Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263989
ทั้งหมด:13575272
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2012 7:03 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดถกรถไฟสายสีชมพู 25 ก.ย.
บ้านเมือง วันที่ 24/09/2555 เวลา 5:11 น.

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่าตามที่ รฟม.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรีนั้น ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เพื่อประกอบในการศึกษา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อเสนอกำหนดดังกล่าว รฟม.จึงได้มีการกำหนดจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นดังกล่าว ในวันอังคารที่ 25 กันยายน 2555 เวลา 08.30-12.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับโครงการดังกล่าว ว่าหากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จประชาชนจะได้ประโยชน์ในการเดินทาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรีนั้น มีระยะทาง 36 กิโลเมตร โดยการก่อสร้างจะเป็นระบบโมโนเรล ทั้งนี้ ตามแผนได้มีการกำหนดสถานีให้บริการผู้โดยสารทั้งหมด 30 สถานี คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ประมาณปี 2556 และตามแผนจะต้องแล้วเสร็จภายในปี 2560 นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจะเสนอขออนุมัติก่อสร้างจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าภายในเดือนตุลาคมนี้ กระทรวงคมนาคมน่าจะนำเสนอต่อ ครม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2012 1:18 pm    Post subject: Reply with quote

"ชัชชาติ"คุมวอร์รูมแก้จราจรกรุง แฉ9จุดฝนตกปุ๊บอัมพาตทันที
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 09:30:06 น.

′ชัชชาติ′นั่งหัวโต๊ะ สั่งการวอร์รูม บก.02 ศูนย์แจ้งวิกฤตจราจรช่วงน้ำท่วม รับมือฝนถล่มกรุงจราจรอัมพาต เผย 9 จุดติดหนึบ วิภาวดี-รัชดา-แจ้งวัฒนะ ด้าน ร.ฟ.ท.เดินหน้าลงนาม′เอสยู′ เริ่มงานสัญญา 1 รถไฟฟ้าสายสีแดง′บางซื่อ-รังสิต′ 26 ก.ย.

เมื่อวันที่ 23 กันยายน รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ดูแลและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะกรณีที่เกิดจากฝนตกทำให้น้ำท่วมขัง จากนั้น นายชัชชาติเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. (ดูแลงานจราจรทั่วประเทศ) พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. (ดูแลงานจราจร) พล.ต.ต.ปิยะ สอนตระกูล รอง ผบช.ภ.1 และ พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. เมื่อ วันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ดินแดง โดยในการประชุมช่วงเช้าวันนั้น ที่ประชุมเห็นว่าปัญหาน้ำท่วมขังจากฝนตก ควรมีตัวแทนจากกรุงเทพมหานครมาร่วมด้วย เพราะปัญหาเกิดจากการระบายน้ำไม่ทัน จึงนัดประชุมอีกครั้งช่วงบ่ายวันเดียวกัน ที่กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.02) โดยมีตัวแทนสำนักการระบายน้ำ และวิศวกรรมจราจรและผังเมือง กทม. มาร่วมประชุม จากการประชุมทาง กทม. ระบุจุดเสี่ยงน้ำท่วมกว่า 200 จุดถ้ามีน้ำท่วมจะมีปัญหารถติดแน่นอน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลคาดการณ์ในอนาคตที่เกิดน้ำท่วมใหญ่

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ที่ประชุมสรุปว่า สถานการณ์ปัจจุบันห้วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเกิดฝนตกมีน้ำท่วมขังใน กทม. มีจุดวิกฤตการจราจรติดขัด 9 จุด อาทิ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนรัชดาภิเษก ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ เป็นต้น ที่ประชุมจึงเห็นควรตั้งศูนย์แจ้งวิกฤตจราจรช่วงน้ำท่วม ทำเป็นวอร์รูมที่ บก.02 โดยมีนายชัชชาติ นั่งหัวโต๊ะ การดำเนินการต่อไป เมื่อฝนตกหนักน้ำท่วมขัง ตามปกติ บก.02 จะประมวลสภาพการจราจรและสั่งการระบายรถอยู่แล้ว ต่อไปต้องมีการประมวลปริมาณน้ำฝนจากการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าด้วยว่า ปริมาณ น้ำฝนมีมากแค่ไหน ระดับไหน บริเวณคลองไหน มีน้ำขึ้นน้ำลงจุดไหน รวมทั้งประเมินว่ามีการจัดกิจกรรม (อีเวนต์) ที่คนมาชุมนุมจำนวนมากที่ จุดไหน จุดใดที่มีการปิดการจราจรบ้าง เพื่อนำมา ประมวลสภาพการจราจร ศูนย์แจ้งวิกฤตจราจรช่วงน้ำท่วม โดยนายชัชชาติจะสั่งการด้วยตัวเอง

รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมเห็นว่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่แก้ปัญหาการจราจรเต็มที่อยู่แล้ว แต่ปัญหาที่ทำให้รถติดมากมาจากการระบายน้ำ จึงฝากเป็นการบ้านให้ กทม. บริหารจัดการระบายน้ำ เพราะต่อให้ตำรวจเร่งระบายรถเท่าไหร่ แต่ถ้าน้ำท่วมรถก็ไปไม่ได้ รวมทั้งที่ผ่านมา บช.น. โดย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. พยายามช่วยแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่งโดยร่วมกับกรมราชทัณฑ์ นำนักโทษมาช่วยลอกท่อด้วย

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 26 กันยายนนี้ ร.ฟ.ท.จะลงนามในสัญญา กับกิจการร่วมค้าเอสยู ประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินงานสัญญา 1 การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต หลังจากกระทรวงคมนาคม ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว หลังลงนามในสัญญา ทางกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสยู สามารถเดินหน้าตามขั้นตอนการดำเนินงานได้ทันที เบื้องต้นคงจะเป็น การสำรวจพื้นที่ ก่อนจะดำเนินการก่อสร้างต่อไป

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมือง ได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างเตรียมเสนอรายละเอียดแผนการดำเนินโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา หลังจากนั้นทางกระทรวงคมนาคมจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะสามารถเสนอกระทรวงคมนาคมได้ในเดือนตุลาคมนี้ โครงการนี้ ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ส่วนการเดินรถเป็นหน้าที่ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบัน ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสาร คาดว่า ร.ฟ.ท. จะเป็นผู้กำหนดเอง จะเป็นในลักษณะเดียวกัน กับการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ปัจจุบัน คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ประมาณต้นปี 2556

สำหรับเงินลงทุนของโครงการดังกล่าว นายจุฬากล่าวว่า วงเงินรวม 27,070 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 21.8 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างใต้ดินระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร และเป็นโครงสร้างยกระดับระยะทาง 18.3 กิโลเมตร หากรวมระยะทางตั้งแต่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง จะมีระยะทางทั้งหมด 50 กิโลเมตร ระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี กำหนดเปิดให้บริการในปี 2559 หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะเชื่อมต่อระบบการให้บริการทั้ง 2 ท่าอากาศยานตามนโยบายรัฐบาล และปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมแน่นอน

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดการ เสนอราคาของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อป เมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้เสนอราคาต่ำสุด คือ 24,102,324,009 บาท แต่ยังสูงกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจนอีกครั้ง

"หลังจากนั้น จะทำหนังสือไปยังองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ในฐานะเจ้าของเงินกู้ เพื่อขอความเห็นชอบในการเจรจาต่อรองราคากับทางบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ตามปกติแล้วไจก้าจะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะตอบกลับหนังสือมายัง ร.ฟ.ท. หลังจากนั้นจึงจะเจรจาต่อรองราคากับทางบริษัท อิตาเลียนไทยได้ โดยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะได้ข้อสรุปตัวเลขที่ชัดเจน" แหล่งข่าวกล่าว

นอกจากนั้น ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าสาย สีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 5-6 พันล้านบาท ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาแล้ว 1 ครั้ง ในเดือนตุลาคมนี้ จะต้องเปิดรับฟังอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงจะเริ่มดำเนินการสำรวจออกแบบ คาดว่ากระบวนการศึกษาต่างๆ จะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2556 เริ่มก่อสร้างประมาณปลายปีเดียวกัน ใช้เวลาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 2 ปี เปิดให้บริการในปี 2558

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างทดลองนำขบวนรถดีเซลราง ไปเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 7 กิโลเมตร จากทั้งหมดประมาณ 15 กิโลเมตร โดยการทดสอบดังกล่าว ร.ฟ.ท.ได้ปรับปรุงรถไฟดีเซลจำนวน 2 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ในการวิ่งทดสอบระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ และความเร็วของการเดินรถตั้งแต่ระดับต่ำสุดจนถึงเร็วสุด คาดว่าจะใช้เวลาในการทดสอบประมาณ 3 เดือน หรือประมาณเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายปีนี้

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาจัดทำรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กิโลเมตร งบประมาณ 36,511 ล้านบาท และช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท หลังจากคณะกรรมการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเห็นชอบการก่อสร้างสถานีบริเวณวงเวียนหลักสี่แล้ว โดยจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ประมาณเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินโครงการได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2555

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ในวันที่ 25 กันยายน บริษัทที่ปรึกษาโครงการจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หลังจากนั้นจะนำความคิดเห็นที่ได้ไปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดการดำเนินโครงการ คาดว่าจะประกวดราคาได้ต้นปี 2556 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2561 สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆ มีทั้งที่ล่าช้าและเป็นตามแผนงานที่กำหนด โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 จนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าแล้ว 21.62% จากแผนงานที่กำหนดไว้ 25.11% ล่าช้ากว่าแผน 3.48% คาดจะดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2560 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีความคืบหน้า 47.27% ล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด 27.29% ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ คืบหน้า 0.49% เร็วกว่าแผน 0.73% โดยทั้ง 2 โครงการดังกล่าว จะแล้วเสร็จในปี 2557 เปิดให้บริการได้ปลายปี 2558

เวลา 10.30 น. ที่บริเวณลานพระบรมราชา นุสาวรีย์ ร.6 สวนลุมพินี นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดงานบางกอกคาร์ฟรีเดย์ 2012 (Bangkok Car Free Day 2012) "กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ มหัศจรรย์วันปลอดรถ" โดยมีนักปั่นเข้าร่วมกว่า 10,000 คน รวมพลเริ่มปั่นจักรยานจาก 14 จุดทั่วกรุงเทพฯ อาทิ สวนเบญจสิริ เดอะมอลล์ บางแค เดอะมอลล์ บางกะปิ ตลาดประตูกรุงเทพฯ รามอินทรา-อาจณรงค์ เดอะ มอลล์ งามวงศ์วาน ทีโอที พระราม 4 และสวนหลวง ร.9 เพื่อมุ่งตรงสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นปั่นจักรยานแปรเป็นรูปธงชาติไทยและเข้าสู่สวนลุมพินี

นายธีระชนกล่าวว่า งานดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับประชาคมโลกในการณรงค์ให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักและลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน จักรยาน และการเดิน เพื่อการสัญจรอย่างยั่งยืนในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา กทม.ได้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้ครอบคลุม ทั้งการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม (ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่) รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง) และเร่งรัดการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีลม (ช่วงตากสิน-เพชรเกษม) ให้สามารถทดลองให้บริการได้ภายใน 5 ธันวาคมนี้ และพัฒนาบริการรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที สาทร-ราชพฤกษ์ เป็นต้น

"เดือนตุลาคมนี้ กทม.จะเปิดตัวโครงการให้เช่าจักรยานที่จุดเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที เพื่อให้ประชาชนจอดรถยนต์ทิ้งไว้ และใช้จักรยานในการเดินทางแทน ยังมีแผนขยายถนนและก่อ สร้างทางยกระดับเพิ่ม เพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นปีละ 240,000 คัน กรุงเทพฯ มีรถยนต์จดทะเบียนสะสมสูงถึง 7 ล้านคัน แต่มีถนนความยาว 8,000 กิโลเมตร ทำให้รองรับรถยนต์ได้เพียง 1.6 ล้านคัน ซึ่งต่างกันถึง 4.4 เท่า จึงหวังว่าแผนระยะยาว 10 ปี ที่ กทม.ร่วมกับรัฐบาลในการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ได้ 300 กิโลเมตร จะแก้ปัญหาจราจรได้" นายธีระชนกล่าว

(ที่มา: หน้า1 มติชนรายวัน 24 กันยายน 2555)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2012 5:06 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เปิดเวทีฟังความเห็นก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี โมโนเรลสายแรก
ฐานเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 25 กันยายน 2012 เวลา 16:55 น.

วันนี้ (25 กันยายน 2555) เวลา 09.30 น. ณ ห้องจูปีเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน โครงการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาประมาณ 500 คน

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการหนึ่งในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร ภายใต้แผนแม่บทดังกล่าว จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้กำหนดให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ที่เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง และคณะกรรมการ รฟม. มีมติให้ รฟม. ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ฯ ในรูปแบบการออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างไปพร้อมกัน(Design & Build) แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้พื้นที่ การขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และประชากร โดยรอบเส้นทางอย่างรวดเร็ว และเพื่อเป็นการรองรับการบังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครและนนทบุรีฉบับใหม่ จึงมีความจำเป็นให้มีการศึกษาทบทวนความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงออกแบบเบื้องต้น และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติม) จัดทำเอกสารประกวดราคา และจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535

การสัมมนาในวันนี้ มีการนำเสนอสาระสำคัญ ประกอบด้วยแนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ฯ ตั้งแต่ต้นทางจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีใกล้แยกแคราย ผ่านถนนติวานนท์ก่อนเลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ เชื่อมต่อถนนรามอินทราไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีมีนบุรี รวมระยะทาง 34.5 กิโลเมตร โดยจากผลการศึกษาเห็นควรให้เพิ่มสถานีจากเดิมที่ สนข. เคยศึกษาไว้ 24 สถานี เป็น 30 สถานี ดังนี้
1.ศูนย์ราชการนนทบุรี
2.แคราย
3.สนามบินน้ำ
4.สามัคคี
5.กรมชลประทาน
6.ปากเกร็ด
7.เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8.แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด 28
9.เมืองทองธานี
10.ศรีรัช
11.เมืองทอง 1
12.ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
13.ทีโอที
14.หลักสี่
15.ราชภัฎพระนคร
16.วงเวียนหลักสี่
17.รามอินทรา 3
18.ลาดปลาเค้า
19.รามอินทรา 31
20.มัยลาภ
21.วัชรพล
22.รามอินทรา 40
23.คู้บอน
24.รามอินทรา 83
25.วงแหวนตะวันออก
26.นพรัตนราชธานี
27.บางชัน
28.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.ตลาดมีนบุรี และ
30.มีนบุรี

นอกจากนี้ ยังนำเสนอรูปแบบของเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) เป็นแบบเส้นรัศมีและเส้นรอบวง (Radial-Circumferential Pattern) โดยที่เส้นรัศมีซึ่งรองรับโดยระบบขนส่งมวลชนระบบหลัก จะกระจายความหนาแน่นของกิจกรรมในเมืองออกสู่พื้นที่ชานเมือง สำหรับแนวเส้นทางเส้นวงรอบซึ่งรองรับโดยระบบขนส่งมวลชนระบบรอง มีจุดมุ่งหมายที่จะกระจายความหนาแน่นของกิจกรรมเมือง และเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างเส้นรัศมีหรือระบบขนส่งมวลชนระบบหลัก ซึ่งโครงการรถไฟฟ้า

สายสีชมพู ฯ นั้น เป็นระบบรองโดยมีเป้าหมายที่จะกระจายความเจริญจากพื้นที่ส่วนกลางไปสู่ศูนย์ความเจริญรอบกรุงเทพมหานคร และเพื่อควบคุมความหนาแน่นของพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัยของประชาชนเป็นจำนวนมาก เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการหลายแห่ง เช่น ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ กรมการกงศุล ศาลปกครอง รวมถึง ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หมู่บ้านจัดสรร สถานศึกษา ศูนย์การประชุมและจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้มีความต้องการเดินทางสูงและมีแนวโน้มการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีชมพู ฯ สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางในพื้นที่ดังกล่าวได้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ฯ เป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อกับใจกลางกรุงเทพมหานครโดยระบบรถไฟฟ้าหลัก 4 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ (บริเวณทางแยกแคราย) โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต (บริเวณทางแยกหลักสี่) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่(บริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี (บริเวณทางแยกร่มเกล้า) ทำให้เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับรูปแบบของระบบการเดินรถ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ซึ่งเป็นระบบที่มีสมรรถนะและมีความปลอดภัยสูง สามารถขนส่งผู้โดยสาร 33,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง และมากกว่าได้ ซึ่งสามารถขนส่งได้เกือบเทียบเท่ากับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดหนัก ตัวรถและโครงสร้างมีขนาดเล็กและเบา ทำให้ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว และมีมูลค่าการก่อสร้างไม่สูง มีรัศมีวงเลี้ยวของตัวรถแคบ ทำให้เวนคืนที่ดินน้อย และโครงสร้างทางวิ่งมีลักษณะโปร่ง ไม่ส่งผลกระทบกับทัศนียภาพใต้ทางยกระดับ รวมทั้งใช้ล้อยางทำให้เกิดเสียงดังน้อยกว่าระบบขนส่งมวลชนที่ใช้รางเหล็กและล้อเหล็ก

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ จะมีศูนย์ซ่อมบำรุงมีนบุรี อยู่บริเวณซอยรามคำแหง 192 บนพื้นที่กว่า 280 ไร่ โดยคำนึงถึงการออกแบบเพื่อรองรับแนวคิดการพัฒนา Transit Oriented Development (TOD) โดยให้มีการพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยหรือการค้าที่ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ลดการใช้รถยนต์ที่ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และอากาศเสียได้

ส่วนรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมคือ รัฐดำเนินการโดยให้ รฟม. เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด จะมีความเหมาะสมกว่าทั้งในด้านความคุ้มค่าทางการเงิน ระยะเวลาดำเนินการรวดเร็ว สามารรถเชื่อมต่อการเดินทางเดินทางหรือใช้ระบบตั๋วร่วมกับระบบอื่นได้สะดวก โดยใช้เงินกู้จากกระทรวงการคลังว่าจ้างเอกชนออกแบบ ก่อสร้างงานโยธา จัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ในรูปแบบ Design&Build รวมบำรุงรักษาในช่วงแรก และว่าจ้างเอกชนเป็นผู้ให้บริการเป็นระยะเวลา 5 -10 ปี โดยชำระค่าจ้างตามปริมาณการเดินรถในแต่ละปี ใช้งบประมาณการลงทุนทั้งสิ้น 54,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเมื่อเปิดให้บริการในปี 2560 และเก็บค่าโดยสาร 20 บาทจะมีปริมาณผู้โดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วน 187,770 คน/เที่ยว/วัน และในปี 2590 จะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 882,130 คน-เที่ยว/วัน มีปริมาณผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟฟ้า (Line Load) สูงสุดของโครงการสายสีชมพู ฯ ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าสูงเกือบ 33,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

ตามแผนดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี จะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2560 ซึ่งเมื่อโครงการ ฯ แล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2012 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เพิ่มวงเงินสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูอีก 1.6 หมื่น ลบ.ตามราคาที่ดินสูง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 25 ก.ย. 2555 เวลา 18:15:55 น.

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.จะเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. จากเดิม 3.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 5.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากปรับเพิ่มสถานีและราคาที่ดินปรับสูงขึ้น

"โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ซึ่งจะดำเนินการออกแบบรายละเอียดไปพร้อมก่อสร้าง วงเงินลงทุน 5.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากผลการศึกษาเดิมที่ 3.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการปรับเพิ่มสถานีเป็น 30 แห่ง จากเดิม 24 แห่ง และมีการปรับราคาที่ดินที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้น...จะเสนอโครงการให้ ครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการได้ภายในเดือนตุลาคมนี้" นายยงสิทธิ์กล่าว

พร้อมกันนี้ รฟม.จะเสนอ ครม.ให้อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งตั้งเป้าเริ่มประกวดราคาได้ในปี 56 ก่อสร้างปี 57 และเปิดให้บริการในปี 60 ซึ่งจะเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้ รฟม.ยังอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าที่จะใช้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ประมาณ 300 ตู้ เป็นล็อตเดียวกัน เพื่อให้ราคาตู้รถไฟฟ้าต่ำลง ซึ่งในอนาคต รฟม.จะต้องใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด 800 ตู้ เพื่อใช้กับรถไฟฟ้าหลายสาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน สายสีส้ม ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าเฮฟวี่เรลจำนวน 500 ตู้ รถไฟฟ้าโมโนเรลใช้ 300 ตู้ และในอีก 30 ปีข้างหน้า ความต้องการจะเพิ่มเป็น 3 เท่า หรือประมาณ 2,400 ตู้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2012 10:29 am    Post subject: Reply with quote

^^^
เวอร์ชันเดลินิส์ และ ASTV จะเป็นแบบนี้ครับ

ชงครม.อนุมัติ 5.4 หมื่นล.ทำรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ทำเพิ่มอีก 6 สถานีค่าเวนคืนพุ่งเท่าตัว
ข่าวทั่วไทย เดลินิวส์
วันพุธที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 07:31 น.
รฟม.ชง ครม.เคาะรถไฟฟ้าสายสีชมพู ต.ค.นี้ ราคาที่ดินพุ่งค่าเวนคืนเพิ่มเท่าตัว ใช้ Design & Build เร่งก่อสร้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2555 22:30 น.


เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดสัมมนารับฟังความเห็นประชาชนโครงการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งมีประชาชนในแนวสายทางสนใจเข้าร่วมงานกว่า 500 คน ซึ่งที่ปรึกษาได้นำเสนอผลการศึกษามีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีใกล้แยกแคราย ถนนติวานนท์ เลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทราไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีมีนบุรี รวมระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ซึ่งเห็นควรให้เพิ่มสถานีจากเดิมที่ สนข. เคยศึกษาไว้ 24 สถานี เป็น 30 สถานี ได้แก่

1. ศูนย์ราชการนนทบุรี
2. แคราย
3. สนามบินน้ำ
4. สามัคคี
5. กรมชลประทาน
6. ปากเกร็ด
7. เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8. แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด 28 (ตึกกระทรวงยุติธรรม - เซนทรัลปากเกร็ด)
9. เมืองทองธานี
10. ศรีรัช
11. เมืองทอง 1
12. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
13. ทีโอที
14. หลักสี่
15. ราชภัฏพระนคร
16. วงเวียนหลักสี่
17. รามอินทรา 3 (อมรินทร์นิเวศน์ - เซนทรัลรามอินทรา)
18. ลาดปลาเค้า
19. รามอินทรา 31
20. มัยลาภ
21. วัชรพล
22. รามอินทรา 40
23. คู้บอน (กม. แปด)
24. รามอินทรา 83 (โรงพยาบาลสินแพทย์)
25. วงแหวนตะวันออก (แฟชั่นไอร์แลนด์)
26. นพรัตนราชธานี (ปากทางสวนสยาม)
27. บางชัน (ปากซอย 109)
28. เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29. ตลาดมีนบุรี และ
30. มีนบุรี

ทั้งนี้มีสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่น 4 จุด ได้แก่
สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อที่แยกแคราย
สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตที่แยกหลักสี่
สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ที่อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และ
สายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี ที่แยกร่มเกล้า

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า หลังจากได้รับผลการศึกษาเรียบร้อยแล้ว จะนำเรื่องเสนอให้บอร์ด รฟม.อนุมัติ ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีการปรับเพิ่มวงเงินก่อสร้างใหม่จาก 38,000 ล้านบาท เป็น 54,000 ล้านบาท แยกเป็นงานโยธาประมาณ 25,000 ล้านบาท งานระบบรถไฟฟ้าประมาณ 25,000 ล้านบาท ค่าเวนคืน 4,000 ล้านบาท ปรับขึ้นจากเดิม 2,000 ล้านบาท จากราคาที่ดินที่มีการปรับเพิ่มขึ้น

หาก ครม.อนุมัติคาดว่าจะเริ่มเปิดประกวดราคาได้ภายใน เดือนมีนาคม2556 โดยก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล ใช้วิธีดีไซน์แอนด์บิลต์ เป็นการออกแบบพร้อมก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้ได้งานที่รวดเร็ว โดย เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2557 เพื่อให้เสร็จเปิดทันใช้ได้เมื่อ เดือนตุลาคม 2560

ทั้งนี้ รฟม.จะนำข้อเสนอของประชาชนย่านมีนบุรี ที่ต้องการให้ รฟม.ต่อขยายเส้นทางจากจุดสิ้นสุดปัจจุบันนี้ ไปจนถึงถนนสุวินทวงศ์ระยะทางประมาณ 3.4 กม. เป็นข้อมูลให้ ครม.ได้พิจารณาด้วยว่าจะให้ รฟม.ต่อขยายไปหรือไม่ ซึ่งยังไม่ได้ศึกษาค่าก่อสร้างในส่วนต่อขยายนี้ แต่เชื่อว่าหากสามารถบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกได้ก็มีความเหมาะสม.

นอกจากนี้ รฟม.จะนำข้อเสนอของประชาชนย่านมีนบุรีที่ต้องการให้ รฟม.ต่อขยายเส้นทางจากจุดสิ้นสุดปัจจุบันนี้ไปจนถึงถนนสุวินทวงศ์ระยะทางประมาณ 3.4 กิโลเมตร เป็นข้อมูลให้ ครม.ได้พิจารณาเพิ่มเติมเนื่องจากจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น รวมถึงแนวคิดการบริหารรถไฟฟ้าและการจัดซื้อรถเหมาพร้อมกันล็อตเดียว โดยให้เอกชนทำหน้าที่เดินรถอย่างเดียว ซึ่งจากการประเมินพบว่า ช่วงระหว่าง ปี 2558- 2562 จะต้องใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด 800 คัน โดยแบ่งเป็นการเดินรถแบบโมโนเรล 300 คัน สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ส่วนที่เหลือจะใช้ในระบบการเดินรถแบบเฮฟวีเรล ซึ่งเป็นการเดินรถไฟฟ้าที่ให้บริการปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2012 3:10 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลผุดคอนโดผู้มีรายได้น้อยตามแนวรถไฟฟ้า 10 สายทั่วกรุง ที่ไหนบ้าง..

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 กันยายน 2555 เวลา 20:37:54 น.


นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับการเคหะแห่งประเทศไทย (กคช.) ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันของรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามแนวรถไฟฟ้า เพื่อให้คนมีรายได้น้อยมีที่อยู่เป็นของตนเอง จึงมีแผนสร้างคอนโดมิเนียมราคาไม่แพงตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง รองรับความต้องการของผู้มีรายได้น้อย

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติมีแผนขอเวนคืนที่ดินบริเวณแนวรถไฟฟ้า เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือยกร่างกฎหมายกับกฤษฎีกา คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้ โดยขณะนี้ กคช.มีงบพร้อมดำเนินการอยู่แล้ว 3,000 ล้านบาท สำหรับโครงการนำร่องก่อสร้าง คือ โครงการบนพื้นที่แฟลตดินแดงเดิม ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 57 ส่วนโครงการต่อไปจะเป็นการสร้างตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู

นายยงสิทธ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า รฟม.จะร่วมกับ กคช.จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาจัดสร้างที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลตั้งใจว่าจะประกาศแผนก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนช่วงปีใหม่นี้ ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่ของ รฟม. พบว่าพื้นที่พร้อมสำหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้คือ แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง สร้างเป็นอาคารสูงประมาณ 30 ชั้นคาดว่าต้นปี 58 จะเปิดให้เช่าอยู่อาศัยได้

ส่วนแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบก่อสร้างที่อยู่อาศัยต่อขึ้นไปบนอาคารจอดรถสถานีลาดพร้าวเดิม ความสูงประมาณ10 ชั้น คาดว่าจะเปิดให้เช่าได้ช่วงต้นปี 58 นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าอีก 3 แห่ง คือเขตมีนบุรี จ.สมุทรปราการ และแขวงหลัก 2 เขตบางแค พื้นที่ 80 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/10/2012 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าหลากสีรอประมูล3แสนล้าน"สายไหนเลิก-สายไหนรอด"ตรวจสอบที่นี่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 01 ต.ค. 2555 เวลา 16:27:04 น.

เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าหลากสีปีที่ 2 ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายใต้ปีก "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" เจ้ากระทรวงคมนาคม ที่หาเสียงไว้ว่า...ใน 4 ปีนี้รถไฟฟ้า 10 สายเริ่มออกสตาร์ตแน่นอน ไม่ว่าจะเปิดหวูดบริการ หรือเซ็นสัญญาก่อสร้างตอกเข็มต้นแรก ผ่านมา 1 ปี ทั้ง "แดง-ม่วง-น้ำเงิน-เขียว" เป็นเช่นไร?

Click on the image for full size

ปี 2556-2557 จ่อคิวประมูลครบ 10 สาย

เช็กความคืบหน้าล่าสุด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2555 โปรเจ็กต์รถไฟฟ้า 10 สาย กำลังก่อสร้าง 3 สาย พร้อมประมูลปีนี้ 2 สาย รอคิวปี 2556 จำนวน 6 สาย และปี 2557 จำนวน 4 สาย (ดูตาราง)

"จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปีที่ 2 ของรัฐบาลเพื่อไทย รถไฟฟ้า 10 สายมีหลายสายเปิดประมูล อย่างน้อยที่สุดสิ้นปีนี้เร่งประมูล 2 สายคือ "สายสีเขียว" ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงสะพานใหม่-คูคต มูลค่าโครงการ 48,150 ล้านบาท

ปี 2556 มี "สายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี 54,000 ล้านบาท "สายสีส้ม" ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 73,070 ล้านบาท สายอื่น เช่น ต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์มาดอนเมืองจะทยอยตามมาจะเร่งเซ็นสัญญาให้เสร็จทั้ง 10 สาย ในปี 2557 นี้มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท

เข็น "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" เปิดวิ่ง ธ.ค.นี้

เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องสิ้นปีนี้ "จารุพงศ์" บอกว่า จะเร่งเปิดบริการรถไฟชานเมืองสีแดง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อสร้างเสร็จ 100% รับมอบงานจากผู้รับเหมา "บมจ.ยูนิคฯ" เรียบร้อย อยู่ระหว่างนำรถไฟดีเซลรางวิ่ง ทดสอบการเดินรถ 3 สถานี "ตลิ่งชัน-บางบำหรุ-บางซ่อน"

พร้อมเปิดบริการชั่วคราวต้นเดือนธันวาคมนี้ ระหว่างรอสายสีแดงส่วนเหนือ "บางซื่อ-รังสิต" เสร็จอีก 4 ปีข้างหน้า เพราะถ้าหากไม่รีบตัดสินใจเปิดหวูดแล้วล่ะก็ รถไฟฟ้าสายนี้อาจจะกลายเป็นอนุสาวรีย์ร้างซ้ำรอยโฮปเวลล์ได้

3 ต.ค.นี้เซ็นสัญญาสีแดง "บางซื่อ-รังสิต"

ล่าสุดหลัง "ร.ฟ.ท." เปิดประมูลมา 2 ปี สายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" เพิ่งได้รับการปลดล็อกเปิดซองราคางานโยธา 2 สัญญาแล้ว เตรียมเซ็นสัญญาก่อสร้างสัญญาที่ 1 งานสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงกับผู้รับเหมา "กิจการร่วมค้า SU" ประกอบด้วย บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ วงเงินก่อสร้างกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท ในวันที่ 3 ตุลาคมนี้

ส่วนสัญญาที่ 2 งานโครงสร้างยกระดับและสถานี เปิดซองราคา "บมจ.อิตาเลียนไทย" เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา อยู่ระหว่างต่อรองราคาจากที่เสนอมา 24,102 ล้านบาท ขณะที่สัญญาที่ 3 งานระบบราง อาณัติสัญญาณ ซื้อขบวนรถไฟฟ้ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท "ร.ฟ.ท." กำลังพิจารณาจะยกเลิกแล้วเปิดประมูลใหม่ หลังพบผู้รับเหมา 2 รายที่ยื่นประมูลถือหุ้นไขว้กันอยู่

สีม่วงยังช้ากว่าแผน 14.22%

กลับมาดู "สายสีม่วง" ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เริ่มก่อสร้าง10 พฤศจิกายน 2552 ผ่านมาเฉียด 3 ปี การก่อสร้างยังหลุดเป้า 48.72% ช้ากว่าแผนอยู่ 14.22% เพราะติดน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว

แต่ที่ลุล่วงไปด้วยดีคือ "งานราง" ที่ได้ตัวผู้รับเหมาคือ บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้ติดตั้ง ใกล้เซ็นสัญญาในเร็ว ๆ นี้ ส่วนสัมปทานเดินรถไฟฟ้า ต่อรองราคากับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีเอ็มซีแอล) ที่เสนอวงเงินลงทุนตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี เหลือกว่า 8 หมื่นล้าน รฟม.เตรียมเสนอให้ครม.อนุมัติเดือนตุลาคมนี้ และจากปัญหาหลายอย่างมีผลกระทบให้ "สายสีม่วง" เลื่อนเปิดหวูดจากปลายปี 2557 เป็นปลายปี 2558

ขณะที่สายสีน้ำเงินช่วง "บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค" ปัญหาใหญ่ยังติดเวนคืนที่ดิน ผ่านมา 1 ปีเพิ่งดำเนินการได้ 96.52% จุดใหญ่อยู่ย่านวัดมังกรกมลาวาสที่ยังเคลียร์ไม่จบ ด้านงานก่อสร้างทั้ง 5 สัญญา ผลงานโดยรวม 22.33% ช้าจากแผน 3.84%

ปี'56 ลุยสายปากน้ำเต็มสตรีม

ส่วนต่อขยายสายสีเขียวจาก "แบริ่ง-สมุทรปราการ" ปัจจุบันผู้รับเหมา "ช.การช่าง" กำลังเร่งมือก่อสร้าง ผลงาน 7 เดือนนับจากวันที่ 1 มีนาคม 2555 คืบหน้า 0.83% แม้จะเร็วกว่าแผน 0.04% แต่ผลงานกลับดูอืด ๆ ไปบ้าง อาจเป็นเพราะผู้รับเหมายังเข้าพื้นที่ได้ไม่เต็มที่เนื่องจาก "รฟม." ยังเวนคืนได้ 91.65% แต่นับจากปี 2556 เป็นต้นไปน่าจะเห็นอะไรเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

ที่ต้องลุ้นประมูลให้ทันปีนี้คือ สายสีเขียวต่อขยาย "หมอชิต-สะพานใหม่" ที่ต้องเปิดประมูลยาวไปถึงคูคต ล่าสุด "รฟม." เตรียมชง ครม.อนุมัติในเดือนตุลาคมนี้เช่นกัน

"สีชมพู" ขอไฟเขียวแบบ ต.ค.นี้-สีส้มยังวุ่น

สายสีชมพูจาก "แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี" ซึ่ง "รฟม." เตรียมเสนอให้ ครม.พิจารณาพร้อมกับสายสีเขียว เตรียมเปิดประมูลต้นปี 2556 ลงมือก่อสร้างปี 2557 และเปิดบริการปี 2560 พร้อมขยายกรอบวงเงินก่อสร้างเพิ่มขึ้นจาก 3.8 หมื่นล้านบาท เป็น 5.4 หมื่นล้านบาท

สายสีส้ม "ตลิ่งชัน-มีนบุรี" รฟม.มีแผนจะนำร่องก่อนช่วง "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" ระยะทาง 20 กิโลเมตร บริษัทที่ปรึกษากำลังทบทวนแบบรายละเอียด ผลงานล่าช้าจากแผนงาน โดยคืบหน้า 57.77% กำหนดเสร็จต้นปี 2556 จากนั้นจะเปิดประมูลทันทีพร้อมกับสายสีชมพูที่จะมาเชื่อมต่อกันปลายทางที่สถานีมีนบุรี

เร่งต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์-ม่วง-เหลือง

ที่กำลังอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการไม่แพ้สายข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นสายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ "มักกะสัน-พญาไท-ดอนเมือง" ที่เป็นสายเชื่อม 2 สนามบิน "สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง" ก็พร้อมประกวดราคาเช่นกัน สายสีแดง "ตลิ่งชัน-ศิริราช" กำลังออกแบบรายละเอียดและเตรียมการจะรื้อย้ายผู้บุกรุกริมเขตทางรถไฟที่มีอยู่ร่วม 1,000 ครัวเรือน มีแผนประมูลปี 2556

"สายสีม่วงส่วนใต้" จากเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ รฟม.อยู่ระหว่างทบทวนแบบและเร่งแผนให้เร็วขึ้นก่อน 2 สถานีจาก "รัฐสภา-วังบูรพา" เปิดประมูลในปี 2556-2557 ให้ทันรองรับการเปิดใช้อาคารรัฐสภาใหม่ที่เกียกกาย ด้านสายสีเหลืองช่วง "ลาดพร้าว-สำโรง" เพิ่งจะเริ่มจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษา ออกแบบและจัดทำเอกสาร

แต่ที่ไม่ต้องรอนาน "สายสีเขียว" ต่อขยายจาก "ตากสิน-บางหว้า" 5.3 กิโลเมตร ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีแผนจะเปิดทดลองวิ่งฟรีก่อน 2 สถานีคือ "โพธินิมิต-ตลาดพลู" ระหว่าง 5 ธันวาคม 2555-15 พฤษภาคม 2556 ส่วนที่เหลือจะเปิดเต็มรูปแบบวันที่ 12 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2012 1:03 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแนวเวนคืน "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" จาก "แยกแคราย" ยันปลายทาง "มีนบุรี"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 02 ต.ค. 2555 เวลา 12:22:01 น.

ชัดเจนแล้ว โมเดลรถไฟฟ้าสายสีชมพู จาก "แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี" หลัง "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ทุ่มเม็ดเงินกว่า 30 ล้านบาท จ้าง "บจ.ทีม คอนซัลติ้งฯ" ทบทวนใหม่อีกรอบก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคาะในเดือนตุลาคมนี้

"ดร.สุรศักดิ์ ทวีศิลป์" ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟฟ้า บริษัท ทีม คอนซัลติ้งฯ ระบุว่า รูปแบบก่อสร้างเป็นโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ออกแบบเป็นโครงสร้างยกระดับสูงจากพื้น 15 เมตรตลอดเส้นทาง วิ่งไปตามเกาะกลาง 3 ถนนหลัก "ติวานนท์-แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา"

Click on the image for full size

แนวเส้นทาง+ระยะทางยังคงเท่าเดิม 34.5 กิโลเมตร มีต้นทางอยู่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) วิ่งเข้าถนนติวานนท์แล้วเลี้ยวขวาบริเวณห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ตรงไปยังถนนรามอินทรา และมาปลายทางที่มีนบุรี

เปิดโผ 30 สถานีใหม่

ทั้งนี้ทั้งนั้น มีการปรับขยับตำแหน่งสถานีใหม่เพิ่มอีก 6 สถานี จาก 24 เป็น 30 สถานี รองรับการเติบโตของเมือง ได้แก่
1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตั้งอยู่บน ถ.รัตนาธิเบศร์ จะมีสกายวอล์กเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
2.สถานีแคราย ถ.ติวานนท์ ใกล้โรงพยาบาลโรคทรวงอก ระหว่างซอยติวานนท์ 13 กับซอย 15
3.สถานีสนามบินน้ำ ถ.ติวานนท์ ใกล้แยกสนามบินน้ำ ระหว่างแยก ถ.สนามบินน้ำกับซอยติวานนท์ 35
4.สถานีสามัคคี ถ.ติวานนท์ ใกล้แยกเข้า ถ.สามัคคี ระหว่างคลองบางตลาด กับ ถ.สามัคคี
5.สถานีกรมชลประทาน ถ.ติวานนท์ ใกล้โรงเรียนชลประทานวิทยา ระหว่างซอยติวานนท์ 4 กับซอย 6
6.สถานีปากเกร็ด อยู่บริเวณหัวมุมห้าแยกปากเกร็ด
7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ ใกล้แยกถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตัดกับ ถ.แจ้งวัฒนะ
8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซา
9.สถานีเมืองทองธานี ใกล้กับถนนเข้าเมืองทองธานีและสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี
10.สถานีศรีรัช บริเวณปากทางเข้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
11.สถานีเมืองทอง 1 บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ 14 (ซอยหมู่บ้านเมืองทอง 1)
12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร
13.สถานีทีโอที อยู่ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 กับซอย 7

จุดตัดสายสีแดง-สีเขียว

14.สถานีหลักสี่ ใกล้ศูนย์การค้าไอทีสแควร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)
15.สถานีราชภัฏพระนคร หน้าห้างแม็กซ์แวลูและ ม.ราชภัฏพระนคร
16.สถานีวงเวียนหลักสี่ ตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่)
17.สถานีรามอินทรา 3 อยู่ระหว่างซอยรามอินทรา 3 กับซอย 5 ใกล้ห้างเซ็นทรัลรามอินทรา และคอนโดมิเนียมลุมพินีเพลส 18.สถานีลาดปลาเค้า ใกล้ทางเข้า ถ.ลาดปลาเค้า 19.สถานีรามอินทรา 31 ใกล้ฟู้ดแลนด์ ระหว่างรามอินทราซอย 29 และ 31

20.สถานีมัยลาภ อยู่ระหว่างรามอินทราซอย 12 กับซอย 14
21.สถานีวัชรพล ใกล้ซอยวัชรพล ช่วงรามอินทราซอย 59 กับซอย 61 อนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
22.สถานีรามอินทรา 40 อยู่ระหว่างรามอินทราซอย 40 กับซอย 42

สถานีปลายทาง "มีนบุรี"

23.สถานีคู้บอน อยู่บริเวณทางแยกนวมินทร์ หรือรามอินทรา กม.8 ระหว่างรามอินทราซอย 46 กับซอย 48 ใกล้แยกคู้บอน
24.สถานีรามอินทรา 83 ใกล้โรงพยาบาลสินแพทย์
25.สถานีวงแหวนตะวันออก หน้าศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
26.สถานีนพรัตนราชธานี ใกล้แยกเข้าสวนสยาม
27.สถานีบางชัน ใกล้ซอยรามอินทรา 109 และซอย 115
28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.สถานีตลาดมีนบุรี ตั้งอยู่บน ถ.สีหบุรานุกิจ ใกล้ตลาดมีนบุรี และ
30.สถานีมีนบุรี

ตั้งอยู่บน ถ.รามคำแหงซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า เป็นสถานีปลายทาง เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี) ซึ่งจะมีจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) จอดรถได้ 2,000 คัน และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่

เวนคืน 5 จุดใหญ่

ขณะที่การเวนคืนที่ดิน "ดร.สุรศักดิ์" บอกว่า ตลอดเส้นทาง มี 5 จุดใหญ่ คือ 1.บริเวณห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเลี้ยวขวาเข้า ถ.แจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลเก่า เพื่อสร้างสถานีปากเกร็ด มีพื้นที่เวนคืน 7,155 ตารางเมตร
2.บริเวณสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี เพื่อหลีกเลี่ยงสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวง (ทล.) มีพื้นที่เวนคืน 7,800 ตารางเมตร
3.บริเวณ ถ.วิภาวดีฯ ข้ามแยกหลักสี่ เพื่อลดระดับโครงสร้างลอดใต้โทลล์เวย์ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,300 ตารางเมตร
4.บริเวณวงเวียนหลักสี่ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,500 ตารางเมตร กว้างด้านละ 4 เมตร ตั้งแต่หน้า ม.ราชภัฏพระนคร ไปถึง ป.กุ้งเผา และ
5.บริเวณมีนบุรี เวนคืนพื้นที่กว่า 280 ไร่ เพื่อสร้างที่จอดรถ และศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนบริเวณอื่น ๆ

นอกเหนือจากนี้จะมีเวนคืนเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างจุดขึ้น-ลงของสถานีทั้ง 30 สถานีที่ดินแพง-ค่าเวนคืนพุ่ง 1 เท่า

ไม่ใช่แค่จำนวนสถานีที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของต้นทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน "ดร.สุรศักดิ์" เฉลยว่า เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท

ล่าสุดค่าก่อสร้างแตะ 5.4 หมื่นล้านบาทโดยมีหลายปัจจัยที่ผลักให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีใหม่ 6 สถานี ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง 300 บาท และราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ที่ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผลทำให้ค่าชดเชยที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิมประเมินไว้ 2 พันล้านเป็น 4 พันล้านบาท

ชงเข้า ครม.ปู 2 เดือน ต.ค.นี้

ส่วนรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมนั้น ทางบริษัทที่ปรึกษาเสนอแนะให้ รฟม.เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และว่าจ้างเอกชนออกแบบ ก่อสร้างงานโยธา จัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าในรูปแบบ Design&Build (ออกแบบไปพร้อมก่อสร้าง) รวมบำรุงรักษาในช่วงแรก กับทั้งจ้างเอกชนเป็นผู้ให้บริการเป็นระยะเวลา 5-10 ปี ชำระค่าจ้างตามปริมาณการเดินรถเป็นรายปี

จากผลสรุปทั้งหมดนี้ "ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล" ผู้ว่าการ รฟม. เตรียมเสนอให้ "ครม.ปู 2" อนุมัติในเดือนตุลาคมนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2012 3:22 pm    Post subject: Reply with quote

ได้เวลาสังคายนารถไฟฟ้าสารพัดสีหยุดขบวนการ‘จับเสือมือเปล่า’
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1340 ประจำวันที่ 3-10-2012 ถึง 5-10-2012

1 ในนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย ที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนคนในคราวเลือกตั้งเมื่อกลางปี 2554 จนพรรคได้รับการเลือกตั้งท่วมท้นถล่มทลาย ก็คือนโยบายการพัฒนารถไฟฟ้า 10 สายทางและจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

แต่ผ่านไปกว่า 1 ปี นโยบายการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กลับเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรคทั้งความคืบหน้าในการก่อสร้าง และรูปแบบในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นไปในลักษณะ “ต่างคนต่างทำ” ต่างหน่วยงานต่างก็มีรูปแบบการดำเนินโครงข่ายรถไฟฟ้าที่แตกต่างกัน มีโมเดลเป็นเอกเทศไร้ทิศทาง โครงข่ายรถไฟฟ้าสารพัดสีขาดการบูรณาการ และส่งผลให้การผนวกโครงข่ายรถไฟฟ้าสารพัดสีเข้ามาเป็นโครงข่ายเดียวกันเพื่อนำไปสู่การกำหนดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค

ก่อให้เกิดคำถามตามมา คือ รูปแบบการบริหารจัดการรถไฟฟ้าของไทยสมควรจะเดินไปในทิศทางใด!

- โครงข่ายรถไฟฟ้ายังเป็นแบบ “ต่างคนต่างพาย”

หากย้อนกลับไปพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทั้งในอดีต และที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีทั้งที่หน่วยงานรัฐดำเนินการเองเบ็ดเสร็จ อย่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ตั้งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ขึ้นมาลงทุนและบริหารรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ตลิงค์” รวมทั้งรถไฟชานเมือง

ขณะที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีโครงการรถไฟฟ้าทั้งที่ รฟม.ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรางและสถานีให้ (80%) ก่อนให้เอกชนเข้ามาลงทุนในระบบรถไฟฟ้าพร้อมรับสัมปทานที่เรียกว่ารูปแบบ PPP Net Cost ทั้งยังมีรูปแบบการลงทุนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ต่างออกไปจากแนวทางข้างต้น โดยมีทั้งที่ กทม.ดำเนินการลงทุนในส่วนของงานโครงสร้างพื้นฐานเอง และให้เอกชนบริหารโครงการให้ (PPP Gross Cost) และที่ กทม.ให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนดำเนินการลงทุนทั้งหมด Build Operate to Transfer : BOT ซึ่งแต่ละโมเดลเหล่านี้ ที่เป็นไปในลักษณะ “ต่างคนต่างทำ”

- ถึงเวลาสังคายนาการบริหารจัดการรถไฟฟ้า

หากทุกฝ่ายพิจารณาโมเดลบริหารจัดการรถไฟฟ้าข้างต้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่ารัฐจะเลือกรูปแบบใด ทุกโมเดล ล้วนแต่ยังประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนทั้งสิ้น ในขณะที่ภาครัฐต้องแบกรับภาระทั้งในส่วนของเงินลงทุน และภาระหนี้ต่างๆ ที่ไม่มีวันจะได้รับการชดเชยคืน

ยิ่งในส่วนของรูปแบบสัมปทาน PPP Net Cost ในปัจจุบันที่กำลังสร้างความกังวลให้แก่ รฟม. เมื่อตรวจสอบสถานะ/ผลประกอบการของ บมจ.บีเอ็มซีแอลผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบัน พบว่า แม้บริษัทจะลงทุนในตัวระบบรถไฟฟ้าเพียง 20,000 ล้านบาท แต่สถานะปัจจุบันบริษัทยังมีหนี้ระยะยาวอยู่กว่า 14,000 ล้านบาท และยังมีการขาดทุนสะสมอยู่อีกกว่า 12,000 ล้านบาท เรียกได้ว่าอยู่ในสถานะง่อนแง่นจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้ในอนาคตอันใกล้ ทำให้โอกาสที่ รัฐบาล และ รฟม. จะได้รับเงินลงทุนคืนแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลย!

แต่โมเดลบริหารจัดการรถไฟฟ้าในรูปแบบที่ 3 PPP Gross Cost ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนผลักดันออกมาใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนเหนือ-ใต้ และหวังจะใช้กับโครงการรถไฟฟ้าในอนาคตก็ยิ่งเลวร้ายกว่านี้อีก เพราะทั้งการลงทุนในส่วนของงานโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรางและตัวรถ ล้วนเป็นการลงทุนของภาครัฐ/รฟม.ที่ต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด ขณะที่เอกชนที่เข้ามาบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้านั้นจะเป็นเพียงผู้รับจ้างบริหารในลักษณะ “สัญญาจ้างเหมาระยะยาว” เท่านั้น เป็นการ “จับเสือมือเปล่า” ที่ไม่ต้องมีการลงทุนใดๆ จนอาจเรียกได้ว่า เป็น “สัมปทานจอมปลอม”

- จำเป็นต้องหา “โมเดล” ที่เหมาะสมรับมือ

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงระบบขนส่งเมืองไทย กล่าวว่า แนวทางที่จะ “สังคายนา” โมเดลการบริหารจัดการรถไฟฟ้าจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนการจัดซื้อ จัดจ้างและทบทวนรูปแบบของการให้สัมปทานรถไฟฟ้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด โดยรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม สมควรแยกธุรกรรมการซื้อรถและการจ้างเดินรถออกจากกัน เพราะทั้ง 2 ส่วนสามารถแยกดำเนินการได้อยู่แล้ว

โดยในแนวทางการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้านั้น รัฐบาลจำเป็นต้องทบทวนแนวทางการดำเนินการจากเดิมที่ทยอยจัดซื้อทีละสายทาง มาเป็นการจัดซื้อขบวนรถทั้งหมดในคราวเดียวกันเป็น “บิ๊กล็อต” ซึ่งจะทำให้รัฐมีอำนาจต่อรอง และยังกรุยทางไปสู่การจัดตั้งโรงงานผลิตและประกอบขบวนรถไฟฟ้าภายในประเทศ กรุยทางไปสู่การถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตตู้รถไฟฟ้าในอนาคต

ขณะที่โมเดลของการบริหารจัดการนั้น รัฐบาลหรือรฟม.สามารถที่จะพิจารณาทั้งรูปแบบที่รัฐจะทำหน้าที่บริหารจัดการเอง หรือภายใต้รูปแบบที่เรียกว่า Public Sector Company : PSC ที่รัฐจะทำหน้าที่บริหารจัดการเอง โดยจัดตั้งบริษัทลูกมาบริหารจัดการรถไฟฟ้าโดยตรง หรือร่วมพัฒนาพื้นที่กับเจ้าของที่ตามเส้นทางและสถานี ในรูปแบบการพัฒนาควบคู่การขนส่งมวลชน หรือที่ทั่วโลกเรียกว่า Transit Oriented Development (TOD) ที่ทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้เข้าหน่วยงานอย่างเต็มที่ (แทนที่จะให้เจ้าของที่ทำคอนโดฯรวยอยู่ฝ่ายเดียว) สร้างผู้โดยสารจำนวนมาก และเป็นการสร้างเมืองใหม่ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดก็ตาม วันนี้รัฐบาลจำเป็นจะต้องเร่ง “สังคายนา” รูปแบบการบริหารจัดการรถไฟฟ้า เพราะหากยังปล่อยให้โครงการรถไฟฟ้าสารพัดสี ดำเนินไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ขาดการบูรณาการต่อไป ท้ายที่สุดจะทำให้กลุ่มทุนเอกชนเข้ามา “ชุบมือเปิบ” โดยที่ภาครัฐและประชาชนไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง อีกทั้งในอนาคตองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการรถไฟฟ้าอย่าง “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ก็จะอยู่ในสภาพไม่ต่างไปจากกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ต้องประสบกับการขาดทุน “บักโกรก” อย่างเช่นปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2012 12:27 pm    Post subject: การพัฒนาที่ดินตามแนวทางรถไฟฟ้า ก่อนจะมีรถไฟฟ้าสายใหม่ Reply with quote

เปิดโพยแผนเร่งด่วน พัฒนาก่อน 3 สี "เขียว-ชมพู-ส้ม"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
4 ตุลาคม 2555 เวลา 12:14:20 น.



ไส้ในเอ็มโอยู หรือบันทึกข้อตกลงข้ามหน่วยงานของ "การเคหะฯ-รฟม." กำหนดกรอบแนวทางทำงานร่วมกัน 5 แนวทาง คือ

1. การเคหะฯเร่งจัดหาที่ดิน โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้า 2 สีแรก "ส้ม-ชมพู" (ซึ่งอาจต้องพึ่งกฎหมายเวนคืน) เมื่อการเคหะฯได้ที่ดินมาแล้ว ทาง รฟม.จะได้ออกแบบสถานีให้สอดรับกับแปลงที่ดินต่อไป
2. รฟม.มีที่ดินในมือ ให้การเคหะฯเข้ามาพัฒนาโครงการร่วมกัน
3. การเคหะฯมีที่ดิน ดึง รฟม.เข้ามาพัฒนาร่วมกัน
4. ต่อยอดจากอาคารจอดแล้วจร (park&ride) ของ รฟม. ปกติจะออกแบบสูง 1-2 ชั้น จุดที่จะสร้างใหม่ ให้การเคหะฯประสานข้อมูลมา โดย รฟม.จะเตรียมโครงสร้างสำหรับทำตึกสูงไว้รองรับ
5. อาคารจอดแล้วจรเดิม จุดไหนที่การเคหะฯสนใจจะพัฒนาต่อเติมบนอาคารสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ให้ประสานกับ รฟม.

ขณะเดียวกัน สำหรับการพัฒนาที่ดินและโครงการของการเคหะฯ ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็น "แผนเร่งด่วน" นั้น คณะทำงานข้ามหน่วยงานได้ข้อยุติเบื้องต้นว่าจะมี 3 พื้นที่ด้วยกัน (ดูตาราง) คือรถไฟฟ้า 3 สี "เขียว-ชมพู-ส้ม"ข้อมูลพื้นฐานรถไฟฟ้าหลากสี 3 สายดังกล่าว ประกอบด้วย

1. "สายสีเขียว" ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. และช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทางอีก 7 กม. งบฯลงทุน 48,150 ล้านบาท

2. "สายสีชมพู" ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เพิ่งจะปรับปรุงใหม่ เพิ่มสถานีจากเดิม 24 สถานี เป็น 30 สถานี ยกระดับจุดตัดแยกถนนสุวินทวงศ์ให้เป็นย่านศูนย์กลางในอนาคต ระยะทางรวม 36 กม. งบฯลงทุน 54,000 ล้านบาทและ

3. "สายสีส้ม" ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 20 กม. งบฯลงทุน 73,070 ล้านบาท

ทั้งนี้ทั้งนั้น แผนระยะเร่งด่วนตั้งความหวังที่จะสร้างผลงานรูปธรรม เริ่มจาก "สายสีเขียว" มี 3 พื้นที่ คือ

1. พื้นที่บริเวณรังสิต-ลำลูกกา คลอง 11 จะมีระบบขนส่งลำเลียงมายังสถานีปลายทางที่คลอง 16
2. พื้นที่บริเวณเสมา-ฟ้าคราม ลำลูกกา คลอง 2 รฟม.จะจัดสถานีรถไฟฟ้าไว้บริการบริเวณสามแยกลำลูกกา คลอง 2 และ

3.พื้นที่บริเวณสมุทรปราการ-บางปู รฟม.เสนอให้มีระบบขนส่งลำเลียงมายังสถานีปลายทางบริเวณโครงการเคหะชุมชนสมุทรปราการ และต่อขยายมายังสถานีรถไฟฟ้าบางปูในอนาคต

"สายสีชมพู" มี 2 พื้นที่ ได้แก่

1. บริเวณสถานีรถไฟฟ้าปากเกร็ด จุดนี้สามารถรองรับโครงการเคหะชุมชน และโครงการบ้านเอื้ออาทร บริเวณวัดกู้

2. โครงการเคหะชุมชนรามอินทรา ทาง รฟม.ได้ขยับสถานีมายังบริเวณหน้าโครงการเคหะชุมชนรามอินทราเรียบร้อยแล้ว

สุดท้าย "สายสีส้ม" มี 3 พื้นที่ ได้แก่

1. พื้นที่บริเวณโครงการเคหะชุมชนดินแดง ทาง รฟม.จะขยับสถานีให้มาใกล้กับที่ดินของการเคหะฯ เพื่อทำให้ที่ดินเกิดมูลค่าเพิ่ม

2. พื้นที่โครงการเคหะชุมชนร่มเกล้า ทาง รฟม.เสนอให้มีระบบขนส่งลำเลียงแบบรถเมล์ด่วนบีอาร์ทีมายังสถานีรถไฟฟ้ามีนบุรี

3. บริเวณจุดตัดแยกสุวินทวงศ์ ซึ่งจะเป็นจุดตัดของจุดจอดรถไฟฟ้า 2 สาย คือสายสีชมพูกับสายสีส้ม จุดนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ดินของการเคหะฯ ในบริเวณโครงการเคหะชุมชนรามคำแหงและพื้นที่ใกล้เคียง โดยทาง รฟม.เสนอให้การเคหะฯร่วมพัฒนาบริเวณเดโป้หรือจุดจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง เพื่อจัดประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 278, 279, 280  Next
Page 60 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©