Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181434
ทั้งหมด:13492672
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 174, 175, 176 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชาวเกษตรศาสตร์ต่อต่านทางด่วนขั้นที่ 3 ได้แรงพอๆ กะ พวกบ้านครัวแฮะ แม้จะยอมให้สร้างโมโนเรลได้ ตามข่าวต่อไปนี้

อาจารย์นิสิตเกษตรฯ ร้อง “บิ๊กตู่” คว่ำโครงการทางด่วนใกล้ ม. ชี้สร้างรถไฟฟ้ามีประโยชน์กว่า
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 15:25:00
ปรับปรุง: 21 กุมภาพันธ์ 2561 18:10:00


Click on the image for full size

Click on the image for full size

Arrow https://goo.gl/Mu8rZA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2018 11:53 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เร่งรถไฟ5เมืองหลักหนุนเศรษฐกิจภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ 22 ก.พ. 61
นโยบายเศรษฐกิจ


ระทึกรถไฟฟ้า 480 กม.
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
22 กุมภาพันธ์ 2561 09:55

รมช.คมนาคม ชูรถไฟฟ้าแก้รถติด
กรุงเทพธุรกิจ
22 กุมภาพันธ์ 2561 298
"ไพรินทร์" มองระบบรถไฟฟ้าแก้ปัญหารถติด เพิ่มทางเลือกการเดินทางประชาชน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ากรณีที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีกังวลและข้อร้องเรียนเรื่องฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี และระบบทางด่วนโดยต้องการให้สร้างเพียงโครงการรถไฟฟ้าเท่านั้น ประเด็นดังกล่าวในอดีตที่ผ่านมามีโครงการระบบทางด่วนที่อยู่เหนือคลองประปา ซึ่งในช่วงแรกก็มีความกังวลเรื่องฝุ่นละอองเช่นกัน แต่เมื่อผ่านไป 30 ปี ก็ไม่เกิดผลกระทบ ทั้งเรื่องเสียง และเรื่องมลภาวะ ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจและหารือเพื่อทำความเข้าใจพร้อมกับสรุปของโครงการ

ขณะที่ปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ ที่แออัดเป็นลำดับต้นๆของโลก เชื่อว่าเพราะระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยรวมยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเลือกใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง แต่ในอีก 4-5 ปีข้างหน้าเมื่อโครงการรถไฟฟ้าระยะที่ 1 จำนวน 11 สาย ระยะทาง 480 กิโลเมตรแล้วเสร็จ ก็จะทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางด้วยระบบราง

ดังนั้นทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. และ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก หรือ คจร. กำลังศึกษาถึงมาตรการในการนำมาใช้กับถนนตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณการจราจรให้น้อยลง แต่มาตรการจะออกมาในรูปแบบใดนั้นคงต้องรอการตรวจสอบปริมาณการจราจรอีกครั้ง

รถไฟฟ้า 11สาย พลิกโฉมกรุงเทพ ดันอสังหาฯโต
กรุงเทพธุรกิจ
22 กุมภาพันธ์ 2561

รถไฟฟ้า 11 เส้นทาง ครอบคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 500 กม. พลิกโฉมมหานครกรุงเทพฯ ดันตลาดที่อยู่อาศัยเกาะแนวรถไฟฟ้า-รอบเมืองโต “ออมสิน”ชี้สินเชื่อบ้านมีโอกาสขยายตัว หลังดีเวลอปเปอร์พัฒนาโปรดักท์หลากหลาย

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าแนวทางการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงกรุงเทพฯ และปริมณฑล 11 สาย โดยเส้นทางล่าสุดคือสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ระยะทางกว่า 20 กม. ซึ่งคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบหลักการสายล่าสุด โดยเมื่อทุกเส้นทางก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีเส้นทางรวม 480 กม. ทำให้กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในมหานครติดอันดับ “ท็อป5” ของโลกที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงพื้นที่กลางเมืองสู่นอกเมืองยาวที่สุด รวมทั้งมีการเชื่อมโยงการเดินทางระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งระบบราง ถนน อากาศ และน้ำ เป็นระบบขนส่งเดียวแบบไร้รอยต่อ

การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เชื่อมโยงพื้นที่นอกเมือง เป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ ตามเส้นทางรถไฟฟ้าประเภทคอนโด รวมทั้งที่อยู่อาศัยนอกเมือง โดยใช้ระบบขนส่งรถไฟฟ้าในการเดินทาง นอกจากนี้จะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รูปแบบต่างๆ ในพื้นที่สถานีกลางเชื่อมโยงรถไฟฟ้าเส้นต่างๆ

ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีคนอาศัยอยู่กว่า 10 ล้านคน หลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้ดำเนินการครบทุกเส้นทาง จะทำให้มีคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น หรือระดับ 15-17 ล้านคน ทั้งกลุ่มทำงาน นักศึกษา ถือเป็นโอกาสของผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั้งแนวรถไฟฟ้าและรอบเมือง

ที่ดินเกาะแนวรถไฟฟ้าพุ่งแรง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการ 4 เส้นทาง ระยะทางกว่า 100 กม. คิดเป็นสัดส่วน 6% ของจำนวนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และเมื่อเปิดให้บริการครบทุกเส้นทางภาครัฐวางเป้าหมายสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 20%

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ให้บริการมากว่า 17-18 ปี ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 9% ปัจจุบันยอดผู้ใช้วันธรรมดา 7-8 แสนคน คาดว่าหลังจากสายสีชมพูและสายสีเหลืองเปิด ทั้ง 3 สายจะมียอด 1.5 ล้านคน/วัน

ดังนั้นโครงข่ายรถไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเมือง รวมทั้งที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในอนาคต โดยจะมีคอนโดเกิดตาแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น และกระจายรอบนอกในเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมต่อ และพบว่ามช่วงปี 2553-561 ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าปรับขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ย 10% โดย่ใจกลางเมืองปรับขึ้นสูงกว่า ขณะที่ราคาที่ดินทั่วไปปรับขึ้นเฉลี่ยปีละ 3%

“กรุงเทพฯ กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อรถไฟฟ้าเสร็จทั้งหมด คนจะเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น และเป็นมืองสมัยใหม่ รอบสถานีมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์มากขึ้น เป็นปัจจัยส่งเสริมตลาดอสังหาฯเติบโต”

รถไฟฟ้าหนุนคอนโดเติบโต

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาฯ ยังเติบโตด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ จีดีพีขยายตัว รวมทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคม ทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน ถนนตัดใหม่ โดยรถไฟฟ้าสายแรกสีเขียว อยู่ในใจกลางเมือง แต่การขยายเส้นทางสายอื่นๆ กระจายออกจากย่านธุรกิจสู่พื้นที่รอบนอก ปัจจุบันยังไม่เป็นเครือข่ายเชื่อมทุกเส้นทาง แต่อีก 6-7 ปี จะเห็นการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ และเป็นใยแมงมุมเมื่อครบทุกเส้นทางใน 10 ปีข้างหน้า ถือเป็นโอกาสของคอนโด ที่เป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ๆ จากเดิมกระจุกตัวในเส้นทางรถไฟฟ้าสายเดิม ซึ่งการเริ่มก่อสร้างเส้นทางใหม่ ส่งผลให้มีจำนวนยูนิตคอนโดเปิดในปีที่ผ่านมากว่า 5.6 หมื่นยูนิต แต่กระจายตัวมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยตลาดใหญ่ยังอยู่ที่ราคา 2-4 ล้านบาทต่อยูนิต

ปีที่ผ่านมาคอนโดใหม่มียอดขายสูงถึง 60-70% จาก 2-3 ปีก่อนอยู่ที่ 40-50% จากปัจจัยการเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ คาดว่าปีนี้จำนวนยูนิตเปิดใหม่ในตลาดคอนโดใกล้เคียงปีก่อน แต่พบว่ามีบางทำเลยังอยู่ในภาวะยังอยู่ในภาวะโอเวอร์ซัพพลาย เช่น เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง

“ในอีก 5 ปีหลังจากนี้ การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายใหม่อย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ ทุกอย่าง อยู่ที่ดีเวลลอปเปอร์แต่ละราย ว่าจะเลือกโปรดักท์ ประเภทใดมาพัฒนา เพื่อเจาะกำลังซื้อแต่ละพื้นที่ และเป็นปัจจัยผลักดันตลาดที่อยู่อาศัยขยายตัว”

นายธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดคอนโดแนวรถไฟฟ้า และพื้นที่ใกล้เคียงเส้นทางรถไฟฟ้า ยังมีโอกาสพัฒนาได้หลายเซ็กเมนต์ ทั้งกลุ่มที่อยู่ติดรถไฟฟ้า สำหรับตลาดบน และต่างชาติ ซื้อลงทุน รวมทั้งทำเลเข้าซอยที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า ยังมีโอกาสสำหรับตลาดระดับกลาง

สินเชื่อที่อยู่อาศัยโอกาสโต

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่า แนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ยังมีโอกาสขยายตัว จากการเติบโตของโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ ซึ่งปีที่ผ่านมาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนยูนิตเพิ่มขึ้น 3.5% โดยยอดขายโต 5.5% ขณะที่มูลค่าเพิ่ม 11% สะท้อนราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะคอนโดติดแนวรถไฟฟ้า จากราคาที่ดินปรับตัวสูง

ปัจจุบันพบว่าข้อจำกัดด้านที่ดิน ซีบีดี สำหรับพัฒนาที่อยู่อาศัยมีน้อยลง แม้ราคาอสังหาฯ ย่านธุรกิจไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แต่ถือว่ายังถูกกว่า ฮ่องกง สิงคโปร์ ทำให้มีดีมานด์จากกลุ่มต่างชาติ เข้ามาสนับสนุน จึงยังเห็นการลงทุนพัฒนาโครงการของดีเวลลอปเปอร์ ในพื้นที่เมืองเกาะแนวรถไฟฟ้า

อย่างไรก็ตามจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายประเภท และเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย ดังนั้นมองว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโต ทุกสถาบันการเงินยังคงให้ความสำคัญกับการขยายพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นการปล่อยกู้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ปัจจุบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วน 22.8% ต่อจีดีพี ยังมีโอกาสเพิ่มได้อีก เมื่อเทียบกับ มาเลเซีย อยู่ที่ 30-40% และยุโรป 60-70%


Last edited by Wisarut on 23/02/2018 12:42 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2018 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

เมิน'ม.เกษตรฯ'ต้านทางด่วน คมนาคมเดินหน้าก่อสร้าง
พฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 21.32 น.

คมนาคม เผยกรณีชาว ม.เกษตรฯ ร้องขอแค่สายสีน้ำตาลไม่เอาทางด่วน ยันต้องมีควบคู่กันไปหลัง คจร.เคาะให้สร้าง ลุยเดินหน้าต่อ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกรณีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และชาวบางบัว เขตบางเขน คัดค้านก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ทดแทนช่วงเอ็น 1 และ เอ็น 2 แม้จะเลี่ยงผ่าน มก. ไปใช้แนวคลองบางบัว โดยก่อสร้างทางด่วนในโครงการเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ให้เหตุผลว่าควรเลิกสร้างทางด่วนในเขตเมืองที่เน้นขนรถก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อขนคนแทนลดปัญหามลพิษว่า ในอดีตมีโครงการก่อสร้างระบบทางด่วนเหนือคลองประปา ช่วงแรกกังวลเรื่องฝุ่นละออง แต่เมื่อผ่านไป 30 ปีก็ไม่เกิดผลกระทบขอให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจและพูดคุยกัน เพื่อหาข้อสรุปโครงการ



ด้านรายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและทางด่วนแล้ว จึงต้องดินหน้าโครงการต่อ โดยรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการก่อสร้าง เพราะเสนอโครงการไปแล้ว ใช้แนวตอม่อทางด่วนเดิมตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ ที่ก่อสร้างไว้เดิมไม่สามารถทุบทิ้งได้ คาดว่าเริ่มประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างภายในต้นปี 62 แต่ยอมรับว่าตอม่อที่สร้างไว้ออกแบบไว้รองรับทางด่วนเท่านั้น ไม่สามารถรองรับโครงสร้างรถไฟฟ้าได้ต้องสร้างตอม่อรถไฟฟ้าใหม่.

//---------------------

ก. คมคนาคมแจง มก. ค้านสร้างทางด่วน ยันมีมาตรการป้องกันฝุ่น
ศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.22 น.


กระทรวงคมนาคม แจงกรณี ม.เกษตรฯ แถลงคัดค้านโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ยันหากก่อสร้างมีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างดี

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า กระทรวงคมนาคมขอชี้แจงกรณีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) แถลงข่าวคัดค้านโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ดังนี้ปัจจุบันระบบโครงข่ายถนนสายหลักตอนกลางที่รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างด้านตะวันออกกับตะวันตกของกรุงเทพฯ มีเพียงถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน และถนนประเสริฐมนูกิจ ซึ่งเป็นถนนระดับพื้นดิน แม้จะมีการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางแยก สร้างอุโมงค์รอดทางแยกที่เป็นจุดตัดหลายแห่ง บนถนนดังกล่าวแล้วก็ตาม

แต่ยังไม่สามารถรองรับปริมาณความต้องการการเดินทางที่มีมากกว่าความจุของโครงข่ายถนนดังกล่าวได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จนเกิดปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น การมีโครงข่ายทางพิเศษเชื่อมต่อระหว่างวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันออกกับด้านตะวันตก จะช่วยลดปัญหาการจราจรบนถนนระดับพื้นดินในเขตเมือง ทำให้การเดินทางระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น และยังเป็นการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายการเดินทางด้วยทางพิเศษให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น



ซึ่งการสร้างและเชื่อมทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2, E-W Corridor และโครงข่ายทางด่วนทดแทน N1 เพื่อต่อเชื่อมกับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ จะช่วยแยกปริมาณจราจรที่ต้องการเดินทางข้ามพื้นที่กลางเมือง (Through traffic) ออกจากปริมาณจราจรในพื้นที่ (Local traffic) จึงเป็นการช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนงามวงศ์วาน และถนนรัตนาธิเบศร์ทำให้ผู้ใช้ถนนดังกล่าว สามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ส่งผลให้มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจรติดขัดบนถนนทั้ง 3 สายลดลง

สำหรับการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2, E-W Corridor และทางด่วนทดแทน N1 ซึ่งจะมีแนวเส้นทางต่อจาก N2 บริเวณแยกบางบัวขึ้นไปด้านเหนือเรียบขนานคลองบางบัว ไปจนถึงถนนวิภาวดีรังสิตแล้วคู่ขนานกับถนนวิภาวดีรังสิตมาทางด้านใต้จนถึงแยกรัชวิภา แล้วเชื่อมต่อกับทางเชื่อมดอนเมืองโทลเวย์กับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ โดยไม่ผ่าน ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งจะทำให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อระหว่างวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกกับด้านตะวันออกได้โดยสะดวก และรวดเร็ว การดำเนินโครงการทางด่วนดังกล่าวนี้ ได้กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ


รวมถึงการติดตามผลกระทบอย่างต่อเนื่องด้วย เช่น การติดตั้งกำแพงกั้นเสียง สองข้างทางของทางด่วน เพื่อลดผลกระทบด้านเสียง และฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย ตัวอย่างเช่น ทางด่วนขั้นที่ 2 ช่วงที่สร้างค่อมคลองประปาที่ประชาชนเคยวิตกกังวลกัน ก็ได้มีการดำเนินมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยกระทรวงคมนาคมจะประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิดในการกำหนดมาตรการด้านฝุ่นละอองให้ครอบคลุมต่อไปด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของ สนข. ภายใต้โครงการศึกษาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) เพื่อทดแทนแนวเส้นทาง N1 .
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 11 สาย ติดท็อปไฟว์โลก!
ฐานเศรษฐกิจ 25 February 2018

คมนาคมลุยโครงข่าย ‘รถไฟฟ้า’ ทั่วกรุงเทพฯ 11 เส้นทาง ระยะทางร่วม 500 กิโลเมตร ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ระบบราง-บก-น้ำ-อากาศ-ครบทุกลูป ไร้รอยต่อ พลิกโฉมกรุงเทพฯ ติดท็อปไฟว์มหานครโลก

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปาฐกถาในงานสัมมนาทิศทางอสังหาริมทรัพย์ ปี 2561 ‘MEGA MOVE : พลิกโฉมมหานครกรุงเทพฯ’ จัดโดย บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด ว่า อนาคตอีก 5-10 ปี กรุงเทพมหานครจะเป็นมหานครที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่นจากปัจจุบันที่มีกว่า 10 ล้านคน ก็จะเพิ่มเป็น 15-20 ล้านคน เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน การค้า กับอสังหาริมทรัพย์ และมีเมืองอุตสาหกรรมที่รองรับการคมนาคมเป็นเมืองบริวาร ซึ่งเมืองที่ทำได้ดี คือ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เหมือนที่เมืองโยโกฮามารองรับมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ปั้น ‘อีอีซี’ รับมหานคร กทม.

อดีต 30 ปีที่ผ่านมา ไทยประสบความสำเร็จในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) สร้างพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง, ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มีจีดีพีที่เติบโต ในรัฐบาลชุดนี้ก็ต่อยอดเป็นพื้นที่อีอีซี พร้อมวางแผนสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมกับกรุงเทพฯ มีทั้งโครงการรถไฟ, รถไฟฟ้า, ท่าเรือ, สนามบิน และทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) โดยโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ และดอนเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ จะเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายนี้

Click on the image for full size

นอกจากโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินแล้ว ยังมีระบบถนนพิเศษ ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก ทางกระทรวงคมนาคมมีแนวคิดจะสร้างมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง ทางพิเศษที่มีการควบคุม ทำให้การเดินทางออกต่างจังหวัดสะดวกและปลอดภัย โดยเส้นทางที่ 1 มอเตอร์เวย์เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด, เส้นทางที่ 2 บางปะอิน-นครราชสีมา และเส้นทางที่ 3 บางใหญ่-กาญจนบุรี (ออกไปทางตะวันตกและตะวันออก)

ระบบราง กำลังทำรถไฟทางคู่ สามารถขนคนและขนสินค้าได้เพิ่มถึง 4 เท่าตัว ใช้ความเร็วสูงได้ เหมือนนั่งรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ขณะนี้เสร็จไปแล้วกว่า 1,000 กิโลเมตรแล้ว จาก 3,000 กิโลเมตร

อนาคตหากสำเร็จตามแผน ทางคู่จะเป็นคู่แข่งกับสายการบินโลว์คอส “โครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่กล่าวมา กระทรวงคมนาคมพยายามจะให้มีการอนุมัติและสรรหาผู้ลงทุนก่อสร้างให้ได้ภายในปีนี้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ลงทุนมีความมั่นใจว่า ระบบโครงการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอนาคต”

ปี 62 ทยอยเปิดสายใหม่!

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ตามแผนแม่บทมี 10 เส้นทาง ปัจจุบันสร้างเสร็จบางส่วน 5 เส้นทาง ความยาวกว่า 100 กิโลเมตร ถ้าสร้างเสร็จครบ 10 เส้นทาง จะมีระยะทาง 464 กิโลเมตร ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองมหานครระดับท็อปไฟว์ ที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าความยาว 400 กิโลเมตร มากกว่ากรุงลอนดอน ที่วันนี้มีอยู่กว่า 200 กิโลเมตร โดยลักษณะโครงข่ายรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ จะมีระบบอยู่ตรงกลางและมีแขนยื่นออกไปทางเมืองรองของกรุงเทพฯ

ทั้งนี้ ในกลางปี 2562 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค เปิดให้บริการ และปีถัดไป สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ก็จะเปิดเดินรถ การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะครบลูปเป็นวงกลม นอกจากนี้ ในปี 2563 รถไฟฟ้าสายสีแดงจะเปิดบริการ ซึ่งสายสีแดงถือเป็นเส้นหลัก ปัจจุบันเริ่มจากดอนเมืองไปบางซื่อ อนาคตด้านเหนือจะขยายไปถึงเชียงรากน้อย ด้านใต้จาะสถานีกลางบางซื่อจะขยายไปถึงมหาชัย ถือเป็นเส้นที่เชื่อมเหนือ-ใต้

โดยมีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางระบบรางใหม่แทนหัวลำโพง มีอาคารผู้โดยสารใหญ่กว่าสนามบินสุวรรณภูมิ รถใต้ดินมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ด้านบนชั้น 3-4 มีราง ชั้นละ 12 ราง รวม 24 ราง จะเป็นสถานีปลายทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ในอนาคตรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน กับรถไฟฟ้าสายสีแดง ก็จะอยู่ที่นั่น

นอกจากนี้ ยังมีรถไฟที่ไปเหนือ ใต้ อีสาน กลายเป็นสุวรรณภูมิย่อย จะเปิดบริการต้นปี 2563 นอกจากนี้ สถานีกลางบางซื่อยังมีพื้นที่ย่านสินค้าพหลโยธิน 4,000 ไร่ ที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นจุดเด่น ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยมอบให้ ‘ไจก้า’ ศึกษา ออกแบบเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยญี่ปุ่นเสนอให้ทำทางเดินลอยฟ้าจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต ไปจนถึงสถานีกลางบางซื่อ จะเป็นแหล่งช็อปปิ้งแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ โซนนี้

ไฟเขียว ‘สายสีน้ำตาล’

ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในวันที่ 21 ก.พ. 2561 ได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นรถไฟฟ้าสาย 11 เข้าสู่แผน M-MAP1 ทำให้โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ มีระยะทาง 480 กิโลเมตร ติดอันดับเป็นมหานคร TOP 5 ของโลก รัฐมนตรีช่วยคมนาคมกล่าว และย้ำตอนท้ายว่า “วันนี้กรุงเทพฯ กำลังอยู่ในช่วง Mass Urbanization รถไฟฟ้าขยายไปที่ไหน จะมีคอนโดฯ ตามไป เมื่อมหานครเจริญขึ้นคนรุ่นใหม่จะไปใช้ชีวิตอยู่คอนโดฯ เหมือนเมืองใหญ่ ๆ ในทั่วโลก”

……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,343 วันที่ 25-28 ก.พ. 2561 หน้า 01-02
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมไม่จบ! เทคโนโลยีไม่สะเด็ดน้ำ รฟม.อัปเกรดใช้บัตรเครดิตเทรนด์ 4.0
เผยแพร่: 26 ก.พ. 2561 07:33: ปรับปรุง: 26 ก.พ. 2561 13:18: โดย: MGR Online

ตั๋วร่วมยังไม่จบ รฟม.เปิดไอเดียปรับบัตรแมงมุมของ สนข. ก้าวกระโดดไปใช้เทคโนโลยีใหม่ EMV ใช้ผ่านเครดิตการ์ดรับยุค 4.0 ที่ไม่ใช้เงินสด ซึ่งอาจทำให้ต้องเริ่มต้นกันใหม่ เสียเวลาอีก 2 ปี ขณะที่ “ปลัดคมนาคม” เตรียมประชุมติดตาม คาดเร่งทำตามแผน เริ่มใช้ ต.ค. 61

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการ รฟม. (บริหาร) รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) เพื่อให้บริการในระบบรถไฟฟ้าว่า ขณะนี้มีแนวคิดในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa) ซึ่งเป็นการติดชิปเข้ากับเครดิตการ์ด เป็นแนวโน้มของโลกที่มีความทันสมัย ไม่ใช้เงินสด อีกทั้งยังเป็นการประหยัดต้นทุนในการออกบัตร ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้เห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว เนื่องจากเหมาะกับอนาคตยุค 4.0 โดยจะเสนอแนวคิดต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมที่มี นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในวันที่ 26 ก.พ.นี้

หลักการจะต้องหารือกันว่าจะใช้ระบบตั๋วร่วมในรูปแบบเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตามเดิมและค่อยพัฒนาเป็นเทคโนโลยี EMV ในระยะ 2 ปีต่อไป หรือจะใช้ระบบ EMV ตั้งแต่เริ่มต้นนี้เลย ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบจะต้องหารือกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อเตรียมพร้อมทั้งในด้านการปรับเทคโนโลยี และเงินลงทุน

“ขณะนี้มีเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย คือ EMV จึงมีมุมมองว่ามาตรฐานกลางระบบแมงมุมที่ สนข.ออกแบบไว้กำลังจะเป็นระบบที่ล้าสมัย และในอีกไม่นานจะต้องปรับเป็น EMV อยู่ดี ดังนั้น ต้องมาดูว่าจะปรับตอนนี้เลยหรือจะทำตามมาตรฐานกลางที่ สนข.ออกแบบไปก่อนแล้วค่อยอัปเกรด บอร์ด รฟม.ให้ไปดูวิธีการให้เหมาะสมและมีประโยชน์มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการพัฒนาระบบตั๋วร่วมตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 มอบให้ รฟม.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารจัดการตั๋วร่วม และลงนาม MOU 2 ฉบับ คือ ความร่วมมือเพื่อดำเนินการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมระหว่าง รฟม. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบันทึกข้อตกลงเข้าดำเนินงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ระหว่าง รฟม. กับ สนข.ยังคงเดินหน้าตามแผนอยู่

รฟม.อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของ BEM ในการปรับปรุงระบบของรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินเพื่อรองรับตั๋วร่วม ซึ่งจะหารือกับ สนข.ในฐานะผู้ออกแบบระบบให้เป็นที่ปรึกษาช่วยตรวจสอบความเหมาะสมด้านการลงทุน เบื้องต้นคาดว่าจะมีค่าปรับระบบสายละ 125-140 ล้านบาท โดยจะพิจารณาอนุมัติให้เสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้เพื่อให้ BEM ดำเนินการปรับปรุงระบบให้เสร็จในเดือน ต.ค. 2561 ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เตรียมจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีกำหนดเปิดใช้ตั๋วร่วมในเดือน มิ.ย. 2561

อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาระบบตั๋วร่วมนั้นจะต้องให้ประชาชนทุกกลุ่มใช้ได้สะดวกที่สุด ซึ่งในส่วนของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หากปรับปรุงระบบเสร็จจะสามารถนำบัตรมาแตะเข้าระบบรถไฟฟ้าได้ทันที ส่วนบัตรแมงมุมจะยังเป็นบัตรกลางเหมือนเดิม

รายงานข่าวแจ้งว่า ทาง BEM ได้ยื่นแผนการปรับปรุงระบบตั๋วร่วมกว่า 2 เดือนแล้วแต่ รฟม.ยังไม่ตัดสินใจ ประกอบกับมีแนวคิดของ นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานบอร์ด รฟม.เห็นว่าควรพัฒนาใหม่เป็นระบบ EMV เลยซึ่งอาจจะทำให้ต้องเลื่อนการใช้ตั๋วร่วมออกไปอีกประมาณ 2 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เร่งระบบตั๋วร่วมดีเดย์ มิ.ย. ใช้รูดนั่งรถเมล์-ส.ค.แอร์พอร์ตลิงก์-รถไฟฟ้าหลากสี พ.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:23 น.

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 17-1/2561 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 โดยที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ดังนี้

1.การบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้บริการต่าง ๆ ในระบบตั๋วร่วม เพื่อจัดทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการในการบูรณาการการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะตามเป้าหมายที่กำหนด

2.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. …. อยู่ระหว่างกระทรวงฯ เสนอร่าง พ.ร.บ.ฯ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามแนวทางการจัดทำ และเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3.การนำระบบตั๋วร่วมในใช้ในการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน กำหนดเป้าหมาย ระบบรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. ภายในเดือนมิถุนายน 2561 ระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์) ภายในเดือนสิงหาคม 2561 และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีม่วง สีเขียว และสีน้ำเงิน ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561

สำหรับในระยะต่อไปจะสามารถใช้บริการระบบตั๋วร่วมได้ครอบคลุมทุกระบบการขนส่ง ได้แก่ ระบบทางพิเศษ เรือโดยสาร และรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ รวมทั้งสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสดจากร้านค้าต่างๆ ที่เข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางได้ตามแผนที่กำหนดไว้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2018 10:26 am    Post subject: Reply with quote

เลื่อนไปเรื่อยๆ ! ตั๋วร่วมรถเมล์ ใช้ได้มิ.ย. ส่วนรถไฟฟ้าขยับไป ปลายปี 61
โดย: MGR Online

เผยแพร่: วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 07:50:


คมนาคม เร่งรฟม. และทุกส่วนงาน เปิดใช้ระบบตั๋วร่วมตามกำหนด ล่าสุด พบความล่าช้าและต้องขยับแผนอีก โดยรถเมล์จะใช้ได้ เดือนมิ.ย. ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์ เลื่อนเป็นส.ค. จากเดิมกำหนดจะใช้ในเดือนมิ.ย. รถไฟฟ้าสีม่วง,น้ำเงิน,เขียวเลื่อนจากแผนเดิม ต.ค. ไปเป็น พ.ย.61

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 17-1/2561 เพื่อติดตามความก้าวหน้า การดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดยมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้แทนจากกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ เข้าร่วมนั้น

พบว่า การบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) รฟม. อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้บริการต่าง ๆ ในระบบตั๋วร่วม เพื่อจัดทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการในการบูรณาการการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะตามเป้าหมายที่กำหนด

ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... อยู่ระหว่างกระทรวงฯ เสนอร่าง พ.ร.บ.ฯ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามแนวทางการจัดทำ และเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ส่วนการนำระบบตั๋วร่วมในใช้ในการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน กำหนดเป้าหมาย ดังนี้

- ระบบรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. ภายในเดือนมิถุนายน 2561
- ระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์) ภายในเดือนสิงหาคม 2561
- ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีม่วง สีเขียว และสีน้ำเงิน ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561

สำหรับในระยะต่อไปจะสามารถใช้บริการระบบตั๋วร่วมได้ครอบคลุมทุกระบบการขนส่ง ได้แก่ ระบบทางพิเศษ เรือโดยสาร และรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสดจากร้านค้าต่าง ๆ ที่เข้าร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางได้ตามแผนที่กำหนดไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2018 2:00 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: มก.ยันสนับสนุน'รถไฟฟ้าสีน้ำตาล' ค้าน'ทางด่วน'เต็มสูบ-ผลกระทบภาพรวมน่าห่วง
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 00:00:54 น.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมสนับสนุนการพัฒนา ด้วยระบบขนส่งมวลชน สายสีน้ำตาล เนื่องจากเป็นวิธีการเดินทาง ที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในเมือง ช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศเช่นปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็เดินหน้ายื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างทางด่วนทุกรูปแบบ หวั่นผลกระทบในภาพรวมน่าเป็นห่วงหลายด้าน เน้นย้ำให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการจราจรที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งประประกอบด้วย ผู้บริหารและนิสิตได้ยื่นหนังสือกราบเรียนหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อยืนยันในการเสนอให้ยกเลิกโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ และเห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ทดแทน โดยก่อนหน้านี้ได้ยื่นหนังสือไปแล้วเมื่อปี 2557 แต่จวบจนปัจจุบันก็มีข่าวจากสื่อต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องว่าจะยังคงมีการดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังมองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนสายหลักได้อีกด้วย

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการก่อสร้างทางด่วน พบว่าโครงการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างสูงต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสังคมโดยรอบ โดยตั้งแต่มีการเตรียมจัดทำโครงการดังกล่าวเมื่อปี 2555 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ยื่นหนังสือไปแล้วถึง 14 ฉบับ ในขณะนั้นกระทรวงคมนาคมได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และมีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นกรรมการร่วมด้วย ซึ่งผลการประชุมสรุปได้ว่า เห็นควรยกเลิกโครงการดังกล่าว

แต่จากการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมา กลับได้มีการหยิบยกโครงการ ก่อสร้างทางด่วนขึ้นมาอีกครั้ง ฉะนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงขอยืนยันยังคงเดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน และไม่สนับสนุนโครงการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ เนื่องจากการพิจารณาแล้วพบว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชน จึงวอนขอให้รัฐบาลควรมองหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายๆ ด้าน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาวมากกว่า

ด้าน ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารกิจการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว เพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นใน ที่ประชุมว่า มก. พร้อมสนับสนุนการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน คือ สายสีน้ำตาล เนื่องจากเป็นวิธีการเดินทางที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในเมือง ช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ซึ่งขณะนี้ กรุงเทพฯ กำลังประสบปัญหาฝุ่นละออง ที่เรียกว่า PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจได้ อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือด หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งฝุ่นละอองนี้มีสาเหตุหลักมาจากการใช้รถยนต์ การพัฒนาใดๆ ก็ตาม มก. จึงขอสนับสนุนการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน ไม่ส่งผลเสียต่อประชาชนในปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วิธีการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่ดีที่สุด ทำได้โดยการแก้ไขปัญหาที่ต้นน้ำนั้นก็คือ ลดการใช้รถยนต์ ดังนั้น การก่อสร้างทางด่วนบนแนวสายทางนี้ จะเป็นการดึงเอารถยนต์จำนวนมากผ่านเข้ามาในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัย ทำงาน และศึกษาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ดังนั้น มก. จึงสนับสนุนทางเลือกที่ 1 คือ พัฒนาเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับ แนวโครงข่ายทดแทน N1 ต่อจากนั้น ผู้แทนจากชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณแนวสายทาง เช่น ชุมชนบางบัว ชุมชนปัฐวิกรณ์ ผู้แทนจากหมู่บ้านธนะสิน ผู้แทนจากนวธานี ผู้แทนจากสภาวิชาการ ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ มก. ในการพัฒนาเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เพื่อลดผลกระทบจากมลพิษต่อประชาชนในเมือง ส่งเสริมให้มีการลดการใช้รถยนต์ และการสร้างทางด่วนบนรถไฟฟ้าไม่มีความจำเป็น เนื่องจากถนนเกษตร-นวมินทร์ มีปัญหาการจราจรติดขัดเฉพาะบริเวณทางแยก การสร้างสะพานลอยข้ามทางแยก ทุกแห่ง จะช่วยแก้ปัญหาได้เพียงพอแล้ว หากมีการสร้างทางด่วนบนรถไฟฟ้า จะต้องสร้างตอม่อเพิ่ม ปัจจุบัน ถนนเกษตร-นวมินทร์ มีตอม่อทุกระยะ 40 เมตร หากมีทางด่วน จะมีตอม่อเพิ่มเป็นทุกระยะ 20 เมตร ทำให้ทัศนียภาพแย่ลงมาก รวมไปถึงความกังวลของ ผู้แทนจากชุมชนยังมีความเป็นห่วงเรื่องการเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างทาง ต่างระดับเชื่อมเข้ากับทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) และบริเวณจุดขึ้นลงทางด่วนอีกด้วย

อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยากฝากให้รัฐบาลทบทวนแนวทางดังกล่าวอีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาประเทศการแก้ไขปัญหาการจราจรดำเนินไปอย่างมั่งคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2018 9:55 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งต่อขยายสาย “น้ำเงิน-เขียว-ส้ม-แดง” สนข.ชะลอพิมพ์เขียวรถไฟฟ้าเฟส 2
วันที่ 1 มีนาคม 2561 - 18:10 น.

เป็นที่แน่ชัด “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” จะเร่งบรรจุรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี” เป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11 ไว้ในแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-map) ใช้เวลาดำเนินการ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2572

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสารพัดสีมีการพัฒนาโครงการจนเกือบจะครบ 10 เส้นทาง ยังเหลือสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก) ระยะทาง 19 กม. สีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 8.5 กม. สีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 23.6 กม. ที่กำลังจะเปิดประกวดราคา และส่วนต่อขยายของสายน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) ระยะทาง 8 กม. สีเขียวเข้ม (สมุทรปราการ-บางปู) ระยะทาง 9.5 กม. สีเขียวเข้ม (คูคต-ลำลูกกา) ระยะทาง 6.5 กม. สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) ระยะทาง 13.4 กม. แอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท) ระยะทาง 21.8 กม. สีแดงเข้ม (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) 8.9 กม. และสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) 19.7 กม. เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเปิดประมูลภายในปี 2561

เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ปัจจุบัน “สนข.” กำลังจัดทำแผนพัฒนาโครงการในพื้นที่ต่อเนื่อง และเชื่อมไปยังจังหวัดปริมณฑลมากขึ้น โดยร่วมกับประเทศญี่ปุ่นศึกษา หลังได้รับการสนับสนุนจาก “ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น” ด้วยการนำโมเดลการพัฒนาจากญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบ โดยทบทวนบางโครงการในแผนเดิม และสร้างเพิ่มเติมในบางพื้นที่ที่ยังขาดช่วงอยู่

ความคืบหน้าล่าสุด “ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้าเฟส 2 อาจจะต้องชะลอออกไปก่อน เพราะต้องดูปริมาณผู้โดยสารในพื้นที่ชานเมืองว่ามีมากพอที่รัฐจะต้องลงทุนสร้างรถไฟฟ้าหรือไม่

“คอนเซ็ปต์รถไฟฟ้าระยะที่ 2 เติมเต็มโครงข่ายในเฟสแรกที่กำลังดำเนินการ ต้องดูว่าความต้องการในการเดินทางมีมากน้อยแค่ไหน และยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ที่จะสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายไปชานเมือง หรือจะทำเฉพาะระบบฟีดเดอร์มารองรับการเดินทาง”

แผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 เส้นทางเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการจราจร เพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชนที่เข้ามาทำงานในเมือง เนื่องจากเมืองมีการขยายไปรอบนอกกรุงเทพฯมากขึ้น เนื่องจากราคาที่ดินถูก ทำให้เกิดเมืองบริวารในย่านชานเมือง

ปัจจุบันการพัฒนาตามแผนแม่บทเดิมยังไม่เต็มโครงข่าย ต้องเร่งรัดตรงนี้ให้เสร็จในปี 2572 ซึ่งรถไฟฟ้าปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถช่วยเรื่องการเดินทางได้เป็นอย่างดี ขณะที่การพัฒนาเมืองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก หลังรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ เปิดบริการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการซื้อตึกแถวเพื่อพัฒนาโครงการและพัฒนาเมือง เช่น สำนักงาน ที่อยู่อาศัย เป็นการเพิ่มมูลค่า พื้นที่ใจกลางเมือง

ต่อไปทางกรมโยธาธิการและผังเมืองกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องวางแผนพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในแผนแม่บท อย่างสายสีน้ำตาลที่ สนข.กำลังจะขออนุมัติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) บรรจุเพิ่มในแผนแม่บทปัจจุบัน เนื่องจากรถไฟฟ้าสายนี้จะตอบโจทย์การเดินทางโซนตะวันออกและตะวันตก จึงต้องเร่งก่อสร้างโดยเร็ว เมื่อเปิดบริการจะเป็นรถไฟฟ้าสายรองเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายหลัก มีสีม่วง สีแดง สีเขียว สีเทา สีส้ม และสีเหลือง

เนื่องจากย่านเกษตร-นวมินทร์เปลี่ยนแปลงไปมาก มีโครงการอยู่อาศัยและกิจกรรมเชิงพาณิชย์เกิดขึ้น ทำให้มีปัญหาการจราจรหนาแน่น สายสีน้ำตาลจะเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2018 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้า 11 สาย ติดท็อปไฟว์โลก!
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,343 วันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2561 หน้า 01-02



ตามข่าวนี้หละสินะ
https://www.youtube.com/watch?v=e244VBs3zOg
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 174, 175, 176 ... 277, 278, 279  Next
Page 175 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©