RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264615
ทั้งหมด:13575898
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2014 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ม.คาดเปิดประมูลรถไฟฟ้า 3 สายก่อนสิ้นปี
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น
Now TV26
วันที่ 17 กันยายน 2557

พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยถึงผลการประชุมบอร์ดรฟม.วันนี้ (17 กันยายน 2557) ว่าที่ประชุมได้หารือแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายได้แก่ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง / สายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-แคราย-มีนบุรี / สายสีส้มเฟสแรก ช่วงมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม รวมระยะทางของทั้งสามสายประมาณ 120 กม. โดยขณะนี้ได้เสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณา และเตรียมเข้าครม.ต่อไป หากเป็นไปตามแผนจะสามารถประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ภายในปีนี้ และจะทยอยเปิดให้บริการในช่วงปี 2562-2563 ซึ่งทางรฟม.จะพยายามอย่างเต็มที่ในการประสานงานเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้
โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพเป็นโครงเร่งด่วนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยนอกจากรถไฟฟ้า 3 สายใหม่ภายใต้การดูแลของรฟม.แล้ว ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไทย-ดอนเมือง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมเช่นกัน
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=H8OkjVM76JE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2014 9:42 am    Post subject: Reply with quote



รถไฟฟ้าสามสายที่เป็นตัวชี้อนาคตรัฐบาล
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GdTT-Ygfd0E
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2014 9:01 am    Post subject: Reply with quote

สองมาตรฐานรถไฟฟ้าสองสี
ไทยรัฐออนไลน์ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 24 ก.ย. 2557 05:01

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีคมนาคม ไปเป็นประธานพิธีบวงสรวงหัวเจาะอุโมงค์รถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงิน ช่วงลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันอาทิตย์ งานนี้ถือเป็นงานใหญ่และสำคัญ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ด รฟม.ก็ไปร่วมพิธีด้วย แต่ คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. ขอลาป่วยกะทันหัน หลังจากที่ รฟม.ถูก คสช.ตรวจสอบหลายโครงการ

และวันเสาร์ที่ 27 กันยายนนี้ พล.อ.อ.ประจิน จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เวิร์กช็อปใหญ่ด้านขนส่งทางบก ใครมีปัญหาข้อร้องเรียนอะไร จะจัดการแก้ไขให้หมด

เมื่อ พล.อ.อ.ประจิน เปิดช่อง ผมก็มีเรื่องเล่าให้ฟัง เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้โดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย เพราะรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสร้างจากเงินภาษีของประชาชน ประชาชนจึงควรจะได้ประโยชน์มากกว่าเอกชนที่เข้ามาบริหารโครงการทีหลัง

ปัญหาหนึ่งของ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ที่กำหนดจะเปิดเดินรถปี 2561 ก็คือ การจัดหาเอกชนมาเดินรถในส่วนต่อขยาย

ก่อนหน้านี้ คุณรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ รฟม.สายปฏิบัติการ เป็นประธานพิจารณาเรื่องนี้ มีมติให้ใช้วิธีเปิดประมูล ยังไม่ทันได้เปิดประมูล คุณยงสิทธิ์ ผู้ว่าการ รฟม. ก็มีคำสั่งเปลี่ยนประธานจาก คุณรณชิต เป็น คุณพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ รฟม.อีกคนไปทำหน้าที่แทน

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ การประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม คุณยงสิทธิ์ ผู้ว่าการ รฟม. แถลงผลการประชุมบอร์ดด้วยตัวเองว่า บอร์ดมีมติเห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอให้ใช้แนวทางการเจรจากับบีเอ็มซีแอลเจ้าเดิม ให้เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ทั้งช่วงหัวลำโพง–บางแค และ ช่วงบางซื่อ­–ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. เพราะจะเป็นประโยชน์มากกว่าการเปิดประมูลใหม่

คุณยงสิทธิ์ อ้างเหตุผลมากมาย เช่น ค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายจะลดลง 3 พันล้านบาท ค่าบริหารจัดการเดินรถจะลดลง ประชาชนจะสะดวกในการใช้บริการ ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนรถ เพราะรถสามารถวิ่งทะลุต่อกันได้ การเจรจาก็ใช้เวลาน้อยกว่าการประมูล 1 ปี เหตุผลทุกอย่างฟังดูดีไปหมด

แต่ในกรณีเดียวกัน รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย จาก ช่วงแบริ่ง– สมุทรปราการ และ ช่วงหมอชิต–คูคต เดิมอยู่ภายใต้การกำกับของ กทม. ช่วงที่ คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ ใช้มติ ครม.โอนส่วนต่อขยายทั้งสองเส้นทางไปให้ รฟม.ดูแลแทน ด้วยเหตุผลอะไรไม่มีใครรู้ การเดินรถในส่วนต่อขยายสองช่วงนี้ รฟม. กลับมีความเห็นที่แตกต่างกับสายสีน้ำเงินอย่างสิ้นเชิงว่า ควรจะแยกผู้บริหารเดินรถออกจากกัน ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนรถได้ โดยไม่สนใจถึง ความสะดวกของผู้โดยสาร

อย่างที่อ้างในกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ข้ออ้างที่ตรงกันข้ามเช่นนี้ มันส่อไปในทางที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อเห็นข้อมูลอย่างนี้แล้ว ผมจึงไม่แปลกใจที่ คสช. จะส่งทีม คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. ได้เข้าไป ตรวจสอบเรื่องนี้ถึงสองครั้ง เพิ่งจะสรุปผลการตรวจสอบไปเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา โดยรายงานตรงต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งต่อให้ พล.อ.อ.ประจิน รัฐมนตรีคมนาคม รับไปดำเนินการ

พล.อ.อ.ประจิน ย้ำว่า การพิจารณาเรื่องนี้จะเน้นที่ ประชาชนได้เปรียบ เดินทางสะดวกปลอดภัย ได้รับบริการตามมาตรฐานสากล ต้องพิจารณาตามกฎกติกาให้ถูกหลักธรรมาภิบาลให้โปร่งใสที่สุด รฟม.จะต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ผมเห็นด้วยกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช.รัฐมนตรีคมนาคม รถไฟฟ้าใต้ดินบนดิน สร้างด้วยเงินภาษีของประชาชนทั้งนั้น ประชาชนจึงควรได้รับประโยชน์สูงสุด การเดินรถ ระบบการเดินรถ ควรจะเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้มีต้นทุนถูกที่สุด เรื่องนี้ พล.อ.อ.ประจิน ต้องสร้าง “มาตรฐาน” ให้ชัดเจนเป็น “มาตรฐานเดียว” ไม่ว่าจะ เปลี่ยนผู้ว่าการ รฟม.กี่คน มาตรฐานต้องไม่เปลี่ยน เพื่อสร้างความโปร่งใส และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในปัจจุบันและอนาคต.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2014 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เชิญผู้ได้รับผลกระทบรถไฟฟ้าสายสีส้มหารือ พ.ย.นี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2557 14:25 น.


ตัวแทนภาคประชาชนย่านราชปรารภ ประชาสงเคราะห์ และรางน้ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผนการสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินราชปรารภ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีกว่า 80 คน เข้าพบนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฝ่ายปฏิบัติการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อทวงถามความคืบหน้าการปรับเปลี่ยนแนวทางการเดินรถ เนื่องจากจุดที่สร้างสถานีของ รฟม.นั้น ปัจจุบันเป็นชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยหลายร้อยครัวเรือน และต้องใช้งบเวนคืนที่ดินกว่าพันล้านบาท
นอกจากนี้ ยังไม่ได้จัดทำประชาพิจารณ์ หรือแจ้งประชาชนในพื้นที่ จึงต้องการให้ทบทวนเส้นทางอีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้น ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
รองผู้ว่าฝ่ายปฏิบัติการ รฟม. ยืนยันว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ต้องให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ และคำนึงถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ส่วนความคืบหน้าขณะนี้ ให้ที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดว่าปรับแก้ได้มากน้อยแค่ไหน และจะเชิญประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาร่วมหารือในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อหาทางออกร่วมกันอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2014 9:03 pm    Post subject: Reply with quote

เรียกร้องทบทวนเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม
Thai PBS
25 กันยายน 2557 - 13:12


ผู้ได้รับผลกระทบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เรียกร้อง รฟม.ทบทวนการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางเดินรถใหม่ พร้อมเปิดให้ประชาชนร่วมออกแบบโครงการเพื่อลดผลกระทบ


ตัวแทนประชาชนย่านราชปรารภ, ประชาสงเคราะห์ และ ซ.รางน้ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผนการสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินราชปรารภ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี กว่า 80 คน พบ นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการปฏิบัติการรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.เพื่อทวงถามความคืบหน้าการให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการเดินรถ เนื่องจากจุดที่สร้างสถานีของ รฟม.ปัจจุบันเป็นชุมชนที่มีผู้อาศัยหลายร้อยครัวเรือนและต้องใช้งบเวนคืนที่ดินกว่าพันล้านบาท

นอกจากนี้ยังไม่ได้จัดทำประชาพิจารณ์ หรือ แจ้งประชาชนในพื้นที่จึงต้องการให้ทบทวนเส้นทางอีกครั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด

รักษาการผู้ว่าการ รฟม.ยืนยันว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ และคำนึงถึงประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ส่วนความคืบหน้าขณะนี้ได้ให้ที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดว่าจะสามารถปรับแก้ได้มากน้อยเพียงใด และเดือนพฤศจิกายนนี้จะเชิญประชาชนที่ได้รับผลกระทบร่วมหารือเพื่อหาทางออกอีกครั้ง
http://www.youtube.com/watch?v=yVV7EFuLAZY
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2014 10:44 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เตรียมให้สิทธิพิเศษ ผู้ถูกเวนคืนที่สร้างรถไฟฟ้า ซื้อที่อยู่ราคาถูก ลดแรงต้านนำที่ดินไปพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 22:52 น.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อพิจารณารายงานการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามข้อสั่งการของพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม วานนี้(26ก.ย.)ว่า ได้สั่งการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)กลับไปจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ว่า รฟม.สามารถนำพื้นที่ที่เหลือจากการก่อสร้างรถไฟฟ้ามาพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยไม่ขัดต่อ พรบ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้หรือไม่ และหากทำได้ควรจะพัฒนาเป็นโครงการรูปแบบใดรวมไปถึงรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้นำผลสรุปกลับมาเสนอภายใน2 สัปดาห์ จากนั้นจะนำเสนอให้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พิจารณาต่อไป

“รฟม.ระบุว่าเคยสอบถามความเห็นเรื่องการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และยืนยันกลับมาว่า รฟม.สามารถทำได้ มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่เวนคืนจากประชาชนมาได้สมประโยชน์แล้ว แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการถูกคัดค้านจากผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินเหมือนในอดีต รฟม.อาจจะต้องกลับไปดูว่าจะมีมาตรการพิเศษชดเชยให้กับกลุ่มประชาชนที่ถูกเวนคืนที่ดินบริเวณที่รฟม.นำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์หรือไม่ เช่น หากนำไปสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ก็อาจให้สิทธิ์กลุ่มผู้ถูกเวนคืนได้เข้าอยู่อาศัยก่อน หรือซื้อในราคาพิเศษกว่าคนอื่นๆ เป็นต้น “นางสร้อยทิพย์กล่าว

นางสร้อยทิพย์กล่าว่า ผลการศึกษาเบื้องต้นของรฟม.มีโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีขนส่งรถไฟฟ้าจำนวน2แห่ง คือ1.สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว(ใต้ ) บริเวณอ.บางปิ้ง จ.สมุทรปราการ จำนวน 18.3 ไร่ เตรียมพัฒนาเป็นอาคารศูนย์การค้า อาคารสำนักงานอาคารชุดพักอาศัย และลานจอดรถ วงเงินลงทุนเบื้องต้น 9,628 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนการเงิน10.86% และ2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บริเวณอ.บางไผ่ จ.นนทบุรี จำนวน14ไร่ เตรียมพัฒนาเป็นอาคารศูนย์การค้า อาคารชุดพักอาศัยจำนวน 2,394 หน่วยและลานจอดรถ วงเงินลงทุนเบื้องต้น 7,079 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนการเงิน10.91%


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสได้อยู่อาศัยในราคาถูกตามแนวสถานีรถไฟฟ้า โดยรฟม. มีความร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ(กคช.)ที่จะร่วมกันศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเมือง รวมถึงพัฒนาโครงการที่มีองค์ประกอบเพื่อให้เข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้สะดวกรวดเร็ว สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยให้กับประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2014 10:09 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมบูมลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ปี58 “บิ๊กจิน”ดันครม.อนุมัติรวมกว่า 4.6 แสนล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กันยายน 2557 19:44 น.
ปี58ประเดิมลงทุน4.6แสนล้าน รวบรถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่พร้อมกัน
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 28 กันยายน 2557 20:49 น.

“ประจิน”ตั้งเป้าปี 58 ดันครม.อนุมัติรถไฟฟ้า 7 สาย วงเงินกว่า 3.5 แสนล.และรถไฟทางคู่ 6 สายทาง วงเงินอีกกว่า 1.1 แสนล. พร้อมเคาะงบโครงข่ายขนส่งทางบก 10 ปี (2558 – 2567) ลงทุน 8.7 แสนล. แต่ยังไม่รวมค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า,มอเตอร์เวย์ที่เปิดทางให้เอกชนร่วมทุน PPP หรือใช้เงินกู้ ดีเดย์ 1ม.ค.58 BMCL ขึ้นค่าโดยสารรถไฟใต้ดินตามสัญญา ยันไม่ใช่เงื่อนไขต่อรองเจรจาเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์คชอป) ด้านการคมนาคมขนส่งทางบกเมื่อวันที่ 27 กันยายน ได้สรุปแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทางบกในปีงบประมาณ 2558 - 2559 วงเงินรวม 66,025.79 ล้านบาท ส่วนระยะเวลา 10 ปี (2558 – 2567) มีกรอบวงเงินลงทุนรวม 8.7 แสนล้านบาท ซึ่งจะยังไม่รวมการลงทุนในส่วนที่ใช้เงินกู้ ส่วนที่ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP โดยจะสรุปตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้งหลังการเวิร์คชอปคมนาคมทางอากาศและทางน้ำแล้วเสร็จ ซึ่งส่วนใหญ่ส่วนที่จะใช้เงินกู้ และร่วมทุนเอกชนนั้นจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เป็นต้น

ทั้งนี้ ได้ตั้งกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 7 สายวงเงินรวมประมาณ 355,937 ล้านบาทให้ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเปิดประกวดราคาในปี 2558 ถือเป็นการเริ่มต้นผูกพันโครงการได้ ประกอบด้วย

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 18.4 กม. วงเงิน 58,878 ล้านบาท
2. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 58,303 ล้านบาท
3. สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 110,325 ล้านบาท
4. สีเหลือง(ลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 56,110 ล้านบาท
5. สีแดง (บางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 6.5 กม. และ (บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก) ระยะทาง 19 กม. วงเงินรวม 38,469 ล้านบาท
6. สีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 5,412 ล้านบาท และ
7. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 28,440 ล้านบาท

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่นั้น จะดำเนินการในปี 2558 รวม 6 สายทาง วงเงินรวมประมาณ 118,699 ล้านบาทประกอบด้วย
1. ฉะเชิงเทรา-คลอง19-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม.วงเงิน 11,348 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา
2. ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,152.70 ล้านบาท พร้อมเสนอครม.ขออนุมัติ
3. ประจวบคีรีขันธ์ –ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,452.53 ล้านบาท อยู่ระหว่างนำเสนอขั้นตอนพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ครั้งสุดท้าย และ
4. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงินวงเงิน 29,855 ล้านบาท
5. นครปฐม –หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 16,600 ล้านบาท
6. ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,292 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจะเร่งรัดให้เปิดประกวดราคาแล้วเสร็จในปี 2559 ทั้ง 6 เส้นทาง

“ความจริงรถไฟฟ้าสายสีชมพูพร้อมเสนอครม. ได้ภายในปลายปี 2557 นี้แล้วแต่เห็นว่าควรรอการพิจารณารูปแบบการลงทุนของรถไฟฟ้าทั้ง 6 สายให้เรียบร้อยก่อนเพื่อให้การเงินเป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อน คาดว่าจะเสนอครมได้ต้นปี 58 โดยในช่วง 3 เดือนปลายปี 57 นี้ (ต.ค.-ธ.ค.) จะเป็นการดำเนินการเรื่องสำรวจออกแบบ เวนคืนดิน (ใช้งบประมาณ) และสรุปรูปแบบการลงทุนก่อสร้าง (ใช้ เงินกู้ หรือร่วมทุนเอกชน PPP)”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

ส่วนปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นทางของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประ เทศไทย (รฟม.) นั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ได้เร่งรัดให้แก้ไขให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทั้งปัญหาการเวนคืน ความซ้ำซ้อนระหว่าง รฟม. กับกรุงเทพมหาคน (กทม.) หรือกับหน่วยงานในกระทรวงคมนาคมเอง เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ที่ได้จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้วเสร็จมานานแล้ว แต่กระทรวงฯยังไม่เสนอ ครม. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) ยังมีปัญหาการเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างบริเวณแยกบางพลัด และสามแยกไฟฉาย เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการก่อสร้างของ กทม.

รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ยังมีปัญหาสัญญาที่3 (งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณคลองไผ่) ซึ่งบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE เป็นผู้รับเหมา กรณีการผลิตโครงสร้างเหล็กหลังคาและขาด แคลน แรงงานฝีมือ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานแล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการลงทุนระบบขนส่งทางบกนั้นมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลง 2% จากปัจจุบัน 15.2 % ให้เหลือ 13% ขนส่งสินค้าทางรางจาก 2.5% เป็น 5 % ลดสัดส่วนการเดินทางระหว่างจังหวัดด้วยรถยนต์ส่วนตัวลงจาก 59% เหลือ 40% ซึ่งจะต้องมีการจัดรถขนส่งมวลชน และรถสาธารณะให้เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยจะมีการซ่อมแซมเส้นทางรถไฟในปัจจุบันให้มีมาตรฐานแข็งแรง มีการปรับเปลี่ยนไม้หมอนเก่าเป็นหมอนคอนกรีต สร้างมาตรการต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อป้องกันเหตุรถไฟตกราง และก่อสร้างเส้นทางเพิ่มในจุดคับคั่ง แออัด ลดเวลาในการจอดรถสับหลีก เพื่อเพิ่มความเร็วของรถไฟ ในส่วนของการขนส่งสินค้า จากเฉลี่ย 39-40กม./ชม. เป็น 50-55-60 กม./ชม. ส่วนผู้โดยสารเพิ่มความเร็วจาก 50 -60กม./ชม เป็น 100 กม./ชม.

พล.อ.อ.ประจินกล่าวถึงการปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล MRT ว่า บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ผู้รับสัมปทาน ได้ทำหนังสือยืนยันตรึงอัตราค่าโดยสารเดิมออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทำให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 จึงจะมีการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารใหม่ตามสัญญาสัมปทานที่ได้กำหนดไว้ โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคมและผู้เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ

ทั้งนี้ การเจรจาตรึงค่าโดยสารครั้งนี้จะไม่มีผลต่อการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร ซึ่งหลักในการพิจารณา คือ ประชาชนต้องได้รับความสะดวกในการใช้บริการ หากนำ2 เรื่องมาเชื่อมโยงกันจะทำให้งานไม่สำเร็จ และประชาชนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทันที

//-------------------

‘ประจิน’ นัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ถกแก้ปัญหาขนส่งทั้งระบบ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 27 ก.ย. 2557 13:00

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ(Workshop) "แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งทางบก" โดยมีข้าราชการในสังกัดเข้าร่วมการรับฟังปัญหา ณ อาคารสโมสร กระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2014 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวล่าสุด เกี่ยวกะโครงการรถไฟฟ้ารางเดียวสายเหลือง - คราวนี้ รฟม. และ สนข. ทำท่าจะมีปัญหากะ ทางโตโยต้า (ประเทศไทย) กะ สกุล ว่องไววิทย์เสียแล้ว เพราะ สถานีปลายทางสำโรงที่จะต่อกะ รถไฟฟ้าสายเขียว เพราะ ในเวอร์ชันใหม่มีการเวนคืนที่ไปโดนที่ โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า (ประเทศไทย) กะ สกุล ว่องไววิทย์ กะ ที่ ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แถวย่านสำโรง เข้าให้ เพราะ ตอนแรก สนข. กำหนดว่าปลายรางอยู่หน้าโรงงาน แต่เวอร์ชัันใหม่ของ สนข. จะเอ าที่โรงงานและบริเวณใกล้เคียง ตามคำแนะนำของบริษัทที่ปรึกษา และ บริษัทที่ปรึกษา หมายใจจะเวนคืนที่กรมทางหลวง ทำที่จอดรถ park and ride กรมทางหลวงทำท่าจะไม่ยอมเอาง่ายๆเสียแล้ว - งานนี้ต้องเดือดร้อนปลัดกระทรวงคมนาคม เรียกบริษัทที่ปรึกษา และ บรรดาผู้ได้รับความเดือดร้อย มาคุยกัน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเตรียมแผนในการทำทางรถไฟฟ้าสายเหลืองต่อขยายข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไป เชื่อมกะ สายสีม่วงตอนใต้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2014 7:43 am    Post subject: Reply with quote

สบน.กู้เงินแสนล้านสร้างรถไฟฟ้า
ไทยรัฐออนไลน์ 6 ต.ค. 2557 07:01

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า ในปีหน้า (2558) สบน.จะกู้เงินจากแหล่งเงินทุนในประเทศวงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง แบ่งเป็นการลงทุนในโครงการใหม่ 44,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กม.วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 29,000 ล้านบาท และ
สายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 39.6 กม.วงเงินค่าก่อสร้าง 110,000ล้านบาท
และรวมถึงรถไฟรางคู่ เส้นจิระ (โคราช)-ขอนแก่น
ส่วนที่เหลืออีกราว 56,000 ล้านบาท จะเป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นต้น

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทาง แคราย-มีนบุรีระยะทาง 34.5 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 58,300 ล้านบาท และ
เส้นสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 56,100 ล้านบาท
คาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสายหากมีความพร้อม โดยเฉพาะในเรื่องการเวนคืนและการทำเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็สามารถเลื่อนโครงการขึ้นมาดำเนินการก่อนได้

ทั้งนี้ โครงการ 2.4 ล้านล้านบาท จะใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้นทุนทางการเงินยังอยู่ในระดับต่ำ ที่ สบน.สามารถบริหารจัดการได้ ส่วนจะใช้เงินกู้จากแหล่งเงินต่างประเทศหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลไทยจะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษหรือไม่

สำหรับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งช่วงปี 2558- 2565 ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรใน กทม.-ปริมณฑล โดยการพัฒนาระบบ รถไฟได้วางแผนเร่งด่วนในการลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ 6 เส้นทาง จากทั้งหมด 17 เส้นทาง คือ เส้นทางจิระ (โคราช)-ขอนแก่น, เส้นทางประจวบ-ชุมพร, เส้นทางนครปฐม-หัวหิน, เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, เส้นทางมาบกะเบา-จิระ และเส้นทางหัวหิน-ประจวบ รวมระยะทาง 887 กิโลเมตร งบประมาณ 127,000ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังปรับเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 สาย เป็นรถไฟรางคู่มาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทาง เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี- แหลมฉบัง ระยะทาง 655 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 348,000 ล้านบาท และเส้นหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุต ระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2014 11:06 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่ออืด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 03 ตุลาคม 2014 เวลา 12:44 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,989 วันที่ 5 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รฟม.มึน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงส่อแววล่าช้าอีก หลังกลุ่มธุรกิจในพื้นที่สำโรง-สมุทรปราการที่นำโดยกลุ่มว่องไววิทย์และโตโยต้าบุก รฟม.ร้องเรียนกรณีเวนคืนพื้นที่สร้างความเดือดร้อน แถมผลขอใช้พื้นที่ของกรมทางหลวงยังไม่สำเร็จอาจต้องชง "สร้อยทิพย์" ชี้ขาด
แหล่งข่าวระดับสูงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าล่าสุดมีกลุ่มธุรกิจย่านพื้นที่สำโรง-สมุทรปราการนำโดยกลุ่มบริษัท ว่องไววิทย์ฯและกลุ่มบริษัทโตโยต้าฯเข้าร้องเรียนต่อนายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการผู้ว่าการ รฟม.เรื่องการเวนคืนพื้นที่ช่วงสำโรง-ปู่เจ้าสมิงพรายเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง เนื่องจากจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของหลายกลุ่ม อาทิ โรงงานประกอบรถยนต์บริษัท โตโยต้า(ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มว่องไววิทย์นั้น จึงสั่งให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาคือบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัดเข้ารายงานข้อเท็จจริงโดยเร็ว

"เบื้องต้นพบว่าจะมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในแนวเส้นทาง โดยประเด็นหลักอยู่ที่จุดตัดระหว่างสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ กับสายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ที่จะต้องใช้พื้นที่ของบริษัท ว่องไววิทย์ฯ โรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัท โตโยต้าฯและพื้นที่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์อีกหลายแปลง ประการสำคัญยังมีอีกหลายโรงงานได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วยผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่สำโรงจึงต้องมาทวงถามข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไรกันแน่"
ด้านแหล่งข่าวจากผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่งในพื้นที่สำโรงที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการ กล่าวว่า เรื่องนี้ได้มีการหารือร่วมกันกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) มาแล้วตั้งแต่ปี 2552 โดยช่วงแรกบอกเพียงว่าแนวเส้นทางจะสิ้นสุดบนถนนด้านหน้าโรงงาน แต่ล่าสุดกลับจะวกเข้ามาใช้พื้นที่ของโรงงานจนทำให้บ้านเรือนอีกหลายหลังได้รับผลกระทบตามไปด้วยนั้น แม้ว่ากลุ่มที่ปรึกษาจะอ้างว่าโครงการนี้เป็นรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล ใช้พื้นที่ตอม่อขนาดเล็กกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสก็ตาม
"กรณีนี้มีการเจรจาร่วมกันจริงแต่ยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ โดยแขวงการทางสมุทรปราการอยู่ระหว่างนำเสนอนายชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวงคนใหม่ ชี้ชัดหรืออาจต้องให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เห็นชอบก่อนเพราะเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมทั้ง 2 หน่วย โดยเฉพาะจุดพาร์กแอนด์ไรด์ที่จะใช้พื้นที่ของแขวงไปดำเนินการพัฒนาเชิงพาณิชย์ แต่เนื่องจากเป็นที่เวนคืนมาจึงไม่สามารถนำไปใช้หาประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ในเบื้องต้นจะมีการสร้างอาคารสำนักงานให้กับแขวงการทางเพื่อเป็นการชดเชย ล่าสุดสายสีเหลืองนี้ยังมีความพยายามที่จะขยายแนวออกไปยังปู่เจ้าสมิงพรายเพื่อเชื่อมกับสายสีม่วงใต้ที่ราษฎร์บูรณะจึงต้องปรับเปลี่ยนจุดสิ้นสุด ดังนั้นจึงไม่ต้องเวนคืนโรงงานใกล้เคียงให้ได้รับความเดือดร้อนอีก ไม่ว่าจะเป็นจุดสิ้นสุด ศูนย์ซ่อมบำรุงหรือปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการขยายแนวเส้นทางก็ตามควรชัดเจนตั้งแต่แรก จึงต้องมานำเสนอให้ผู้บริหารรฟม.เห็นถึงความเดือดร้อนของผลกระทบในครั้งนี้"
ด้านนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ(ด้านบริหาร)และในฐานะรักษาการผู้ว่าการรฟม.กล่าวยืนยันว่าแนวคิดเรื่องการขยายแนวเส้นทางออกไปจากที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ขอดำเนินการในส่วนที่มีอยู่เดิมให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนเท่านั้น เช่นเดียวกับช่วงปู่เจ้าสมิงพรายที่ในอนาคตจะสามารถต่อเชื่อมไปยังพื้นที่ราษฎร์บูรณะเพื่อเชื่อมโยงกับสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะได้อีกด้วย จึงได้ชี้แจงผู้ร้องเรียนไปในเบื้องต้น
"ได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งไปหารือร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาและผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่เพื่อรายงานข้อเท็จจริงให้ทราบแล้วโดยให้เร่งหาข้อสรุปที่ยอมรับด้วยกันทุกฝ่ายแล้วเสร็จเดือนตุลาคมนี้ ประเด็นหลักคือให้ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับประโยชน์กันทุกฝ่ายจริงๆ"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100 ... 278, 279, 280  Next
Page 99 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©