมาแล้ว แต่สุดท้ายหลายโครงการกลับไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ตรงความต้องการของพวกเขา หากมีรถไฟฟ้าเส้นนี้ จะช่วยลดระยะเวลาเดินทางของพวกเขาได้

อนาคตของคนที่อาศัยย่านลาดพร้าว ในอีก 5ปี จะเดินทางได้สะดวกขึ้น ไม่ต่างจากย่านสุขุมวิท ที่ตอนนี้ คนส่วนใหญ่นิยมใช้รถไฟฟ้ามากกว่าใช้รถยนต์ส่วนตัว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 278, 279, 280  Next
Page 98 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©